พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ห (หน้าที่ 8)

  1. หม้อทะนน
    หมายถึง น. หม้อดินขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีขีดเป็นรอยโดยรอบสำหรับใส่นํ้า นํ้าตาลโตนด เป็นต้น, (ปาก) หม้อคะนน.
  2. หม้อน้ำ
    หมายถึง น. หม้อโลหะขนาดใหญ่ ใช้ต้มนํ้าทำให้เกิดไอนํ้าเดือดที่มีแรงดันสูงเพื่อหมุนเครื่องจักรเป็นต้น; อุปกรณ์ของเครื่องยนต์บางชนิด สำหรับบรรจุนํ้าเพื่อระบายความร้อนของเครื่องยนต์.
  3. หม้อหนู
    หมายถึง น. หม้อดินขนาดเล็กสำหรับต้มน้ำกระสายยาเป็นต้น.
  4. หม้อหยวนโล้
    หมายถึง ดู หม้อไฟ.
  5. หม้อห้อม
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. เรียกเสื้อคอกลม แขนสั้นผ่าอกตลอด มักย้อมสีนํ้าเงินเข้มหรือดำ ว่า เสื้อหม้อห้อม, เขียนเป็น ม่อห้อม หรือ ม่อฮ่อม ก็มี.
  6. หม้ออวย
    หมายถึง น. หม้อดินหรือหม้อเคลือบที่มีด้ามหรือหูสำหรับจับหรือหิ้ว.
  7. หม้อเกลือ
    หมายถึง น. หม้อตาลใส่เกลือเม็ด ใช้สำหรับตั้งไฟให้ร้อน นำมาห่อหรือพันด้วยใบพลับพลึง ใช้นาบท้องและตามตัวหญิงแรกคลอดบุตร เพื่อคลายความเมื่อยตึงตัวเป็นต้น.
  8. หม้อแกง
    หมายถึง น. ชื่อขนมหวานชนิดหนึ่ง ทำด้วยกะทิ ไข่ น้ำตาล ใส่ถาดผิงไฟ สุกแล้วมักโรยหอมเจียว เรียกว่า ขนมหม้อแกง.
  9. หม้อแกงค่าง
    หมายถึง ดู หม้อแกงลิง.
  10. หม้อแกงลิง
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาชนิด Nepenthes ampullaria Jack ในวงศ์ Nepenthaceae ชอบขึ้นในป่าพรุทางภาคใต้ ปลายใบเปลี่ยนเป็นรูปกระเปาะมีฝาปิด ใช้ดักจับแมลง, หม้อข้าวหม้อแกงลิง หรือ หม้อแกงค่าง ก็เรียก.
  11. หม้อแปลง,หม้อแปลงไฟ
    หมายถึง น. อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้สูงขึ้นหรือตํ่าลง ชนิดแรกเรียกว่า หม้อแปลงขึ้น ชนิดหลังเรียกว่า หม้อแปลงลง.
  12. หม้อไฟ
    หมายถึง น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ รูปทรงคล้ายชาม ก้นหม้อมีเชิง ตรงกลางมีกระบอกสูงขึ้นมาจากใต้ก้นหม้อสำหรับใส่ถ่านติดไฟ ปากหม้อมีฝาปิด ใช้สำหรับใส่เกาเหลา แกงจืด เป็นต้น, หม้อหยวนโล้ ก็เรียก.
  13. หม้า
    หมายถึง (โบ; กลอน) ว. งาม, งามมาก. ก. เล่นรื่นเริง.
  14. หม้าย
    หมายถึง ดู กระดูกค่าง.
  15. หม้าย
    หมายถึง ว. ม่าย.
  16. หม้ำ,หม้ำตับ
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือและเครื่องหอมขยำให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, นํ้าตับ ก็เรียก.
  17. หย,หย-,หัย
    หมายถึง [หะยะ-] น. ม้า. (ป., ส.).
  18. หยก
    หมายถึง ก. ยกขึ้นลงค่อย ๆ ในคำว่า หยกเบ็ด.
  19. หยก
    หมายถึง น. หินแก้วมีลักษณะแข็งเป็นสีต่าง ๆ ใช้ทำเครื่องประดับและเครื่องใช้เป็นต้น ถือว่าเป็นของมีราคา.
  20. หยก ๆ
    หมายถึง ว. เพิ่งทำมาเร็ว ๆ นี้, สด ๆ ร้อน ๆ, เช่น บอกอยู่หยก ๆ ไม่น่าลืมเลย มาถึงหยก ๆ โดนใช้งานเสียแล้ว.
