พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ม (หน้าที่ 7)

  1. มัธยมา
    หมายถึง [มัดทะยะมา] ว. มัชฌิมา, ปานกลาง. (ส.).
  2. มัธยันห์
    หมายถึง [มัดทะยัน] น. เวลากลางวัน, เที่ยงวัน. (ส. มธฺยาหฺน).
  3. มัธยัสถ์
    หมายถึง [มัดทะยัด] ก. ใช้จ่ายอย่างประหยัด. (ส. มธฺยสฺถ ว่า ปานกลาง, ตั้งอยู่ในท่ามกลาง).
  4. มัน
    หมายถึง น. ชื่อเรียกไม้เถาหรือไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ที่หัวใช้เป็นอาหารได้.
  5. มัน
    หมายถึง น. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งในคนและสัตว์ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ มีไขมันอยู่ในตัว เช่น มันหมู มันไก่.
  6. มัน
    หมายถึง ก. เพลิน, ถูกอกถูกใจ, ออกรสออกชาติ, เช่น เกาเสียมัน.
  7. มัน
    หมายถึง ว. มีรสอย่างรสกะทิหรืออย่างถั่วลิสงคั่ว; เป็นเงา, ขึ้นเงา, เช่น เหงื่อออกหน้าเป็นมัน.
  8. มัน
    หมายถึง ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง สำหรับผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย มีเด็กเป็นต้นตามสถานะที่ควร สำหรับเรียกผู้อื่นอย่างไม่ยกย่อง และสำหรับเรียกสัตว์หรือสิ่งอื่นทั่ว ๆ ไปตามที่ควร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  9. มันขี้หนู
    หมายถึง ดู ขี้หนู ๑ (๒).
  10. มันดี
    หมายถึง น. ที่อาบนํ้า. ก. อาบนํ้า. (ช.).
  11. มันตา
    หมายถึง น. ความรู้, ปัญญา. (ป.).
  12. มันถะ
    หมายถึง น. ข้าวตูก้อน. (ป.).
  13. มันทิระ,มันทิราลัย
    หมายถึง น. มนเทียร, เรือนหลวง. (ป., ส.).
  14. มันนก
    หมายถึง น. ชื่อมันหลายชนิดในสกุล Dioscorea วงศ์ Dioscoreaceae เช่น ชนิด D. inopinata Prain et Burk. หัวกินได้.
  15. มันปลา
    หมายถึง ดู กันเกรา.
  16. มันปู
    หมายถึง ว. สีแดงเจือเหลืองกับดำ เช่น พระเครื่องเนื้อสีมันปู โลหะที่เก็บไว้นาน ๆ จะออกสีมันปู. น. เรียกข้าวเจ้าที่มีสีแดงคลํ้าว่า ข้าวมันปู.
  17. มันฝรั่ง
    หมายถึง น. ชื่อมันชนิด Solanum tuberosum L. ในวงศ์ Solanaceae ตาที่กำลังงอกจากหัวเป็นพิษ.
  18. มันมือ
    หมายถึง ก. อยากใช้มือเล่นหรือทำเป็นต้นอยู่เรื่อย ๆ.
  19. มันย่อง
    หมายถึง ว. มันจนมีน้ำมันเยิ้มหรือลอยเป็นฝาขึ้นมา.
  20. มันสมอง
    หมายถึง น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่น เป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก.
  21. มันเขี้ยว
    หมายถึง ก. อยากกัดอยากกินอยู่เรื่อย ๆ.
  22. มันเทศ
    หมายถึง น. ชื่อมันชนิด Ipomoea batatas (L.) Lam. ในวงศ์ Convolvulaceae ยอดทำให้สุกแล้วกินได้, พายัพเรียก มันแกว.
  23. มันเปลว
    หมายถึง น. มันที่ติดอยู่ที่พุงและลำไส้.
  24. มันเยิ้ม
    หมายถึง ว. มันมากจนแทบจะหยด.
  25. มันเสา
    หมายถึง น. ชื่อมันชนิด Dioscorea alata L. ในวงศ์ Dioscoreaceae เถามีครีบ หัวมีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กัน ผิวเรียบ, มันจาวมะพร้าว ก็เรียก.
  26. มันแกว
    หมายถึง น. ชื่อมันชนิด Pachyrhizus erosus (L.) Urban ในวงศ์ Leguminosae ใช้กินดิบ ๆ มีรสชืด ๆ หรือหวานน้อย ๆ เมล็ดเป็นพิษ, พายัพเรียก มันแกวลาว.
  27. มันแข็ง
    หมายถึง น. มันของหมูที่ติดอยู่กับหนัง.
