พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ป (หน้าที่ 4)

  1. ประดาพล
    หมายถึง ก. ยกพลเรียงหน้าเข้าไป.
  2. ประดามี
    หมายถึง (ปาก) ว. ที่มีอยู่ทั้งหมด, บรรดามี ก็ว่า.
  3. ประดาษ
    หมายถึง ว. ตกต่ำ เช่น โอ้ครั้งนี้มิได้เห็นเช่นฉลอง เพราะตัวต้องตกประดาษวาสนา. (นิ. ภูเขาทอง). (ข. ผฺฎาส ว่า ผิดระเบียบ นอกรีตนอกรอย).
  4. ประดาเสีย
    หมายถึง ว. ล้วนแต่เสียทั้งนั้น, เสียมาก, เลวเต็มที.
  5. ประดิ,ประดิ-
    หมายถึง ศัพท์นี้ใช้แทนคำว่า ปฏิ หรือ ประติ. (ดูคำที่มี ปฏิ หรือ ประติ นำหน้า).
  6. ประดิชญา
    หมายถึง [ปฺระดิดยา, ปฺระดิดชะยา] (แบบ) น. ปฏิญญา. (ส. ปฺรติชฺา).
  7. ประดิดประดอย
    หมายถึง ก. บรรจงทำให้งดงามและละเอียดลออยิ่งขึ้น, ใช้ว่า ประดอย ก็ได้.
  8. ประดิทิน
    หมายถึง ว. ประจำวัน, ทุกวัน, เสมอไป, เช่น อนึ่งผู้อยู่ในราชการอันบรรดาจำบำเรอประดิทิน. (กฎ. ราชบุรี).
  9. ประดิรพ
    หมายถึง [ปฺระดิรบ] ก. ประติรพ.
  10. ประดิษฐ,ประดิษฐ-,ประดิษฐ์
    หมายถึง [ปฺระดิดถะ-, ปฺระดิด] ก. ตั้งขึ้น, จัดทำขึ้น, คิดทำขึ้น, สร้างขึ้น, แต่งขึ้น. ว. ที่จัดทำขึ้นให้เหมือนของจริง เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์, ที่คิดทำขึ้นไม่เหมือนธรรมชาติ เช่น ลายประดิษฐ์. (ส. ปฺรติษฺ; ป. ปติฏฺ).
  11. ประดิษฐกรรม
    หมายถึง น. การทำสิ่งของขึ้นจากวัตถุดิบ.
  12. ประดิษฐาน
    หมายถึง [ปฺระดิดสะถาน] ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตำแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี. (ส. ปฺรติษฺาน; ป. ปติฏฺาน).
  13. ประดุง
    หมายถึง ก. ผดุง.
  14. ประดุจ
    หมายถึง ว. เช่น, คล้าย, เหมือน, ดัง.
  15. ประดู่
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ๒ ชนิดในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ชนิด P. indicus Willd. กิ่งมักทอดย้อย เปลือกสีเทา มีนํ้ายางน้อย ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนน, ชนิด P. macrocarpus Kurz กิ่งชูขึ้นเล็กน้อย เปลือกสีนํ้าตาลเข้ม มีนํ้ายางมาก ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้สีแดงนิยมใช้ทำดุมเกวียน.
  16. ประดู่ชิงชัน
    หมายถึง ดู ชิงชัน.
  17. ประดู่ลาย
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia errans Craib ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีม่วงอ่อน เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน.
  18. ประดู่แขก
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia sissoo Roxb. ex DC. ในวงศ์ Leguminosae.
  19. ประดู่แดง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Phyllocarpus septentrionalis J.D. Sm. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีแดงออกเป็นช่อใหญ่.
  20. ประตง
    หมายถึง น. โจร. (ช.).
  21. ประตยาค
    หมายถึง [ปฺระตะยาก] ก. ประจาค. (ส. ปฺรตฺยาค).
  22. ประตัก
    หมายถึง น. ไม้ที่ฝังเหล็กแหลมข้างปลายใช้แทงสัตว์พาหนะเช่นวัว.