  21. หยด
    หมายถึง ก. ไหลหรือทำให้ไหลหลุดออกมาเป็นหยาด ๆ เช่น น้ำหยด. น. หยาดของเหลวที่ไหลหลุดออกมา เช่น หยดน้ำ หยดหมึก, ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่ไหลหลุดออกมาเช่นนั้น เช่น นํ้าหยดหนึ่ง นํ้าหมึก ๒ หยด.
  22. หยดย้อย
    หมายถึง ว. ไพเราะจับใจ เช่น สำนวนหยดย้อย, ชดช้อยอ่อนหวาน เช่น งามหยดย้อย.
  23. หยวก
    หมายถึง น. ลำต้นกล้วย เช่น หั่นหยวกต้มกับรำให้หมูกิน, บางทีก็เรียกว่า หยวกกล้วย เช่น แพหยวกกล้วย, ส่วนในหรือแกนอ่อนของลำต้นเทียมของกล้วย มีสีขาว กินได้ เช่น ต้มหยวก แกงหยวก, กาบกล้วย ในคำว่า แทงหยวก; (ปาก) ไม่แข็งแน่น เช่น มีดเล่มนี้คมมาก ตัดกิ่งไม้ได้ง่ายเหมือนฟันหยวก, ใช้เปรียบผิวที่ขาวมากว่า ขาวเหมือนหยวก.
  24. หยวก
    หมายถึง น. ชื่อพริกพันธุ์หนึ่งของชนิด Capsicum annuum L. วงศ์ Solanaceae ผลใหญ่ป้อม เมื่ออ่อนสีเหลืองอมเขียว.
  25. หยวบ,หยวบ ๆ
    หมายถึง ว. ยวบ, ยวบ ๆ.
  26. หยอก
    หมายถึง ก. เล่นหรือล้อไม่จริงจัง. ว. ใช้ในประโยคปฏิเสธ หมายความว่า มาก เช่น เก่งไม่หยอก คือ เก่งมาก.
  27. หยอกเย้า
    หมายถึง ก. สัพยอก, กระเซ้าเย้าแหย่, เย้าหยอก ก็ว่า.
  28. หยอกเอิน
    หมายถึง ก. หยอกในทำนองชู้สาว.
  29. หยอด
    หมายถึง ก. ใส่ลงหรือเทลงคราวละน้อย ๆ; แถมคำชมหรือคำพูดคมคาย.
  30. หยอดหลุม
    หมายถึง น. การเล่นชนิดหนึ่ง โดยวิธีโยนสิ่งของเช่นสตางค์เป็นต้นลงหลุม.
  31. หยอน
    หมายถึง ก. หวาดเสียว.
  32. หยัก,หยัก ๆ
    หมายถึง ก. เฉือนหรือควั่นให้เป็นรอยคอด, ทำให้เป็นรอยเป็นแง่, เช่น หยักไม้. น. รอยควั่น, รอยคอด, เช่น ควั่นหัวเสาให้เป็นหยัก บากไม้ให้เป็นหยัก. ว. คด ๆ งอ ๆ เช่น เขียนเส้นหยัก ๆ.
  33. หยักรั้ง
    หมายถึง ว. อาการนุ่งผ้าถุงหรือผ้าโสร่งรั้งผ้าทางด้านข้างมาเหน็บเอวทั้ง ๒ ข้างให้ชายผ้าร่นสูงขึ้น.
  34. หยักศก
    หมายถึง ว. ที่หยิกน้อย ๆ (ใช้แก่ผม).
  35. หยักเหยา
    หมายถึง [หฺยักเหฺยา] ก. จู้จี้, รบกวน.
  36. หยักไย่
    หมายถึง น. หยากไย่.
  37. หยัง
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) ว. อะไร, ทำไม.
  38. หยังหยัง
    หมายถึง ว. งาม. (ช.).
  39. หยัด
    หมายถึง ก. ยืดเหยียดออก เช่น หยัดกาย; หยดลง, ตกลง, (ใช้แก่นํ้า).
  40. หยัน
    หมายถึง ก. เยาะ, เย้ย.
  41. หยับ,หยับ ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่เคี้ยวเนิบ ๆ เช่น คนแก่เคี้ยวหมากหยับ ๆ; อาการขึ้นลงเนิบ ๆ เช่น พายอ่อนหยับจับงามงอน (เห่เรือ); อาการที่หัวเรือโต้คลื่นเหยิบ ๆ.
