พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ร (หน้าที่ 2)

  1. รถไฟ
    หมายถึง น. รถที่พ่วงกันเป็นขบวนยาว ขับเคลื่อนโดยมีหัวรถจักรลากให้แล่นไปตามรางเหล็ก.
  2. รถไฟฟ้า
    หมายถึง (กฎ) น. รถที่พ่วงกันเป็นขบวนยาวโดยขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า แล่นไปตามราง.
  3. รถไฟเล็ก
    หมายถึง น. รถไฟขนาดเล็กที่จัดวิ่งให้ผู้โดยสารนั่งในระยะใกล้ ๆ เพื่อความบันเทิง เช่น ตามสวนสนุกหรือในงานเทศกาล.
  4. รท,รทนะ
    หมายถึง [รด, ระทะนะ] น. ฟัน, งา, เช่น ทวิรท = สัตว์ ๒ งา คือ ช้าง. (ป., ส.).
  5. รน
    หมายถึง ก. นิ่งอยู่ไม่ได้, เร่าร้อน, เช่น รนหาที่ตาย รนหาเรื่อง.
  6. รนด
    หมายถึง [ระนด] น. คราด. (เทียบ ข. รฺนาส่).
  7. รนหาที่
    หมายถึง (ปาก) ก. นิ่งอยู่ไม่ได้ ชอบหาเรื่องเดือดร้อนมาใส่ตน.
  8. รบ
    หมายถึง ก. สู้กัน, ต่อสู้ในทางศึก, เช่น ไปรบกับข้าศึกที่ชายแดน, สู้ เช่น รบกับหญ้าไม่ชนะ; เร้าจะเอาให้ได้ เช่น ลูกรบแม่ให้ซื้อตุ๊กตา.
  9. รบกวน
    หมายถึง ก. ทำให้รำคาญ, ทำให้เดือดร้อน.
  10. รบทัพจับศึก
    หมายถึง ก. รบราฆ่าฟันกับข้าศึกศัตรู.
  11. รบรา
    หมายถึง ก. ต่อสู้กัน เช่น รบราฆ่าฟันกันเอง.
  12. รบส
    หมายถึง [ระบด] ก. เลี้ยง, รักษา.
  13. รบาญ
    หมายถึง [ระบาน] ก. รบ, สู้.
  14. รบเร้า
    หมายถึง ก. เซ้าซี้จะเอาให้ได้.
  15. รพ,รพะ,รพา
    หมายถึง [รบ, ระพะ, ระพา] น. เสียงร้อง, เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก. (ป., ส. รว).
  16. รพิ,รพี
    หมายถึง น. พระอาทิตย์. (ป., ส. รวิ).
  17. รม
    หมายถึง ก. อบด้วยควันหรือไอไฟ เช่น ใช้ควันรมปลากะพงให้หอม ใช้ควันอ้อยรมเป็ดให้หอม รมผึ้งให้หนีหรือให้เมา, ทำให้ควันไฟหรือไอไฟเป็นต้นเกาะติดอยู่ เช่น รมบาตร รมปลาย่างให้แห้ง.
  18. รมควันเด็ก
    หมายถึง น. วิธีลงโทษเด็กที่ดื้อมาก ๆ อย่างหนึ่ง โดยเอากาบมะพร้าวแห้งเผาไฟให้ควันรมหน้ารมตาเด็กเพื่อให้สำลักควันจะได้เข็ด.
  19. รมณี
    หมายถึง [รมมะนี] น. นาง, ผู้หญิง. (ป., ส.).
  20. รมณีย,รมณีย-,รมณีย์
    หมายถึง [รมมะนียะ-, รมมะนี] ว. น่าบันเทิงใจ, น่าสนุก, พึงใจ, งาม. (ป., ส.).
  21. รมณียสถาน
    หมายถึง น. สถานที่ให้ความรื่นรมย์, สถานที่ให้ความบันเทิงใจ.
  22. รมดำ
    หมายถึง ก. ใช้น้ำมันกำมะถันเป็นต้น ทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วอบด้วยความร้อนให้ดำ เช่น รมปืน รมพระ รมรูปหล่อโลหะ.
