พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ม (หน้าที่ 2)

  1. มนุชาธิป
    หมายถึง น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
  2. มนุญ
    หมายถึง ว. เป็นที่พอใจ, งาม. (ป. มนุญฺ).
  3. มนุษย,มนุษย-,มนุษย์
    หมายถึง [มะนุดสะยะ-, มะนุด] น. สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล, สัตว์ที่มีจิตใจสูง, คน. (ส.; ป. มนุสฺส).
  4. มนุษยชาติ
    หมายถึง [มะนุดสะยะ-, มะนุดสะ-] น. จำพวกคน, หมู่มนุษย์. (ส.).
  5. มนุษยธรรม
    หมายถึง น. ธรรมของคน, ธรรมที่มนุษย์พึงมีต่อกัน มีเมตตากรุณาเป็นต้น.
  6. มนุษยศาสตร์
    หมายถึง [มะนุดสะยะ-, มะนุดสาด] น. วิชาว่าด้วยคุณค่าทางจิตใจและงานของคน มีศิลปะ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศาสนา และปรัชญา. (ส. มนุษฺย + ศาสฺตฺร). (อ. humanities).
  7. มนุษยสัมพันธ์
    หมายถึง [มะนุดสะยะ-, มะนุดสำพัน] น. ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน.
  8. มนุษยเทพ
    หมายถึง น. กษัตริย์. (ส.).
  9. มนุษยโลก
    หมายถึง [มะนุดสะยะ-, มะนุดสะ-] น. โลกมนุษย์. (ส.).
  10. มนุษย์กบ
    หมายถึง น. คนที่ฝึกดำนํ้าได้นาน ๆ จนชำนาญโดยอาศัยหน้ากาก รองเท้าคล้ายตีนกบและอุปกรณ์ช่วยการหายใจใต้นํ้า.
  11. มนุษย์มนา
    หมายถึง (ปาก) น. ผู้คน เช่น ไม่เห็นมีมนุษย์มนาสักคน, คนทั่ว ๆ ไป เช่น แต่งตัวไม่เป็นมนุษย์มนา. (ส.).
  12. มนุษย์อวกาศ
    หมายถึง น. คนที่ฝึกจนมีความชำนาญเพื่อเดินทางออกนอกบรรยากาศของโลก.
  13. มนุสาร,มนูสาร,มโนสาร
    หมายถึง น. ชื่อคัมภีร์กฎหมายมนูธรรมศาสตร์ฉบับย่อ.
  14. มนู
    หมายถึง น. ชื่อพระผู้สร้างมนุษยชาติและปกครองโลก มี ๑๔ องค์ เรียงกันเป็นยุค ๆ ไป, ยุคหนึ่งเรียกว่า มนวันดร นานกว่า ๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี องค์แรก คือ พระสวายมภูวะ พระมนูองค์นี้ถือกันว่าเป็นผู้ทรงออกกฎหมายหรือธรรมศาสตร์ซึ่งยังมีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้เรียกว่า มนุสัมหิตา หรือ มนุสมฺฤติ, เพราะฉะนั้น คำ มนู จึงหมายถึงกฎหมายก็ได้ เช่น มนูกิจ. (ส. มนุ).
  15. มนเทียร
    หมายถึง [มนเทียน] น. เรือนหลวง ใช้ว่า พระราชมนเทียร, โบราณใช้ว่า พระราชมณเฑียร. (ป., ส. มนฺทิร).
  16. มนเทียรบาล
    หมายถึง [มนเทียนบาน] น. การปกครองภายในพระราชฐาน, เรียกข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบการปกครองในราชสำนัก ว่า กฎมนเทียรบาล; ผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในพระราชฐาน, โบราณใช้ว่า มณเฑียรบาล.
  17. มมังการ
    หมายถึง [มะมังกาน] น. ความถือว่าเป็นของเรา. (ป.).
  18. มมาก
    หมายถึง [มะ-] น. แมลงหวี่. (เทียบ ข. มมาจ ว่า ตัวชีปะขาว).
  19. มยุร,มยุร-,มยุระ
    หมายถึง [มะยุระ-] น. นกยูง, ใช้ว่า มยูร ก็มี. (ป., ส. มยูร).
  20. มยุรคติ
    หมายถึง [มะยุระคะติ] น. ท่าทางของนกยูง. (ส. มยูรคติ).
