พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด พ (หน้าที่ 8)

  1. พะเพิง
    หมายถึง น. เพิงที่ต่อปะเข้าไปกับด้านสกัดของเรือน, พะ เพิง หรือ เพิงพะ ก็เรียก.
  2. พะเยิบ,พะเยิบ ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่ปลิวขึ้นปลิวลงช้า ๆ เช่น ผ้าถูกลมพัดปลิวพะเยิบ ๆ, อาการที่ของแบนบางกระพือขึ้นกระพือลงช้า ๆ เช่น นกกระพือปีกบินพะเยิบ ๆ, เผยิบ หรือ เผยิบ ๆ ก็ว่า.
  3. พะเยิบพะยาบ
    หมายถึง ว. อาการที่โบกหรือกระพือขึ้นลงช้า ๆ (ใช้แก่สิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ หรือที่อ่อนไหวได้ในตัว), เช่น หลังคาเต็นท์ถูกลมพัดพะเยิบพะยาบ.
  4. พะเลย
    หมายถึง น. วิธีปลูกข้าวในนาที่เป็นตม โดยนำข้าวปลูกที่แช่นํ้าไว้หว่านแทนข้าวที่เสียไป, เรียกนาที่ทำด้วยวิธีนั้นว่า นาพะเลย.
  5. พะแนง
    หมายถึง น. แกงคั่วไก่หรือเนื้อเป็นต้น นํ้าแกงข้น.
  6. พะโล้
    หมายถึง น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้ลูกโป๊ยกั้ก อบเชย และเครื่องเทศอื่น ๆ ตำเคล้าคลุกกับเป็ดหรือห่านเป็นต้นให้เข้ากันดี และเคี่ยวจนน้ำแห้ง, ถ้าทำอย่างไทยใช้น้ำตาลปีบเคี่ยวกับซีอิ๊วและน้ำปลา มีรสหวานเค็ม และมักไม่ใส่เครื่องเทศ เช่น ไข่พะโล้ หมูพะโล้.
  7. พะไล
    หมายถึง น. เรือนหรือเพิงโถง ต่อจากเรือนเดิมหรืออยู่ในบริเวณของเรือนเดิม ใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่ห้องนอน, พาไล ก็ว่า.
  8. พัก
    หมายถึง ก. หยุดชั่วคราว เช่น พักร้อน พักเครื่อง, อยู่ชั่วคราว, อาศัยชั่วคราว, เช่น บ้านพัก; รอรั้ง มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่พักต้องว่า. น. คราว เช่น เมื่อพักที่น้ำท่วม การจราจรติดขัดมาก, ช่วงระยะเวลา เช่น เดินไปพักหนึ่ง หยุดเป็นพัก ๆ.
  9. พักตร,พักตร-,พักตร์
    หมายถึง [พักตฺระ-] (ราชา) น. หน้า, ใช้ว่า พระพักตร์. (ส. วกฺตฺร).
  10. พักตรา
    หมายถึง (กลอน) น. หน้า.
  11. พักตรากฤติ
    หมายถึง [-กฺริด] น. โฉมหน้า เช่น พักตรา-กฤติอันบริสุท- ธิพบูและโสภา. (สมุทรโฆษ). (ส. พกฺตฺร + อากฺฤติ).
  12. พักตา
    หมายถึง น. ผู้พูด, ผู้กล่าว. (ส. วกฺตฺฤ; ป. วตฺตา).
  13. พักผ่อน
    หมายถึง ก. หยุดทำงานชั่วคราวให้คลายเหนื่อย.
  14. พักผ่อนหย่อนใจ
    หมายถึง ก. พักผ่อนไปหาความสนุกสนานเพลิดเพลิน.
  15. พักพิง
    หมายถึง ก. อาศัยอยู่ชั่วคราว.
  16. พักฟื้น
    หมายถึง ก. พักผ่อนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงเป็นปรกติ เมื่อหายเจ็บป่วย.
