พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ร (หน้าที่ 10)

  1. ริอ่าน
    หมายถึง ก. ริ เช่น ริอ่านเป็นขโมย.
  2. ริเริ่ม
    หมายถึง ก. เริ่มคิดเริ่มทำเป็นคนแรก (มักใช้ในทางดี) เช่น นายเลื่อน พงษ์โสภณ ริเริ่มทำรถจักรยานสามล้อ.
  3. ริ้น
    หมายถึง น. ชื่อแมลงพวกตัวบึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าแมลงหวี่ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Culicoides และ Leptoconops วงศ์ Ceratopogonidae เช่น ชนิด C. orientalis, L. spinosifrons.
  4. ริ้ว
    หมายถึง น. เส้นลายหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นรอย เป็นทาง ๆ เป็นแถวหรือเป็นแนวยาวไป เช่น ผ้าขาดเป็นริ้ว ริ้วขบวน ริ้วปลาแห้ง, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เรียกปลาแห้งที่ผ่าเป็น ๕ ริ้ว ว่า ปลา ๕ ริ้ว หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาห้า.
  5. ริ้วรอย
    หมายถึง น. ลักษณะที่เป็นแนวเป็นทาง เช่น ถูกหนามเกี่ยวเป็นริ้วรอย ถูกแมวข่วนเป็นริ้วรอย, โดยปริยายหมายความว่า ร่องรอย เช่น หน้าตามีริ้วรอยแห่งความทุกข์.
  6. รี
    หมายถึง ว. เรียว, ถ้ากลมเรียวอย่างรูปไข่ เรียกว่า กลมรี, ถ้ายาวเรียวและมีหัวท้ายอย่างเมล็ดข้าวสาร เรียกว่า ยาวรี, ไม่กลม เช่น วงรี, ยาว เช่น หันรีหันขวาง หอรีหอขวาง.
  7. รี ๆ ขวาง ๆ
    หมายถึง ก. กีดเกะกะ, เก้งก้าง, เช่น คนไม่เคยเข้าครัวจับอะไรไม่ถูก รี ๆ ขวาง ๆ ไปหมด, ขวาง ๆ รี ๆ ก็ว่า. ว. มีลักษณะหรือกิริยาท่าทางที่เกะกะเก้งก้าง เช่น จะข้ามถนนก็ไม่ข้าม มัวแต่ยืนรี ๆ ขวาง ๆ อยู่นั่นแหละ.
  8. รี ๆ รอ ๆ
    หมายถึง ว. แสดงอาการลังเลใจ, ไม่แน่ใจที่จะทำลงไป, เช่น มัวรี ๆ รอ ๆ อยู่นั่นแหละ เมื่อไรจะตัดสินใจเสียที.
  9. รีด
    หมายถึง ก. บีบ รูด หรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้แผ่ กว้าง ยาว หรือเรียบ เป็นต้น ตามที่ต้องการ, กดแรง ๆ และไถเพื่อทำให้เรียบ เช่น รีดผ้า รีดใบตอง รีดกลีบบัว, บีบทำให้เป็นแผ่นหรือเป็นเส้นยาว เช่น รีดทอง รีดยาง, บีบรูดด้วยอาการเค้นเพื่อให้สิ่งที่อยู่ภายในออกมา เช่น รีดนมวัว รีดไส้หมู รีดหนอง; (ปาก) ใช้กำลังหรืออิทธิพลบังคับเอาทรัพย์สินของผู้อื่น เช่น รีดเอาเงิน รีดเอาทรัพย์, ใช้ว่า รีดไถ ก็มี.
  10. รีดนาทาเน้น,รีดนาทาเร้น
    หมายถึง ก. ขูดรีดเอาทรัพย์สินจนแทบหมดเนื้อหมดตัว; เคี่ยวเข็ญให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกินกำลังความสามารถ เช่น รีดนาทาเน้นเด็กให้ทำงานหนัก.
  11. รีดลูก
    หมายถึง ก. ทำให้แท้งลูก.
