พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ห (หน้าที่ 10)

  1. หลัก
    หมายถึง น. เสาที่ปักไว้, ที่ผูก, ที่มั่น, เช่น เอาเรือไปผูกไว้กับหลัก; เครื่องหมาย เช่น หลักเขต; เครื่องยึดเหนี่ยว เช่น มีธรรมะเป็นหลักในการดำรงชีวิต, เครื่องจับยึด เช่น หลักแจว; สาระที่มั่นคง เช่น พูดจาไม่มีหลัก หลักกฎหมาย หลักเศรษฐศาสตร์.
  2. หลัก
    หมายถึง (โบ) ว. จำนวนแสน. (ป. ลกฺข; ส. ลกฺษ).
  3. หลัก
    หมายถึง น. ตำแหน่งของตัวเลขซึ่งแสดงจำนวน คือ ถ้าเป็นเลขตัวเดียว เรียกว่า จำนวนหน่วย เลข ๒ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนสิบ เลข ๓ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนร้อย เลข ๔ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนพัน เลข ๕ ตัว เรียงกัน เรียกว่า จำนวนหมื่น เลข ๖ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนแสน เลข ๗ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนล้าน เช่น ๙๘๗ เป็นจำนวนร้อย ๙ เป็นเลขหลักร้อย หมายถึง ๙๐๐ ส่วน ๘ เป็นเลขหลักสิบ หมายถึง ๘๐ และ ๗ เป็นเลขหลักหน่วย หมายถึง ๗.
  4. หลักการ
    หมายถึง น. สาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เช่น คณะกรรมการลงมติรับหลักการตามที่มีผู้เสนอ.
  5. หลักชัย
    หมายถึง น. หลักที่กำหนดไว้ว่าผู้เข้าแข่งขันที่ไปถึงก่อนเป็นผู้ชนะ, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวเพื่อชัยชนะ เช่น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นหลักชัยของชาติ; จุดที่หมายแห่งความสำเร็จ เช่น เมื่อศึกษาจบปริญญาตรีก็เท่ากับบรรลุหลักชัยไปขั้นหนึ่งแล้ว.
  6. หลักชัย
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ศรวณะ มี ๓ ดวง, ดาวพระฤๅษี ดาวศระวณ หรือ ดาวสาวนะ ก็เรียก.
  7. หลักฐาน
    หมายถึง น. พื้นเพมั่นคง เช่น พ่อแม่เขาเป็นคนมีหลักฐาน, ความมั่นคงอันเป็นพื้นที่ตั้ง เช่น เขามีอาชีพการงานเป็นหลักฐาน; เครื่องแสดงประกอบเพื่อยืนยัน เช่น เขาถูกกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐาน; (กฎ) สิ่งที่ใช้พิสูจน์ความถูกต้องหรือความจริง. (อ. evidence).
  8. หลักตอ
    หมายถึง น. อุปสรรคขัดขวาง.
  9. หลักทรัพย์
    หมายถึง (กฎ) น. ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สิน เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน.
  10. หลักบ้านหลักเมือง
    หมายถึง (ปาก) น. ผู้เป็นใหญ่ในการปกครองบ้านเมือง.
  11. หลักประกัน
    หมายถึง น. หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง; สิ่งที่ยึดถือเพื่อความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ใช่คนมั่งมี ก็ควรมีวิชาไว้เป็นหลักประกัน; (กฎ) เงินสดหรือหลักทรัพย์ที่นำมาประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยหรือประกันการชำระหนี้.
  12. หลักพยาน
    หมายถึง น. เครื่องประกอบการพิสูจน์ ได้แก่พยานบุคคล พยานวัตถุ และพยานเอกสาร.
  13. หลักลอย
    หมายถึง ว. ไม่มีหลักแหล่ง, ไม่อยู่เป็นที่, เชื่อถือไม่ได้, เช่น เขาเป็นคนหลักลอย.
  14. หลักวิชา
    หมายถึง น. ความรู้ที่เป็นหลักของแต่ละวิชา.
  15. หลักสูตร
    หมายถึง น. ประมวลวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในการศึกษาเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  16. หลักเกณฑ์
    หมายถึง น. หลักที่กำหนดไว้เพื่อใช้วินิจฉัยและปฏิบัติตาม.
