พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ร (หน้าที่ 6)

  1. รัช,รัช,รัช-
    หมายถึง [รัดชะ-] น. ความเป็นพระราชา, ราชสมบัติ. (ป. รชฺช).
  2. รัชกะ
    หมายถึง น. รชกะ, คนย้อมผ้า, คนซักผ้า. (ป., ส.).
  3. รัชกาล
    หมายถึง น. เวลาที่ครองราชสมบัติของพระมหากษัตริย์องค์หนึ่ง ๆ, โดยอนุโลมใช้หมายถึงองค์พระมหากษัตริย์ในรัชกาลนั้น ๆ เช่น รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสต้น.
  4. รัชชุ
    หมายถึง [รัด-] น. สาย, เชือก. (ป., ส.).
  5. รัชชูปการ
    หมายถึง น. เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล.
  6. รัชฎาภิเษก
    หมายถึง [รัดชะ-] (โบ) น. รัชดาภิเษก.
  7. รัชด,รัชด-,รัชต,รัชต-
    หมายถึง [รัดชะ-] น. รชตะ, เงิน. (ส., ป. รชต).
  8. รัชดาภิเษก
    หมายถึง น. พระราชพิธีสมโภชเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครองราชสมบัติได้ ๒๕ พรรษา.
  9. รัชทายาท
    หมายถึง น. ผู้จะสืบราชสมบัติ.
  10. รัชนะ
    หมายถึง [รัดชะ-] น. การย้อม. (ป., ส. รชน).
  11. รัชนี
    หมายถึง [รัดชะ-] น. กลางคืน, เวลามืด. (ป., ส. รชนี).
  12. รัชนีกร
    หมายถึง น. พระจันทร์. (ป., ส.).
  13. รัชมังคลาภิเษก
    หมายถึง น. พระราชพิธีสมโภชเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครองราชสมบัติได้นานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ.
  14. รัญจวน
    หมายถึง ก. ปั่นป่วนใจ เช่น กลิ่นหอมรัญจวนใจ, สะเทือนใจด้วยความกระสันถึง. (เทียบ ข. รํชวล).
  15. รัฏฐาภิปาลโนบาย
    หมายถึง น. วิธีการปกครองบ้านเมือง.
  16. รัฐ,รัฐ-
    หมายถึง [รัด, รัดถะ-] น. แคว้น เช่น รัฐปาหัง, บ้านเมือง เช่น กฎหมายสูงสุดของรัฐ, ประเทศ เช่น รัฐวาติกัน. (ป. รฏฺ; ส. ราษฺฏฺร).
  17. รัฐทูต
    หมายถึง [รัดถะทูด] น. ทูตที่ประมุขของรัฐหนึ่งแต่งตั้งไปประจำสำนักประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อไปปฏิบัติภารกิจทางการทูต มีฐานะตํ่ากว่าเอกอัครราชทูตแต่สูงกว่าอุปทูต. (อ. envoy).
  18. รัฐธรรมนูญ
    หมายถึง [รัดถะทำมะนูน, รัดทำมะนูน] น. บทกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ โดยกำหนดรูปแบบของรัฐว่าเป็นรัฐเดียวหรือรัฐรวม ระบอบการปกครองของรัฐ รวมทั้งสถาบันและองค์กร การใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐). (อ. constitution).
  19. รัฐบาล
    หมายถึง [รัดถะบาน] น. องค์กรปกครองประเทศ, คณะบุคคลที่ใช้อำนาจบริหารในการปกครองประเทศ.
  20. รัฐบุรุษ
    หมายถึง [รัดถะบุหฺรุด] น. ผู้ที่ได้รับยกย่องอย่างสูงว่ามีความรู้ความสามารถในการบริหารบ้านเมือง.
  21. รัฐประศาสนนัย,รัฐประศาสโนบาย
    หมายถึง [รัดถะปฺระสาสะนะไน, รัดถะปฺระสาสะโนบาย] น. วิธีการปกครองบ้านเมือง.
