พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ร (หน้าที่ 7)

  1. รับรู้
    หมายถึง ก. ยืนยันว่ารู้, รับว่ารู้; รับผิดชอบ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ลูกไปทำผิด พ่อแม่จะไม่รับรู้ได้อย่างไร.
  2. รับศีล
    หมายถึง ก. ถือศีล, สมาทานศีล.
  3. รับสนองพระบรมราชโองการ
    หมายถึง ก. ลงนามที่จะปฏิบัติตามพระบรมราชโองการเพื่อให้เป็นพระบรมราชโองการที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ.
  4. รับสมอ้าง
    หมายถึง ก. รับแทนผู้อื่น เช่น เขารับสมอ้างว่าเป็นเจ้าของบ่อน.
  5. รับสมัคร
    หมายถึง ก. รับผู้ที่มาสมัครเข้าเรียน เข้าสอบ หรือเข้าทำงาน เป็นต้น.
  6. รับสัมผัส
    หมายถึง ก. เรียกคำใดคำหนึ่งของวรรคหลังแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจองกับคำส่งสัมผัสในวรรคหน้าว่า คำรับสัมผัส.
  7. รับสั่ง
    หมายถึง (ราชา) น. คำสั่ง (ใช้แก่เจ้านาย) เช่น มีรับสั่งให้เข้าเฝ้า. ก. พูด, บอก, (ใช้แก่เจ้านาย) เช่น ท่านรับสั่งให้หา.
  8. รับหน้า
    หมายถึง ก. เผชิญหน้า, รอหน้า, เช่น ส่งเด็กไปรับหน้าเจ้าหนี้ไว้ก่อน.
  9. รับหน้าเสื่อ
    หมายถึง ก. ทำหน้าที่เป็นหัวเบี้ย เช่นในการเล่นถั่วโปซึ่งสมัยก่อนมักปูเสื่อลำแพนเล่นกัน.
  10. รับหมั้น
    หมายถึง ก. รับสิ่งของที่ฝ่ายชายนำมามอบให้ฝ่ายหญิงเพื่อแสดงความมั่นหมายว่าจะแต่งงานด้วย.
  11. รับเคราะห์
    หมายถึง ก. รับเอาเคราะห์ร้ายของผู้อื่นมาเป็นของตนจะโดยเต็มใจหรือไม่ก็ตาม เช่น ลูกน้องรับเคราะห์แทนเจ้านาย.
  12. รับเซ้ง
    หมายถึง (ปาก) ก. รับโอนสิทธิหรือกิจการจากอีกคนหนึ่งโดยต้องเสียค่าตอบแทน.
  13. รับเวร
    หมายถึง ก. เข้ารอบผลัดกันรับหน้าที่ตามเวลาที่กะกันไว้.
  14. รับเสด็จพระราชดำเนิน
    หมายถึง (ราชา) ก. รับการเสด็จพระราชดำเนิน, ในการเขียนใช้ รับเสด็จพระราชดำเนิน หรือ รับเสด็จฯ ก็ได้.
  15. รับเหมา
    หมายถึง ก. รับจ้างทำกิจการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนสำเร็จตามข้อตกลง เช่น รับเหมาก่อสร้าง รับเหมาทาสี, โดยปริยายหมายความว่า รับทำงานหลายรายการหรือรายการเดียวแต่มีจำนวนมากเพียงผู้เดียว เช่น เขารับเหมางานพิสูจน์อักษรทั้งหมด.
  16. รับแขก
    หมายถึง ก. ต้อนรับผู้มาหา, โดยปริยายเรียกบุคคลที่มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ ว่า หน้าตารับแขก.
  17. รับโทรศัพท์
    หมายถึง ก. รับการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์.
  18. รับใช้
    หมายถึง ก. รับว่าจะใช้เงินให้; คอยปรนนิบัติพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นต้นด้วยความเต็มใจ เช่น ลูกรับใช้พ่อแม่ ศิษย์รับใช้ครู, ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายหรือผู้มีอำนาจเหนือสั่งหรือใช้ เช่น พลทหารอยู่รับใช้ผู้บังคับบัญชา.
  19. รับใช้ชาติ,รับใช้ประเทศชาติ
    หมายถึง ก. ทำหน้าที่สนองคุณบ้านเมืองในฐานะเป็นพลเมืองของประเทศ.
