พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ศ (หน้าที่ 2)

  1. ศักย,ศักย-,ศักย-
    หมายถึง [สักกะยะ-] ว. อาจ, สามารถ. (ส.).
  2. ศักย,ศักย-,ศักย-
    หมายถึง [สักกะยะ-] น. ศากยะ. (ส. ศากฺย; ป. สกฺย).
  3. ศักยภาพ
    หมายถึง [สักกะยะพาบ] (ปรัชญา) น. ภาวะแฝง, อำนาจหรือคุณสมบัติที่มีแฝงอยู่ในสิ่งต่าง ๆ อาจทำให้พัฒนาหรือให้ปรากฏเป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้ เช่น เขามีศักยภาพในการทำงานสูง น้ำตกขนาดใหญ่มีศักยภาพในการให้พลังงานได้มาก.
  4. ศักย์,ศักยะ
    หมายถึง [สัก, สักกะยะ] (ไฟฟ้า) น. พลังงานที่ใช้ดันกระแสไฟฟ้า ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีหน่วยเป็นโวลต์.
  5. ศักร,ศักร-
    หมายถึง [สักกฺระ-] น. พระอินทร์. (ส.; ป. สกฺก).
  6. ศักรภพน์
    หมายถึง น. โลกพระอินทร์, สวรรค์ชั้นดาวดึงส์. (ส.).
  7. ศักราช
    หมายถึง [สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, ... จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คำ ศักราช ในคำเช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราช จะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คำเช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคำว่า รัตนโกสินทรศก ไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้นเหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.
  8. ศักรินทร์,ศักเรนทร์
    หมายถึง น. พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่. (ส. ศกฺร + อินฺทฺร).
  9. ศังกร
    หมายถึง [สังกอน] น. นามพระอิศวรผู้ประสาทความสุขเกษม. (ส.).
  10. ศังกา
    หมายถึง น. ความสงสัย, ความลังเล. (ส.; ป. สงฺก).
  11. ศังกุ
    หมายถึง น. หลาว, หอก. (ส.).
  12. ศัตรู
    หมายถึง [สัดตฺรู] น. ข้าศึก, ปรปักษ์, เช่น ศัตรูจากภายนอกประเทศ เพลี้ยเป็นศัตรูพืช, ผู้จองเวร เช่น ๒ ตระกูลนี้เป็นศัตรูกันมาหลายชั่วคนแล้ว. (ส. ศตฺรุ; ป. ตฺตุ).
  13. ศัทธนะ
    หมายถึง [สัดทะนะ] ก. พัด (ใช้แก่ลม), มีลมพัดมา. (บ.).
  14. ศันสนะ
    หมายถึง [สันสะ-] น. การสรรเสริญ, การบอกเล่า. (ส. ศํสน).
  15. ศันสนีย์
    หมายถึง [-สะนี] ว. พึงสรรเสริญ, พึงชม. (ส. ศํสนีย).
  16. ศัพท,ศัพท-,ศัพท์
    หมายถึง [สับทะ-, สับ] น. เสียง เช่น โทรศัพท์, คำ เช่น ศัพท์บัญญัติ; คำยากที่ต้องแปล, ศัพท์แสง ก็ว่า; เรื่อง เช่น ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด. (ส. ศพฺท; ป. สทฺท ว่า เสียง, คำ).
  17. ศัพทมูลวิทยา
    หมายถึง [สับทะมูนละ-, สับทะมูน-] น. วิชาว่าด้วยที่มาและประวัติของคำ. (อ. etymology).
  18. ศัพท์บัญญัติ
    หมายถึง น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้ให้มีความหมายเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น โทรทัศน์ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ.
  19. ศัพท์สำเนียง
    หมายถึง น. เสียง เช่น ข้างนอกเสียงเอ็ดอึง อยู่ข้างในฟังไม่ได้ศัพท์สำเนียง.
  20. ศัพท์เฉพาะวิชา
    หมายถึง น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นใช้ในแต่ละวิชา เช่น ปฏิชีวนะ ประสบการณ์ มลพิษ.
  21. ศัพท์แสง
    หมายถึง (ปาก) น. คำยากที่ต้องแปล เช่น เขาชอบพูดจาเล่นศัพท์แสง ฟังไม่รู้เรื่อง.
  22. ศัยยา
    หมายถึง น. ที่นอน, ฟูก, เบาะ. (ส.; ป. เสยฺยา).
  23. ศัล,ศัลกะ
    หมายถึง [สัน, สันละกะ] น. เปลือกไม้. (ส. ศลฺล, ศลฺก).
  24. ศัลกี
    หมายถึง [สันละกี] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Boswellia serrata Roxb. ในวงศ์ Burseraceae ยางมีกลิ่นหอม ใช้ทำยาได้. (ส. ศลฺลกี; ป. สลฺลกี).