  22. รัฐประศาสนศาสตร์
    หมายถึง [รัดถะปฺระสาสะนะสาด] น. วิชาว่าด้วยการบริหารและการปกครองประเทศเพื่อให้สัมฤทธิผลตามนโยบายของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด.
  23. รัฐประศาสน์
    หมายถึง [รัดถะปฺระสาด] น. การปกครองบ้านเมือง.
  24. รัฐประหาร
    หมายถึง [รัดถะปฺระหาน, รัดปฺระหาน] น. การใช้กำลังเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลโดยฉับพลัน, (กฎ) การใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาล.
  25. รัฐพิธี
    หมายถึง น. งานที่จัดขึ้นโดยรัฐเป็นธรรมเนียม เช่น รัฐพิธีพืชมงคล.
  26. รัฐมนตรี
    หมายถึง [รัดถะมนตฺรี] น. ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีหรือคณะรัฐบาล รับผิดชอบร่วมกับคณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการ และรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วยอีกฐานะหนึ่ง; (โบ) ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์.
  27. รัฐวิสาหกิจ
    หมายถึง [รัดถะวิสาหะกิด, รัดวิสาหะกิด] น. กิจการที่รัฐเป็นผู้ลงทุนหรือถือหุ้นข้างมาก, (กฎ) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐเป็นเจ้าของ หรือกิจการของรัฐ หรือบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ ๕๐.
  28. รัฐศาสตร์
    หมายถึง [รัดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการเมืองและการปกครองประเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.
  29. รัฐสภา
    หมายถึง [รัดถะสะพา] น. องค์กรนิติบัญญัติ ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร.
  30. รัด
    หมายถึง ก. โอบรอบหรือพันให้กระชับ เช่น กอดรัด งูเหลือมรัด เอายางรัด, คับ, ตึง, เช่น แขนเสื้อรัด กระโปรงรัดสะโพก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเม็ดต้อยติ่งพอกทำให้ฝีรัด.
  31. รัดกุม
    หมายถึง ว. ไม่รุ่มร่าม, กระชับ, ไม่ยาวเยิ่นเย้อ, เช่น แต่งตัวรัดกุม สำนวนรัดกุม.
  32. รัดช้อง
    หมายถึง น. เครื่องประดับสำหรับรัดชายผมที่ปล่อยยาวลงทางท้ายทอย ใช้ประกอบกับรัดเกล้า.
  33. รัดตัว
    หมายถึง ก. ทำให้ไม่คล่องตัว, ทำให้กระดิกกระเดี้ยไปไหนแทบไม่ได้, เช่น การเงินรัดตัว งานรัดตัว.
  34. รัดทึบ
    หมายถึง น. สายผูกอานล่ามรอบอกม้า มักทำด้วยผ้า.
  35. รัดประคด
    หมายถึง น. ผ้าที่ใช้รัดอกหรือสายที่ถักด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับรัดเอวของภิกษุสามเณร, เรียกสั้น ๆ ว่า ประคด, ถ้าใช้รัดอก เรียกว่า ประคดอก, ถ้าใช้รัดเอว เรียกว่า ประคดเอว.
  36. รัดประคน
    หมายถึง น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ใช้พันอ้อมลำตัวถัดต้นขาหน้าของช้าง มี ๒ เส้นคู่กัน สำหรับผูกรั้งสัปคับ แหย่ง หรือ กูบมิให้โยกเลื่อน.
  37. รัดพัสตร์
    หมายถึง น. ผ้าคาด, เข็มขัด.
  38. รัดรึง
    หมายถึง ก. กอดแน่น, ผูกแน่น, เช่น ความรักรัดรึงใจ.
  39. รัดรูป
    หมายถึง ว. คับมากจนเห็นรูปทรงเด่นชัด เช่น เสื้อรัดรูป กางเกงรัดรูป; เรียกขวดที่ใส่ปลากัดเป็นต้นทำให้เห็นเล็กกว่าปรกติว่า ขวดรัดรูป, คู่กับ ขวดส่งรูป ซึ่งทำให้เห็นใหญ่กว่าปรกติ.
