พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด บ (หน้าที่ 7)

  1. บิตุลานี
    หมายถึง (แบบ) น. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป. ปิตุลานี).
  2. บิตุเรศ
    หมายถึง (กลอน) น. พ่อ.
  3. บิน
    หมายถึง ก. ไปในอากาศด้วยกำลังปีกหรือเครื่องยนต์เป็นต้น เช่น นกบิน เครื่องบินบิน, โดยปริยายหมายถึงการไปโดยลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขวัญบิน จานบิน; เรียกหน่อไม้ที่ขึ้นสูงจนเป็นลำ แต่ยอดยังมีกาบหุ้มอยู่แก่เกินกิน ว่า หน่อไม้บิน.
  4. บิน
    หมายถึง ดู นกกระจอก ๒.
  5. บินยา
    หมายถึง ดู ลำไย (๒).
  6. บิลเลียด
    หมายถึง น. ชื่อกีฬาในร่มอย่างหนึ่ง เล่นบนโต๊ะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปูสักหลาด มีหลุมกรุตาข่าย ๖ หลุมที่มุมทั้ง ๔ และตรงกลางด้านยาว ผู้เล่นใช้ไม้ยาวซึ่งเรียกว่า คิว แทงลูกกลมให้ได้แต้มตามกติกา. (อ. billiards).
  7. บิวเรตต์
    หมายถึง น. หลอดแก้วยาว ปลายล่างมีลูกบิดให้ปิดเปิดได้ ข้างหลอดมีขีดบอกปริมาตรสำหรับวัดของเหลวที่ไขออก ใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางเคมี. (อ. burette).
  8. บิศาจ
    หมายถึง น. ปิศาจ, ปีศาจ, ผี. (ส. ปิศาจ; ป. ปิสาจ).
  9. บิสมัท
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๘๓ สัญลักษณ์ Bi เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวอมแดง เปราะ หลอมละลายที่ ๒๗๑.๓ °ซ. เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่เลว มีสมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ซึ่งหลอมละลายที่อุณหภูมิตํ่า. (อ. bismuth).
  10. บิ่น
    หมายถึง ก. แตกลิไปเล็กน้อย (ที่คม ที่แง่ หรือที่ยอด) เช่น มีดบิ่น ชามปากบิ่น. ว. บ้าอย่างหุนหันพลันแล่น, บ้าบิ่น ก็ว่า.
  11. บีฑา
    หมายถึง [-ทา] (แบบ) ก. เบียดเบียน, บีบคั้น, รบกวน, เจ็บปวด. (ส. ปีฑา).
  12. บีตา
    หมายถึง (ฟิสิกส์) น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี มี ๒ ชนิด คือ อิเล็กตรอน และ โพซิตรอน. (อ. beta particle), มักเรียกกระแสอนุภาคบีตาว่า รังสีบีตา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๙๐,๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อยกว่ารังสีแกมมา. (อ. beta rays).
  13. บีบ
    หมายถึง ก. ใช้มือเป็นต้นกดด้านทั้ง ๒ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าหากัน เช่น บีบมะนาว, โดยปริยายหมายถึงกดดัน เช่น ถูกบีบ.
  14. บีบขนมจีน
    หมายถึง ก. บีบแป้งขนมจีนที่อยู่ในห่อผ้าที่เย็บติดกับหน้าแว่น แล้วโรยให้เป็นเส้นลงในนํ้าเดือด, โรยขนมจีน ก็ว่า.
  15. บีบขมับ
    หมายถึง ก. เอาไม้คาบเข้าที่ขมับทั้ง ๒ ข้าง แล้วผูกรวบรัดหัวท้ายไม้คาบนั้นเข้าด้วยกัน เป็นวิธีลงโทษในสมัยโบราณแบบหนึ่ง.
  16. บีบคั้น
    หมายถึง ก. บีบบังคับให้ได้รับความลำบาก.
  17. บีบน้ำตา
    หมายถึง ก. แกล้งร้องไห้, ร้องไห้.
  18. บีบบังคับ
    หมายถึง ก. กดขี่.
