พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด บ (หน้าที่ 5)

  1. บันโดย
    หมายถึง ก. พลอยแสดง เช่น บันโดยหรรษา; ดำเนินตาม, เอาอย่าง, ยินยอม, คล้อยตาม.
  2. บันได
    หมายถึง น. สิ่งที่ทำเป็นขั้น ๆ สำหรับก้าวขึ้นลง, กระได ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงบุคคลหรือสิ่งที่อาศัยใช้ไต่เต้าขึ้นไปสู่ฐานะหรือตำแหน่งที่สูงขึ้นไป.
  3. บันไดลิง
    หมายถึง ดู กระไดลิง ๒.
  4. บันไดลิง
    หมายถึง น. บันไดเชือกที่ตรึงติดเฉพาะส่วนบน ใช้ไต่ขึ้นที่สูงหรือไต่ลงที่ตํ่า, กระไดลิง ก็ว่า.
  5. บันไดเลื่อน
    หมายถึง น. บันไดที่เคลื่อนได้ด้วยกำลังไฟฟ้า.
  6. บันไดแก้ว
    หมายถึง น. ที่รองพระคัมภีร์และลานสำหรับจารหนังสือ, ที่สำหรับพาดพระแสง.
  7. บัปผาสะ
    หมายถึง น. ปอด. (ป. ปปฺผาส).
  8. บัพ
    หมายถึง น. ข้อ, ปล้อง, ปม, เล่ม, หมวด, ตอน. (ป. ปพฺพ).
  9. บัพชา
    หมายถึง [บับพะชา] น. บรรพชา, การบวช. (ป. ปพฺพชฺชา).
  10. บัพชิต
    หมายถึง [บับพะชิด] น. บรรพชิต, นักบวช, ผู้บวช. (ป. ปพฺพชิต).
  11. บัพพาช
    หมายถึง [บับพาด] (แบบ) ก. ขับไล่ เช่น พระสญชัยยินราษฎร์ แกล้งบัพพาชกูไกล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. ปพฺพาช).
  12. บัพพาชนียกรรม
    หมายถึง [บับพาชะนียะกำ] น. กรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่จะพึงขับไล่, พิธีขับไล่บุคคลที่พึงขับไล่. (ป. ปพฺพาชนียกมฺม).
  13. บัพพาชน์
    หมายถึง [บับพาด] (แบบ) น. การขับไล่. (ป. ปพฺพาชน).
  14. บัล
    หมายถึง (แบบ) น. ชื่อมาตรานํ้าหนักมคธ ๑๐ บัล เป็น ๑ ตุลา, ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. (ป., ส. ปล).
  15. บัลลพ,บัลวะ
    หมายถึง [บันลบ, บันละวะ] (แบบ) น. หน่อต้นไม้, กระโดงไม้ที่แตกออกใหม่, ใช้ว่า บัลลพ์ ก็มี. (ส. ปลฺลว).
  16. บัลลังก์
    หมายถึง น. พระแท่นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ภายใต้เศวตฉัตร เรียกว่า ราชบัลลังก์, โดยปริยายคำ ราชบัลลังก์ นี้ หมายถึงความเป็นพระมหากษัตริย์หรือสถาบันกษัตริย์ก็ได้; ที่นั่งผู้พิพากษาเมื่อพิจารณาคดีในศาล; ส่วนของสถูปเจดีย์บางแบบ มีรูปเป็นแท่นเหนือคอระฆัง. ก. นั่งขัดสมาธิ เรียกว่า นั่งคู้บัลลังก์. (ป. ปลฺลงฺก).
  17. บัลลูน
    หมายถึง น. ลูกกลมขนาดใหญ่บรรจุแก๊สที่เบากว่าอากาศ ทำให้ลอยได้ ใช้ประโยชน์ในกิจการบางอย่าง เช่น ตรวจลมชั้นบน, ใช้ว่า บอลลูน ก็มี. (อ. balloon).
  18. บัลเลต์
    หมายถึง น. ระบำปลายเท้า.
  19. บัว
    หมายถึง น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ สกุล Nelumbo ในวงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกสีชมพูเรียก ปัทม์ หรือ สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, สกุล Nymphaea ในวงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบหรือจักอยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchali Burm.f.) ขอบใบเรียบ ดอกสีม่วงอ่อน, สกุล Victoria ในวงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบกระด้ง หรือ บัววิกตอเรีย [V. amazonica (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้านดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก; ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทำเป็นรูปกลีบบัว ติดอยู่บนหัวเสา เรียกว่า บัวหัวเสา หรือที่ส่วนล่างของฐานเป็นต้น เรียกว่า ฐานบัว, ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มีความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุมหรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักหรือไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็นไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, ลวดบัว ก็เรียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว เช่น โคมบัว.
  20. บัวกลุ่ม
    หมายถึง น. ลายปูนหรือลายแกะไม้ที่ทำเป็นรูปดอกบัวที่เริ่มแย้มร้อยกันเป็นเถา อยู่ระหว่างบัลลังก์กับปลียอดของเจดีย์หรือปลายเครื่องบนของปราสาท.
  21. บัวขม
    หมายถึง น. บัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล Nymphaea ดอกเล็ก สีขาว สายกินได้ หัวมีรสขม.
