พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ภ (หน้าที่ 2)

  1. ภาคยานุวัติ
    หมายถึง [พากคะยานุวัด] (การทูต) น. การเข้าเป็นภาคีในสัญญาหลายฝ่ายหรือพหุภาคี หรือในสนธิสัญญาระหว่างชาติ. (อ. accession).
  2. ภาคย์
    หมายถึง น. โชค, โชคดี. (ป., ส. ภาคฺย).
  3. ภาคสนาม
    หมายถึง น. ภาคปฏิบัติ.
  4. ภาคินี
    หมายถึง น. หญิงผู้มีส่วน. (ป., ส.).
  5. ภาคิไนย
    หมายถึง [-ไน] น. หลาน คือ ลูกของพี่สาวหรือน้องสาว, คู่กับ ภาติยะ ลูกของพี่ชายหรือน้องชาย. (ป. ภาคิเนยฺย; ส. ภาคิเนย).
  6. ภาคี
    หมายถึง น. ผู้มีส่วน, ผู้เป็นฝ่าย. (ป.; ส. ภาคินฺ).
  7. ภาคียะ
    หมายถึง ว. ควรแบ่งเป็นส่วน, เป็นส่วน.
  8. ภาคเรียน
    หมายถึง น. ช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทำการสอนติดต่อกัน ตามปรกติปีการศึกษาหนึ่ง ๆ จะแบ่งออกเป็น ๒-๓ ภาคเรียน.
  9. ภาคเสธ
    หมายถึง [พากเสด] ก. แบ่งรับแบ่งสู้ เช่น ให้การภาคเสธ คือ ให้การรับบ้างปฏิเสธบ้าง.
  10. ภาชนะ
    หมายถึง [พาชะนะ, พาดชะนะ] น. เครื่องใช้จำพวกถ้วยโถโอชามหม้อไหเป็นต้น สำหรับใส่สิ่งของ. (ป., ส.).
  11. ภาชนีย,ภาชนีย-
    หมายถึง [พาชะนียะ-] (แบบ) น. ของควรแจก, ของควรแบ่ง. ว. ควรแจก, ควรแบ่ง. (ป.).
  12. ภาชี
    หมายถึง (แบบ) น. ผู้แบ่ง, เพศหญิงใช้ว่า ภาชินี.
  13. ภาณ,ภาณ-
    หมายถึง [พาน, พานะ-] (แบบ) น. การบอก, การกล่าว, การสวด. (ป.).
  14. ภาณกะ
    หมายถึง [พานะกะ] (แบบ) น. ผู้สวด, ผู้กล่าว, ผู้บอก. (ป.).
  15. ภาณวาร
    หมายถึง [พานะวาน] น. ธรรมที่จัดไว้เป็นหมวด, หมวดหนึ่ง ๆ; ข้อธรรมที่จัดไว้เป็นหมวด, ข้อธรรมหมวดหนึ่ง ๆ สำหรับสาธยาย. (ป.).
  16. ภาณี
    หมายถึง น. ผู้สวด, ผู้กล่าว, ผู้บอก, คนช่างพูด, เพศหญิง ใช้ว่า ภาณินี.
  17. ภาณุ
    หมายถึง น. แสงสว่าง; พระอาทิตย์. (ป.; ส. ภานุ).
  18. ภาณุมาศ
    หมายถึง น. พระอาทิตย์. (ป. ภาณุมา; ส. ภานุมนฺตฺ).
  19. ภาดร,ภาดา
    หมายถึง น. พี่ชายน้องชาย, (ราชา) พระภาดา. (ส. ภฺราตฺฤ; ป. ภาตา).
  20. ภาตระ
    หมายถึง [พาตะระ] น. พี่ชายน้องชาย. (ส. ภฺราตฺฤ).
  21. ภาตา,ภาตุ
    หมายถึง น. พี่ชายน้องชาย. (ป.; ส. ภฺราตฺฤ).
  22. ภาติกะ
    หมายถึง น. พี่ชายน้องชาย. (ป.; ส. ภฺราตฺฤ + ก).