  40. รัดเกล้า
    หมายถึง น. เครื่องประดับศีรษะสตรีสูงศักดิ์ในราชสำนักแต่โบราณ และประดับศีรษะนางละครแต่งยืนเครื่องซึ่งเลียนแบบสตรีสูงศักดิ์ มี ๒ แบบ คือ รัดเกล้ายอด มีปลายยอดทรงกรวยแหลม สำหรับกษัตรี และรัดเกล้าเปลว มียอดปักช่อกระหนกเปลว สำหรับพระสนม.
  41. รัดเข็มขัด
    หมายถึง (ปาก) ก. ประหยัด เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี ประชาชนต้องรัดเข็มขัด.
  42. รัดเครื่อง
    หมายถึง ก. แต่งเครื่องละครรำตัวพระ นาง ยักษ์ และลิง โดยเย็บผ้าให้กระชับเข้ากับตัวผู้แสดง.
  43. รัต
    หมายถึง ก. ยินดี, ชอบใจ, มักใช้ประกอบท้ายสมาส เช่น วันรัต = ผู้ยินดีในป่า. (ป., ส. รต).
  44. รัต,รัต,รัต-
    หมายถึง น. ราตรี, กลางคืน, มักใช้ประกอบท้ายคำ เช่น ทีฆรัต ว่า ราตรียาว คือ เวลานาน. ว. ย้อมสี, มีสีแดง; กำหนัด, รักใคร่. (ป. รตฺต; ส. รกฺต).
  45. รัตกัมพล
    หมายถึง น. ผ้าส่านแดง. (ป. รตฺตกมฺพล; ส. รกฺตกมฺพล).
  46. รัตคน
    หมายถึง [รัดตะ-] น. รัดประคน.
  47. รัตจันทน์
    หมายถึง [รัดตะจัน] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Pterocarpus santalinus L.f. ในวงศ์ Leguminosae แก่นสีแดงเข้ม ใช้ทำยา. (ป. รตฺตจนฺทน).
  48. รัตตัญญู
    หมายถึง [รัดตันยู] น. ผู้รู้กาลนาน, ผู้มีอายุมาก จำกิจการต่าง ๆ ได้มาก. (ป.).
  49. รัตติ
    หมายถึง น. กลางคืน. (ป.; ส. ราตฺริ).
  50. รัตติกาล
    หมายถึง น. เวลากลางคืน. (ป.).
  51. รัตน,รัตน-,รัตน์,รัตนะ
    หมายถึง [รัดตะนะ-, รัด, รัดตะ-] น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษและมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ-จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ-ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ-ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ-มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ-นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ-ขุนคลังแก้ว ๗. ปริณายกรัตนะ-ขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่น รัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคำอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).
  52. รัตนชาติ
    หมายถึง น. รัตนะ, พวกรัตนะ คือ แก้วที่มีค่า เช่น เพชร ทับทิม มรกต, หินหรือแร่ที่มีค่า เมื่อเจียระไนแล้วจะต้องมีลักษณะสวยงาม คงทน หายาก ราคาแพง และนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้.
  53. รัตนตรัย
    หมายถึง น. แก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์. (ส.).
  54. รัตนบัลลังก์
    หมายถึง น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, โพธิบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า.
  55. รัตนวราภรณ์
    หมายถึง น. ชื่อตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่จะพระราชทานได้ทั่วไปทุกชั้นบุคคลตามพระราชประสงค์ ไม่เกี่ยวด้วยยศหรือบรรดาศักดิ์.
  56. รัตนสิงหาสน์
    หมายถึง น. ที่ตรงพระบัญชรหรือมุขเด็จซึ่งเสด็จออก.
  57. รัตนา
    หมายถึง [รัดตะนา] (กลอน) น. แก้ว.
  58. รัตนากร
    หมายถึง น. คลังเงินทอง; ทะเล. (ส.).
