พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ล (หน้าที่ 3)

  1. ลอง
    หมายถึง น. ของที่ทำรองรับไว้ชั้นใน เช่น ลองพระสุพรรณราช; ส่วนที่ประกอบชั้นนอกของพระโกศหรือโกศ เรียกว่า พระลอง หรือ ลอง.
  2. ลองกอง
    หมายถึง น. ชื่อลางสาดพันธุ์หนึ่ง เปลือกหนายางน้อย.
  3. ลองของ
    หมายถึง ก. ทดลองดูว่าเครื่องรางของขลังนั้นจะขลังจริงหรือไม่, โดยปริยายหมายความว่า ลองดี.
  4. ลองจิจูด
    หมายถึง น. เส้นรอยตัดระหว่างผิวโลกกับพื้นราบที่ผ่านแกนขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ รอยตัดนี้จะเป็นวงกลมที่ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตร ค่าลองจิจูดนับออกจากเมริเดียนแรกไปทางตะวันออกหรือตะวันตก โดยวัดไปตามเส้นศูนย์สูตร เป็นมุมที่ศูนย์กลางโลก, เดิมใช้ว่า เส้นแวง. (อ. longitude).
  5. ลองดี
    หมายถึง ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะดีจริงหรือไม่ (โดยมากเป็นไปในเชิงดูหมิ่นหรือท้าทาย) เช่น พูดจาท้าทายลองดีนักเลงใหญ่ ล้วงคองูเห่าด้วยการลองดีกับตำรวจ.
  6. ลองธรรม์
    หมายถึง (แบบ) น. ทางธรรม เช่น แถลงปางพระเลี้ยงโลก ลองธรรม์. (ยวนพ่าย).
  7. ลองภูมิ
    หมายถึง [-พูม] ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะมีพื้นความรู้ความสามารถแค่ไหนเพียงไร เช่น นักเรียนลองภูมิครู.
  8. ลองเครื่อง
    หมายถึง ก. ทดสอบการทำงานของเครื่องยนต์ว่าทำงานเป็นปรกติหรือไม่.
  9. ลองเชิง
    หมายถึง ก. หยั่งท่าทีดูว่ามีความสามารถแค่ไหน เช่น นักมวยประหมัดเบา ๆ ลองเชิงคู่ต่อสู้, คะนอง, ตื่นเต้น, โลดโผน.
  10. ลองใจ
    หมายถึง ก. พิสูจน์ว่าจะมีนํ้าใจอย่างที่คาดหมายไว้หรือไม่ เช่น เอาแหวนวางไว้ลองใจคนใช้ว่าจะซื่อสัตย์หรือไม่.
  11. ลองใน
    หมายถึง น. โกศชั้นใน.
  12. ลองไน
    หมายถึง ดู แม่ม่ายลองไน.
  13. ลอด
    หมายถึง ก. ผ่านเข้าไปในช่อง หรือใต้สิ่งที่มีพื้น หรือสิ่งที่ขวางอยู่เบื้องบน เช่น ลอดราว ลอดอุโมงค์.
  14. ลอดช่อง
    หมายถึง น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยแป้งข้าวเจ้ากวนพอสุก กดลงในกะโหลกที่มีรูให้ไหลออกเป็นตัว ๆ หัวท้ายแหลม กินกับน้ำกะทิ.
  15. ลอตเตอรี่
    หมายถึง น. สลากกินแบ่ง. (อ. lottery).
  16. ลอน
    หมายถึง น. ส่วนที่มีลักษณะสูง ๆ ตํ่า ๆ อย่างลูกคลื่นติดต่อสลับกันไปบนพื้นราบ เช่น ลอนฟูก ลอนสังกะสี, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลอนตาล ลอนผม.
  17. ลอนทอง
    หมายถึง ก. ตัดทองคำใบให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อตีแผ่ทำเป็นทองคำเปลว.
  18. ลอบ
    หมายถึง น. ชื่อเครื่องสานสำหรับดักปลาดักกุ้ง มีหลายชนิด เช่น ลอบนอน ลอบตั้ง ลอบประทุน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ตาข่ายที่ขึงดักจับนก.
  19. ลอบ
    หมายถึง ก. แอบทำโดยไม่ให้ผู้อื่นรู้เห็น เช่น ลอบทำร้าย ลอบเข้าไปในหมู่ข้าศึก.
  20. ลอบกัด
    หมายถึง ก. ทำร้ายลับหลัง, ด่าว่าหรือกลั่นแกล้งลับหลังให้เสียหาย.
