พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ศ (หน้าที่ 3)

  1. ศาลแขวง
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอำนาจไต่สวนหรือมีคำสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระบุไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม.
  2. ศาลแพ่ง
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น.
  3. ศาลแรงงาน
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน เช่น คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ หรือคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน.
  4. ศาลโปริสภา
    หมายถึง [สานโปริดสะพา] (กฎ; เลิก) น. ศาลชั้นต้นที่จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ แทนศาลกองตระเวนเมื่อ ร.ศ. ๑๑๒ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทำนองเดียวกับศาลแขวงปัจจุบัน.
  5. ศาลโลก
    หมายถึง (ปาก) น. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ.
  6. ศาศวัต
    หมายถึง [สาดสะ-] ว. ยั่งยืน. (ส. ศาศฺวต; ป. สสฺสต).
  7. ศาสก
    หมายถึง [สา-สก] น. ครู, ผู้สอน, ผู้ชี้แจง, ผู้ปกครอง. (ส.).
  8. ศาสดา
    หมายถึง [สาดสะดา] น. ผู้ตั้งลัทธิศาสนา เช่น ศาสดาทั้ง ๖, คำเรียกพระพุทธเจ้าว่า พระบรมศาสดา. (ส. ศาสฺตา; ป. สตฺถา).
  9. ศาสตร,ศาสตร-,ศาสตร์
    หมายถึง [สาดตฺระ-, สาดสะตฺระ-, สาด] น. ระบบวิชาความรู้, มักใช้ประกอบหลังคำอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์. (ส.).
  10. ศาสตรา
    หมายถึง [สาดตฺรา] น. ดู ศัสตรา
  11. ศาสตราจารย์
    หมายถึง [สาดตฺรา-, สาดสะตฺรา-] น. ตำแหน่งทางวิชาการชั้นสูงสุดของสถาบันระดับอุดมศึกษา.
  12. ศาสตราวุธ
    หมายถึง [สาดตฺราวุด] น. ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง, อาวุธต่าง ๆ. (ส.).
  13. ศาสน,ศาสน-,ศาสนา
    หมายถึง [สาสะนะ-, สาดสะนะ-, สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คำสอน, ข้อบังคับ; ป. สาสน).
  14. ศาสนกิจ
    หมายถึง น. งานทางศาสนาที่ภิกษุสามเณรเป็นต้นปฏิบัติ เช่น การทำวัตรสวดมนต์และการเผยแผ่ศาสนาเป็นศาสนกิจของสงฆ์.
  15. ศาสนจักร
    หมายถึง [สาสะนะจัก, สาดสะนะจัก] น. อำนาจปกครองทางศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัยเป็นวรรณกรรมฝ่ายศาสนจักร, ถ้าเป็นฝ่ายพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธจักร, ถ้าเป็นฝ่ายคริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสตจักร, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความว่า อำนาจปกครองทางบ้านเมือง.
  16. ศาสนธรรม
    หมายถึง น. คำสั่งสอนในศาสนา เช่น ศาสนิกชนควรปฏิบัติตามศาสนธรรมในศาสนาของตน.
  17. ศาสนบุคคล
    หมายถึง น. นักบวชในศาสนา เช่น ภิกษุสามเณรเป็นศาสนบุคคลของพระพุทธศาสนา.
  18. ศาสนพิธี
    หมายถึง น. พิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีทอดกฐิน พิธีอุปสมบท เป็นศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา.
  19. ศาสนวัตถุ
    หมายถึง น. วัตถุที่เกี่ยวเนื่องทางศาสนา มักเป็นสิ่งที่เคารพบูชา เช่น พระพุทธรูปเป็นศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนา.
  20. ศาสนศาสตร์
    หมายถึง น. วิชาว่าด้วยศาสนาต่าง ๆ.
  21. ศาสนสถาน
    หมายถึง น. สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร สถูป เจดีย์ เป็นศาสนสถานทางพระพุทธศาสนา มัสยิดเป็นศาสนสถานทางศาสนาอิสลาม.
  22. ศาสนสมบัติ
    หมายถึง น. ทรัพย์สินของพระศาสนาทั้งที่เป็นสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ มี ๒ อย่าง คือ ศาสนสมบัติกลาง และศาสนสมบัติของวัด.
  23. ศาสนสมบัติกลาง
    หมายถึง น. ทรัพย์สินของพระศาสนาโดยส่วนรวม ส่วนใหญ่ได้แก่ ที่ดิน อาคาร และดอกผลที่เกิดขึ้นจากที่ดินและอาคารนั้น ๆ รวมทั้งที่ดินวัดร้างทั่วประเทศที่ทางการได้ประกาศยุบเลิกวัดแล้ว.