  20. รับไหว้
    หมายถึง ก. ไหว้ตอบ, รับความเคารพคู่บ่าวสาวด้วยการให้ของตอบแทนหรือให้ศีลให้พร.
  21. รัมก,รัมก-
    หมายถึง [รำมะกะ-] น. เดือน ๕. (ป. รมฺมก; ส. รมฺยก).
  22. รัมณีย,รัมณีย-
    หมายถึง [รำมะนียะ-] ว. รมณีย์. (ป. รมณีย).
  23. รัมภา
    หมายถึง น. นางฟ้า; กล้วย. (ป., ส.).
  24. รัมมี่
    หมายถึง น. การเล่นไพ่อย่างหนึ่ง ใช้ไพ่ป๊อก ผู้เล่นต้องพยายามผสมไพ่ในมือเป็นชุด ๆ ชุดละ ๓ ใบขึ้นไป แต่ละชุดจะจัดเรียงแบบตองหรือตามหมายเลขก็ได้ ผู้จัดชุดได้หมดทั้งมือก่อนเป็นผู้ชนะในรอบนั้น. (อ. rummy).
  25. รัมย์
    หมายถึง ว. รมย์. (ส.; ป. รมฺม).
  26. รัย
    หมายถึง ว. รยะ, เร็ว, ไว. (ป., ส. รย).
  27. รัว
    หมายถึง น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์เพลงหนึ่ง ใช้ในโอกาสเช่นร่ายเวทมนตร์คาถา แปลงกาย หรือเนรมิตตัว.
  28. รัว,รัว,รัว ๆ
    หมายถึง ก. ตีหรือยิงเป็นต้นเร็ว ๆ ทำให้เกิดเสียงดังถี่ ๆ เช่น รัวระฆัง รัวกลอง รัวปืนกล; อาการที่พูดเร็วจนลิ้นพันกัน ฟังไม่ได้ชัด เรียกว่า พูดลิ้นรัว. ว. ไหวถี่ ๆ เช่น ตัวสั่นรัว ๆ; ไม่ชัด, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความรัว ภาพรัว ๆ เห็นรัว ๆ.
  29. รัศมิมัต
    หมายถึง ว. มีรัศมี, ใช้ รัศมิมาน ก็ได้. (ส.; ป. รํสิมนฺตุ, รํสิมา).
  30. รัศมิมาน
    หมายถึง ว. มีรัศมี. (ส.).
  31. รัศมี
    หมายถึง น. แสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลาง, แสงสว่าง; เส้นที่ลากจากจุดศูนย์กลางของวงกลมไปถึงเส้นรอบวง. (ส.; ป. รํสิ).
  32. รัษฎากร
    หมายถึง [รัดสะ-] น. รายได้ของแผ่นดิน; (กฎ) ภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร. (เพี้ยนมาจาก ส. ราษฺฏฺร + อากร หมายความว่า อากรของประเทศ).
  33. รัส,รัส-,รัสสะ
    หมายถึง [รัดสะ-] ว. สั้น. (ป.).
  34. รัสสระ
    หมายถึง [รัดสะสะหฺระ] น. สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ใอ ไอ เอา. (ป.).
  35. รัสเซีย
    หมายถึง น. ชื่อประเทศที่ส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันออกและอีกส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปเอเชียภาคเหนือและภาคกลาง, เรียกเต็มว่า สหพันธรัฐรัสเซีย.
  36. รั่ว
    หมายถึง ว. อาการที่ไล่ไม้ตีระไปบนลูกระนาดโดยไม่ลงคู่ ทำให้เสียงเพี้ยนหรือไม่ชัดเจน เช่น เขาตีระนาดรั่ว ฟังไม่เป็นเพลง.
  37. รั่ว
    หมายถึง ก. อาการที่อากาศหรือของเหลวเป็นต้นไหลเข้าหรือออกทางรอยแตกหรือรูที่เกิดจากความชำรุด เช่น นํ้ารั่ว ฝนรั่ว. ว. มีรอยแตกหรือมีรูซึ่งเกิดจากความชำรุดที่อากาศหรือของเหลวเป็นต้นเข้าออกได้ เช่น เรือรั่ว ท่อประปารั่ว หลังคารั่ว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ข่าวรั่ว ข้อสอบรั่ว.
