พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ศ (หน้าที่ 4)

  1. ศีลธรรม
    หมายถึง [สีนทำ, สีนละทำ] น. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ศีลและธรรม, ธรรมในระดับศีล.
  2. ศีลมหาสนิท
    หมายถึง น. พิธีดื่มเหล้าองุ่นแดงและกินขนมปังที่เสกแล้ว ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายแทนเลือดและเนื้อที่พระเยซูทรงเสียสละไถ่บาปให้มนุษย์และมีเลือดเนื้อเดียวกับพระองค์.
  3. ศีลล้างบาป
    หมายถึง น. พิธีจุ่มหัวหรือตัวลงในนํ้า หรือใช้นํ้าเสกพรมศีรษะเพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน, พิธีจุ่ม ก็เรียก, เดิมเรียกว่า ศีลจุ่ม.
  4. ศีลวัต
    หมายถึง [สีละวัด] ว. มีศีล, มีความประพฤติดี. (ส.).
  5. ศีลอด
    หมายถึง [สีน-] น. การถือบวชของชาวมุสลิม ไม่ดื่มไม่กินอะไรเลยตลอดเวลากลางวันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกในเดือนเราะมะฎอน อันเป็นเดือนที่ ๙ แห่งปีในศาสนาอิสลามนับแบบจันทรคติ.
  6. ศึก
    หมายถึง น. การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันอย่างรุนแรงระหว่างรัฐหรือประเทศตั้งแต่ ๒ รัฐหรือ ๒ ประเทศขึ้นไป เช่น ศึกชายแดน, การต่อสู้กันระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือระหว่างพวกหนึ่งกับอีกพวกหนึ่ง เช่น ศึกล้างบาง ศึกล้างโคตร, โดยปริยายหมายถึงการเกิดขัดแย้งต่อสู้เป็นปฏิปักษ์ขึ้นในใจ เช่น ศึกในอก.
  7. ศึกชิงนาง
    หมายถึง น. การต่อสู้กันเพื่อให้ได้หญิงมา เช่น ศึกชิงนางระหว่างอิเหนากับท้าวกะหมังกุหนิง.
  8. ศึกษา
    หมายถึง น. การเล่าเรียน ฝึกฝน และอบรม. (ส. ศิกฺษา; ป. สิกฺขา).
  9. ศึกษาธิการ
    หมายถึง น. เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ดูแลควบคุมเกี่ยวกับการศึกษาระดับอำเภอ จังหวัด และเขตการศึกษา เรียกว่า ศึกษาธิการอำเภอ ศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการเขต, ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม.
  10. ศึกษานิเทศก์
    หมายถึง น. ผู้ชี้แจงแนะนำทางการศึกษาแก่ครูอาจารย์ในโรงเรียนหรือวิทยาลัย.
  11. ศึกสงคราม
    หมายถึง น. สงคราม เช่น ประเทศเพื่อนบ้านเกิดศึกสงคราม.
  12. ศึกหน้านาง
    หมายถึง (สำ) น. การวิวาทหรือต่อสู้กันต่อหน้าหญิงที่ตนหมายปอง.
  13. ศึกเสือเหนือใต้
    หมายถึง (สำ) น. สงคราม เช่น ฝึกทหารไว้ให้พร้อมรบ ยามมีศึกเสือเหนือใต้จะได้ป้องกันบ้านเมือง.
  14. ศุกร,ศุกร-,ศุกร์
    หมายถึง [สุกกฺระ-, สุก] น. ชื่อวันที่ ๖ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๒ ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๐๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒,๑๐๔ กิโลเมตร ไม่มีบริวาร เป็นดาวเคราะห์ที่มีบรรยากาศหนาทึบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอของกรดกำมะถัน ปรากฏสว่างที่สุดบนฟ้า, ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลาหัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจำเมือง, ถ้าเห็นทางตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก. ว. สว่าง. (ส.).
  15. ศุกรวรรณ
    หมายถึง [สุกกฺระวัน] ว. มีสีสด. (ส. ศุกฺรวรฺณ).
  16. ศุกรวาร
    หมายถึง น. วันศุกร์.
  17. ศุกระ
    หมายถึง (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).
  18. ศุกล,ศุกล-
    หมายถึง [สุกกะละ-] ว. สุกใส, สว่าง; ขาว, บริสุทธิ์. (ส. ศุกฺล, ศุกฺร; ป. สุกฺก).