  12. รีดักชัน
    หมายถึง (เคมี) น. ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้สารได้รับธาตุไฮโดรเจนมารวมตัวด้วย, ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้สารสูญเสียธาตุออกซิเจนไป, ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้อะตอมของธาตุได้รับอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น. (อ. reduction).
  13. รีดเลือดกับปู
    หมายถึง (สำ) ก. เคี่ยวเข็ญหรือบีบบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีจะให้, หาเลือดกับปู หรือ เอาเลือดกับปู ก็ว่า.
  14. รีต
    หมายถึง น. เยี่ยงอย่าง, แบบแผน, ประเพณี, เช่น นอกรีต. (เทียบ ป. จาริตฺต; ส. จาริตฺร).
  15. รีบ,รีบ ๆ
    หมายถึง ก. อาการที่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างรวดเร็ว เช่น รีบเสียจนมือสั่น รีบไปรีบมา รีบทำ รีบนอน รีบ ๆ หน่อย. ว. รวดเร็ว, ไม่รอช้า, เช่น เดินรีบ ๆ หน่อยเดี๋ยวฝนจะตก กินรีบ ๆ จะติดคอ.
  16. รีบรุด
    หมายถึง ก. ไปหรือมาอย่างรีบด่วน เช่น เขารีบรุดไปพบหมอ ตำรวจรีบรุดมาที่เกิดเหตุ. ว. ด่วน, ทันที, เช่น เขาเดินอย่างรีบรุด.
  17. รีบร้อน
    หมายถึง ก. อาการที่รีบทำอย่างลุกลน เช่น เขารีบร้อนไปทำงานจนลืมกระเป๋าสตางค์. ว. รีบลุกลน เช่น พอได้รับโทรเลข เขาก็ไปอย่างรีบร้อน.
  18. รีบเร่ง
    หมายถึง ก. อาการที่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เร็วขึ้นกว่าปรกติ เช่น ครูรีบเร่งตรวจข้อสอบให้เสร็จ. ว. เร็วขึ้นกว่าปรกติ เช่น เขาทำงานอย่างรีบเร่งเพื่อให้ได้งานมากขึ้น.
  19. รีม
    หมายถึง น. หน่วยนับจำนวนแผ่นกระดาษ กำหนดว่า กระดาษ ๕๑๖ แผ่น เป็น ๑ รีม แต่โดยทั่ว ๆ ไปถือว่า กระดาษ ๔๘๐ หรือ ๕๐๐ แผ่น เป็น ๑ รีม. (อ. ream).
  20. รีรอ
    หมายถึง ก. ชักช้า, ลังเลใจ, เช่น มัวรีรออยู่ทำไม กินโดยไม่รีรอ.
  21. รีเนียม
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๗๕ สัญลักษณ์ Re เป็นโลหะลักษณะเป็นของแข็งสีเทา หลอมละลายที่ ๓๑๘๐°ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้เป็นองค์ประกอบของโลหะทนไฟในจรวด. (อ. rhenium).
  22. รี่
    หมายถึง ก. เคลื่อนเข้าไปเรื่อยไม่รีรอ เช่น รี่เข้าใส่. ว. อาการที่เคลื่อนเข้าไปเรื่อยไม่รีรอ เช่น เดินรี่เข้ามา.
  23. รี่
    หมายถึง ดู ลี่ ๑.
  24. รี้
    หมายถึง (โบ) น. พล, พลรบ, กองทัพ, กองทหาร. ก. ยกไป, เดินไป.
  25. รี้พล
    หมายถึง น. กระบวนทหาร, กองทหาร.
  26. รี้ริก
    หมายถึง ว. เสียงหัวเราะเมื่อถูกหยอก.
  27. รึกต์
    หมายถึง ว. ว่าง, เปล่า. (ส. ริกฺต; ป. ริตฺต).
  28. รึง
    หมายถึง ว. ร้อน, ระอุ เช่น เถ้ารึง. ก. รัด.
  29. รึ้ง
    หมายถึง ก. ดึง, ฉุด, รั้ง, ลาก.