  38. รั่วไหล
    หมายถึง ก. แพร่งพรายออกไป เช่น ความลับรั่วไหล; ถูกเบียดบังเอาไป เช่น การเงินของบริษัทรั่วไหล.
  39. รั้ง
    หมายถึง ก. หน่วงเหนี่ยวไว้ เช่น รั้งตัวไว้ก่อน, เหนี่ยว เช่น แขนเสื้อรั้ง, ชักมา, ใช้กำลังเต็มที่เพื่อให้สิ่งที่มีแรงต้านทานเคลื่อนเข้ามาหรือหยุดอยู่ เช่น รั้งวัวรั้งควาย; ระวัง, เฝ้า, รักษา, ครอง เช่น รั้งเมือง.
  40. รั้งรอ
    หมายถึง ก. รอคอย, หยุดคอย, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น โดยไม่รั้งรอ.
  41. รั้น
    หมายถึง ก. ร่นเข้าไป, ท้นเข้าไป, เช่น จมูกรั้น. ว. ดื้อดันทุรัง เช่น เด็กคนนี้รั้นจริง.
  42. รั้ว
    หมายถึง น. เครื่องล้อมกันเป็นเขตของบ้านเป็นต้น มักทำด้วยเรียวไผ่ ต้นไม้ขนาดเล็ก หรือสังกะสี เช่น รั้วมะขามเทศ รั้วสังกะสี, โดยปริยายเรียกทหารซึ่งทำหน้าที่เป็นกำลังป้องกันชาติว่า รั้วของชาติ.
  43. รั้วไก่
    หมายถึง น. แผงราชวัติที่เป็นตาสี่เหลี่ยมสำหรับกันโรงพิธี, รั้วก่าย ก็ว่า.
  44. รา
    หมายถึง น. ไม้ที่กระหนาบอยู่ใต้ท้องพรึงรับพื้นเรือนเพื่อไม่ให้พื้นอ่อน อยู่ระหว่างรอด; ไม้จีมเสาที่ปากหลุมซึ่งยังไม่ได้กลบดินเพื่อกันไม่ให้โอนเอน เรียกว่า ราคอเสา.
  45. รา
    หมายถึง ก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น รากันไป; น้อยลง, อ่อนลง, เช่น ไฟราดับไปเอง. (กลอน) ว. คำชวนอีกฝ่ายหนึ่งให้กระทำตาม เช่น ไปเถิดรา.
  46. รา
    หมายถึง (กลอน) ส. เราทั้งคู่, เขาทั้งคู่, ในคำว่า สองรา, ต่อมาใช้หมายถึงเกิน ๒ ก็ได้ เช่น เร่งหาประกันมาทันใด ผู้คุมเหวยรับไว้ทั้งสามรา. (ขุนช้างขุนแผน).
  47. รา
    หมายถึง น. ชื่อเรียกพืชชั้นตํ่าที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ และลำต้น ใบ ราก ที่แท้จริง ส่วนมากเจริญเป็นเส้นใย แบ่งเป็น ๒ พวก คือ ราเมือก และ ราแท้ สืบพันธุ์โดยสปอร์ อาศัยอยู่บนซากของพืชหรือสัตว์ ขึ้นเบียนหรืออยู่ร่วมกับพืชอื่นก็มี.
  48. ราก
    หมายถึง ก. อาเจียน, อ้วก, สำรอกออกทางปาก. น. อาการที่สำรอกออกมาทางปาก.
  49. ราก
    หมายถึง น. ส่วนของต้นไม้ ตามปรกติอยู่ในดิน มีหน้าที่ดูดอาหารเลี้ยงลำต้น, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รากผม รากฟัน; เรียกฐานที่อยู่ใต้ดินทำหน้าที่รองรับอาคารว่า รากตึก หรือ ฐานราก; ต้นเดิม, เค้าเดิม, เช่น รากศัพท์.
