พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ภ (หน้าที่ 3)

  1. ภิกษุณี
    หมายถึง น. หญิงที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา. (ส.; ป. ภิกฺขุนี).
  2. ภิงคาร
    หมายถึง น. หม้อนํ้า, เต้านํ้า. (ป.; ส. ภฺฤงฺคาร).
  3. ภิงสนะ
    หมายถึง ว. น่ากลัว, น่าหวาดเสียว. (ป.; ส. ภีษฺณ).
  4. ภิงสระ,ภิงสะ
    หมายถึง น. เหง้า, เหง้าบัว. (ป. ภิส; ส. พิส).
  5. ภิญโญ
    หมายถึง ว. ยิ่ง, ยิ่งขึ้นไป. (ป. ภิยฺโย; ส. ภูย).
  6. ภิญโญภาพ
    หมายถึง น. ความยิ่ง, ความยิ่งขึ้นไป.
  7. ภิตติ
    หมายถึง น. ฝาเรือน, กำแพง. (ป., ส.).
  8. ภิทะ,ภินท,ภินท-,ภินท์
    หมายถึง [พินทะ-] ก. แตก, ทำลาย. (ป., ส.).
  9. ภิน,ภิน-
    หมายถึง [พินนะ-] ว. แตกแล้ว, ทำลายแล้ว. (ป., ส. ภินฺน).
  10. ภินชาติ
    หมายถึง ว. ต่างชาติ, ต่างชาติชั้น. (ป., ส. ภินฺนชาติ).
  11. ภินทน,ภินทน-
    หมายถึง [พินทะนะ-] น. การแตก, การทำลาย. (ป.).
  12. ภินทนาการ
    หมายถึง น. อาการแตก. (ป.).
  13. ภินวรรณ
    หมายถึง ว. เปลี่ยนสี, จาง, ตก, ซีด, (ใช้แก่สี); ต่างพวก, ต่างวรรณะ. (ส. ภินฺนวรฺณ).
  14. ภิยโย
    หมายถึง ว. ภิญโญ, ยิ่ง, ยิ่งขึ้นไป. (ป.; ส. ภูย).
  15. ภิยโยภาพ
    หมายถึง น. ภิญโญภาพ, ความยิ่ง, ความยิ่งขึ้นไป.
  16. ภิรมย์
    หมายถึง ดู อภิรมย์.
  17. ภิรมย์สุรางค์
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  18. ภิษัช
    หมายถึง น. หมอ, แพทย์. (ส. ภิษชฺ).
  19. ภิสะ
    หมายถึง น. เหง้า, เหง้าบัว. (ป.; ส. พิส).
  20. ภิสัก
    หมายถึง น. หมอ, แพทย์. (ป. ภิสกฺก; ส. ภิษชฺ).
  21. ภีตะ
    หมายถึง ก. กลัว. (ป., ส.).
  22. ภีมะ
    หมายถึง ว. น่ากลัว. (ป., ส.).
  23. ภีรุ,ภีรุก,ภีรุก-
    หมายถึง [พีรุกะ-] ว. กลัว, ขี้ขลาด. น. ผู้หญิง เช่น ภีรุอวตาร ว่า อวตารเป็นผู้หญิง. (แช่งนํ้า). (ป., ส.).
  24. ภีรุกชาติ
    หมายถึง [พีรุกะชาด] ว. ขี้ขลาด. (ป.).
  25. ภุกต,ภุกต-,ภุกต์
    หมายถึง [พุกตะ-] ว. ซึ่งกินแล้ว, ซึ่งครองแล้ว. (ส.; ป. ภุตฺต).
  26. ภุกตาหาร
    หมายถึง น. อาหารที่กินแล้ว; ผู้กินอาหารแล้ว. (ส.; ป. ภุตฺตาหาร).
  27. ภุกตเศษ
    หมายถึง น. เดน. (ส.; ป. ภุตฺตเสส).
  28. ภุขัน
    หมายถึง น. อาวุธชนิดหนึ่ง.
  29. ภุช,ภุช,ภุช-
    หมายถึง [พุด, พุชะ-] น. แขน; งวงช้าง. (ป., ส.).
  30. ภุช,ภุช,ภุชะ
    หมายถึง [พุด, พุชะ] ก. กิน. (ป., ส.).
  31. ภุชคะ,ภุชงค์,ภุชงคมะ
    หมายถึง [พุชะคะ, พุชง, พุชงคะมะ] น. งู, นาค. (ป., ส.).
  32. ภุชงคประยาต
    หมายถึง [พุชงคะ-] น. ชื่อฉันท์แบบหนึ่งมี ๑๒ คำ แบ่งเป็น ๒ วรรค มีลหุต้นวรรคและกลางวรรค. (ส.; ป. ภุชงฺคปฺปยาต).
  33. ภุชสมโภค
    หมายถึง [พุชะสมโพก] น. การสวมกอด, การกอดรัด. (ส.).