  19. บีบรัด
    หมายถึง ก. ทำให้รู้สึกอึดอัดใจเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งคล้ายถูกบีบถูกรัด.
  20. บีเยศ
    หมายถึง (กลอน) ว. ที่รัก เช่น แถลงปางนฤนารถไท้สวรรคต ยงงมิ่งเมืองบนบี เยศเย้า. (ยวนพ่าย).
  21. บี้
    หมายถึง ก. กดหรือบีบให้แบนหรือผิดจากรูปเดิม. ว. แฟบผิดปรกติ เช่น จมูกบี้.
  22. บี้
    หมายถึง น. ตัวไหมที่ออกจากฝักมีปีกแล้ว. (ลัทธิ).
  23. บี้แบน
    หมายถึง ว. แบนจนผิดรูปผิดร่างเพราะถูกกดหรือทับ.
  24. บึก
    หมายถึง น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pangasianodon gigas ในวงศ์ Schilbeidae ไม่มีเกล็ด ตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม มีหนวดสั้นมากข้างละ ๑ เส้นที่มุมปาก ไม่มีฟัน ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็ก ลำตัวด้านหลังสีเทาอมนํ้าตาลแดง ด้านท้องสีขาว มีในลำแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร เป็นปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก.
  25. บึกบึน
    หมายถึง ก. ทรหดอดทน, ไม่ท้อถอย.
  26. บึง
    หมายถึง น. แหล่งนํ้าขนาดใหญ่ มีนํ้าขังตลอดปี.
  27. บึงบาง
    หมายถึง น. บึงที่ใช้เป็นทางนํ้า.
  28. บึ่ง
    หมายถึง น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายสกุลในหลายวงศ์ ขนาดเท่าแมลงหวี่หรือโตกว่าเล็กน้อย มีปีกคู่เดียว ปากแบบดูดกิน เจาะดูดเลือดคนและสัตว์กินเป็นอาหาร มีอยู่ชุกชุมตามบริเวณชายนํ้า ชายทะเล และในป่าทึบ ที่สำคัญได้แก่ สกุล Phlebotomus วงศ์ Psychodidae, สกุล Simulium วงศ์ Simuliidae, สกุล Leptoconops และ Culicoides วงศ์ Ceratopogonidae เป็นต้น, ปึ่ง หรือ คุ่น ก็เรียก.
  29. บึ่ง
    หมายถึง ก. วิ่งหรือขับไปโดยเร็ว เช่น บึ่งไป บึ่งรถ บึ่งเรือ.
  30. บึ้ง
    หมายถึง น. ชื่อแมงมุมขนาดใหญ่ที่มีลำตัวยาวกว่า ๓ เซนติเมตรขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นประเภทไม่ถักใยดักสัตว์ ตัวสีนํ้าตาลหรือนํ้าตาลแก่ มีขนรุงรังสีเดียวกัน ขุดรูอยู่ คอยจับสัตว์เล็ก ๆ กิน บึ้งชนิดที่คนนำมากิน เช่น ชนิด Melopoeus albostriatus, Nephila maculata, กํ่าบึ้ง หรือ อีบึ้ง ก็เรียก.
  31. บึ้ง
    หมายถึง ว. อาการที่หน้าตาไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส.
  32. บึ้งตึง
    หมายถึง ว. อาการที่หน้าบึ้งเพราะโกรธหรือไม่พอใจเป็นต้น.
  33. บึ้งบูด
    หมายถึง ว. อาการที่หน้าเง้าแสดงอาการไม่พอใจ.
  34. บื๋อ
    หมายถึง ว. เสียงดังอย่างเสียงเร่งเครื่องยนต์ โดยปริยายหมายความว่า เคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว เช่น เรือบื๋อ.
  35. บุ
    หมายถึง ก. ตีให้เข้ารูป เช่น บุขัน, เอาของบาง ๆ หุ้มข้างนอก เช่น บุหนัง บุพลาสติก หรือรองข้างใน เช่น บุหลังคา.
