พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ม (หน้าที่ 8)

  1. มาตสรรย์
    หมายถึง [มาดสัน] น. ความตระหนี่; ความริษยา; ใช้ว่า มัตสรรย์ ก็มี. (ส. มาตฺสรฺย; ป. มจฺฉริย).
  2. มาตังคะ
    หมายถึง [-ตังคะ] น. มาตงค์, ช้าง. (ป.).
  3. มาตา
    หมายถึง น. แม่. (ป.; ส. มาตฺฤ).
  4. มาตามหะ
    หมายถึง [มาตามะหะ] (ราชา) น. ตา คือ พ่อของแม่. (ป., ส.).
  5. มาตามหัยกะ
    หมายถึง [-มะไหยะกะ] (ราชา) น. ตาทวด, พ่อของยาย. (ป. มาตา + มหยฺยก).
  6. มาตามหัยกา,มาตามหัยยิกา
    หมายถึง [-มะไหยะกา, -มะไหยิกา] (ราชา) น. ย่าทวด, ยายทวด. (ป. มาตา + มหยฺยิกา).
  7. มาตามหา
    หมายถึง [มาตามะหา] (ราชา) น. ยาย. (ป.).
  8. มาติกะ
    หมายถึง ว. ฝ่ายมารดา, ของมารดา. (ป.).
  9. มาติกา
    หมายถึง [มาดติกา] น. บาลีที่เป็นแม่บท เช่น สวดมาติกา, แม่บท; เหมือง, ทางนํ้าไหล. (ป.; ส. มาตฺฤกา).
  10. มาตี
    หมายถึง น. เหมือง, ทางนํ้าไหล. (ป.).
  11. มาตุ
    หมายถึง น. แม่. (ป.).
  12. มาตุคาม
    หมายถึง น. ผู้หญิง, เพศหญิง, (เป็นคำที่พระใช้เรียกผู้หญิง). (ป.).
  13. มาตุฆาต
    หมายถึง น. การฆ่าแม่. (ป.).
  14. มาตุจฉา
    หมายถึง น. ป้า (ญาติฝ่ายแม่), น้าผู้หญิง. (ป.).
  15. มาตุภูมิ
    หมายถึง น. บ้านเกิดเมืองนอน.
  16. มาตุรงค์,มาตุเรศ
    หมายถึง (กลอน) น. แม่.
  17. มาตุละ
    หมายถึง น. ลุง (ญาติฝ่ายแม่), น้าชาย, ใช้ มาตุลา ก็มี. (ป., ส.).
  18. มาตุลา
    หมายถึง น. มาตุละ.
  19. มาตุลานี
    หมายถึง น. ป้าสะใภ้, น้าสะใภ้. (ป., ส.).
  20. มาตุลุงค์
    หมายถึง น. มะงั่ว. (ป.).
  21. มาทนะ,มาทะ
    หมายถึง [มาทะนะ] น. เครื่องทำให้เมา, เครื่องทำให้รื่นเริง. (ส.).
  22. มาธยมิกะ
    หมายถึง [มาทะยะ-] น. ทางสายกลาง; ศูนยวาท. (ส. มาธฺยมิก).
  23. มาธุระ,มาธูระ
    หมายถึง (แบบ) ว. มธุระ, หวาน, ไพเราะ.
  24. มาธุสร
    หมายถึง [มาทุสอน] น. มธุสร, เสียงหวาน.
  25. มาน
    หมายถึง ก. มี เช่น มานพระบัณฑูร. (ข.).
  26. มาน
    หมายถึง น. ความถือตัว; ใจ, ดวงใจ, เช่น ดวงมาน. (ป., ส.).
  27. มาน
    หมายถึง (ถิ่น) ก. ตั้งท้อง เช่น มานลูก ข้าวมาน.
