พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ล (หน้าที่ 4)

  1. ละลัง
    หมายถึง ว. รีบเร่ง.
  2. ละลัด
    หมายถึง น. แมลงวัน. (ช.).
  3. ละลาน
    หมายถึง ก. ตื่นเต้น.
  4. ละลานตา
    หมายถึง ก. ตื่นตา เช่น ผู้คนมากมายละลานตา.
  5. ละลานใจ
    หมายถึง ก. ตื่นใจ, วุ่นวายใจ, เช่น เห็นเพชรเม็ดงามละลานใจ.
  6. ละลาบละล้วง
    หมายถึง ก. ล่วงเกิน, อาจเอื้อม, เช่น การถามเรื่องส่วนตัวถือเป็นการละลาบละล้วง.
  7. ละลาย
    หมายถึง ก. อาการที่ของแข็งเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวด้วยความร้อน เช่น นํ้าแข็งละลาย; คลายตัวหรือทำให้คลายตัวซึมซาบสลายไปในนํ้าหรือของเหลว เช่น ยาละลาย เกลือละลายในนํ้า ละลายยาหอม ละลายนํ้าตาลในนํ้ากะทิ, โดยปริยายหมายความว่า หายไป, หมดไป, เช่น พอเห็นนํ้าตา ความโกรธแค้นก็ละลายหายไป เอาเงินไปละลายในวงไพ่หมด; (วิทยา) อาการที่สารอย่างหนึ่งแผ่กระจายในสารอีกอย่างหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น คาร์บอนละลายในเหล็ก แอลกอฮอล์ละลายในนํ้า แก๊สออกซิเจนละลายในแก๊สไนโตรเจน ผลที่ได้เรียกว่า สารละลาย.
  8. ละลิบ
    หมายถึง ว. ลิบ, ลิ่ว, สูง, โด่ง, ไกล, ลอยไปไกล.
  9. ละลุง
    หมายถึง (กลอน) ก. ใจเป็นห่วงถึง, เป็นทุกข์ถึง, ใจหาย.
  10. ละลุง
    หมายถึง (กลอน) ว. ชุลมุน.
  11. ละลุม
    หมายถึง ก. ละเล้า.
  12. ละล่ำละลัก
    หมายถึง ก. อาการที่พูดไม่ได้เร็วอย่างใจกระอึกกระอักติด ๆ ขัด ๆ เพราะเหนื่อย ตกใจ ดีใจ หรือรีบร้อน เป็นต้น.
  13. ละล้า
    หมายถึง (กลอน) ก. ล่า, ช้า, หมดแรง.
  14. ละล้าละลัง
    หมายถึง ว. ห่วงหน้าห่วงหลัง, พะวงหน้าพะวงหลัง, พะวักพะวน, เช่น เกิดไฟไหม้ละล้าละลังคว้าอะไรไม่ถูก.
  15. ละล้าว
    หมายถึง ว. อย่างเกรงกลัว เช่น ไหว้ละล้าว. (นิ. นรินทร์).
  16. ละวล
    หมายถึง ว. ก้อง, อื้ออึง, สับสน.
  17. ละวาง
    หมายถึง ก. ปล่อยวาง เช่น ละวางกิเลส.
  18. ละวาด
    หมายถึง ก. วาด. ว. คล้ายเขียน.
  19. ละว้อ,ละว้า,ละว้า
    หมายถึง น. คนชาวเขาตอนเหนือประเทศไทยพวกหนึ่งในตระกูลมอญ-เขมร.
  20. ละว้า
    หมายถึง น. เรียกย่ามขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งมีครุยที่มุมล่างว่า ย่ามละว้า.
  21. ละหมาด
    หมายถึง น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการนมัสการในศาสนาอิสลามเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ปฏิบัติวันละ ๕ เวลา, นมาซ ก็เรียก.
  22. ละหมาดญานาซะฮ์
    หมายถึง น. พิธีอ้อนวอนพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม เพื่อขอให้รับผู้ตาย (ระบุชื่อ) ไว้ในที่อันบริสุทธิ์.