  19. ศุกลปักษ์
    หมายถึง น. เวลาข้างขึ้น. (ส.).
  20. ศุกลัม
    หมายถึง [-กฺลำ] น. เครื่องขาวแต่งศพ. (ส. ว่า สีขาว).
  21. ศุกะ
    หมายถึง น. นกแก้ว, นกแขกเต้า. (ส.).
  22. ศุจิ
    หมายถึง น. ความบริสุทธิ์, ความสะอาด. (ส.; ป. สุจิ).
  23. ศุจิกรรม
    หมายถึง น. การรักษาความบริสุทธิ์. (ส.; ป. สุจิกมฺม).
  24. ศุทธะ,ศุทธิ
    หมายถึง [สุดทะ, สุดทิ] น. ความบริสุทธิ์, ความสะอาด. (ส.; ป. สุทฺธ, สุทฺธิ).
  25. ศุนะ,ศุนัก,ศุนิ
    หมายถึง น. หมา. (ส.; ป. สุนข).
  26. ศุภ,ศุภ-
    หมายถึง [สุบพะ-] น. ความงาม, ความดีงาม, ความเจริญ. (ส.; ป. สุภ).
  27. ศุภกร
    หมายถึง ว. ที่ทำความเจริญ, ที่เป็นมงคล. (ส.).
  28. ศุภนิมิต
    หมายถึง น. นิมิตดี, ลางดี.
  29. ศุภมัสดุ
    หมายถึง [-มัดสะดุ] น. ขอความดีความงามจงมี, เป็นคำใช้ขึ้นต้นลงท้ายในประกาศที่เป็นแบบหรือข้อความที่สำคัญ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ.
  30. ศุภมาตรา
    หมายถึง น. ตำแหน่งข้าราชการหัวเมืองตำแหน่งหนึ่ง ในปัจจุบันหมายถึงผู้ช่วยสรรพากรจังหวัด.
  31. ศุภมาส
    หมายถึง น. วันคืนเดือนปี. (ส. ศุภมาส ว่า เดือนดีงาม).
  32. ศุภร,ศุภร-
    หมายถึง [สุบพฺระ-] ว. ส่องแสง, สว่าง; งาม, สดใส; ขาว, ผ่อง; บริสุทธิ์ไม่มีตำหนิ เช่น ศุภรทนต์ คือฟันงาม. (ส. ศุภฺร).
  33. ศุภอักษร
    หมายถึง น. สาส์นของเจ้าประเทศราช.
  34. ศุภางค์
    หมายถึง ว. มีรูปงาม. (ส.).
  35. ศุภเคราะห์
    หมายถึง น. คราวมงคล, คราวดี, ทางโหราศาสตร์หมายเอาดาวพระเคราะห์ที่ให้คุณ คือ จันทร์ พุธ พฤหัสบดี ศุกร์. (ส.).
  36. ศุลก,ศุลก-
    หมายถึง [สุนละกะ-] ว. เนื่องด้วยการเก็บอากรจากสินค้าขาเข้าและขาออก. (ส. ศุลฺก; ป. สุงฺก).
  37. ศุลกากร
    หมายถึง [สุนละกากอน] (กฎ) น. อากรที่เรียกเก็บจากสินค้าเข้าและสินค้าออก ได้แก่ อากรขาเข้าและอากรขาออก.
  38. ศุลการักษ์
    หมายถึง [สุนละการัก] น. เจ้าหน้าที่รักษาศุลกากร.
  39. ศุลี
    หมายถึง น. พระอิศวร, ศูลิน ก็เรียก. (ส.).
  40. ศุษิระ,ศุษิร
    หมายถึง [สุสิน] น. เครื่องดนตรีที่ใช้เป่ามีขลุ่ย ปี่ เป็นต้น, เขียนเป็น สุษิร ก็มี. (ส. ศุษิร, สุษิร).
  41. ศุโกร
    หมายถึง [สุกโกฺร] (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
  42. ศูกร
    หมายถึง [-กอน] น. หมู. (ส.; ป. สูกร).
  43. ศูทร
    หมายถึง [สูด] น. วรรณะที่ ๔ ของสังคมฮินดู. (ส.; ป. สุทฺท).