  30. รื่น
    หมายถึง ว. ชื่น, สบาย, เช่น ฟังเสียงรื่นหู ดูทิวทัศน์รื่นตา เสียใจแต่แสร้งทำหน้ารื่น.
  31. รื่นรมย์
    หมายถึง ว. สบายใจ, บันเทิง, เช่น สวนสาธารณะปลูกต้นไม้ไว้สวยงามน่ารื่นรมย์.
  32. รื่นเริง
    หมายถึง ก. สนุกสนานเบิกบานใจ, เพลิน, เช่น ทุกคนรื่นเริงในวันปีใหม่ โทรทัศน์บางรายการทำให้ผู้ดูรื่นเริง.
  33. รื้น
    หมายถึง (กลอน) ก. รื่น. ว. อาการที่น้ำตาเอ่อขึ้นมาในดวงตา เช่น น้ำตารื้นขอบตา.
  34. รื้อ
    หมายถึง ก. แยกออกหรือถอดออกเป็นต้นจากสิ่งที่เป็นรูปแล้วให้เสียความเป็นกลุ่มก้อนของรูปเดิม เช่น รื้อบ้าน รื้อหลังคา รื้อข้าวของกระจุยกระจาย; เอาขึ้นมาใหม่ เช่น รื้อเรื่องราวที่ระงับไว้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ รื้อเรื่องเดิมขึ้นมาเขียนใหม่; ขนออก เช่น รื้อสัตว์จากวัฏสงสาร.
  35. รื้อถอน
    หมายถึง ก. รื้อและถอนสิ่งปลูกสร้างแล้วโยกย้ายไป เช่น รื้อถอนบ้านเรือน; (กฎ) รื้อส่วนอันเป็นโครงสร้างของอาคาร เช่น เสา คาน ตง ออกไปให้หมด เช่น รื้อถอนบ้านเรือน.
  36. รื้อฟื้น
    หมายถึง ก. เอาขึ้นมาทำใหม่ เช่น รื้อฟื้นคดีมาพิจารณาใหม่.
  37. รื้อร่าย
    หมายถึง น. ชื่อทำนองเพลงร้องอย่างลำนำ.
  38. รื้อแต่หลังคาเขา หลังคาเราไม่รื้อ
    หมายถึง (สำ) ก. คิดแต่จะเอาของผู้อื่นมาใช้ของของตัวเก็บไว้, คิดแต่จะเอา ไม่คิดจะให้.
  39. รื้อไข้
    หมายถึง ก. หายไข้ใหม่ ๆ.
  40. รุ
    หมายถึง ก. ระบายสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป เช่น บริษัทรุคนงานเก่าออก พี่รุเสื้อผ้าให้น้อง.
  41. รุก
    หมายถึง ก. ทำเส้นให้เล็ก (ใช้แก่แกะตรา) เช่น รุกลายเส้นในตราให้ชัด.
  42. รุก
    หมายถึง ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตของผู้อื่น เช่น รุกที่ดิน ทำไร่รุกเข้าไปในเขตหวงห้าม, โดยปริยายหมายถึงคุกคามให้ถอยร่นหรือต้อนให้จนมุม เช่น เขาถูกนายรุกเสียจนตั้งตัวไม่ติด; เดินตัวหมากรุกเข้าไปกระทบตาขุนของอีกฝ่ายหนึ่ง.
  43. รุกข,รุกข-,รุกข์
    หมายถึง [รุกขะ-, รุก] น. ต้นไม้. (ป.; ส. วฺฤกฺษ).
  44. รุกขกะ
    หมายถึง [-ขะกะ] น. ต้นไม้เล็ก. (ป.).
  45. รุกขชาติ
    หมายถึง น. ต้นไม้, หมู่ไม้.
  46. รุกขมูล
    หมายถึง น. โคนต้นไม้, เรียกพระที่ถือธุดงค์อยู่โคนไม้ว่า พระรุกขมูล.
  47. รุกขมูลิกธุดงค์
    หมายถึง [-มูลิกะ-] น. ธุดงค์อย่าง ๑ ใน ๑๓ อย่าง ที่ภิกษุจะต้องสมาทานว่าจะอยู่โคนต้นไม้เป็นประจำ. (ป. รุกฺขมูลิกธูตงฺค).