  42. หยั่ง
    หมายถึง ก. วัดดูเพื่อให้รู้ตื้นลึก เช่น เอาถ่อหยั่งน้ำ, คาดคะเนดู เช่น หยั่งใจ.
  43. หยั่งทราบ,หยั่งรู้
    หมายถึง ก. เล็งรู้ความจริง, ค้นหาเพื่อให้รู้ความจริง.
  44. หยั่งเสียง
    หมายถึง ก. ลองพูดหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, ซาวเสียง ก็ว่า.
  45. หยั่วเมือง
    หมายถึง (โบ) ว. คำเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณว่า แม่หยั่วเมือง, เขียนว่า อยั่วเมือง หรือ ยั่วเมือง ก็มี.
  46. หยากเยื่อ
    หมายถึง น. เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว, มูลฝอย.
  47. หยากไย่
    หมายถึง น. ใยแมงมุมที่ติดค้างอยู่ในที่ต่าง ๆ, หยักไย่ ก็ว่า.
  48. หยาด
    หมายถึง ก. หยดลง. น. เม็ดฝนหรือนํ้าค้างเป็นต้นที่ไหลยืดหยดลง เช่น หยาดฝน หยาดน้ำค้าง หยาดเหงื่อ.
  49. หยาดน้ำค้าง
    หมายถึง น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ, นิคหิต หรือ นฤคหิต ก็เรียก. (ดู นิคหิต); ส่วนที่มีลักษณะกลม ๆ คล้ายเม็ดน้ำค้างอยู่ตรงปลายยอดเจดีย์ ยอดปราสาท เป็นต้น, เม็ดน้ำค้าง ก็เรียก.
  50. หยาดน้ำฟ้า
    หมายถึง น. นํ้าที่ตกจากบรรยากาศ (ฟ้า) ลงสู่พื้นดินในภาวะที่เป็นนํ้าหรือนํ้าแข็ง เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ.
  51. หยาบ,หยาบ ๆ
    หมายถึง ว. ไม่ละเอียด เช่น ทรายหยาบ แป้งหยาบ; ไม่สุภาพ เช่น กิริยาหยาบ พูดหยาบ, ไม่เรียบร้อย เช่น เก็บข้าวของสุมไว้หยาบ ๆ, สาก ๆ เช่น ฝ่ามือฝ่าเท้าหยาบ.
  52. หยาบคาย
    หมายถึง ว. ไม่สุภาพ เช่น พูดจาหยาบคาย กิริยาหยาบคาย.
  53. หยาบช้า
    หมายถึง ว. ตํ่าช้า, เลวทราม, เช่น จิตใจหยาบช้า.
  54. หยาบหยาม
    หมายถึง ก. กล่าวคำหรือแสดงกิริยาไม่สุภาพและเป็นการดูถูก.
  55. หยาบโลน
    หมายถึง ว. ที่ไม่สุภาพและลามก เช่น พูดจาหยาบโลน แสดงกิริยาหยาบโลน.
  56. หยาม
    หมายถึง ก. ดูหมิ่น, ดูถูก.
  57. หยามน้ำหน้า
    หมายถึง ก. ดูหมิ่นเกียรติ, ดูหมิ่นศักดิ์ศรี.
  58. หยาว
    หมายถึง ก. ยั่วให้รำคาญ, ยั่วให้โกรธ.
  59. หยำเป
    หมายถึง (ปาก) ว. มีความประพฤติเละเทะหมกมุ่นในอบายมุข เช่น เขาเป็นคนหยำเป; อาการที่เมามายจนครองสติไม่อยู่ ในคำว่า เมาหยำเป.
  60. หยำเหยอะ,หยำแหยะ
    หมายถึง [หฺยำเหฺยอะ, หฺยำแหฺยะ] ว. อาการที่เคี้ยวซ้ำ ๆ น่ารังเกียจ, อาการที่พูดซ้ำซากน่าเบื่อ.
  61. หยิก
    หมายถึง ก. ใช้เล็บ ๒ เล็บตามปรกติเป็นเล็บนิ้วหัวแม่มือกับเล็บนิ้วชี้จิกลงไปที่เนื้อแล้วบิด, ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้หนีบเนื้อแล้วบิด. ว. งอ, หงิก, ยู่ยี่, (ใช้แก่ผม ขน หรือใบไม้).
  62. หยิกหย็อง
    หมายถึง ก. หยิกเป็นฝอย เช่น ผมหยิกหย็อง.
  63. หยิกเล็บ
    หมายถึง ก. ใช้เล็บหัวแม่มือกดลงบนดินเหนียวหรือขี้ผึ้งเป็นต้นเพื่อทำเครื่องหมายไว้.
