พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ป (หน้าที่ 6)

  1. ประสาทรูป
    หมายถึง [ปฺระสาทะ-] น. เส้นประสาท.
  2. ประสาทหลอน
    หมายถึง น. ความผิดปรกติของการรับรู้ เช่น เห็นภาพหลอน ได้ยินเสียงคนพูดโดยไม่มีคนพูดจริง ได้กลิ่นที่ไม่มีอยู่จริง. (อ. hallucination).
  3. ประสาธน์
    หมายถึง [ปฺระสาด] (แบบ) ก. ทำให้สำเร็จ. น. เครื่องประดับ. (ส. ปฺรสาธน; ป. ปสาธน).
  4. ประสาน
    หมายถึง ก. ทำให้เข้ากันสนิท, เชื่อม.
  5. ประสานงา
    หมายถึง ก. ใช้งาสวนแทงกันในการยุทธหัตถี; ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รถหรือเรือแล่นเข้าชนกันอย่างแรง.
  6. ประสานเนรมิต
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  7. ประสานเสียง
    หมายถึง ก. ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเป็นหมู่ให้มีเสียงกลมกลืนกัน.
  8. ประสาร
    หมายถึง (แบบ) ก. คลี่ออก, เหยียดออก, แผ่ออก, ขยาย. (ส. ปฺรสาร ว่า เที่ยวไป; ป. ปสาร).
  9. ประสิทธิ,ประสิทธิ-,ประสิทธิ์
    หมายถึง [ปฺระสิดทิ-, ปฺระสิด] น. ความสำเร็จ. ก. ทำให้สำเร็จ. (ส. ปฺรสิทฺธิ).
  10. ประสิทธิผล
    หมายถึง [ปฺระสิดทิผน] น. ผลสำเร็จ, ผลที่เกิดขึ้น.
  11. ประสิทธิภาพ
    หมายถึง [ปฺระสิดทิพาบ] น. ความสามารถที่ทำให้เกิดผลในการงาน.
  12. ประสิทธิเม
    หมายถึง [ปฺระสิดทิ-] น. คำกล่าวเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ หมายความว่า ขอให้สำเร็จแก่เรา.
  13. ประสิทธิ์ประสาท
    หมายถึง [ปฺระสิดปฺระสาด] ก. อำนวยความสำเร็จให้เกิดมีขึ้น.
  14. ประสีประสา
    หมายถึง น. วิสัย, เรื่องราว, ความเป็นไป, ความหมาย, (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น ไม่รู้ประสีประสา.
  15. ประสูต
    หมายถึง [ปฺระสูด] (แบบ) ก. ขวนขวาย. (ส. ปฺรสูต; ป. ปสุต).
  16. ประสูติ,ประสูติ-
    หมายถึง [ปฺระสูด, ปฺระสูติ-] (ราชา) น. การเกิด; การคลอด. ก. เกิด; คลอด. (ส. ปฺรสูติ; ป. ปสูติ).
  17. ประสูติการ
    หมายถึง น. การเกิด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระประสูติการ.
  18. ประสูติกาล
    หมายถึง น. เวลาเกิด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระประสูติกาล.
  19. ประหนึ่ง
    หมายถึง สัน. เช่น, ดัง, เหมือน.
  20. ประหม่า
    หมายถึง ก. สะทกสะท้าน, พรั่นใจ.
  21. ประหยัด
    หมายถึง ก. ยับยั้ง, ระมัดระวัง, เช่น ประหยัดปาก ประหยัดคำ; ใช้จ่ายแต่พอควรแก่ฐานะ.
  22. ประหรณ์
    หมายถึง (แบบ) น. การตี, การฟัน, การทำร้ายด้วยอาวุธ; อาวุธ. (ส. ปฺรหรณ).
  23. ประหลาด
    หมายถึง ว. แปลกผิดปรกติหรือมิได้คิดคาดหมายว่าจะเป็นไปได้, น่าพิศวง.
  24. ประหลิ่ม
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, บหลิ่ม ปลิม ปลิ่ม ปะวะหลิ่ม ปะหลิ่ม หรือ มะหลิ่ม ก็ว่า.
  25. ประหล่ำ
    หมายถึง น. เครื่องประดับสำหรับผูกข้อมือ ทำเป็นรูปกลม ๆ สลักเป็นลวดลาย.
  26. ประหวัด
    หมายถึง ก. หวนคิดเพราะผูกใจอยู่.
  27. ประหวั่น
    หมายถึง ก. พรั่นใจ.
  28. ประหว่า
    หมายถึง ก. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, เช่น มือประหว่าคว้าหมอน. (สมุทรโฆษ).
  29. ประหัต
    หมายถึง [ปฺระหัด] ก. ประหาร เช่น ประหัตศัตรูออก. (สมุทรโฆษ). (ส. ปฺรหฺฤต; ป. ปหต).