  28. มาน
    หมายถึง น. ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น มีถุงน้ำเกิดที่เยื่อบุช่องท้อง การอุดกั้นหลอดเลือดดำหรือทางเดินของน้ำเหลือง ตับแข็ง ลิ้นหัวใจพิการ ไตอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีน้ำสีเหลืองใสอยู่ในช่องท้อง อาจมีเพียงเล็กน้อยหรือมากถึง ๑๕-๒๐ ลิตร เป็นเหตุให้หน้าท้องโป่งพองจนเห็นได้ชัด น้ำหนักเพิ่ม แน่นท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร หายใจลำบาก เท้าบวม เป็นต้น.
  29. มานทะลุน
    หมายถึง น. โรคที่มีอาการบวมคล้ายโรคมาน แต่บวมทั่วทั้งตัว.
  30. มานพ
    หมายถึง [-นบ] น. คน. (ป.). (มาจากศัพท์ มนุ).
  31. มานะ
    หมายถึง น. ความพยายาม, ความตั้งใจจริง, ความพากเพียร, เช่น มีมานะอดทน มีมานะในการทำงาน; ความถือตัว. (ป.).
  32. มานะ
    หมายถึง น. การวัด, การนับ, อัตราวัด. (ป., ส. มาน).
  33. มานัต
    หมายถึง น. วินัยกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสให้เป็นภิกษุที่นับเข้าในหมู่สงฆ์ได้ เช่น สวดมานัต. (ป. มานตฺต).
  34. มานัส
    หมายถึง น. ใจ. ว. เกี่ยวกับใจ. (ป., ส. มานส).
  35. มานิต
    หมายถึง [-นิด] ว. ผู้ที่คนนับถือ, ผู้ที่คนยกย่อง. (ป., ส.).
  36. มานี
    หมายถึง น. คนมีมานะ. (ป., ส.).
  37. มานุษ,มานุษย-
    หมายถึง [มานุด, มานุดสะยะ-] น. คน, เพศคน. ว. เกี่ยวกับคน, ของคน. (ส.).
  38. มานุษยวิทยา
    หมายถึง [มานุดสะยะ-, มานุด-] น. วิชาว่าด้วยเรื่องตัวคน และสิ่งที่คนสร้างขึ้น. (อ. anthropology).
  39. มาบ
    หมายถึง น. บริเวณที่ลุ่มกว้างใหญ่ซึ่งอาจมีน้ำขังหรือไม่มีก็ได้.
  40. มาปกะ
    หมายถึง [-ปะกะ] น. ผู้ก่อสร้าง. (ป.).
  41. มาภา
    หมายถึง (แบบ) น. แสงจันทร์ เช่น มาพ่างมาภาเป็น ปิ่นแก้ว. (ยวนพ่าย). (ป. มา ว่า พระจันทร์ + อาภา ว่า แสงสว่าง).
  42. มาย
    หมายถึง ก. ตวง, นับ. (ป.).
  43. มายัง
    หมายถึง น. ดอกหมาก. (ช.).
  44. มายา
    หมายถึง น. มารยา, การลวง, การแสร้งทำ, เล่ห์กล. (ป., ส.).
  45. มายากร
    หมายถึง น. คนเล่นกล, คนแสดงกล.
  46. มายากล
    หมายถึง น. การเล่นกล, การแสดงกล.
  47. มายาการ
    หมายถึง น. ความเชื่อถือและการปฏิบัติที่มุ่งให้เกิดผลด้วยการใช้พลังหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือหลักลี้ลับ บังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ.
  48. มายาประสาน
    หมายถึง ดู กำแพงขาว.
  49. มายาวี
    หมายถึง น. ผู้มีมารยา, ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมทำให้ลุ่มหลง, เจ้าเล่ห์. (ป., ส.).
  50. มาร,มาร-
    หมายถึง [มาน, มาระ-, มานระ-] น. เทวดาจำพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ; ยักษ์; ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนาหมายถึงผู้กีดกันบุญกุศล มี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. (ป., ส.).
  51. มารค
    หมายถึง [มาก] น. ทาง เช่น ชลมารค สถลมารค. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
  52. มารคอหอย
    หมายถึง [มาน-] (ปาก) น. ผู้ที่ขัดผลประโยชน์ที่ผู้อื่นจะพึงมีพึงได้.