  34. ภุชา
    หมายถึง น. แขน. (ส.).
  35. ภุญชะ
    หมายถึง ก. กิน, กินอาหาร. (ป.).
  36. ภุต
    หมายถึง [พุด] ว. ซึ่งกินแล้ว, ซึ่งครองแล้ว. (ป. ภุตฺต; ส. ภุกฺต).
  37. ภุม
    หมายถึง [พุม] ว. ไม่ เช่น ภุมมาน ว่า ไม่มี, ภุมบาน ว่า ไม่ได้. (ข. ).
  38. ภุม,ภุม-,ภุม-
    หมายถึง [พุมมะ-] น. พื้นดิน, ภาคพื้น. (ป. ภุมฺม).
  39. ภุม,ภุม,ภุม-,ภุม-
    หมายถึง [พุม, พุมมะ-] น. ดาวอังคาร; วันอังคาร. (ป. ภุมฺม; ส. เภาม).
  40. ภุมมะ
    หมายถึง (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).
  41. ภุมระ
    หมายถึง [พุมมะ-] น. ภมร, แมลงผึ้ง, แมลงภู่.
  42. ภุมรัตน์
    หมายถึง [พุมมะรัด] น. หินปะการัง. (ส. เภามรตฺน).
  43. ภุมรา
    หมายถึง [พุมมะ-] น. ภมร, แมลงผึ้ง, แมลงภู่.
  44. ภุมริน
    หมายถึง [พุมมะ-] น. ภมร, แมลงผึ้ง, แมลงภู่.
  45. ภุมรี
    หมายถึง [พุมมะ-] น. ภมร, แมลงผึ้ง, แมลงภู่.
  46. ภุมวาร,ภุมมวาร
    หมายถึง [พุมมะวาน] น. วันอังคาร. (ป. ภุมฺมวาร).
  47. ภุมเทวดา
    หมายถึง น. เทวดาพวกหนึ่งที่สิงสถิตอยู่บนพื้นดิน. (ป. ภุมฺม + เทวตา).
  48. ภุมเรศ
    หมายถึง [พุมมะ-] น. ภมร, แมลงผึ้ง, แมลงภู่.
  49. ภุมโม
    หมายถึง (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
  50. ภุส
    หมายถึง [พุด] น. ข้าวลีบ, แกลบ. (ป.; ส. พุส). ว. กล้า, ยิ่ง, มาก. (ส. ภฺฤศ).
  51. ภู
    หมายถึง น. เนินที่สูงขึ้นเป็นจอม, เขา.
  52. ภู
    หมายถึง น. ดิน, แผ่นดิน, โลก. (ป., ส.).
  53. ภูดล
    หมายถึง น. พื้นโลก, แผ่นดิน. (ส.).
  54. ภูดาด
    หมายถึง (โบ) น. เสมียน.
  55. ภูต,ภูต-
    หมายถึง [พูด, พูตะ-] น. ผี, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ภูตผี. ว. ซึ่งเกิดแล้ว, ซึ่งเป็นแล้ว. (ป., ส.).
  56. ภูตคาม
    หมายถึง [พูตะ-] น. พืชพันธุ์อันอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด คือ พืชที่เกิดจากเหง้า ๑ ที่เกิดจากต้น ๑ ที่เกิดจากข้อ ๑ ที่เกิดจากยอด ๑ และที่เกิดจากเมล็ด ๑, คู่กับ พืชคาม คือ พืชพันธุ์ที่แม้จะถูกพรากจากที่แล้ว ก็ยังจะเป็นได้อีก. (ป.; ส. ภูตคฺราม ว่า สิ่งทั้งปวง, สิ่งที่เกิดแล้วทั้งปวง).
  57. ภูตบดี
    หมายถึง [พูตะบอดี] น. เจ้าแห่งผี, เจ้าแห่งสรรพสัตว์, (หมายถึง พระศิวะ). (ส. ภูตปติ).
  58. ภูตรูป
    หมายถึง [พูตะรูบ] น. รูปที่เกิดแล้ว ได้แก่ ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ซึ่งคุมกันเข้าเป็นมนุษย์และสัตว์. (ป., ส.).
  59. ภูติ,ภูตี
    หมายถึง [พูติ, พูตี] น. ความรุ่งเรือง, ความมั่งคั่ง. (ป., ส. ภูติ).
  60. ภูธร
    หมายถึง น. พระราชา; ภูเขา. (ส.).
  61. ภูธเรศ
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  62. ภูธเรศวร
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  63. ภูนาถ
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  64. ภูนายก
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  65. ภูบดินทร์
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  66. ภูบดี
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  67. ภูบาล
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  68. ภูป
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  69. ภูผา
    หมายถึง น. เขาหิน.
  70. ภูภุช
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  71. ภูม
    หมายถึง น. บ้าน. (ข.).
  72. ภูมิ
    หมายถึง [พูม] น. พื้น, ชั้น, พื้นเพ; ความรู้ เช่น อวดภูมิ อมภูมิ.