  23. รมยา
    หมายถึง ก. ใช้หนังจงโคร่ง เห็ดร่างแห หรือสารบางชนิดเป็นต้น เผาไฟให้ควันลอยไปเพื่อทำให้หลับสนิท.
  24. รมเยศ
    หมายถึง [รมมะเยด] (กลอน) ว. น่าบันเทิงใจ, น่าสนุก, พึงใจ, งาม.
  25. รยะ
    หมายถึง ว. เร็ว, พลัน, ไว, ด่วน. (ป., ส.).
  26. รยางค์
    หมายถึง น. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนหลักของอวัยวะของสิ่งมีชีวิต เช่น หนวดของแมลง ครีบปลา แขน ขา. (อ. appendage).
  27. รวก
    หมายถึง น. ชื่อไผ่ชนิด Thyrsostachys siamensis Gamble ในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ ลำเล็กยาวเรียว ไม่มีหนาม.
  28. รวง
    หมายถึง น. ช่อ (ใช้แก่ข้าว); ลักษณนาม เช่น ข้าวรวงหนึ่ง ข้าว ๒ รวง.
  29. รวง
    หมายถึง น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๘, เขียนเป็น ลวง ก็มี.
  30. รวงผึ้ง
    หมายถึง น. รังผึ้ง มักมีลักษณะเป็นแผงคล้ายรูปสามเหลี่ยมห้อยลงมา, ลักษณนามว่า รวง เช่น รวงผึ้ง ๒ รวง; องค์ประกอบของอาคาร มีลักษณะเป็นแผงรูปสามเหลี่ยมเรียงกันใต้กระจังฐานพระที่หน้าบันโบสถ์ วิหาร หรือมุขเด็จ.
  31. รวงผึ้ง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Schoutenia glomerata King subsp. paregrina (Craib) Roekm. et Martono ในวงศ์ Tiliaceae ใบออกเรียงสลับกัน ด้านล่างสีขาว ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ ปลูกเป็นไม้ประดับ, นํ้าผึ้ง หรือ ดอกนํ้าผึ้ง ก็เรียก.
  32. รวงรัง
    หมายถึง น. รัง.
  33. รวด
    หมายถึง ว. ติดต่อกันหลายครั้ง เช่น ชนะ ๕ ครั้งรวด; เสมอเท่ากันหมด เช่น เก็บค่าดู ๒๐ บาทรวด.
  34. รวดเดียว
    หมายถึง น. ครั้งเดียวอย่างรีบเร่ง, ครั้งเดียวโดยไม่หยุดพัก, เช่น พิจารณารวดเดียวจบ นอนหลับรวดเดียวตั้งแต่หัวค่ำถึงสว่าง ดื่มรวดเดียวหมด; ครั้งเดียว เช่น เก็บค่าดูรวดเดียวดูได้ตลอด.
  35. รวดเร็ว
    หมายถึง ว. เร็วไว เช่น ทำงานรวดเร็ว.
  36. รวน
    หมายถึง ก. เอาเนื้อสดหรือปลาสดเป็นต้นที่หั่นเป็นชิ้นแล้วคั่วให้พอสุกเพื่อเก็บเอาไว้แกงเป็นต้น; แสดงกิริยาหรือวาจาชวนวิวาท เช่น เขาถูกรวน, ตีรวน ก็ว่า. ว. ไม่ตรง, โย้, เช่น ฟันรวน; เบียดดันกันไปมา เช่น แถวรวน.
  37. รวนเร
    หมายถึง ว. เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่แน่นอน เช่น จิตใจรวนเร ใจคอรวนเร, เรรวน ก็ว่า.
  38. รวบ
    หมายถึง ก. อาการที่เอาสิ่งต่าง ๆ เข้ามาไว้ด้วยกันให้เป็นฟ่อน เป็นมัด เป็นกลุ่ม เป็นกอง เป็นต้น, เอามือทั้ง ๒ ข้างหรือวงแขนโอบรัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าหาตัว เช่น รวบตัว รวบเอว รวบขา; (ปาก) จับ เช่น ขโมยถูกตำรวจรวบ.
