พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ส (หน้าที่ 5)

  1. สมาส
    หมายถึง [สะหฺมาด] น. การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาต่อกันเป็นศัพท์เดียวตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สุนทร + พจน์ เป็น สุนทรพจน์ รัฐ + ศาสตร์ เป็น รัฐศาสตร์ อุดม + การณ์ เป็น อุดมการณ์. (ป., ส.).
  2. สมิง
    หมายถึง [สะหฺมิง] น. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้ หรือเสือที่กินคนมาก ๆ เข้า เชื่อกันว่าวิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นคนได้ เรียกว่า เสือสมิง; ตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายมอญ. (ต. สมิง ว่า พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้าเมือง, ผู้ปกครอง).
  3. สมิงทอง
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  4. สมิงพราย
    หมายถึง น. เจ้าผี.
  5. สมิงมิ่งชาย
    หมายถึง น. ชายชาติทหาร, ยอดชาย.
  6. สมิต
    หมายถึง ดู สมิทธ์, สมิทธิ.
  7. สมิต
    หมายถึง [สะมิด] ก. ยิ้ม, เบิกบาน. (ส.; ป. สิต).
  8. สมิต
    หมายถึง [สะมิด] ก. ประสม, รวบรวม. (ป.).
  9. สมิต
    หมายถึง [สะมิด] น. กิ่งแห้งของต้นไม้บางชนิด เช่นต้นโพใช้เป็นเชื้อไฟในพิธีโหมกูณฑ์. (ส.); ใบไม้ ๓ ชนิด คือ ใบมะม่วง ใบทอง และใบตะขบ ที่ถวายพระเจ้าแผ่นดินในพิธีอภิเษก เช่นราชาภิเษก.
  10. สมิติ
    หมายถึง [สะ-] น. ที่ประชุม. (ป., ส.).
  11. สมิทธ์,สมิทธิ
    หมายถึง [สะมิด, สะมิดทิ] ว. สำเร็จพร้อม, สมบูรณ์, สัมฤทธิ์, เขียนว่า สมิต ก็มี. (ป.).
  12. สมี
    หมายถึง [สะหฺมี] น. คำเรียกพระภิกษุผู้ต้องอธิกรณ์ขั้นปาราชิก; (โบ) คำใช้เรียกพระภิกษุ.
  13. สมี
    หมายถึง [สะหฺมี] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Sesbania sesban (L.) Merr. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลืองมีประสีนํ้าตาล ใบคล้ายใบโสนใช้ทำยาและใช้ในพิธีพลีกูณฑ์. (ส. ศมี).
  14. สมีปะ
    หมายถึง [สะมี-] (แบบ) ว. ใกล้ เช่น สมีปสร้อยสระศรี. (สมุทรโฆษ). (ป.).
  15. สมีระ
    หมายถึง [สะมี-] น. ลม. (ป., ส. สมีรณ).
  16. สมุก
    หมายถึง [สะหฺมุก] น. ถ่านทำจากใบตองแห้งใบหญ้าคาเป็นต้นป่นให้เป็นผงประสมกับรักนํ้าเกลี้ยง สำหรับทารองพื้นบนสิ่งต่าง ๆ เช่นบานประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารก่อนที่จะเขียนลายรดนํ้าปิดทอง.
  17. สมุก
    หมายถึง [สะหฺมุก] น. ภาชนะสานก้น ๔ มุม มีฝาสวมครอบ สำหรับใส่สิ่งของต่าง ๆ. (ป. สมุคฺค ว่า หีบ, ตะกร้า).
  18. สมุจจัย
    หมายถึง [สะหฺมุดไจ] น. การรวบรวม. (ป., ส.).
  19. สมุจเฉท,สมุจเฉท-
    หมายถึง [สะหฺมุดเฉด, -เฉดทะ-] น. การตัดขาด. (ป., ส.).
  20. สมุจเฉทปหาน
    หมายถึง [-ปะหาน] น. การละกิเลสได้ขาดอย่างพระอรหันต์.
  21. สมุฏฐาน
    หมายถึง [สะหฺมุดถาน] น. ที่เกิด, ที่ตั้ง, เหตุ, เช่น สมุฏฐานของโรค โรคนี้มีจิตเป็นสมุฏฐาน. (ป.).