  25. ศัลย,ศัลย-
    หมายถึง [สันละยะ-, สันยะ-] น. ลูกศรหรือของมีปลายแหลมอื่น ๆ. (ส.).
  26. ศัลยกรรม
    หมายถึง [สันละยะกำ] น. การรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด.
  27. ศัลยกรรมตกแต่ง
    หมายถึง น. การผ่าตัดอวัยวะเพื่อรักษาหรือปรับปรุงรูปร่างของอวัยวะให้สวยงามและเหมาะสม โดยอวัยวะนั้น ๆ คงทำหน้าที่ได้ตามปรกติ รวมทั้งเป็นการบูรณะส่วนที่ผิดปรกติให้กลับสู่สภาพปรกติด้วย.
  28. ศัลยศาสตร์
    หมายถึง [สันละยะสาด] น. วิชาว่าด้วยการรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด.
  29. ศัลยแพทย์
    หมายถึง [สันละยะแพด] น. แพทย์ทางการผ่าตัด.
  30. ศัสดร
    หมายถึง [สัดดอน] น. ศัสตรา, ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง. (ส.).
  31. ศัสตร,ศัสตร-
    หมายถึง [สัดตฺระ-] น. ศัสตรา, ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง. (ส.).
  32. ศัสตรกรรม
    หมายถึง น. การผ่าตัดทางแพทย์. (ส.).
  33. ศัสตรการ
    หมายถึง น. คนทำอาวุธ. (ส.).
  34. ศัสตรศาสตร์
    หมายถึง น. วิชาใช้อาวุธ, วิชาทหาร.
  35. ศัสตรา
    หมายถึง [สัดตฺรา] น. ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง, อาวุธต่าง ๆ. (ส.).
  36. ศัสตราวุธ
    หมายถึง [สัดตฺราวุด] น. ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง, อาวุธต่าง ๆ. (ส.).
  37. ศัสยะ
    หมายถึง [สัดสะยะ] น. ข้าวกล้า. (ส.; ป. สสฺส).
  38. ศาก,ศาก-,ศากะ
    หมายถึง [สากะ-] น. ผัก; ต้นสัก. (ส.).
  39. ศากตะ
    หมายถึง [สากตะ] น. ผู้นับถือนิกายศักติ.
  40. ศากภักษ์
    หมายถึง น. คนที่กินแต่ผัก (ไม่กินเนื้อ). (ส.).
  41. ศากย,ศากย-,ศากยะ
    หมายถึง [สากกะยะ] น. ชื่อวงศ์กษัตริย์วงศ์หนึ่งในเมืองกบิลพัสดุ์ เรียกว่า ศากยวงศ์, เรียกกษัตริย์ในวงศ์นี้ว่า ศากยะ. (ส. ศากฺย; ป. สกฺย).
  42. ศากยเกตุ,ศากยพุทธ,ศากยมุนี
    หมายถึง น. พระนามพระพุทธเจ้าผู้มีเชื้อสายศากยวงศ์. (ส.).
  43. ศาฎก
    หมายถึง [-ดก] น. ผ้า. (ส. ศาฏก; ป. สาฏก).
  44. ศาฐยะ
    หมายถึง [สาถะ-] น. สาไถย, ความคดโกง. (ส.; ป. สาเถยฺย).
  45. ศาณ
    หมายถึง น. ผ้าป่าน. ว. ทำด้วยป่านหรือปอ. (ส.; ป. สาณ).
  46. ศาณ
    หมายถึง น. หินลับมีด, หินเจียระไน. (ส.).
  47. ศาต
    หมายถึง ว. ลับแล้ว, คม, แหลม; แบบบาง. (ส.).
  48. ศานต,ศานต-,ศานต์
    หมายถึง [สานตะ-, สาน] ว. สงบ. (ส.; ป. สนฺต).
  49. ศานตรส
    หมายถึง น. รสของคำประพันธ์ที่แสดงถึงความสงบจิต. (ส.).
  50. ศานติ
    หมายถึง น. ความสงบ, ความระงับ. (ส.; ป. สนฺติ).
  51. ศานติก,ศานติก-
    หมายถึง [สานติกะ-] ว. ที่กำจัดเสนียดจัญไร. (ส.).
  52. ศานติโหม
    หมายถึง น. การบูชาไฟเพื่อกำจัดเสนียดจัญไร. (ส.).
  53. ศาป,ศาป-
    หมายถึง [สาบ, สาปะ-] (แบบ) น. คำแช่ง, การด่า. (ส.; ป. สาป).
  54. ศาปมุกติ์
    หมายถึง [สาปะมุก] น. การพ้นจากผลคำแช่ง. (ส.).