  44. ศูนย,ศูนย-,ศูนย์
    หมายถึง [สูนยะ-, สูน] ว. ว่างเปล่า. ก. หายสิ้นไป. น. ตัวเลข ๐; จุดกลาง, ใจกลาง, แหล่งกลาง, แหล่งรวม, เช่น ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์หนังสือ ศูนย์รวมข่าว. (ส. ศูนฺย; ป. สุญฺ).
  45. ศูนยภาพ
    หมายถึง น. ความไม่มีอะไร, ความว่างเปล่า. (ส. ศูนฺยภาว).
  46. ศูนยวาท
    หมายถึง น. ปรัชญาฝ่ายมหายานที่ถือว่า (๑) โลกเป็นศูนยะ คือ ไม่ใช่สิ่งจริงแท้ถาวร (๒) นิพพานก็เป็นศูนยะ คือ ไม่มีวาทะหรือลัทธิใด ๆ สามารถบรรยายได้ถูกต้องครบถ้วน, มาธยมิกะ ก็เรียก. (ส.).
  47. ศูนย์กลาง
    หมายถึง น. แหล่งกลาง เช่น กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการค้าขาย, ศูนย์ ก็ว่า.
  48. ศูนย์การค้า
    หมายถึง น. แหล่งรวมสินค้าเพื่อจำหน่าย มีร้านขายสินค้านานาชนิด มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่ผู้มาซื้อสินค้า เช่น ที่จอดรถ ร้านอาหาร.
  49. ศูนย์ชุมชน
    หมายถึง น. หน่วยงานถาวรที่เป็นศูนย์กลางในการวางแผนปฏิบัติงานและประสานงานบริการของหน่วยราชการและองค์การต่าง ๆ โดยประชาชนในท้องถิ่นนั้นจะเลือกคณะกรรมการขึ้นทำหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหารงาน.
  50. ศูนย์ถ่วง
    หมายถึง น. จุดซึ่งถือว่าแนวน้ำหนักของวัตถุผ่านลงที่จุดนั้น เช่น ตุ๊กตาล้มลุกมีศูนย์ถ่วงอยู่ต่ำ.
  51. ศูนย์บริการสาธารณสุข
    หมายถึง น. สถานีอนามัยในเขตเมือง ได้แก่ เขตเทศบาล สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร และที่ตั้งเป็นเมืองพิเศษ.
  52. ศูนย์พ่าห์
    หมายถึง (โหร) น. พระเคราะห์ที่นำหน้าลัคนา อยู่ในราศี ๒.
  53. ศูนย์สัมบูรณ์
    หมายถึง น. อุณหภูมิที่ตํ่าสุดตามทฤษฎี คือ อุณหภูมิศูนย์องศาเคลวิน (0 °K) หรือ -๒๗๓.๑๕ °ซ. หรือ -๕๙.๖๗ °ฟ.
  54. ศูนย์สูตร
    หมายถึง น. ชื่อเส้นสมมุติที่ลากรอบโลก แบ่งโลกออกเป็น ๒ ซีก คือ ซีกโลกเหนือกับซีกโลกใต้ จุดทุกจุดบนเส้นศูนย์สูตรอยู่ห่างจากขั้วโลกทั้ง ๒ เท่ากัน.
  55. ศูนย์หน้า
    หมายถึง น. ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งกลางของแถวหน้าในการเล่นฟุตบอลทำหน้าที่ยิงประตูเป็นสำคัญ บางครั้งอาจลงมาช่วยเซนเตอร์ฮาล์ฟซึ่งอยู่ในตำแหน่งกลางของแถวกลางและพาลูกขึ้นไปในแดนฝ่ายตรงข้ามด้วย.
  56. ศูนย์เยาวชน
    หมายถึง น. สถานที่ซึ่งจัดไว้ให้เยาวชนไปประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง.
  57. ศูนย์ไส้
    หมายถึง (โบ) น. จุดศูนย์กลาง เช่น คนมีศูนย์ไส้อยู่ที่สะดือ.
  58. ศูละ
    หมายถึง น. หลาว, เหล็กแหลม. (ส.; ป. สูล).
  59. ศูลิน
    หมายถึง น. พระอิศวร, ศุลี ก็เรียก. (ส.).
  60. เศรณี
    หมายถึง [เสนี] น. แถว, แนว; หมวด, หมู่, พวก. (ส.).