  22. สมุด
    หมายถึง [สะหฺมุด] น. กระดาษที่ทำเป็นเล่ม มีหลายชนิดเรียกชื่อตามประโยชน์ใช้สอย เช่น สมุดวาดเขียน สมุดแผนที่ สมุดแบบฝึกหัดคัดลายมือ.
  23. สมุดข่อย
    หมายถึง น. สมุดไทย.
  24. สมุดปูมเดินทาง
    หมายถึง น. สมุดบันทึกรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเดินเรือหรือการเดินอากาศ เช่น เดินทางจากไหนถึงไหน วันที่เดินทาง จำนวนชั่วโมง ฯลฯ.
  25. สมุดรายงาน
    หมายถึง น. สมุดบันทึกผลการเรียนและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของนักเรียน, เดิมเรียกว่า สมุดพก.
  26. สมุดไทย
    หมายถึง น. สมุดที่ทำด้วยกระดาษข่อยแผ่นยาว ๆ หน้าแคบ พับทางขวางทบกลับไปกลับมาคล้ายผ้าจีบ เป็นสมุดเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้งชนิดกระดาษขาวและกระดาษดำ, สมุดข่อย ก็เรียก.
  27. สมุตถาน
    หมายถึง [สะหฺมุดถาน] น. สมุฏฐาน. (ส.; ป. สมุฏฺาน).
  28. สมุทร
    หมายถึง [สะหฺมุด] น. ดาวเนปจูน.
  29. สมุทร,สมุทร,สมุทร-
    หมายถึง [สะหฺมุด, สะหฺมุดทฺระ-] น. ทะเลลึก; เรียกทะเลขนาดใหญ่ ซึ่งมีแผ่นดินโอบล้อมเป็นตอน ๆ ว่า มหาสมุทร เช่น มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก. (ส.; ป. สมุทฺท).
  30. สมุทรศาสตร์
    หมายถึง [สะหฺมุดทฺระ-] น. วิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของนํ้าทะเล ชีววิทยาทะเล และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของทะเลและมหาสมุทร. (อ. oceanography).
  31. สมุทรเสนา
    หมายถึง [สะหฺมุดทฺระ-] (เลิก) น. เรียกลูกเสือพวกหนึ่งตามจังหวัดชายทะเลว่า ลูกเสือสมุทรเสนา.
  32. สมุทรโคดม
    หมายถึง [สะหฺมุดทฺระ-] น. ข้าวฟ่างสมุทรโคดม. (ดู ข้าวฟ่าง).
  33. สมุทรโจร
    หมายถึง [สะหฺมุดทฺระ-] น. โจรสลัด.
  34. สมุทัย
    หมายถึง [สะหฺมุไท, สะหฺมุดไท] น. ต้นเหตุ, ที่เกิด, ในคำว่า ทุกขสมุทัย หมายถึง ต้นเหตุหรือที่เกิดแห่งทุกข์. (ป., ส.).
  35. สมุน
    หมายถึง [สะหฺมุน] น. บริวาร, คนอยู่ในบังคับ, มักเรียกว่า ลูกสมุน.
  36. สมุน
    หมายถึง [สะหฺมุน] น. จาก คา หรือใบไม้ที่ใช้มุงหลบหลังคา.
  37. สมุน
    หมายถึง [สะหฺมุน] น. สวะหญ้าขนาดใหญ่ที่อยู่ชายฝั่ง.
  38. สมุน
    หมายถึง [สะหฺมุน] น. หมอทำพิธีเบิกไพรเพื่อป้องกันภัยในป่า.
  39. สมุนไพร
    หมายถึง [สะหฺมุนไพฺร] น. ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และแร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุงร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ เช่น กระเทียม นํ้าผึ้ง รากดิน (ไส้เดือน) เขากวางอ่อน กำมะถัน ยางน่อง โล่ติ๊น.
  40. สมุลแว้ง
    หมายถึง [สะหฺมุนละ-] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cinnamomum thailandica Kosterm. ในวงศ์ Lauraceae เปลือกมีกลิ่นหอมร้อน ใช้ทำยาได้.
