พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ป (หน้าที่ 5)

  1. ประพจน์
    หมายถึง น. ข้อเสนอ, ข้อความที่กล่าว. (ส.); (คณิต) ประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธซึ่งเป็นข้อความจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จะมีความหมายกำกวมไม่ได้. (อ. proposition). (ส. ปฺรวจน).
  2. ประพนธ์
    หมายถึง น. คำร้อยกรอง เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน. ก. ประพันธ์, ร้อยกรอง, ผูก, แต่ง, เรียบเรียง; เกี่ยวเนื่อง. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
  3. ประพรม
    หมายถึง [-พฺรม] ก. ประโปรยด้วยสิ่งที่มีลักษณะเป็นน้ำ เช่น ประพรมน้ำมนต์ เอาน้ำอบประพรมอัฐิ.
  4. ประพฤติ
    หมายถึง [ปฺระพฺรึด] น. ความเป็นไปอันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือปฏิบัติตน, การทำตาม, เหตุต้นเค้า. ก. ทำตาม, ปฏิบัติ, เช่น ประพฤติธรรม; กระทำ, ดำเนินตน, ปฏิบัติตน, เช่น ประพฤติดี ประพฤติชั่ว. (ส. ปฺรวฺฤตฺติ; ป. ปวุตฺติ).
  5. ประพฤทธิ์
    หมายถึง [ปฺระพฺรึด] ว. เจริญ, โต, ใหญ่, รุ่งเรือง, งอกงาม. (ส. ปฺรวฺฤทฺธิ; ป. ปวุฑฺฒิ).
  6. ประพัด
    หมายถึง น. กระพัด, สายรัดกูบบนหลังช้าง.
  7. ประพัทธ์
    หมายถึง ก. เนื่อง, ผูกพัน. (ส.).
  8. ประพันธ์
    หมายถึง ก. แต่ง, เรียบเรียง, ร้อยกรอง, ผูกถ้อยคำเป็นข้อความเชิงวรรณคดี. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
  9. ประพาต
    หมายถึง [ปฺระพาด] ก. พัด, กระพือ. (ส. ปฺรวาต).
  10. ประพาส
    หมายถึง [ปฺระพาด] (ราชา) ก. ไปต่างถิ่นหรือต่างแดน เช่น ประพาสหัวเมือง ประพาสยุโรป, ไปเที่ยว เช่น ประพาสป่า. (ส.).
  11. ประพาสต้น
    หมายถึง (ราชา) ก. เที่ยวไปเป็นการส่วนพระองค์, เที่ยวไปอย่างไม่เป็นทางการ, ใช้ว่า เสด็จประพาสต้น.
  12. ประพาสมหรณพ
    หมายถึง [ปฺระพาดมะหอระนบ] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  13. ประพาฬ
    หมายถึง [ปฺระพาน] น. รัตนะ (แก้ว) ชนิดหนึ่ง สีแดงอ่อน เกิดจากหินปะการังใต้ทะเล. (ป. ปวาฬ).
  14. ประพิณ
    หมายถึง [ปฺระพิน] ว. ฉลาด, มีฝีมือดี. (ส. ปฺรวีณ).
  15. ประพิมพ์ประพาย
    หมายถึง น. รูปพรรณสัณฐาน โดยเฉพาะหมายถึงลักษณะหรือส่วนที่คล้ายคลึงกัน เช่น เด็กคนนี้มีประพิมพ์ประพายคล้ายพ่อ.
  16. ประพุทธ์
    หมายถึง ก. ตื่นจากหลับ คือมีสติ; รู้ทั่ว. (ป. ปพุทฺธ).
  17. ประภพ
    หมายถึง น. การเกิดก่อน; แดน, ที่เกิด. (ส. ปฺรภว).
  18. ประภัสสร
    หมายถึง [ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสงพระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตรสุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).
  19. ประภา
    หมายถึง น. แสง, แสงสว่าง, แสงไฟ. (ส. ปฺรภา; ป. ปภา).
  20. ประภากร
    หมายถึง น. ผู้ทำแสงสว่าง คือพระอาทิตย์. (ส.).
  21. ประภาคาร
    หมายถึง น. กระโจมไฟ, เรือนตะเกียง ก็เรียก. (ดู กระโจมไฟ). (ส.).
  22. ประภาพ
    หมายถึง [ปฺระพาบ] น. อำนาจ, ฤทธิ์. (ส.).
  23. ประภามณฑล
    หมายถึง น. รัศมีที่พวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และพระพุทธรูป.
  24. ประภาษ
    หมายถึง [ปฺระพาด] ก. ตรัส, บอก, พูด. (ส. ปฺรภาษ; ป. ปภาส).