  50. รากกล้วย
    หมายถึง น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Gyrinocheilus aymoneri และชนิด G. pennocki ในวงศ์ Gyrinocheilidae มีหัวยาว ลำตัวยาวเพรียว ที่สำคัญคือมีปากซึ่งใช้ดูดเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำได้ดี ไม่มีหนวด พื้นลำตัวสีน้ำตาลคล้ำ ข้างตัวมีจุดดำเรียงสลับกันตามยาวอยู่ ๒ แถว พบทั่วไปตามลำธาร บนภูเขา และที่ลุ่ม กินสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, ผึ้ง น้ำผึ้ง ลูกผึ้ง หรือ สร้อยน้ำผึ้ง ก็เรียก.
  51. รากขวัญ
    หมายถึง (ราชา) น. ไหปลาร้า เรียกว่า พระรากขวัญ.
  52. รากค้ำ
    หมายถึง น. รากของพืชบางชนิด เช่น โกงกาง ข้าวโพด เตย ที่งอกออกมาเพื่อค้ำพยุงลำต้น.
  53. รากฐาน
    หมายถึง น. หลักสำคัญอันเป็นพื้นฐานรองรับ, ส่วนที่เป็นพื้นรองรับสำหรับพัฒนาต่อไป, เช่น วางรากฐานการศึกษา วิชาคณิตศาสตร์เป็นรากฐานของวิชาวิทยาศาสตร์; พื้นเพ เช่น มีรากฐานมาจากไหน.
  54. รากดิน
    หมายถึง น. ไส้เดือน.
  55. รากฝอย
    หมายถึง น. รากที่เป็นเส้นเล็ก ๆ แตกออกจากรากแก้ว.
  56. รากฟัน
    หมายถึง น. ส่วนของฟันที่ฝังอยู่ในกระดูกที่เป็นเบ้าของฟัน.
  57. รากศัพท์
    หมายถึง น. รากเดิมของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เรียกว่า ธาตุ เช่น กรรมการ มีรากศัพท์มาจาก กรฺ ธาตุ.
  58. รากษส
    หมายถึง [รากสด] น. ยักษ์ร้าย, ผีเสื้อนํ้า, ชื่อพวกอสูรชั้นต่ำ มีนิสัยดุร้าย ในคัมภีร์โลกทีปกสารว่า เป็นบริวารของพญายม, ในคัมภีร์โลกบัญญัติว่า เป็นบริวารของพระวรุณ, ใช้ รากโษส ก็มี. (ส.; ป. รกฺขส).
  59. รากสาด
    หมายถึง น. กลุ่มโรคที่มีอาการไข้สูงนานเป็นสัปดาห์ มีผื่นขึ้น แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ ไข้รากสาดน้อย และไข้รากสาดใหญ่.
  60. รากสาดน้อย
    หมายถึง น. โรคติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ซึม และทำให้ลำไส้อักเสบและเป็นแผล ถ้าร้ายแรง ลำไส้จะทะลุและมีเลือดออกมากับอุจจาระ, เรียกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังกล่าวนี้ว่า ไข้รากสาดน้อย, เรียกโรคที่คล้ายกัน แต่อาการรุนแรงน้อยกว่า เกิดจากเชื้อ Salmonella paratyphi ว่า ไข้รากสาดเทียม.
  61. รากสาดใหญ่
    หมายถึง น. โรคติดเชื้อ Rickettsia มีอาการคล้ายไข้รากสาดน้อย แต่มักจะรุนแรงกว่า มีหลายชนิด ชนิดที่เป็นโรคระบาดเกิดจากเชื้อ Rickettsia prowaseki, เรียกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังกล่าวนี้ว่า ไข้รากสาดใหญ่.
  62. รากสามสิบ
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาชนิด Asparagus racemosus Willd. ในวงศ์ Asparagaceae เถามีหนาม ใบลดรูปเป็นเกล็ด กิ่งเรียวรูปเข็ม รากอวบใช้ทำยาและแช่อิ่มได้, พายัพเรียก จ๋วงเครือ หรือ จั่นดิน.
  63. รากอากาศ
    หมายถึง น. รากที่แตกออกจากต้นหรือกิ่งของพืชบางชนิด เช่น กล้วยไม้ ไทร.
  64. รากเลือด
    หมายถึง ก. อาเจียนเป็นเลือด.
  65. รากเหง้า
    หมายถึง น. ต้นเหตุ เช่น โลภ โกรธ หลง เป็นรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง; เหง้า, ลำต้นที่อยู่ในดินของพืชบางชนิด เช่น กล้วย บอน ขิง ข่า.