  41. สมุห
    หมายถึง [สะหฺมุหะ-] น. หมู่, กอง, พวก. (ป.; ส. สมูห); หัวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ เช่น สมุหพระราชพิธี สมุหราชองครักษ์ สมุห์บัญชี; ตำแหน่งพระฐานานุกรมเหนือใบฎีกา เช่น พระสมุห์ พระครูสมุห์.
  42. สมุห-
    หมายถึง [สะหฺมุหะ-] น. หมู่, กอง, พวก. (ป.; ส. สมูห); หัวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ เช่น สมุหพระราชพิธี สมุหราชองครักษ์ สมุห์บัญชี; ตำแหน่งพระฐานานุกรมเหนือใบฎีกา เช่น พระสมุห์ พระครูสมุห์.
  43. สมุหกลาโหม
    หมายถึง น. ตำแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารครั้งโบราณ.
  44. สมุหนาม
    หมายถึง (ไว) น. คำนามที่บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของที่รวมกันอยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวก เช่น กอง หมู่ คณะ ฝูง พวก.
  45. สมุหนายก
    หมายถึง น. ตำแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนครั้งโบราณ.
  46. สมุหประธาน
    หมายถึง (โบ) น. เสนาบดีชั้นจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา.
  47. สมุหพระกลาโหม
    หมายถึง น. ตำแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารครั้งโบราณ.
  48. สมุหเทศาภิบาล
    หมายถึง น. ผู้สำเร็จราชการมณฑลสมัยโบราณ.
  49. สมุห์
    หมายถึง [สะหฺมุ] น. หมู่, กอง, พวก. (ป.; ส. สมูห); หัวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ เช่น สมุหพระราชพิธี สมุหราชองครักษ์ สมุห์บัญชี; ตำแหน่งพระฐานานุกรมเหนือใบฎีกา เช่น พระสมุห์ พระครูสมุห์.
  50. สมเญศ
    หมายถึง [สมเยด] (กลอน) น. ชื่อ.
  51. สมเด็จ
    หมายถึง น. คำยกย่องหน้าชื่อฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิด หรือแต่งตั้ง หมายความว่า ยิ่งใหญ่หรือประเสริฐ เช่น สมเด็จพระราชินี สมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จเจ้าพระยา สมเด็จพระราชาคณะ, ใช้แต่ลำพังว่า สมเด็จ ก็มี.
  52. สมเด็จพระสังฆราช
    หมายถึง (กฎ) น. ประมุขแห่งคณะสงฆ์ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก.
  53. สมเพช
    หมายถึง [-เพด] ก. สงสารสลดใจ, ควรได้รับความกรุณา, เช่น เห็นคนอนาถาแล้วอดสมเพชไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เวทนา เป็น สมเพชเวทนา. (ป., ส. สํเวชน ว่า สยดสยอง, สังเวช).
  54. สมเสร็จ
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Tapirus indicus ในวงศ์ Tapiridae เป็นสัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ ลำตัวตอนกลางสีขาว ส่วนหัวและท้ายสีดำ ขอบหูสีขาว จมูกและริมฝีปากบนยื่นยาวออกมาคล้ายงวงยืดหดเข้าออกได้ หางสั้น ลูกเกิดใหม่ตัวมีลายสีขาวตามยาว กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, ผสมเสร็จ ก็เรียก.
  55. สมเหตุสมผล
    หมายถึง ว. มีเหตุผลสมควร, มีเหตุผลรับกัน, เช่น คำชี้แจงของเขาสมเหตุสมผล เขาอภิปรายได้สมเหตุสมผล.
  56. สมโพธน์
    หมายถึง น. คำร้องเรียก, คำอาลปนะในไวยากรณ์. (ส. ว่า การร้องเรียก, การปราศรัย).
  57. สมโพธิ
    หมายถึง [-โพด] น. การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ป.).
  58. สมโภค
    หมายถึง [-โพก] น. การเสวยสุขกายใจอันเป็นไปในทางโลก. (ป., ส.).
