พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ป (หน้าที่ 2)

  1. ปติวัตร
    หมายถึง น. ความประพฤติต่อผัว, ความจงรักในผัว.
  2. ปถพี
    หมายถึง [ปะถะ-] น. แผ่นดิน. (ส. ปฺฤถวี; ป. ปวี).
  3. ปถมัง
    หมายถึง [ปะถะหฺมัง] น. วิธีทำผงด้วยเวทมนตร์คาถาเพื่อความศักดิ์สิทธิ์.
  4. ปถวี
    หมายถึง [ปะถะหฺวี] น. ท้ายเรือพิธี (เรียกเฉพาะเรือหลวง).
  5. ปถวี
    หมายถึง [ปะถะวี] (โบ) น. ดิน เช่น ปถวีธาตุ. (ส. ปฺฤถวี; ป. ปวี).
  6. ปทัฏฐาน
    หมายถึง น. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; บรรทัดฐาน หรือ ปทัสถาน ก็ว่า. (ป.; ส. ปทสฺถาน).
  7. ปทัสถาน
    หมายถึง น. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; บรรทัดฐาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า. (ส.; ป. ปทฏฺาน).
  8. ปทานุกรม
    หมายถึง น. หนังสือสำหรับค้นคว้าความหมายของคำที่เรียงตามลำดับบท.
  9. ปทีป
    หมายถึง น. ประทีป. (ป.; ส. ปฺรทีป).
  10. ปทุม
    หมายถึง น. บัวหลวง, บัวก้าน. (ป.; ส. ปทฺม).
  11. ปน
    หมายถึง ก. ประสมกัน เช่น ข้าวเจ้าปนข้าวเหนียว, แกมกัน เช่น พูดไทยปนฝรั่ง, รวมกัน เช่น อย่าเอาผ้านุ่งกับเสื้อซักปนกัน, ถ้าเอาส่วนน้อยประสมลงในส่วนมากเพื่อให้ระคนปนเป็นอันเดียวกัน เรียกว่า เจือปน, ถ้าเป็นในลักษณะที่ปนกันทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งดีและชั่ว เรียกว่า คละปน.
  12. ปนัดดา
    หมายถึง (แบบ) น. เหลน (คือ ลูกของหลานปู่). (ป.).
  13. ปนเป
    หมายถึง ว. ปนกันยุ่งจนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร.
  14. ปบ
    หมายถึง ก. วิ่งไล่ตะครุบ, ตบตะครุบ, ตะปบ ก็ว่า.
  15. ปปัญจ,ปปัญจ-,ปปัญจะ
    หมายถึง [ปะปันจะ-] (แบบ) น. ความเนิ่นช้า, ความนาน. ว. เนิ่นช้า. (ป.).
  16. ปปัญจธรรม
    หมายถึง (แบบ) น. ธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฐิ. (ป.).
  17. ปม
    หมายถึง น. เนื้อที่เป็นปุ่มขึ้นตามตัว, ขอดของผ้าหรือเชือก, ข้อยุ่งที่แก้ยาก.
  18. ปมจิต
    หมายถึง น. อารมณ์และความรู้สึกของบุคคลที่เก็บกดสะสมไว้ในจิตใต้สำนึกมาตั้งแต่ในวัยเด็ก ปมจิตนี้จะทำให้บุคคลผู้นั้นแสดงออกในด้านความคิด ความรู้สึก และการกระทำในลักษณะที่ซํ้ากันจนเกิดเป็นอุปนิสัยประจำตัว.
  19. ปมด้อย
    หมายถึง น. ลักษณะความคิด ความรู้สึก อารมณ์ หรือการกระทำของบุคคล ที่แสดงออกถึงความตํ่าต้อยกว่าผู้อื่น. (อ. inferiority complex).
  20. ปมประสาท
    หมายถึง น. ตำแหน่งที่อยู่ของเซลล์ประสาท.
  21. ปมเขื่อง,ปมเด่น
    หมายถึง น. ลักษณะอารมณ์และความต้องการที่แสดงออกในทางที่เหนือกว่าบุคคลอื่น. (อ. superiority complex).
  22. ปมเปา
    หมายถึง ว. ปุ่มที่เกิดตามเนื้อตามตัว.
  23. ปร,ปร-
    หมายถึง [ปะระ-, ปอระ-] ว. อื่น, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น ปรปักษ์ ปรโลก. (ป.).
  24. ปรก
    หมายถึง [ปฺรก] น. ซุ้มเล็ก ๆ ที่พระสงฆ์อาศัยในเวลาอยู่ปริวาส. ก. ปก, ปิด, คลุม, เช่น พระนาคปรก ผมปรกหน้า.