  17. พักร
    หมายถึง [พัก] (โหร) ก. ย้อน, ถอยหลัง, เช่น ดาวนพเคราะห์เดินย้อนราศีเรียกว่า พักร. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ส. วกฺร).
  18. พักร้อน
    หมายถึง ก. หยุดพักผ่อน.
  19. พักสมอง
    หมายถึง ก. หยุดทำงานที่ทำจำเจหรือหมกมุ่นอยู่ไปทำอย่างอื่นชั่วคราวเพื่อผ่อนคลายสมอง.
  20. พักสายตา
    หมายถึง ก. หยุดใช้สายตาอย่างคร่ำเคร่งชั่วคราว.
  21. พักแพว
    หมายถึง น. ผักแพว. [ดู แพว (๑)].
  22. พักแรม
    หมายถึง ก. พักค้างคืน (มักไปกันเป็นหมู่คณะ) เช่น ลูกเสือไปพักแรม.
  23. พักใหญ่
    หมายถึง น. ชั่วระยะเวลานานพอสมควร.
  24. พัง
    หมายถึง ก. ทลาย เช่น บ้านพัง ตึกพัง, ทำให้ทลาย เช่น พังบ้าน พังประตู.
  25. พัง
    หมายถึง น. ช้างตัวเมีย เรียกว่า ช้างพัง.
  26. พังกา
    หมายถึง น. ชื่องูขนาดเล็กชนิด Trimeresurus purpureomaculatus ในวงศ์ Viperidae ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับงูเขียวหางไหม้ ตัวสีเขียว มีลายพราวสีม่วงแดงทั้งตัว อาศัยตามป่าโกงกาง มีพิษอ่อน.
  27. พังกา
    หมายถึง ดู โกงกาง.
  28. พังก๊ำ
    หมายถึง น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่จักเป็นเส้น สานควบกับเส้นปอเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีกรอบทั้ง ๔ ด้าน ใช้ทำเป็นฝากั้นล้อมหรือเป็นแผงหน้าบ้านหรือหน้าต่าง สำหรับค้ำยันให้ปิดเปิดได้.
  29. พังคา
    หมายถึง น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ทำลายค่ายข้าศึก, บางทีก็เรียกว่า ช้างล้อมวัง.
  30. พังงา
    หมายถึง น. พะงา, นางงาม.
  31. พังงา
    หมายถึง น. เครื่องบังคับหางเสือเรือ.
  32. พังผืด
    หมายถึง น. เยื่อเหนียวที่ยึดกล้ามเนื้อให้ติดกัน, พั้งผืด ก็ว่า.
  33. พังพวย
    หมายถึง ดู แพงพวย.
  34. พังพอน
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Herpestes วงศ์ Viverridae ขนหนาสีนํ้าตาลหรือเทา หัวแหลม หางยาวเป็นพวง เคลื่อนไหวเร็วมาก กินสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ พังพอนธรรมดา (H. javanicus) ตัวเล็ก สีนํ้าตาล และพังพอนกินปู หรือ พังพอนยักษ์ (H. urva) ตัวใหญ่สีเทา มีแต้มขาวที่ด้านข้างลำคอ.
  35. พังพาน
    หมายถึง น. คองูเห่าหรืองูจงอางที่แผ่แบนออกทำท่าจะฉก, แม่เบี้ย ก็เรียก.
  36. พังพาบ
    หมายถึง ก. อาการที่นอนคว่ำ หน้าเชิด.
  37. พังเพย
    หมายถึง น. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว โดยกล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง เช่น กระต่ายตื่นตูม.
  38. พัช
    หมายถึง [พัด] น. วัช, คอก. (ป. วช).
  39. พัชนี
    หมายถึง [พัดชะ-] น. พัด. (ป. วีชนี).
  40. พัชระ
    หมายถึง น. เพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
  41. พัญจก
    หมายถึง [พันจก] น. ผู้ล่อลวง. (ป., ส. วญฺจก).