  23. ประตาป
    หมายถึง น. ประดาป.
  24. ประติ,ประติ-
    หมายถึง เป็นคำสันสกฤตใช้เหมือน ปฏิ. (ดูคำที่มี ปฏิ หรือ ประติ นำหน้า).
  25. ประติชญา
    หมายถึง [ปฺระติดชะยา] น. ปฏิญญา. (ส. ปฺรติชฺา; ป. ปฏิญฺา).
  26. ประติญาณ
    หมายถึง น. ปฏิญาณ. (ส. ปฺรติชฺาน).
  27. ประติทิน
    หมายถึง น. ปฏิทิน. (ส. ปฺรติ + ทิน; ป. ปฏิ + ทิน).
  28. ประติมากร
    หมายถึง [ปฺระติมากอน] น. ช่างปั้น, ช่างแกะสลัก.
  29. ประติมากรรม
    หมายถึง [ปฺระติมากำ] น. ศิลปะสาขาหนึ่งในจำพวกวิจิตรศิลป์เกี่ยวกับการแกะสลักไม้ หินอ่อน โลหะ เป็นต้น ให้เป็นรูปหรือลวดลายต่าง ๆ. (ส. ปฺรติมา + กรฺม; ป. ปฏิมา + กมฺม).
  30. ประติรพ
    หมายถึง [ปฺระติรบ] ก. ส่งเสียงดัง, ร้องดัง, ประดิรพ ก็ว่า. (ส. ปฺรติรว; ป. ปฏิรว).
  31. ประติศรัพ
    หมายถึง [ปฺระติสับ] น. ปฏิสวะ. (ส.; ป. ปฏิสฺสว).
  32. ประตู
    หมายถึง น. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนันบางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจำนวนครั้งที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียกช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตูเดียว กิน ๓ ประตู.
  33. ประตูชัย
    หมายถึง น. ประตูที่มีลักษณะเป็นซุ้ม อาจสร้างเป็นการถาวรหรือชั่วคราว สำหรับผู้ชนะสงครามจะเดินลอดในพิธีเพื่อประกาศชัยชนะ.
  34. ประตูน้ำ
    หมายถึง น. ประตูสำหรับควบคุมระดับนํ้าที่ไหลเข้าออก; (กฎ) สิ่งที่สร้างขึ้นในทางนํ้าเพื่อให้เรือแพผ่านทางนํ้าที่มีระดับนํ้าต่างกันได้.
  35. ประตูป่า
    หมายถึง น. ปากทางที่จะเข้าสู่ป่า, ประตูที่สะด้วยใบไม้กิ่งไม้สำหรับพิธีเทศน์มหาชาติ, ประตูเรือนที่ปักกิ่งไม้ไว้เวลานำศพออกจากบ้าน.
  36. ประตูผี
    หมายถึง (โบ) น. ประตูที่เป็นทางนำศพออกจากภายในเขตกำแพงเมือง.
  37. ประตูฟุตบอล
    หมายถึง น. ประตู ๒ เสา มีคานและมีตาข่ายรอรับลูกฟุตบอลที่เตะผ่านเข้าไป.
  38. ประตูระบาย
    หมายถึง น. สิ่งที่สร้างขึ้นในคลองส่งนํ้าเพื่อควบคุมนํ้าในคลองให้มีระดับหรือปริมาณตามที่ต้องการ; (กฎ) สิ่งที่สร้างขึ้นในทางนํ้าเพื่อทด กัก กั้น หรือระบายนํ้า ณ ที่อื่นอันมิใช่ที่มาแห่งนํ้าซึ่งจะส่งเข้าสู่เขตชลประทาน โดยมีช่องปิดเปิดได้.
  39. ประตูรับน้ำ
    หมายถึง น. อาคารที่สร้างขึ้นตรงบริเวณคันคลองส่งนํ้า เพื่อรับนํ้าจากทางนํ้าอื่นที่อยู่ตามระยะทางของคลองส่งนํ้า.
  40. ประตูลม
    หมายถึง น. เรียกอวัยวะส่วนที่อยู่ระหว่างนิ้วมือนิ้วเท้า.
