พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ป (หน้าที่ 3)

  1. ประคอง
    หมายถึง ก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้มเป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวังไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี.
  2. ประคับประคอง
    หมายถึง ก. คอยระมัดระวังพยุงไว้, คอยบำรุงรักษา, ทะนุถนอมอย่างดี.
  3. ประคัลภ์
    หมายถึง (แบบ) น. ความกล้า, ความสามารถ, ความคะนอง. ว. คล่องแคล่ว, ประเปรียว. (ส.).
  4. ประคารม
    หมายถึง ก. ตีฝีปากกัน.
  5. ประคำ
    หมายถึง น. ลูกกลม ๆ ที่ร้อยเป็นพวงสำหรับเป็นเครื่องหมายการนับในเวลาบริกรรมภาวนาหรือสำหรับใช้เป็นเครื่องราง, เรียกเครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำเป็นต้นมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  6. ประคำดีควาย
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Sapindus วงศ์ Sapindaceae คือ ชนิด S. trifoliatus L. ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๔-๖ ใบ และชนิด S. rarak A. DC. มีใบย่อย ๑๔-๓๐ ใบ ทั้ง ๒ ชนิดผลกลมขนาดผลพุทรา ใช้ทำยาได้ เมื่อชงกับนํ้าร้อน ใช้ซักผ้าไหมหรือล้างเครื่องเพชรแทนสบู่ได้, มะคำดีควาย หรือ มะซัก ก็เรียก.
  7. ประคำร้อย
    หมายถึง น. ชื่อฝีชนิดหนึ่งเกิดขึ้นบริเวณลำคอ เป็นเม็ดเรียงกันรอบคอ.
  8. ประคำไก่
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Drypetes roxburghii Wall. ในวงศ์ Euphorbiaceae ลำต้นและกิ่งก้านสีขาวนวล ใบหนาเป็นมัน ผลกลมรีสีขาวอมเทา ใช้ทำยาได้, มะคำไก่ ก็เรียก.
  9. ประคิ่น,ประคิ่นวินชา
    หมายถึง ก. ประจง, ค่อย ๆ ทำให้เรียบร้อย, ประคอง.
  10. ประคุณ
    หมายถึง (แบบ) ก. คล่องแคล่ว, ชำนาญ. (ส. ปฺรคุณ ว่า ตรง, สัตย์ซื่อ, ซื่อตรง; ป. ปคุณ).
  11. ประจง
    หมายถึง ก. บรรจง, ทำให้ดี.
  12. ประจญ
    หมายถึง [ปฺระจน] ก. ต่อสู้, สู้รบ, ต้านทาน, ผจญ ก็ว่า.
  13. ประจบ
    หมายถึง ก. บรรจบ, เพิ่มให้ครบจำนวน, เช่น มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท; จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้ประจบกัน ทาง ๒ สายมาประจบกัน, ทำให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่างให้มุมประจบกัน.
  14. ประจบ,ประจบ,ประจบประแจง
    หมายถึง ก. พูดหรือทำให้เขารักเขาชอบ.
  15. ประจบสอพลอ
    หมายถึง ก. ประจบประแจงผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีฐานะสูงกว่าด้วยการกล่าวร้ายป้ายสีผู้อื่นเป็นต้นเพื่อประโยชน์ของตน.
  16. ประจวบ
    หมายถึง ก. จำเพาะพอดี, สบเหมาะ, บังเอิญพบ, เช่น นํ้าเหนือหลากมาประจวบกับนํ้าทะเลหนุน นํ้าเลยท่วม.
  17. ประจักษ,ประจักษ-,ประจักษ์
    หมายถึง ว. ปรากฏชัด อาจเป็นทางตาหรือใจก็ได้ เช่น ประจักษ์แก่ตา ประจักษ์แก่ใจ. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
  18. ประจักษนิยม
    หมายถึง [ปฺระจักสะ-] น. ประสบการณ์นิยม.
  19. ประจักษ์พยาน
    หมายถึง (กฎ) น. พยานบุคคลที่เป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง.
  20. ประจัญ
    หมายถึง [ปฺระจัน] ก. ปะทะต่อสู้, ผจัญ ก็ว่า.
  21. ประจัญบาน
    หมายถึง ก. รบอย่างตะลุมบอน.
  22. ประจัน
    หมายถึง ก. กั้นเป็นส่วนสัด เช่น ฝาประจันห้อง; ประชัน, ประเชิญ, เผชิญ, เช่น หันหน้าประจันกัน; เรียกไม้ที่ใช้คํ้าแคมเรือที่เบิกได้ที่แล้วเพื่อไม่ให้หุบว่า ไม้ประจัน.