  25. ปรก
    หมายถึง [ปฺรก] น. เรียกผู้นั่งภาวนาในพิธีปลุกเสก เช่น ในพิธีพุทธาภิเษก ว่า คณะปรก.
  26. ปรกติ
    หมายถึง [ปฺรกกะติ] ว. ธรรมดา เช่น ตามปรกติ, เป็นไปตามเคย เช่น เหตุการณ์ปรกติ, ไม่แปลกไปจากธรรมดา เช่น อาการปรกติ, ปกติ ก็ว่า. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
  27. ปรง
    หมายถึง น. (๑) ชื่อเฟิน ๒ ชนิดในสกุล Acrostichum วงศ์ Pteridaceae ต้นเป็นกอขึ้นริมนํ้า ใบยาวเป็นทาง ใบอ่อนสีแดง กินได้ คือ ปรงทะเล (A. aureum L.) และ ปรงหนู (A. speciosum Willd.). (๒) ชื่อพรรณไม้ในกลุ่มพืชเมล็ดเปลือยหลายชนิดในสกุล Cycas วงศ์ Cycadaceae เป็นไม้ต้น ลำต้นกลม สีดำขรุขระ ใบเล็กยาวเรียงถี่ ๆ บนแกนกลาง เช่น ปรงญี่ปุ่น (C. revoluta Thunb.) ใบใช้ทำพวงหรีด ปรงเขา (C. pectinata Griff.).
  28. ปรด
    หมายถึง [ปฺรด] ก. วิ่ง, วิ่งแล่น, เช่น เร่งรถปรดปรึง. (คำพากย์).
  29. ปรตยักษ์
    หมายถึง [ปฺรดตะยัก] (กลอน) ก. ประจักษ์. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
  30. ปรตยาค
    หมายถึง [ปฺรดตะยาก] (กลอน) ก. ประจาค, บริจาค. (ส. ปฺรตฺยาค; ป. ปริจฺจาค).
  31. ปรตเยก
    หมายถึง [ปฺรดตะเยก] (กลอน) ว. ปัจเจก. (ส. ปฺรเตฺยก; ป. ปจฺเจก).
  32. ปรน
    หมายถึง [ปฺรน] ก. บำรุงเลี้ยงดูให้สมบูรณ์.
  33. ปรนนิบัติ
    หมายถึง [ปฺรนนิบัด] ก. เอาใจใส่คอยปฏิบัติรับใช้, ปรนนิบัติวัตถาก ก็ว่า.
  34. ปรนปรือ
    หมายถึง [ปฺรนปฺรือ] ก. บำรุงเลี้ยงดูให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น.
  35. ปรนัย
    หมายถึง [ปะระ-, ปอระ-] ว. วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบมักไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นส่วนตัว เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบตายตัว ว่า การสอบแบบปรนัย, คู่กับ อัตนัย.
  36. ปรนิมมิตวสวัตดี
    หมายถึง [ปะระนิมมิตตะวะสะวัดดี, ปอระ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๖ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าววสวัตดีมารเป็นผู้ครอง.
  37. ปรนเปรอ
    หมายถึง [ปฺรนเปฺรอ] ก. บำรุงบำเรอเลี้ยงดู, เลี้ยงดูด้วยการเอาอกเอาใจ.
  38. ปรบ
    หมายถึง [ปฺรบ] ก. เอาฝ่ามือตบกันหลาย ๆ ครั้งให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น ในคำว่า ปรบมือ, ตบมือ ก็ว่า; ตี เช่น ไก่ปรบปีก ช้างปรบหู.
  39. ปรบมือให้
    หมายถึง (สำ) ก. ยกย่อง, สรรเสริญ.
  40. ปรบไก่
    หมายถึง น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่ง ใช้ตบมือเป็นจังหวะ และว่าแก้กันอย่างเพลงฉ่อย, ชื่อหน้าทับประกอบเพลงดนตรีแบบหนึ่ง.
  41. ปรปักษ์
    หมายถึง [ปอระ-] น. ข้าศึก, ศัตรู, ฝ่ายตรงข้าม.
  42. ปรม,ปรม-
    หมายถึง [ปะระมะ-, ปอระมะ-] ว. อย่างยิ่ง (ใช้นำหน้าคำอื่นโดยมาก). (ป.).
  43. ปรมัตถ์
    หมายถึง [ปะระมัด, ปอระมัด] น. ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก. ว. ลึกซึ้งยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. (ป.).