  41. ประตูโตงเตง
    หมายถึง น. ประตูเพนียดที่มีเสาโตงเตง.
  42. ประถม
    หมายถึง ว. ปฐม, ลำดับแรก, ลำดับเบื้องต้น, เช่น ประถมศึกษา ชั้นประถม; ชั้นที่ ๑, เรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๑ ในตระกูลช้างเผือกและมงกุฎไทยว่า ประถมาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย. (ส.).
  43. ประถมจินดา
    หมายถึง [ปฺระถมมะ-] น. ชื่อคัมภีร์แพทย์แผนโบราณ.
  44. ประทบ
    หมายถึง (กลอน) ก. กระทบ เช่น ประทบประทะอลวน. (ตะเลงพ่าย).
  45. ประทม
    หมายถึง ก. บรรทม, ผทม ก็ว่า.
  46. ประทยด
    หมายถึง [ปฺระเทียด] ก. ประชด เช่น จึงจะรุมโรมโซรมประทยด สยดตัดพ้อ. (ม. คำหลวง ชูชก); ว่าร้ายในเชิงเปรียบเทียบ.
  47. ประทวน
    หมายถึง น. ฐานันดรที่ตํ่ากว่าชั้นสัญญาบัตร เช่น นายทหารชั้นประทวน; สมณศักดิ์ชั้นตํ่ากว่าพระครูสัญญาบัตร; (โบ) หนังสือแทนสารกรมธรรม์.
  48. ประทวนสินค้า
    หมายถึง (กฎ) น. เอกสารซึ่งนายคลังสินค้าออกโดยระบุชื่อผู้ฝากสินค้า ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะสลักหลังจำนำสินค้าที่จดแจ้งไว้ในประทวน โดยไม่ต้องส่งมอบสินค้านั้นแก่ผู้รับสลักหลัง.
  49. ประทักษิณ
    หมายถึง น. การเวียนขวา โดยให้สิ่งที่เรานับถือหรือผู้ที่เรานับถือเป็นต้นอยู่ทางขวาของผู้เวียน. (ส.).
  50. ประทักษ์
    หมายถึง ว. ขยัน, ฉลาด, คล่องแคล่ว, สามารถ.
  51. ประทัง
    หมายถึง ก. ทำให้ทรงอยู่ได้, ทำให้ดำรงอยู่ได้, เช่น กินพอประทังชีวิต เรือนโย้เอาเสาไปคํ้าพอประทังไว้ก่อน.
  52. ประทัด
    หมายถึง น. เครื่องดอกไม้ไฟของจีน ทำด้วยกระดาษสีแดงอัดแน่นห่อดินปืน รูปร่างคล้ายบุหรี่ มีชนวนสำหรับจุด มีเสียงดัง, ลักษณนามว่า ดอก เช่น ประทัด ๒ ดอก.
  53. ประทัด
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Quassia amara L. ในวงศ์ Simaroubaceae ใบเป็นใบประกอบ ดอกสีแดง กลีบดอกแยกจากกัน เปลือกใช้ทำยาได้, ประทัดใหญ่ ประทัดจีน หรือ ประทัดทอง ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Russelia equisetiformis Schltr. et Cham. ในวงศ์ Scrophulariaceae ลำต้นเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นฝอยคล้ายใบสน ดอกมีหลายสี กลีบดอกเป็นหลอดแคบ ๆ, ประทัดเล็ก หรือ ประทัดฝรั่ง ก็เรียก.
  54. ประทัดจีน,ประทัดทอง,ประทัดใหญ่
    หมายถึง ดู ประทัด ๒ (๑).
  55. ประทัดฝรั่ง,ประทัดเล็ก
    หมายถึง ดู ประทัด ๒ (๒).
  56. ประทัดลม
    หมายถึง น. เครื่องดอกไม้ไฟ ทำด้วยกระดาษห่อเม็ดกรวดคลุกสารเคมีบางชนิด ใช้ขว้างให้ไปกระทบของแข็งจะแตกระเบิดดังปัง.