  36. บุก
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Amorphophallus วงศ์ Araceae ในต้นฤดูฝนจะออกดอกก่อน เวลาบานส่งกลิ่นเหม็นมาก เมื่อดอกโรยแล้วมีใบงอกออกมาเพียงใบเดียว ก้านดอกและใบกลมยาว หน้าแล้งต้นตายเหลือหัวอยู่ใต้ดิน เช่น บุกคางคก (A. rex Prain ex Hook.f.) หัวกินได้, บุกรอ (A. saraburiensis Gagnep.) ใช้ทำยาได้.
  37. บุก
    หมายถึง ก. ลุย, ฝ่าไป, เช่น บุกโคลน บุกป่า.
  38. บุกบัน,บุกบั่น
    หมายถึง ก. ฝ่าไปโดยไม่ท้อถอย เช่น เข้าโรมรุกบุกบันฟันแทง. (อิเหนา).
  39. บุกป่าฝ่าดง
    หมายถึง (สำ) ก. พยายามต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ.
  40. บุกรุก
    หมายถึง ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขตพระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจหรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอาอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดยยักย้ายหรือทำลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.
  41. บุกเบิก
    หมายถึง ก. ถางป่าเข้าไปให้เป็นไร่นา, โดยปริยายหมายความว่า ริเริ่มทำเป็นคนแรกหรือพวกแรก.
  42. บุคคล,บุคคล-
    หมายถึง [บุกคน, บุกคะละ-, บุกคนละ-] น. คน (เฉพาะตัว); (กฎ) คนซึ่งสามารถมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เรียกว่า บุคคลธรรมดา; กลุ่มบุคคลหรือองค์กรซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เรียกว่า นิติบุคคล. (ป. ปุคฺคล; ส. ปุทฺคล).
  43. บุคคลที่สาม
    หมายถึง (กฎ) ดู บุคคลภายนอก.
  44. บุคคลธรรมดา
    หมายถึง [บุกคน-] น. คน, มนุษย์ปุถุชน.
  45. บุคคลนิติสมมติ
    หมายถึง [บุกคนนิติสมมด] (กฎ; เลิก) น. นิติบุคคล.
  46. บุคคลผู้ไร้ความสามารถ
    หมายถึง [บุกคน-] (กฎ) น. บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มีความสามารถตามกฎหมาย หรือความสามารถถูกจำกัดโดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ.
  47. บุคคลภายนอก
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลที่มิได้เป็นคู่กรณีหรือคู่สัญญา แต่อาจมีสิทธิเกี่ยวข้อง, บุคคลที่สาม ก็เรียก.
  48. บุคคลสิทธิ
    หมายถึง [บุกคะละสิด, บุกคนละสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือบุคคล เช่น สิทธิของเจ้าหนี้เหนือลูกหนี้.
  49. บุคลากร
    หมายถึง [บุกคะลากอน] น. ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เช่นในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน เป็นต้น; ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน.
  50. บุคลาธิษฐาน
    หมายถึง [บุกคะลาทิดถาน, บุกคะลาทิดสะถาน] ว. มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, ที่ยกคนหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมอื่น ๆ ขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบาย เช่น เปรียบกิเลสเหมือนพญามาร, คู่กับ ธรรมาธิษฐาน.
  51. บุคลิก,บุคลิก-
    หมายถึง [บุกคะลิก, บุกคะลิกกะ-] ว. จำเพาะคน. (ป. ปุคฺคลิก).
  52. บุคลิกทาน
    หมายถึง [บุกคะลิกกะทาน] น. ทานที่ทายกให้จำเพาะตัวคน, คู่กับ สังฆทาน คือ ทานที่ให้แก่สงฆ์. (ตัดมาจาก ป. ปาฏิปุคฺคลิกทาน).
  53. บุคลิกภาพ
    หมายถึง [บุกคะลิกกะพาบ] น. สภาพนิสัยจำเพาะคน.
  54. บุคลิกลักษณะ
    หมายถึง [บุกคะลิกกะลักสะหฺนะ, บุกคะลิกลักสะหฺนะ] น. ลักษณะจำเพาะตัวของแต่ละคน, บุคลิก ก็ว่า.
  55. บุง
    หมายถึง (โบ) น. กระบุง.