  55. ศาปานต์
    หมายถึง ว. พ้นสาป. (ส.).
  56. ศาพระ
    หมายถึง [สาพะระ] ว. โหดร้าย, พยาบาท. (ส.).
  57. ศารท
    หมายถึง [สาด] ว. เกี่ยวกับหรือเกิดในฤดูใบไม้ร่วง; เทศกาลทำบุญสิ้นเดือน ๑๐. (ส.; ป. สารท).
  58. ศารทวิษุวัต
    หมายถึง [สาระทะ-] (ดารา) น. จุดราตรีเสมอภาคที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปถึงในราววันที่ ๒๔ กันยายน (autumnal equinox), คู่กับ วสันตวิษุวัต.
  59. ศารทูล
    หมายถึง [สาระ-] น. เสือโคร่ง. (ส. ศารฺทูล; ป. สทฺทูล).
  60. ศาริกา
    หมายถึง น. นกจำพวกนกเอี้ยง. (ส.; ป. สาลิกา).
  61. ศาล
    หมายถึง [สาน] น. (กฎ) องค์กรที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดยดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร; ที่ชำระความ เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา; ที่สิงสถิตของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น เช่น ศาลเทพารักษ์ ศาลเจ้า ศาลเจ้าแม่ทับทิม.
  62. ศาลกงสุล
    หมายถึง (เลิก) น. ศาลของประเทศที่มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ที่ตั้งขึ้นในอีกประเทศหนึ่ง เพื่อให้กงสุลเป็นผู้พิจารณาคดีคนในบังคับของตน.
  63. ศาลคดีเด็กและเยาวชน
    หมายถึง (กฎ; เลิก) ดู ศาลเยาวชนและครอบครัว.
  64. ศาลจังหวัด
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่ตั้งประจำในแต่ละจังหวัดหรือในบางอำเภอ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่นในเขตอำนาจศาลตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดนั้นได้กำหนดไว้.
  65. ศาลชั้นต้น
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นต้นทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ได้แก่ ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลยุติธรรมอื่น เช่น ศาลภาษีอากรกลาง.
  66. ศาลฎีกา
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงสุดซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค และคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกา และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย.
  67. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และคดีแพ่งเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารการเงินระหว่างประเทศ หรือการให้บริการระหว่างประเทศ การขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัย และนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการออกแบบวงจร รวมการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า ความลับทางการค้าและการคุ้มครองพันธุ์พืช.
  68. ศาลทหาร
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด และมีอำนาจสั่งลงโทษบุคคลใด ๆ ที่กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
  69. ศาลปกครอง
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ตามที่กฎหมายบัญญัติอันได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทางปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน.
  70. ศาลพระภูมิ
    หมายถึง น. ที่สถิตของเทพารักษ์ประจำพื้นที่และสถานที่ ทำด้วยไม้เป็นเรือนหลังคาทรงไทยตั้งอยู่บนเสาเดียว ปัจจุบันทำด้วยปูนเป็นรูปปราสาทก็มี.
  71. ศาลภาษีอากร
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร เช่น คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร.
  72. ศาลยุติธรรม
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ศาลยุติธรรมมี ๓ ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา, เดิมเรียกว่า ศาลสถิตยุติธรรม.
  73. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
    หมายถึง (กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การสหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาทต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรีความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).
  74. ศาลรัฐธรรมนูญ
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ เช่น การพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป.
  75. ศาลล้มละลาย
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่คดีอาญา เช่น คดีที่เจ้าหนี้ไม่มีประกันหรือเจ้าหนี้มีประกันฟ้องลูกหนี้ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวให้ล้มละลาย นอกจากนั้นยังรวมถึงคดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีดังกล่าวด้วย ได้แก่ คดีแพ่งธรรมดาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้บริหารแผนของลูกหนี้พิพาทกับบุคคลใด ๆ อันมีมูลจากสัญญาหรือละเมิดอันเนื่องมาจากการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้.
  76. ศาลสถิตยุติธรรม
    หมายถึง (กฎ; โบ) น. เป็นคำรวมที่ใช้เรียกศาลยุติธรรมทั้งปวง.
  77. ศาลสูง
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นอุทธรณ์และฎีกา.
  78. ศาลสูงสุด
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลที่อยู่ในลำดับสูงสุดเหนือศาลทั้งหลายในสายเดียวกัน คดีที่ศาลสูงสุดพิจารณาพิพากษาแล้วถือว่าถึงที่สุด.
  79. ศาลอาญา
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาแล้วแต่กรณี.
  80. ศาลอาญาศึก
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลที่ตั้งขึ้นเมื่อหน่วยทหารหรือเรือรบอยู่ในยุทธบริเวณ เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจได้ทุกบทกฎหมายและไม่จำกัดตัวบุคคล.