  42. พัญจน์
    หมายถึง [พัน] น. การล่อลวง. (ป. วญฺจน).
  43. พัฒกี
    หมายถึง [พัดทะ-] น. วัฒกี, ช่างไม้. (ป. วฑฺฒกี).
  44. พัฒน,พัฒน-,พัฒนะ
    หมายถึง [พัดทะนะ] น. ความเจริญ. (ป. วฑฺฒน; ส. วรฺธน).
  45. พัฒนา
    หมายถึง [พัดทะ-] ก. ทำให้เจริญ.
  46. พัฒนากร
    หมายถึง น. ผู้ทำความเจริญ, ผู้ทำการพัฒนา.
  47. พัฒนาการ
    หมายถึง น. การทำความเจริญ, การเปลี่ยนแปลงในทางเจริญขึ้น, การคลี่คลายไปในทางดี.
  48. พัด
    หมายถึง น. เครื่องโบกหรือกระพือลม. ก. ปัดไป, โบก, กระพือ, เช่น เอาพัดมาพัดไฟ พายุพัดฝุ่นตลบ; หมุนอย่างใบพัดพัดลมหรือใบพัดเครื่องบิน.
  49. พัดงาสาน
    หมายถึง (โบ) น. พัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า “คามวาสี อรัญวาสี” มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี.
  50. พัดชัก
    หมายถึง น. เครื่องโบกลมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดระบายติดห่วงแขวนกับเพดานมีเชือกชัก.
  51. พัดชา
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง; ชื่อท่ารำท่าหนึ่ง.
  52. พัดดึงส์
    หมายถึง น. เรียกเหรียญทองครั้งรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๓๒ ของชั่ง = ๒.๕๐ บาท. ว. สามสิบสอง. (ป. พตฺตึส).
  53. พัดพุดตาน
    หมายถึง น. พัดยศของพระครูสัญญาบัตรหรือพระครูฐานานุกรมบางชั้น มีลักษณะกลม แต่มีแฉกโดยรอบ พื้นทำด้วยกำมะหยี่ สักหลาด แพร หรือเยียรบับ ปักทองแล่ง ดิ้นมัน ดิ้นเลื่อม หรือดิ้นธรรมดา มีสีและลวดลายต่าง ๆ ตามชั้นแห่งสมณศักดิ์.
  54. พัดยศ
    หมายถึง น. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา การบริหาร หรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแสดงลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์.
  55. พัดลม
    หมายถึง น. เครื่องพัดให้เย็นด้วยแรงไฟฟ้าเป็นต้น; เครื่องฉุดระหัดด้วยกำลังลม.
  56. พัดหน้านาง
    หมายถึง น. พัดยศเปรียญหรือพระครูฐานานุกรมบางชั้นที่ต่ำกว่าพระครูวินัยธรและพระครูธรรมธร มีลักษณะกลมอย่างหน้านาง ด้านบนกลมมนโตกว่าด้านล่าง พื้นทำด้วยสักหลาด กำมะหยี่ อัตลัดสีต่าง ๆ ปักลวดลายต่างกันตามชั้นแห่งสมณศักดิ์, ถ้าเป็นพัดเปรียญ ๙ ประโยค พื้นทำด้วยตาดทอง.
  57. พัดหลวง
    หมายถึง น. ลมตะโก้. (ดู ตะโก้ ๒).
  58. พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
    หมายถึง น. พัดยศของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ มีลักษณะอย่างทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ปลายแหลม และมีแฉกโดยรอบ พื้นตาดโหมด หรือกำมะหยี่ ปักลวดลายด้วยดิ้นเลื่อมหรือดิ้นด้าน มีสีและลวดลายต่าง ๆ ตามชั้นแห่งสมณศักดิ์ ด้ามงาเกลี้ยง, ถ้าเป็นพัดยศสมเด็จพระสังฆราช ยอดทำด้วยงาสลักเป็นฉัตร ๓ ชั้น.