  39. รวบยอด
    หมายถึง ก. (บัญชี) รวมยอดเงินครั้งสุดท้าย; (ปาก) รวมหลาย ๆ ครั้งเป็นคราวเดียวในครั้งหลังสุด เช่น กินรวบยอด.
  40. รวบรวม
    หมายถึง ก. นำสิ่งต่าง ๆ มารวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น รวบรวมข้าวของ รวบรวมเงิน รวบรวมหลักฐาน.
  41. รวบรัด
    หมายถึง ก. ทำให้สั้นเข้าให้เร็วเข้า เช่น พูดรวบรัด.
  42. รวบหัวรวบหาง
    หมายถึง (สำ) ก. รวบรัดให้สั้น, ทำให้เสร็จโดยเร็ว; ฉวยโอกาสเมื่อมีช่องทาง.
  43. รวบอำนาจ
    หมายถึง ก. รวมอำนาจ เช่น รวบอำนาจมาไว้ส่วนกลาง รวบอำนาจมาไว้ที่คนคนเดียว.
  44. รวม
    หมายถึง ก. บวกเข้าด้วยกัน, ผสมเข้าด้วยกัน, เช่น รวมคะแนน รวมเงิน, เข้าร่วมกัน, คละปนกัน, เช่น รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย อยู่รวมกัน, ผนึกเข้าด้วยกัน เช่น รวมนํ้าใจ รวมพลัง.
  45. รวมพล
    หมายถึง ก. รวมกำลังพลเข้าด้วยกัน.
  46. รวมพวก
    หมายถึง ก. รวมคนจำนวนมากเข้าด้วยกัน.
  47. รวมหัว
    หมายถึง ก. ร่วมกันคิดร่วมกันทำ.
  48. รวย
    หมายถึง ก. ได้มาก เช่น วันนี้รวยปลา, มีมาก เช่น รวยทรัพย์ รวยที่ดิน.
  49. รวย
    หมายถึง น. ตัวไม้ที่ทอดลงมาบนหัวแปตอนหน้าจั่ว.
  50. รวย,รวย,รวย ๆ
    หมายถึง ว. แผ่ว, เบา, อ่อน, เช่น หายใจรวย ๆ หอมรวย ๆ, ระรวย ก็ว่า; ชื่น, รื่น; งาม เช่น รูปรวย ว่า รูปงาม.
  51. รวยริน
    หมายถึง ว. เรื่อย ๆ, ชื่น ๆ.
  52. รวยรื่น
    หมายถึง ว. ชื่นใจ, สบายใจ.
  53. รวะ
    หมายถึง น. เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก, เสียงอึง, เสียงร้องครํ่าครวญ. ก. ร้อง, ร้องไห้. (ป., ส.).
  54. รวิ
    หมายถึง (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
  55. รวิ
    หมายถึง น. พระอาทิตย์, ใช้แผลงว่า รพิ รพี หรือ รำไพ ก็ได้. (ป., ส.).
  56. รวิวาร
    หมายถึง น. วันอาทิตย์. (ป., ส.).
  57. รวี
    หมายถึง น. พระอาทิตย์, ใช้แผลงว่า รพิ รพี หรือ รำไพ ก็ได้. (ป., ส.).
  58. รศนา
    หมายถึง [ระสะนา] น. สายรัดเอว. (ส.).
  59. รส
    หมายถึง น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ฝาด, โดยปริยายหมายถึง ความไพเราะ เช่น กลอนบทนี้ไม่มีรส. (ป., ส.).
  60. รสก
    หมายถึง [ระสก] น. คนครัว, พ่อครัว. (ป.).
  61. รสชาติ
    หมายถึง [รดชาด] น. รส เช่น แกงนี้ไม่มีรสชาติเลย
  62. รสนา
    หมายถึง [ระสะ-] น. ลิ้น. (ป., ส.).
  63. รสนิยม
    หมายถึง [รดสะนิยม, รดนิยม] น. ความนิยมชมชอบ, ความพอใจ, เช่น เขามีรสนิยมในการแต่งตัวดี.
