พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ล (หน้าที่ 5)

  1. ลักสี
    หมายถึง ก. ทำสีหนึ่งซึ่งขัดกับอีกสีหนึ่งให้กลืนกันโดยเอาสีอื่นเข้ารวม.
  2. ลักหลับ
    หมายถึง ก. ลักลอบร่วมประเวณีขณะที่ผู้หญิงนอนหลับ.
  3. ลักเค้า
    หมายถึง ก. ลอบทำเอาแบบอย่างเขา.
  4. ลักเพศ
    หมายถึง [ลักกะเพด] ก. ทำหรือแต่งตัวปลอมแปลงให้ผิดไปจากเพศของตน เช่นคฤหัสถ์แต่งตัวปลอมเพศเป็นสมณะ ผู้ชายแต่งตัวเป็นผู้หญิง; (ปาก) ทำนอกลู่นอกทาง เช่นดื่มนํ้าทางหูถ้วย.
  5. ลักเลียม
    หมายถึง ก. ทำทีเล่นทีจริงพอเจ้าของเผลอก็ขโมยเอาไว้.
  6. ลักไก่
    หมายถึง (ปาก) ก. หลอกล่อให้หลงเข้าใจผิด, ใช้อุบายลวงให้หลง, (มักใช้แก่การกีฬา) เช่น ยิงลูกลักไก่, ถือไพ่แต้มต่ำ แต่เพิ่มเค้าเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิดว่าตนถือไพ่แต้มสูง (ใช้แก่การเล่นโป๊กเกอร์หรือเผ).
  7. ลัคคะ
    หมายถึง ว. ซึ่งติดต่อกัน, เกี่ยวพัน. (ป.; ส. ลคฺน).
  8. ลัคน,ลัคน-,ลัคน์,ลัคนา
    หมายถึง [ลักคะนะ-, ลัก, ลักคะนา] น. ราศีที่ปรากฏขึ้นที่ขอบฟ้าทางทิศตะวันออกในเวลาเจ้าของชะตาเกิด เช่น นาย ก เกิดเวลา ๑๑.๐๐ น. ลัคนาสถิตราศีกันย์, ในดวงชะตาถ้าอาทิตย์อยู่ในราศีเดียวกับลัคน์ เรียกว่า อาทิตย์กุมลัคน์; เวลาหรือวันที่ถือว่าเป็นมงคลสำหรับลงมือทำการใด ๆ, ถ้าเป็นเวลาที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนกาล ถ้าเป็นวันที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนทิน เช่น โหรคำนวณว่าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม เป็น ลัคนทิน เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็น ลัคนกาล เป็นวันและเวลาที่เหมาะสำหรับทำพิธีรดนํ้าแต่งงาน.
  9. ลัง
    หมายถึง น. ภาชนะต่อด้วยไม้หรือสานเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายหีบ สำหรับบรรจุสิ่งของ, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลังพลาสติก ลังกระดาษ.
  10. ลัง
    หมายถึง น. ชื่อปลาทะเลชนิด Rastrelliger kanagurta ในวงศ์ Scombridae รูปร่างและลักษณะทั่วไปคล้ายปลาทู แต่ขนาดใหญ่และลำตัวแคบกว่าเล็กน้อย ข้างตัวมีลายเส้นสีหม่นพาดตามยาว ๒-๓ ทาง มีชุกชุมในบริเวณห่างฝั่งมากกว่า, ทู หรือ ทูโม่ง ก็เรียก.
  11. ลังกา
    หมายถึง น. ชื่อเกาะแห่งหนึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศอินเดีย.
  12. ลังคิ,ลังคี
    หมายถึง น. กลอน, ลิ่ม, เครื่องกีดขวาง. (ป.).
  13. ลังถึง
    หมายถึง น. ภาชนะสำหรับนึ่งของ ทำด้วยโลหะมีลักษณะกลมคล้ายหม้อซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ๒-๓ ชั้น ชั้นล่างใส่น้ำสำหรับต้มให้ร้อน ชั้นที่ซ้อนที่ก้นเจาะเป็นรู ๆ เพื่อให้ไอน้ำร้อนผ่านให้ของในชั้นที่ซ้อนสุก มีฝาครอบคล้ายฝาชี, ซึ้ง ก็ว่า.
  14. ลังลอง
    หมายถึง ว. สุกใส, งาม. (โดยมากใช้ รังรอง).
