พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ป (หน้าที่ 8)

  1. ปริ
    หมายถึง [ปฺริ] ก. แย้ม, ผลิ, แตกแต่น้อย.
  2. ปริ,ปริ-,ปริ-
    หมายถึง [ปะริ-] เป็นอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต, ใช้นำหน้าศัพท์อื่นแปลว่า รอบ เช่น ปริมณฑล.
  3. ปริก
    หมายถึง [ปฺริก] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Asparagus sprengeri Regel ในวงศ์ Asparagaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอม ใช้ทำยาได้.
  4. ปริก
    หมายถึง [ปฺริก] น. ส่วนยอดของฝาโถหรือผอบที่ทำด้วยทองอย่างหัวแหวนนพเก้า สำหรับสวมบนฝาโถหรือผอบ.
  5. ปริกขาร
    หมายถึง [ปะริกขาน] น. บริขาร. (ป.).
  6. ปริกรรม,ปริกรรม-
    หมายถึง [ปะริกำ, ปะริกำมะ-] น. บริกรรม. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).
  7. ปริกรรมนิมิต
    หมายถึง [ปะริกำมะนิมิด] น. “อารมณ์ในบริกรรม” คือ สิ่งที่ใช้เพ่งหรือนึกเป็นอารมณ์ในเวลาบริกรรม. (ป. ปริกมฺมนิมิตฺต; ส. ปริกรฺม + นิมิตฺต).
  8. ปริกัป
    หมายถึง [ปะริกับ] ก. กำหนด. (ป. ปริกปฺป; ส. ปริกลฺป).
  9. ปริกัลป,ปริกัลป-
    หมายถึง [ปะริกันละปะ-] น. ความตรึก, ความดำริ, ความกำหนดในใจ. (ส. ปริกลฺป; ป. ปริกปฺป).
  10. ปริกัลปมาลา
    หมายถึง น. ระเบียบกริยาในไวยากรณ์ที่บอกความคาดหมาย ความกำหนด. (ส.).
  11. ปริขา
    หมายถึง [ปะ-] น. คู; สนามเพลาะ. (ป., ส.).
  12. ปริคณห์
    หมายถึง [ปะริคน] น. บริคณห์. (ป. ปริคหณ).
  13. ปริจาค
    หมายถึง [ปะริจาก] น. บริจาค. (ป. ปริจฺจาค).
  14. ปริจาริกา
    หมายถึง [ปะ-] น. บริจาริกา. (ป.).
  15. ปริชน
    หมายถึง [ปะ-] น. บริชน. (ป.).
  16. ปริซึม
    หมายถึง [ปฺริ-] (คณิต) น. แท่งตันชนิดหนึ่ง ปลายทั้ง ๒ เป็นรูปหลายเหลี่ยมซึ่งมีพื้นที่เท่ากัน เป็นรูปแบบเดียวกันและขนานกันด้วย ส่วนด้านข้างทุกด้านของแท่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน; (ฟิสิกส์) แท่งตันทำด้วยวัตถุโปร่งใส เช่นแก้ว หินควอตซ์ ปลายทั้ง ๒ เป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งมีพื้นที่เท่ากัน เป็นรูปแบบเดียวกันและขนานกันด้วย ส่วนด้านข้างทุกด้านของแท่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ใช้ประโยชน์สำหรับหักเหแนวทางเคลื่อนที่ของแสง. (อ. prism).
  17. ปริญญา
    หมายถึง [ปะรินยา] น. ความกำหนดรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบ; ชั้นความรู้ขั้นมหาวิทยาลัยซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามที่กำหนดไว้, ถ้าประสาทแก่ผู้ทรงวิทยาคุณหรือผู้มีเกียรติตามที่เห็นสมควร เรียกว่า ปริญญากิตติมศักดิ์. (ป.; ส. ปริชฺา).
  18. ปริญญาบัตร
    หมายถึง น. บัตรที่แสดงวิทยฐานะของผู้สำเร็จการศึกษาว่ามีศักดิ์และสิทธิ์ระดับปริญญา.
  19. ปริณาม
    หมายถึง [ปะ-] น. การผันแปร, การเปลี่ยนแปลง, การย่อยไป. (ป.).
