พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ย (หน้าที่ 7)

  1. ย่อยยับ
    หมายถึง ว. ป่นปี้, เช่น เสียการพนันย่อยยับ เสียหายย่อยยับ, ยับย่อย หรือ ยับเยิน ก็ว่า. ก. ถูกทำลาย, เสียหาย, เช่น เขาเล่นการพนันจนทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ย่อยยับหมด, ยับย่อย หรือ ยับเยิน ก็ว่า.
  2. ย่อย่น
    หมายถึง ก. ทำให้สั้น; ท้อถอย; ย่นย่อ ก็ว่า.
  3. ย่อส่วน
    หมายถึง ก. จำลองแบบให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่าต้นแบบตามส่วน เช่น จงย่อส่วนแผนที่นี้. น. แบบที่จำลองให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่าต้นแบบตามส่วนอย่างหุ่นจำลอง เช่น นี่เป็นย่อส่วนของแผนที่ฉบับนั้น.
  4. ย่อหน้า
    หมายถึง ก. เขียนหรือพิมพ์หนังสือขึ้นบรรทัดใหม่และร่นจากแนวซ้ายสุดเข้าไปพอสมควร เพื่อแสดงว่าขึ้นความตอนใหม่. น. ข้อความตอนย่อย ๆ ที่แยกออกจากกันด้วยวิธีเขียนย่อหน้า; ในกฎหมายเรียกย่อหน้าว่า วรรค เช่น มาตรา ๕ วรรค ๒.
  5. ย่อหย่อน
    หมายถึง ว. ไม่เคร่งครัด เช่น ระเบียบวินัยย่อหย่อน, ลดน้อยถอยลง เช่น กำลังย่อหย่อน.
  6. ย่อเก็จ
    หมายถึง ก. ทำเก็จให้ลึกเข้าไปในฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน, คู่กับ ยกเก็จ.
  7. ย่อเหลี่ยม
    หมายถึง ก. ทำให้มุมของเสาหรือภาชนะเช่นผอบ ตะลุ่ม ลึกเข้าไปทางด้านในเป็นมุม ๙๐ องศา.
  8. ย่อแย่
    หมายถึง ว. อ่อนแอ.
  9. ย่อแหยง
    หมายถึง [-แหฺยง] ก. เกรงกลัว.
  10. ย่ะ
    หมายถึง ว. คำรับ (ถือเป็นคำไม่สุภาพ).
  11. ย่า
    หมายถึง น. แม่ของพ่อ, เมียของปู่, ญาติผู้หญิงที่เป็นชั้นเดียวกันกับแม่ของพ่อ.
  12. ย่าง
    หมายถึง ก. ทำให้สุกด้วยการวางไว้เหนือไฟ เพื่อให้สุกระอุทั่วกัน หรือให้แห้ง มักใช้แก่ของสด โดยปรกติใช้เวลานานกว่าปิ้ง เช่น ย่างไก่ ย่างหมู. ว. ที่ทำให้สุกด้วยวิธีเช่นนั้น เช่น ไก่ย่าง หมูย่าง.
  13. ย่าง
    หมายถึง ก. ยกเท้าก้าวไป, เดิน, ย่างตีน หรือ ย่างเท้า ก็ว่า; เคลื่อนเข้าสู่ เช่น ย่างเข้าหน้าหนาว อายุย่าง ๒๐ ปี.
  14. ย่างกราย
    หมายถึง ก. เหยียบย่าง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้ย่างกรายไปไหนเลย เขาไม่ได้ย่างกรายมาเลย.
  15. ย่างตีน,ย่างเท้า
    หมายถึง ก. ยกเท้าก้าวไป, เดิน, ย่าง ก็ว่า.
  16. ย่างทราย
    หมายถึง น. ชื่อเถาวัลย์ป่าชนิดหนึ่ง มีใบใหญ่, ย่านทราย ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓).
  17. ย่างสด
    หมายถึง ก. เผาทั้งเป็น เช่น ถูกย่างสดในกองไฟ.