  57. ประทับ
    หมายถึง ก. (ราชา) อยู่ที่, อยู่กับที่, เช่น ประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน, (ราชา) นั่ง เช่น ประทับบนพระราชอาสน์; แนบอยู่, แนบชิด, แนบลง, เช่น กอดประทับอก เอาปืนประทับบ่า.
  58. ประทับตรา
    หมายถึง ก. กดตราลงบนเอกสาร.
  59. ประทับฟ้อง
    หมายถึง (กฎ) ก. รับฟ้องไว้พิจารณาต่อไป.
  60. ประทับราบ
    หมายถึง (ราชา) ก. นั่งกับพื้น.
  61. ประทับแรม
    หมายถึง (ราชา) ก. พักค้างคืนในที่อื่น.
  62. ประทับใจ
    หมายถึง ก. ติดอกติดใจ, ฝังอยู่ในใจ.
  63. ประทากล้อง
    หมายถึง [ปฺระทากฺล้อง] น. ทองคำเปลวอย่างหนาและเนื้อดี เหมือนทองของหลวง, ใช้ว่า ประทาศี ก็มี, เรียกให้เต็มว่า ทองประทากล้อง ทองประทาศี.
  64. ประทาน
    หมายถึง (ราชา) ก. ให้ (ใช้แก่เจ้านาย). (ส.).
  65. ประทานบัตร
    หมายถึง [ปฺระทานนะบัด, ปฺระทานบัด] (กฎ) น. หนังสือสำคัญที่ออกให้ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ เพื่อให้มีสิทธิทำเหมืองแร่ภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น; ใบอนุญาตซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดออกให้แก่บุคคลผู้ประมูลได้ ให้มีสิทธิทำการประมงในที่ว่าประมูล.
  66. ประทาย
    หมายถึง น. ค่าย, ป้อม. (ข.).
  67. ประทาศี
    หมายถึง น. ทองประทากล้อง.
  68. ประทิน
    หมายถึง ก. ทำให้สะอาดหมดจด เช่น ประทินผิว.
  69. ประทิ่น
    หมายถึง น. เครื่องหอม.
  70. ประทีป
    หมายถึง น. ไฟที่มีเปลวสว่าง (หมายเอาตะเกียง ไฟเทียน เป็นต้น), ตะเกียง, โคม. (ส. ปฺรทีป; ป. ปทีป).
  71. ประทุก
    หมายถึง ก. บรรทุก.
  72. ประทุฐ
    หมายถึง [ปฺระทุด] ว. ชั่ว, ร้าย. (ป. ปทุฏฺ).
  73. ประทุฐจิต
    หมายถึง [ปฺระทุดถะจิด] น. จิตร้าย, จิตโกรธ.
  74. ประทุน
    หมายถึง น. หลังคาเรือ รถ หรือเกวียนที่มีรูปโค้งคุ่มตามรูปเรือ รถ หรือเกวียน, เรียกมุ้งครอบที่หุบและกางได้คล้ายร่มว่า มุ้งประทุน.
  75. ประทุมราค
    หมายถึง [ปฺระทุมมะราก] น. ปัทมราค, พลอยสีแดง, ทับทิม, เช่น แขกเต้าตากปีกปาก ประทุมราคแดงฉัน. (เสือโค). (ป. ปทุมราค; ส. ปทฺมราค).
  76. ประทุษ
    หมายถึง [ปฺระทุด] ก. ทำร้าย, ทำชั่ว, ทำเลวทราม, ทำผิด, เบียดเบียน. (ส.).
  77. ประทุษฏจิต,ประทุษฐจิต
    หมายถึง [ปฺระทุดตะจิด, ปฺระทุดถะจิด] น. จิตร้าย, จิตโกรธ.
  78. ประทุษฏ์,ประทุษฐ์
    หมายถึง ว. ชั่ว, ร้าย. (ส. ปฺรทุษฺฏ, ปฺรทุษฺ).
  79. ประทุษร้าย
    หมายถึง [ปฺระทุดสะ-] ก. ทำให้บาดเจ็บ เช่น ประทุษร้ายร่างกาย, ทำให้เสียหาย เช่น ประทุษร้ายทรัพย์สิน; (กฎ) ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ.