  73. ภูมิ
    หมายถึง [พูม] ว. สง่า, โอ่โถง, องอาจ, ผึ่งผาย, เช่น วางภูมิ.
  74. ภูมิ,ภูมิ,ภูมิ-
    หมายถึง [พูม, พูมิ-, พูมมิ-] น. แผ่นดิน, ที่ดิน.
  75. ภูมิคุ้มกัน
    หมายถึง [พูม-] น. สภาพที่ร่างกายมีแรงต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย, ภูมิต้านทาน ก็เรียก.
  76. ภูมิฐาน
    หมายถึง [พูมถาน] ว. สง่าผ่าเผย, โก้หรู, เช่น แต่งตัวภูมิฐาน.
  77. ภูมิธร,ภูมินทร์,ภูมินาถ,ภูมิบดี
    หมายถึง น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
  78. ภูมิธรรม
    หมายถึง [พูมทำ] น. พื้นจิตใจที่มีคุณธรรม.
  79. ภูมิบริมาณ
    หมายถึง [พูมิ-] น. มาตราเนื้อที่. (ส.).
  80. ภูมิบาล,ภูมิภุช
    หมายถึง [พูมิ-] น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
  81. ภูมิประเทศ
    หมายถึง [พูมิ-] น. ลักษณะทางกายภาพและทางธรรมชาติของแผ่นดิน รวมถึงความสูงตํ่าของผิวโลก ทะเลสาบ ถนนหนทาง และเมืองต่าง ๆ.
  82. ภูมิปัญญา
    หมายถึง [พูม-] น. พื้นความรู้ความสามารถ.
  83. ภูมิภาค
    หมายถึง [พูมมิ-, พูมิ-] น. หัวเมือง; (ภูมิ) อาณาบริเวณที่มีลักษณะบางอย่างเช่นลักษณะทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม ทางการเมือง คล้ายคลึงกันจนสามารถจัดเข้าพวกกันได้ และแตกต่างกับบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ.
  84. ภูมิรัฐศาสตร์
    หมายถึง [พูมิ-] น. วิชาในหมวดสังคมศาสตร์สาขาหนึ่ง มีลักษณะคล้ายวิชาภูมิศาสตร์การเมือง แต่เน้นหนักไปทางการเมือง.
  85. ภูมิรู้
    หมายถึง [พูม-] น. ความรู้, พื้นความรู้.
  86. ภูมิลำเนา
    หมายถึง [พูม-, พูมิ-] (กฎ) น. ถิ่นที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญ.
  87. ภูมิศาสตร์
    หมายถึง [พูมิ-] น. วิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสังคมที่ปรากฏในดินแดนต่าง ๆ ของโลก.
  88. ภูมิศาสตร์กายภาพ
    หมายถึง น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องลักษณะและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่แวดล้อมตัวมนุษย์.
  89. ภูมิศาสตร์การเกษตร
    หมายถึง น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับการกสิกรรม การเลี้ยงสัตว์ การป่าไม้ และการประมง.
  90. ภูมิศาสตร์การเมือง
    หมายถึง น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องเกี่ยวกับการเมืองของรัฐต่าง ๆ ในโลก.
  91. ภูมิศาสตร์ประชากร
    หมายถึง น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องเกี่ยวกับประชากรในถิ่นต่าง ๆ ของโลก โดยพิจารณาถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องหรือมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรนั้น ๆ เช่น การกระจาย การย้ายถิ่นฐาน ความหนาแน่น.
  92. ภูมิศาสตร์ประวัติ
    หมายถึง น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงประวัติการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ของดินแดนใดดินแดนหนึ่งตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน, ภูมิศาสตร์เชิงประวัติ ก็เรียก.
  93. ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ
    หมายถึง น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งเกี่ยวกับการครองชีพของมนุษย์ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติการผลิต การใช้.
  94. ภูมิอากาศ
    หมายถึง น. อากาศประจำถิ่น, ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคแห่งใดแห่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นศตวรรษก็ได้.
  95. ภูมิแพ้
    หมายถึง [พูม-] น. สภาพที่ร่างกายมีปฏิกิริยาผิดปรกติต่อสิ่งที่ตามธรรมดาเมื่อเข้าสู่ร่างกายคนทั่ว ๆ ไปแล้วจะไม่มีอันตรายใด ๆ จะมีอันตรายก็เฉพาะในคนบางคนที่แพ้สิ่งนั้นเท่านั้น.
  96. ภูมิใจ
    หมายถึง ก. กระหยิ่มใจ, รู้สึกว่ามีเกียรติยศ.
  97. ภูมี
    หมายถึง น. พระเจ้าแผ่นดิน.
  98. ภูมีศวร
    หมายถึง น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
  99. ภูริ
    หมายถึง ว. มาก. (ป., ส.).
  100. ภูริ
    หมายถึง น. แผ่นดิน. (ป.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ภ (หน้าที่ 3)"