  24. ศาสนสมบัติของวัด
    หมายถึง น. ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่งรวมทั้งปูชนียสถานที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัด เช่น พระปฐมเจดีย์เป็นศาสนสมบัติของวัดพระปฐมเจดีย์ พระธาตุพนมเป็นศาสนสมบัติของวัดธาตุพนม พระธาตุดอยสุเทพเป็นศาสนสมบัติของวัดพระธาตุดอยสุเทพ.
  25. ศาสนิกชน
    หมายถึง น. บุคคลที่นับถือศาสนา เช่น ศาสนิกชนของพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธศาสนิกชน ศาสนิกชนของคริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสต์ศาสนิกชน.
  26. ศาสนีย,ศาสนีย-,ศาสนีย์
    หมายถึง [สาสะนียะ-, สาสะนี] ว. สมควรจะสั่งสอน. (ส.).
  27. ศาสนูปถัมภก
    หมายถึง [สาสะนูปะถำพก, สาดสะนูปะถำพก] น. ผู้ทะนุบำรุงศาสนา, ถ้าใช้แก่พระมหากษัตริย์ เรียกว่า องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก. (ส. ศาสนูปสฺตมฺภก; ป. สาสนูปตฺถมฺภก).
  28. ศาสน์
    หมายถึง (โบ) น. คำสั่ง, คำสั่งสอน, โดยปริยายหมายถึง พระราชหัตถเลขาทางราชการและลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระราชศาสน์ สมณศาสน์. (ส.; ป. สาสน).
  29. ศิกษก,ศิกษกะ
    หมายถึง [สิก-สก, สิกสะกะ] น. ผู้เล่าเรียน; ครู, ผู้สอน; ผู้รู้. (ส.).
  30. ศิการ
    หมายถึง ก. หาเนื้อหาปลา. (บ.).
  31. ศิขร
    หมายถึง [-ขอน] น. ยอด, ยอดเขา, ภูเขา, ใช้ว่า ศิงขร หรือ ศีขร ก็มี. (ส.).
  32. ศิขริน,ศิขรี
    หมายถึง [สิขะ-] น. ภูเขา. ว. มียอด, ใช้ว่า ศิงขริน หรือ ศิงขรี ก็มี. (ส. ศิขรินฺ).
  33. ศิขัณฑ์
    หมายถึง น. จุกหรือแกละ; หงอน. (ส.).
  34. ศิขา
    หมายถึง น. จุก; หงอน; เปลวไฟ. (ส.; ป. สิข).
  35. ศิคาล
    หมายถึง น. หมาจิ้งจอก. (ส. ศฺฤคาล; ป. สิงฺคาล).
  36. ศิงขร
    หมายถึง น. ศิขร, ภูเขา. (ส. ศิขร).
  37. ศิงขริน,ศิงขรี
    หมายถึง น. ศิขริน, ภูเขา. ว. มียอด.
  38. ศิตะ
    หมายถึง ว. คม. (ส.).
  39. ศิถี
    หมายถึง น. พวงดอกไม้, พวงมาลัย. (บ.).
  40. ศิพิระ
    หมายถึง น. ค่ายทหาร. (ส. ศิวิร ว่า ปะรำ, ค่าย).
  41. ศิร,ศิร-,ศิระ
    หมายถึง [สิระ-] น. หัว, ยอด, ด้านหน้า. (ส. ศิรสฺ; ป. สิร).
  42. ศิรประภา
    หมายถึง น. รัศมีที่พวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และพระพุทธรูป. (ส.; ป. สิรปภา).
  43. ศิรา
    หมายถึง น. นํ้า, ลำธาร, คลอง, ท่อ. (เขียน สิลา ก็มี).
  44. ศิราภรณ์
    หมายถึง (ราชา) น. เครื่องประดับศีรษะ เช่น พระมาลา มงกุฎ กรอบหน้า ผ้าโพกหัว.
  45. ศิรามพุช
    หมายถึง น. หัว. (เทียบ ส. ศิร = หัว + อมฺพุช = บัว, รวมความ = หัวต่างดอกบัว).
  46. ศิลปกร,ศิลปะการ,ศิลปการ
    หมายถึง น. นายช่างฝีมือ. (ส.).
  47. ศิลปกรรม
    หมายถึง น. สิ่งที่เป็นศิลปะ, สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ, เช่น งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรมจัดเป็นศิลปกรรม.
  48. ศิลปการ,ศิลปการ,ศิลปกิจ
    หมายถึง น. การช่างฝีมือ.
  49. ศิลปธาตุ
    หมายถึง น. สิ่งที่เป็นส่วนประกอบร่วมในการสร้างสรรค์งานศิลปะ โดยเฉพาะงานประเภททัศนศิลป์ ได้แก่ เส้น สี ผิว เป็นต้น.