  25. ประภาส
    หมายถึง [ปฺระพาด] น. แสงสว่าง. (ส. ปฺรภาส; ป. ปภาส).
  26. ประมง
    หมายถึง น. การจับสัตว์นํ้า เช่น ทำประมง; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า เรียกว่า ชาวประมง พวกประมง; ประโมง ก็ใช้. ก. ดำนํ้าหาปลา เช่น กานํ้าดำนํ้าคือประมง, ตระบัดประมงลงทัน. (สมุทรโฆษ).
  27. ประมวญ
    หมายถึง [ปฺระมวน] (โบ) ก. ประมวล.
  28. ประมวล
    หมายถึง [ปฺระมวน] ก. รวบรวมให้เข้าระเบียบเป็นหมวดหมู่, โบราณเขียนเป็น ประมวญ ก็มี. น. หนังสือที่รวบรวมสิ่งซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน เช่น ประมวลกฎหมาย ประมวลภาพ.
  29. ประมวลกฎหมาย
    หมายถึง (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่รวบรวมกฎหมายในลักษณะเดียวกันไว้เป็นระบบตามหลักวิชาการ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร.
  30. ประมวลการสอน
    หมายถึง น. หนังสือหรือเอกสารที่แสดงเนื้อหาของหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน.
  31. ประมัตตะ
    หมายถึง ว. เลินเล่อ, มัวเมา, ประมาท, มักง่าย, เหลวไหล, เพิกเฉย, ทอดทิ้ง. (ส. ปฺรมตฺต; ป. ปมตฺต).
  32. ประมาณ
    หมายถึง ก. กะหรือคะเนให้ใกล้เคียงจำนวนจริงหรือให้พอเหมาะพอควร เช่น ประมาณราคาไม่ถูก. ว. ราว ๆ เช่น ประมาณ ๓-๔ เดือน. (ส. ปฺรมาณ; ป. ปมาณ).
  33. ประมาณการ
    หมายถึง น. ปริมาณงานหรือค่าใช้จ่ายที่กะหรือกำหนดไว้อย่างคร่าว ๆ. ก. กะหรือกำหนดปริมาณงานหรือค่าใช้จ่ายไว้อย่างคร่าว ๆ เช่น ประมาณการในการก่อสร้าง.
  34. ประมาณตน,ประมาณตัว
    หมายถึง ก. สำนึกในฐานะของตน. ว. เจียมตัว, ไม่ทำอะไรเกินฐานะของตน.
  35. ประมาท
    หมายถึง [ปฺระหฺมาด] ก. ขาดความรอบคอบ, ขาดความระมัดระวังเพราะทะนงตัว, เช่น เวลาขับรถอย่าประมาท; ดูหมิ่น เช่น ประมาทฝีมือ. น. ความเลินเล่อ, การขาดความระมัดระวัง, เช่น ขับรถโดยประมาท; (กฎ) กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่. (ส. ปฺรมาท; ป. ปมาท).
  36. ประมาทหน้า
    หมายถึง ก. ดูถูกว่าทำไม่ได้หรือไม่มีทางที่จะทำได้, หยามนํ้าหน้า, สบประมาท.
  37. ประมาทเลินเล่อ
    หมายถึง ก. กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังหรือละเลยในสิ่งที่ควรกระทำ.
  38. ประมุข
    หมายถึง [ปฺระมุก] น. ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าของประเทศหรือศาสนาเป็นต้น. (ส. ปฺรมุข; ป. ปมุข).
  39. ประมุท
    หมายถึง [ปฺระมุด] ก. บันเทิง, ยินดี. (ส.).
  40. ประมูล
    หมายถึง [ปฺระมูน] ก. เสนอราคาแข่งขันกันในการซื้อหรือขายทรัพย์สินเป็นต้น.
  41. ประยงค์
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Aglaia odorata Lour. ในวงศ์ Meliaceae ดอกกลมเล็ก ๆ สีเหลือง ลักษณะคล้ายไข่ปลาดุก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ กลิ่นหอม. (ส. ปฺริยงฺคุ; ป. ปิยงฺคุ).
  42. ประยุกต์
    หมายถึง ก. นำความรู้ในวิทยาการต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์. ว. ที่นำความรู้มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ จิตวิทยาประยุกต์. (ส. ปฺรยุกฺต; ป. ปยุตฺต).
  43. ประยุทธ์
    หมายถึง ก. รบ, ต่อสู้. (ส. ปฺรยุทฺธ).
  44. ประยุร,ประยูร
    หมายถึง [ปฺระยุน, ปฺระยูน] น. เผ่าพันธุ์, เชื้อสาย, ตระกูล.