  66. รากแก้ว
    หมายถึง น. รากเดิม, รากที่เป็นหลักหยั่งลึกลงไปในดินของต้นไม้บางชนิด.
  67. รากแขวน
    หมายถึง น. รากที่แตกออกจากโคนต้นมะพร้าวหรือตาลเป็นต้น เฉพาะรากที่ปลายยังไม่ถึงดิน.
  68. รากโษส
    หมายถึง น. รากษส.
  69. ราข้อ
    หมายถึง ก. เลิกกันไปเอง เช่น ชกกันเหนื่อยก็ราข้อไปเอง.
  70. ราค,ราค-,ราคะ
    หมายถึง น. ความกำหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ในกามคุณ. (ป., ส.).
  71. ราคจริต
    หมายถึง น. แนวโน้มไปในทางกำหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ในกามคุณ, ความมีใจเอนเอียงไปในทางรักสวยรักงาม.
  72. ราคา
    หมายถึง น. มูลค่าของสิ่งของที่คิดเป็นเงินตรา; จำนวนเงินซึ่งได้มีการชำระหรือตกลงจะชำระในการซื้อขายทรัพย์สิน, โดยปริยายหมายความว่า ค่า, คุณค่า, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น เขาทำตัวเป็นคนไม่มีราคา.
  73. ราคาตลาด
    หมายถึง (กฎ) น. ราคาที่ซื้อขายกันทั่วไปในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งและในขณะใดขณะหนึ่ง, ราคาท้องตลาด ก็เรียก.
  74. ราคิน
    หมายถึง น. ราคี. (ส.).
  75. ราคี
    หมายถึง น. ผู้มีความกำหนัด. (ป., ส.).
  76. ราคี
    หมายถึง น. ความมัวหมอง, มลทิน, เช่น หญิงคนนี้มีราคี. (ส. ราคินฺ).
  77. ราง
    หมายถึง น. ร่องที่ขุดเป็นทางสำหรับให้น้ำไหล; สิ่งสำหรับรองน้ำฝนที่ชายคาเป็นต้น มักทำด้วยสังกะสียาวเป็นแนวไปตามชายคา; ไม้ที่ขุดหรือต่อให้เป็นร่องยาว ๆ หรือปล้องไม้ไผ่ผ่าซีก มีด้านสกัดหัวท้าย สำหรับใส่อาหารหมูหรือย้อมผ้าเป็นต้น; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รางระนาด; เหล็กที่ใช้เป็นทางเดินของล้อเลื่อน เช่น รางรถไฟ; ไม้เจาะเป็นร่องยาวสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันได้ ๘๐ เหรียญ หรือ ๑ ชั่ง, ปัจจุบันเป็นแผ่นไม้เจาะเป็นร่องสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันเป็นแถว ๆ แผ่นหนึ่งมี ๑๐ แถว แถวหนึ่งใส่เหรียญบาทได้ ๑๐ เหรียญ รวมเป็น ๑๐๐ บาท; ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นราง เช่น ลูกคิดรางหนึ่ง ระนาด ๒ ราง รางรถไฟ ๓ ราง.
  78. ราง
    หมายถึง ก. คั่วข้าวเม่าให้กรอบ, เรียกข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบว่า ข้าวเม่าราง.
  79. ราง,ราง,ราง ๆ
    หมายถึง ว. ไม่กระจ่าง, ไม่ชัดเจน, เช่น เห็นราง ๆ ภาพราง ๆ.
  80. รางจืด
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Thunbergia laurifolia Lindl. ในวงศ์ Acanthaceae ดอกสีม่วงอ่อน ออกเป็นช่อห้อย ใช้ทำยาได้, ยาเขียว ก็เรียก. (๒) ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ไม้พุ่มชนิด Crotalaria bracteata Roxb., ไม้ล้มลุกชนิด C. shanica Lace และไม้เถาชนิด Millettia kityana Craib.
  81. รางชาง
    หมายถึง ว. งาม, สวย, เด่น.
  82. รางดำ
    หมายถึง น. ต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำยาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
  83. รางนาน
    หมายถึง น. นกรังนาน.