  17. หลักเมือง
    หมายถึง น. เสาที่ยกตั้งขึ้นเพื่อแสดงว่าจะสร้างเมืองที่ตรงนั้นอย่างแน่นอน.
  18. หลักแจว
    หมายถึง น. หลักไม้เนื้อแข็งที่มักปักไว้ริมกราบท้ายเรือสำหรับยึดแจว; ชื่อทรงผมแบบหนึ่ง. (ดู ผมหลักแจว).
  19. หลักแหลม
    หมายถึง ว. คมคาย เช่น วาจาหลักแหลม, เฉียบแหลม เช่น ความคิดหลักแหลม, แหลมหลัก ก็ว่า.
  20. หลักแหล่ง
    หมายถึง น. ที่ซึ่งอยู่ประจำ เช่น ทำงานเป็นหลักแหล่ง ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง.
  21. หลัง
    หมายถึง น. ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหน้าอก; ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านหน้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง; ส่วนเบื้องบน เช่น หลังมือ หลังเท้า. ว. อยู่ตรงข้ามกับ ข้างหน้า, ตรงข้ามกับ ก่อน (ใช้แก่เวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว), ในลำดับถัดไป เช่น คนหลัง; ลักษณนามเรียกเรือนหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างเรือนว่า หลัง เช่น เรือนหลังหนึ่ง ศาลา ๒ หลัง.
  22. หลัง
    หมายถึง ก. หลง มักใช้เข้าคู่กับคำ บ้า เป็น บ้าหลัง.
  23. หลังคา
    หมายถึง น. ส่วนเบื้องบนของเรือนเป็นต้น สำหรับบังแดดและฝน.
  24. หลังคาเรือน
    หมายถึง น. เรือนหรืออาคารที่ถือเอาทะเบียนบ้านเป็นหลักในการนับ เช่น หมู่บ้านนี้มี ๓๐ หลังคาเรือน.
  25. หลังจาก
    หมายถึง สัน. ภายหลัง.
  26. หลังฉัตร
    หมายถึง น. ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มฆ้อง, ชานฉัตร ก็ว่า.
  27. หลังฉาก
    หมายถึง (สำ) ว. ที่ไม่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น เขาทำเป็นเศรษฐีใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แต่ฐานะหลังฉากเต็มไปด้วยหนี้สิน, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่ไม่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก.
  28. หลังบ้าน
    หมายถึง (ปาก) น. ภรรยาของผู้มีอำนาจในวงราชการบ้านเมือง.
  29. หลังยาว
    หมายถึง (สำ) ว. เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่า ขี้เกียจหลังยาว, ขี้เกียจสันหลังยาว ก็ว่า.
  30. หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน
    หมายถึง (สำ) ว. ที่ต้องตรากตรำทำงานหนัก มักหมายถึง ชาวไร่ชาวนา ซึ่งในเวลาทำไร่ทำนาหลังต้องสู้กับแดด และหน้าต้องก้มลงดิน.
  31. หลังเขียว
    หมายถึง ดู กุแล.
  32. หลังเต่า
    หมายถึง ว. มีลักษณะนูนโค้งขึ้น เช่น ถนนเป็นหลังเต่า ทับทิมเม็ดนี้เจียระไนแบบหลังเต่า. น. สันดอน.
  33. หลัด ๆ
    หมายถึง ว. เมื่อไว ๆ, เมื่อเร็ว ๆ นี้.
  34. หลับ
    หมายถึง ก. อาการพักผ่อนของร่างกายที่มีการรับรู้สภาพแวดล้อมน้อยลง.
  35. หลับตา
    หมายถึง ก. ปิดกลีบตา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างง่าย ๆ เพราะมีความเคยชินหรือมีความชำนาญมาก เช่น เรื่องอย่างนี้หลับตาทำก็ได้; อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ ไม่เรียบร้อย เช่น ทำรายงานอย่างกับหลับตาทำ, เดา เช่น หลับตาพูด.
  36. หลับนก
    หมายถึง ก. นั่งหลับ.