  45. ประลมพ์
    หมายถึง [ปฺระลม] น. กิ่งไม้เลื้อย, ช่อดอกไม้, พวงมาลัย. ก. ห้อยย้อย. (ส. ปฺรลมฺพ).
  46. ประลอง
    หมายถึง ก. ทดสอบความรู้ความสามารถด้วยการต่อสู้หรือแข่งขันกัน เช่น ประลองฝีมือ ประลองกำลัง ประลองความเร็ว.
  47. ประลองยุทธ์
    หมายถึง ก. ซ้อมรบ.
  48. ประลัย
    หมายถึง น. ความตาย, ความฉิบหาย, ความป่นปี้, ความย่อยยับไป. (ส. ปฺรลย; ป. ปลย).
  49. ประลัยกัลป์
    หมายถึง น. บรรลัยกัลป์.
  50. ประลัยวาต
    หมายถึง น. ชื่อศรที่แผลงให้เกิดลม.
  51. ประลาต
    หมายถึง [ปฺระลาด] ก. หนีไป. (ป. ปลาต).
  52. ประลาย
    หมายถึง (กลอน) แผลงมาจาก ปลาย.
  53. ประลึง
    หมายถึง (กลอน) ก. จับต้อง, ลูบคลำ.
  54. ประลุ
    หมายถึง ก. บรรลุ.
  55. ประลุง
    หมายถึง (กลอน) ก. ปลาบปลื้ม, ยินดี.
  56. ประวรรต
    หมายถึง [ปฺระวัด] ก. เป็นไป. (ส. ปฺรวรฺต; ป. ปวตฺต).
  57. ประวรรตน์
    หมายถึง [ปฺระวัด] น. ความเป็นไป. (ส. ปฺรวรฺตน; ป. ปวตฺตน).
  58. ประวัติ,ประวัติ-
    หมายถึง [ปฺระหฺวัด, ปฺระหฺวัดติ-] น. เรื่องราวว่าด้วยความเป็นไปของคน สถานที่ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ประวัติศรีปราชญ์ ประวัติวัดมหาธาตุ. (ป. ปวตฺติ).
  59. ประวัติการ
    หมายถึง [ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน] น. เรื่องราวที่เป็นมาแล้วแต่ก่อนตามลำดับสมัย.
  60. ประวัติการณ์
    หมายถึง [ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน] น. เหตุการณ์ที่มีค่าควรบันทึกหรือจดจำไว้.
  61. ประวัติกาล
    หมายถึง [ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน] น. สมัยที่มีบันทึกเหตุการณ์.
  62. ประวัติศาสตร์
    หมายถึง [ปฺระหฺวัดติสาด, ปฺระหฺวัดสาด] น. วิชาว่าด้วยเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้นตามที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน.
  63. ประวาต
    หมายถึง [ปฺระวาด] ก. พัด, กระพือ. (ส.).
  64. ประวาล
    หมายถึง [ปฺระวาน] น. หน่อหรือแขนงต้นไม้ที่แตกออก. (ส.).
  65. ประวาลปัทม์
    หมายถึง [ปฺระวาละปัด] น. ดอกบัวแดง. (ส. ปฺรวาลปทฺม).
  66. ประวาลผล
    หมายถึง [ปฺระวาละผน] น. ไม้จันทน์แดง. (ส.).
  67. ประวาลวรรณ
    หมายถึง [ปฺระวาละวัน] ว. สีแดง. (ส.).
  68. ประวาส
    หมายถึง [ปฺระวาด] ก. ประพาส. (ส.; ป. ปวาส).
  69. ประวิง
    หมายถึง ก. หน่วงไว้ให้เนิ่นช้า, ถ่วงเวลา, เช่น ประวิงเวลา ประวิงเรื่อง.
  70. ประวิช
    หมายถึง [ปฺระวิด] น. แหวน.
  71. ประวิตร
    หมายถึง [ปฺระวิด] ว. บพิตร; บริสุทธิ์, สะอาด.
  72. ประวิน
    หมายถึง น. ห่วงที่เกี่ยวกันสำหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียนหรือเหล็กผ่าปากม้า, กระวิน ก็ว่า.
  73. ประวิสรรชนีย์
    หมายถึง [ปฺระวิสันชะนี] ก. ใส่เครื่องหมายวิสรรชนีย์.
  74. ประวีณ
    หมายถึง ว. ฉลาด, มีฝีมือ. (ส. ปฺรวีณ; ป. ปวีณ).
  75. ประศม
    หมายถึง ก. สงบ. (ส.).