  20. ปริณามัคคิ
    หมายถึง น. ไฟธาตุที่ย่อยอาหาร. (ป.).
  21. ปริณายก
    หมายถึง [ปะ-] น. ผู้นำบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. ปรินายก).
  22. ปริต,ปริต-,ปริตตะ
    หมายถึง [ปะริด, ปะริดตะ-] ว. น้อย. (ป. ปริตฺต; ส. ปรีตฺต).
  23. ปริตทวีป
    หมายถึง น. ทวีปน้อย, คู่กับ มหาทวีป. (ป. ปริตฺต + ส. ทฺวีป).
  24. ปริตยาค
    หมายถึง [ปะริดตะยาก] (แบบ) ก. บริจาค. (ส. ปริตฺยาค; ป. ปริจฺจาค).
  25. ปริตร
    หมายถึง [ปะหฺริด] น. ความต้านทาน, เครื่องป้องกัน; พระพุทธมนต์ในเจ็ดตำนานที่เรียกว่า สัตปริตร และสิบสองตำนานที่เรียกว่า ทวาทศปริตร, ตำนานหนึ่ง เรียกว่า ปริตรหนึ่ง. ว. น้อย. (ส.; ป. ปริตฺต).
  26. ปริตโตทก
    หมายถึง [ปะริดโตทก] น. นํ้าพระปริตร, นํ้าพระพุทธมนต์. (ป.).
  27. ปริทรรศน์
    หมายถึง [ปะริทัด] น. ชื่อกล้องชนิดหนึ่งที่ใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีที่กำบังขวางกั้น หรือใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เหนือระดับสายตาผู้มอง เช่น กล้องเรือดำนํ้า, กล้องตาเรือ ก็เรียก. (อ. periscope).
  28. ปริทัยหัคคี
    หมายถึง [ปะริไทหักคี] น. ไฟธาตุที่ทำกายให้กระสับกระส่าย. (ป. ปริฑยฺหคฺคิ).
  29. ปริทัศน์
    หมายถึง [ปะริทัด] น. การวิจารณ์; หนังสือประเภทวารสารที่วิจารณ์ข่าวหรือเรื่องราวต่าง ๆ. (ส. ปริ + ทรฺศน).
  30. ปรินิพพาน
    หมายถึง [ปะรินิบพาน] น. การดับรอบ, การดับสนิท, การดับโดยไม่เหลือ; เรียกอาการตายของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์. (ป.; ส. ปรินิรฺวาณ).
  31. ปริบ
    หมายถึง [ปฺริบ] ว. อาการกะพริบบ่อย ๆ, อาการของหยาดนํ้าฝนที่หยดลงน้อย ๆ.
  32. ปริบท
    หมายถึง [ปะริ-] น. บริบท.
  33. ปริปันถ์
    หมายถึง [ปะริ-] น. อันตราย, อันตรายในทางเปลี่ยว. (ป., ส.).
  34. ปริปาก
    หมายถึง ก. แย้มปากพูดออกมา (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าปริปากบอกใครนะ.
  35. ปริพนธ์
    หมายถึง [ปะริ-] ก. ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง. (ป. ปริพนฺธ).
  36. ปริพัตร
    หมายถึง [ปะริพัด] ก. บริพัตร. (ป. ปริวตฺต; ส. ปริวรฺต).
  37. ปริพันธ์
    หมายถึง [ปะริ-] ก. บริพันธ์. (ป.).
  38. ปริพาชก
    หมายถึง [ปะริ-] น. นักบวชผู้ชายในอินเดีย นอกพระพุทธศาสนา, เพศหญิงใช้ว่า ปริพาชิกา หรือ ปริพาชี. (ป. ปริพฺพาชก).
  39. ปริภัณฑ์
    หมายถึง [ปะริพัน] น. บริภัณฑ์.
  40. ปริภาษ,ปริภาษณ์
    หมายถึง [ปะริพาด] ก. บริภาษ. (ส.; ป. ปริภาส).
  41. ปริภุญช์
    หมายถึง [ปะริพุน] ก. กิน. (ป., ส.).
  42. ปริภูมิ
    หมายถึง [ปะริพูม] (คณิต) น. เซตที่มีโครงสร้างบางอย่าง อาจเป็นโครงสร้างแบบเรขาคณิตหรือโครงสร้างแบบอื่นก็ได้. (อ. space).
