พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ส (หน้าที่ 2)

  1. สตรีเพศ
    หมายถึง น. เพศหญิง, คู่กับ บุรุษเพศ.
  2. สตะ
    หมายถึง ว. ระลึกได้, จำได้. (ป.; ส. สฺมฺฤต).
  3. สตันย์
    หมายถึง [สะ-] (แบบ) น. นํ้านม. (ส.; ป. ถญฺ;).
  4. สตัพธ์
    หมายถึง [สะตับ] (แบบ) ว. แข็งกระด้าง, เย่อหยิ่ง. (ส. สฺตพฺธ; ป. ถทฺธ).
  5. สตัฟฟ์
    หมายถึง [สะ-] น. การนำวัสดุบางอย่างบรรจุในโครงหนังสัตว์ซึ่งผ่านกรรมวิธีทางเคมีสำหรับรักษาไม่ให้เน่าเปื่อยแล้วตกแต่งให้ดูเหมือนสัตว์จริง. (อ. stuff).
  6. สตัมภ์
    หมายถึง [สะ-] (แบบ) น. เสา, หลัก; เครื่องค้ำจุน. (ส. สฺตมฺภ, สฺตมฺพ; ป. ถมฺภ).
  7. สตางค์
    หมายถึง [สะตาง] น. เหรียญกระษาปณ์ปลีกย่อย ๑๐๐ สตางค์ เป็น ๑ บาท, อักษรย่อว่า สต., โดยปริยายหมายถึงเงินที่ใช้สอย เช่น วันนี้ไม่มีสตางค์ติดตัวมาเลย เขาเป็นคนมีสตางค์; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๐.๑๕ กรัม; (โบ) มาตราวัดน้ำฝนเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของทศางค์.
  8. สติ
    หมายถึง [สะติ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ, ความรู้สึกผิดชอบ เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ กำหนดสติ. (ป.; ส. สฺมฺฤติ).
  9. สติปัญญา
    หมายถึง น. ปัญญารอบคอบ, ปัญญารู้คิด, เช่น เขาเป็นคนมีสติปัญญาดี.
  10. สติปัฏฐาน
    หมายถึง น. ชื่อธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต ธรรม. (ป.).
  11. สติฟั่นเฟือน
    หมายถึง ว. คุ้มดีคุ้มร้าย.
  12. สติลอย
    หมายถึง ว. เหม่อ, เผลอสติ, เช่น เขาเดินสติลอยเลยถูกรถชน.
  13. สติวินัย
    หมายถึง น. วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ของสงฆ์โดยไม่ต้องพิจารณา เพียงแต่สวดกรรมวาจาประกาศความไม่มีโทษของจำเลยไว้ซึ่งเรียกว่า ให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย. (ป.).
  14. สติวิปลาส
    หมายถึง [-วิปะลาด] ว. มีสติฟั่นเฟือนคล้ายคนบ้า, สัญญาวิปลาส ก็ว่า.
  15. สติสัมปชัญญะ
    หมายถึง น. ความระลึกได้และความรู้ตัว, ความรู้สึกตัวด้วยความรอบคอบ, เช่น จะทำอะไรต้องมีสติสัมปชัญญะ.
  16. สติอารมณ์
    หมายถึง น. ความคิดที่ฟุ้งซ่าน เช่น สงบสติอารมณ์เสียบ้าง อย่าคิดมากไปเลย. (ป.).
  17. สติแตก
    หมายถึง ก. ควบคุมสติไม่ได้.
  18. สติไม่ดี
    หมายถึง ว. บ้า ๆ บอ ๆ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น หมู่นี้สติไม่ดี ทำงานผิดพลาดบ่อย ๆ.
  19. สตี
    หมายถึง [สะ-] น. นางที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี; ธรรมเนียมที่ผู้หญิงชาวฮินดูเผาตัวบนกองไฟพร้อมกับศพสามีเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีและความบริสุทธิ์. (ส.).