  44. ปรมาจารย์
    หมายถึง [ปะระมาจาน, ปอระมาจาน] น. อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือยอดเยี่ยมในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง.
  45. ปรมาณู
    หมายถึง [ปะระ-, ปอระ-] น. ส่วนของสารที่มีขนาดเล็กที่สุดจนไม่สามารถจะแยกย่อยได้อีกด้วยวิธีเคมี. (ป., ส. ปรมาณุ).
  46. ปรมาตมัน
    หมายถึง [ปะระมาดตะมัน] (ปรัชญา) น. อาตมันสูงสุด เป็นต้นกำเนิดและที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล. (ส. ปรม + อาตฺมนฺ).
  47. ปรมาภิเษก
    หมายถึง [ปะระ-, ปอระ-] น. อภิเษกอย่างยิ่ง คือ การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ส.).
  48. ปรมาภิไธย
    หมายถึง [ปะระมาพิไท, ปอระมาพิไท] น. ชื่อ (ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) เช่น ในพระปรมาภิไธย ทรงลงพระปรมาภิไธย. (ป. ปรมาภิเธยฺย).
  49. ปรมินทร์,ปรเมนทร์
    หมายถึง [ปะระมิน, ปอระมิน, ปะระเมน, ปอระเมน] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง. (ส.).
  50. ปรวด
    หมายถึง [ปะหฺรวด] น. เนื้อที่เป็นโรค มีลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ใต้ผิวหนัง; ชื่อหมอช้าง.
  51. ปรวด
    หมายถึง [ปะหฺรวด] (กลอน) ก. โปรด.
  52. ปรวนแปร
    หมายถึง [ปฺรวนแปฺร] ก. เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่อยู่ที่เป็นปรกติ เช่น อากาศปรวนแปร, รวนเร เช่น ใจปรวนแปร, แปรปรวน ก็ว่า.
  53. ปรวาที
    หมายถึง [ปะระ-] น. ผู้กล่าวถ้อยคำฝ่ายตอบหรือฝ่ายค้าน, คู่กับ สกวาที.
  54. ปรศุ
    หมายถึง [ปะระสุ] น. ขวาน. (ส.; ป. ผรสุ).
  55. ปรสิต,ปรสิต-
    หมายถึง [ปะระสิด, ปะระสิดตะ-] น. (แพทย์) สัตว์พวกพยาธิที่อาศัยอยู่ในมนุษย์และสัตว์; (เกษตร) ตัวเบียน เช่น กาฝาก. (อ. parasite).
  56. ปรสิตวิทยา
    หมายถึง [ปะระสิดตะวิดทะยา, ปะระสิดวิดทะยา] (แพทย์) น. วิชาที่ว่าด้วยพยาธิ.
  57. ปรหิตะ
    หมายถึง [ปะระหิตะ, ปอระหิตะ] น. ประโยชน์ผู้อื่น, มักใช้ควบกับ ประโยชน์ เป็น ปรหิตประโยชน์ ว่า ประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น. (ป. ปรหิต).
  58. ปรองดอง
    หมายถึง [ปฺรอง-] ก. ออมชอม, ประนีประนอม, ยอมกัน, ไม่แก่งแย่งกัน, ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย, ตกลงกันด้วยไมตรีจิต.
  59. ปรอด
    หมายถึง [ปะหฺรอด] น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Pycnonotidae สีเหลืองหม่น กินผลไม้และแมลง มีหลายชนิด เช่น ปรอดสวน (Pycnonotus blanfordi) ปรอดหน้านวล (P. goiavier), กรอด ก็เรียก, บางทีเขียนเป็น กระหรอด หรือ กะหรอด.
  60. ปรอด ๆ
    หมายถึง [ปฺรอด] ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น ขี้ปรอด ๆ.
  61. ปรอท
    หมายถึง [ปะหฺรอด] น. ธาตุลำดับที่ ๘๐ สัญลักษณ์ Hg เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของเหลว สีเงิน แข็งตัวที่ -๓๘.๓๖ °ซ. เดือดที่ ๓๕๗ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปทำเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ โลหะเจือซึ่งเรียกว่า อะมัลกัม (amalgam) ใช้ในงานทันตกรรมและทำเครื่องมือวิทยาศาสตร์อื่น ๆ สารประกอบของปรอทเป็นพิษ แต่บางอย่างใช้เป็นยาได้. (อ. mercury); (ปาก) เครื่องวัดอุณหภูมิ; โดยปริยายหมายถึงอาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วว่องไว เช่น ไวเป็นปรอท. (ป., ส. ปารท).
