พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ม (หน้าที่ 6)

  1. มักกะสัน
    หมายถึง น. ชื่อชนชาติชาวอินโดนีเซียในมากัสซาร์ตอนใต้เกาะเซเลบีส, โดยปริยายหมายความว่า มีรูปร่างใหญ่โต ดุร้าย น่าเกลียดน่ากลัว เช่น รูปร่างอย่างกับยักษ์มักกะสัน.
  2. มักกะโรนี
    หมายถึง น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งสาลีเป็นเส้นกลวงยาวหรือเป็นรูปอื่น ๆ เวลาจะนำมาปรุงต้องต้มให้สุก มักใช้ผัดหรือทำแกงจืด, มะกะโรนี ก็เรียก. (อ. macaroni).
  3. มักขะ
    หมายถึง น. ความลบหลู่คุณท่าน (เป็นประการหนึ่งในอุปกิเลส ๑๖). (ป.).
  4. มักขิกา,มักขิกาชาติ
    หมายถึง น. แมลงวัน. (ป.).
  5. มักคุ้น,มักจี่
    หมายถึง ก. ชอบพอกัน, คุ้นเคยกัน, ใช้ว่า รู้จักมักคุ้น รู้จักมักจี่.
  6. มักง่าย
    หมายถึง ก. มีนิสัยชอบเอาแต่ความสะดวกเข้าว่า.
  7. มักจะ
    หมายถึง ว. โดยมาก, ค่อนข้าง, เช่น คนเกิดวันศุกร์มักจะปากหวาน.
  8. มักฏกะ
    หมายถึง [มักกะตะกะ] (แบบ) น. แมงมุม. (ป. มกฺกฏก; ส. มรฺกฏก).
  9. มักฏะ
    หมายถึง [มักกะตะ] (แบบ) น. ลิง. (ป. มกฺกฏ; ส. มรฺกฏ).
  10. มักน้อย
    หมายถึง ก. ปรารถนาน้อย, สันโดษ.
  11. มักมาก
    หมายถึง ก. โลภมาก, ปรารถนามาก (ใช้เฉพาะในทางกามคุณ).
  12. มักใหญ่
    หมายถึง ก. ใฝ่สูง อยากเป็นใหญ่เป็นโต, มักใช้เข้าคู่กับคำ ใฝ่สูง เป็น มักใหญ่ใฝ่สูง.
  13. มักได้
    หมายถึง ก. เห็นแก่ได้.
  14. มัค,มัค-,มัคคะ
    หมายถึง [มักคะ-] (แบบ) น. ทาง. (ดู มรรค). (ป. มคฺค; ส. มรฺค).
  15. มัคคุเทศก์
    หมายถึง น. ผู้นำทาง, ผู้ชี้ทาง, ผู้บอกทาง; ผู้นำเที่ยว. (ป. มคฺค + อุทฺเทสก).
  16. มัคนายก
    หมายถึง น. “ผู้นำทาง” คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ป. มคฺค + นายก).
  17. มัคสิระ
    หมายถึง [-คะสิระ] น. ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ, เดือนอ้ายตกราวเดือนธันวาคม. (ป. มคฺคสิร, มาคสิร; ส. มารฺคศิรสฺ).
  18. มัฆวา,มัฆวาน
    หมายถึง น. พระอินทร์. (ป. มฆวา, มฆวนฺตุ; ส. มฆวนฺ).
  19. มังกง
    หมายถึง น. ชื่อปลาชนิด Mystus gulio ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ หัวแบนลง ปากอยู่ตํ่าที่ตอนปลายของหัว ครีบหลังตอนที่ ๒ ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อมีขนาดเล็ก ลำตัวและครีบมีเพียงพื้นสีนํ้าตาลคลํ้าหรือเทาดำ มีชุกชุมทั่วไปตามแหล่งนํ้าจืดใกล้ทะเล บางครั้งจับได้ในนํ้ากร่อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, แขยงหนู ก็เรียก.
  20. มังกร
    หมายถึง น. กุ้งมังกร. (ดู หัวโขน ๓).
  21. มังกร
    หมายถึง น. สัตว์ในนิยายจีน รูปร่างคล้ายงู แต่มีตีน มีเขา; ชื่อกลุ่มดาวรูปมังกร เรียกว่า ราศีมังกร เป็นราศีที่ ๙ ในจักรราศี.