  48. รุกขา
    หมายถึง (กลอน) น. ต้นไม้.
  49. รุกขเทวดา
    หมายถึง น. เทวดาที่สิงสถิตอยู่ตามต้นไม้.
  50. รุกฆาต
    หมายถึง ก. เดินหมากรุกเข้าไปจะกินขุนของอีกฝ่ายหนึ่ง พร้อมกันนั้นก็เตรียมจะกินหมากอีกตัวหนึ่งด้วย ถ้าฝ่ายนั้นถอยขุนหนีก็จะกินหมากตัวที่เหลือ เช่น รุกฆาตขุนฆาตเรือ ถ้าถอยขุนหนีก็จะกินเรือ, (ใช้ในการเล่นหมากรุก).
  51. รุกราน
    หมายถึง ก. ล่วงลํ้าเข้าไปก้าวร้าวระราน เช่น ถูกข้าศึกรุกราน.
  52. รุกรุย
    หมายถึง [รุกฺ-] ว. รุงรัง, กระจุยกระจาย, ไม่น่าดู, เช่น บ้านช่องรุกรุย เสื้อผ้ารุกรุย; ตํ่าช้า เช่น คนรุกรุย.
  53. รุกร้น
    หมายถึง ก. เร่งเข้าไป, รีบเร่ง.
  54. รุกล้ำ
    หมายถึง ก. รุกล่วงล้ำเข้าไป เช่น รุกล้ำอธิปไตย รุกล้ำดินแดน.
  55. รุกษะ
    หมายถึง [รุกฺ-] (โบ) น. รุกข์, ต้นไม้.
  56. รุกไล่
    หมายถึง ก. ไล่โจมตีให้หนีไป เช่น รุกไล่ข้าศึก.
  57. รุข้าว
    หมายถึง ก. เอาฟางออกจากเมล็ดข้าวที่นวดแล้ว.
  58. รุงรัง
    หมายถึง ว. อาการที่สิ่งเป็นเส้นยาว ๆ พัวพันกันยุ่งยุ่มย่าม เช่น ขนยาวรุงรัง ผมเผ้ารุงรัง หนวดเครารุงรัง, อาการที่สิ่งต่าง ๆ รวมกันอยู่อย่างระเกะระกะหรือแยกกระจัดกระจายกันอยู่ยุ่งเหยิง เช่น ห้องรกรุงรัง ห้อยผ้าไว้รุงรัง; พะรุงพะรัง เช่น หอบของมารุงรัง, นุงนัง เช่น หนี้สินรุงรัง.
  59. รุจ,รุจา
    หมายถึง ว. รุ่งเรือง, สว่าง. (ป., ส. รุจ).
  60. รุจนะ
    หมายถึง [รุดจะนะ] น. ความชอบใจ, ความพอใจ. (ป.).
  61. รุจิ,รุจี
    หมายถึง น. แสง, ความรุ่งเรือง; ความงาม; ความชอบใจ. ว. รุ่งเรือง, สว่าง. (ป., ส. รุจิ).
  62. รุจิระ,รุจิรา
    หมายถึง ว. งาม, สว่าง, รุ่งเรือง, สวย; กะทัดรัด. (ป., ส.).
  63. รุจิเรข
    หมายถึง [รุจิเรก] ว. มีลายงาม, มีลายสุกใส.
  64. รุชา
    หมายถึง น. ความไม่สบาย, ความเสียดแทง; โรค. (ป., ส.).
  65. รุด
    หมายถึง ว. ด่วนไปทันที, ใช้ควบกับคำ รีบ เป็น รีบรุด ก็ได้ เช่น ทำงานอย่างรีบรุด.
  66. รุดหน้า
    หมายถึง ก. ก้าวหน้าไปมาก, ลุล่วงไปเร็ว, เช่น ในระยะ ๑๐ ปีประเทศไทยเจริญรุดหน้าไปมาก งานรุดหน้าไปมากแล้ว.