  37. หลับหูหลับตา
    หมายถึง ก. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ โดยไม่พินิจพิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน เช่น รายงานนี้ดูคล้ายกับหลับหูหลับตาทำ; อาการที่ไม่รับรู้เหตุการณ์ใด ๆ เลย เช่น เรื่องนี้เขารู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองแล้ว คุณมัวไปหลับหูหลับตาอยู่เสียที่ไหน; อาการที่ต้องแข็งใจหรือฝืนใจทำ เช่น แม้ว่าอาหารจะไม่อร่อยก็ต้องหลับหู หลับตากลืนเข้าไป.
  38. หลับใน
    หมายถึง ก. หลับในใจ. ว. อาการที่คล้าย ๆ กับหลับ แต่ตายังลืมอยู่.
  39. หลัว
    หมายถึง [หฺลัว] (ถิ่น-พายัพ) น. ฟืน, ฟืนไม้ไผ่.
  40. หลัว
    หมายถึง [หฺลัว] น. ภาชนะสานรูปคล้ายทรงกระบอก ก้นสอบปากผาย มีหูที่ขอบปาก ๒ ข้าง.
  41. หลัว,หลัว,หลัว ๆ
    หมายถึง [หฺลัว] ว. มัว, ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, เช่น ตอนเช้าใกล้สว่าง อากาศยังหลัว ๆ อยู่ มองอะไรไม่ค่อยชัด, ใช้ว่า สลัว ก็มี.
  42. หลั่ง
    หมายถึง ก. ไหลลงหรือทำให้ไหลลงไม่ขาดสาย เช่น หลั่งน้ำตา หลั่งน้ำสังข์.
  43. หลั่งไหล
    หมายถึง ก. ไหลมาเทมา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผู้คนหลั่งไหลกันมามืดฟ้ามัวดิน.
  44. หลั่น
    หมายถึง ว. สูงตํ่าหรือก่อนหลังกันเป็นลำดับ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ลด เป็น ลดหลั่น. ก. อาการที่ควั่นปลายเสาให้เหลือเป็นเดือยสำหรับรับขื่อ เรียกว่า หลั่นหัวเทียน.
  45. หลา
    หมายถึง [หฺลา] น. มาตราวัด คือ ๓ ฟุต เป็น ๑ หลา เท่ากับ ๐.๙๑ เมตร.
  46. หลาก
    หมายถึง ว. ต่าง ๆ เช่น หลากสี, แปลก, ประหลาด, เช่น หลากใจ. ก. ไหลมากผิดปรกติโดยกะทันหัน เช่น นํ้าหลาก.
  47. หลากหลาย
    หมายถึง ว. หลายอย่างต่าง ๆ กัน, หลายหลาก ก็ว่า.
  48. หลากใจ
    หมายถึง ว. แปลกใจ, ประหลาดใจ.
  49. หลาทะ
    หมายถึง [หะลาทะ] ก. ชอบใจ, พอใจ. (ส.).
  50. หลาน
    หมายถึง น. ลูกของลูก; ลูกของพี่หรือของน้อง.
  51. หลานหลวง
    หมายถึง น. หลานของพระเจ้าแผ่นดิน.
  52. หลาบ
    หมายถึง ก. เข็ด, ขยาดกลัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข็ด เป็น เข็ดหลาบ.
  53. หลาบ
    หมายถึง (โบ) น. แผ่นโลหะที่ทำเป็นแผ่นคล้ายใบลาน ใช้ในการจารึก เช่น หลาบเงิน คือ หิรัญบัฏ หลาบคำ คือ สุพรรณบัฏ.
  54. หลาบจำ
    หมายถึง ก. เข็ดจนไม่กล้าทำอีกต่อไป.
  55. หลาม
    หมายถึง ก. เอาของใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเผาไฟให้สุก เช่น หลามข้าว, เรียกข้าวเหนียวที่บรรจุในกระบอกไม้ไผ่แล้วเผาให้สุกว่า ข้าวหลาม; ล้นแผ่เลยออกมา เช่น คนไปฟังปาฐกถาล้นหลามออกมานอกห้อง, โดยปริยายหมายความว่า ใหญ่เกินพอดี เช่น พุงหลาม.
  56. หลาม
    หมายถึง น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python molurus ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วน หางสั้น โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ลายสีนํ้าตาล ที่กลางหัวมีเส้นสั้น ๆ สีอ่อน ซึ่งมักเรียกว่า ศรขาว ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ.