  84. รางบดยา
    หมายถึง น. เครื่องบดยาไทยและยาจีนให้เป็นผง ทำด้วยโลหะรูปร่างคล้ายรางระนาด แต่ก้นสอบ มีลูกบด.
  85. รางบรรทัด
    หมายถึง น. เครื่องตีเส้นบรรทัดบนใบลาน.
  86. รางปืน
    หมายถึง น. ไม้เนื้อแข็งที่ทำเป็นร่องสำหรับรองรับลำกล้องปืนประเภทประทับบ่า เช่น ปืนนกสับ ปืนคาบศิลา หรือตัวปืนใหญ่ในสมัยโบราณเป็นต้น.
  87. รางวัล
    หมายถึง น. สิ่งของหรือเงินที่ได้มาเพราะความดีความชอบหรือความสามารถ เช่น รางวัลผู้มีมารยาทงาม รางวัลสังข์เงิน รางวัลตุ๊กตาทอง หรือเพราะชนะในการแข่งขัน เช่น รางวัลชนะเลิศในการแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก รางวัลชนะเลิศฟุตบอล หรือเพราะโชค เช่น ถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑; (กฎ) เงินตราที่จ่ายให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทำความผิด; ค่าตอบแทนที่ให้แก่ผู้ซึ่งกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งสำเร็จตามที่บ่งไว้. ก. ให้สิ่งของโดยความชอบหรือเพื่อเป็นสินนํ้าใจเป็นต้น.
  88. รางแดง
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Ventilago denticulata Willd. ในวงศ์ Rhamnaceae ใช้ทำยาได้, เถาวัลย์เหล็ก ก็เรียก.
  89. ราช
    หมายถึง น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นสามัญตํ่ากว่าชั้นเทพ เรียกว่าชั้นราช เช่น พระราชสุธี พระราชโมลี.
  90. ราช,ราช,ราช-
    หมายถึง [ราด, ราดชะ-] น. พระเจ้าแผ่นดิน, พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือ พญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์, คำนี้มักใช้ประกอบกับคำอื่น, ถ้าคำเดียวมักใช้ว่า ราชา. (ป., ส.).
  91. ราชกรณียกิจ
    หมายถึง น. หน้าที่ที่พระราชาพึงกระทำ ใช้ว่า พระราชกรณียกิจ.
  92. ราชการ
    หมายถึง น. การงานของรัฐบาลหรือของพระเจ้าแผ่นดิน.
  93. ราชกิจ
    หมายถึง น. ธุระของพระราชา ใช้ว่า พระราชกิจ.
  94. ราชกิจจานุเบกษา
    หมายถึง น. หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท.
  95. ราชครู
    หมายถึง น. พราหมณ์ผู้รับราชการเป็นหัวหน้าพิธีฝ่ายพราหมณ์ เรียกว่า พระราชครู เช่น พระราชครูวามเทพมุนี. (ส. ราชคุรุ).
  96. ราชญี
    หมายถึง [ราดยี] (แบบ) น. ราชินี. (ส.).
  97. ราชฐาน
    หมายถึง น. ที่อยู่ประจำของพระเจ้าแผ่นดิน ใช้ว่า พระราชฐาน เช่น เขตพระราชฐาน แปรพระราชฐาน.
  98. ราชดัด
    หมายถึง [ราดชะ-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Brucea amarissima (Lour.) Gomes ในวงศ์ Simaroubaceae เมล็ดใช้ทำยาได้, กาจับหลัก หรือ พญาดาบหัก ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก กะดัด.
  99. ราชทัณฑ์
    หมายถึง น. อาญาพระเจ้าแผ่นดิน, โทษหลวง, เช่น ต้องราชทัณฑ์, เรียกกรมที่มีหน้าที่ลงโทษจำคุกผู้กระทำผิดตามตัวบทกฎหมายควบคุมอบรมฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้กระทำผิด พักการลงโทษและคุมประพฤติ และขอพระราชทานอภัยโทษ ปลดปล่อยและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ เป็นต้น ว่า กรมราชทัณฑ์. (ป., ส.).
  100. ราชทินนาม
    หมายถึง [ราดชะทินนะนาม] น. ชื่อบรรดาศักดิ์หรือสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทาน.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ร (หน้าที่ 7)"