  15. ลังสาด
    หมายถึง ดู ลางสาด.
  16. ลังเล
    หมายถึง ก. ไม่แน่ใจ, ยังตัดสินใจไม่ได้, เช่น ลังเลใจไม่รู้ว่าจะไปดีหรือไม่ไปดี.
  17. ลัชชา
    หมายถึง [ลัด-] น. ความละอาย, ความกระดาก. (ป., ส.).
  18. ลัชชี
    หมายถึง [ลัด-] น. ผู้มีความละอาย, ผู้มีความกระดาก. (ป.; ส. ลชฺชินฺ).
  19. ลัญจกร,ลัญฉกร
    หมายถึง [ลันจะกอน, ลันฉะกอน] (แบบ) น. ตรา (สำหรับใช้ตีหรือประทับ), ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระราชลัญจกร เช่น ประทับพระราชลัญจกร. (ป.).
  20. ลัญจ์
    หมายถึง [ลัน] น. สินบน, สินจ้าง, ของกำนัล. (ป.).
  21. ลัญฉน์,ลัญฉะ
    หมายถึง [ลัน, ลันฉะ] น. รอย, เครื่องหมาย, พิมพ์, ตรา (ที่ตีหรือประทับแล้ว). (ป.).
  22. ลัฐิ,ลฐิกา
    หมายถึง [ลัดถิ, ลัดถิกา] น. ไม้เท้า, ไม้ถือ; ลำต้น, หน่อ; ต้นตาล. (ป. ลฏฺิ, ลฏฺิกา).
  23. ลัด
    หมายถึง ก. ผลิออก, แตกออก, (ใช้แก่ต้นไม้ที่เริ่มตั้งตัวผลิใบอ่อน) เช่น ต้นไม้ลัดใบ.
  24. ลัด
    หมายถึง ก. ตัดตรงไปเพื่อย่นทางย่นเวลา เช่น เดินลัดตัดทุ่ง, โดยปริยายหมายถึงการกระทำซึ่งลุล่วงได้โดยตรงและเร็วกว่าการกระทำตามปรกติ เช่น เรียนลัด.
  25. ลัดนิ้วมือ
    หมายถึง น. เวลาชั่วงอนิ้วมือแล้วดีดออก, โดยปริยายหมายความว่าเร็วฉับพลัน, ชั่วประเดี๋ยวเดียว, เช่น ชั่วลัดนิ้วมือเดียวก็ถึง.
  26. ลัดวงจร
    หมายถึง (ไฟฟ้า) ก. ลักษณะที่วงจรไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน มีตัวนำซึ่งมีความต้านทานตํ่ากว่าความต้านทานของวงจรไฟฟ้านั้นมากมาแตะพาด เป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้าจำนวนมากไหลผ่านตัวนำที่มาแตะพาดนั้น ทำให้เกิดความร้อนสูงมากจนเกิดไฟไหม้ได้ เรียกว่า ไฟฟ้าลัดวงจร.
  27. ลัดา
    หมายถึง [ลัดดา] น. ลดา. (ป., ส. ลตา).
  28. ลัดเนื้อ
    หมายถึง ว. ค่อยมีเนื้อมากขึ้น (ใช้แก่แผล), ค่อยอ้วนขึ้น.
  29. ลัดเลาะ
    หมายถึง ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินลัดเลาะไปตามตลิ่ง ขี่ม้าลัดเลาะไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวางหรืออันตราย เช่น เดินทางลัดเลาะหลบข้าศึก, เลาะลัด ก็ว่า.
  30. ลัดแลง
    หมายถึง ก. ลัดหลีกไป.
  31. ลัทธิ
    หมายถึง น. คติความเชื่อถือ ความคิดเห็น และหลักการ ที่มีผู้นิยมนับถือและปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา เช่น ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิชาตินิยม ลัทธิทุนนิยม. (ป. ลทฺธิ ว่า ความเห็น, ความได้).
  32. ลัทธ์
    หมายถึง ว. ได้แล้ว. (ป.; ส. ลพฺธ).
  33. ลัน
    หมายถึง น. เครื่องดักปลาไหล ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เหลือข้อไว้ด้านหนึ่ง ที่ปากกระบอกมีงาแซง, กะลัน ก็เรียก.
  34. ลันทวย
    หมายถึง ว. ระทวย, อ่อน.