  21. ลอบฟัง
    หมายถึง ก. ลักฟัง, ดักฟัง, แอบฟัง.
  22. ลอม
    หมายถึง ก. รวมตะล่อมกันขึ้นไปให้เป็นจอม; อาการที่โค้งเข้าหากันเป็นวง เช่น ควายเขาลอม, รอม ก็ว่า. น. เรียกกองฟางกองข้าวเป็นต้นซึ่งมีลักษณะเช่นนั้นว่า ลอมฟาง ลอมข้าว.
  23. ลอมชอม
    หมายถึง ก. ปรองดองกัน, ประนีประนอมกัน, ตกลงกันด้วยการไกล่เกลี่ย, รอมชอม หรือ ออมชอม ก็ว่า.
  24. ลอมพอก
    หมายถึง น. เครื่องสวมศีรษะรูปยาวแหลมคล้ายชฎา เช่น เทวดาสวมลอมพอก นาคสวมลอมพอก.
  25. ลอย
    หมายถึง ก. ทรงตัวอยู่ในอากาศ เช่น บัลลูนลอย ว่าวลอย; เด่นขึ้น, นูนขึ้น, เช่น รูปปลาที่วาดบนพัดมองเหมือนลอยออกมา; ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง, ไม่มีตำแหน่งหรือหน้าที่การงานเป็นหลักแหล่ง, เช่น เป็นพ่อพวงมาลัยลอยไปลอยมา; ไม่จม เช่น เรือลอย ซุงลอย; อยู่บนผิวน้ำ เช่น จอกแหนลอย; ปล่อยให้ไปตามน้ำหรืออากาศ เช่น ลอยกระทง ปล่อยลูกโป่งให้ลอยในพิธีเปิดงาน. ว. ไม่มีอะไรคุ้มหรือผูกไว้ (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น โคนลอย ม้าลอย.
  26. ลอย ๆ
    หมายถึง ว. ไม่เจาะจงผู้ใดโดยเฉพาะ เช่น ด่าลอย ๆ; ไม่มีเหตุผลหรือหลักฐาน เช่น เขียนกฎขึ้นมาลอย ๆ พูดลอย ๆ ไม่มีที่อ้างอิง; อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียงไม่มีคำลงท้าย เช่น พูดลอย ๆ ไม่มีคะขา.
  27. ลอยกระทง
    หมายถึง น. ชื่อเทศกาลอย่างหนึ่ง เอากระทงที่บรรจุธูปเทียนดอกไม้ แล้วจุดให้ลอยในน้ำ ทำในวันเพ็ญเดือน ๑๒.
  28. ลอยคอ
    หมายถึง ก. ว่ายนํ้าตั้งตัวตรง คออยู่เหนือนํ้า.
  29. ลอยชาย
    หมายถึง ว. ปล่อยชายผ้านุ่ง (คือ ไม่โจงกระเบน) ในคำว่า นุ่งผ้าลอยชาย; กรีดกราย เช่น เดินลอยชายไม่ทำอะไรเลย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีผู้ขัดขวาง เช่น ข้าศึกเดินลอยชายเข้าเมือง.
  30. ลอยช้อน
    หมายถึง ก. ลงนํ้าลอยคอเอาคัดช้อนตักปลา.
  31. ลอยดอก
    หมายถึง (ปาก) ว. คำค่อนว่าผู้หญิงที่ประพฤติตัวไม่สมควร เช่นล่อหรือยั่วยวนผู้ชายในที่เปิดเผย.
  32. ลอยตัว
    หมายถึง ก. หมดภาระ, หมดปัญหายุ่งยาก, เช่น เมื่อปลดเปลื้องหนี้สินได้หมดแล้ว เขาก็ลอยตัว; พ้นข้อผูกพัน เช่น ค่าเงินบาทลอยตัว ราคาน้ำมันลอยตัว.
  33. ลอยนวล
    หมายถึง ว. ตามสบาย, ไม่มีผู้ขัดขวางจับกุม, เช่น ผู้ร้ายหนีไปอย่างลอยนวล; กรีดกราย เช่น แทนที่จะไปโรงเรียน กลับไปเดินลอยนวลอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า.
  34. ลอยน้ำ
    หมายถึง ก. หล่อน้ำ, เอาภาชนะใส่ของไปตั้งไว้ในน้ำไม่ให้มดขึ้น เช่น เอาขนมใส่ถ้วยไปลอยน้ำไว้; เอาดอกไม้หอมลอยลงในน้ำเพื่ออบน้ำให้หอม เช่น เอาดอกมะลิลอยน้ำ.