  67. รุต
    หมายถึง น. เสียง, เสียงร้อง, เสียงสัตว์. (ป., ส.).
  68. รุทธ์
    หมายถึง ก. ห้าม, กีด, กั้น, ดับ. (ป., ส.).
  69. รุทระ
    หมายถึง [รุดทฺระ] ว. น่ากลัวยิ่งนัก. น. เทวดาหมู่หนึ่งมี ๑๑ องค์ รวมเรียกว่า เอกาทศรุทร, ชื่อเทพสำคัญองค์หนึ่งในพระเวท ซึ่งพวกฮินดูถือว่าเป็นองค์เดียวกับพระศิวะ. (ส.; ป. รุทฺท).
  70. รุธิระ
    หมายถึง น. เลือด. ว. สีแดง. (ป., ส.).
  71. รุน
    หมายถึง ก. ดุนไปเรื่อย, ไสไปเรื่อย, เช่น รุนหลังให้รีบเดินไปข้างหน้า; ระบายท้อง. น. เครื่องช้อนกุ้งชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายชนาง แต่เล็กกว่า มีด้ามยาว ใช้ช้อนกุ้งหรือปลาเล็กปลาน้อยตามชายเฟือย.
  72. รุนแรง
    หมายถึง ว. หนักมาก, แรงมาก, เกินปรกติ, เช่น ดุว่าอย่างรุนแรง คัดค้านอย่างรุนแรง ความคิดเห็นรุนแรง.
  73. รุบรู่
    หมายถึง ว. มีแสงมัวจนมองอะไรไม่เห็นถนัดชัดเจน เช่น แสงเดือนรุบรู่, รุบหรู่ หรุบรู่ หรือ หรุบหรู่ ก็ว่า.
  74. รุบาการ
    หมายถึง (กลอน) น. อาการแห่งรูป, รูป, เช่น เทพยดาก็กำบงงรุบาการอันตรธานไป. (ม. คำหลวง มหาราช). (ป., ส. รูป + อาการ).
  75. รุม
    หมายถึง ก. อาการที่คนหลายคนหรือสัตว์หลายตัวรวมกันเข้ามาทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้หนึ่งหรือสิ่งหนึ่งอย่างไม่มีระเบียบ เช่น รุมตี รุมด่า แมลงวันรุมตอมเมล็ดทุเรียน, ประดังห้อมล้อมเข้ามา เช่น กลุ้มรุม รุมกันเข้าไปซื้อของ, ประดังกันเข้ามา เช่น โดนโรครุมเสียแย่; กรุ่นอยู่ภายในเพราะพิษไข้เป็นต้น เช่น เป็นไข้ร้อนรุมอยู่หลายวัน.
  76. รุม,รุม,รุม ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่คนเริ่มจะเป็นไข้ หรือจวนจะหายแต่ยังไม่หายดี ตัวยังร้อนอยู่บ้างนิดหน่อย เรียกว่าตัวรุม หรือ ตัวรุม ๆ, (ไฟ) อ่อน ๆ เช่น ย่างบนไฟรุม ๆ เคี่ยวบนไฟรุม ๆ.
  77. รุมล้อม
    หมายถึง ก. ออเข้ามา, รุมเข้ามาห้อมล้อม, เช่น นักข่าวรุมล้อมนายกรัฐมนตรี.
  78. รุมเร้า
    หมายถึง ก. ประดังเข้ามา เช่น มีเรื่องร้าย ๆ เข้ามารุมเร้าอยู่เสมอ.
  79. รุมไข้
    หมายถึง ก. เอายาให้คนไข้กินเพื่อไม่ให้ตัวร้อนจัดหรือเย็นจัด.
  80. รุมไฟ
    หมายถึง ก. เอาฟืนดุ้นใหญ่ ๆ วางทับลงบนกองไฟเพื่อให้ไฟติดกรุ่นอยู่เสมอ, สุมไฟ ก็ว่า.
  81. รุย
    หมายถึง น. แมลงวัน. (ข.).