  23. ละหลัด
    หมายถึง ว. หลัด ๆ, เร็ว ๆ.
  24. ละหาน
    หมายถึง น. ห้วงนํ้า. (เทียบเขมร ว่า รหาล).
  25. ละหาน
    หมายถึง ว. ห้อย.
  26. ละหาร
    หมายถึง น. ห้วงน้ำ. (เทียบมลายู ว่า lahar).
  27. ละหุ่ง
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Ricinus communis L. ในวงศ์ Euphorbiaceae เมล็ดเป็นพิษ นํ้ามันที่ได้จากการหีบโดยไม่ใช้ความร้อนใช้ทำยาได้.
  28. ละห้อย
    หมายถึง ว. อาการที่พูดเว้าวอนด้วยน้ำเสียงอ่อย ๆ ก่อให้เกิดความสงสารเห็นอกเห็นใจ เช่น เสียงละห้อย; โศกเศร้าเพราะความผิดหวังหรือคิดถึง เช่น หน้าละห้อย.
  29. ละห้อยละเหี่ย
    หมายถึง ว. อาการที่อ่อนอกอ่อนใจเพราะผิดหวังหรือเหนื่อยมากเป็นต้น เช่น เดินละห้อยละเหี่ย.
  30. ละอง
    หมายถึง ดู ละองละมั่ง.
  31. ละองละมั่ง
    หมายถึง น. ชื่อกวางขนาดกลางชนิด Cervus eldi ในวงศ์ Cervidae ตัวสีนํ้าตาลอ่อน คอยาวกว่ากวางชนิดอื่น ตัวผู้เขาโค้งปลายชี้ไปด้านหน้า ตัวเมียไม่มีเขา ลูกเกิดใหม่มีจุดขาว กินหญ้าและใบไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, บ้างเรียกเพศผู้ว่า ละอง เรียกเพศเมียว่า ละมั่ง.
  32. ละออง
    หมายถึง น. สิ่งซึ่งมีลักษณะเป็นผงเป็นฝอยละเอียดยิบ เช่น ละอองฝน ละอองน้ำ ละอองฟาง ละอองข้าว; ฝ้าขาวที่ขึ้นในปากเด็กเล็ก ๆ เมื่อไม่สบาย เช่น เด็กท้องเสียลิ้นเป็นละออง.
  33. ละอาย
    หมายถึง ก. รู้สึกอายที่จะทำสิ่งไม่ถูกไม่ควร เช่น ละอายที่จะทำผิด, ละอายใจ ก็ว่า.
  34. ละเบ็ง
    หมายถึง ว. ดัง, ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด, ระเบ็ง ก็ว่า.
  35. ละเมอ
    หมายถึง ก. พูด ทำ หรือแสดงในเวลาหลับ, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า หลงเพ้อ เช่น เขากลับไปนานแล้ว ยังละเมอว่าเขายังอยู่, มะเมอ ก็ว่า.
  36. ละเมาะ
    หมายถึง น. หมู่ไม้ขนาดเล็ก ซึ่งขึ้นในที่โล่งเป็นหย่อม ๆ, บางทีก็เรียกว่า เกาะ, ถ้ามีลักษณะเป็นป่า ก็เรียกว่า ป่าละเมาะ.
  37. ละเมาะ
    หมายถึง น. ชื่อปลากระบอกขนาดเล็ก. (ดู กระบอก ๒).
  38. ละเมิด
    หมายถึง ก. ล่วงเกินหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีหรือกฎหมายที่มีบัญญัติไว้; (กฎ) จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิ.
  39. ละเมิดลิขสิทธิ์
    หมายถึง (กฎ) ก. กระทำอย่างหนึ่งอย่างใดต่องานที่มีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ได้แก่ ทำซํ้าหรือดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์.
  40. ละเมิน
    หมายถึง ก. ละด้วยการไม่เหลียวแล.