  20. สตู
    หมายถึง [สะ-] น. อาหารคาวชนิดหนึ่ง นำเนื้อหรือไก่เป็นต้นเคี่ยวในน้ำสต๊อกให้นุ่มด้วยไฟอ่อน ๆ ใส่ผัก เช่น มะเขือเทศ ถั่วแขก มันฝรั่ง มีน้ำข้น. (อ. stew).
  21. สตูป
    หมายถึง [สะตูบ] (แบบ) น. สถูป, สิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชามีกระดูกแห่งบุคคลที่นับถือเป็นต้น, สดูป ก็ว่า. (ส.; ป. ถูป).
  22. สถน
    หมายถึง [สะถน] (แบบ) น. เต้านม. (ส. สฺตน; ป. ถน).
  23. สถบดี
    หมายถึง [สะถะบอดี] (แบบ) น. ช่างก่อสร้าง, ช่างไม้. (ส. สฺถปติ; ป. ถปติ).
  24. สถล,สถล-
    หมายถึง [สะถน, สะถนละ-] น. ที่บก, ที่ดอน, ที่สูง. (ส.; ป. ถล).
  25. สถลทิน
    หมายถึง น. ชื่อสถานที่สำหรับทำพิธีเกี่ยวกับรับช้างเผือก ทำเป็นเนินดินมีเสาโครงเพดานผ้าขาวเป็นที่หุงข้าวเภาและปักต้นอ้อย.
  26. สถลบถ,สถลมารค
    หมายถึง น. ทางบก เช่น กระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค. (ส.).
  27. สถวีระ
    หมายถึง [สะถะวีระ] (แบบ) น. พระเถระ; ชื่อนิกายหนึ่งของฝ่ายเถรวาท เรียกว่า นิกายสถวีระ หรือ สถีรวาท. (ส. สฺถวิร ว่า ผู้ใหญ่, ผู้สูงอายุ; ป. เถร).
  28. สถาน
    หมายถึง [สะถาน] น. ที่ตั้ง เช่น สถานเสาวภา สถานพยาบาล สถานพักฟื้น สถานบริบาลทารก, ถ้าใช้ประกอบคำอื่นหมายถึง ที่, แหล่ง, เช่น โบราณสถาน ศาสนสถาน ฌาปนสถาน ปูชนียสถาน สังเวชนียสถาน; ประการ เช่น มีความผิดหลายสถาน. (ส.; ป. าน).
  29. สถาน,สถาน-,สถาน-,สถานะ
    หมายถึง [สะถานะ-] น. ความเป็นไป, ความเป็นอยู่, เช่น เขาอยู่ในสถานะยากไร้ เศรษฐกิจของประเทศไทยมีสถานะมั่นคง น้ำมีสถานะปรกติเป็นของเหลว.
  30. สถานกงสุล
    หมายถึง น. ที่ทำการของกงสุล.
  31. สถานการณ์
    หมายถึง น. เหตุการณ์ที่กำลังเป็นไป เช่น สถานการณ์บ้านเมืองเป็นปรกติดี.
  32. สถานการณ์ฉุกเฉิน
    หมายถึง (กฎ) น. สถานการณ์อันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร หรืออันอาจทำให้ประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือภาวะการรบหรือการสงคราม.
  33. สถานที่
    หมายถึง น. ที่ตั้ง, แหล่ง, เช่น สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ตากอากาศ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ.
  34. สถานทูต
    หมายถึง น. ที่ทำการของทูต.
  35. สถานธนานุบาล
    หมายถึง น. โรงรับจำนำของกรุงเทพมหานคร, โรงรับจำนำของเทศบาล.
  36. สถานธนานุเคราะห์
    หมายถึง น. โรงรับจำนำของกรมประชาสงเคราะห์.
  37. สถานบริการ
    หมายถึง (กฎ) น. สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในการค้า ดังต่อไปนี้ (๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ประเภทที่มีและประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ (๒) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีหญิงบำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า (๓) สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า (๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง.
  38. สถานประกอบการ
    หมายถึง (กฎ) น. สถานที่ซึ่งผู้ประกอบการใช้ประกอบกิจการเป็นประจำและหมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย.