  64. รสสุคนธ์
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาชนิด Tetracera loureiri Pierre ในวงศ์ Dilleniaceae ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ กลิ่นหอม, เสาวคนธ์ ก็เรียก.
  65. รสายนะ
    หมายถึง ครุฑ, ผู้ว่องไวดุจปรอท
  66. รสายนเวท
    หมายถึง [ระสายะนะเวด] น. วิชาประสมแร่แปรธาตุ, วิชาเคมียุคเล่นแร่แปรธาตุ. (ส.).
  67. รสิก
    หมายถึง น. ผู้รู้จักรส, ผู้รู้จักรสในทางกวีและศิลปะต่าง ๆ. (ป., ส.).
  68. รหัท
    หมายถึง น. ห้วงนํ้า, บ่อนํ้า, หนอง, ทะเล. (ป. รหท; ส. หฺรท).
  69. รหัส
    หมายถึง [-หัด] น. เครื่องหมายหรือสัญญาณลับซึ่งรู้เฉพาะผู้ที่ตกลงกันไว้, ข้อความที่เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษรของข้อความนั้น หรือใช้สัญลักษณ์แทน เป็นต้น ซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ, ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้อย่างกุญแจหรือตู้นิรภัยเป็นต้น เช่น เลขรหัสบัตรเครดิต. (ป. รหสฺส; ส. รหสฺย).
  70. รหัสไปรษณีย์
    หมายถึง น. รหัสที่กำหนดประจำท้องที่เพื่อประโยชน์ในการไปรษณีย์.
  71. รหิต
    หมายถึง ก. ปราศจาก, หายไป. (ป.).
  72. รอ
    หมายถึง น. หลักปักกันกระแสนํ้า เช่น ทำรอกันตลิ่งพัง.
  73. รอ
    หมายถึง ก. คอย เช่น รอรถ รอเรือ; ยับยั้ง เช่น รอการพิจารณาไว้ก่อน รอการลงอาญาไว้ก่อน; เกือบจด, จ่อ, เช่น เอายาดมรอจมูก เอามีดรอคอ.
  74. รอก
    หมายถึง น. เครื่องผ่อนแรงรูปคล้ายล้อ มีแกนหมุนได้รอบตัว ที่ขอบเป็นร่องสำหรับให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเดินได้สะดวก ใช้สำหรับยก ลาก หรือดึงของหนักให้เบาแรงและสะดวกคล่องขึ้น.
  75. รอง
    หมายถึง ก. รับรวมของเหลวหรือสิ่งอื่นที่ไหลตกลงมา เช่น รองนํ้า; ต้านทานคํ้าจุนให้คงอยู่ เช่น รองหัวเข็ม, หนุนให้สูงขึ้น เช่น เอาไม้รองโต๊ะรองตู้, รองรับ เช่น เอาเบาะรองนั่ง เอาผ้ารองมือ. ว. เป็นที่ ๒ โดยตำแหน่ง เช่น รองอธิบดี รองอธิการบดี, ถัดลงมาโดยอายุหรือตำแหน่ง เช่น ตำแหน่งรองลงมา, ด้อยกว่า เช่น เป็นรอง.
  76. รอง
    หมายถึง ว. งามสุกใส เช่น รองเรือง.
  77. รองคอ
    หมายถึง ก. ถัดคนแรก (ใช้เรียกคนเล่นการพนันอย่างหยอดหลุม).
  78. รองจ่าย
    หมายถึง (ปาก) ก. ทดรองจ่ายเป็นค่าใช้สอยปลีกย่อย, เรียกเงินที่ใช้เช่นนั้นว่า เงินรองจ่าย.
  79. รองช้ำ
    หมายถึง น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งเป็นตามฝ่ามือหรือฝ่าเท้า มีนํ้าใส ๆ อยู่ระหว่างหนังชั้นนอกกับเนื้อ.
  80. รองทรง
    หมายถึง น. ทรงผมผู้ชายที่ตัดข้างล่างสั้นข้างบนยาว; หนังสือสำคัญและสมุดไทยที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์ เช่น กฎหมายตรา ๓ ดวงฉบับรองทรง.