  41. ละเมียด
    หมายถึง ก. มิดชิดอย่างสุภาพ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ละไม เป็น ละเมียดละไม; คล้ายคลึง, ละม้าย, มักใช้เข้าคู่กับคำ เหมือน เป็น ละเมียดเหมือน.
  42. ละเมียดละไม
    หมายถึง ก. สุภาพนุ่มนวล เช่น กิริยามารยาทละเมียดละไม สำนวนละเมียดละไม, แนบเนียนไม่ขัดเขิน เช่น เข้าพระเข้านางได้ละเมียดละไม.
  43. ละเมียบ
    หมายถึง ก. ตีแต่งเหล็กที่เป็นรูปอยู่แล้วให้เรียบเป็นมัน, ลำเมียบ ลำเลียบ หรือ ลำเวียน ก็ว่า.
  44. ละเม็ด
    หมายถึง น. ชนชาวเขาจำพวกข่า อยู่ทางแคว้นสิบสองจุไทย.
  45. ละเลง
    หมายถึง ก. ป้ายทาหรือไล้ทาให้แผ่ออกไปด้วยวิธีวนเป็นวงกลม ๆ เช่น ละเลงขนมเบื้อง, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้เลอะเทอะ เช่น เอาแป้งละเลงหน้า.
  46. ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
    หมายถึง (สำ) ก. ดีแต่พูด แต่ทำไม่ได้.
  47. ละเลงเลือด
    หมายถึง ว. อาการที่ต่อสู้กันจนเลือดออกมากเปรอะไปด้วยกัน เช่น ทั้ง ๒ ฝ่ายต่อสู้กันถึงขั้นละเลงเลือด.
  48. ละเลย
    หมายถึง ก. เพิกเฉย, ทอดทิ้ง, เช่น ละเลยไม่เอาธุระ
  49. ละเลาะ
    หมายถึง ก. ค่อย ๆ ไป.
  50. ละเลาะละลอง
    หมายถึง ก. บรรลุถึงฝั่ง; ค่อยเป็นค่อยไปจนกว่าจะบรรลุถึงเป้าหมาย.
  51. ละเลิง
    หมายถึง ก. เหลิงจนลืมตัวเพราะลำพองหรือคึกคะนอง เช่น หลงละเลิงจนลืมอันตราย.
  52. ละเลียด
    หมายถึง ก. กินทีละน้อย ๆ เช่น มัวละเลียดอยู่นั่นแหละ.
  53. ละเลียบ
    หมายถึง ก. เลียบ.
  54. ละเลือก
    หมายถึง ว. ลนลาน.
  55. ละเล้า
    หมายถึง ก. เคล้าคลึง, คลอเคลีย, คลำ; สับสน, ปะปน, ใช้เข้าคู่กับคำ ละลุม เป็น ละเล้าละลุม ก็มี.
  56. ละเวง
    หมายถึง ว. เสียงเสนาะ, ก้อง, กังวาน; ฟุ้งเฟื่อง, ฟุ้งไป.
  57. ละเว้น
    หมายถึง ก. งดเว้น, ยกเว้น, เช่น ลงโทษทุกคนไม่ละเว้นผู้ใด ทุกคนถูกบังคับให้ทำงานไม่มีละเว้น.
  58. ละเหย
    หมายถึง ก. ระเหย.
  59. ละเหี่ย
    หมายถึง ก. อ่อนใจ, อิดโรย, เช่น กินยาลมแก้ใจละเหี่ย, ละเหี่ยใจ ก็ว่า.
  60. ละเอียด
    หมายถึง ว. ไม่หยาบ เช่น บดยาให้ละเอียด ทรายละเอียด, เป็นเส้นเล็ก ๆ เช่น ผมเส้นละเอียด ยาฝอยเส้นละเอียด, เป็นผง, เป็นจุณ, เช่น แป้งผัดหน้าละเอียด, เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แก้วแตกละเอียด; ที่ต้องชี้แจงหรือแจกแจงโดยไม่ให้มีอะไรขาดตกบกพร่อง เช่น เรื่องนี้ต้องอธิบายโดยละเอียด; ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น เจ้าหน้าที่การเงินควรเป็นคนละเอียด, ประณีต เช่น ฝีมือสอยผ้าละเอียด ฝีมือถักเสื้อละเอียด.
