พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ป (หน้าที่ 7)

  1. ประโคนธรรพ,ประโคนธรรพ์
    หมายถึง [ปฺระโคนทับ, ปฺระโคนทัน] น. หัวหน้าคนธรรพ์ผู้เป็นเจ้าแห่งการดนตรี ถือว่าเป็นครูปี่พาทย์, เขียนเป็น ประคนธรรพ หรือ ประคนธรรพ์ ก็มี.
  2. ประโคม
    หมายถึง ก. บรรเลงดนตรีเพื่อเป็นสัญญาณในพิธีบางอย่างเพื่อสักการบูชาหรือยกย่องเป็นต้น.
  3. ประโคมข่าว
    หมายถึง ก. ป่าวประกาศให้ครึกโครม.
  4. ประโดง
    หมายถึง น. ลำน้ำขนาดเล็กที่ขุดจากลำน้ำขนาดใหญ่เพื่อชักน้ำเข้านาเข้าสวน เรียกว่า ลำประโดง, ลำกระโดง ก็ว่า.
  5. ประโดย
    หมายถึง ก. พลอยตาม, ยอมตาม.
  6. ประโปรย
    หมายถึง [-โปฺรย] ก. ทำน้ำให้กระจายเป็นเม็ดเล็ก ๆ เช่น ประโปรยน้ำจากพระสุหร่าย.
  7. ประโพธ
    หมายถึง [ปฺระโพด] น. การตื่นจากหลับ คือมีสติ; การรู้ทั่ว. (ป. ปโพธ; ส. ปฺรโพธ).
  8. ประโมง
    หมายถึง น. การจับสัตว์นํ้า; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า; โดยทั่วไปใช้ ประมง.
  9. ประโมทย์
    หมายถึง [ปฺระโมด] น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, โดยมากใช้ ปราโมทย์.
  10. ประโยค
    หมายถึง [ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คำพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).
  11. ประโยคประธาน
    หมายถึง [-โหฺยก-] น. หลักไวยากรณ์, หลัก.
  12. ประโยชน์
    หมายถึง [ปฺระโหฺยด] น. สิ่งที่มีผลใช้ได้ดีสมกับที่คิดมุ่งหมายไว้, ผลที่ได้ตามต้องการ, สิ่งที่เป็นผลดีหรือเป็นคุณ, เช่น ประโยชน์ของการศึกษา ประโยชน์ของโรงเรียน. (ส. ปฺรโยชน; ป. ปโยชน).
  13. ประโรหิต
    หมายถึง น. ปุโรหิต, พราหมณ์ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์. (ส., ป. ปุโรหิต).
  14. ประโลประเล
    หมายถึง (ปาก) ก. พูดหรือทำพอให้เสร็จ ๆ ไปโดยไม่ต้องการรายละเอียด, ปุโลปุเล ก็ว่า.
  15. ประโลม
    หมายถึง ก. ทำให้เป็นที่เบิกบานพึงอกพึงใจ.
  16. ประโลมโลก
    หมายถึง ว. เกี่ยวกับเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ เช่น หนังสือประโลมโลก นิยายประโลมโลก.
  17. ประไพ
    หมายถึง ว. งาม.
  18. ประไหมสุหรี
    หมายถึง น. ตำแหน่งพระมเหสีที่ ๑ หรืออัครมเหสีของกษัตริย์ชวาในวงศ์อสัญแดหวา.
  19. ปรัก
    หมายถึง [ปฺรัก] ว. เงิน. (ข.).
  20. ปรัก
    หมายถึง [ปะหฺรัก] ก. หัก.
  21. ปรักปรำ
    หมายถึง [ปฺรักปฺรำ] ก. กล่าวโทษหรือให้การใส่ร้ายเกินความเป็นจริง.
  22. ปรักมะ
    หมายถึง [ปะรักกะ-] น. ความเพียร, ความบากบั่น. (ป. ปรกฺกม).
  23. ปรักหักพัง
    หมายถึง [ปะหฺรัก-] ก. ชำรุด, ทรุดโทรม, (ใช้แก่สิ่งก่อสร้าง).
  24. ปรัง
    หมายถึง [ปฺรัง] น. เรียกนาที่ต้องทำในฤดูแล้งว่า นาปรัง. (ข. ปฺรัง ว่า ฤดูแล้ง). ว. เกินเวลา, เกินกำหนด, เช่น จมปรัง ว่า อยู่เกินเวลา.
  25. ปรัชญา
    หมายถึง [ปฺรัดยา, ปฺรัดชะยา] น. วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง. (ส.).
  26. ปรัด
    หมายถึง [ปะหฺรัด] (กลอน) ก. แต่ง.