  59. สมโภช
    หมายถึง [-โพด] น. การกินร่วม, การเลี้ยงอาหาร; งานเลี้ยง, งานฉลองในพิธีมงคลเพื่อความยินดีร่าเริง เช่น งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี งานสมโภชพระสุพรรณบัฏ (ใช้เฉพาะแต่ในงานพระราชพิธีเท่านั้น). (ป.; ส. สมฺโภชน).
  60. สมโมท
    หมายถึง [-โมด] ก. ยินดี, ร่าเริง, พอใจ, สัมโมท ก็ว่า. (ป., ส. สมฺโมท).
  61. สมโยค
    หมายถึง [-โยก] ก. ร่วมประเวณี. (ส.).
  62. สมใจ
    หมายถึง ก. เป็นไปดังที่คิดไว้ เช่น เขาอยากได้หนังสือเล่มนี้มานานแล้ว วันนี้มีคนเอามาให้ ก็เลยได้ไว้สมใจ.
  63. สมใน
    หมายถึง น. เลกของเจ้านายฝ่ายใน.
  64. สม่ำเสมอ
    หมายถึง [สะหฺมํ่าสะเหฺมอ] ว. เสมอเป็นปรกติ เช่น มาประชุมสม่ำเสมอ, เสมอตามกำหนด เช่น ส่งดอกเบี้ยสม่ำเสมอ; ราบเรียบ, ไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พื้นไม่สม่ำเสมอ.
  65. สยด
    หมายถึง [สะหฺยด] ก. ใจหายวาบขึ้นทันที เพราะความหวาดกลัวต่อสิ่งที่ได้เห็น.
  66. สยดสยอง
    หมายถึง [สะหฺยดสะหฺยอง] ว. รู้สึกหวาดเสียวมีอาการขนลุกขนพองตามมาด้วย เช่น เห็นเขาใช้ดาบแทงกันจนไส้ทะลักรู้สึกสยดสยอง.
  67. สยดแสยง
    หมายถึง ก. สยดโดยมีอาการขยะแขยงทั้งเกลียดทั้งกลัวตามมาด้วย.
  68. สยนะ
    หมายถึง [สะยะ-] น. ที่นอน; การนอน. (ป.).
  69. สยบ
    หมายถึง [สะหฺยบ] ก. ซบลง, ฟุบลง, เช่น สยบอยู่แทบเท้า; แพ้ เช่น เขายอมสยบอย่างราบคาบ, ทำให้พ่ายแพ้ เช่น พระพุทธเจ้าสยบมาร.
  70. สยมพร
    หมายถึง [สะหฺยมพอน] น. พิธีเลือกคู่ของกษัตริย์สมัยโบราณ; การเลือกผัวของนางกษัตริย์สมัยโบราณ, สยัมพร สยุมพร หรือ สวยมพร ก็ใช้. (ป. สยํวร; ส. สฺวยํวร).
  71. สยมภู
    หมายถึง [สะหฺยมพู] น. พระผู้เป็นเอง, พระอิศวร, สวยมภู ก็ใช้. (ป. สยมฺภู; ส. สฺวยมฺภู).
  72. สยอง
    หมายถึง [สะหฺยอง] ว. อาการที่ขนลุกขนชันเพราะความหวาดกลัว ในความว่า ขนพองสยองเกล้า.
  73. สยองขวัญ
    หมายถึง ว. น่าหวาดกลัวจนขวัญหาย เช่น นวนิยายสยองขวัญ.
  74. สยอน
    หมายถึง [สะหฺยอน] ก. หวาดเสียว, กลัว.
  75. สยัมพร
    หมายถึง [สะหฺยำพอน] น. สยมพร, สยุมพร หรือ สวยมพร ก็ใช้.
  76. สยัมวรา
    หมายถึง [สะยำวะ-] น. หญิงที่เลือกคู่เอาเอง. (ป.; ส. สยํวรา, สฺวยํวรา).
  77. สยาม,สยาม-
    หมายถึง [สะหฺยาม, สะหฺยามมะ-] น. ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒; ของประเทศไทย.
  78. สยามรัฐ
    หมายถึง [สะหฺยามมะ-] น. แคว้นไทย, ประเทศไทย.