  61. เศรษฐ,เศรษฐ-,เศรษฐ์
    หมายถึง [เสดถะ-, เสด] ว. ดีเลิศ, ดีที่สุด, ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ. (ส. เศฺรษฺ; ป. เสฏฺ).
  62. เศรษฐกิจ
    หมายถึง [เสดถะกิด] น. งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน. (ส. เศฺรษฺ + กิจฺจ).
  63. เศรษฐศาสตร์
    หมายถึง [เสดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนมี ๒ สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหาเศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือ ปัญหาการหาตลาดเป็นต้น และ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหาเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน.
  64. เศรษฐี
    หมายถึง [เสดถี] น. คนมั่งมี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ธนิษฐา มี ๔ ดวง, ดาวไซ ดาวศรวิษฐา หรือ ดาวธนิษฐะ ก็เรียก. (ส. ว่า ประมุขพ่อค้า; ป. เสฏฺิ).
  65. เศร้า
    หมายถึง [เส้า] ก. สลด, ระทด, หมอง, ไม่เบิกบาน, เป็นทุกข์, เหี่ยวแห้ง, เช่น หน้าเศร้า ใจเศร้า ตามีแววเศร้า เรื่องเศร้า.
  66. เศร้าสร้อย
    หมายถึง ว. มีความรู้สึกสะเทือนใจชวนให้โศกเศร้าเพราะคิดถึงหรือผิดหวัง เช่น เขาสอบไม่ผ่านเลยเดินกลับบ้านอย่างเศร้าสร้อย ลูกนั่งเศร้าสร้อยคอยแม่กลับบ้าน, สร้อยเศร้า ก็ว่า.
  67. เศร้าสลด
    หมายถึง ว. มีความรู้สึกรันทดใจ เช่น อุบัติเหตุตายหมู่ ทำให้ผู้พบเห็นเศร้าสลด.
  68. เศร้าหมอง
    หมายถึง ว. หมองมัว, ไม่ผ่องใส, เช่น ผิวพรรณเศร้าหมอง หน้าตาเศร้าหมอง เครื่องนุ่งห่มเศร้าหมอง.
  69. เศร้าโศก
    หมายถึง ว. มีความทุกข์โศกเสียใจอาลัยอาวรณ์มากเช่น พ่อตายทำให้เขาเศร้าโศกเสียใจมาก, โศกเศร้า ก็ว่า.
  70. เศร้าใจ
    หมายถึง ว. มีความรู้สึกสลดหดหู่ใจ เช่น เห็นป่าถูกบุกรุกทำลายแล้วเศร้าใจ.
  71. เศลษ
    หมายถึง [สะเหฺลด] น. การติด, การเกาะ, การเกี่ยวข้อง, การพาดพิง; การกอดรัด. (ส.).
  72. เศวดงค์
    หมายถึง [สะเหฺวดง] ว. มีตัวขาว. (ส. เศฺวต + องฺค).
  73. เศวดีภ
    หมายถึง [สะเหฺวดีบ] น. ช้างเผือก. (ส. เศฺวเตภ).
  74. เศวต,เศวต-
    หมายถึง [สะเหฺวด, สะเหฺวดตะ-] น. สีขาว. (ส.; ป. เสต).
  75. เศวตกุญชร
    หมายถึง [สะเหฺวดกุนชอน] น. ช้างเผือก.
  76. เศวตงค์
    หมายถึง [สะเหฺวตง] ว. มีตัวขาว. (ส. เศฺวตางฺค).
  77. เศวตฉัตร
    หมายถึง [สะเหฺวดตะฉัด] น. ฉัตรขาว ใช้เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้น. (ส. เศฺวตจฺฉตฺร ว่า ฉัตรขาว).
  78. เศวตร
    หมายถึง [สะเหฺวด] (โบ) น. สีขาว. (ส. เศฺวตร ว่า โรคเรื้อนนํ้าเต้า; ป. เสต).
  79. เศวตัมพร,เศวตามพร
    หมายถึง [สะเหฺวตำพอน, -ตามพอน] น. ชื่อนิกายในศาสนาเชนหรือเดียรถีย์นิครนถ์ซึ่งประพฤติตนเป็นผู้นุ่งห่มผ้าขาว, คู่กับ นิกายทิคัมพร. [ส. เศฺวต (ขาว) + อมฺพร (เครื่องนุ่งห่ม)].