  21. มยุรฉัตร
    หมายถึง น. พนมหางนกยูง หรือเครื่องกั้นบังเป็นชั้น ๆ ทำด้วยหางนกยูง เป็นเครื่องสูง ใช้ในงานพิธีโสกันต์.
  22. มยุรอาสน์
    หมายถึง น. “พระผู้มีนกยูงเป็นอาสนะ” หมายถึง พระขันทกุมารหรือพระสกันทกุมาร เพราะพระขันทกุมารทรงมีนกยูงเป็นพาหนะ.
  23. มยุรา,มยุเรศ
    หมายถึง [มะ-] (กลอน) น. นกยูง.
  24. มยุรี
    หมายถึง [มะ-] น. นกยูงตัวเมีย. (ป.).
  25. มยูขะ
    หมายถึง น. รัศมี. (ป., ส.).
  26. มยูร
    หมายถึง [มะยูน] น. นกยูง. (ป., ส.).
  27. มร,มร-
    หมายถึง [มะระ-, มอน-] น. ความตาย. (ป.).
  28. มรกต
    หมายถึง [มอระกด] น. ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในจำพวกนพรัตน์ มีสีเขียว.
  29. มรคา
    หมายถึง [มอระคา] น. ทาง, ช่อง, ถนน. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
  30. มรฑป
    หมายถึง [มอระดบ] น. มณฑป เช่น โบสถ์ระเบียงมรฑปพื้น ไพหาร. (นิ. นรินทร์). (ป. มณฺฑป).
  31. มรณ,มรณ-,มรณ์,มรณะ
    หมายถึง [มอระนะ-, มะระนะ-, มอน, มอระนะ] น. ความตาย, การตาย. (ป., ส.). ก. ตาย.
  32. มรณกรรม
    หมายถึง [มอระนะกำ] น. ความตาย.
  33. มรณธรรม
    หมายถึง [มะระนะทำ] ว. มีความตายเป็นธรรมดา. (ป.).
  34. มรณบัตร
    หมายถึง [มอระนะบัด] (กฎ) น. หนังสือสำคัญที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายออกให้เป็นหลักฐานแสดงรายการคนตายแก่ผู้แจ้ง.
  35. มรณภัย
    หมายถึง [มะระนะไพ, มอระนะไพ] น. ความรู้สึกกลัวต่อความตาย, ภัยที่เป็นอันตรายถึงตาย. (ป.).
  36. มรณภาพ
    หมายถึง [มอระนะพาบ] น. ความตาย. ก. ตาย (ใช้แก่พระสงฆ์).
  37. มรณันติก,มรณันติก-
    หมายถึง [มะระนันติกะ-] ว. มีความตายเป็นที่สุด. (ป. มรณ + อนฺติก).
  38. มรณานต์
    หมายถึง [มะระนาน] ว. จนกว่าจะตาย. (ส.).
  39. มรดก
    หมายถึง [มอระ-] น. สิ่งที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษหรือที่สืบทอดมาแต่บรรพกาล; (กฎ) ทรัพย์สินทุกชนิดตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย เรียกรวม ๆ ว่า กองมรดก.
  40. มรรค-
    หมายถึง [มักคะ-] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
  41. มรรค
    หมายถึง [มัก] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
  42. มรรคนายก
    หมายถึง [มักคะนายก] น. “ผู้นำทาง” คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ส. มารฺค + นายก).
  43. มรรคผล
    หมายถึง (ปาก) น. ผล, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่เป็นมรรคผล ไม่ได้มรรคผลอะไร.
  44. มรรคา
    หมายถึง [มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
  45. มรรตยะ,มรรตัย,มัตตัย,มัตยะ
    หมายถึง [มันตะยะ, มันไต, มัดไต, มัดตะยะ] น. ผู้ที่ต้องตาย, ได้แก่ พวกมนุษย์ และสัตว์ดิรัจฉาน, คู่กับ อมร ผู้ไม่ตาย คือ เทวดา. (ส. มรฺตฺย; ป. มจฺจ).
  46. มรรทนะ
    หมายถึง [มัดทะนะ] น. การบด, การถู; การทำให้เจ็บ, การยํ่ายี, การทำลาย. (ส. มรฺทน; ป. มทฺทน).
  47. มรรยาท
    หมายถึง [มันยาด] น. กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ, มารยาท ก็ว่า. (ส. มรฺยาทา; ป. มริยาท).