  56. บุญ,บุญ-
    หมายถึง [บุน, บุนยะ-] น. การกระทำดีตามหลักคำสอนในศาสนา; ความดี, คุณงามความดี. ว. ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ. (ป. ปุญฺ; ส. ปุณฺย).
  57. บุญญาธิการ
    หมายถึง น. บุญที่ได้กระทำไว้มากยิ่ง.
  58. บุญญาธิสมภาร
    หมายถึง น. บุญที่ได้สั่งสมไว้มากยิ่ง.
  59. บุญญานุภาพ
    หมายถึง น. อำนาจแห่งบุญ. (ป. ปุญฺานุภาว).
  60. บุญญาภินิหาร
    หมายถึง น. ความปรารถนาอันแรงกล้าในความดี, บุญที่ให้สำเร็จได้ตามความปรารถนา. (ป. ปุญฺาภินิหาร).
  61. บุญญาภิสังขาร
    หมายถึง น. สภาพที่บุญตกแต่ง. (ป. ปุญฺาภิสงฺขาร).
  62. บุญทาย
    หมายถึง ว. ควรเป็นเนื้อคู่กัน เช่น ไปสู่ขอลูกสาวหลานสาวท่าน บุญทายต้องกัน.
  63. บุญทำกรรมแต่ง
    หมายถึง (สำ) บุญหรือบาปที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุทำให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น.
  64. บุญธรรม
    หมายถึง น. เรียกลูกของคนอื่นซึ่งเอามาเลี้ยงเป็นลูกของตัวว่า ลูกบุญธรรม, ถ้าจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เรียกว่า บุตรบุญธรรม.
  65. บุญนิธิ
    หมายถึง [บุนยะ-] น. ขุมทรัพย์คือบุญ. (ป.).
  66. บุญมาวาสนาส่ง
    หมายถึง (สำ) เมื่อมีบุญ อำนาจวาสนาก็มาเอง, บุญมาวาสนาช่วย ก็ว่า.
  67. บุญราศี
    หมายถึง [บุนยะ-, บุน-] น. กองบุญ.
  68. บุญฤทธิ์
    หมายถึง [บุนยะ-] น. ความสำเร็จด้วยบุญ.
  69. บุญหนักศักดิ์ใหญ่
    หมายถึง ว. มีฐานันดรศักดิ์สูงและอำนาจวาสนายิ่งใหญ่ เช่น น้อยหรือนางบุญหนักศักดิ์ใหญ่. (สังข์ทอง).
  70. บุญเขต
    หมายถึง [บุนยะ-] น. เนื้อนาบุญ. (ป. ปุญฺกฺเขตฺต).
  71. บุณฑริก
    หมายถึง [บุนดะริก, บุนทะริก] น. บัวขาว; ชื่อสังขยา คือ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๑๑๒ ตัว; ชื่อช้างตระกูล ๑ ในตระกูลช้างทั้ง ๑๐. (ป., ส. ปุณฺฑรีก).
  72. บุณมี
    หมายถึง [บุนนะมี] น. วันเพ็ญ. (ป. ปุณฺณมี; ส. ปูรฺณมี).
  73. บุณย์
    หมายถึง น. บุญ. (ส. ปุณฺย; ป. ปุญฺ).
  74. บุตร,บุตร-
    หมายถึง [บุด, บุดตฺระ-] น. ลูก, ลูกชาย. (ส. ปุตฺร; ป. ปุตฺต).
  75. บุตรธรรม
    หมายถึง [บุดตฺระทำ] น. หน้าที่ของลูก.
  76. บุตรบุญธรรม
    หมายถึง [บุดบุนทำ] (กฎ) น. บุตรของผู้อื่นที่บุคคลได้จดทะเบียนรับเป็นบุตรของตน.
  77. บุตรา
    หมายถึง [บุดตฺรา] (กลอน) น. บุตร.
  78. บุตรี
    หมายถึง [บุดตฺรี] น. ลูกผู้หญิง. (ส. ปุตฺรี).
  79. บุตรีตระสุม
    หมายถึง [บุดตฺรีตฺระสุม] น. ต้นนางแย้ม. (ช.).