  35. ลอยบาป
    หมายถึง ก. ปลดเปลื้องบาปให้ลอยไปในแม่น้ำคงคาตามลัทธิศาสนาพราหมณ์.
  36. ลอยฟ้า,ลอยเมฆ
    หมายถึง ก. ลอยอยู่บนฟ้า. ว. เลิศ เช่น สวยลอยฟ้า; สูงมาก เช่น สะพานลอยฟ้า ภัตตาคารลอยฟ้า.
  37. ลอยลำ
    หมายถึง (ปาก) ว. เด็ดขาด เช่น เรือแข่งชนะลอยลำ ลอยลำเข้ารอบ.
  38. ลอยหน้า,ลอยหน้าลอยตา
    หมายถึง ก. ทำหน้าเชิดไปมา, โดยปริยายหมายความว่า มีลักษณะอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทำผิดแล้วยังมาลอยหน้าเถียงอีก.
  39. ลอยเป็นแพ
    หมายถึง ก. ลอยพรืดไปเป็นจำนวนมาก ๆ เช่น ผักตบชวาลอยเป็นแพ.
  40. ลอยแก้ว
    หมายถึง น. ของหวานทำด้วยเนื้อผลไม้รสเปรี้ยวลอยในนํ้าเชื่อมเจือเกลือเล็กน้อย เช่น ส้มลอยแก้ว กระท้อนลอยแก้ว.
  41. ลอยแพ
    หมายถึง ก. จับใส่แพแล้วปล่อยให้ลอยล่องไปในน้ำตามยถากรรม เช่น สมัยโบราณเอาคนชั่วลอยแพไป นางกากีถูกลอยแพ, โดยปริยายหมายถึง ปล่อยให้ตกอยู่ในสถานะลำบาก เช่น โรงงานขาดทุนต้องปิดกิจการ คนงานจึงถูกลอยแพ.
  42. ลอว์เรนเซียม
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๑๐๓ สัญลักษณ์ Lr (ใช้ Lw ก็มี) เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. lawrencium).
  43. ลออ
    หมายถึง [ละ-] ว. งาม เช่น นวลลออ เอี่ยมลออ. (ข.).
  44. ละ
    หมายถึง ก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคำหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดยใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ ... หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมายดังนี้ แสดงว่ามีคำหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คำประกอบคำนามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม ซึ่งกำหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คำประกอบกริยาเพื่อเน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.
  45. ละ
    หมายถึง ว. คำใช้ประกอบหน้าคำ ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้.
  46. ละกล
    หมายถึง (กลอน) ว. กล, เหมือน.
  47. ละกูมะนิส
    หมายถึง น. คนที่รัก, คนที่ชอบใจ. (ช.).
  48. ละขัดละขืน
    หมายถึง (กลอน) ก. ขัดขืน; ห้าวหาญ.
  49. ละคร
    หมายถึง [-คอน] น. การแสดงประเภทหนึ่ง ผู้แสดงเรียกว่า ตัวละคร มีเวทีหรือสถานที่ใช้ในการแสดง มีบทให้ตัวละครแสดงตามเนื้อเรื่อง โดยมากมีดนตรีประกอบ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายชนิด; การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์, โดยปริยายหมายถึงความเป็นไปของชีวิต เช่น ละครชีวิต โลกคือละครโรงใหญ่.
  50. ละครชวนหัว
    หมายถึง น. ละครพูดประเภทขำขัน.
  51. ละครชาตรี
    หมายถึง น. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.
  52. ละครดึกดำบรรพ์
    หมายถึง น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยาอาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะงดงามสง่าภาคภูมิ เช่น ละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).
  53. ละครนอก
    หมายถึง น. ละครรำแบบหนึ่ง ปรับปรุงให้ดีขึ้นจากละครชาตรี ในชั้นต้นตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบแบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครในใช้แสดง.
  54. ละครพันทาง
    หมายถึง น. ละครแบบหนึ่ง ดัดแปลงจากละครรำแบบเดิม ตัวละครพูดบทของตนเอง มักแสดงเรื่องแต่งจากพงศาวดารชาติต่าง ๆ มีท่ารำ สำเนียงเจรจา และทำนองเพลงตามชาตินั้น ๆ เช่น ละครพันทางเรื่องราชาธิราช เรื่องพระลอ เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนพระไวยแตกทัพ) เรื่องเลือดสุพรรณ.