  30. ประหัตประหาร
    หมายถึง [ปฺระหัดปฺระหาน] ก. ประหาร, เอาถึงเป็นถึงตาย.
  31. ประหาณ
    หมายถึง น. การละ, การทิ้ง, เช่น สมุจเฉทประหาณ. (ส. ปฺรหาณ; ป. ปหาน).
  32. ประหาร
    หมายถึง น. การตี, การฟัน, การล้าง, การผลาญ. ก. ฆ่า, ทำลาย. (ส. ปฺรหาร; ป. ปหาร).
  33. ประหารชีวิต
    หมายถึง ก. ลงโทษฆ่า. (กฎ) น. โทษทางอาญาขั้นสูงสุดที่ลงแก่ผู้กระทำความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ วิธีประหารชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา คือ การเอาตัวผู้ต้องโทษประหารชีวิตไปยิงเสียให้ตาย.
  34. ประหาส
    หมายถึง น. การรื่นเริง, การสนุก, การเล่นตลก. (ส. ปฺรหาส; ป. ปหาส).
  35. ประอบ
    หมายถึง (กลอน) น. ผอบ.
  36. ประอร
    หมายถึง (กลอน) ว. งาม.
  37. ประอรประเอียง
    หมายถึง ว. งามกรีดกราย, เคล้าพิงอิงเอียง.
  38. ประอึง
    หมายถึง (กลอน) ก. อึง, ดัง, เอ็ด, อึกทึก. (บุณโณวาท).
  39. ประอุก
    หมายถึง ก. ระอุ; ร้อนรน เช่น หนึ่งอัคนีมีในเชองกราน บมีเป่าพัดพาน ประอุกแลลุกลามเลือน, ผิโคเคียงเกวียนเดิรหน ไป่ทันแก้ปรน ประอุกแลขุกวอดวาย. (จารึกวัดโพธิ์; อภิไธยโพทิบาทว์), ใช้เป็น กระอุ หรือ กระอุก ก็มี.
  40. ประฮาม
    หมายถึง น. แสงเงินแสงทอง, รุ่งสว่าง. (ข. พฺรหาม).
  41. ประเคน
    หมายถึง ก. ถวายของพระโดยวิธียกส่งให้ตามพิธีการที่กำหนดไว้ เช่น ประเคนอาหาร; ส่งให้ถึงมือ (ใช้ในความแดกดัน) เช่น ต้องเอาไปประเคนให้จนถึงที่; (ปาก) ตี เช่น ประเคนกระบาล ๓ ที.
  42. ประเคราะห์
    หมายถึง (แบบ) น. ความเพียรที่แก่กล้า; การยกย่อง, การเชิดชู, ตรงข้ามกับ นิเคราะห์ ซึ่งแปลว่า การกำราบ, การลงโทษ, การข่มขี่. ก. ยกย่อง, ประคับประคอง. (ส. ปฺรคฺรห; ป. ปคฺคห).
  43. ประเจก
    หมายถึง ว. ปัจเจก, เฉพาะตัว, เฉพาะผู้เดียว. (ป. ปจฺเจก; ส. ปฺรเตฺยก).
  44. ประเจิด
    หมายถึง ก. บรรเจิด, เชิดขึ้นสูง, สูงเด่น, เฉิดฉาย. ว. งาม.
  45. ประเจิดประเจ้อ
    หมายถึง ว. อาการกระทำที่ถือกันว่าน่าละอายหรือไม่บังควรให้คนอื่นเห็น.
  46. ประเจียด
    หมายถึง น. ผ้าลงเลขยันต์ถือกันว่าเป็นเครื่องป้องกันอันตรายได้ ใช้เป็นผ้าผูกคอหรือผูกต้นแขนเป็นต้น.
  47. ประเชิญ
    หมายถึง ก. ชนกัน, ปะทะกัน, เจอหน้ากัน; เอาผ้านุ่ง ผ้าขาวม้าเป็นต้นที่ขาดกลางผืนมาตัดตรงขาดออก แล้วเอาชายมาต่อกันเข้าใหม่ เรียกว่า ประเชิญผ้า.
  48. ประเด
    หมายถึง ก. มอบให้หมด เช่น ประเดงานเข้ามาจนทำไม่ไหว, ทุ่มเทให้ เช่น ประเดให้จนเกินต้องการ.
  49. ประเดยก
    หมายถึง [ปฺระดะเหฺยก] (แบบ) ว. ปัจเจก เช่น เพราะกูเป็นประเดยก. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ส. ปฺรเตฺยก; ป. ปจฺเจก).
  50. ประเดิม
    หมายถึง ก. เริ่มต้นหรือเริ่มแรกในการซื้อหรือขายเป็นต้น เช่น ประเดิมซื้อ ประเดิมขาย ประเดิมฝาก (มักใช้ในลักษณะที่เกี่ยวกับพิธีการหรือโชคลาง).