  53. มารชิ,มารชิต
    หมายถึง [มาระชิ, มาระชิด] น. “ผู้ชนะมาร” คือ พระพุทธเจ้า. (ป. มารชิ; ส. มารชิตฺ).
  54. มารดร,มารดา
    หมายถึง [มานดอน, มานดา] น. แม่. (ป. มาตา; ส. มาตฺฤ).
  55. มารผจญ
    หมายถึง [มาน-] ก. มารยกทัพมารบ, มารที่ยกทัพมาขัดขวางการบำเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้า; โดยปริยายหมายความว่า ขัดขวางไม่ให้สำเร็จประโยชน์.
  56. มารยา
    หมายถึง [มานยา] น. การลวง, การแสร้งทำ, เล่ห์กล, เช่น เจ้ามารยา มารยามาก ทำมารยา. (แผลงมาจากมายา).
  57. มารยาท
    หมายถึง [-ระยาด] น. มรรยาท, กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ. (ส. มรฺยาทา; ป. มริยาท).
  58. มารยาสาไถย
    หมายถึง น. การทำให้เขาหลงผิดหรือเข้าใจผิด เช่น เขาทำมารยาสาไถย.
  59. มารวิชัย
    หมายถึง [มาระ-, มาน-] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางควํ่าลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ว่า พระปางมารวิชัย, พระปางชนะมาร หรือ พระปางสะดุ้งมาร ก็เรียก. (ป.).
  60. มารศรี
    หมายถึง [มาระสี] (แบบ) น. นาง, นางงาม.
  61. มารษา
    หมายถึง [มานสา] น. คำปด, คำเท็จ, คำไม่จริง. (ส. แผลงมาจาก มฺฤษา).
  62. มารสังคม
    หมายถึง [มาน-] น. ผู้ที่เป็นภัยต่อสังคม.
  63. มารหัวขน
    หมายถึง [มาน-] (ปาก) น. ลูกที่อยู่ในท้องซึ่งยังไม่ปรากฏว่าใครเป็นพ่อ หรือไม่มีใครรับว่าเป็นพ่อ.
  64. มาระ
    หมายถึง ก. โกรธ. (ช.).
  65. มาราธิราช
    หมายถึง น. พญามาร. (ป.).
  66. มาริ
    หมายถึง ก. มา. (ช.).
  67. มาริต
    หมายถึง ว. ถูกฆ่าแล้ว. (ป., ส.).
  68. มารุต
    หมายถึง น. ลม. ว. เกี่ยวแก่ลม, เนื่องจากลม. (ส.; ป. มารุต, มาลุต).
  69. มารุมมาตุ้ม
    หมายถึง ว. มะรุมมะตุ้ม, กลุ้มรุมทำให้เกิดรำคาญ, เช่น เจ้าหนี้มามารุมมาตุ้มทวงหนี้กันใหญ่.
  70. มาลย์
    หมายถึง (แบบ) น. ดอกไม้, ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวง. (ป., ส. มาลฺย).
  71. มาลัย
    หมายถึง น. ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำดอกไม้ กลีบดอกไม้ และใบไม้ มาร้อยด้วยเข็มแล้วรูดออกมาใส่ด้ายผูกเป็นพวง มีลักษณะต่าง ๆ กัน, พวงมาลัย ก็เรียก. (เทียบทมิฬ มาไล).
  72. มาลัยชายเดียว
    หมายถึง น. มาลัยที่มีอุบะห้อยชายเพียงพวงเดียว, มาลัยมือ มาลัยข้อมือ หรือ มาลัยเปีย ก็เรียก.
  73. มาลัยชำร่วย
    หมายถึง น. มาลัยพวงเล็ก ๆ สำหรับให้เป็นของชำร่วย มีหลายแบบ เช่น มาลัยตุ้ม มาลัยตัวด้วง.