  59. รัตนาภรณ์
    หมายถึง น. เหรียญบำเหน็จส่วนพระองค์ที่สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่ผู้จงรักภักดีและทรงคุ้นเคยรู้จัก เพื่อเป็นเครื่องหมายในพระมหากรุณาธิคุณ มี ๕ ชั้น, เดิมเรียกว่า รจนาภรณ์.
  60. รัตนาวลี
    หมายถึง น. สร้อยคอที่ทำด้วยเพชรพลอย. (ส.).
  61. รัตนโกสินทรศก
    หมายถึง [รัดตะนะโกสินสก] น. ปีนับตั้งแต่วันตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๒๓๒๔ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๒๓๒๔ เท่ากับรัตนโกสินทรศก).
  62. รัตนโกสินทร์
    หมายถึง น. นามส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์, อีกนัยหนึ่งหมายความถึงกรุงเทพฯ มักอ้างในประวัติศาสตร์ เช่น สมัยรัตนโกสินทร์.
  63. รัตมณี
    หมายถึง น. ทับทิม. (ป. รตฺตมณิ).
  64. รัตมา
    หมายถึง [รัดตะ-] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Parkinsonia aculeata L. ในวงศ์ Leguminosae กิ่งห้อยย้อยมีหนามแหลม ใบเล็กมาก ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อ.
  65. รัถ
    หมายถึง น. รถ.
  66. รัถยา
    หมายถึง [รัดถะยา] น. ทางเดิน. (ส. รถฺยา; ป. รจฺฉา).
  67. รัทเทอร์ฟอร์เดียม
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๑๐๔ สัญลักษณ์ Rf เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ ในสหภาพโซเวียตเรียกชื่อธาตุนี้ว่า เคอร์ชาโทเวียม (kurchatovium) และใช้สัญลักษณ์ Ku. (อ. rutherfordium).
  68. รัน
    หมายถึง ก. ตี เช่น อย่าเอาไม้สั้นไปรันขี้, มักใช้ว่า ตีรันฟันแทง.
  69. รันชนรันแชง
    หมายถึง (กลอน) ก. กระทบกระทั่งเกิดปั่นป่วนอย่างคลื่นซัดหรือลมพัด. (ข. รฺชํรฺแชง).
  70. รันทด
    หมายถึง ก. สลดใจมาก มีจิตใจหวั่นไหวมากเพราะความโศกสลด, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น รันทดสลดใจ รันทดท้อเสียใจไห้สะอื้น.
  71. รันทวย
    หมายถึง ก. ระทวย.
  72. รันทำ
    หมายถึง ก. ยํ่ายี, เบียดเบียน.
  73. รันธะ
    หมายถึง (แบบ) น. ช่อง, ปล่อง; ความผิด, ความบกพร่อง. (ป.; ส. รนฺธฺร).
  74. รันแทะ
    หมายถึง น. ระแทะ, กระแทะ ก็เรียก.
  75. รับ
    หมายถึง ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้ เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉันไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คำตอบที่ไม่ปฏิเสธ เช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทำ; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียง เช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
  76. รับกินรับใช้
    หมายถึง ก. ทำหน้าที่รับว่าจะจ่ายเงินและกินเงินของผู้เล่นการพนันแทนเจ้ามือ.
  77. รับขวัญ
    หมายถึง ก. รับให้ขวัญกลับมาสู่ตัวด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ทำพิธีบายศรี ผูกข้อมือ ให้เงินทอง, ปลอบ.
  78. รับคำ
    หมายถึง ก. ให้สัญญา, ไม่ปฏิเสธ, ตอบตกลง, เช่น ลูกจ้างรับคำนายจ้าง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ รับปาก เป็น รับปากรับคำ.
  79. รับคืน
    หมายถึง ก. รับเอาสิ่งของที่ซื้อไปคืน โดยคืนเงินให้หรือแลกเปลี่ยนกับของอื่นในราคาตามแต่จะตกลงกัน.
  80. รับงาน
    หมายถึง ก. รับจ้างทำงานต่าง ๆ เช่น รับงานก่อสร้าง, รับจ้างแสดงการละเล่น เช่น รับงานแสดงดนตรี.