  51. ประเดียง
    หมายถึง ก. เผดียง.
  52. ประเดี๋ยว
    หมายถึง น. ชั่วระยะเวลาหนึ่ง, ชั่วขณะหนึ่ง, ชั่วครู่หนึ่ง, เช่น รอประเดี๋ยวนะ, เดี๋ยว ก็ว่า.
  53. ประเดี๋ยวก่อน
    หมายถึง คำขอผัดไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง, เดี๋ยวก่อน ก็ว่า.
  54. ประเดี๋ยวนี้
    หมายถึง ว. เวลานี้, ในเวลานี้, ทันที, เดี๋ยวนี้ ก็ว่า.
  55. ประเดี๋ยวประด๋าว
    หมายถึง ว. ชั่วครู่ชั่วยาม.
  56. ประเดี๋ยวเดียว
    หมายถึง ว. ชั่วระยะเวลานิดเดียว, เดี๋ยวเดียว ก็ว่า.
  57. ประเด็น
    หมายถึง น. ข้อความสำคัญของเรื่องที่แยกหยิบยกขึ้นพิจารณา; (กฎ) ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่คู่ความยกขึ้นเป็นข้ออ้างในคดี.
  58. ประเทศ
    หมายถึง น. บ้านเมือง, แว่นแคว้น; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส.; ป. ปเทส); (กฎ) ชุมนุมแห่งมนุษย์ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน มีอำนาจอธิปไตยที่จะใช้ได้อย่างอิสระ และมีการปกครองอย่างเป็นระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น, รัฐ ก็เรียก.
  59. ประเทศกันชน
    หมายถึง น. รัฐหรือประเทศเล็กที่เป็นเอกราชตั้งอยู่ระหว่างประเทศมหาอำนาจ มีฐานะสำคัญทางการเมืองที่ช่วยไม่ให้ประเทศมหาอำนาจเกิดบาดหมางทำสงครามต่อกันได้โดยง่าย, รัฐกันชน ก็เรียก. (อ. buffer state).
  60. ประเทศชาติ
    หมายถึง น. บ้านเกิดเมืองนอน.
  61. ประเทศราช
    หมายถึง [ปฺระเทดสะราด] น. เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่ภายใต้อำนาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการถวายเป็นประจำ และในเวลาเกิดศึกสงครามต้องเกณฑ์กำลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย.
  62. ประเทา
    หมายถึง ก. บรรเทา, ทุเลา, คลาย, เบาลง, ให้สงบ, ทำให้เบาบางลง.
  63. ประเทียด
    หมายถึง ก. ประชด; ว่าร้ายในเชิงเปรียบเทียบ.
  64. ประเทียบ
    หมายถึง ก. เทียบ.
  65. ประเทียบ
    หมายถึง น. พระสนม; เรียกรถฝ่ายในว่า รถพระประเทียบ, เรียกเรือฝ่ายในว่า เรือพระประเทียบ, โดยอนุโลมเรียกรถประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่า รถพระประเทียบ.
  66. ประเทือง
    หมายถึง ก. ทำให้ดีขึ้น เช่น ประเทืองผิว, ทำให้รุ่งเรืองขึ้น เช่น ประเทืองปัญญา.
  67. ประเท้า
    หมายถึง ก. กิริยาที่ผู้รำใช้ส่วนหน้าของฝ่าเท้าแตะพื้นและยกขึ้นทันที, เป็นท่ารำท่าหนึ่ง.
  68. ประเปรียว
    หมายถึง ว. มีรูปร่างหรือท่าทางปราดเปรียว, มีลักษณะแคล่วคล่องว่องไว.
  69. ประเปรี้ยง
    หมายถึง ว. เสียงอย่างเสียงฟ้าผ่า.
  70. ประเพณี
    หมายถึง น. สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).
  71. ประเพณีนิยม
    หมายถึง น. ประเพณีของสังคมที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา.
  72. ประเพ้อ
    หมายถึง (กลอน) ก. เพ้อ.
  73. ประเภท
    หมายถึง [ปฺระเพด] น. ส่วนที่แบ่งย่อยออกไปเป็นพวก จำพวก ชนิด หมู่ เหล่า อย่าง แผนก เป็นต้น. (ส. ปฺรเภท; ป. ปเภท).
  74. ประเมิน
    หมายถึง ก. กะประมาณค่าหรือราคาเท่าที่ควรจะเป็น เช่น ประเมินราคา.
  75. ประเมินผล
    หมายถึง ก. พิจารณาและวัดคุณค่าของกิจการใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ประเมินผลการสัมมนา ประเมินผลการปฏิบัติงานในรอบปีของบริษัท; (การศึกษา) วัดคุณค่าหรือผลความก้าวหน้าการศึกษา เช่น การสอบไล่เป็นวิธีประเมินผลการศึกษาวิธีหนึ่ง.