  23. ภาติยะ
    หมายถึง น. ลูกของพี่ชายน้องชาย, หลาน. (ป.; ส. ภาตฺรีย).
  24. ภาพ,ภาพ-
    หมายถึง [พาบ, พาบพะ-] น. ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึกเห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).
  25. ภาพกาก
    หมายถึง น. ภาพเขียนที่เป็นตัวประกอบในเรื่อง.
  26. ภาพจริง
    หมายถึง (แสง) น. ภาพที่เกิดจากกระจกเว้าหรือเลนส์นูน ลักษณะเป็นภาพหัวกลับ ใช้จอรับได้.
  27. ภาพถ่าย
    หมายถึง น. ภาพบนกระดาษอัดรูป เกิดจากการนำแผ่นฟิล์มภาพเนกาทิฟหรือแผ่นกระจกภาพเนกาทิฟไปอัดถ่ายทอดภาพลงบนกระดาษอัดรูปนั้น.
  28. ภาพนิ่ง
    หมายถึง น. ภาพขยายที่ไม่มีการเคลื่อนไหวบนจอ เกิดจากการฉายแสงที่มีความเข้มมาก ผ่านแผ่นสไลด์หรือแผ่นฟิล์มภาพไปยังจอ.
  29. ภาพประกอบ
    หมายถึง น. ภาพที่วาดขึ้นหรือนำมาแสดงเพื่อประกอบเรื่อง.
  30. ภาพปูนเปียก
    หมายถึง น. ภาพเขียนผนังอาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่เขียนขณะผนังยังชื้นอยู่.
  31. ภาพพจน์
    หมายถึง [พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นเป็นภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).
  32. ภาพยนตร์
    หมายถึง [พาบพะ-] น. ภาพฉายด้วยเครื่องทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้, หนังฉาย.
  33. ภาพย์
    หมายถึง (แบบ) ว. ภัพ, ดี, งาม, เหมาะ, ควร. (ส. ภวฺย).
  34. ภาพลวงตา
    หมายถึง น. ภาพที่ปรากฏให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น เห็นพยับแดดเป็นนํ้า เห็นเชือกเป็นงู.
  35. ภาพลักษณ์
    หมายถึง [พาบลัก] น. ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้น, จินตภาพ ก็ว่า. (อ. image).
  36. ภาพหุ่นนิ่ง
    หมายถึง น. ภาพวาดหรือภาพถ่ายของสิ่งที่ไม่เคลื่อนไหว.
  37. ภาพเสมือน
    หมายถึง (แสง) น. ภาพที่เกิดจากกระจกนูน กระจกเงาพื้นราบ หรือเลนส์เว้า ลักษณะเป็นภาพหัวตั้ง ใช้จอรับไม่ได้.
  38. ภาม
    หมายถึง น. เดช เช่น แสดงพาหุพิริยพลภาม. (สมุทรโฆษ). (ส.).
  39. ภาย
    หมายถึง น. บริเวณ, สถานที่, เช่น ภายนอกกำแพง ภายในเมือง; ระยะเวลา เช่น ในภายหน้า จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง.
  40. ภายนอก
    หมายถึง น. ข้างนอก.
  41. ภายหน้า
    หมายถึง น. ข้างหน้า, ต่อไป, อนาคตกาล.
  42. ภายหลัง
    หมายถึง น. ข้างหลัง, ต่อจากนั้นไป.
  43. ภายใน
    หมายถึง น. ข้างใน.
  44. ภาร,ภาร-,ภาระ,ภาระ
    หมายถึง [พาน, พาระ-] น. ของหนัก, นํ้าหนัก; ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก; หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการอบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. ว. หนัก. (ป.).
  45. ภารกิจ
    หมายถึง [พาระ-] น. งานที่จำต้องทำ.
  46. ภารดี
    หมายถึง [พาระ-] น. ถ้อยคำ, คำพูด, ภาษา. (ส. ภารติ).