  57. หลามยา
    หมายถึง (โบ) ก. เอาสมุนไพรมีใบไม้สดเป็นต้น ใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเผาไฟให้สุก.
  58. หลาย
    หมายถึง ว. มาก, บางทีใช้คู่กับคำ มาก เป็น มากหลาย.
  59. หลาย
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Grewia paniculata Roxb. ในวงศ์ Tiliaceae ผลออกเป็นพวงที่ปลายกิ่ง สุกสีดำ กินได้.
  60. หลายหลาก
    หมายถึง ว. หลายอย่างต่าง ๆ กัน, หลากหลาย ก็ว่า.
  61. หลายเติบ
    หมายถึง ว. มากโข.
  62. หลายแหล่
    หมายถึง ว. มากมาย.
  63. หลาว
    หมายถึง น. ไม้ที่เสี้ยมแหลม เป็นอาวุธสำหรับแทง, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลาวทองเหลือง. ว. เรียกอาการที่พุ่งตัวพร้อมกับเหยียดแขนทั้ง ๒ ไปข้างหน้าว่า พุ่งหลาว.
  64. หลาวเหล็ก
    หมายถึง น. เรียกทิศที่โหรถือว่าไม่ดี.
  65. หลาหละ
    หมายถึง [หะลาหะละ] น. ยาพิษ. ว. ร้ายแรง, กล้าแข็งมาก, เข้มแข็ง. (ป.).
  66. หลิกะ
    หมายถึง [หะลิกะ] น. คนไถนา, ชาวนา. (ส.).
  67. หลิท
    หมายถึง [หะลิด] น. ขมิ้น. (ป. หลิทฺท; ส. หริทฺธ).
  68. หลิน
    หมายถึง [หฺลิน] น. ชื่อแพรจีน มีหลายชนิด.
  69. หลิม
    หมายถึง [หฺลิม] (ถิ่น-พายัพ) น. ปลาช่อน. (ดู ช่อน).
  70. หลิม
    หมายถึง [หฺลิม] ว. แหลมเล็กผิดส่วน ในคำว่า คางหลิม หัวหลิม หัวหลิมท้ายหลิม.
  71. หลิว
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Salix babylonica L. ในวงศ์ Salicaceae ดอกออกเป็นช่อ กิ่งและใบห้อยลง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ.
  72. หลิ่ง
    หมายถึง [หฺลิ่ง] น. ตลิ่ง.
  73. หลิ่ว
    หมายถึง ว. เดี่ยว, หนึ่ง, เช่น นกเขาหลิ่ว คือ นกเขาขันเสียงเดียว.
  74. หลิ่วตา
    หมายถึง ก. หรี่ตาลงข้างหนึ่ง เพื่อเล็งดูด้วยตาอีกข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายถึงให้สัญญาณด้วยอาการเช่นนั้นเพื่อให้ลงมือทำการหรือไม่ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพื่อแสดงอาการล้อเลียนหยอกล้อ.
  75. หลี
    หมายถึง [หฺลี] น. ชื่อมาตราจีน คือ ๑๐ หลี เป็น ๑ หุน.
  76. หลีก
    หมายถึง ก. หลบสิ่งที่กีดขวาง, เลี่ยง, ขยับไปให้พ้นที่เดิม, ให้ทาง.
  77. หลีบ
    หมายถึง น. ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่งมีเสียงสูง เรียกว่า ขลุ่ยหลีบ.
  78. หลีฮื้อ
    หมายถึง ดู ไน ๒. (จ.).
  79. หลีโก
    หมายถึง ดู ไน ๒. (จ.).
  80. หลืบ
    หมายถึง น. ช่องที่เป็นชั้น ๆ เข้าไป เช่น หลืบถ้ำ, สิ่งที่เหลื่อมกันเป็นชั้น ๆ เช่น หลืบหลังคา.
  81. หลุกหลิก
    หมายถึง [หฺลุกหฺลิก] ว. อาการที่ลุกลน, อยู่ไม่สุข, ไม่เรียบร้อย, ไม่สุภาพ, เช่น เขาเป็นคนมีกิริยาหลุกหลิก.
  82. หลุด
    หมายถึง ก. ออกจากที่ที่ติดอยู่ เช่น พลอยหลุดจากหัวแหวน, พ้นจากความควบคุมอยู่ เช่น หลุดจากที่คุมขัง; (กฎ) ขาดกรรมสิทธิ์ เช่น เอาทรัพย์จำนำหลุดเป็นสิทธิ.