  23. ประจันหน้า
    หมายถึง ก. เผชิญหน้ากัน, อยู่ต่อหน้ากัน.
  24. ประจาก
    หมายถึง ก. พรากไป, จากไป.
  25. ประจาค
    หมายถึง ก. สละ, ให้. (ป. ปริจฺจาค; ส. ปฺรตฺยาค).
  26. ประจาน
    หมายถึง ก. ประกาศเปิดเผยความชั่วให้รู้ทั่วกันด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น พูดประจาน ตัดหัวเสียบประจาน พาตระเวนประจานทั่วเมือง. (ข. ผจาล ว่า ทำให้เข็ดหลาบ).
  27. ประจำ
    หมายถึง ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจำ นั่งประจำ; เฉพาะ เช่น ตราประจำกระทรวง ตราประจำตำแหน่ง; ที่กำหนดให้มีเป็นปรกติ เช่น งานประจำปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจำทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า ครูหรืออาจารย์ประจำชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและจะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจำตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้างไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจำ, เรียกผู้ที่มาติดต่อหรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจำ ขาประจำ, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝากครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทำตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจำ, มัดจำ ก็ว่า.
  28. ประจำการ
    หมายถึง ว. อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ประจำ, ยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่, เช่น ทหารประจำการ.
  29. ประจำครั่ง,ประจำตรา
    หมายถึง ก. เอาครั่งผนึกแล้วประทับเครื่องหมายเป็นสำคัญ.
  30. ประจำฉัตร
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อนุราธา มี ๔ ดวง, ดาวนกยูง ดาวอนุราธ หรือ ดาวอนุราธะ ก็เรียก.
  31. ประจำซอง
    หมายถึง ก. เข้าประจำรักษาหน้าที่เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน.
  32. ประจำยาม
    หมายถึง น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง มีรูปเป็นดอก ๔ กลีบ วางเป็นระยะ ๆ คั่นลายอื่น.
  33. ประจำเดือน
    หมายถึง น. ระดู.
  34. ประจำเมือง
    หมายถึง น. ชื่อดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาหัวคํ่า, ถ้าเห็นในเวลาเช้ามืด เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก.
  35. ประจิม
    หมายถึง น. ทิศตะวันตก.
  36. ประจิ้มประจ่อง
    หมายถึง ก. หยิบหย่ง, ดัดจริตกรีดกราย.
  37. ประจิ้มประเจ๋อ
    หมายถึง ว. พูดจาและแสดงกิริยาเสนอหน้าอย่างเด็ก.
  38. ประจุ
    หมายถึง ก. บรรจุ, ใส่; ใส่เข้าที่ให้แน่น เช่น ประจุดินปืน; เข้าประจำที่, เข้าประจำตำแหน่ง. น. เรียกยาที่ขับพิษถ่ายพิษว่า ยาประจุ.
  39. ประจุขาด
    หมายถึง น. เรียกวิธีกล่าวคำลาสึกจากพระ.
  40. ประจุคมน์
    หมายถึง ก. ลุกขึ้นต้อนรับ. (ป. ปจฺจุคฺคมน).
  41. ประจุบัน
    หมายถึง น. ปัจจุบัน. (ป. ปจฺจุปฺปนฺน; ส. ปฺรตฺยุตฺปนฺน).
  42. ประจุโลหิต
    หมายถึง ก. ฟอกเลือด.
  43. ประจุไฟฟ้า
    หมายถึง น. อนุภาคที่แสดงอำนาจไฟฟ้าซึ่งได้แก่ โปรตอน และอิเล็กตรอน วัตถุใดที่มีจำนวนโปรตอนมากกว่าจำนวนอิเล็กตรอน ก็กำหนดว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าบวก แต่ถ้ามีจำนวนอิเล็กตรอนมากกว่าจำนวนโปรตอน ก็กำหนดว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าลบ.
  44. ประจ๋อประแจ๋
    หมายถึง ว. กะหนอกะแหน, ฉอเลาะ, อาการที่พูดเอาอกเอาใจหรือประจบประแจง.
  45. ประชด
    หมายถึง ก. แกล้งทำให้เกินควรหรือพูดแดกดันเพราะความไม่พอใจ เช่น หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว พูดประชด, ประชดประชัน ก็ว่า, ในกลอนใช้ว่า ประทยด หรือ ประเทียด ก็มี.
  46. ประชดประชัน
    หมายถึง ก. พูดหรือทำเป็นเชิงกระทบกระแทกแดกดัน.
  47. ประชน
    หมายถึง ก. ประชัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ประชัน เป็น ประชนประชัน.