  80. บุถุชน
    หมายถึง น. ปุถุชน, คนที่ยังมีกิเลสหนา, สามัญชน, ผู้ที่มิได้เป็นพระอริยบุคคล. (ป. ปุถุชฺชน; ส. ปฺฤถคฺชน).
  81. บุทคล
    หมายถึง [บุดคน] น. บุคคล, คน. (ส. ปุทฺคล; ป. ปุคฺคล).
  82. บุนนะบุนนัง
    หมายถึง ก. ซ่อม, เพิ่มเติม.
  83. บุนนาค
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Mesua ferrea L. ในวงศ์ Guttiferae ใบยาวรี ปลายใบเรียวแหลม ดอกสีขาวคล้ายสารภีแต่ใหญ่กว่า กลิ่นหอม ใช้ทำยาได้ แก่นสีแดงเข้ม ใช้ทำเครื่องเรือน.
  84. บุบ
    หมายถึง ก. ทุบ ตำ หรือเคี้ยวเบา ๆ พอให้เป็นรอยหรือแตก; บู้ลง, บุ๋มลง, เช่น ขันบุบ แก้มบุบ.
  85. บุบบิบ
    หมายถึง ว. อาการที่ของบางอย่างเช่นไข่จะละเม็ดหรือของที่ทำด้วยอะลูมิเนียม บุบเข้าไปหลายแห่ง.
  86. บุบสลาย
    หมายถึง ว. ชำรุดแตกหัก.
  87. บุปผ,บุปผ-
    หมายถึง [บุบผะ-] น. ดอกไม้. (ป. ปุปฺผ; ส. ปุษฺป).
  88. บุปผชาติ
    หมายถึง น. ดอกไม้, พวกดอกไม้. (ป.).
  89. บุปผวิกัติ
    หมายถึง น. ดอกไม้ที่ทำให้แปลก, ดอกไม้ที่ทำให้วิจิตรต่าง ๆ. (ป.).
  90. บุพ,บุพ-,บุพพ,บุพพ-
    หมายถึง [บุบพะ-] ว. ก่อน, ทีแรก; เบื้องต้น, เบื้องหน้า. (ป. ปุพฺพ; ส. ปูรฺว).
  91. บุพกรรม
    หมายถึง น. กรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน. (ป. ปุพฺพ + ส. กรฺมนฺ; ป. ปุพฺพกมฺม).
  92. บุพการี
    หมายถึง น. ผู้ที่ทำอุปการะมาก่อน เช่น บิดามารดาเป็นบุพการีของบุตรธิดา. (ป. ปุพฺพการี); (กฎ) ญาติทางสาโลหิตโดยตรงขึ้นไป ได้แก่ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด.
  93. บุพกิจ
    หมายถึง น. กิจที่จะต้องทำก่อน. (ป. ปุพฺพกิจฺจ).
  94. บุพชาติ
    หมายถึง น. ชาติก่อน. (ป. ปุพฺพชาติ).
  95. บุพทักษิณ
    หมายถึง น. ทิศตะวันออกเฉียงใต้.
  96. บุพนิมิต
    หมายถึง น. ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน. (ป. ปุพฺพนิมิตฺต).
  97. บุพบท
    หมายถึง น. คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ทำหน้าที่เชื่อมคำต่อคำ อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือกริยา มีคำว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.
  98. บุพพัณชาติ
    หมายถึง [-พันนะชาด] น. พืชที่จะพึงกินก่อน ได้แก่ข้าวทุกชนิด. (ป. ปุพฺพณฺณชาติ; ส. ปูรฺว + อนฺน + ชาติ).
  99. บุพพัณหสมัย
    หมายถึง [-พันหะสะไหฺม] น. เวลาเบื้องต้นแห่งวัน, เวลาเช้า. (ป. ปุพฺพณฺหสมย; ส. ปูรฺวาหณ + สมย).
  100. บุพพาจารย์
    หมายถึง น. อาจารย์ในเบื้องต้น คือ บิดามารดา. (ป. ปุพฺพาจริย; ส. ปูรฺวาจารฺย).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด บ (หน้าที่ 7)"