  64. หยิกเล็บเจ็บเนื้อ
    หมายถึง (สำ) เมื่อกระทำความเดือดร้อนให้แก่คนใกล้ชิดก็จะมีผลกระทบถึงตัวผู้กระทำหรือคนในพวกเดียวกันด้วย เช่น ฟ้องร้องพี่น้องกันเองเป็นการหยิกเล็บเจ็บเนื้อ.
  65. หยิกแกมหยอก
    หมายถึง (สำ) ก. เหน็บแนมทีเล่นทีจริง.
  66. หยิบ
    หมายถึง ก. เอานิ้วมือจับขึ้น. น. ประมาณของเท่า ๒ นิ้วมือหรือ ๓ นิ้วมือหยิบขึ้นครั้งหนึ่ง, หยิบมือ ก็เรียก.
  67. หยิบผิด
    หมายถึง (โบ) ก. สรรหาเอาผิดจนได้, จับผิด.
  68. หยิบมือ
    หมายถึง น. ประมาณของเท่า ๒ นิ้วมือหรือ ๓ นิ้วมือหยิบขึ้นครั้งหนึ่ง, หยิบ ก็เรียก.
  69. หยิบมือเดียว
    หมายถึง (สำ) น. จำนวนน้อยมาก เช่น มีทหารแค่หยิบมือเดียวจะไปรบกับใครเขาได้.
  70. หยิบยก
    หมายถึง ก. ยกขึ้นอ้าง เช่น หยิบยกเรื่องอดีตขึ้นมาพูด, (กลอน) ยกหยิบ.
  71. หยิบยืม
    หมายถึง ก. ยืมสิ่งของบางอย่างที่พอหยิบได้.
  72. หยิบหย่ง
    หมายถึง ว. กรีดกราย, ทำอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน, ไม่ทะมัดทะแมง, เช่น ท่าทางหยิบโหย่งอย่างนี้ จะไปทำมาหากินอะไรได้.
  73. หยิบโหย่ง
    หมายถึง ว. กรีดกราย, ทำอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน, ไม่ทะมัดทะแมง, เช่น ท่าทางหยิบโหย่งอย่างนี้ จะไปทำมาหากินอะไรได้.
  74. หยิม ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่ฝนตกพรำประปราย.
  75. หยิ่ง
    หมายถึง ว. จองหอง, อวดดี, ลำพอง, ถือตัว.
  76. หยี
    หมายถึง ก. หรี่ (ใช้แก่ตา) ในคำว่า หยีตา. ว. หรี่, ที่แคบเรียวเล็ก, ในคำว่า ตาหยี.
  77. หยี
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Dialium วงศ์ Leguminosae ผลมีเมล็ดเดียว เมื่อแก่เปลือกกรอบสีดำ เนื้อหุ้มเมล็ดสีนํ้าตาล รสเปรี้ยวอมหวาน คือ ชนิด D. indum L. ลูกหยีที่เป็นของกินเล่นส่วนใหญ่เป็นผลของต้นนี้, หยีท้องบึ้ง (D. platysepalum Backer), และชนิด D. cochinchinense L. ชนิดหลังนี้ เขลง ก็เรียก, อีสานเรียก นางดำ.
  78. หยี่
    หมายถึง [หฺยี่] (โบ) น. ผ้าพื้นขาวปักด้วยด้ายเป็นดอกดวงต่าง ๆ.
  79. หยุ
    หมายถึง [หฺยุ] (โบ) ว. น่วม, อาการที่อ่อนจนกดบู้ลงได้.
  80. หยุกหยิก
    หมายถึง ก. ขยุกขยิก.
  81. หยุด
    หมายถึง ก. ชะงัก เช่น งูเลื้อยตัดหน้าเขาจึงหยุด, อยู่นิ่ง, อยู่กับที่, เช่น รถหยุด; พัก เช่น หยุดงานตอนเที่ยง, ไม่กระทำต่อ เช่น หยุดกิจการ, เลิก เช่น เขาพูดไม่หยุด.
  82. หยุดหย่อน
    หมายถึง ว. เว้นระยะ มักใช้ในประโยคปฏิเสธ เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน คือ ทำงานไม่เว้นระยะ.
  83. หยุบ ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่ขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น นกเด้าลมทำหางหยุบ ๆ.