  47. ภารต,ภารต-
    หมายถึง [พารด, พาระตะ-] น. ชาวอินเดีย; คนแสดงละคร. (ส.).
  48. ภารตวิทยา
    หมายถึง น. วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น. (ส.).
  49. ภารตี
    หมายถึง [-ระ-] น. ชื่อหนึ่งของพระสุรัสวดี.
  50. ภารธุระ
    หมายถึง [พาระทุระ, พานทุระ] น. การงานที่รับทำ, กิจการที่ขวนขวายประกอบ.
  51. ภารยทรัพย์
    หมายถึง [พาระยะซับ] (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เป็นเจ้าของจะต้องรับภาระบางอย่างที่เกิดจากภาระจำยอม, คู่กับ สามยทรัพย์.
  52. ภารยา
    หมายถึง [พาระ-, พานระ-] น. ภรรยา. (ส.).
  53. ภาระ,ภาระ,ภารา,ภารา
    หมายถึง น. ชื่อมาตราชั่งนํ้าหนักมคธ ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. (ส. ภาร).
  54. ภาระจำยอม
    หมายถึง (กฎ) น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจำยอม.
  55. ภาระติดพัน
    หมายถึง น. ความผูกพันที่จะต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  56. ภารา
    หมายถึง (โบ) น. พารา, เมือง.
  57. ภารโรง
    หมายถึง [พาน-] น. ผู้รักษาและทำความสะอาดสถานที่.
  58. ภาว,ภาว-,ภาวะ
    หมายถึง [พาวะ-] น. ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, เช่น ภาวะน้ำท่วม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ. (ป., ส.).
  59. ภาวนา
    หมายถึง [พาวะ-] น. การทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ. ก. สำรวมใจให้แน่วแน่เป็นสมาธิ เช่น สวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจตั้งความปรารถนา เช่น นั่งภาวนาขอให้พระช่วย. (ป.).
  60. ภาวนามัย
    หมายถึง ว. สำเร็จด้วยภาวนา. (ป.).
  61. ภาวศุทธิ
    หมายถึง [พาวะสุดทิ] น. ความบริสุทธิ์แห่งใจ. (ส.).
  62. ภาวะฉุกเฉิน
    หมายถึง น. ภาวะอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร หรืออันอาจทำให้ประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือภาวะการรบหรือการสงคราม.
  63. ภาษ
    หมายถึง [พาด] ก. พูด, กล่าว, บอก. (ส.; ป. ภาส).
  64. ภาษก
    หมายถึง [พาสก] น. ผู้พูด. (ส.).
  65. ภาษณ์
    หมายถึง น. การพูด. (ส.).
  66. ภาษา
    หมายถึง น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและแต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาจาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
  67. ภาษาคำควบมากพยางค์
    หมายถึง น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการประกอบหน่วยคำหลาย ๆ หน่วยเข้าเป็นคำเดียวกัน ทำให้คำหนึ่ง ๆ มีความยาวหลายพยางค์ เช่น ภาษาเวลส์ ภาษาเอสกิโม ภาษาอินเดียนแดง. (อ. polysynthetic language).
  68. ภาษาคำติดต่อ
    หมายถึง น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการเติมอุปสรรค อาคม หรือปัจจัย ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระและไม่มีความหมาย ผสานเข้ากับคำบางคำซึ่งเป็นคำตั้ง ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ แต่จะมีรูปและความหมายเกี่ยวเนื่องกับคำตั้งนั้น เช่น ภาษาเขมร ภาษาญี่ปุ่น ภาษาตุรกี ภาษาฮังการี. (อ. agglutinative language).
  69. ภาษาคำโดด
    หมายถึง น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่องกับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำสองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language).
  70. ภาษาถิ่น
    หมายถึง น. ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น.
  71. ภาษาธรรม
    หมายถึง น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.
  72. ภาษาปาก
    หมายถึง น. ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า.
  73. ภาษามีวิภัตติปัจจัย
    หมายถึง น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัยประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดงเพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีกโบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส. (อ. inflectional language).