  35. ลันเต
    หมายถึง (ถิ่น-จันทบุรี, ระยอง) น. ต้นมหาหงส์. (ดู มหาหงส์).
  36. ลันเตา
    หมายถึง น. ถั่วลันเตา. (ดู ถั่วลันเตา).
  37. ลันโทม
    หมายถึง ก. น้อมลง, ก้มลง. (ข. ลํโทน).
  38. ลันไต
    หมายถึง น. ชื่อเสื่อซึ่งสานด้วยหวายตะค้าเป็นซี่ ๆ.
  39. ลับ
    หมายถึง ก. ถูให้คม เช่น ลับมีด.
  40. ลับ
    หมายถึง ว. ที่อยู่ในที่พ้นตา, ที่อยู่ในที่ซึ่งแลไม่เห็น, เช่น ที่ลับ ประตูลับ หายลับ, ที่ปกปิดหรือควรปกปิด เช่น ความลับ หนังสือลับ ห้องลับ, มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังอยู่ เช่น ของอยู่ลับฝา พระอาทิตย์ลับเหลี่ยมเขา.
  41. ลับกาย,ลับตัว
    หมายถึง ว. เพิ่งออกไปหยก ๆ เช่น เขาเพิ่งเดินลับกายไป เขาลับตัวไปเมื่อกี้นี้เอง.
  42. ลับตา
    หมายถึง ว. มิดชิดหรือห่างไกลจนพ้นสายตา.
  43. ลับปาก,ลับฝีปาก
    หมายถึง ก. เตรียมตัวพูดหรือโต้เถียงเต็มที่ เช่น ลับปากไว้คอยท่า. (ไชยเชฐ), พูดจาโต้ตอบคารมบ่อย ๆ จนคล่องแคล่ว.
  44. ลับลมคมใน
    หมายถึง ว. มีเงื่อนงำบางอย่างแฝงอยู่ ไม่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร เช่น เขาเป็นคนลับลมคมใน คบยาก เรื่องนี้มีลับลมคมในต้องสืบสวนต่อไป.
  45. ลับลี้
    หมายถึง ว. ลึกซึ้งเหลือรู้เหลือเห็นตามธรรมดา; ที่ซ่อนเร้นอยู่ เช่น เก็บของซ่อนไว้เสียลับลี้จนตนเองหาไม่พบ, ลี้ลับ ก็ว่า.
  46. ลับล่อ,ลับ ๆ ล่อ ๆ
    หมายถึง ว. ผลุบ ๆ โผล่ ๆ, ไม่เห็นถนัด.
  47. ลับสมอง
    หมายถึง ก. ฝึกฝนใช้สติปัญญา.
  48. ลับหน้า
    หมายถึง (โบ) ก. ล่วงลับไปแล้ว, ตายแล้ว.
  49. ลับหลัง
    หมายถึง ว. ไม่ใช่ต่อหน้า เช่น นินทาลับหลัง ว่าร้ายลับหลัง.
  50. ลับหู
    หมายถึง ว. ไม่ได้ยินถึง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ลับตา เป็น ลับหูลับตา.
  51. ลับหูลับตา
    หมายถึง ว. พ้นหูพ้นตา เช่น แอบให้เงินในที่ลับหูลับตา ไปให้ลับหูลับตา.
  52. ลับแล
    หมายถึง น. เครื่องกั้นหรือบังตา เป็นแผงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขาตั้งขนาบ ๒ ข้าง ยกย้ายได้ มักตั้งต่อช่องประตูเข้าไป บังตาคนภายนอกไม่ให้เห็นภายใน; ชื่อเมืองที่เร้นลับ ถือกันว่าจะพบได้ก็แต่โดยบังเอิญ ถ้าตั้งใจไปไม่พบ.
  53. ลัพธิ
    หมายถึง น. การได้. (ส.; ป. ลทฺธิ).
  54. ลัพธ์
    หมายถึง ว. ที่ได้แล้ว; จำนวนที่ได้จากการคำนวณเรียกว่า ผลลัพธ์ เช่น ๒๒ ลบด้วย ๘ ได้ผลลัพธ์เท่ากับ ๑๔. (ส.; ป. ลทฺธ).
  55. ลัภ
    หมายถึง ก. ได้. (ป., ส.).
  56. ลัภนะ
    หมายถึง [ลับพะ-] น. การได้. (ป., ส.).