  27. ปรัตถจริยา
    หมายถึง [ปะรัดถะจะ-] น. ความประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น. (ป.).
  28. ปรัตยนต์
    หมายถึง [ปฺรัดตะยน] (โบ; กลอน) ว. ปัจจันต์. (ส. ปฺรตฺยนฺต; ป. ปจฺจนฺต).
  29. ปรัตยักษ์
    หมายถึง [ปฺรัดตะยัก] (โบ; กลอน) ว. ประจักษ์. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
  30. ปรัตยันต์
    หมายถึง [ปฺรัดตะยัน] (โบ; กลอน) ว. ปัจจันต์. (ส.; ป. ปจฺจนฺต).
  31. ปรัตยัย
    หมายถึง [ปฺรัดตะไย] (โบ; กลอน) น. ปัจจัย. (ส. ปฺรตฺยย; ป. ปจฺจย).
  32. ปรัตยุตบัน,ปรัตยุบัน
    หมายถึง [ปฺรัดตะยุดบัน, ปฺรัดตะยุบัน] น. ปัจจุบัน. (ส. ปฺรตฺยุตฺปนฺน; ป. ปจฺจุปฺปนฺน).
  33. ปรัตยูษ
    หมายถึง [ปฺรัดตะยูด] (โบ; กลอน) ว. ปัจจูส, เช้ามืด, ใกล้รุ่ง. (ส. ปฺรตฺยูษ; ป. ปจฺจูส).
  34. ปรัตยูห์
    หมายถึง [ปฺรัดตะยู] (โบ; กลอน) น. อันตราย, ความขัดข้อง. (ส. ปฺรตฺยูห; ป. ปจฺจูห).
  35. ปรัตเยก
    หมายถึง [ปฺรัดตะเยก] (โบ; กลอน) ว. ปัจเจก. (ส. ปฺรเตฺยก; ป. ปจฺเจก).
  36. ปรัน
    หมายถึง [ปฺรัน] ก. เอาของใหญ่กระแทกหรือดันเข้าไปในของเล็ก (มักใช้เป็นคำด่า).
  37. ปรับ
    หมายถึง [ปฺรับ] ก. บอก, เล่า. (ข. บฺราป่).
  38. ปรับ
    หมายถึง [ปฺรับ] ก. เปรียบ, เทียบ; ทำให้อยู่ในสภาพที่เหมาะหรือดีขึ้น, ทำให้เรียบ, ทำให้เสมอ; ลงโทษให้ใช้เงินเพราะทำผิด, ลงโทษให้เป็นแพ้; (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ต้องโทษต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล หรือตามที่เจ้าพนักงานเปรียบเทียบ เรียกว่า โทษปรับ.
  39. ปรับทุกข์
    หมายถึง ก. บอกเล่าความทุกข์, พรรณนาถึงความทุกข์.
  40. ปรับปรุง
    หมายถึง ก. แก้ไขให้เรียบร้อยยิ่งขึ้น.
  41. ปรับอากาศ
    หมายถึง ว. ที่ปรับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่าเครื่องปรับอากาศ.
  42. ปรับอาบัติ
    หมายถึง ก. เอาโทษเป็นผิดตามพระวินัย (ใช้แก่พระภิกษุ).
  43. ปรับโทษ
    หมายถึง (กฎ) ก. กำหนดโทษที่จะลง.
  44. ปรับไหม
    หมายถึง (กฎ; โบ) ก. ให้ผู้กระทำผิดหรือกระทำละเมิดชำระเงินค่าสินไหมทดแทนหรือค่าปรับ.
  45. ปรัมปรา
    หมายถึง [ปะรำปะรา] ว. สืบ ๆ กันมา, เก่าก่อน. (ป., ส.).
  46. ปรัศจิม
    หมายถึง [ปฺรัดสะจิม] (แบบ) น. ปัจฉิม. (ส. ปศฺจิม; ป. ปจฺฉิม).
  47. ปรัศนา
    หมายถึง [ปฺรัดสะ-] (แบบ) น. ปัญหา. (ส. ปฺรศฺน; ป. ปญฺห).
  48. ปรัศนี
    หมายถึง [ปฺรัดสะ-] น. เครื่องหมายรูปดังนี้ ?, เครื่องหมายคำถาม ก็เรียก; สิ่งที่เป็นเงื่อนงำต้องหาคำตอบ. (ส.).
  49. ปรัศว์
    หมายถึง [ปะหฺรัด] น. ข้าง, สีข้าง; เรียกเรือนหลวงซึ่งอยู่ขนานทั้ง ๒ ข้างของเรือนหลวงหรือพระที่นั่งที่เป็นประธาน. (ส. ปารฺศฺว; ป. ปสฺส).