  79. สยามานุสติ
    หมายถึง [สะหฺยามมานุดสะติ, สะหฺยามานุดสะติ] น. การระลึกถึงประเทศสยาม, ชื่อโคลง ๔ สุภาพ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  80. สยามินทร์
    หมายถึง [สะหฺยามิน] น. ผู้เป็นใหญ่ในสยามหมายถึง พระมหากษัตริย์ของประเทศไทย.
  81. สยาย
    หมายถึง [สะหฺยาย] ก. คลี่หรือคลายสิ่งที่มุ่นหรือเป็นกลุ่มก้อนอยู่ให้แผ่กระจายออก เช่น สยายผม. ว. ที่คลี่หรือคลายสิ่งที่มุ่นหรือเป็นกลุ่มก้อนอยู่ให้แผ่กระจายออก เช่น ผมสยาย.
  82. สยิว
    หมายถึง [สะหฺยิว] ก. รู้สึกเย็นเยือก, รู้สึกเสียวซ่าน, รู้สึกวาบหวาม เช่น สยิวกาย สยิวใจ.
  83. สยิ้ว
    หมายถึง [สะยิ่ว] ก. ทำหน้านิ่วคิ้วขมวดแสดงความไม่พอใจหรือเบื่อหน่าย ในคำว่า สยิ้วหน้า สยิ้วพระพักตร์.
  84. สยุมพร
    หมายถึง ดู ชะโอน.
  85. สยุมพร
    หมายถึง [สะหฺยุมพอน] น. สยมพร, สยัมพร หรือ สวยมพร ก็ใช้.
  86. สยุมภู
    หมายถึง [สะหฺยุมพู] ว. เป็นเองตามธรรมชาติ เช่น รกสยุมภู ว่า รกอย่างเป็นเองตามธรรมชาติ.
  87. สยุ่น
    หมายถึง [สะหฺยุ่น] น. เครื่องมือกลึงไม้ชนิดหนึ่ง รูปเหมือนสิ่ว ตัวทำด้วยเหล็ก ด้ามทำด้วยไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก มีหน้าต่าง ๆ เช่น หน้าตัด หน้าสามเหลี่ยม หน้าโค้ง.
  88. สร
    หมายถึง [สอน] น. ศร. (ป.; ส. ศร).
  89. สร
    หมายถึง [สอระ-] ว. ทิพย์, แกล้วกล้า, เช่น สรศาสดา สรศักดิ์ สรสีห์. (ป., ส. สุร).
  90. สร-
    หมายถึง [สอระ-] ว. ทิพย์, แกล้วกล้า, เช่น สรศาสดา สรศักดิ์ สรสีห์. (ป., ส. สุร).
  91. สร,สร-,สร-
    หมายถึง [สฺระ-] คำนำหน้าคำอื่นที่ใช้ในบทกลอนเพื่อความสละสลวย เช่น ดื่น เป็น สรดื่น, คำที่แผลงมาจากคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว ส ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สนุก เป็น สรนุก.
  92. สรกะ
    หมายถึง [สะระกะ] น. จอก, ขัน. (ป., ส.).
  93. สรง
    หมายถึง [สง] ก. อาบนํ้า (ใช้แก่บรรพชิตและเจ้านาย). (ข.).
  94. สรฏะ
    หมายถึง [สะระ-] น. กิ้งก่า. (ป., ส.).
  95. สรณ,สรณ-,สรณะ
    หมายถึง [สะระนะ-] น. ที่พึ่ง, ที่ระลึก; ความระลึก. (ป.; ส. ศรณ).
  96. สรณคมน์,สรณาคมน์
    หมายถึง น. การยึดเอาเป็นที่พึ่งที่ระลึก, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก เรียกว่า ไตรสรณคมน์ หรือ ไตรสรณาคมน์. (ป.).
  97. สรณตรัย
    หมายถึง น. ที่พึ่งทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.
  98. สรดัก
    หมายถึง [สฺระ-] (กลอน) ก. เต็มไป, ดาษไป, แน่นไป.
  99. สรดึ่น
    หมายถึง [สฺระ-] (กลอน) ก. ตื่นใจ. ว. เป็นพืดไป.
  100. สรดื่น
    หมายถึง [สฺระ-] (กลอน) ว. เกลื่อนกลาด, ดาษดื่น.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ส (หน้าที่ 5)"