  84. หยุมหยิม
    หมายถึง ว. จุกจิก เช่น เขาเป็นคนหยุมหยิม. ก. จู้จี้, ชอบถือเอาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่าเป็นเรื่องสำคัญ, เช่น อย่าไปหยุมหยิมกับเขามากนัก.
  85. หยุ่น
    หมายถึง ว. ยุบลงไปแล้วคืนตัวได้.
  86. หยูกยา
    หมายถึง (ปาก) น. ยารักษาโรค.
  87. หย็อกหย็อย
    หมายถึง ว. มีลักษณะเป็นเส้นหยิก ๆ งอ ๆ อย่างผมเด็กเล็ก ๆ.
  88. หย็อง
    หมายถึง ก. กลัว, ไม่สู้, หวาดกลัว, เช่น พอเห็นคู่ต่อสู้ก็หย็องเสียแล้ว. ว. มีอาการหวาดกลัว เช่น พอถูกขู่เข้าหน่อยก็ทำท่าหย็อง.
  89. หย็อง
    หมายถึง ก. ทำให้เป็นฝอยฟู ๆ เช่น เอาเนื้อหมูไปหย็อง, เรียกเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ที่ทำให้เป็นฝอยฟู ๆ ว่า หมูหย็อง ไก่หย็อง.
  90. หย็องกรอด
    หมายถึง [หฺย็องกฺรอด] ว. ซูบผอมมีท่าทางคล้ายคนอิดโรย.
  91. หย็องแหย็ง,หย็องแหย็ง ๆ
    หมายถึง ว. ทำท่าเล่น ๆ ไม่เอาจริงเอาจัง เช่น นักมวยคู่นี้มัวแต่เต้นหย็องแหย็ง ๆ ไม่ชกกันเสียที; ไม่มีท่าทาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เต้นหย็องแหย็ง กระโดดหย็องแหย็ง ๆ.
  92. หย็อมแหย็ม
    หมายถึง ว. มีเล็กน้อย, มีห่าง ๆ ไม่เป็นพวกเป็นหมู่, เช่น มีหนวดหย็อมแหย็ม, กะหร็อมกะแหร็ม หรือ หร็อมแหร็ม ก็ว่า.
  93. หย็อย,หย็อย ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่เต้นหรือกระโดดเร็ว ๆ เรียก เต้นหย็อย ๆ, อาการที่เคลื่อนไหวน้อย ๆ อย่างเร็ว เช่น วิ่งหย็อย ๆ โบกมือหย็อย ๆ ลมพัดผมปลิวหย็อย ๆ.
  94. หย่ง
    หมายถึง ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น หย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น หย่งฟาง หย่งผม หย่งเส้นบะหมี่, โหย่ง ก็ว่า.
  95. หย่ง,หย่ง,หย่ง ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้นหรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินหย่ง ๆ วิ่งหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าหย่ง หรือ รอยเท้าหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งหย่ง หรือ นั่งหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  96. หย่อง
    หมายถึง น. สิ่งสำหรับใส่หมากพลู มีรูปเหมือนถาดขอบสูง มีตีน โดยมากทำด้วยทองเหลือง; เครื่องรองรับไม้แม่กำพองประจำช่องหน้าต่าง; ส่วนประกอบของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ขิม ไวโอลิน ใช้รองรับสายเพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่เครื่องดนตรีให้เสียงกังวานขึ้น, ส่วนประกอบของจะเข้ ใช้หนุนสายเพื่อมิให้แตะนมจะเข้. ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ ข้างโดยก้นไม่ถึงพื้น เรียกว่า นั่งหย่อง หรือ นั่งยอง ๆ.
  97. หย่อง ๆ
    หมายถึง ว. เหย่า ๆ (ใช้แก่กิริยาวิ่ง).
  98. หย่อน
    หมายถึง ก. ไม่ตึง, ผ่อนไม่ให้ตึง, ค่อย ๆ ผ่อนลงมาจากที่สูง; ถอย เช่น หย่อนกำลัง, คลาย เช่น หย่อนอารมณ์, ทุเลา เช่น ลดหย่อน; เบาลง, น้อย, ไม่เต็ม, เช่น กิโลหย่อนไป ๒ ขีด บาทหย่อนสลึง หย่อนสมรรถภาพ.
  99. หย่อนใจ,หย่อนอารมณ์
    หมายถึง ก. คลายอารมณ์, พักผ่อน.
  100. หย่อม,หย่อม ๆ
    หมายถึง น. หมู่เล็ก ๆ, กองเล็ก ๆ, เช่น หญ้าขึ้นเป็นหย่อม ๆ.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ห (หน้าที่ 8)"