  50. ปรัสสบท
    หมายถึง [ปะรัดสะบด] น. “บทเพื่อผู้อื่น”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.
  51. ปรั่น,ปรั้น
    หมายถึง [ปฺรั่น, ปฺรั้น] ว. เสียงแปร้น เช่น ร้องก้องปรั่นประดิรพยทั่วแล. (ม. คำหลวง สักบรรพ).
  52. ปรากฏ
    หมายถึง [ปฺรากด] ก. สำแดงออกมาให้เห็น. (ส. ปฺรกฏ; ป. ปากฏ).
  53. ปรากฏการณ์
    หมายถึง [ปฺรากดกาน, ปฺรากดตะกาน] น. การสำแดงออกมาให้เห็น.
  54. ปรากรม
    หมายถึง [ปะรากฺรม] น. ความเพียร, ความบากบั่น. (ส.).
  55. ปรากฤต
    หมายถึง [ปฺรากฺริด] น. ภาษาพื้นเมืองในอินเดียสมัยโบราณซึ่งสืบเนื่องมาจากภาษาตระกูลอริยกะ. (ส.).
  56. ปราการ
    หมายถึง [ปฺรากาน] น. กำแพงสำหรับป้องกันการรุกราน. (ส. ปฺราการ; ป. ปาการ).
  57. ปราคภาร
    หมายถึง [ปฺรากพาน] น. เงื้อมภูเขา. (ส. ปฺราคฺภาร; ป. ปพฺภาร).
  58. ปราคาร
    หมายถึง [ปฺราคาน] น. ตึกใหญ่. (ส.).
  59. ปราง
    หมายถึง [ปฺราง] น. แก้ม; มะปราง.
  60. ปรางคณะ
    หมายถึง [ปฺรางคะนะ] น. คณะ, สำนัก; สนาม; พื้นอย่างพื้นเรือน. (ส.).
  61. ปรางค์
    หมายถึง [ปฺราง] น. สิ่งก่อสร้างมียอดสูงขึ้นไปมีรูปทรงคล้ายฝักข้าวโพดและมีฝักเพกาปักอยู่ข้างบน, ถ้าเป็นเจดีย์มียอดเช่นนั้น เรียกว่า เจดีย์ยอดปรางค์.
  62. ปรางค์ปรา
    หมายถึง [ปฺรางปฺรา] (กลอน) ตัดมาจาก ปรางค์ปราสาท.
  63. ปราจีน
    หมายถึง [ปฺราจีน] น. ทิศตะวันออก. (ส. ปฺราจีน; ป. ปาจีน).
  64. ปราชญา
    หมายถึง [ปฺราดยา] น. ปัญญา. (ส. ปฺรชฺา; ป. ปญฺา).
  65. ปราชญ์
    หมายถึง [ปฺราด] น. ผู้มีปัญญารอบรู้. (ส. ปฺราชฺ).
  66. ปราชัย
    หมายถึง [ปะราไช] น. ความพ่ายแพ้. ก. พ่ายแพ้. (ป.).
  67. ปราชาปัตยวิวาหะ
    หมายถึง [ปฺราชาปัดตะยะ-] น. การสมรสวิธีหนึ่งที่บิดายกลูกสาวให้เจ้าบ่าวโดยปราศจากการเรียกร้องอย่างใดอย่างหนึ่งจากเจ้าบ่าว. (ส.).
  68. ปราชิต
    หมายถึง [ปะราชิด] ก. แพ้. (ป.).
  69. ปราณ
    หมายถึง [ปฺราน] น. ลมหายใจ; สัตว์มีชีวิต, ชีวิต, ใจ. (ส. ปฺราณ; ป. ปาณ).
  70. ปราณี
    หมายถึง [ปฺรานี] น. ผู้มีชีวิต, สัตว์, คน. (ส. ปฺราณิ, ปฺราณินฺ; ป. ปาณี).
  71. ปราด
    หมายถึง [ปฺราด] ก. แล่นอย่างฉับไว เช่น ปราดเข้าใส่. ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว เช่น วิ่งปราด.
  72. ปราดเปรียว
    หมายถึง ว. ว่องไว, คล่องแคล่ว.
  73. ปราดเปรื่อง
    หมายถึง ว. มีความคิดแคล่วคล่องว่องไว, เปรื่องปราด ก็ว่า.
  74. ปราติหารย์
    หมายถึง [ปฺราติหาน] (กลอน) น. ปาฏิหาริย์. (ส. ปฺราติหารฺย; ป. ปาฏิหาริย).