  48. มรรษ,มรรษะ
    หมายถึง [มัด, มัดสะ] น. ความเพียร, ความอดทน. ก. อดทน. (ส. มรฺษ).
  49. มรสุม
    หมายถึง [มอระสุม] น. คราว; คราวลม, คราวพายุ; ลมฝน; ชื่อพายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก, โดยปริยายหมายถึงความยุ่งยากเดือดร้อนที่เกิดในบางช่วงชีวิต เช่น มรสุมชีวิต. (เทียบอาหรับ mausim).
  50. มรัมเทศ
    หมายถึง [มะรำมะเทด] น. ประเทศพม่า. (ป. มรมฺมเทส).
  51. มรานควาน
    หมายถึง [มะรานคฺวาน] ก. รบกวน, ทำให้รำคาญ. (ข. เมฺรญคงฺวาล).
  52. มริจ
    หมายถึง [มะริด] น. พริกไทย. (ส. มริจ, มรีจ; ป. มริจฺจ).
  53. มริยาท
    หมายถึง (แบบ) น. มรรยาท. (ป.; ส. มรฺยาทา).
  54. มรีจิ
    หมายถึง น. พยับแดด, แสงแดด. (ป., ส.).
  55. มรุ
    หมายถึง น. เทวดาพวกหนึ่ง. (ป.; ส. มรุต).
  56. มรุ
    หมายถึง น. ทะเลทราย, ที่กันดารนํ้า. (ป., ส.).
  57. มรุต
    หมายถึง น. เจ้าแห่งพายุ, เจ้าแห่งลม; เทวดาพวกหนึ่ง. (ส.).
  58. มฤค-
    หมายถึง [มะรึกคะ-] น. สัตว์ป่ามีกวาง อีเก้ง เป็นต้น, ถ้าเป็นตัวเมีย ใช้ว่า มฤคี. (ส.; ป. มิค).
  59. มฤค
    หมายถึง [มะรึก] น. สัตว์ป่ามีกวาง อีเก้ง เป็นต้น, ถ้าเป็นตัวเมีย ใช้ว่า มฤคี. (ส.; ป. มิค).
  60. มฤคชาติ
    หมายถึง น. เนื้อ, หมู่เนื้อ.
  61. มฤคทายวัน
    หมายถึง [มะรึกคะทายะ-, มะรึกคะทายยะ-] น. ชื่อป่าที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา; ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ. (ป. มิคทายวน; ส. มฺฤค + ทาย + วน).
  62. มฤคย์
    หมายถึง [มะรึก] ว. สิ่งที่ควรติดตาม, สิ่งที่ต้องการ. (ส.).
  63. มฤคราช
    หมายถึง น. ราชสีห์. (ส.).
  64. มฤคศิรมาส
    หมายถึง น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์มฤคศิระ คือ เดือนอ้าย ตกในราวเดือนธันวาคม.
  65. มฤคศิระ,มฤคเศียร,มิคสิระ
    หมายถึง [มะรึกคะสิระ, มะรึกคะเสียน, มิคะสิระ, มิกคะสิระ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก. (ส. มฺฤคศิรสฺ; ป. มิคสิร).
  66. มฤคศิรัส
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมิคสิระ หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก.
  67. มฤคินทร์,มฤเคนทร์
    หมายถึง [มะรึคิน, -เคน] น. ราชสีห์. (ส. มฺฤค + อินฺทฺร).
  68. มฤจฉา
    หมายถึง [มะริดฉา] ว. มิจฉา, ผิด. (ป. มิจฺฉา; ส. มิถฺยา).
  69. มฤจฉาชีพ
    หมายถึง น. มิจฉาชีพ, การเลี้ยงชีวิตผิดทาง.
  70. มฤจฉาทิฐิ
    หมายถึง น. มิจฉาทิฐิ, ความเห็นผิดทางธรรม.
  71. มฤดก
    หมายถึง [มะรึดก] (โบ) น. มรดก. (ส. มฺฤตก; ป. มตก).
  72. มฤต
    หมายถึง [มะริด, มะรึด] ว. ตายแล้ว. (ส. มฺฤต; ป. มต).
  73. มฤตกะ
    หมายถึง [มะรึตะกะ] น. ผู้ตาย, ซากศพ. (ส. มฺฤตก; ป. มตก).
  74. มฤตยู
    หมายถึง [มะรึดตะยู] น. ความตาย; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๗ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๒,๘๗๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐,๘๐๐ กิโลเมตร, ดาวยูเรนัส ก็เรียก. (ส. มฺฤตฺยู; ป. มจฺจุ).