  28. มันแปลบ
    หมายถึง ว. มันเป็นเงาวับ, มันปลาบ หรือ มันแผล็บ ก็ว่า.
  29. มันไส้
    หมายถึง ก. ชังนํ้าหน้า เช่น ยิ่งโกรธาหุนหันมันไส้. (ไชยเชฐ), หมั่นไส้ ก็ว่า.
  30. มับ
    หมายถึง ว. คำสำหรับประกอบกริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้ามับ ฉวยมับ หยิบมับ, หมับ ก็ว่า.
  31. มับ ๆ
    หมายถึง ว. อาการของปากที่หุบเข้าแล้วอ้าออกอย่างเร็ว, หมับ ๆ ก็ว่า.
  32. มัมมี่
    หมายถึง น. ศพอาบนํ้ายากันเน่าเปื่อยของชาวอียิปต์โบราณ. (อ. mummy).
  33. มัย
    หมายถึง น. ม้า, ลา, อูฐ. (ป., ส. มย).
  34. มัย
    หมายถึง ว. สำเร็จด้วย, แล้วด้วย, ประกอบด้วย, (ใช้ประกอบท้ายสมาส เช่น มโนมัย ว่า สำเร็จด้วยใจ, กุศลมัย ว่า แล้วด้วยกุศล, ตฤณมัย ว่า ประกอบด้วยหญ้า). (ป., ส. มย).
  35. มัลกะ
    หมายถึง [มันละกะ] น. ถ้วย, ขันนํ้า. (ป. มลฺลก).
  36. มัลละ
    หมายถึง [มันละ] น. นักมวย, มวยปลํ้า. (ป., ส.).
  37. มัลลิกา
    หมายถึง น. ดอกมะลิ. (ป., ส.).
  38. มัว,มัว ๆ
    หมายถึง ว. ไม่แจ่ม เช่น พระจันทร์มัว, ไม่กระจ่าง เช่น ข้อความมัว, ฝ้า เช่น กระจกมัว, ฟาง เช่น นัยน์ตามัว, ขมุกขมัว เช่น มืดมัว, ไม่มืดไม่สว่าง เช่น แสงมัว ๆ, หม่น เช่น สีมัว ๆ, ขุ่น, ไม่ผ่อง, เช่น ใจมัว; อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวพูด มัวคิด, มัวแต่ ก็ว่า.
  39. มัวซัว
    หมายถึง ว. ไม่ผ่องใส, ไม่แจ่มใส, ไม่เบิกบาน, ไม่สดชื่น, เช่น หูตามัวซัว ผ้าสีตกมัวซัว.
  40. มัวพะวง
    หมายถึง ว. มัวเป็นห่วงกังวล.
  41. มัวมอม
    หมายถึง ว. แปดเปื้อนด้วยสีดำ ๆ ตามร่างกาย.
  42. มัวหมอง
    หมายถึง ว. มีมลทิน, ไม่บริสุทธิ์.
  43. มัวเมา
    หมายถึง ว. หลงละเลิง, เมามัว ก็ว่า.
  44. มัวเมีย
    หมายถึง ก. งัวเงีย.
  45. มัวแต่
    หมายถึง ว. อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวแต่พูด มัวแต่คิด, มัว ก็ว่า.
  46. มัศยา
    หมายถึง [มัดสะหฺยา] น. ปลา. (ส. มตฺสฺย, มตฺสฺยา; ป. มจฺฉ, มจฺฉา).
  47. มัสดก
    หมายถึง [มัดสะดก] น. หัว, กระหม่อม; ยอด, ที่สุด. (ส. มสฺตก; ป. มตฺถก).
  48. มัสดุ,มัสตุ
    หมายถึง [มัดสะดุ, -ตุ] น. มัน, เปลวมัน; เนยเหลว. (ส. มสฺตุ; ป. มตฺถุ).
  49. มัสตาร์ด
    หมายถึง น. สารพิษร้ายแรงชนิดหนึ่ง มีชื่อทางเคมีว่า ไดคลอโรไดเอทิลซัลไฟด์ (dichloro diethylsulphide) มีสูตร (CH2CH2Cl)2 S ลักษณะเป็นของเหลวคล้ายนํ้ามัน เคยใช้ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และเรียกกันว่า แก๊สมัสตาร์ด.
  50. มัสตาร์ด
    หมายถึง น. เครื่องปรุงรสชนิดหนึ่ง ทำจากเมล็ดของพืชล้มลุกหลายชนิดในสกุล Brassica วงศ์ Cruciferae สีเหลือง รสเผ็ด. (อ. mustard).