  39. สถานภาพ
    หมายถึง น. ฐานะ เช่น ราชบัณฑิตยสถานมีสถานภาพเป็นแหล่งค้นคว้าและบำรุงสรรพวิชา; ตำแหน่งหรือเกียรติยศของบุคคลที่ปรากฏในสังคม เช่น เขามีสถานภาพเป็นผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี; สิทธิหน้าที่ตามบทบาทของบุคคล เช่น เขามีสถานภาพทางครอบครัวเป็นบิดา.
  40. สถานี
    หมายถึง [สะถานี] น. หน่วยที่ตั้งเป็นที่พักหรือที่ทำการ เช่น สถานีตำรวจ สถานีรถไฟ สถานีตรวจอากาศ สถานีขนส่ง; ฐานส่งกำลังบำรุงของกองทัพเรือที่ประจำอยู่บนบก มีฐานใหญ่ ๆ ๓ แห่ง เรียกว่า สถานีทหารเรือ คือ สถานีทหารเรือกรุงเทพ สถานีทหารเรือสงขลา สถานีทหารเรือพังงา, ฐานส่งกำลังบำรุงหน่วยย่อยสำหรับการปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง เรียกว่า สถานีเรือ เช่น สถานีเรืออำเภอเชียงคาน สถานีเรืออำเภอโขงเจียม สถานีเรืออำเภอธาตุพนม; ตำแหน่งของเรือขณะอยู่ในรูปกระบวน เช่น เรือ ก รักษาสถานีทางขวาของเรือ ข ระยะ ๕๐๐ หลา; ที่ที่กำหนดให้ทหารเรือประจำเพื่อปฏิบัติการตามภารกิจต่าง ๆ เช่น สถานีรบ สถานีจอดเรือ สถานีออกเรือ สถานีช่วยคนตกน้ำ สถานีรับส่งสิ่งของทางทะเล; ที่ที่มีหน่วยปฏิบัติการเฉพาะ เช่น สถานีสื่อสารดาวเทียม สถานีสมุทรศาสตร์ สถานีตรวจอากาศ.
  41. สถานีอนามัย
    หมายถึง น. สถานบริการสาธารณสุขที่ไม่มีแพทย์ประจำ ให้บริการสาธารณสุขทุกสาขา และส่งเสริมป้องกันด้านอนามัยแก่ประชาชนในระดับตำบลและหมู่บ้าน, เดิมเรียกว่า สุขศาลา.
  42. สถาบก
    หมายถึง [สะ-] (โบ) ก. สร้าง. (จารึกสยาม). (ส. สฺถาปก ว่า ผู้ตั้ง, ผู้สร้าง).
  43. สถาบัน
    หมายถึง [สะ-] (สังคม) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้นเพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจำเป็นแก่วิถีชีวิตของตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันการเงิน. (ส.).
  44. สถาปนา
    หมายถึง [สะถาปะนา] ก. ยกย่องโดยแต่งตั้งให้สูงขึ้น เช่นเลื่อนเจ้านายให้สูงศักดิ์ขึ้น หรือยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง, ตั้งขึ้น (มักใช้แก่หน่วยราชการหรือองค์การที่สำคัญ ๆ ในระดับกระทรวง ทบวงมหาวิทยาลัย) เช่น วันสถาปนากระทรวงมหาดไทย วันสถาปนาราชบัณฑิตยสถาน วันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ส. สฺถาปน; ป. าปน).
  45. สถาปนิก
    หมายถึง [สะถาปะ-] น. ผู้ทรงคุณวุฒิในการสร้างสรรค์ทางออกแบบก่อสร้าง. (ส.).
  46. สถาปนียพยากรณ์
    หมายถึง [-นียะ-] น. การจำแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมโดยอาการนิ่ง.
  47. สถาปนียวาที
    หมายถึง [-นียะ-] น. ผู้จำแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมโดยการนิ่ง.
  48. สถาปัตยกรรม
    หมายถึง [สะถาปัดตะยะกำ] น. ศิลปะและวิทยาเกี่ยวกับงานก่อสร้างที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ. (ส. สฺถาปตฺย + กรฺมนฺ).