  80. ประท่า
    หมายถึง (โบ) น. ฟากโน้น, ฝั่งโน้น.
  81. ประท้วง
    หมายถึง ก. กระทำการหรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการคัดค้านเพราะไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจอย่างยิ่ง เช่น อดข้าวประท้วง เขียนหนังสือประท้วง.
  82. ประธาน
    หมายถึง น. ความเพียร มี ๔ อย่าง คือ ๑. สังวรประธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน ๒. ปหานประธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาประธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๔. อนุรักขนาประธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม. (ส. ปฺรธาน; ป. ปธาน).
  83. ประธาน
    หมายถึง น. ตำแหน่งผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ตำแหน่งประธานรัฐสภา ตำแหน่งประธานกรรมการ, เรียกผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ประธานรัฐสภา ประธานกรรมการ. ว. ที่เป็นหลักสำคัญในที่นั้น ๆ เช่น พระประธาน.
  84. ประธาน
    หมายถึง (ไว) น. ผู้กระทำ เช่น เด็กวิ่ง เด็ก เป็นประธานของกริยา วิ่ง คนกินข้าว คน เป็นประธานของกริยา กิน.
  85. ประธานาธิบดี
    หมายถึง [ปฺระทานาทิบอดี, ปฺระทานาทิบบอดี] น. ประมุขของประเทศที่ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ.
  86. ประนม
    หมายถึง ก. ยกกระพุ่มมือ, ยกมือขึ้นกระพุ่ม.
  87. ประนมมือ
    หมายถึง ก. กระพุ่มมือ, พนมมือ ก็ว่า.
  88. ประนอ
    หมายถึง ก. พะนอ, เอาใจ, ถนอมใจ.
  89. ประนอม
    หมายถึง ก. อะลุ้มอล่วย, ทำการปรองดอง.
  90. ประนอมหนี้
    หมายถึง (กฎ) ก. การที่ลูกหนี้ขอทำความตกลงในเรื่องหนี้สิน โดยวิธีขอชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน หรือโดยวิธีอื่น.
  91. ประนัง
    หมายถึง ก. ประชุม, รวม, เช่น ประนังศัพท์ ว่า ประชุมเสียง, ประนังพล ว่า รวมพล. ว. พร้อม.
  92. ประนัปดา
    หมายถึง [ปฺระนับดา] น. เหลน (คือ ลูกของหลานปู่). (ส. ปฺรนปฺตฺฤ; ป. ปนตฺตา).
  93. ประนีประนอม
    หมายถึง ก. ผ่อนหนักผ่อนเบาให้แก่กัน, ปรองดองกัน, อะลุ้มอล่วยกัน.
  94. ประนีประนอมยอมความ
    หมายถึง (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้ง ๒ ฝ่าย ระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน.
  95. ประนี้
    หมายถึง (โบ) ว. อย่างนี้.
  96. ประบัด
    หมายถึง (โบ) ก. ฉ้อโกง, กระบัด ตระบัด หรือ สะบัด ก็ใช้.
  97. ประบาต
    หมายถึง น. เหว. ก. ตกลงไป, ตกไป. (ส. ปฺรปตน; ปปตน).
  98. ประปราน
    หมายถึง ก. ข้อนอก, ตีอก, ร้องไห้.
  99. ประปราย
    หมายถึง ว. มีกระจายอยู่ห่าง ๆ เช่น ผมหงอกประปราย ผลไม้ติดประปราย, มีห่าง ๆ เป็นระยะ ๆ, เรี่ยราย, เล็กน้อย, เช่น ยิงกันประปราย.
  100. ประปา
    หมายถึง น. นํ้าที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้วจ่ายไปให้ประชาชนบริโภคใช้สอย เรียกว่า นํ้าประปา, เรียกรัฐวิสาหกิจซึ่งมีหน้าที่จัดทำและจำหน่ายน้ำประปาว่า การประปา, เรียกสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนี้ เช่น ก๊อกประปา ท่อประปา. (ส. ปฺรปา; ป. ปปา).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ป (หน้าที่ 4)"