  51. มัสมั่น
    หมายถึง [มัดสะหฺมั่น] น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง นํ้าแกงข้น เป็นแกงอย่างมุสลิม ใช้เนื้อหรือไก่เป็นต้นชิ้นโต ๆ ปรุงด้วยเครื่องเทศ มีรสเค็ม หวาน และออกเปรี้ยวเล็กน้อย.
  52. มัสยิด
    หมายถึง [มัดสะ-] น. สถานที่ซึ่งอิสลามิกชนใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม, สุเหร่า ก็เรียก.
  53. มัสรู่
    หมายถึง [มัดสะหฺรู่] น. ชื่อผ้าไหมมีริ้วเป็นสีต่าง ๆ, เข้มขาบไหม ก็เรียก. (ฮ. มัศรู; ม. มิสรู).
  54. มัสรู่
    หมายถึง [มัดสะหฺรู่] น. แกงเผ็ดอย่างมุสลิม.
  55. มัสลิน
    หมายถึง [มัดสะลิน] น. ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียดและบาง. (อ. muslin).
  56. มัสสุ
    หมายถึง น. หนวด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระมัสสุ. (ป.).
  57. มั่กขั้ก
    หมายถึง ว. ลํ่า (มักใช้แก่คำอ้วน).
  58. มั่ง
    หมายถึง ก. มี, มีมาก. (ปาก) ว. บ้าง เช่น ขอมั่งซี.
  59. มั่งคั่ง
    หมายถึง ว. มีทรัพย์มากมาย, มีทรัพย์ล้นเหลือ, มีทรัพย์มาก.
  60. มั่งมี
    หมายถึง ว. มีเงินมาก.
  61. มั่งมีในใจ แล่นใบบนบก
    หมายถึง (สำ) ก. คิดฝันในเรื่องที่เป็นไปไม่ได้, คิดสมบัติบ้า, สร้างวิมานในอากาศ.
  62. มั่น
    หมายถึง ว. แน่, แน่นอน, เช่น ใจมั่น; แน่น เช่น จับให้มั่น.
  63. มั่นคง
    หมายถึง ว. แน่นหนาและทนทาน เช่น เก็บของไว้ในห้องนั้นมั่นคงดี; ไม่กลับกลายเป็นอย่างอื่น เช่น ใจคอมั่นคง.
  64. มั่นหมาย
    หมายถึง ก. มุ่งหมายอย่างแน่วแน่ เช่น เขามั่นหมายว่าจะได้งานทำ, หมายมั่น ก็ว่า.
  65. มั่นเหมาะ
    หมายถึง ว. แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง เช่น พูดไว้เป็นมั่นเหมาะว่าวันนี้จะต้องพบกัน.
  66. มั่นใจ
    หมายถึง ก. แน่ใจ, เชื่อใจ, เช่น คราวนี้มั่นใจว่าจะต้องสอบได้.
  67. มั่ว
    หมายถึง ก. สุมกัน, รวมกัน, ออกัน, ประชุม; ปะปนกันจนแยกไม่ออก เช่น วางของมั่วไปหมด.
  68. มั่วมูล
    หมายถึง ก. มีมาก, ประชุมกันมาก.
  69. มั่วสุม
    หมายถึง ก. ชุมนุมกันเพื่อกระทำการในทางไม่ดี เช่น มั่วสุมเล่นการพนัน.
  70. มั้ม
    หมายถึง น. ปลาร้าญวน ทำด้วยปลาดิบหมักเกลือใส่ข้าวคั่ว เรียกว่า ปลามั้ม.
  71. มา
    หมายถึง ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย, ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคำกริยาแสดงอดีต เช่น นานมาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือแสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึงปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.
  72. มา
    หมายถึง น. พระจันทร์. (ป.; ส. มาสฺ).
  73. มาก
    หมายถึง ว. หลาย, ตรงกันข้ามกับ น้อย, เช่น คนมาก น้ำมาก กินมาก.
  74. มากขี้ควายหลายขี้ช้าง
    หมายถึง (สำ) ว. มากมายเสียเปล่า ใช้ประโยชน์ไม่ได้.
  75. มากมาย,มากมายก่ายกอง
    หมายถึง ว. มากเหลือหลาย เช่น มีเงินมากมายก่ายกอง, ล้นหลาม เช่น มีคนมาร่วมงานมากมาย.
  76. มากหน้าหลายตา
    หมายถึง ว. มากมาย (ใช้แก่คน) เช่น ผู้คนมากหน้าหลายตา.