  81. ศาลอุทธรณ์
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงถัดจากศาลฎีกาลงมา ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์และว่าด้วยเขตอำนาจศาล และมีอำนาจพิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต เมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมาย และวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นด้วย.
  82. ศาลอุทธรณ์ภาค
    หมายถึง (กฎ) ดู ศาลอุทธรณ์.
  83. ศาลา
    หมายถึง น. อาคารทรงไทย ปล่อยโถง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรือเพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาวัด ศาลาที่พัก ศาลาท่านํ้า, โดยปริยายหมายถึงอาคารหรือสถานที่บางแห่ง ใช้เพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาพักร้อน ศาลาสวดศพ. (ส.; ป. สาลา).
  84. ศาลากลาง
    หมายถึง น. อาคารที่ใช้เป็นที่ทำการของจังหวัด เช่น ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา.
  85. ศาลากลางย่าน
    หมายถึง น. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยมสร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก.
  86. ศาลาการเปรียญ
    หมายถึง น. ศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรม.
  87. ศาลาฉทาน
    หมายถึง [-ฉ้อทาน] น. สถานที่แจกจ่ายอาหารแก่คนทั่วไปเป็นการกุศล, ฉทานศาลา ก็เรียก.
  88. ศาลาดิน
    หมายถึง น. ศาลาที่ใช้พื้นดินเป็นพื้นหรือพื้นติดดิน ใช้ประกอบศาสนกิจเป็นต้น เช่น ศาลาดินที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม.
  89. ศาลาตักบาตร,ศาลาบาตร
    หมายถึง น. ศาลาที่ลักษณะเป็นโรงยาว มีฐานสำหรับตั้งบาตรได้หลายลูก มักปลูกไว้ในย่านกลางหมู่บ้านที่อยู่ไกลวัด ในเวลาเทศกาลที่นิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ ก็จะตั้งบาตรเรียงไว้ที่ศาลานั้นเพื่อให้ประชาชนได้ตักบาตร.
  90. ศาลาประชาคม
    หมายถึง น. สถานที่หรืออาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประชุมประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชนนั้น ๆ.
  91. ศาลายก
    หมายถึง น. ศาลาที่ยกพื้นสูงใช้ประกอบศาสนกิจเป็นต้น เช่น ศาลายกที่หน้าวัดสุทัศนเทพวราราม.
  92. ศาลาราย
    หมายถึง น. ศาลาที่สร้างเป็นหลัง ๆ เรียงเป็นแนวรอบโบสถ์หรือวิหาร เช่น ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม.
  93. ศาลาลงสรง
    หมายถึง [-สง] น. ศาลาที่สร้างขึ้นชั่วคราวสำหรับใช้ในพระราชพิธีโสกันต์หรือพระราชพิธีเกศากันต์และพระราชพิธีลงท่า.
  94. ศาลาลูกขุน
    หมายถึง (โบ) น. ที่ทำการของลูกขุน.
  95. ศาลาวัด
    หมายถึง น. อาคารที่ปลูกไว้ในวัดสำหรับทำบุญและศึกษาเล่าเรียนเป็นต้น.
  96. ศาลาสรง
    หมายถึง [-สง] (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ศาลาขนาดย่อมมุงหลังคาและมีฝากั้นมิดชิด ใช้เป็นที่สรงนํ้าพระสงฆ์ที่เคารพนับถือ ปฏิบัติกันในเทศกาลสงกรานต์โดยทำรางนํ้ารูปนาคพาดเข้าไปในศาลา เวลาสรงนํ้าพระให้เทนํ้าลงบนรางนั้น.
  97. ศาลาโรงธรรม
    หมายถึง น. ศาลากลางย่าน.
  98. ศาลเตี้ย
    หมายถึง (ปาก) น. เรียกการที่คนหรือกลุ่มคนที่ไม่มีอำนาจดำเนินคดีตามกฎหมายจับกุมคนมาชำระตัดสินความโดยพลการว่า ตั้งศาลเตี้ย.
  99. ศาลเพียงตา
    หมายถึง น. ศาลเทพารักษ์ที่ทำขึ้นชั่วคราว มีระดับเสมอนัยน์ตา เพื่อความเคารพและสวัสดิมงคลเป็นต้น.
  100. ศาลเยาวชนและครอบครัว
    หมายถึง (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด หรือคดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตามกฎหมาย หรือคดีครอบครัวอันได้แก่คดีแพ่งที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใด ๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวแล้วแต่กรณี ซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือคดีที่ศาลจะต้องพิพากษาหรือสั่งเกี่ยวกับตัวเด็กและเยาวชนตามบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัว ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ศ (หน้าที่ 2)"