  43. ปริมณฑล
    หมายถึง [ปะริมนทน] น. วงรอบ; ความเรียบร้อย เช่น นุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล. (ป.).
  44. ปริมัท
    หมายถึง [ปะริมัด] ก. นวด, บีบ, ขยำ. (ป.; ส. ปริมรฺทน, ปริมรฺท).
  45. ปริมาณ
    หมายถึง [ปะริมาน] น. กำหนดความมากน้อยของจำนวน.
  46. ปริมาตร
    หมายถึง [ปะริมาด] น. ขนาดของสิ่งใด ๆ ที่มีรูปทรง ๓ มิติ และระบุปริมาณเป็นหน่วยลูกบาศก์ เช่น ลูกบาศก์เมตร ลูกบาศก์ฟุต.
  47. ปริย,ปริย-
    หมายถึง [ปฺริยะ-] ว. ที่รัก. (ส. ปฺริย; ป. ปิย).
  48. ปริยรณ
    หมายถึง [ปฺริยะรน] น. ผู้ชอบรบ. (ส.).
  49. ปริยวาท
    หมายถึง [ปฺริยะวาด] น. คำพูดเป็นที่รัก. (ส.).
  50. ปริยวาที
    หมายถึง [ปฺริยะ-] น. ผู้มีถ้อยคำอ่อนหวาน. (ส. ปฺริยวาทินฺ).
  51. ปริยัติ
    หมายถึง [ปะริยัด] น. การเล่าเรียนพระไตรปิฎก. (ป. ปริยตฺติ).
  52. ปริยัติธรรม
    หมายถึง [ปะริยัดติทำ] น. ธรรมที่จะต้องเล่าเรียนได้แก่พระไตรปิฎก.
  53. ปริยานุช
    หมายถึง [ปฺริยานุด] น. น้องที่รัก. (ส.).
  54. ปริยาย
    หมายถึง [ปะริ-] น. อย่าง, ทาง, หนทาง; การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม, ตรงข้ามกับ นิปริยาย คือ อย่างตรง; การสอน, การเล่าเรื่อง. ว. อ้อม; (กฎ) หมายความถึงกรณีที่เจตนาในการกระทำมิได้แสดงออกอย่างชัดแจ้ง เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าชัดแจ้ง. (ป.).
  55. ปริวรรต,ปริวรรต-
    หมายถึง [ปะริวัด, ปะริวัดตะ-] ก. หมุนเวียน เช่น ปริวรรตเงินตรา; เปลี่ยนแปลง, เปลี่ยนไป, แปรไป. (ส. ปริวรฺต; ป. ปริวตฺต).
  56. ปริวรรตกรรม
    หมายถึง [ปะริวัดตะกำ] (แบบ) น. การหมุนเวียน.
  57. ปริวัตร
    หมายถึง [ปะริวัด] (แบบ) ก. ปริวรรต เช่น จะเชื้อเชิญพระดาบสให้ปริวัตรเป็นบรมกษัตริย์. (ม. กาพย์ สักบรรพ).
  58. ปริวาร
    หมายถึง [ปะริวาน] น. บริวาร. (ป.).
  59. ปริวาส
    หมายถึง [ปะริวาด] น. การอยู่ค้างคืน, การอยู่แรมคืน; ชื่อกรรมที่ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสต้องประพฤติ. (ป.).
  60. ปริวิตก
    หมายถึง [ปะริ-] ก. นึกเป็นทุกข์หนักใจ. (ป. ปริวิตกฺก ว่า การตรึกตรอง).
  61. ปริศนา
    หมายถึง [ปฺริดสะหฺนา] น. สิ่งหรือถ้อยคำที่ผูกขึ้นเป็นเงื่อนงำเพื่อให้แก้ให้ทาย. (ส. ปฺรศฺน).
  62. ปริศนาธรรม
    หมายถึง น. ปริศนาในทางธรรม.
  63. ปริศนาลายแทง
    หมายถึง น. ข้อความที่เป็นปริศนาเป็นเครื่องแสดงขุมทรัพย์ที่ฝังอยู่ในดินเป็นต้น.