  81. รองทุน
    หมายถึง ก. ออกทุนให้ไปก่อน.
  82. รองท้อง
    หมายถึง ก. กินพอกันหิวไปก่อน.
  83. รองบ่อน
    หมายถึง ว. ประจำบ่อน, ที่ยืนโรงไว้เผื่อเหลือเผื่อขาด เช่น ไก่รองบ่อน.
  84. รองพื้น
    หมายถึง น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งเป็นตามฝ่าเท้าทำให้พื้นเท้าเป็นรูพรุน.
  85. รองพื้นรองพื้น
    หมายถึง ก. อาการที่ทาสีชั้นต้นให้พื้นเรียบเสมอกันเพื่อรองรับสีที่จะระบายหรือทาทับลงไป, เรียกสีที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า สีรองพื้น; อาการที่เอาครีมหรือแป้งเป็นต้นทาหน้าเพื่อให้ผิวหน้าเรียบก่อนแต่งหน้า, เรียกครีมหรือแป้งเป็นต้นที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า ครีมรองพื้น แป้งรองพื้น.
  86. รองรัง
    หมายถึง ว. มีสำรองไว้เผื่อขาดแคลน, มีสำรองไว้ไม่ให้ขาด, เช่น อาหารรองรัง.
  87. รองเง็ง
    หมายถึง น. ศิลปะการแสดงแบบหนึ่งของชาวไทยมุสลิมภาคใต้ เป็นการเต้นรำคู่ชายหญิง และร้องเพลงคลอไปด้วย. (เทียบ ม. ronggeng).
  88. รองเท้า
    หมายถึง น. เกือก.
  89. รอด
    หมายถึง น. ชื่อพระเครื่องชนิดหนึ่งของลำพูน เรียกว่า พระรอด.
  90. รอด
    หมายถึง ก. พ้นไป, ปลอดจาก, เช่น รอดอันตราย, บางทีหมายความว่า ผ่านพ้นภัยอันตรายหรือสิ่งที่ไม่พึงปรารถนามาได้ เช่น เครื่องบินตกรอดมาได้ รอดจากถูกครูตี. ว. ถึงจุดหมายปลายทาง เช่น ไปรอด, ถึง เช่น ตลอดรอดฝั่ง.
  91. รอด
    หมายถึง น. ไม้ที่สอดรูเสาทั้งคู่สำหรับรับกระดานพื้นเรือน.
  92. รอดชีวิต
    หมายถึง ก. เอาชีวิตรอด, ไม่เสียชีวิต, เช่น ไปรบคราวนี้รอดชีวิตมาได้.
  93. รอดตัว
    หมายถึง ก. เอาตัวรอด.
  94. รอดตาย
    หมายถึง ก. ผ่านพ้นความตายมาได้, เอาชีวิตรอดมาได้.
  95. รอดปากเหยี่ยวปากกา
    หมายถึง ก. พ้นอันตรายมาได้อย่างหวุดหวิด.
  96. รอดหูรอดตา
    หมายถึง ก. หลงหูหลงตาไป.
  97. รอน
    หมายถึง ก. ตัดให้เป็นท่อน ๆ เช่น รอนฟืน; ทำให้ลดลง เช่น รอนกำลัง.
  98. รอน ๆ
    หมายถึง ว. อ่อนแสง (ใช้แก่พระอาทิตย์เวลาใกล้คํ่า) เช่น แสงตะวันรอน ๆ, อาการที่ใกล้จะขาดหรือสิ้นสุดลง ในความว่า ใจจะขาดอยู่รอน ๆ.
  99. รอนสิทธิ์
    หมายถึง ก. ตัดสิทธิ์, (กฎ) รบกวนขัดสิทธิของบุคคลในอันที่จะครองหรือใช้ทรัพย์สินโดยปรกติสุข.
  100. รอนแรม
    หมายถึง ก. เดินทางค้างคืนเป็นระยะ ๆ.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ร (หน้าที่ 2)"