  22. มังกร
    หมายถึง น. ชื่อปลาไหลทะเลในสกุล Muraenesox วงศ์ Muraenesocidae ลำตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหางแบนข้าง ไม่มีเกล็ด ปากกว้าง จะงอยปากบนยาวลํ้ากรามล่าง ฟันคม แข็งแรง ครีบอกใหญ่ พื้นลำตัวและครีบสีนํ้าตาลอ่อนปนเหลืองหรือคลํ้า ด้านท้องสีขาวขอบครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร, ยอดจาก เงี้ยว หลด หรือ ไหล ก็เรียก.
  23. มังกุ
    หมายถึง ว. เก้อ, กระดาก. (ป.).
  24. มังกุ
    หมายถึง น. เรือที่มีกระดูกงูใหญ่ รูปเหมือนเรือโขมดยา หัวเป็น ๓ เส้า เช่น เอาหัวเป็นมังกุ เอาท้ายเป็นมังกร, แต่มักใช้เพี้ยนไปเป็น มงกุฎ.
  25. มังคละ
    หมายถึง (แบบ) น. มงคล. (ป., ส.).
  26. มังคุด
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia mangostana L. ในวงศ์ Guttiferae ผลกลม เมื่อแก่สีแดงคลํ้า เปลือกมีรสฝาดใช้ทำยาได้ เนื้อในขาว รสหวานอมเปรี้ยว.
  27. มังค่า
    หมายถึง ว. คำประกอบคำ ฝรั่ง ว่า ฝรั่งมังค่า เพี้ยนมาจาก พังคะ ซึ่งเป็นชื่อแคว้นเบงกอล.
  28. มังตาน
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Schima wallichii (DC.) Korth. ในวงศ์ Theaceae เปลือกชั้นในระคายผิวหนังทำให้เป็นเม็ดผื่นคัน ใช้เบื่อปลาได้, ปักษ์ใต้เรียก พันตัน.
  29. มังส,มังส-,มังสะ,มางสะ
    หมายถึง น. เนื้อของคนและสัตว์. (ป.).
  30. มังสวิรัติ
    หมายถึง น. การงดเว้นกินเนื้อสัตว์, เรียกอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ มีแต่พืชผัก ว่า อาหารมังสวิรัติ.
  31. มังสี
    หมายถึง น. พานรูปรีใช้รองสังข์รดนํ้าเป็นต้น.
  32. มังสี
    หมายถึง (กลอน) ว. เนื้องาม, ผิวงาม, เช่น เฉกโฉมแม่มังสี เสาวภาคย์ กูเอย. (นิ. นรินทร์).
  33. มังหงัน
    หมายถึง น. ดอกมะพร้าว. (ช.).
  34. มัจจะ
    หมายถึง น. ผู้ที่ต้องตาย ได้แก่พวกมนุษย์ ดิรัจฉาน. (ป.).
  35. มัจจุ
    หมายถึง น. ความตาย. (ป.; ส. มฺฤตฺยุ).
  36. มัจจุราช
    หมายถึง น. “เจ้าแห่งความตาย” คือ พญายม. (ป.).
  37. มัจฉระ
    หมายถึง ว. ริษยา; ตระหนี่, เห็นแก่ตัว. (ป.; ส. มตฺสร).
  38. มัจฉริยะ
    หมายถึง น. ความตระหนี่. (ป.; ส. มาตฺสรฺย).
  39. มัจฉรี
    หมายถึง น. คนตระหนี่. (ป.; ส. มตฺสรินฺ).
  40. มัจฉะ,มัจฉา
    หมายถึง น. ปลา. (ป. มจฺฉ; ส. มตฺสฺย).
  41. มัจฉาชาติ
    หมายถึง น. พวกปลา.
  42. มัช,มัช-,มัชชะ
    หมายถึง [มัดชะ-] น. นํ้าเมา, ของเมา. (ป. มชฺช).
  43. มัชชาระ
    หมายถึง [มัดชาระ] น. แมว. (ป.; ส. มารฺชาร).
  44. มัชฌ,มัชฌ-
    หมายถึง [มัดชะ-] น. ท่ามกลาง. (ป.; ส. มธฺย).
  45. มัชฌันติก,มัชฌันติก-
    หมายถึง [มัดชันติกะ-] น. เวลาเที่ยงวัน, คู่กับ วิมัชฌันติก ว่า เวลาเที่ยงคืน. (ป.).
  46. มัชฌันติกสมัย
    หมายถึง น. เวลาเที่ยงวัน. (ป.).
  47. มัชฌิม,มัชฌิม-
    หมายถึง [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-, มัดชิม-] ว. ปานกลาง. (ป. มชฺฌิม).
  48. มัชฌิมชนบท
    หมายถึง น. ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุมของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.