  50. ศิลปลักษณะ
    หมายถึง น. คุณสมบัติของงานศิลปกรรมที่ปรากฏให้เห็นได้จากรูปวัตถุที่ได้รับการสร้างสรรค์อย่างมีระเบียบ มีความกลมกลืนและความเรียบง่าย.
  51. ศิลปวัตถุ
    หมายถึง น. วัตถุอันเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น เครื่องลายคราม เครื่องถม; (กฎ) น. สิ่งที่ทำด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูงในทางศิลปะ.
  52. ศิลปวิทยา
    หมายถึง น. ศิลปะและวิชาการ.
  53. ศิลปศาสตร์
    หมายถึง น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทางอาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ ๑. สูติ วิชาฟังเสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชาเข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกา วิชากายบริหาร ๙. ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชาดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
  54. ศิลปศึกษา
    หมายถึง น. วิชาว่าด้วยการเรียนการสอนศิลปะ เช่น ทฤษฎีศิลป์ ประวัติศาสตร์ศิลป์.
  55. ศิลปหัตถกรรม
    หมายถึง น. ศิลปวัตถุที่เป็นผลงานประเภทศิลปะประยุกต์ มีจุดประสงค์และความต้องการในด้านประโยชน์ใช้สอย เช่น งานโลหะ งานถักทอ งานเย็บปักถักร้อย.
  56. ศิลปะ,ศิลป-,ศิลป์,ศิลป์,ศิลปะ
    หมายถึง [สินละปะ-, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิสดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).
  57. ศิลปะปฏิบัติ
    หมายถึง น. วิชาว่าด้วยการปฏิบัติทางศิลปะ เช่น วาดเขียน ปั้นดิน จักสาน เย็บปักถักร้อย.
  58. ศิลปะประยุกต์
    หมายถึง น. กรรมวิธีในการนำทฤษฎีและหลักการทางศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติ เพื่อพัฒนาศิลปะให้มีความงามหรือเป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นเป็นต้น อย่างในการออกแบบเครื่องแต่งกาย.
  59. ศิลปะพื้นบ้าน
    หมายถึง น. ศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น วรรณกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ หัตถกรรม ที่ชาวบ้านได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการเรียนรู้และฝึกปรือในครอบครัวหรือในหมู่บ้าน เป็นงานสร้างสรรค์ของสังคมชาวบ้าน และได้พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกันมาหลายชั่วคน.
  60. ศิลปะสถาปัตยกรรม
    หมายถึง น. ศิลปะลักษณะด้านสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในอาคารที่ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นอย่างวิจิตรงดงาม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม.
  61. ศิลปิน,ศิลปี
    หมายถึง [สินละ-] น. ผู้มีความสามารถแสดงออกซึ่งคุณสมบัติทางศิลปะในด้านจิตรกรรมประติมากรรมเป็นต้น และมีผลงานเป็นที่ยอมรับนับถือจากสถาบันทางศิลปะแห่งชาติ.
  62. ศิลป์
    หมายถึง [สิน] (กลอน) น. ศร เช่น งามเนตรดังเนตรมฤคมาศ งามขนงวงวาดดังคันศิลป์. (อิเหนา), พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร พิศขนงก่งงอนดั่งคันศิลป์. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  63. ศิลา
    หมายถึง น. หิน. (ส.; ป. สิลา).
  64. ศิลาปากนก
    หมายถึง น. หินเหล็กไฟที่ใช้ติดกับปลายเครื่องสับของปืนโบราณบางชนิดเพื่อสับแก๊ปปืนให้เกิดประกายไฟ, หินปากนก ก็เรียก.
  65. ศิลาฤกษ์
    หมายถึง น. แผ่นหินที่จารึกดวงชะตาของสถานที่ที่จะก่อสร้างแล้ววางตามฤกษ์.
  66. ศิลาอ่อน
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวนวดปนกับแป้งถั่วเขียวเล็กน้อย ผสมน้ำเชื่อมกวนในกะทิข้น ๆ ให้สุกจนเหนียว ตักใส่ถาด โรยหน้าด้วยถั่วลิสงคั่วซอยเป็นต้น.
  67. ศิลาแลง
    หมายถึง น. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลมแล้วแข็ง มีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน, หินแลง ก็เรียก.
  68. ศิว,ศิว-,ศิวะ
    หมายถึง [สิวะ-] น. พระอิศวร; พระนิพพาน. (ส.; ป. สิว).
  69. ศิวลึงค์
    หมายถึง น. รูปนิมิตแทนองค์พระศิวะหรือพระอิศวร ทำเป็นรูปอวัยวะเพศชาย ถือว่าเป็นวัตถุบูชาอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกไศวะ.
  70. ศิวาลัย
    หมายถึง น. ที่ประทับของพระศิวะ; ที่อยู่อันเกษมสุข.