  74. มาลัยสองชาย
    หมายถึง น. มาลัยที่มี ๒ ชาย มีอุบะห้อยข้างละ ๑ พวง.
  75. มาลา
    หมายถึง น. ดอกไม้, ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สำหรับวางที่อนุสาวรีย์ พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ เรียกว่า พวงมาลา; หมวก (ราชาศัพท์ใช้ว่า พระมาลา); สร้อยคอ; สาย, แถว. (ป., ส.).
  76. มาลากรรม
    หมายถึง น. การช่างดอกไม้.
  77. มาลาการ
    หมายถึง น. ช่างทำดอกไม้. (ป., ส.).
  78. มาลาตี
    หมายถึง น. มะลิชนิดหนึ่ง. (ช.).
  79. มาลาเรีย
    หมายถึง น. ไข้จับสั่น.
  80. มาลินี
    หมายถึง น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๕ พยางค์; ผู้แต่งด้วยพวงดอกไม้ (เฉพาะเพศหญิง). (ป., ส.).
  81. มาลี
    หมายถึง (กลอน) น. ดอกไม้ทั่วไป.
  82. มาลี
    หมายถึง น. ผู้แต่งด้วยพวงดอกไม้, เพศหญิงใช้ว่า มาลินี. (ป.; ส. มาลินฺ).
  83. มาลุต
    หมายถึง [-ลุด] น. ลม. (ป.; ส. มารุต).
  84. มาศ
    หมายถึง น. ทอง; กำมะถัน.
  85. มาส
    หมายถึง ดู ราชมาษ, ราชมาส.
  86. มาส
    หมายถึง น. พระจันทร์, เดือน. (ป., ส.).
  87. มาสก
    หมายถึง [มา-สก] น. ชื่อมาตราเงินในครั้งโบราณ ๕ มาสก เป็น ๑ บาท. (ป.; ส. มาษก).
  88. มาหิส
    หมายถึง ว. เกี่ยวกับควาย, เนื่องจากควาย. (ป.; ส. มาหิษ).
  89. มาห์,ม่าห์
    หมายถึง น. ผี, ยักษ์, ผู้ไม่ใช่มนุษย์และดิรัจฉาน. (เทียบญวน หม่า).
  90. มาฬก
    หมายถึง [มา-ลก] น. พลับพลา, ปะรำ, โรงพิธี. (ป.).
  91. มาเหนือเมฆ
    หมายถึง (สำ) ก. มีความคิดหรือชั้นเชิงเหนือผู้อื่น; มาหรือปรากฏขึ้นโดยไม่คาดหมาย.
  92. มาแขก
    หมายถึง ก. แปลก, ประหลาด; จรมา, มาสู่.
  93. มาโนชญ์
    หมายถึง [-โนด] ว. มโนชญ์, เป็นที่พอใจ, งาม. (ส.).
  94. มำเลือง
    หมายถึง (กลอน) ว. เมลือง, งาม, รุ่งเรือง, เปล่งปลั่ง, สุกใส.
  95. มิ
    หมายถึง ว. ไม่ เช่น มิทราบ มิควร มิบังอาจ.
  96. มิ
    หมายถึง ก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้. (บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร.๕).
  97. มิค,มิค-,มิคะ
    หมายถึง [มิคะ, มิกคะ-] น. สัตว์ป่ามีกวางอีเก้งเป็นต้น. (ป.).
  98. มิคชาติ
    หมายถึง น. เนื้อ, หมู่เนื้อ.
  99. มิคลุท,มิคลุทกะ
    หมายถึง [-ลุด, -ลุดทะกะ] น. พรานเนื้อ, คนที่เที่ยวฆ่าสัตว์ในป่าเป็นอาชีพ. (ป. มิคลุทฺท, มิคลุทฺทก).
  100. มิคสัญญี
    หมายถึง น. ชื่อยุคหนึ่งที่มีแต่รบราฆ่าฟันเบียดเบียนกัน. (ป.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ม (หน้าที่ 8)"