  74. ภาษาระดับทางการ
    หมายถึง น. ภาษาราชการ
  75. ภาษาระดับพิธีการ
    หมายถึง น. ภาษาแบบแผน.
  76. ภาษาราชการ
    หมายถึง น. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.
  77. ภาษาศาสตร์
    หมายถึง น. วิชาที่ศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ เช่น เสียง โครงสร้าง ความหมาย โดยอาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์ เช่น มีการตั้งสมมุติฐาน เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผล.
  78. ภาษาแบบแผน
    หมายถึง น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะ...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก.
  79. ภาษิต
    หมายถึง น. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็นคติ เช่น กงเกวียนกำเกวียน. (ส.).
  80. ภาษี
    หมายถึง น. เงินที่รัฐหรือท้องถิ่นเรียกเก็บจากบุคคล เพื่อใช้จ่ายในการบริหารประเทศหรือท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม; ความได้เปรียบ เช่น เขามีภาษีกว่า.
  81. ภาษีบำรุงท้องที่
    หมายถึง (กฎ) น. ภาษีซึ่งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน มีหน้าที่ต้องเสียเป็นรายปีจากราคาปานกลางของที่ดินตามที่ทางราชการได้ประกาศกำหนดไว้ เพื่อให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งที่ดินนั้นอยู่ในเขต.
  82. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    หมายถึง (กฎ) น. ภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่าย หรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา ๑๐๐ บาท ผลิตเป็นสินค้าขายในราคา ๑๕๐ บาท ดังนี้ ก็จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน ๕๐ บาท เท่านั้น. (อ. value-added tax).
  83. ภาษีสรรพสามิต
    หมายถึง [-สับพะ-, -สันพะ-] (กฎ) น. ภาษีที่กรมสรรพสามิตเรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีสุรา. (อ. excise tax).
  84. ภาษีเงินได้
    หมายถึง น. ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ได้รับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน.
  85. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
    หมายถึง (กฎ) น. ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับประเมินผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น.
  86. ภาส,ภาส-
    หมายถึง [พาด, พาดสะ-, พาสะ-] น. แสง, สว่าง, แจ้ง. (ป., ส.).
  87. ภาสกร
    หมายถึง [พาดสะกอน, พาสะกอน] น. พระอาทิตย์.
  88. ภาสน์
    หมายถึง น. การพูด. (ป.).
  89. ภาสวร
    หมายถึง [พาสะวอน] ว. สว่าง, มีแสงพราว. (ส.).
  90. ภาสา
    หมายถึง น. ภาษา. (ป.).
  91. ภาสุระ
    หมายถึง ว. สว่าง, มีแสงพราวเช่นแก้ว. (ส.).
  92. ภิกขา
    หมายถึง น. การขออาหาร; อาหารที่ขอมา. (ป.; ส. ภิกฺษา).
  93. ภิกขาจาร
    หมายถึง น. การเที่ยวขอ, การเที่ยวขออาหาร. (ป.).
  94. ภิกขาหาร
    หมายถึง น. อาหารที่ได้มาด้วยการขอ. (ป.).
  95. ภิกขุ
    หมายถึง น. ภิกษุ. (ป.; ส. ภิกฺษุ).
  96. ภิกขุนี
    หมายถึง น. ภิกษุณี. (ป.; ส. ภิกฺษุณี).
  97. ภิกษา
    หมายถึง น. การขออาหาร; อาหารที่ขอมา. (ส.; ป. ภิกฺขา).
  98. ภิกษาจาร
    หมายถึง น. การเที่ยวขอ, การเที่ยวขออาหาร. (ส.; ป. ภิกฺขาจาร).
  99. ภิกษาหาร
    หมายถึง น. อาหารที่ได้มาด้วยการขอ. (ส.; ป. ภิกฺขาหาร).
  100. ภิกษุ
    หมายถึง น. ชายที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา. (ส.; ป. ภิกฺขุ).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ภ (หน้าที่ 2)"