  55. ละครพูด
    หมายถึง น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครพูดบทของตนในการดำเนินเรื่อง อาจพูดเป็นถ้อยคำธรรมดา คำกลอน คำฉันท์ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ ละครพูดคำกลอนเรื่องพระร่วง ละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา.
  56. ละครพูดสลับลำ
    หมายถึง น. ละครสังคีต.
  57. ละครยก
    หมายถึง น. เครื่องสังเวยพระภูมิหรือแก้บน ทำเป็นแท่นยกขนาดเล็ก มีเสา ๔ มุม ดาดเพดานด้วยกระดาษ มีตุ๊กตาดินปั้นทาฝุ่นเขียนสีสมมุติเป็นตัวละคร ๓-๕ ตัวเสียบไว้บนแท่นนั้น.
  58. ละครย่อย
    หมายถึง น. ละครชวนหัวเรื่องสั้น ๆ.
  59. ละครรำ
    หมายถึง น. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดงบทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่ขับร้อง ใช้ดนตรีปี่พาทย์ประกอบ แบ่งออกเป็น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน.
  60. ละครร้อง
    หมายถึง น. ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง มีบทเจรจาตามเนื้อเพลงที่ตัวละครร้องจบไป มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครร้องเรื่องพระร่วง เรื่องสาวเครือฟ้า.
  61. ละครลิง
    หมายถึง น. ละครที่ใช้ลิงแสดง โดยทำท่าทางไปตามคำร้องของผู้บอกบท มักเล่นเรื่องพระรถเมรีและจันทโครบ.
  62. ละครวิทยุ
    หมายถึง น. ละครพูดที่แสดงทางวิทยุ มักมีเพลงประกอบ.
  63. ละครสังคีต
    หมายถึง น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องและพูดบทของตน การร้องเพลงและการพูดมีความสำคัญเท่ากัน ตัดส่วนใดออกเนื้อเรื่องจะขาดไป ดนตรีประกอบไพเราะ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครสังคีตเรื่องวิวาหพระสมุท เรื่องมิกาโด, บางทีเรียกว่า ละครพูดสลับลำ.
  64. ละครสัตว์
    หมายถึง น. การแสดงของสัตว์ต่าง ๆ ที่ฝึกไว้ดีแล้ว โดยมีการแสดงของคณะกายกรรมประกอบด้วย.
  65. ละครเพลง
    หมายถึง น. ละครที่ผู้แสดงร้องเพลงดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง ใช้เพลงและดนตรีสากลประกอบ ไม่มีลูกคู่ จัดฉากและแต่งกายแบบสมัยนิยมตามเนื้อเรื่อง เช่น ละครเพลงเรื่องราชินีบอด เรื่องเปลวสุริยา.
  66. ละครเร่
    หมายถึง น. ละครที่ออกไปแสดงตามที่ต่าง ๆ ไม่ได้แสดงประจำถิ่น.
  67. ละครเล็ก
    หมายถึง น. ละครที่ใช้หุ่นใหญ่เชิดเป็นตัวละคร เช่น ละครเล็กเรื่องพระอภัยมณี ละครเล็กเรื่องขุนช้างขุนแผน.
  68. ละครแก้บน
    หมายถึง น. ละครชาตรีตอนสั้น ๆ ที่จัดแสดงแก้บน.
  69. ละครโทรทัศน์
    หมายถึง น. ละครพูดที่แสดงทางโทรทัศน์ มีการตกแต่งฉากให้เหมือนจริง.
  70. ละครใน
    หมายถึง น. ละครรำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเป็นหญิงล้วน เครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท.
  71. ละคิ
    หมายถึง ว. ยัง, ยังมีอยู่.
  72. ละคึก
    หมายถึง (โบ) ก. รีบ, เร่ง.
  73. ละงาด
    หมายถึง น. เย็น, เวลาเย็น, ใช้ว่า ลางาด ล้างาด หรือ ลำงาด ก็มี. (ข. ลงาจ).
  74. ละงิด
    หมายถึง น. ฟ้า, ชั้นเทวดา. (ช.).
  75. ละติจูด
    หมายถึง น. เส้นรอยตัดระหว่างผิวโลกกับพื้นราบที่ตั้งได้ฉากกับแกนขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ รอยตัดนี้จะเป็นวงกลมที่ขนานกับเส้นศูนย์สูตร ค่าของละติจูดนับออกจากเส้นศูนย์สูตรไปทางขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้ โดยวัดไปตามเส้นเมริเดียน เป็นมุมที่ศูนย์กลางของโลก, เดิมใช้ว่า เส้นรุ้ง. (อ. latitude).