  62. ปรอย,ปรอย ๆ,ปรอย ๆ
    หมายถึง [ปฺรอย] ว. ที่แสดงอาการเศร้า (ใช้แก่ตา) เช่น ทำตาปรอย.
  63. ปรอย ๆ
    หมายถึง [ปฺรอย] ว. ที่ตกเป็นระยะ ๆ ไม่หนาเม็ด (ใช้แก่ฝนตก) เช่น ฝนตกปรอย ๆ.
  64. ประ
    หมายถึง [ปฺระ] (ถิ่น-ปักษ์ใต้, มลายู) น. ลูกกระ. (ดู กระ ๒).
  65. ประ
    หมายถึง [ปฺระ] ก. ปะทะ เช่น ประหมัด, กระทบ, ระ, เช่น ผมประบ่า.
  66. ประ
    หมายถึง [ปฺระ] ก. ทำให้เป็นจุด ๆ เช่น ประไข่ปลา, ทำให้เป็นจุด ๆ หรือเม็ด ๆ ทั่วไปอย่างประแป้ง.
  67. ประ
    หมายถึง [ปฺระ] ดู กระ ๓.
  68. ประ,ประ-,ประ-
    หมายถึง [ปฺระ] ใช้เติมหน้าคำอื่นเพื่อให้คำหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง; คำที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม.
  69. ประกบ
    หมายถึง ก. แนบชิดกัน, ทาบกัน, เช่น ขนมครก ๒ ฝาประกบกัน ไม้ไผ่ ๒ ซีกประกบกัน.
  70. ประกบตัว
    หมายถึง ก. ติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น ตำรวจประกบตัวผู้ร้าย, คุมตัวอย่างใกล้ชิด เช่น ประกบตัวผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามในการเล่นฟุตบอลเป็นต้น.
  71. ประกฤต
    หมายถึง [-กฺริด] (แบบ) ก. ทำ, ทำมาก. (ส. ปฺรกฺฤต; ป. ปกต).
  72. ประกฤติ
    หมายถึง [-กฺริด, -กฺริติ] (แบบ) น. มูลเดิม, ที่เกิด, รากเหง้า; ความเป็นไปตามธรรมดา, ความเป็นไปตามปรกติ, ลักษณะ; กฎ, เกณฑ์, แบบเดิม. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
  73. ประกล
    หมายถึง น. ประการ. ว. ต่าง.
  74. ประกวด
    หมายถึง ก. แข่งขันเพื่อเลือกเฟ้นเอาดี โดยมีการตัดสิน เช่น ประกวดนางงาม ประกวดบทความ.
  75. ประกวดประขัน
    หมายถึง ก. แข่งสู้อวดกัน เช่น แต่งตัวประกวดประขันกัน.
  76. ประกวดราคา
    หมายถึง ก. เสนอราคาแข่งขันกัน.
  77. ประกอบ
    หมายถึง ก. เอาชิ้นส่วนต่าง ๆ มารวมหรือคุมกันเข้าเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ เช่น ประกอบรถยนต์; ทำ เช่น ประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ; ประสมหรือปรุงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประกอบยา; เสริม, เพิ่มเติม, เช่น อธิบายประกอบ.
  78. ประกอบด้วย
    หมายถึง ก. มี, มีมาก, เช่น ประกอบด้วยเมตตา, กอบด้วย ก็ว่า.
  79. ประกอบอาหาร
    หมายถึง ก. ทำหรือปรุงแต่งอาหารต่าง ๆ.
  80. ประกัน
    หมายถึง ก. รับรองว่าจะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น, รับรองว่าจะมีหรือไม่มีเหตุการณ์นั้น ๆ. น. หลักทรัพย์ที่ให้ไว้เป็นเครื่องรับรอง.
  81. ประกันชีวิต
    หมายถึง (กฎ) น. ชื่อสัญญาประกันภัยชนิดหนึ่ง ซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับประกันภัย ตกลงจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้รับประโยชน์โดยอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง และในการนี้ผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย ให้แก่ผู้รับประกันภัย, สัญญาประกันชีวิต ก็เรียก. (ปาก) ก. ทำสัญญาประกันชีวิต.
  82. ประกันภัย
    หมายถึง (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับประกันภัย ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีที่หากมีวินาศภัยขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอาประกันภัย ตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย, สัญญาประกันภัย ก็เรียก.
  83. ประกันเชิงลา
    หมายถึง (โบ) ก. ประกันตัวออกมาจากที่คุมขังได้เป็นคราว ๆ คราวละ ๓ วัน หรือ ๗ วัน.