  49. มัชฌิมนิกาย
    หมายถึง น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๒ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดปานกลาง รวบรวมพระสูตรขนาดปานกลางไว้ในหมวดนี้. (ป.).
  50. มัชฌิมบุรุษ
    หมายถึง น. ชายที่มีวัยปานกลาง, ชายที่มีอายุและกำลังปานกลาง.
  51. มัชฌิมประเทศ
    หมายถึง [มัดชิมะ-, มัดชิม-] น. ประเทศอินเดีย, ตามแบบหมายถึงอินเดียตอนกลาง.
  52. มัชฌิมภูมิ
    หมายถึง [-พูม] น. ภูมิหรือชั้นของคนชั้นกลาง, ในคณะสงฆ์หมายถึงภิกษุที่มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕, ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ, และชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).
  53. มัชฌิมยาม
    หมายถึง [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. (ป.).
  54. มัชฌิมวัย
    หมายถึง [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. วัยกลางคน.
  55. มัชฌิมา
    หมายถึง ว. ปานกลาง, ไม่ยิ่งไม่หย่อน, เช่น พอเป็นมัชฌิมา. (ราชา) น. นิ้วกลาง เรียกว่า พระมัชฌิมา. (ป.; ส. มธฺยมา).
  56. มัชฌิมาปฏิปทา
    หมายถึง น. ทางสายกลาง. (ป.).
  57. มัชวิรัติ
    หมายถึง น. การงดเว้นของมึนเมา. (ป. มชฺชวิรติ).
  58. มัญจกะ,มัญจา
    หมายถึง [มันจะกะ, มันจา] น. เตียง, ที่นอน. (ป., ส. มญฺจ, มญฺจก).
  59. มัญชิษฐะ,มัญชิษฐา
    หมายถึง [มันชิดถะ, มันชิดถา] น. ฝาง. (ส.; ป. มญฺเชฏฺ).
  60. มัญชีร,มัญชีร-
    หมายถึง [มันชีระ-] น. กำไลเท้า. (ส.).
  61. มัญชุ
    หมายถึง ว. ไพเราะ. (ป., ส.).
  62. มัญชุสา,มัญชูสา
    หมายถึง น. ลุ้ง, หีบ. (ป.).
  63. มัญเชฏฐะ
    หมายถึง ว. สีฝาง, สีแสดแก่. (ป.; ส. มญฺชิษฺ).
  64. มัญเชฏฐะ,มัญเชฏฐะ,มัญเชฏฐิกา
    หมายถึง น. ฝาง. (ป., ส. มญฺชิษฺา).
  65. มัญเชฏฐิกากร
    หมายถึง น. ส่วยฝาง. (ป.).
  66. มัญเชียร
    หมายถึง น. กำไลเท้า. (ส. มญฺชีร).
  67. มัฏฐะ
    หมายถึง ว. เกลี้ยง. (ป. มฏฺ; ส. มฺฤษฺฏ).
  68. มัณฑ,มัณฑ-
    หมายถึง น. มณฑ์, ของที่เป็นมัน; นํ้าเมา, สุรา. (ป.; ส. มณฺฑา).
  69. มัณฑน,มัณฑน-,มัณฑนา
    หมายถึง [มันทะนะ-] น. เครื่องประดับ; การแต่ง. (ป., ส.).
  70. มัณฑนศิลป์
    หมายถึง น. ศิลปะการออกแบบและตกแต่งผลิตกรรมหรืองานช่างต่าง ๆ.
  71. มัณฑะเลย์
    หมายถึง น. มัณฑะเลย์ เป็นอดีตเมืองหลวง และเมืองใหญ่อันดับที่สองของพม่ารองจากนครย่างกุ้ง ตั้งอยู่ในเขตมัณฑะเลย์ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี ก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้ามินดง โดยตั้งชื่อตามภูเขามัณฑะเลย์ที่อยู่ใกล้เคียง
  72. มัณฑุก,มัณฑุก-
    หมายถึง [มันทุกะ-] น. กบ (สัตว์). (ป., ส. มณฺฑูก).
  73. มัด
    หมายถึง ก. ผูกรัดเข้าด้วยกัน, ผูกรัดให้แน่น. น. ลักษณนามเรียกของบางอย่างที่ผูกรัดเข้าด้วยกัน เช่น ไต้มัดหนึ่ง ฟืน ๒ มัด.
  74. มัดจำ
    หมายถึง (กฎ) น. สิ่งที่ให้ไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากันขึ้นแล้ว และเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย.