  82. รุรุ
    หมายถึง น. สัตว์จำพวกเนื้อชนิดหนึ่ง. (ป.).
  83. รุษฏ์
    หมายถึง ก. แค้นเคือง, โกรธ. (ส. รุษฺฏ; ป. รุฏฺ).
  84. รุสต๊อก
    หมายถึง ก. จำหน่ายสินค้าโดยการลดราคาเพื่อระบายสินค้าให้หมด.
  85. รุหะ,รูหะ
    หมายถึง ก. งอก, งาม, เจริญ. (ป., ส.).
  86. รุหาญ
    หมายถึง ว. เปรียบ, ดุจ. (เทียบ ข. รุหาน).
  87. รุเธียร
    หมายถึง [รุเทียน] น. เลือด. ว. สีแดง. (แผลงมาจาก รุธิร).
  88. รุ่ง
    หมายถึง น. ระยะเวลาตอนเริ่มแรกแห่งวัน เช่น รุ่งอรุณ รุ่งเช้า ยันรุ่ง ตลาดโต้รุ่ง, เวลาสว่าง เช่น ใกล้รุ่ง. ว. สว่าง เช่น ฟ้ารุ่ง, อรุณรุ่ง.
  89. รุ่งขึ้น
    หมายถึง น. วันใหม่, วันพรุ่งนี้.
  90. รุ่งราง
    หมายถึง น. เวลาจวนสว่างพอมองเห็นราง ๆ ยังไม่กระจ่างชัด.
  91. รุ่งริ่ง
    หมายถึง ว. ขาดออกเป็นริ้ว ๆ, ขาดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, เช่น เสื้อขาดรุ่งริ่ง, กะรุ่งกะริ่ง ก็ว่า.
  92. รุ่งสว่าง
    หมายถึง น. เวลาจวนสว่าง ยังแลเห็นอะไรไม่ชัด.
  93. รุ่งสาง
    หมายถึง น. เวลาจวนสว่าง ยังแลเห็นอะไรไม่ชัด.
  94. รุ่งอรุณ
    หมายถึง น. เวลาเช้าตรู่ที่เริ่มเห็นแสงเงินแสงทอง.
  95. รุ่งเช้า
    หมายถึง น. เวลาพระอาทิตย์เพิ่งขึ้น, เวลาระหว่างรุ่งสว่างถึงเช้า, เช้าวันรุ่งขึ้น.
  96. รุ่งเรือง
    หมายถึง ว. สว่างไสว เช่น จุดโคมไฟรุ่งเรืองแสงจับท้องฟ้า, งามสุกใส เช่น ปราสาทราชมนเทียรดูรุ่งเรืองเมื่อต้องแสงจันทร์, เจริญ, อุดมสมบูรณ์, เช่น บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง อนาคตรุ่งเรือง, งอกงาม เช่น ให้มีความรุ่งเรืองในพระศาสนา.
  97. รุ่งแจ้ง
    หมายถึง น. เวลาพระอาทิตย์ขึ้นสว่างแล้ว แต่ยังไม่มีแสงแดด.
  98. รุ่งโรจน์
    หมายถึง ว. กระจ่างแจ้ง, โชติช่วง, เช่น แสงไฟรุ่งโรจน์, เจริญรุ่งเรือง เช่น ชีวิตรุ่งโรจน์.
  99. รุ่น
    หมายถึง น. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวยรุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็นระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด; กิ่งไม้ที่แตกออกมาใหม่ อ้วน งาม เรียกว่า รุ่นไม้. ว. เพิ่งเป็นหนุ่มเป็นสาว, เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว, เช่น วัยรุ่น.
  100. รุ่น ๆ
    หมายถึง ว. กำลังอยู่ในวัยแตกเนื้อหนุ่มแตกเนื้อสาว เช่น เด็กรุ่น ๆ; มีวัยใกล้เคียงกัน, ที่อยู่ในวัยเดียวกัน, เช่น คนรุ่น ๆ คุณพ่อ คนรุ่น ๆ กัน.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ร (หน้าที่ 10)"