  59. พัดแพว
    หมายถึง น. ผักแพว. [ดู แพว (๑)].
  60. พัดโบก
    หมายถึง น. ชื่อเครื่องสูงชนิดหนึ่งสำหรับโบกลมถวายพระมหากษัตริย์ซึ่งประทับ ณ ที่สูง.
  61. พัตติงสะ
    หมายถึง ว. สามสิบสอง. (ป.).
  62. พัตร
    หมายถึง น. พัสตร์, ผ้า. (ส. วสฺตฺร; ป. วตฺถ).
  63. พัทธ,พัทธ-,พัทธ์
    หมายถึง [พัดทะ-, พัด] ก. ผูก, ติด, เนื่อง. (ป.).
  64. พัทธยา
    หมายถึง น. เรียกลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในต้นฤดูฝนว่า ลมพัทธยา.
  65. พัทธยา
    หมายถึง น. จำนวนที่หักหรือริบเอาไว้เป็นภาคหลวง.
  66. พัทธยากร
    หมายถึง น. ค่าภาคหลวง.
  67. พัทธสีมา
    หมายถึง น. เขตที่สงฆ์กำหนดผูกขึ้นเพื่อใช้ทำสังฆกรรม มีขนาดพอจุภิกษุที่นั่งห่างกันคืบหนึ่ง ๆ ได้ไม่น้อยกว่า ๒๑ รูป.
  68. พัทร
    หมายถึง [พัดทฺระ] น. ต้นพุทรา. (ป., ส. พทร).
  69. พัน
    หมายถึง ว. เรียกจำนวน ๑๐ ร้อย. น. ตำแหน่งหัวหน้าทหารสมัยโบราณสูงกว่าหัวปาก, บรรดาศักดิ์ชั้นประทวนตํ่ากว่าหมื่น, ชื่อตำแหน่งหัวหน้านายเวรในกระทรวงมหาดไทยและกลาโหม, ยศทหารชั้นสัญญาบัตรรองจากนายพล.
  70. พัน
    หมายถึง ก. วนรอบด้วยสิ่งที่เป็นเส้นสายหรือสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น พันคอ พันแผล เถาวัลย์พันกิ่งไม้, ม้วน เช่น พันไหมพรม, รัดโดยรอบ เช่น พันแข้ง, เกี่ยวกันไปมา, เกี่ยวกันยุ่งเหยิง, เช่น ด้ายพันกัน.
  71. พันงู
    หมายถึง น. หญ้าพันงู.
  72. พันจำ
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Vatica วงศ์ Dipterocarpaceae ชนิด Vatica cinerea King ดอกสีขาว กลิ่นหอม V. odorata (Griff.) Sym. ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม.
  73. พันจ่า
    หมายถึง น. ยศทหารเรือหรือทหารอากาศชั้นประทวนสูงกว่าจ่า เช่น พันจ่าตรี พันจ่าอากาศเอก.
  74. พันซาด
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. ต้นซาก. (ดู ซาก ๒).
  75. พันตัน
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นมังตาน. (ดู มังตาน).
  76. พันตา,พันเนตร
    หมายถึง น. พระอินทร์.
  77. พันตู
    หมายถึง ก. ต่อสู้ในตอนประชิดติดพันกัน เช่น โรมรันพันตู รบกันพันตู. (ช.).
  78. พันทาง
    หมายถึง น. เรียกไก่ที่พ่อเป็นอู แม่เป็นแจ้ ว่า ไก่พันทาง, ภายหลังเรียกเลยไปถึงสัตว์ที่พ่อแม่ต่างพันธุ์กัน (ยกเว้นปลากัด) จนถึงสิ่งต่างชนิดบางอย่างที่แกมกันหรือไม่เข้าชุดกัน เช่น สุนัขพันทาง เครื่องลายครามพันทาง.