  80. เศวติภ,เศวตีภ,เศวเตภ
    หมายถึง [สะเหฺวติบ, -ตีบ, -เตบ] น. ช้างเผือก. (ส. เศฺวเตภ).
  81. เศวตโรหิต
    หมายถึง ครุฑ, ผู้มีสีขาวและแดง
  82. เศวาล
    หมายถึง [เสวาน] น. สาหร่าย. (ส.; ป. เสวาล).
  83. เศษ
    หมายถึง น. ส่วนที่เหลือใช้การไม่ได้ตามวัตถุประสงค์, ส่วนที่เหลือซึ่งไม่ต้องการ, เช่น เศษกระดาษ เศษอาหาร เศษขยะ; สิ่งที่เกินหรือเลยจากจำนวนเต็มที่กำหนดไว้ เช่น เวลา ๒ นาฬิกาเศษ ยาว ๒ วาเศษ; ส่วนปลีกย่อยหรือส่วนย่อย เช่น เศษสตางค์ เศษเนื้อ เศษผ้า; (คณิต) ส่วนที่เหลือจากการหาร เช่น ๙ หารด้วย ๗ เหลือเศษ ๒. (ส.; ป. เสส).
  84. เศษกระดาษ
    หมายถึง (ปาก) น. สิ่งที่ไร้ค่า เช่น ใบหุ้นที่ยกเลิกแล้วมีค่าเป็นเศษกระดาษ.
  85. เศษคน,เศษมนุษย์
    หมายถึง น. คนเลวมากจนหาดีไม่ได้ (ใช้เป็นคำด่า).
  86. เศษซ้อน
    หมายถึง (คณิต) น. จำนวนจริงที่เขียนเป็นรูปเศษส่วนหลาย ๆ ชั้น เช่น .
  87. เศษนรก
    หมายถึง น. คนเลวอย่างที่สุด.
  88. เศษมนุษย์
    หมายถึง น. คนเลวมากจนหาดีไม่ได้, เศษคน ก็เรียก.
  89. เศษวรรค
    หมายถึง [เสสะวัก, เสดวัก] น. พยัญชนะที่เหลือวรรคหรือที่เข้าอยู่ในวรรคทั้ง ๕ ไม่ได้ มี ๑๐ ตัว คือ ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ ํ, อวรรค ก็เรียก.
  90. เศษสิบ
    หมายถึง น. เศษส่วนที่มีเศษเป็นตัวเลข ๐ ถึง ๙ และมีส่วนเป็นหน่วย ๑๐ เช่น .
  91. เศษส่วน
    หมายถึง น. จำนวน ๒ จำนวน หรือนิพจน์ ๒ นิพจน์ที่เขียนในรูปของผลหารโดยไม่ต้องหารต่อไปอีก เช่น หรือ จำนวนบนเรียกว่า เศษ จำนวนล่างเรียกว่า ส่วน. (อ. fraction).
  92. เศษเกิน
    หมายถึง (คณิต) น. จำนวนจริงที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า ๑ เช่น .
  93. เศษเหล็ก
    หมายถึง น. ชิ้นส่วนของโลหะหรือเครื่องจักรกลเป็นต้นที่ใช้ไม่ได้แล้ว เช่น ซากรถยนต์ที่ถูกชนพังยับเยินถูกขายเป็นเศษเหล็ก.
  94. เศาจ,เศาจ-
    หมายถึง [เสาจะ-] น. ความสะอาด, ความบริสุทธิ์; การชำระล้าง; ความซื่อตรง. (ส. เศาจ, เศาจฺย; ป. โสเจยฺย).
  95. เศารยะ
    หมายถึง [-ระยะ] น. ความกล้าหาญ; อำนาจ. (ส.).
  96. เศาร์
    หมายถึง ว. กล้าหาญ, เกี่ยวกับผู้กล้าหาญ. (ส. ศูร; ป. สูร).
  97. เศาไจย
    หมายถึง [-ไจ] น. คนซักฟอก, คนทำความสะอาด. (ส. เศาเจย).
  98. เศิก
    หมายถึง (โบ) น. ศึก.
  99. เศียร
    หมายถึง [เสียน] น. หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร; ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.
  100. โศก
    หมายถึง ดู อโศก.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ศ (หน้าที่ 4)"