  57. ลัภย์
    หมายถึง ว. พึงได้, ควรได้. (ส.; ป. ลพฺภ).
  58. ลัมพ์
    หมายถึง ก. ห้อย, ย้อย. (ป., ส.).
  59. ลัย,ลัย-
    หมายถึง [ไล, ไลยะ-] น. จังหวะ (ใช้แก่ดนตรี); ที่อาศัย โดยมากมักเติมอุปสรรคข้างหน้า เช่น อาลัย; การหายไป โดยมากมักเติมอุปสรรคข้างหน้า เช่น วิลัย บรรลัย. (ส.).
  60. ลัยกาล
    หมายถึง [ไลยะกาน] น. เวลาแตกดับ, เวลาทำลาย. (ส. ลยกาล).
  61. ลัยคต
    หมายถึง [ไลยะคด] ว. ถึงความแตกดับ, อันตรธานไป. (ส. ลยคต).
  62. ลั่ง
    หมายถึง ว. อวบ เช่น ทุเรียนพูลั่ง.
  63. ลั่น
    หมายถึง ก. มีเสียงดัง เช่น ฟ้าลั่น ไม้ลั่น กระดานลั่น, ทำให้มีเสียงดังหรือทำให้เกิดเสียงดัง เช่น ลงบันได บันไดลั่น บิดตัวจนกระดูกลั่น; ยิง เช่น ลั่นธนู ลั่นปืน; ปริออกแตกออกเป็นทางยาวและมีเสียงดัง เช่น จั่นลั่น แก้วใส่น้ำร้อนลั่น; โดยปริยายหมายถึงมีเสียงดังคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลือลั่น. ว. มีเสียงดังมาก เช่น หัวเราะลั่น ร้องไห้ลั่น.
  64. ลั่นกุญแจ
    หมายถึง ก. ใส่กุญแจ.
  65. ลั่นฆ้อง
    หมายถึง ก. ตีฆ้อง.
  66. ลั่นดาล
    หมายถึง ก. ลงสลัก, ขัดกลอน.
  67. ลั่นถัน
    หมายถึง (โบ) น. งิ้วประเภทหนึ่ง, งิ้ว; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง เรียกว่า จีนลั่นถัน.
  68. ลั่นทม
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Plumeria วงศ์ Apocynaceae เช่น ชนิด P. acutifolia Poir. ดอกสีขาว หรือแดงเรื่อ ๆ กลิ่นหอม, จำปาหอม ก็เรียก, พายัพเรียก จำปาลาว, อีสานเรียก จำปา, ปักษ์ใต้เรียก จำปาขอม.
  69. ลั่นนก
    หมายถึง ก. ลั่นไก.
  70. ลั่นปาก,ลั่นวาจา
    หมายถึง ก. ให้คำมั่น.
  71. ลั่นไก
    หมายถึง ก. เหนี่ยวไกปืนให้นกสับลงที่แก๊ป, ลั่นนก ก็ว่า.
  72. ลา
    หมายถึง ว. เตี้ย เช่น เกยลา กี๋ลา เตียงลา แท่นลา.
  73. ลา
    หมายถึง ว. มีกลีบชั้นเดียว, ไม่ซ้อน, (ใช้แก่ดอกไม้) เช่น มะลิลา พุดลา รักลา.
  74. ลา
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Equus asinus ในวงศ์ Equidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับม้า รูปร่างคล้ายม้าแต่ตัวเล็กกว่า หูยาว ปลายหางเป็นพู่ ขนแผงคอสั้นตั้งตรง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา.
  75. ลา
    หมายถึง น. เรียกการจบหรือสิ้นสุดลงระยะหนึ่ง ๆ ของพิธีบางอย่างว่า ลาหนึ่ง ๆ เช่น โห่ ๓ ลา ยํ่าฆ้อง ๓ ลา.
  76. ลา
    หมายถึง ก. จากไปโดยแสดงให้ทราบด้วยกิริยาท่าทาง คำพูด หรือด้วยหนังสือ; ขออนุญาตหยุดงานชั่วคราว เช่น ลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาไปศึกษาต่อ; ขอคืนของที่บูชาหรือบนไว้ เช่น ลาข้าวพระภูมิ ลาของที่บนไว้.