  49. สถาปัตยกรรมศาสตร์
    หมายถึง [สะถาปัดตะยะกำมะสาด] น. วิชาว่าด้วยการออกแบบงานก่อสร้างที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ.
  50. สถาปัตยเรขา
    หมายถึง [สะถาปัดตะยะ-] น. แบบร่างหรือต้นแบบการออกแบบก่อสร้าง.
  51. สถาปัตยเวท
    หมายถึง [สะถาปัดตะยะเวด] น. วิชาการก่อสร้าง เป็นสาขาหนึ่งของอุปเวท. (ส. สฺถาปตฺย + เวท). (ดู อุปเวท ประกอบ).
  52. สถาพร
    หมายถึง [สะถาพอน, -วอน] ว. ยืนยง, มั่นคง, เช่น ขอให้มีความสุขสถาพร สถิตสถาพร. (ส. สฺถาวร; ป. ถาวร).
  53. สถาล
    หมายถึง [สะถาน] (แบบ) น. ภาชนะใส่ของ, จาน, ชาม. (ส. สฺถาล; ป. ถาล).
  54. สถาวร
    หมายถึง [สะถาพอน, -วอน] ว. ยืนยง, มั่นคง, เช่น ขอให้มีความสุขสถาพร สถิตสถาพร. (ส. สฺถาวร; ป. ถาวร).
  55. สถิต
    หมายถึง [สะถิด] ก. อยู่, ยืนอยู่, ตั้งอยู่, (ใช้เป็นคำยกย่องแก่สิ่งหรือบุคคลที่อยู่ในฐานะสูง) เช่น พระเจ้าสถิตบนสวรรค์ พระมหากษัตริย์สถิตบนพระที่นั่ง สมเด็จพระสังฆราชสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร. (ส. สฺถิต; ป. ต).
  56. สถิตยศาสตร์
    หมายถึง [สะถิดตะยะ-] น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยแรงที่กระทำต่อเทหวัตถุซึ่งเป็นของแข็ง โดยที่เทหวัตถุนั้น ๆ หยุดนิ่งอยู่กับที่. (อ. statics).
  57. สถิติ
    หมายถึง [สะ-] น. หลักฐานที่รวบรวมเอาไว้เป็นตัวเลขสำหรับเปรียบเทียบหรือใช้อ้างอิง เช่น สถิติในการส่งสินค้าออกปีนี้สูงกว่าปีที่แล้ว. (ส. สฺถิติ; ป. ติ).
  58. สถิติศาสตร์
    หมายถึง น. วิชาว่าด้วยสถิติ. (อ. statistics).
  59. สถิร,สถิร-
    หมายถึง [สะถิระ-] ว. มั่นคง, แข็ง, แข็งแรง. (ส. สฺถิร; ป. ถิร).
  60. สถีรวาท
    หมายถึง [สะถีระวาด] (แบบ) น. ชื่อนิกายหนึ่งของฝ่ายเถรวาท เรียกว่า นิกายสถีรวาท หรือ สถวีระ.
  61. สถุล
    หมายถึง [สะถุน] ว. หยาบ, ตํ่าช้า, เลวทราม, (ใช้เป็นคำด่า), เช่น เลวสถุล, มักใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่สถุล. (ส. สฺถูล ว่า อ้วน, หยาบ; ป. ถูล).
  62. สถูป
    หมายถึง [สะถูบ] น. สิ่งก่อสร้างที่มีรูปโอคว่ำซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชามีกระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เป็นต้น, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ เจดีย์ เป็น สถูปเจดีย์ เช่น เดินเวียนเทียนรอบพระสถูปเจดีย์. (แบบ) สดูป, สตูป. (ป. ถูป; ส. สฺตูป).
  63. สทิง
    หมายถึง [สะ-] น. แม่น้ำ, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
  64. สทึง
    หมายถึง [สะ-] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
  65. สทุม
    หมายถึง [สะ-] น. เรือน. (ป.; ส. สทฺมนฺ).