  48. ประชวม
    หมายถึง (กลอน) ก. ประชุม.
  49. ประชวร
    หมายถึง [ปฺระชวน] (ราชา) ก. เจ็บป่วย. (ใช้แก่เจ้านาย). (ส. ปฺรชฺวร).
  50. ประชัน
    หมายถึง ว. อาการที่แข่งขันเพื่อให้รู้ว่าใครจะแสดงได้ดีกว่าหรือเก่งกว่ากัน เช่น งิ้ว ๒ โรงประชันกัน อย่าเอาเป็ดขันประชันไก่, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เด็กร้องไห้ประชันกัน.
  51. ประชา
    หมายถึง น. หมู่คน เช่น ปวงประชา. (ส.; ป. ปชา).
  52. ประชากร
    หมายถึง น. หมู่คน, หมู่พลเมือง (เกี่ยวกับจำนวน).
  53. ประชากรศาสตร์
    หมายถึง น. การศึกษาทางสถิติเกี่ยวกับประชากรในแง่อัตราการเกิด การตาย การย้ายถิ่น และการกระจาย เป็นต้น รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจ.
  54. ประชาคม
    หมายถึง น. ชุมชน, กลุ่มชนซึ่งอยู่รวมกันและมีการติดต่อสัมพันธ์กัน.
  55. ประชาชน,ประชาราษฎร์
    หมายถึง น. พลเมือง, สามัญชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช ในความว่า ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน.
  56. ประชาชาติ
    หมายถึง น. ประเทศ, ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ, ชาติ ก็ว่า.
  57. ประชาชี
    หมายถึง (ปาก) น. ประชาชน.
  58. ประชาทัณฑ์
    หมายถึง น. การที่ฝูงชนกลุ้มรุมทำร้าย เป็นการลงโทษบุคคลที่ตนเข้าใจหรือนึกว่ามีความผิด โดยไม่ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม.
  59. ประชาธิปไตย
    หมายถึง [ปฺระชาทิปะไต, ปฺระชาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่, การถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่. (ส. ปฺรชา + ป. อธิปเตยฺย).
  60. ประชานาถ
    หมายถึง น. พระพรหม. (ส.).
  61. ประชาบดี
    หมายถึง น. เจ้าแห่งสรรพสัตว์. (ส. ปฺรชาปติ).
  62. ประชาบาล
    หมายถึง น. การศึกษาของท้องถิ่น มีราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ, เรียกโรงเรียนประเภทนี้ว่า โรงเรียนประชาบาล; (เลิก) การปกครองพลเมืองในท้องถิ่น.
  63. ประชาพิจารณ์
    หมายถึง น. การฟังความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่. (อ. public hearing).
  64. ประชาภิบาล
    หมายถึง น. ผู้ปกครองพลเมือง; การปกครองชาวเมือง. (ส.).
  65. ประชามติ
    หมายถึง น. มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง. (อ. plebiscite); มติของประชาชนที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสำคัญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสำคัญในการบริหารประเทศ. (อ. referendum).
  66. ประชาสงเคราะห์
    หมายถึง น. การช่วยเหลือในด้านสวัสดิการ เช่นการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบสาธารณภัยที่รัฐให้แก่ประชาชนที่ตกทุกข์ได้ยาก.
  67. ประชาสัมพันธ์
    หมายถึง ก. ติดต่อสื่อสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันถูกต้องต่อกัน. น. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการนี้.
  68. ประชิด
    หมายถึง ก. เข้าถึงตัว, เข้าชิดตัว, เช่น ผู้ร้ายมาประชิดตัว.
  69. ประชี
    หมายถึง ก. ทำสิ่งที่เป็นปุยอย่างสำลีหรือที่เป็นเส้นอย่างกลุ่มยาเส้นให้กระจายตัวออก.
  70. ประชุม
    หมายถึง ก. มารวมกันหรือเรียกให้มารวมกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง, มาร่วมพบกันเพื่อปรึกษาหารือ, เช่น ประชุมกรรมการ, โดยปริยายใช้หมายถึงเอาสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันมารวมกัน เช่น ประชุมพงศาวดาร ประชุมปาฐกถา, บางทีใช้หมายความอย่างเดียวกับชุมนุม เช่น ประชุมพระบรมราชาธิบาย ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔.
  71. ประชุมสุดยอด
    หมายถึง น. การประชุมระหว่างประเทศของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระดับสูงของรัฐบาล.
  72. ประชุมเพลิง
    หมายถึง [-เพฺลิง] ก. เผาศพ.
  73. ประณต
    หมายถึง ก. น้อมไหว้. (ส.).