  18. ย่างสามขุม
    หมายถึง น. ท่าเดินเข้าหาคู่ต่อสู้หรือถอยจากคู่ต่อสู้ของนักมวยนักกระบี่กระบองเป็นต้น โดยเดินก้าวย่างเป็นสลับฟันปลา มีตำแหน่งวางเท้าเป็น ๓ เส้า.
  19. ย่างเยื้อง
    หมายถึง ก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, เยื้องย่าง ก็ว่า.
  20. ย่างเหยียบ
    หมายถึง ก. เข้าไปสู่, เดินเข้าไป, ย่างเข้าสู่, เหยียบย่าง ก็ว่า.
  21. ย่าทวด
    หมายถึง น. แม่ของปู่หรือของย่า.
  22. ย่าน
    หมายถึง ก. ยั่น.
  23. ย่าน
    หมายถึง น. แถว, ถิ่น, เช่น เขาเป็นคนย่านนี้, บริเวณ เช่น ย่านบางลำพู ย่านสำเพ็ง, ระยะทางตามกว้างหรือยาวจากตำบลหนึ่งไปยังอีกตำบลหนึ่ง; ของที่ตรงและยาว.
  24. ย่าน
    หมายถึง น. เครือเถา เช่น ย่านวันยอ ย่านลิเภา, เรียกรากไทรที่ห้อยย้อยลงมาว่า ย่านไทร.
  25. ย่านกอบนาง
    หมายถึง ดู กอบนาง.
  26. ย่านซื่อ
    หมายถึง น. ระยะที่นํ้าไหลพุ่งตรง.
  27. ย่านทราย
    หมายถึง น. ชื่อเถาวัลย์ป่าชนิดหนึ่ง มีใบใหญ่, ย่างทราย ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓).
  28. ย่านนมควาย
    หมายถึง ดู กล้วยหมูสัง.
  29. ย่านพาโหม
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Paederia วงศ์ Rubiaceae ลำต้นมีขน กลิ่นเหม็น เช่น ชนิด P. linearis Hook.f. ใช้แต่งกลิ่นอาหารและทำยาได้, ตดหมูตดหมา ก็เรียก.
  30. ย่านยาว
    หมายถึง น. แถบแม่นํ้าที่ยาวตรงไปไกล.
  31. ย่านลิเภา
    หมายถึง ดู ลิเภา.
  32. ย่านาง
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาชนิด Tiliacora triandra (Colebr.) Diels ในวงศ์ Menispermaceae ใช้ต้มหน่อไม้แก้รสขื่น รากใช้ทำยาได้, เถาวัลย์เขียว ก็เรียก.
  33. ย่านาง
    หมายถึง น. ผีผู้หญิงที่ประจำรักษาเรือ เรียกว่า แม่ย่านางเรือ.
  34. ย่านางช้าง
    หมายถึง ดู โพกพาย.
  35. ย่าม
    หมายถึง ก. เหิม, ทะยาน, ได้ใจ, เช่น ย่ามใจ.
  36. ย่าม
    หมายถึง น. เครื่องใช้สำหรับใส่สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำด้วยผ้า มีหูหรือสายในตัวสำหรับสะพาย, ถุงย่าม ก็ว่า.
  37. ย่าหยา
    หมายถึง [-หฺยา] น. เรียกหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซียว่า ย่าหยา, คู่กับ บ้าบ๋า.
  38. ย่ำ
    หมายถึง ก. เหยียบหนัก ๆ ซํ้า ๆ, ถ้าเหยียบในลักษณะเช่นนั้นอยู่กับที่เรียกว่า ยํ่าเท้า, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; ตีกลองหรือฆ้องถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลาสำหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ยํ่ากลอง ยํ่าฆ้อง, ยํ่ายาม ก็เรียก, ถ้ากระทำในเวลาเช้า เรียกว่า ยํ่ารุ่ง (ราว ๖ น.), ถ้ากระทำในเวลาคํ่า เรียกว่า ยํ่าคํ่า (ราว ๑๘ น.).
  39. ย่ำต๊อก
    หมายถึง ก. เดินย่ำไปเรื่อย ๆ เพราะไม่มีรถหรือค่ารถเป็นต้น.