  61. ละเอียดลออ
    หมายถึง ว. ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น ตรวจบัญชีอย่างละเอียดลออ ดูแลข้าวของอย่างละเอียดลออ ไม่ให้ตกเรี่ยเสียหาย.
  62. ละเอียดอ่อน
    หมายถึง ว. ประณีต, นิ่มนวล, เช่น การรำไทยเป็นศิลปะที่ละเอียดอ่อน ศิลปะและดนตรีมีความละเอียดอ่อน; ลึกซึ้ง, สลับซับซ้อน, ยากที่จะเข้าใจได้, เช่น ศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน; อ่อนไหวง่าย, สะเทือนใจง่าย, เช่น บางคนถือเรื่องส่วนตัว เรื่องการเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน.
  63. ละแมะ
    หมายถึง น. เครื่องมือรูปคล้ายจอบ สำหรับถากเรือโกลน.
  64. ละแวก
    หมายถึง น. เขมรชาวกรุงละแวก.
  65. ละแวก
    หมายถึง น. เขตบริเวณ เช่น ละแวกบ้าน.
  66. ละแอน
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระชาย. (ดู กระชาย).
  67. ละโบม
    หมายถึง ก. โลม, ลูบคลำ, เคล้าคลึง.
  68. ละโมก
    หมายถึง ดู กระโดงแดง (๑).
  69. ละโมบ
    หมายถึง ก. โลภมาก, มักได้.
  70. ละโลก
    หมายถึง ก. ตาย เช่น เขาละโลกไปแล้ว.
  71. ละโว้
    หมายถึง น. ชื่อเก่าของเมืองลพบุรี.
  72. ละโว้
    หมายถึง น. ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่งของชนิด Solanum melongena L. ผลกลม กินได้.
  73. ละไม
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Baccaurea motleyana (Muell. Arg.) Muell. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลและรสคล้ายมะไฟ ต่างกันที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงครอบ.
  74. ละไม
    หมายถึง ว. น่ารักน่าเอ็นดู, งามชวนดู, ชื่นบาน, เช่น ยิ้มละไม งามละไม.
  75. ละไล้
    หมายถึง ก. ไล้, ลูบ, โลม.
  76. ลัก
    หมายถึง ก. เอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ไปด้วยอาการซ่อนเร้น, ขโมย, เช่น ลักทรัพย์, แอบทำ, ลอบทำ, เช่น ลักกินขนมในห้องเรียน ลักสูบบุหรี่ในห้องน้ำ. ว. เว้นข้ามไปทำให้เสียระเบียบ เช่น รถไฟลักหลีก ทำให้รถ ๒ ขบวนชนกัน.
  77. ลักขณะ
    หมายถึง [-ขะหฺนะ] น. ลักษณะ, เครื่องแสดงสิ่งหนึ่งให้เห็นว่าต่างกับอีกสิ่งหนึ่ง, คุณภาพ; ประเภท. (ป.; ส. ลกฺษณ).
  78. ลักขณา
    หมายถึง [-ขะนา] (กลอน) ว. มีลักษณะดี.
  79. ลักขะ
    หมายถึง น. เครื่องหมาย, เป้า; จำนวนแสนหนึ่ง. (ป.; ส. ลกฺษ).
  80. ลักขี
    หมายถึง น. โชค, ลาภ. (ป.; ส. ลกฺษมี).
  81. ลักจั่น
    หมายถึง [ลักกะจั่น] น. นํ้าเต้าหรือภาชนะดินรูปคล้ายนํ้าเต้า สำหรับบรรจุนํ้าในเวลาเดินทางอย่างที่พระธุดงค์ใช้.