  81. รับจ้าง
    หมายถึง ก. รับทำงานเพื่อค่าจ้าง เช่น รับจ้างทำงานบ้าน. ว. ที่รับทำงานเพื่อค่าจ้าง เช่น ทหารรับจ้าง มือปืนรับจ้าง.
  82. รับช่วง
    หมายถึง ก. รับทอดต่อเนื่องกันไป เช่น รับช่วงงานที่คนเก่าทำค้างไว้ น้องรับช่วงหนังสือเรียนจากพี่.
  83. รับซื้อ
    หมายถึง ก. ตกลงซื้อ เช่น รัฐบาลรับซื้อข้าวจากชาวนา.
  84. รับซื้อของโจร
    หมายถึง ก. ซื้อสิ่งของที่ถูกโจรกรรมมา.
  85. รับทราบ
    หมายถึง ก. รับว่ารู้แล้ว.
  86. รับทุน
    หมายถึง ก. รับเงินอุดหนุน เช่น รับทุนการศึกษา.
  87. รับบาป
    หมายถึง ก. รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทำกรรมนั้น, รับความผิดหรือโทษทัณฑ์แทนผู้ที่ทำความผิด.
  88. รับประกัน
    หมายถึง ก. ยืนยัน เช่น รับประกันว่าเขาเป็นคนซื่อ, รับรอง, รับใช้ค่าเสียหาย, เช่น รับประกันคุณภาพ รับประกันซ่อมฟรี; (กฎ) รับรองว่าจะรับผิดแทนลูกหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา.
  89. รับประทาน
    หมายถึง ก. กิน เช่น รับประทานอาหาร; (ราชา) รับของจากเจ้านาย เช่น รับประทานสิ่งของจากสมเด็จพระสังฆราช รับประทานประกาศนียบัตรจากพระองค์เจ้า.
  90. รับปาก
    หมายถึง ก. รับคำ เช่น เขารับปากว่าจะมารับ แต่ก็ไม่มา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ รับคำ เป็น รับปากรับคำ.
  91. รับผิด
    หมายถึง ก. ยอมรับว่าทำผิด; (กฎ) มีหน้าที่ผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระหนี้หรือกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  92. รับผิดชอบ
    หมายถึง ก. ยอมรับผลทั้งที่ดีและไม่ดีในกิจการที่ตนได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของตน เช่น สมุห์บัญชีรับผิดชอบเรื่องเกี่ยวกับการเงิน, รับเป็นภารธุระ เช่น งานนี้เขารับผิดชอบเรื่องอาหาร เธอจะไปไหนก็ไปเถอะ ฉันรับผิดชอบทุกอย่างในบ้านเอง.
  93. รับพระเคราะห์
    หมายถึง (โหร) ก. ทำพิธีรับเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวงที่จะมาเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทางโหราศาสตร์.
  94. รับฟัง
    หมายถึง ก. รับไว้พิจารณา เช่น ผู้บังคับบัญชารับฟังความเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา.
  95. รับฟังได้
    หมายถึง ก. รับว่ามีเหตุผลน่าเชื่อถือ, รับว่ามีเหตุผลพอที่จะเชื่อถือได้, เช่น เหตุผลที่อ้างมานั้นรับฟังได้.
  96. รับฟ้อง
    หมายถึง ก. รับว่ามีหลักฐานฟ้องได้ (ใช้แก่ศาล) เช่น ศาลประทับรับฟ้อง.
  97. รับมือ
    หมายถึง ก. ต่อต้าน, กำราบ, เช่น ส่งกองทหารไปรับมือข้าศึกที่ชายแดน.
  98. รับรอง
    หมายถึง ก. รับประกัน เช่น รับรองว่าเป็นของแท้; ต้อนรับ เช่น รับรองแขกเมือง.
  99. รับรัก
    หมายถึง ก. ตอบรับความรัก, ไม่ปฏิเสธความรัก.
  100. รับราชการ
    หมายถึง ก. เข้าทำงานของรัฐบาลหรือของพระเจ้าแผ่นดิน.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ร (หน้าที่ 6)"