  75. มฤตยูราช
    หมายถึง น. ยมราช, พญายม. (ส. มฺฤตฺยุราช; ป. มจฺจุราช).
  76. มฤทิงค์
    หมายถึง [มะรึ-] น. ตะโพน, กลองสองหน้าชนิดหนึ่ง. (ส. มฺฤทงฺค; ป. มุทิงฺค).
  77. มฤทุ
    หมายถึง [มะรึ-] ว. นุ่ม, อ่อน, อ่อนโยน, สุภาพ; แช่มช้า. (ส. มฺฤทุ; ป. มุทุ).
  78. มฤทุกะ
    หมายถึง ว. อ่อนโยน, ละมุนละม่อม, มีใจอ่อนโยน. (ส. มฺฤทุก; ป. มุทุก).
  79. มฤธุ
    หมายถึง [มะรึทุ] น. มธุ, นํ้าผึ้ง, นํ้าหวาน. (ส. มฺฤธุ; ป. มธุ).
  80. มฤษา
    หมายถึง [มะรึสา] ว. มุสา, ไม่จริง, เท็จ. (ส. มฺฤษา; ป. มุสา).
  81. มฤษาวาท
    หมายถึง น. คำเท็จ. (ส.; ป. มุสาวาท).
  82. มล,มล-
    หมายถึง [มน, มนละ-] น. ความมัวหมอง, ความสกปรก, ความไม่บริสุทธิ์; สนิม, เหงื่อไคล. ว. มัวหมอง, สกปรก, ไม่บริสุทธิ์. (ป., ส.).
  83. มลทิน
    หมายถึง [มนทิน] น. ความมัวหมอง, ความด่างพร้อย, ความไม่บริสุทธิ์. (ข. มนฺทิล).
  84. มลน,มล่น
    หมายถึง [มะลน, มะล่น] (โบ) ก. วิ่ง, รีบ.
  85. มลนมลาน
    หมายถึง [-มะลาน] (โบ) ว. ลนลาน, ตะลีตะลาน.
  86. มลพิษ
    หมายถึง [มนละพิด] น. พิษเกิดจากความมัวหมองหรือความสกปรกของสิ่งแวดล้อม เช่นในอากาศหรือในน้ำเป็นต้น; (กฎ) ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษด้วย. (อ. pollution).
  87. มลวก
    หมายถึง [มะลวก] (โบ) ก. ลวก.
  88. มลสาร
    หมายถึง น. สารที่ทำให้เกิดมลพิษ, สารมลพิษ ก็ใช้. (อ. pollutant).
  89. มละ
    หมายถึง [มะละ] ก. ละ, ทิ้ง.
  90. มลัก
    หมายถึง [มะลัก] ก. ลัก, ลอบ; มัก; รัก; เห็น. ว. มากเช่น รู้มลัก.
  91. มลังเมลือง
    หมายถึง [มะลังมะเลือง] ว. สุกใส, อร่ามเรือง.
  92. มลาก
    หมายถึง [มะลาก] ก. ลาก. ว. มาก, ดี.
  93. มลาน
    หมายถึง [มะลาน] ว. เหี่ยว, แห้ง; อ่อน, อิดโรย; ตาย; โศกเศร้า, หมอง. (ส. มฺลาน).
  94. มลาน
    หมายถึง [มะลาน] ว. ลนลาน; ลานตา. (แผลงมาจาก ลาน).
  95. มลาย
    หมายถึง [มะลาย] ก. แตก, ตาย, ทำลาย.
  96. มลายู
    หมายถึง [มะ-] น. ชื่อชนชาติหนึ่ง อยู่ในประเทศมาเลเซียและเกาะต่าง ๆ ตอนใต้ของแหลมมลายู.
  97. มลาว
    หมายถึง [มะลาว] น. ลาว.
  98. มลิน
    หมายถึง [มะลิน] ว. ขุ่นมัว, มัวหมอง, ไม่บริสุทธิ์. (ป., ส.).
  99. มลิ้น
    หมายถึง [มะลิ้น] (กลอน) น. ลิ้น เช่น คือมลิ้นคนผู้ ทราบรู้รสแกง. (โลกนิติ).
  100. มลื่น
    หมายถึง [มะลื่น] ก. มื่น, ลื่น.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ม (หน้าที่ 2)"