  75. ปราทุกรา
    หมายถึง [ปฺราทุกฺรา] (กลอน) น. ปาทุกา, รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
  76. ปราน
    หมายถึง [ปฺราน] น. โคตร, วงศ์.
  77. ปรานี
    หมายถึง [ปฺรา-] ก. เอ็นดูด้วยความสงสาร.
  78. ปรานีตีเอาเรือ
    หมายถึง (สำ) ก. เอ็นดูหรือเผื่อแผ่เขา แต่กลับถูกประทุษร้ายตอบ เช่น มุทะลุดุดันขันเหลือ ปรานีตีเอาเรือเสียอีกเล่า. (สังข์ทอง).
  79. ปรานีปราศรัย
    หมายถึง [ปฺรานีปฺราไส] ก. ปรานี (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
  80. ปราบ
    หมายถึง [ปฺราบ] ก. ทำให้ราบ, ทำให้อยู่ในอำนาจ.
  81. ปราบดาภิเษก
    หมายถึง [ปฺราบดาพิเสก] ว. มีอภิเษกอันถึงแล้ว. น. พระราชพิธีอภิเษกของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งได้ราชสมบัติมาด้วยการรบชนะข้าศึก. (ส. ปฺราปฺต + อภิเษก).
  82. ปราบปราม
    หมายถึง ก. ทำให้สงบราบคาบ.
  83. ปราปต์
    หมายถึง [ปฺราบ] ก. ถึงแล้ว, ได้แล้ว. (ส. ปฺราปฺต; ป. ปตฺต).
  84. ปราภพ
    หมายถึง [ปะราพบ] น. ความฉิบหาย. (ป. ปราภว).
  85. ปราม
    หมายถึง [ปฺราม] ก. ว่ากล่าวตักเตือนให้เกรงกลัว.
  86. ปรามาส
    หมายถึง [ปฺรามาด] ก. ดูถูก.
  87. ปรามาส
    หมายถึง [ปะรามาด] น. การจับต้อง, การลูบคลำ. (ป.).
  88. ปราย
    หมายถึง [ปฺราย] ก. ซัด, หว่าน, สาดให้กระจายไป, เช่น ปรายข้าวตอกดอกไม้, มักใช้เข้าคู่กับคำ โปรย เป็น โปรยปราย.
  89. ปรารถนา
    หมายถึง [ปฺราดถะหฺนา] ก. มุ่งหมาย, อยากได้, ต้องการ. (ส. ปฺรารฺถนา; ป. ปตฺถนา).
  90. ปรารภ
    หมายถึง [ปฺรารบ] ก. กล่าวถึง; ตั้งต้น; ดำริ. (ส.).
  91. ปรารมภ์
    หมายถึง [ปฺรารม] ก. เริ่มแรก; วิตก, รำพึง, ครุ่นคิด. (ส. ปฺรารมฺภ ว่า เริ่มแรก, เริ่มต้น).
  92. ปราศ,ปราศจาก
    หมายถึง [ปฺราด, ปฺราดสะจาก] ก. พ้นไป, ไม่มี.
  93. ปราศรัย
    หมายถึง [ปฺราไส] น. การพูดด้วยไมตรีจิต, การแสดงอัชฌาสัยในระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; คำปรารภ. ก. พูดด้วยไมตรีจิต, พูดแสดงอัชฌาสัยระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; ปรารภ. (ส. ปฺรศฺรย).
  94. ปราษณี
    หมายถึง [ปฺราดสะนี] น. ส้นเท้า. (ส. ปารฺษฺณี; ป. ปณฺหิ).
  95. ปราษาณ
    หมายถึง [ปฺราสาน] น. หิน. (ส. ปาษาณ; ป. ปาสาณ).
  96. ปราสัย
    หมายถึง [ปฺราไส] ก. ปราศรัย.
  97. ปราสาท
    หมายถึง [ปฺราสาด] น. เรือนมียอดเป็นชั้น ๆ สำหรับเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินหรือเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปฺราสาท; ป. ปาสาท).
  98. ปราโมช
    หมายถึง [ปฺราโมด] น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, ปราโมทย์ ก็ใช้. (ป. ปาโมชฺช; ส. ปฺรโมทฺย).
  99. ปราโมทย์
    หมายถึง [ปฺราโมด] น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, ปราโมช ก็ใช้. (ส. ปฺรโมทฺย; ป. ปาโมชฺช).
  100. ปรำ
    หมายถึง [ปฺรำ] ก. ทำอาการดุจกระทุ้ง; เจาะจง; เทลงไปเร็ว ๆ ให้ปนกับของอื่น; รุมกล่าวโทษ.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ป (หน้าที่ 7)"