  77. มากหมอมากความ
    หมายถึง (สำ) ว. หลายคนก็มีความเห็นแตกต่างกันเป็นหลายอย่างจนตกลงกันไม่ได้.
  78. มาคสิร,มาคสิร-,มาคสิระ
    หมายถึง [-คะสิระ] น. ชื่อดาวฤกษ์ที่ ๕; ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ, เดือนอ้าย ตกราวเดือนธันวาคม. (ป.).
  79. มาฆ,มาฆ-,มาฆะ,มาฆะ
    หมายถึง [-คะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๓ แห่งจันทรคติ ตกราวเดือนกุมภาพันธ์. (ป., ส.).
  80. มาฆบูชา
    หมายถึง น. การทำบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญเดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. (ป. มาฆปูชา).
  81. มาฆะ,มาฆะ,มฆะ,มฆา
    หมายถึง [-, มะคะ, มะคา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๐ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปโคมูตร วานร หรืองอนไถ, ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้ ก็เรียก. (ป., ส.).
  82. มางสะ
    หมายถึง น. เนื้อของคนและสัตว์. (ส. มำส; ป. มํส).
  83. มาณพ
    หมายถึง [-นบ] น. ชายหนุ่ม, ชายรุ่น. (ป., ส.).
  84. มาณวิกา
    หมายถึง [มานะ-] น. หญิงสาว, หญิงรุ่น. (ป., ส.).
  85. มาด
    หมายถึง น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๔ วา, ถ้าเพียงแต่ขุดไว้ แต่ยังไม่ได้เบิก เรียกว่า มาดเรือโกลน หรือ ลูกมาด, ถ้ามีประทุน เรียกว่า เรือมาดประทุน, ถ้ามีเก๋ง เรียกว่า เรือมาดเก๋ง.
  86. มาด
    หมายถึง (ปาก) น. ท่าทาง เช่น มาดเขาดี วางมาด.
  87. มาด
    หมายถึง ก. มุ่ง, หมายไว้, คาดไว้, มักใช้เข้าคู่กับคำ มุ่ง เป็น มุ่งมาด.
  88. มาดา
    หมายถึง น. แม่. (ป. มาตา; ส. มาตฺฤ).
  89. มาตงค์
    หมายถึง น. ช้าง. (ป. มาตงฺค).
  90. มาตร,มาตร,มาตร-,มาตร-
    หมายถึง [มาด] ว. สักว่า. สัน. สักว่า, แม้ว่า. (ส. มาตฺร; ป. มตฺต).
  91. มาตร,มาตร,มาตร-,มาตร-
    หมายถึง [มาด, มาดตฺระ-] น. เครื่องสำหรับวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตรน้ำ มาตรไฟฟ้า, มิเตอร์ ก็ว่า. (ส. มาตฺร; ป. มตฺต).
  92. มาตรการ
    หมายถึง [มาดตฺระ-] น. วิธีการที่ตั้งเป็นกฎ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือกฎหมายเป็นต้น เช่น ใช้มาตรการเด็ดขาด วางมาตรการในการปราบโจรผู้ร้าย; วิธีการที่จะปรับเข้าไปสู่ผลสำเร็จ เช่น วางมาตรการในการดำเนินงาน.
  93. มาตรฐาน
    หมายถึง [มาดตฺระ-] น. สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ยังไม่เข้ามาตรฐาน.
  94. มาตรว่า
    หมายถึง [มาด-] สัน. หากว่า, ถ้าว่า.
  95. มาตรา
    หมายถึง [มาดตฺรา] น. หลักกำหนดการวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกดจัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.
  96. มาตราพฤติ
    หมายถึง น. ฉันท์ที่กำหนดด้วยมาตรา คือ กำหนดคำในฉันท์แต่ละคำเป็นมาตราส่วน เช่น คำครุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๒ มาตรา คำลหุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๑ มาตรา.
  97. มาตราส่วน
    หมายถึง น. อัตราส่วนระหว่างระยะห่างในแผนที่หรือภาพเป็นต้น กับระยะห่างจริงหรือกับระยะห่างบนแผนที่หรือภาพอื่น.
  98. มาตรแม้น
    หมายถึง [มาด-] สัน. หากว่า, แม้ว่า, เช่น มาตรแม้นดวงใจอยากได้คู่.
  99. มาตฤ
    หมายถึง [-ตฺริ] น. มารดา, แม่. (ส. มาตฺฤ; ป. มาตา).
  100. มาตฤกะ
    หมายถึง [-ตฺริกะ] ว. มาจากแม่หรือเกี่ยวกับแม่, ข้างแม่, ฝ่ายแม่. (ส.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ม (หน้าที่ 7)"