  71. ศิวเวท
    หมายถึง น. มนตร์สรรเสริญพระศิวะหรือพระอิศวร, ไสยศาสตร์.
  72. ศิวโมกข์
    หมายถึง น. พระนิพพาน.
  73. ศิศีระ
    หมายถึง น. ฤดูหนาว; ความหนาว, ความเยือกเย็น. ว. เย็น, หนาว, เย็นเยือก. (ส. ศิศิร).
  74. ศิศุ
    หมายถึง น. เด็ก, เด็กแดง ๆ, เด็กเล็ก. (ส.).
  75. ศิษฎิ
    หมายถึง [สิดสะดิ] น. การสอน. (ส. ศิษฺฏิ ว่า การปกครอง, การลงโทษ).
  76. ศิษฏ์
    หมายถึง ว. ฝึกแล้ว, คงแก่เรียน, อบรมแล้ว, มีปัญญา, มีความรู้. (ส.).
  77. ศิษย,ศิษย-,ศิษย์
    หมายถึง [สิดสะยะ-, สิด] น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้วนับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน. (ส.).
  78. ศิษยานุศิษย์
    หมายถึง [สิดสะยานุสิด] น. ศิษย์น้อยใหญ่.
  79. ศิษย์ก้นกุฏิ
    หมายถึง [-กุติ] น. ศิษย์คนโปรดที่อยู่รับใช้ใกล้ชิดอาจารย์ที่กุฏิตลอดเวลาและเป็นผู้ที่อาจารย์ไว้วางใจมาก, โดยปริยายหมายถึงศิษย์คนโปรดของครูบาอาจารย์เพราะเคยรับใช้ใกล้ชิดและเป็นที่ไว้วางใจของครูบาอาจารย์ มักจะเรียนเก่งด้วย.
  80. ศิษย์คิดล้างครู
    หมายถึง (สำ) น. ศิษย์เนรคุณที่มุ่งคิดจะทำลายล้างครูบาอาจารย์.
  81. ศิษย์นอกครู
    หมายถึง (สำ) น. ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ประพฤติไม่ตรงตามแบบฉบับที่นิยมกันมา.
  82. ศิษย์มีครู
    หมายถึง (สำ) น. คนเก่งที่มีครูเก่ง.
  83. ศิษย์หัวแก้วหัวแหวน
    หมายถึง น. ศิษย์ที่ครูบาอาจารย์รักใคร่เอ็นดูมาก.
  84. ศิษย์เก่า
    หมายถึง น. ผู้ที่เคยศึกษาในสถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น งานชุมนุมศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย.
  85. ศิษย์เอก
    หมายถึง น. ศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถเป็นเลิศเหนือศิษย์ทั้งปวงหรือเหนือศิษย์แต่ละรุ่น.
  86. ศิโรรัตน์
    หมายถึง น. เพชรประดับหัว. (ส.).
  87. ศิโรราบ
    หมายถึง ก. กราบกราน, ยอมอ่อนน้อม.
  88. ศิโรเวฐน์
    หมายถึง น. ผ้าโพก. (ส. ศิโรเวษฺฏ, ศิโรเวษฺฏน; ป. สิโรเวน).
  89. ศีขร
    หมายถึง [สีขอน] น. ศิขร.
  90. ศีขริน,ศีขรี
    หมายถึง [สีขะ-] น. ศิขริน, ศิขรี.
  91. ศีต,ศีต-
    หมายถึง [สีตะ-] ว. หนาว, เย็น, เย็นเยือก. (ส.; ป. สีต).
  92. ศีตกาล
    หมายถึง น. ฤดูหนาว. (ส.; ป. สีตกาล).
  93. ศีตละ
    หมายถึง [สีตะละ] ว. หนาว, เย็น, เยือกเย็น. (ส.; ป. สีตล).
  94. ศีรษะ
    หมายถึง [สีสะ] น. หัว (เป็นคำสุภาพที่ใช้แก่คน). (ส.; ป. สีส)
  95. ศีรษะกระบือ
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์วิศาขา มี ๕ ดวง, ดาวคันฉัตร หรือ ดาววิสาขะ ก็เรียก.
  96. ศีรษะช้าง
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์หัสตะ มี ๕ ดวง, ดาวศอกคู้ ดาวหัสตะ หรือ ดาวหัฏฐะ ก็เรียก.
  97. ศีรษะเนื้อ
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส ดาวมิคสิระ หรือดาวอาครหายณี ก็เรียก.
  98. ศีรษะโค
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส ดาวมิคสิระ หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก.
  99. ศีล
    หมายถึง [สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติกายและวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม); พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี; ป. สีล).
  100. ศีลจุ่ม
    หมายถึง น. ศีลล้างบาป.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ศ (หน้าที่ 3)"