  40. ย่ำยี
    หมายถึง ก. เบียดเบียน เช่น ย่ำยีศาสนา, บีบคั้น, ข่มเหง, เช่น ย่ำยีจิตใจ, บดขยี้ เช่น ยกกองทัพไปย่ำยีประเทศอื่น.
  41. ย่ำเทือก
    หมายถึง ก. ยํ่าดินโคลนพื้นนาที่จะตกกล้าให้อ่อนเหลว, ย่ำขี้เทือก ก็เรียก.
  42. ย่ำเป็นเทือก
    หมายถึง ก. ย่ำกันไปมาจนเปื้อนเปรอะเลอะเทอะเหมือนเปรอะด้วยขี้เทือก.
  43. ย่ำแย่
    หมายถึง ว. เหลือทน.
  44. ย่ำแย่
    หมายถึง ก. เหน็ดเหนื่อยมาก, ลำบากมาก, เช่น ทำงานย่ำแย่ ถูกใช้เสียย่ำแย่.
  45. ย้วย
    หมายถึง ก. เบี่ยงหรือเลี่ยงจากแนวปรกติ ทำให้ยาวยื่นเกินไป เช่น กระโปรงย้วย ผ้าย้วย, ให้บิดไปบิดมา โค้งไปโค้งมา เสี้ยวไป เฉไปเฉมา เช่น แถวย้วย แม่น้ำย้วย.
  46. ย้อง
    หมายถึง ว. งาม, สวย.
  47. ย้อน
    หมายถึง ก. หวนกลับ เช่น ย้อนไป ย้อนมา ย้อนกลับบ้าน, ทวนกลับ เช่น ย้อนเกล็ด ย้อนหลัง, พูดสวนตอบ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เด็กย้อนผู้ใหญ่ ลูกย้อนแม่.
  48. ย้อนคำ
    หมายถึง ก. ว่าสวนตอบตามคำที่เขาว่ามา เช่น ฝ่ายหนึ่งพูดว่า เธอโง่จริง อีกฝ่ายหนึ่งก็ย้อนคำว่า แล้วเธอไม่โง่หรือ.
  49. ย้อนต้น
    หมายถึง ก. กลับถอยหลังไปที่ตอนต้น, หวนไปข้างต้น, เช่น อ่านหนังสือย้อนต้น.
  50. ย้อนยอก
    หมายถึง ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจาย้อนยอก, ยอกย้อน ก็ว่า.
  51. ย้อนรอย
    หมายถึง ก. ทวนกลับตามรอยเดิม เช่น ตำรวจย้อนรอยผู้ร้าย.
  52. ย้อนศร
    หมายถึง ก. ไปทวนเครื่องหมายลูกศร เช่น ขับรถย้อนศร.
  53. ย้อนหลัง
    หมายถึง ก. ถอยกลับไปหาอดีต เช่น ให้ผลย้อนหลัง มีผลย้อนหลัง.
  54. ย้อนเนื้อ
    หมายถึง ว. ลักษณะไม้ที่ไม่มีตา แต่เนื้อทวนไปทวนมา เลื่อยหรือไสกบได้ยาก มักเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น งิ้ว เรียกว่า ไม้ย้อนเนื้อ.
  55. ย้อนแสง
    หมายถึง ก. ทวนแสง เช่น ถ่ายรูปย้อนแสง.
  56. ย้อม
    หมายถึง ก. ชุบด้วยสี, อาบด้วยสี, ทำให้ด้าย ไหม หรือผ้าเป็นต้นเป็นสีต่าง ๆ ด้วยการชุบลงไปในน้ำสี.
  57. ย้อมผม
    หมายถึง ก. ใช้ครีมหรือน้ำสีเป็นต้น ฉีดหรือพ่นให้ผมเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีดำ สีทอง สีเงิน.
  58. ย้อมแมวขาย
    หมายถึง (ปาก) ก. ตกแต่งคนหรือของที่ไม่ดีโดยมีเจตนาจะหลอกลวงให้ผู้อื่นเชื่อว่าดี.
  59. ย้อมใจ
    หมายถึง ก. ชุบใจ, ทำให้ใจชุ่มชื่น, ปลุกใจให้กล้า เช่น กินเหล้าย้อมใจ.