  64. ปริศนาอักษรไขว้
    หมายถึง น. ปริศนาที่จะต้องตอบโดยการเติมคำลงในตารางสี่เหลี่ยมที่กำหนดให้ช่องละ ๑ อักษร แล้วให้อ่านได้ใจความทั้งในแนวยืนและแนวนอน.
  65. ปริษการ
    หมายถึง [ปะริดสะกาน] น. บริขาร. (ส. ปริษฺการ; ป. ปริกฺขาร).
  66. ปริษัท
    หมายถึง [ปะริสัด] น. บริษัท. (ส. ปริษทฺ; ป. ปริส).
  67. ปริสัญญู
    หมายถึง [ปะริสันยู] น. ผู้รู้จักประชุมชนและกิริยาที่จะต้องประพฤติต่อประชุมชนนั้น ๆ ว่า หมู่นี้เมื่อเข้าไปหาจะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น. (ป.).
  68. ปริสุทธิ
    หมายถึง [ปะริสุดทิ] ก. บริสุทธิ์. (ป.).
  69. ปริหาน
    หมายถึง [ปะริ-] น. ความเสื่อมรอบ, ความเสื่อมทั่วไป. (ป.).
  70. ปริหาร
    หมายถึง [ปะริหาน] น. บริหาร. (ป.).
  71. ปริหาส
    หมายถึง [ปะริหาด] ก. บริหาส. (ป.).
  72. ปริเฉท
    หมายถึง [ปะริเฉด] น. บริเฉท. (ป. ปริจฺเฉท).
  73. ปริเทพ,ปริเทพน์
    หมายถึง [ปะริเทบ] น. ปริเทวะ.
  74. ปริเทวนะ,ปริเทวะ
    หมายถึง [ปะริเทวะ-] น. ความครํ่าครวญ, ความรำพันด้วยเสียใจ, ความบ่นเพ้อ. (ป.).
  75. ปริเยศ
    หมายถึง [ปฺริเยด] (กลอน) ว. ที่รัก.
  76. ปริเวณ
    หมายถึง [ปะริ-] น. บริเวณ. (ป.).
  77. ปริโภค
    หมายถึง [ปะริโพก] ก. บริโภค. (ป.).
  78. ปริโยสาน
    หมายถึง [ปะริ-] น. ที่สุดลงโดยรอบ (หมายความว่า ที่สุดหรือจบลงอย่างบริบูรณ์แล้ว), จบ. (ป.).
  79. ปริ่ม
    หมายถึง [ปฺริ่ม] ว. เสมอขอบ, เสมอพื้น, (ในลักษณะอย่างนํ้าที่ขึ้นเสมอขอบตลิ่งหรือดอกบัวที่โผล่ขึ้นเสมอพื้นนํ้าเป็นต้น); อาการที่มีความยินดีปลื้มใจ เช่น ปริ่มใจ ปริ่มยิ้ม ปริ่มเปรม.
  80. ปรีชญา
    หมายถึง [ปฺรีดยา] (แบบ) น. ปรีชา เช่น อันประกอบด้วยจักษุคือปรีชญา. (นันโท). (ส. ปริชฺา).
  81. ปรีชา
    หมายถึง [ปฺรี-] น. ปัญญาสามารถ, ความรอบรู้จัดเจน. (ส. ปริชฺา; ป. ปริญฺา).
  82. ปรีดา
    หมายถึง [ปฺรี-] ก. อิ่มใจ, ปลื้มใจ, ยินดี. (ส.).
  83. ปรีดิ,ปรีดิ์,ปรีดี
    หมายถึง [ปฺรี-, ปฺรี] น. ความอิ่มใจ, ความปลื้มใจ, ความยินดี. (ส. ปฺรีติ; ป. ปีติ).
  84. ปรีติ
    หมายถึง [ปฺรี-] น. ปีติ, ความปลาบปลื้มใจ, ความอิ่มใจ. (ส.; ป. ปีติ).
  85. ปรียะ,ปรียา
    หมายถึง [ปฺรี-] ว. ที่รัก. (ส. ปฺริย; ป. ปิย).
  86. ปรี่
    หมายถึง [ปฺรี่] ก. รี่ เช่น ปรี่เข้าใส่. ว. เกือบล้น ในลักษณะเช่นนํ้าเต็มจนเกือบล้นมิล้นแหล่, ริน ๆ เช่น ไหลปรี่.