  74. ประณม
    หมายถึง น. การน้อมไหว้. (ส.).
  75. ประณาม
    หมายถึง ก. น้อมไหว้ เช่น ขอประณามบาทบงสุ์พระทรงศรี. (ส. ปฺรณาม; ป. ปณาม).
  76. ประณาม
    หมายถึง ก. กล่าวร้ายให้เขาเสียหาย เช่น ถูกประณามว่าเป็นคนโกง; ขับไล่. (ส. ปฺรณาม; ป. ปณาม).
  77. ประณิธาน
    หมายถึง น. การตั้งความปรารถนา. (ส. ปฺรณิธาน; ป. ปณิธาน).
  78. ประณิธิ
    หมายถึง น. การตั้งความปรารถนา. (ส. ปฺรณิธิ; ป. ปณิธิ).
  79. ประณีต
    หมายถึง ว. ละเอียดลออ, เรียบร้อยงดงาม, เช่น ฝีมือประณีต ทำอย่างประณีต, ที่ปรุงอย่างสุดฝีมือด้วยของดี ๆ เช่น ปรุงอาหารอันประณีต. (ส. ปฺรณีต; ป. ปณีต).
  80. ประณุท
    หมายถึง [ปฺระนุด] ก. บรรเทา, ระงับ. (ส. ปฺรณุท; ป. ปนุท).
  81. ประดง
    หมายถึง น. ชื่อโรคผิวหนังจำพวกหนึ่ง ทำให้คันเป็นต้น ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่ามีหลายชนิด เช่น ประดงเลือด ประดงลม.
  82. ประดงแดง
    หมายถึง ดู กระโดงแดง.
  83. ประดน
    หมายถึง ว. เก่า. (ส. ปฺรตน).
  84. ประดน
    หมายถึง ก. เพิ่มให้, เติมให้, แถมให้, ให้ทดแทนที่ขาดอยู่.
  85. ประดนธรรม
    หมายถึง น. ธรรมของเก่า.
  86. ประดวน
    หมายถึง ก. ยอน, แยง.
  87. ประดอน
    หมายถึง ก. อุดหรือยัดปิดรูไว้.
  88. ประดอย
    หมายถึง ก. ทำให้งดงามและละเอียดลออยิ่งขึ้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ ประดิด เป็น ประดิดประดอย.
  89. ประดัก ๆ
    หมายถึง ว. อาการแห่งคนที่ตกนํ้าแล้วสำลักนํ้า เรียกว่า สำลักประดัก ๆ, อาการที่ชักหงับ ๆ ใกล้จะตาย.
  90. ประดักประเดิด
    หมายถึง ว. รี ๆ รอ ๆ, ที่ทำให้รู้สึกลำบากยุ่งยากกายหรือใจ.
  91. ประดัง
    หมายถึง ว. ยัดเยียดกันเข้ามา เช่น คนประดังกันเข้ามา, มาติด ๆ พร้อม ๆ กัน เช่น งานประดังเข้ามา; ดังขึ้นพร้อมกัน, แซ่ซ้อง, (หมายเอาเสียง).
  92. ประดับ
    หมายถึง ก. ตกแต่งให้งามด้วยสิ่งต่าง ๆ มีสร้อย แหวน เป็นต้น เช่น ประดับเหรียญตรา ประดับอาคารสถานที่ ประดับโคมไฟ, โดยปริยายหมายความว่า ประกอบ, เพิ่ม, เช่น ประดับบารมี.
  93. ประดับประดา
    หมายถึง (ปาก) ก. ประดับ.
  94. ประดา
    หมายถึง ว. บรรดา, ทั้งหมด, ถ้าใช้เข้าคู่กับคำ เต็ม เป็น เต็มประดา หมายความว่า เต็มที. ก. เรียงหน้ากันเข้าไป.
  95. ประดา
    หมายถึง ก. ดำทน เช่น ประดานํ้า ประดาดิน.
  96. ประดาก
    หมายถึง น. ธงผืนผ้า. (ส. ปตาก; ป. ปฏาก).
  97. ประดาตาย
    หมายถึง ว. แทบตาย ในความว่า แทบล้มประดาตาย.
  98. ประดาทัพ
    หมายถึง ก. ตั้งกองทัพเรียงหน้ากระดานเข้าไป.
  99. ประดาน้ำ
    หมายถึง น. ผู้ชำนาญดำนํ้า.
  100. ประดาป
    หมายถึง น. ความร้อน, ความร้อนใจ, ความร้อนรน; อำนาจ, ความเป็นใหญ่, เกียรติยศ. (ส. ปฺรตาป; ป. ปตาป).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ป (หน้าที่ 3)"