  66. สธนะ
    หมายถึง [สะทะนะ] ว. มีเงิน, รํ่ารวย. (ป., ส.).
  67. สธุสะ,สาธุสะ
    หมายถึง คำเปล่งขึ้นก่อนกล่าวคำอื่น เพื่อขอความสวัสดิมงคลอย่างเดียวกับคำ ศุภมัสดุ.
  68. สน
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เช่น สนสองใบ หรือ เกี๊ยะเปลือกหนา (Pinus merkusii Jungh. de Vriese), สนสามใบ หรือ เกี๊ยะเปลือกบาง (P. kesiya Royle ex Gordon) ในวงศ์ Pinaceae, ทั้ง ๒ ชนิดนี้ สนเขา ก็เรียก, พายัพเรียก จ๋วง; สนหางกระรอก (Dacrydium elatum Blume) ในวงศ์ Cupressaceae; สนฉำฉา หรือ สนญี่ปุ่น [Podocarpus macrophyllus (Thunb.) D. Don] ในวงศ์ Podocarpaceae; สนทราย หรือ สนสร้อย (Baeckea frutescens L.) ในวงศ์ Myrtaceae; สนทะเล (Casuarina equisetifolia J.R. et G. Forst.) ในวงศ์ Casuarinaceae.
  69. สน
    หมายถึง ก. ร้อยด้วยเชือกหรือด้ายเป็นต้น เช่น สนเข็ม สนตะพาย.
  70. สนตะพาย
    หมายถึง ก. กิริยาที่เอาเชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะ ซึ่งเรียกว่า ตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่า ถูกบังคับให้ยอมทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือ ความโง่เขลาเบาปัญญา.
  71. สนทนา
    หมายถึง [สนทะ-] ก. คุยกัน, ปรึกษาหารือกัน, พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น สนทนาปัญหาบ้านเมือง สนทนาสารทุกข์สุกดิบ. ว. ที่คุยกัน, ที่ปรึกษาหารือกัน, ที่พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น บทสนทนาในนวนิยาย บทสนทนาภาษาอังกฤษ. (เทียบ ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียง, การเปรียบเทียบ).
  72. สนทรรศ
    หมายถึง [-ทัด] น. ภาพ, สิ่งที่ปรากฏ. (ส. สํ + ทรฺศ).
  73. สนทรรศน์
    หมายถึง [-ทัด] น. การดู, การจ้องดู, การแลเห็น. (ส. สํ + ทรฺศน).
  74. สนทิศ
    หมายถึง ก. ชี้แจง, สั่ง, บอกกล่าว, ประกาศ. (ส. สํ + ทิศ).
  75. สนธยา
    หมายถึง [สนทะ-] น. เวลาโพล้เพล้พลบคํ่า, บางทีใช้ว่า ยํ่าสนธยา; ช่วงเวลาที่ต่อระหว่างกลางวันกับกลางคืน คือเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก. (ส.).
  76. สนธิ
    หมายถึง น. ที่ต่อ, การติดต่อ; การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาเชื่อมเสียงให้กลมกลืนกันตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น พจน + อนุกรม เป็น พจนานุกรม ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์ นว + อรห + อาทิ + คุณ เป็น นวารหาทิคุณ. (ป., ส.).
  77. สนธิสัญญา
    หมายถึง น. หนังสือสัญญาที่สำคัญยิ่งและทำเป็นตราสารสมบูรณ์แบบ, ความตกลงระหว่างประเทศ; หนังสือสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างประเทศเอกราชตั้งแต่ ๒ ประเทศขึ้นไป. (อ. treaty).
  78. สนธิอลงกต
    หมายถึง [-อะลงกด] น. โคลงนาคพันธ์.
  79. สนน
    หมายถึง [สะหฺนน] น. ถนน.
  80. สนนราคา
    หมายถึง [สะหฺนน-] น. ราคา.
  81. สนม
    หมายถึง [สะหฺนม] น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตายกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนม. (ข. สฺนํ).