  87. ปรี๊ด
    หมายถึง [ปฺรี๊ด] ว. อาการที่นํ้าหรือของเหลวพุ่งออกมาโดยแรงจากช่องแคบ ๆ มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น น้ำพุ่งปรี๊ด บ้วนนํ้าลายปรี๊ด; มาก เช่น สูงปรี๊ด, จัด (ใช้แก่รสเปรี้ยว); เสียงอย่างเสียงเป่านกหวีดยาว ๆ.
  88. ปรึก
    หมายถึง [ปฺรึก] น. ชื่อนํ้ามันชนิดหนึ่ง โดยเอานํ้ามันยางมาปรุงหุงสำหรับทาไม้ต่าง ๆ.
  89. ปรึกษา
    หมายถึง [ปฺรึกสา] ก. หารือ, ขอความเห็นแนะนำ, พิจารณาหารือกัน, พิจารณาอภิปรายกัน เช่น ประชุมปรึกษา, พิจารณาร่างคำพิพากษา เช่น ผู้ปรึกษา (ในทางศาล). น. เรียกความเห็นแนะนำที่ให้เนื่องด้วยการหารือว่า คำปรึกษา, เรียกผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นแนะนำว่า ที่ปรึกษา, เรียกผู้รับหารือเพื่อให้ความเห็นแนะนำว่า ผู้รับปรึกษา. (ส. ปรีกฺษา).
  90. ปรึง
    หมายถึง [ปฺรึง] ว. อย่างเร่งรีบ, เต็มที่, เช่น บ้างควบปรึงตะบึงไปไม่รอรั้ง. (อิเหนา). (ข. บฺรึง).
  91. ปรือ
    หมายถึง [ปฺรือ] ว. ลักษณะอาการของนัยน์ตาที่หรี่เพราะง่วงแต่ฝืนไว้, ลักษณะของนัยน์ตาที่มีอาการเช่นนั้น. ก. ฝึกหัด ในคำว่า ฝึกปรือ; เลี้ยงดู ในคำว่า ปรนปรือ.
  92. ปรือ
    หมายถึง [ปฺรือ] น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Scleria poaeformis Retz. ในวงศ์ Cyperaceae ขึ้นในนํ้า ใบยาว ๆ ใช้มุงหลังคาและสานเสื่อเป็นต้น, อีสานเรียก แวง. (๒) ดู กกช้าง.
  93. ปรื๋อ
    หมายถึง [ปฺรื๋อ] ว. อาการที่นกบินพุ่งไปอย่างเร็ว, โดยปริยายหมายความว่า มีอาการรวดเร็วเช่นนั้น เช่น แล่นปรื๋อ วิ่งปรื๋อ.
  94. ปรุ
    หมายถึง [ปฺรุ] ก. ทำให้เป็นรู ๆ, สลักให้เป็นรู ๆ มีลวดลายต่าง ๆ. ว. เป็นรูเล็ก ๆ เช่น หน้าปรุ; ทะลุ, ตลอด, เช่น เที่ยวเสียปรุ.
  95. ปรุง
    หมายถึง [ปฺรุง] ก. ประสมหรือประกอบให้เหมาะส่วน.
  96. ปรุโปร่ง
    หมายถึง ว. โล่งตลอด.
  97. ปรู
    หมายถึง [ปฺรู] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Alangium salviifolium Wang. ในวงศ์ Alangiaceae ดอกสีขาว ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ กลิ่นหอม เนื้อไม้สีนํ้าตาลคลํ้า ใช้ทำด้ามปืน พานท้ายปืน เปลือกรากใช้ทำยาได้.
  98. ปรู
    หมายถึง [ปฺรู] ว. พรู.
  99. ปรูด,ปรู๊ด
    หมายถึง [ปฺรูด, ปฺรู๊ด] ว. อาการที่นํ้าหรือของเหลวเป็นต้นพุ่งออกจากช่องแคบโดยเร็วแรง, โดยปริยายหมายความว่า ฉับไว.
  100. ปรูดปราด,ปรู๊ดปร๊าด
    หมายถึง ว. อาการที่เคลื่อนไหวอย่างว่องไว รวดเร็ว.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ป (หน้าที่ 8)"