  77. ลาก
    หมายถึง ก. ทำให้เคลื่อนที่ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป ล่ามไป โยงไป เช่น ลากเกวียน ม้าลากรถ กระโปรงยาวลากดิน; โดยปริยายหมายความว่า ใช้อย่างสมบุกสมบัน, ใช้ถูไถ, เช่น เอาผ้าซิ่นไหมมานุ่งลากอยู่กับบ้าน. ว. ที่ทำให้เคลื่อนที่ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป ล่ามไป โยงไป เช่น รถลาก.
  78. ลากข้าง
    หมายถึง ก. เขียนสระอาลงข้างหลังพยัญชนะ. น. เครื่องหมายสระอา.
  79. ลากคอ
    หมายถึง ก. จับตัว, ดึงตัว, เช่น ลากคอเข้าตะราง.
  80. ลากตัว
    หมายถึง ก. ใช้อำนาจหรือกำลังบังคับเอาตัวมา.
  81. ลากษา
    หมายถึง [ลาก-] น. ครั่ง. (ส.; ป. ลาขา).
  82. ลากหนามจุกช่อง
    หมายถึง (สำ) ก. ยกเรื่องต่าง ๆ มาอ้างป้องกันตัว, ขัดขวางไม่ให้คนอื่นได้รับประโยชน์ในเมื่อตนเองไม่ได้รับประโยชน์ด้วย.
  83. ลากเสียง
    หมายถึง ก. อาการที่พูดยานคางในความว่า พูดลากเสียง.
  84. ลากเส้น
    หมายถึง ก. ตีเส้น, ขีดเส้น.
  85. ลาขา
    หมายถึง น. ครั่ง. (ป.; ส. ลากฺษา).
  86. ลาข้าวพระ
    หมายถึง ก. ทำพิธีอย่างหนึ่งเมื่อถอนสำรับพระพุทธ โดยยกมือประนมกล่าวคำว่า เสสํ มงฺคลํ ยาจามิ แล้วยกสำรับออกมา.
  87. ลาง
    หมายถึง น. สิ่งหรือปรากฏการณ์ที่เชื่อกันว่าจะบอกเหตุดีหรือเหตุร้าย เช่น ผึ้งทำรังทางทิศตะวันออกของอาคารเชื่อกันว่าเป็นลางดี แมงมุมตีอกเชื่อกันว่าเป็นลางร้าย.
  88. ลาง
    หมายถึง ว. ต่าง, แต่ละ, บาง, เช่น ลางคน ลางสิ่งลางอย่าง.
  89. ลาง
    หมายถึง น. หมาก, ขนุน เรียกว่า หมากลาง. (ไทยใหญ่).
  90. ลาง
    หมายถึง น. นกกะลาง.
  91. ลางคัล
    หมายถึง น. ไถ (เครื่องทำนา). (ส.; ป. นงฺคล).
  92. ลางงิด
    หมายถึง น. ฟ้า, สวรรค์. (ช.).
  93. ลางที
    หมายถึง ว. บางที.
  94. ลางลิง
    หมายถึง ดู กระไดลิง ๒.
  95. ลางสังหรณ์
    หมายถึง น. ลางที่ดลใจทำให้เชื่อว่าอาจจะมีเหตุดีหรือเหตุร้ายเกิดขึ้น เช่น จิ้งจกตกมาตายต่อหน้า เชื่อว่าเป็นลางสังหรณ์จะทำให้เกิดเหตุร้าย.
  96. ลางสาด
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Lansium domesticum Pelleg. ในวงศ์ Meliaceae ผลกลม ๆ ออกเป็นพวง กินได้ เม็ดในขม, ลังสาด ก็เรียก, พันธุ์เปลือกหนายางน้อยเรียก ลองกอง.
  97. ลางาด,ล้างาด
    หมายถึง น. เย็น, เวลาเย็น, ละงาด ก็ใช้.
  98. ลางเนื้อชอบลางยา
    หมายถึง น. ยาอย่างเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีกคนหนึ่ง; (สำ) ของสิ่งเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีกคนหนึ่ง.
  99. ลาช,ลาชะ,ลาชา
    หมายถึง [ลาด, ลาชะ] น. ข้าวตอก เช่น อนนเรืองรองด้วยจตุรพรรณมาลา ลาชาชาติห้าสิ่ง. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
  100. ลาญ
    หมายถึง ก. แตก, หัก, ทำลาย เช่น ฝ่อใจห้าวบมิหาญ ลาญใจแกล้วบมิกล้า. (ตะเลงพ่าย).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ล (หน้าที่ 5)"