  82. สนม
    หมายถึง [สะหฺนม] น. ข้าราชการในพระราชสำนักทำหน้าที่เกี่ยวกับพิธีศพ ทำสุกำศพหีบ จัดดอกไม้ ดูแลรักษาเครื่องนมัสการ โกศ หีบ เป็นต้น เรียกว่า เจ้าพนักงานสนมพลเรือน. (ข. ).
  83. สนม
    หมายถึง [สะหฺนม] (โบ) น. เขตพระราชฐานซึ่งเป็นที่กักบริเวณผู้มีฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของพวกสนม, เรียกลักษณะที่ถูกกักบริเวณเช่นนั้นว่า ติดสนม.
  84. สนมเอก
    หมายถึง น. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่มจากหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนมเอก ในสมัยโบราณมี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์.
  85. สนวน
    หมายถึง [สะหฺนวน] ดู ฉนวน ๔.
  86. สนอง
    หมายถึง [สะหฺนอง] ก. ทำตามที่ได้รับคำสั่งหรือคำขอร้องเป็นต้น เช่น สนองโครงการในพระราชดำริ สนองนโยบายของรัฐบาล; โต้ตอบ เช่น กรรมตามสนอง, ตอบรับการเสนอ เช่น เสนอขายสนองซื้อ. (ข. สฺนง).
  87. สนองไข
    หมายถึง ก. กล่าวตอบ, อธิบาย.
  88. สนองได
    หมายถึง (ราชา) น. ไม้เกาหลัง.
  89. สนอบ
    หมายถึง [สะหฺนอบ] (โบ) น. เสื้อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานใช้นุ่งห่มเฉพาะในพระราชพิธี โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือในเวลารับแขกเมือง เป็นต้น. (ข. สฺนบ ว่า ผ้าห่อศพ).
  90. สนอม
    หมายถึง [สะหฺนอม] ก. ถนอม.
  91. สนะ
    หมายถึง [สะหฺนะ] น. เสื้อ; เครื่องสอบสวน; หนัง. ก. เย็บ, ชุน, ปัก.
  92. สนัด
    หมายถึง [สะหฺนัด] ก. ถนัด, สันทัด, มั่นเหมาะ. ว. ชัด, แม่นยำ.
  93. สนัดใจ
    หมายถึง ว. ถนัดใจ.
  94. สนับ
    หมายถึง [สะหฺนับ] น. เสื้อ; เครื่องสวม; เครื่องรองอย่างเครื่องรองมือของช่างเย็บเพื่อกันเข็มแทงมือเป็นต้น. ก. ทาบ, ซ้อน, เช่นหญ้าที่โทรมทับหญ้าที่ขึ้นใหม่อีก เรียกว่า ตกสนับ.
  95. สนับ,สนับ,สนับทึบ
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์นํ้าเค็มไม่มีกระดูกสันหลังในสกุล Lepas วงศ์ Lepadidae, เพรียงคอห่าน ก็เรียก.
  96. สนับงา
    หมายถึง น. เนื้อหุ้มที่โคนงาช้าง.
  97. สนับนิ้ว,สนับนิ้วมือ
    หมายถึง น. ปลอกโลหะสวมปลายนิ้วมือสำหรับดุนก้นเข็มเพื่อไม่ให้เจ็บนิ้วมือ.
  98. สนับมือ
    หมายถึง น. เครื่องรองใบลานเพื่อจารหนังสือได้ถนัด; เครื่องสวมมือมักทำด้วยทองเหลืองเป็นรูปเหมือนแหวน ๔ วงติดกันสำหรับสวมนิ้วมือเวลาชก.
  99. สนับสนุน
    หมายถึง ก. ส่งเสริม, ช่วยเหลือ, อุปการะ, เช่น สนับสนุนการกีฬา สนับสนุนการศึกษา.
  100. สนับเพลา
    หมายถึง [-เพฺลา] น. กางเกงชั้นในมีขายาวประมาณครึ่งแข้งแล้วนุ่งผ้าโจงกระเบนทับอย่างตัวละคร, (ราชา) พระสนับเพลา.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ส (หน้าที่ 2)"