  83. หลุดปาก
    หมายถึง ก. พลั้งปาก.
  84. หลุดพ้น
    หมายถึง ก. เป็นอิสระจากสิ่งผูกมัด เช่น หลุดพ้นจากกิเลส หลุดพ้นจากคดี.
  85. หลุดมือ
    หมายถึง ก. หลุดไปจากมือ เช่น ปลาหลุดมือไป, โดยปริยายหมายความว่าสูญเสียสิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น พอมีการเปลี่ยนรัฐบาล ตำแหน่งของเขาก็หลุดมือไป, คาดว่าจะได้แต่ไม่ได้ เช่น ตำรวจคาดว่าจะจับผู้ร้ายได้ แต่ไปถึงผิดเวลาไปหน่อยเดียว ผู้ร้ายจึงหลุดมือไปได้.
  86. หลุดลอย
    หมายถึง ก. พ้นจากที่ยึดไว้แล้วล่องลอยไป เช่น เรือที่ผูกไว้กับหลัก พอถูกคลื่นซัดก็หลุดลอยไป, โดยปริยายหมายความว่า ขาดพ้นไป, สูญสิ้นไป, หมดโอกาสที่จะได้, เช่น ลาภที่ควรได้หลุดลอยไป โอกาสหลุดลอยไป.
  87. หลุดลุ่ย
    หมายถึง ก. คลายตัวหลุดเลื่อนไปจากสภาพเดิม เช่น ผมหลุดลุ่ย เสื้อผ้าหลุดลุ่ย. ว. ไม่มีทางสู้ เช่น แพ้หลุดลุ่ย คะแนนทิ้งห่างกันหลุดลุ่ย.
  88. หลุน ๆ
    หมายถึง ว. เร็ว ๆ เช่น ก้อนหินตกจากยอดเขากลิ้งหลุน ๆ ลงมา เด็กวิ่งหลุน ๆ หัวซุกหัวซุน.
  89. หลุบ
    หมายถึง [หฺลุบ] ก. ลู่ลงมา, ปกลงมา, เช่น ผมหลุบหน้า หนังตาหลุบ.
  90. หลุบลู่
    หมายถึง [หฺลุบ-] ว. ซุบซู่, ซอมซ่อ; ที่ปกลงมาอย่างไม่เรียบร้อย เช่น เสื้อผ้าหลุบลู่เพราะเปียกฝนโชก.
  91. หลุม
    หมายถึง [หฺลุม] น. ที่ซึ่งมีลักษณะเป็นบ่อ มักมีขนาดเล็กและตื้น, ที่ซึ่งขุดลงไปในพื้นดิน มีลักษณะตามต้องการเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หลุมเสา หลุมเผาถ่าน.
  92. หลุมพราง
    หมายถึง น. หลุมที่ทำลวงไว้; โดยปริยายหมายความว่า เล่ห์กล หรือ อุบาย.
  93. หลุมพอ
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Intsia palembanica Miq. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าดิบทางภาคใต้ เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง, กะลำพอ หรือ ตะลุมพอ ก็เรียก.
  94. หลุมพี
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นกะลุมพี. (ดู กะลุมพี).
  95. หลุมหลบภัย
    หมายถึง น. หลุมที่ใช้สำหรับกำบังภัยทางอากาศ.
  96. หลุมอากาศ
    หมายถึง น. บริเวณอากาศบางเป็นเหตุให้เครื่องบินเสียระดับโดยกะทันหัน.
  97. หลุมเสือก
    หมายถึง น. หลุมที่ตรงปากใช้โคลนหรือดินเหนียวทำให้ลื่นเพื่อให้ปลาเสือกตัวลงไป.
  98. หลุมโจน
    หมายถึง น. หลุมสำหรับลวงให้ปลากระโดดลงไป.
  99. หลู่
    หมายถึง ก. ลบคุณ, ดูถูก, ไม่นับถือ, เช่น หลู่คุณ หลู่เกียรติ.
  100. หลู่หลี่
    หมายถึง ว. โลเล; ไม่ใคร่กลัวใคร.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ห (หน้าที่ 10)"