  76. ประศาสน์
    หมายถึง [ปฺระสาด] น. การแนะนำ, การสั่งสอน; การปกครอง, การงำเมือง, การสั่ง. (ส. ปฺรศาสน; ป. ปสาสน).
  77. ประศุ
    หมายถึง น. ปศุ, สัตว์เลี้ยง. (ส. ปศุ; ป. ปสุ).
  78. ประสก
    หมายถึง (ปาก) น. ชายผู้แสดงตนเป็นคนถือพระพุทธศาสนา, คำที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย, คู่กับ สีกา. (ตัดมาจาก อุบาสก).
  79. ประสงค์
    หมายถึง ก. ต้องการ, อยากได้; มุ่งหมาย, มุ่ง. (ส. ปฺรสงฺค).
  80. ประสงค์ร้าย
    หมายถึง ก. มุ่งร้าย, หมายจะทำร้าย.
  81. ประสบ
    หมายถึง ก. พบ, พบปะ, พบเห็น.
  82. ประสบการณ์
    หมายถึง [ปฺระสบกาน] น. ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทำหรือได้พบเห็นมา.
  83. ประสบการณ์นิยม
    หมายถึง [ปฺระสบกาน-] น. ลัทธิทางปรัชญาที่ถือว่าประสบการณ์เป็นบ่อเกิดของความรู้ทุกอย่าง; การปฏิบัติที่เน้นประสบการณ์; การแสวงหาความรู้โดยอาศัยการสังเกต การทดลอง และวิธีอุปนัย, ประจักษนิยม ก็ว่า. (อ. empiricism).
  84. ประสพ
    หมายถึง [ปฺระสบ] น. การเกิดผล. (ส. ปฺรสว; ป. ปสว).
  85. ประสม
    หมายถึง ก. รวมกันเข้า (เป็นคำใช้ได้ทั่ว ๆ ไป).
  86. ประสมประสาน
    หมายถึง ก. ผสมผสาน, เก็บรวมไว้ทีละเล็กละน้อย, เก็บเล็กผสมน้อย.
  87. ประสมประเส
    หมายถึง ก. พลอยเข้าด้วย, เก็บเล็กผสมน้อย.
  88. ประสมพันธุ์
    หมายถึง ก. ผสมพันธุ์.
  89. ประสมโรง
    หมายถึง ก. เอาคนที่เป็นลิเกหรือละครเป็นต้นต่างโรงมาเล่นรวมกัน; พลอยเข้าด้วย.
  90. ประสะ
    หมายถึง ก. ฟอกหรือชำระสิ่งต่าง ๆ เช่นเครื่องยาเพื่อให้สะอาดหรือให้รสอ่อนลง; ใช้เรียกยาที่เข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ เช่น ประสะขิง ก็คือเข้าขิงเท่ากับยาอื่นเป็นต้น.
  91. ประสัก
    หมายถึง น. ไม้หมุดสำหรับตรึงกงเรือต่างตะปู, ลูกประสัก ก็เรียก.
  92. ประสันนาการ
    หมายถึง น. อาการเลื่อมใส. (ป. ปสนฺนาการ).
  93. ประสัยห,ประสัยห-,ประสัยห์
    หมายถึง [ปฺระไสหะ-, ปฺระไส] (แบบ) ก. ข่มขี่, ข่มเหง. (ส. ปฺรสหฺย; ป. ปสยฺห).
  94. ประสัยหาการ
    หมายถึง [ปฺระไสหากาน] น. การข่มเหง.
  95. ประสัยหาวหาร
    หมายถึง [ปฺระไสหาวะหาน] น. การโจรกรรมด้วยใช้อำนาจกดขี่หรือกรรโชกให้กลัว.
  96. ประสา
    หมายถึง น. วิสัยที่เป็นไป เช่น ตามประสาจน ตามประสาเด็ก ตามประสาใจ.
  97. ประสาท
    หมายถึง [ปฺระสาด] น. ยินดีให้, โปรดให้, เช่น ประสาทปริญญา ประสาทพร. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).
  98. ประสาท,ประสาท,ประสาท-,ประสาท-
    หมายถึง [ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ส่วนของร่างกาย มีลักษณะคล้ายเส้นใย มีหน้าที่นำคำสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมองหรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย, โดยปริยายหมายความว่า จิตใจ, ความรู้สึก. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).
  99. ประสาท,ประสาท,ประสาท-,ประสาท-
    หมายถึง [ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ความเลื่อมใส. (ส.; ป. ปสาท).
  100. ประสาทการ
    หมายถึง [ปฺระสาทะ-] น. การเลื่อมใส.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ป (หน้าที่ 5)"