  75. มัดมือชก
    หมายถึง (สำ) ก. บังคับหรือใช้วิธีการใด ๆ ให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในภาวะจำยอมโดยไม่มีทางต่อสู้.
  76. มัดหมี่
    หมายถึง น. กรรมวิธีในการทอผ้าอย่างหนึ่ง เอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายต่าง ๆ ตามที่มัดไว้, เรียกผ้าที่ทอด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า ผ้ามัดหมี่, หมี่ ก็เรียก.
  77. มัดหมู
    หมายถึง น. ท่ากระโดดนํ้าอย่างหนึ่ง เวลากระโดดงอเข่าทั้ง ๒ ขึ้นมา แล้วเอามือทั้ง ๒ รวบเข่า ทิ้งก้นลงไป, ทิ้งมะพร้าวห้าว ก็ว่า.
  78. มัดหวาย
    หมายถึง น. เรียกลายนิ้วมือที่ไม่ขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างก้นหอยว่า ลายมัดหวาย.
  79. มัดเชื้อเพลิง
    หมายถึง น. คบไฟ, คบเพลิง.
  80. มัตตะ
    หมายถึง น. ประมาณ. (ป.; ส. มาตฺร).
  81. มัตตะ
    หมายถึง ก. เมา, มึนเมา. (ป.; ส. มาตฺร).
  82. มัตตัญญู
    หมายถึง น. ผู้รู้ประมาณคือความพอเหมาะพอดี. (ป.).
  83. มัตตา
    หมายถึง น. มาตรา. (ป. มตฺต; ส. มาตฺรา).
  84. มัตติกา
    หมายถึง น. ดิน, ดินเหนียว. (ป. มตฺติกา; ส. มฺฤตฺติกา).
  85. มัตถกะ
    หมายถึง [มัดถะกะ] น. หัว, กระหม่อม; ยอด, ที่สุด. (ป. มตฺถก; ส. มสฺตก).
  86. มัตถลุงค์
    หมายถึง [มัดถะลุง] น. มันสมอง. (ป.).
  87. มัตสยะ,มัตสยา
    หมายถึง [มัดสะยะ, มัดสะหฺยา] น. ปลา. (ส. มตฺสฺย; ป. มจฺฉ).
  88. มัตสรรย์
    หมายถึง [มัดสัน] น. ความตระหนี่; ความริษยา. (ส. มาตฺสรฺย; ป. มจฺฉริย).
  89. มัตสระ
    หมายถึง [มัดสะระ] ว. ตระหนี่, เห็นแก่ตัว, ริษยา. (ส. มตฺสร; ป. มจฺฉร).
  90. มัตสริน
    หมายถึง [มัดสะริน] น. คนตระหนี่. (ส. มตฺสรินฺ; ป. มจฺฉรี).
  91. มัททวะ
    หมายถึง น. ความอ่อนโยน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม).
  92. มัทนะ
    หมายถึง [มัดทะนะ] น. การยํ่ายี, การบด, การทำลาย. (ป. มทฺทน; ส. มรฺทน).
  93. มัทนะ
    หมายถึง [มัดทะนะ] น. กามเทพ. (ป., ส. มทน).
  94. มัทนียะ
    หมายถึง [มัดทะนียะ] ว. เป็นที่ตั้งแห่งความเมา, ที่ชวนให้เมา. (ป. มทนีย).
  95. มัทยะ
    หมายถึง [มัดทะยะ] น. นํ้าเมา, เหล้า. ว. ซึ่งทำให้เมา, ซึ่งทำให้รื่นเริงยินดี. (ส., ป. มชฺช).
  96. มัธย,มัธย-
    หมายถึง [มัดทะยะ-] ว. กลาง, ปานกลาง, พอดี, เป็นกลาง, ระหว่างกลาง. (ส.; ป. มชฺฌิม).
  97. มัธยฐาน
    หมายถึง (คณิต) น. ชื่อเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดมุมของรูปสามเหลี่ยมกับจุดกึ่งกลางของด้านที่ตรงข้ามกับมุมนั้น.
  98. มัธยม,มัธยม-
    หมายถึง [มัดทะยม, มัดทะยมมะ-] ว. กลาง, ปานกลาง. (ส.).
  99. มัธยมกาล
    หมายถึง น. เวลาของตำบลใดตำบลหนึ่งที่ทางการบัญญัติให้ใช้เป็นเวลากลางสำหรับประเทศ.
  100. มัธยมศึกษา
    หมายถึง [มัดทะยมมะ-, มัดทะยม-] น. การศึกษาระหว่างประถมศึกษากับอุดมศึกษา.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ม (หน้าที่ 6)"