  76. ประเมินภาษี
    หมายถึง ก. กำหนดจำนวนเงินที่จะต้องเสียเป็นภาษี, กำหนดจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานเรียกเก็บเป็นภาษีจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่ได้ประเมินไว้แล้ว ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้.
  77. ประเล่ห์
    หมายถึง ว. ประหนึ่ง, ประดุจ, เช่น, กล. (ส. ปฺรเหลิ).
  78. ประเล้าประโลม
    หมายถึง ก. เล้าโลม, ปลอบโยนเอาอกเอาใจ.
  79. ประเวณี
    หมายถึง น. การเสพสังวาส, การร่วมรส, ในคำว่า ร่วมประเวณี; ประเพณี เช่น ประเวณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง. (อภัย). ก. ประพฤติผิดเมียผู้อื่น เรียกว่า ล่วงประเวณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).
  80. ประเวประวิง
    หมายถึง ก. พะว้าพะวัง, อิดเอื้อน, โอ้เอ้.
  81. ประเวศ,ประเวศน์
    หมายถึง [ปฺระเวด] น. การเข้ามา, การเข้าถึง, การเข้าสู่. (ส. ปฺรเวศ, ปฺรเวศน; ป. ปเวส, ปเวสน).
  82. ประเสบัน,ประเสบันอากง,ประเสบันอากง
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ช.)
  83. ประเสบันอากง
    หมายถึง น. วังลูกหลวง, วังหลานหลวง. (ช.).
  84. ประเสริฐ
    หมายถึง [ปฺระเสิด] ว. วิเศษ, ดีเลิศ, ดีที่สุด.
  85. ประเหล
    หมายถึง [ปฺระเหน] ว. ประหนึ่ง, ประดุจ, มักใช้เลือนเป็น ประเล่ห์. (ส. ปฺรเหลิ ว่า ปริศนา, กล).
  86. ประเหส
    หมายถึง [ปฺระเหด] ก. ประมาท. (ข. ปฺรแหส).
  87. ประเหียล
    หมายถึง [ปฺระเหียน] (โบ; กลอน) ว. ประเหล.
  88. ประเอียง
    หมายถึง ว. งาม.
  89. ประแกก
    หมายถึง ก. แตกร้าวกัน, วิวาทกัน. (ข. ปฺรแกก ว่า เถียงกัน).
  90. ประแจ
    หมายถึง น. กุญแจ.
  91. ประแจจีน
    หมายถึง น. ชื่อลายแบบจีนชนิดหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมหักมุมไขว้กัน.
  92. ประแดง
    หมายถึง (โบ) น. คนเดินหมาย, คนนำข่าวสาร, ผู้สื่อข่าว, นักการ; พนักงานตามคน, ตำแหน่งข้าราชการในสำนักพระราชวัง, บาแดง ก็ใช้.
  93. ประแดะ
    หมายถึง น. เครื่องมือของช่างทอง สำหรับเคาะสิ่วสลัก มีรูปคล้ายค้อน แต่แบน ทำด้วยเขาสัตว์; เรียกมีดพกปลายแหลมชนิดหนึ่งที่มีด้ามงอเฉียงลงว่า มีดประแดะ, คอม้า ก็เรียก.
  94. ประแปร้น
    หมายถึง [ปฺระแปฺร้น] ว. เสียงอย่างเสียงช้างร้อง, เสียงที่แผดออก.
  95. ประแป้ง
    หมายถึง ก. แตะหน้าหรือตัวให้เป็นจุด ๆ ด้วยแป้งนวลผสมนํ้า.
  96. ประแพร่งประแพรว
    หมายถึง [ปฺระแพฺร่งปฺระแพฺรว] ว. งามแพรวพราย.
  97. ประแอก
    หมายถึง ก. พิง. (ข.).
  98. ประแอก
    หมายถึง น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปลายสายทั้ง ๒ ข้างผูกกับสายสำอางคร่อมอยู่ทางท้ายสันหลังช้าง สำหรับควาญช้างจับเมื่อเวลาคับขัน, กระแซง หรือ กระแอก ก็เรียก.
  99. ประโคน
    หมายถึง น. สายรัดจากใต้สัปคับไปที่อกช้าง หลังขาหน้า แล้วลอดมาบรรจบกันโยงใต้ท้องช้างและหน้าขาหน้าไปจากสายชนักที่คอช้าง, (กลอน) กระคน ก็ว่า.
  100. ประโคน
    หมายถึง น. เรียกเสาใหญ่ที่ปักหมายเขตแดนระหว่างประเทศหรือเมืองเป็นต้นว่า เสาประโคน.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ป (หน้าที่ 6)"