  82. ลักซ่อน
    หมายถึง ก. อาการที่คล้ายมีอะไรบางอย่างมาทำให้มองไม่เห็นหรือหาไม่พบ เชื่อกันว่าถูกผีลักไปซ่อนหรือผีบังตา.
  83. ลักตา
    หมายถึง ว. อาการที่จงใจลักเดินตัวหมากรุกให้ผิดตาเพื่อเอาเปรียบคู่ต่อสู้ ในคำว่า เดินลักตา.
  84. ลักทรัพย์
    หมายถึง (กฎ) ก. ชื่อความผิดอาญาฐานเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต.
  85. ลักปิดลักเปิด
    หมายถึง [ลักกะปิดลักกะเปิด] น. ชื่อโรคที่มีอาการเลือดออกตามไรฟันและเหงือกน่วมเนื่องจากขาดวิตามินซี.
  86. ลักพา
    หมายถึง ก. ลอบพาหญิงหนีไปในทางชู้สาว.
  87. ลักยิ้ม
    หมายถึง น. รอยเล็ก ๆ ที่บุ๋มลงไปที่แก้ม.
  88. ลักลอบ
    หมายถึง ก. ลอบกระทำการบางอย่าง เช่น ลักลอบได้เสียกัน ลักลอบเข้าเมือง ลักลอบเล่นการพนัน.
  89. ลักลั่น
    หมายถึง ว. ขาดความเป็นระเบียบทำให้เกิดเหลื่อมล้ำไม่เป็นไปตามกฎตามแบบตามลำดับเป็นต้น เช่น ทำงานลักลั่น เครื่องใช้ต่างชุดต่างสำรับใช้ปนกันดูลักลั่น.
  90. ลักลาย
    หมายถึง ก. เขียนลายโดยร่นระยะช่องไฟเพื่อให้บรรจุลายได้ตามที่ต้องการ.
  91. ลักศพ
    หมายถึง ก. นำศพไปอย่างเงียบ ๆ เพื่อปลง.
  92. ลักษณ,ลักษณ-,ลักษณะ
    หมายถึง [-สะหฺนะ] น. สมบัติเฉพาะตัว เช่น น้ำมีลักษณะเป็นของเหลว ลูกบิลเลียดมีลักษณะกลม ลูกเต๋ามีลักษณะเหลี่ยม คนไทยมีลักษณะอ่อนโยน; ประเภท เช่น ใน ๓ ลักษณะ. (ส.; ป. ลกฺขณ).
  93. ลักษณนาม
    หมายถึง (ไว) น. คำนามที่แสดงลักษณะของสิ่งต่าง ๆ เช่น คน ๓ คน แมว ๒ ตัว ขลุ่ย ๓ เลา ลูกคนโต หมวกใบใหญ่.
  94. ลักษณาการ
    หมายถึง น. ลักษณะที่ปรากฏให้เห็น.
  95. ลักษณ์
    หมายถึง [ลัก] (กลอน) น. จดหมาย, เรียกเต็มว่า อักษรลักษณ์; (โบ) ลักษมณ์.
  96. ลักษมณ์
    หมายถึง [ลัก] น. ชื่อน้ององค์หนึ่งของพระรามในเรื่องรามเกียรติ์. (ส. ลกฺษฺมณ).
  97. ลักษมาณา
    หมายถึง น. แม่ทัพเรือ. (มลายู).
  98. ลักษมี
    หมายถึง [ลักสะหฺมี] น. โชคลาภ, ความเจริญ, ทรัพย์; ความงาม, เสน่ห์, สิริ; ชื่อเจ้าแม่แห่งลาภและความงาม เป็นชายาพระนารายณ์. (ส.).
  99. ลักษะ
    หมายถึง น. ลักขะ. (ส.).
  100. ลักสร้อย
    หมายถึง (กลอน) ก. แอบร้องไห้.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ล (หน้าที่ 4)"