  79. พันธ,พันธ-,พันธ์,พันธะ
    หมายถึง [พันทะ-] ก. ผูก, มัด, ตรึง. (ป., ส.). น. ข้อผูกมัด, ข้อผูกพัน
  80. พันธกรณี
    หมายถึง [พันทะกะระนี, พันทะกอระนี] น. เหตุแวดล้อมที่เป็นข้อผูกมัด.
  81. พันธน,พันธน-,พันธนะ
    หมายถึง [พันทะนะ] น. การผูก, การมัด, การจำขัง; เครื่องผูก, เครื่องมัด, เครื่องจำ. (ป., ส.).
  82. พันธนาการ
    หมายถึง ก. จองจำ เช่น ถูกพันธนาการ. ว. ที่ใช้จองจำ เช่น เครื่องพันธนาการ. น. การจองจำ.
  83. พันธนาคาร
    หมายถึง น. เรือนจำ. (ป.).
  84. พันธนำ
    หมายถึง [-ทะนำ] น. ผ้าพันศพผู้มีฐานันดรศักดิ์.
  85. พันธบัตร
    หมายถึง (กฎ) น. เอกสารหลักทรัพย์ชนิดหนึ่งที่ออกโดยรัฐบาลหรือนิติบุคคล แสดงการเป็นหนี้ระยะยาวที่กู้จากบุคคลทั่วไป.
  86. พันธมิตร
    หมายถึง น.ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่จะช่วยเหลือกันตามสนธิสัญญาที่ทำไว้ เพื่อร่วมรบหรือเพื่อการป้องกันร่วมกัน.
  87. พันธุ,พันธุ-,พันธุ์
    หมายถึง น. พวกพ้อง, เชื้อสาย, วงศ์วาน; เทือกเถา, เหล่ากอ; เชื้อ เช่น ข้าวเก็บไว้ทำพันธุ์ พันธุ์ข้าว. (ป., ส.).
  88. พันธุกรรม
    หมายถึง น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย หรือพ่อแม่, กรรมพันธุ์ ก็ว่า.
  89. พันปี
    หมายถึง น. คำเรียกพระราชชนนีว่า สมเด็จพระพันปี; (โบ) พระเจ้าแผ่นดิน.
  90. พันพัว
    หมายถึง ว. เกี่ยวเนื่องกัน, ผูกพันกัน, เกี่ยวโยงพาดพิงถึงกัน, เช่น พันพัวกับคดีทุจริต, พัวพัน ก็ว่า.
  91. พันลอก
    หมายถึง ก. ผลิ. น. ดอกไม้. (ข.).
  92. พันลาย
    หมายถึง ว. ต่าง ๆ, มาก, หลาย.
  93. พันลำ
    หมายถึง น. ชื่อลายที่พันสิ่งกลม ๆ ยาว ๆ.
  94. พันลึก
    หมายถึง ว. พิลึก, พึงกลัว, แปลก, ลึกซึ้ง, ใช้เข้าคู่กับคำ พันลือ เป็น พันลึกพันลือ ก็มี.
  95. พันลือ,-พันลือ
    หมายถึง ว. ใช้เข้าคู่กับคำ พันลึก เป็น พันลึกพันลือ. (ดู พันลึก).
  96. พันวรรษา
    หมายถึง [-วัดสา] น. คำเรียกพระเจ้าแผ่นดินแต่โบราณว่า พระพันวรรษา.
  97. พันเลิศ
    หมายถึง ว. เลิศยิ่ง.
  98. พันเอิญ
    หมายถึง (โบ) ว. เผอิญ.
  99. พันแข้งพันขา
    หมายถึง ก. เคล้าแข้งเคล้าขา เช่น ลูกแมวพันแข้งพันขา.
  100. พันแสง
    หมายถึง น. “ผู้มีแสงพันหนึ่ง” คือ พระอาทิตย์.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด พ (หน้าที่ 8)"