  84. ประกับ
    หมายถึง ก. ประกอบเข้าทั้ง ๒ ข้างเพื่อให้แน่น.
  85. ประกับ
    หมายถึง (โบ) น. วัตถุใช้แทนเงินปลีก ขนาดเท่าเหรียญมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้ว ทำด้วยดินเผาตีตราต่าง ๆ.
  86. ประกาย
    หมายถึง น. แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากวัตถุที่ลุกเป็นไฟ เช่น ประกายลูกไฟ, แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากของแข็งบางอย่างที่กระทบกันอย่างแรง เช่น ดาบกระทบกันเป็นประกาย ตีเหล็กไฟเป็นประกาย, ความแวววาวที่เหลี่ยมเพชรเป็นต้นกระทบแสง, แสงแปลบปลาบอย่างแสงฟ้าแลบ, โดยปริยายหมายถึงแสงที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตาเป็นประกาย, แสงสะท้อนจากสิ่งที่เป็นมันเป็นเงา เช่น ประกายแสงจากกระเบื้องหลังคาโบสถ์. (แผลงมาจาก ผกาย).
  87. ประกายพรึก
    หมายถึง [ปฺระกายพฺรึก] น. ดาวรุ่ง คือ ดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาเช้ามืด, ถ้าเห็นในเวลาหัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจำเมือง. (ข. ผกาย ว่า ดาว + พรึก ว่า รุ่ง).
  88. ประการ
    หมายถึง น. อย่าง เช่น จะทำประการไร, ชนิด เช่น หลายประการ; ทำนอง, แบบ, เช่น ด้วยประการฉะนี้. (ส. ปฺรการ; ป. ปการ).
  89. ประกาศ
    หมายถึง ก. ป่าวร้อง, แจ้งให้ทราบ, เช่น ประกาศงานบุญงานกุศล. น. ข้อความที่แจ้งให้ทราบทั่วกัน เช่น ประกาศของวัด ประกาศของบริษัท; (กฎ) ข้อความที่ทางราชการแจ้งให้ประชาชนทราบหรือวางแนวทางให้ปฏิบัติ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศกระทรวง ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี. (ส. ปฺรกาศ; ป. ปกาส).
  90. ประกาศก
    หมายถึง [ปฺระกาสก] (แบบ) น. ผู้ประกาศ. (ส. ปฺรกาศก).
  91. ประกาศนียบัตร
    หมายถึง [ปฺระกาสะนียะบัด, ปฺระกาดสะนียะบัด] น. เอกสารแสดงคุณวุฒิ ตามปรกติตํ่ากว่าระดับอุดมศึกษา.
  92. ประกาศิต
    หมายถึง น. คำสั่งเด็ดขาด, คำพูดที่ศักดิ์สิทธิ์.
  93. ประกำ
    หมายถึง ก. รัด, ตรึงให้แน่น, เช่น ประกำตรึงด้วยเพชรแน่นหนา. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  94. ประกิด
    หมายถึง ก. ประกอบ, ประกับ, ประดับ.
  95. ประกิต
    หมายถึง (แบบ) ก. แจ้งความ, ประกาศ, แสดง. (ส.).
  96. ประกีรณกะ,ประเกียรณกะ
    หมายถึง [ปฺระกีระนะกะ, ปฺระเกียนระนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน. (ส. ปฺรกีรฺณก; ป. ปกิณฺณก).
  97. ประคด
    หมายถึง น. เครื่องคาดเอวหรืออกของพระภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นสายถักเป็นแผ่นสำหรับคาดเอว เรียกว่า ประคดเอว, ถ้าเป็นผืนผ้าสำหรับคาดอก เรียกว่า ประคดอก, รัดประคด ก็เรียก; ผ้าสำหรับคาดเอวทับเครื่องแบบขุนนางสมัยโบราณ.
  98. ประคนธรรพ,ประคนธรรพ์
    หมายถึง [ปฺระคนทับ, ปฺระคนทัน] ดู ประโคนธรรพ, ประโคนธรรพ์.
  99. ประคบ
    หมายถึง ว. เรียกผ้าที่ห่อเครื่องยาผูกเป็นลูกกลม ๆ อังไฟแล้วนาบหรือคลึงบริเวณที่ปวดว่า ลูกประคบ. ก. นาบหรือกดคลึงด้วยลูกประคบ.
  100. ประคบประหงม
    หมายถึง ก. ทะนุถนอม, ฟูมฟักรักษา.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ป (หน้าที่ 2)"