  76. ละทิ้ง
    หมายถึง ก. ละด้วยวิธีทิ้ง เช่น ละทิ้งหน้าที่.
  77. ละบม
    หมายถึง ก. รู้สึกขัดเมื่อยฟกชํ้าอยู่ข้างใน; รม, ทา. (โดยมากใช้ ระบม).
  78. ละบอง
    หมายถึง น. เม็ดตุ่ม ๆ เกิดตามผิวเนื้อด้วยพิษร้อนหรือพิษอักเสบ.
  79. ละบองราหู
    หมายถึง น. ชื่อโรค ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคซางชนิดหนึ่งที่ขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน, กระบองราหู ก็เรียก.
  80. ละบองไฟ
    หมายถึง น. เม็ดตุ่มเกิดแก่หญิงกำลังอยู่ไฟ, ผดไฟ.
  81. ละบัด
    หมายถึง ก. ลัด, ผลิ, แตกใบอ่อน, แตกขนอ่อน. ว. พึ่งลัด, พึ่งผลิ, อ่อน. (โดยมากใช้ ระบัด).
  82. ละบือ
    หมายถึง ก. ลือ, เลื่องลือ. (โดยมากใช้ ระบือ).
  83. ละมั่ง
    หมายถึง ดู ละองละมั่ง.
  84. ละมา
    หมายถึง น. กาล, คราว, เวลา.
  85. ละมาน
    หมายถึง น. ข้าวละมาน. (ดู ข้าวป่า).
  86. ละมุ
    หมายถึง น. โป๊ะเล็ก ๆ ที่ทำไว้สำหรับจับปลาตามชายทะเล.
  87. ละมุ
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. กลุ่มต้นไม้เล็ก ๆ ตามชายห้วย หนอง บึง.
  88. ละมุด
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Manilkara วงศ์ Sapotaceae ผลสุกรสหวาน กินได้ คือ ละมุดฝรั่ง [M. zapota (L.) P. Royen] ผลสุกสีนํ้าตาล, ละมุดสีดา หรือ ละมุดไทย [M. kauki (L.) Dubard] ผลสุกสีแดงคลํ้า. (๒) เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว ว่า ขนุนละมุด. (ดู ขนุน ๑).
  89. ละมุน
    หมายถึง ว. อ่อนนุ่ม, นุ่มนวล, เช่น ผ้ากำมะหยี่เนื้อนิ่มละมุนมือ.
  90. ละมุนละม่อม
    หมายถึง ว. อ่อนโยน, นิ่มนวล, เช่น เขามีกิริยาท่าทางละมุนละม่อม.
  91. ละมุนละไม
    หมายถึง ว. อ่อนนุ่มพอดี ๆ ไม่สวยและไม่แฉะ เช่น หุงข้าวได้ละมุนละไม ข้าวเหนียวมูนได้ละมุนละไม; เรียบร้อย, นุ่มนวล, เช่น เด็กคนนี้มีกิริยามารยาทละมุนละไม.
  92. ละม่อม
    หมายถึง ว. สุภาพ, อ่อนโยน, (ใช้แก่กิริยาอาการที่เรียบร้อย งดงาม ไม่ขัดเขิน ไม่กระด้าง), มักใช้เข้าคู่กับคำ ละมุน เป็น ละมุนละม่อม หมายความว่า อ่อนโยน นิ่มนวล; โดยไม่มีการขัดขืน (ใช้แก่การจับกุม) เช่น ตำรวจจับผู้ร้ายได้โดยละม่อม.
  93. ละม้าย
    หมายถึง ว. คล้าย, เกือบจะเหมือน, เช่น หน้าตาละม้ายไปทางแม่.
  94. ละรี
    หมายถึง ก. แล่นไป. (ช.).
  95. ละลด
    หมายถึง ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เถียงอย่างไม่ละลด, ลดละ ก็ว่า.
  96. ละลนละลาน
    หมายถึง ว. ลนลาน เช่น ถูกดุเสียจนละลนละลาน.
  97. ละลมละลาย
    หมายถึง ก. สูญหายไปหมด เช่น ข้าวของละลมละลายไป.
  98. ละลวย
    หมายถึง ก. งงงวย, ทำให้หลง, เช่น คาถามหาละลวย. ว. มีมาก, ได้มาก; อ่อน, นุ่ม.
  99. ละลอก
    หมายถึง น. ระลอก; โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นเม็ดมีหนอง.
  100. ละลอบละเล้า
    หมายถึง ว. รู้หลบหลีก.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ล (หน้าที่ 3)"