  60. ย้อย
    หมายถึง ก. ห้อยเป็นทางลงมา เช่น รากไทรย้อยลงมา พวงมะไฟห้อยย้อย, ห้อยลงมา เช่น รวงผึ้งย้อยลงมา ผมย้อยลงปรกหน้า, ไหลเป็นทางยืดลงมา เช่น น้ำมูกย้อย น้ำตาลย้อย, หยาดห้อยลงมาจวนจะหยด เช่น น้ำหมากย้อย น้ำตาย้อย; คราบหินปูนที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำหินปูน มีลักษณะเป็นท่อน เป็นกรวย หรือเป็นแผ่นม่าน เรียกว่า หินย้อย.
  61. ย้อแย้
    หมายถึง ก. เดินป้อแป้อย่างเป็ด.
  62. ย้าย
    หมายถึง ก. เปลี่ยนที่ เช่น ย้ายเก้าอี้ไปไว้มุมห้อง. ว. อาการที่ร่างกายบางส่วนเช่น พุง เอว เคลื่อนไหวไปมาข้างโน้นทีข้างนี้ทีตามจังหวะขณะเดินเป็นต้น (มักใช้แก่คนอ้วน) เช่น เดินย้ายพุง เดินย้ายเอว.
  63. ย้าว
    หมายถึง (โบ) น. เหย้า.
  64. ย้ำ,ย้ำ ๆ
    หมายถึง ก. พูดหรือทำซํ้า ๆ (เพื่อเน้นให้แน่น ให้กระชับ ให้มั่นคง) เช่น พูดยํ้า ยํ้าหัวตะปู. ว. อาการที่กัดเบา ๆ เพียงให้บุบหรือเป็นรอยช้ำ เช่น หมากัดย้ำ แต่ไม่เข้า เคี้ยวพอย้ำ ๆ.
  65. ย้ำหัวเห็ด
    หมายถึง ก. สอดนอตที่ปลายข้างหนึ่งบานลงในรูแผ่นโลหะ ๒ แผ่นที่ซ้อนให้รูตรงกัน ทำให้นอตร้อนจัดแล้วตอกย้ำให้ปลายบานอย่างดอกเห็ด ซึ่งเมื่อปล่อยให้เย็น นอตจะหดตัวรัดโลหะ ๒ แผ่นนี้ให้แนบกันสนิท.
  66. ย้ำเหยอ
    หมายถึง [-เหฺยอ] ว. เลอะเทอะ, หลงลืม.
  67. เย ๆ
    หมายถึง ว. เสียงร้องไห้ของเด็ก ๆ ที่ทอดเสียงยาว ๆ และไม่ใคร่หยุด เรียกว่า ร้องเย ๆ.
  68. เยง
    หมายถึง ก. กลัว, เกรง, ใช้ว่า แยง ก็มี.
  69. เยซู
    หมายถึง น. นามศาสดาของศาสนาคริสต์. (อ. Jesus).
  70. เยภุย,เยภุย-,เยภุยยะ
    หมายถึง [เยพุยยะ-] ว. มาก, ชุกชุม. (ป.).
  71. เยภุยนัย
    หมายถึง น. วิธีที่คนส่วนมากใช้. (ป. เยภุยฺยนย).
  72. เยภุยสิกา
    หมายถึง น. ความเห็นข้างมาก. (ป. เยภุยฺยสิกา).
  73. เยอ
    หมายถึง (ถิ่น) ว. ใหญ่ เช่น ผาเยอ.
  74. เยอ
    หมายถึง ก. ยกย่อง, ชมเชย.
  75. เยอรมัน
    หมายถึง น. ชื่อประเทศ ชนชาติ และภาษาของชาวยุโรปชาติหนึ่งที่อยู่ทางทิศตะวันตกของภาคพื้นยุโรป.
  76. เยอว
    หมายถึง คำต้นเสียงสำหรับบอกจังหวะพายเรือ.
  77. เยอะ
    หมายถึง น. เรียกแผลที่หนองไหลเปรอะเลอะ.
  78. เยอะ,เยอะ,เยอะแยะ
    หมายถึง ว. มากเหลือหลาย, ถมไป, เช่น อาหารมีเยอะ ข้าวของเยอะแยะ.
  79. เยา
    หมายถึง น. อาการที่ทองไม่แล่นติดต่อกันโดยตลอดในการหล่อ.
  80. เยา
    หมายถึง ว. เบา, อ่อน, น้อย เช่น ราคาเยา, มักใช้เข้าคู่กับคำ ย่อม เป็น ย่อมเยา เช่น ราคาย่อมเยา.
  81. เยาว,เยาว-,เยาว์
    หมายถึง [เยาวะ-, เยา] ว. อ่อนวัย, รุ่นหนุ่ม, รุ่นสาว, เช่น เยาว์วัย วัยเยาว์. (แผลงมาจาก ยุว).
  82. เยาวชน
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลอายุเกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์.
  83. เยาวน,เยาวน-
    หมายถึง [-วะนะ-] น. ความหนุ่ม, ความสาว, ความเป็นหนุ่มเป็นสาว. (ส. ยุวนฺ; ป. ยุว ว่า หนุ่ม, สาว).
  84. เยาวนะ
    หมายถึง [-วะ-] น. ชื่อชนชาติกรีก ซึ่งชาวอินเดียเรียกเพี้ยนมาจากคำ Ionia; ชื่อเรียกชาวไทยทางล้านนา, ยวน โยน หรือ โยนก ก็เรียก.
  85. เยาวพา
    หมายถึง [-วะ-] น. หญิงสาวสวย. (แผลงมาจาก ยุพา).
  86. เยาวพาณี
    หมายถึง [-วะ-] น. เทียนเยาวพาณี. (ดู เทียนเยาวพาณี).
  87. เยาวพาน
    หมายถึง [-วะพาน] น. ชายหนุ่ม. ว. หนุ่ม, รุ่น. (แผลงมาจาก ยุวาน).
  88. เยาวมาลย์
    หมายถึง น. หญิงสาวสวย.
  89. เยาวยอด
    หมายถึง ว. สวยที่สุด.
  90. เยาวราช
    หมายถึง น. ยุพราช, ราชโอรสที่ยังเยาว์พระชนม์.
  91. เยาวลักษณ์
    หมายถึง น. หญิงมีลักษณะสวย.
  92. เยาวเรศ
    หมายถึง น. นางกษัตริย์, หญิงสาวสวย.
  93. เยาะ
    หมายถึง ก. พูดหรือแสดงกิริยาให้เจ็บใจชํ้าใจ โดยย้ำถึงความเสียเปรียบ ความด้อยกว่า หรือความผิดพลาด เช่น เยาะว่า ไหนว่าเก่งนัก ทำไมสอบตก.
  94. เยาะเย้ย
    หมายถึง ก. ค่อนว่าหรือแสดงกิริยาซ้ำเติมให้ได้อาย ให้ช้ำใจเจ็บใจ ให้โกรธ.
  95. เยิง
    หมายถึง ว. ป่าเถื่อน. น. ป่า เช่น มาแต่เยิง.
  96. เยิง
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) ส. เรา. (ข.).
  97. เยิน
    หมายถึง ว. ยู่, ย่น, เช่น คมมีดเยิน ตีตะปูจนหัวเยิน, บานออกจนเสียรูป เช่น ไขตะปูควงจนหัวเยิน.
  98. เยินยอ
    หมายถึง ว. ยกยอ. ก. ยกย่อง.
  99. เยิบ,เยิบ ๆ
    หมายถึง ว. อาการของสิ่งที่แบนและยาวเมื่อรับน้ำหนักมาก ๆ จะไหวตัวขึ้นลงเป็นจังหวะเนิบ ๆ เช่น กระดานนอกชานอ่อนเยิบ หาบของมาเยิบ ๆ.
  100. เยิบยาบ
    หมายถึง ว. อาการไหวอยู่กับที่อย่างเนิบ ๆ (ใช้แก่สิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ หรือที่อ่อนไหวได้ในตัว) เช่น หลังคาสังกะสีที่ตะปูหลุดไม่หมดถูกลมพัดเยิบยาบ ลมพัดผ้าคลุมป้ายปลิวไหวเยิบยาบ, พะเยิบพะยาบ ก็ว่า.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ย (หน้าที่ 7)"