  22. บัวขาบ
    หมายถึง ดู ผัน ๑.
  23. บัวคอเสื้อ
    หมายถึง น. แผ่นผ้าทาบรอบคอเสื้อ; ลายบัวที่อยู่ใต้บัลลังก์ปราสาท.
  24. บัวตะกั่ว
    หมายถึง (โบ) น. ที่สำหรับไขนํ้าให้ไหลลงมาเป็นฝอย.
  25. บัวตูม
    หมายถึง น. ชื่อพืชเบียนชนิด Rafflesia kerrii Meijer ในวงศ์ Rafflesiaceae เกิดตามป่าดิบ เกาะเบียนรากไม้เถา ดอกตูมสีนวล ใช้ทำยาได้ เมื่อบานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร สีนํ้าตาลแดงประเหลือง กลิ่นเหม็น, บัวผุด ก็เรียก.
  26. บัวถลา
    หมายถึง น. บัวควํ่าที่ลาหรือยืดอ่อนออกไป.
  27. บัวนาง
    หมายถึง น. นมผู้หญิง.
  28. บัวบก
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Centella asiatica (L.) Urban ในวงศ์ Umbelliferae ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยวกลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ใบและต้นกินได้และใช้ทำยาได้, พายัพและอีสานเรียก ผักหนอก, ปักษ์ใต้และตราดเรียก ผักแว่น. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด Stephania pierrei Diels ในวงศ์ Menispermaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ รากพองเป็นหัวกลม ๆ ใบค่อนข้างกลมปลายแหลม ใช้ทำยาได้.
  29. บัวบังใบ
    หมายถึง ว. เห็นรำไร.
  30. บัวบาท
    หมายถึง น. เท้าที่มีบัวรอง, หมายเอาเท้าผู้มีบุญอย่างพระพุทธเจ้า นิยมว่าพระพุทธเจ้ามีดอกบัวผุดขึ้นรับพระบาท, ใช้เลือนมาหมายถึงพระบาทของพระเจ้าแผ่นดินด้วย.
  31. บัวผุด
    หมายถึง ดู บัวตูม.
  32. บัวลอย
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียว ปั้นเป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ ต้มในนํ้ากะทิผสมนํ้าตาล.
  33. บัวลอย
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง ใช้บรรเลงในงานศพ.
  34. บัวสวรรค์
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Gustavia gracillima Miers ในวงศ์ Lecythidaceae ดอกสีชมพูแก่ กลีบดอกซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เหมือนดอกบัว.
  35. บัวสายติ่ง
    หมายถึง ดู สายติ่ง.
  36. บัวสายทิ้ง
    หมายถึง ดู สายติ่ง.
  37. บัวอกไก่
    หมายถึง น. ชื่อลวดบัวแบบหนึ่ง มีลักษณะนูนเป็นสันขึ้นอย่างอกของไก่.
  38. บัวฮาดำ
    หมายถึง ดู เฉียงพร้าดำ.
  39. บัวโรย
    หมายถึง ว. สีกลีบบัวแห้งหรือสีปูนแห้ง.
  40. บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น
    หมายถึง (สำ) ก. รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน, รู้จักถนอมนํ้าใจไม่ให้ขุ่นเคืองกัน, บัวไม่ให้ชํ้า นํ้าไม่ให้ขุ่น ก็ว่า.
  41. บั่น
    หมายถึง ก. ตัดให้สั้น, ตัดให้เป็นท่อน ๆ.
  42. บั่นทอน
    หมายถึง ก. ทำให้สั้นหรือลดน้อยลง เช่น บั่นทอนอายุ บั่นทอนกำลัง, ทำให้เสียกำลังใจ ในคำว่า บั่นทอนจิตใจ.
  43. บั้ง
    หมายถึง ก. เชือดหรือฟันให้เป็นแผลตามขวาง เช่น บั้งปลา. น. รอยเชือดเป็นแผลตามขวาง เช่น กรีดยางเป็นบั้ง ๆ; เครื่องมือสำหรับถูไม้ คล้ายบุ้ง แต่มีฟันเป็นแถว ๆ, สิ่งที่เป็นแถบ ๆ อย่างเครื่องหมายยศทหารหรือตำรวจชั้นประทวนเป็นต้น; กระบอกไม้ไผ่.
  44. บั้งไฟ
    หมายถึง น. บ้องไฟ.
  45. บั้น
    หมายถึง น. ครึ่งหนึ่งหรือตอนหนึ่งของสิ่งที่แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนเท่า ๆ กัน เช่น บั้นต้น บั้นปลาย. สัน. ฝ่ายว่า, ส่วนว่า.
  46. บั้น
    หมายถึง น. ชื่อมาตราตวงข้าว ๒ บั้น เป็น ๑ เกวียน.
  47. บั้นท้าย
    หมายถึง น. ตอนท้าย, ส่วนท้าย; (ปาก) ตะโพก, ก้น, (ใช้แก่หญิง).
  48. บั้นปลาย
    หมายถึง น. ตอนท้าย เช่น บั้นปลายของชีวิต.
  49. บั้นพระองค์
    หมายถึง (ราชา) น. บั้นเอว.
  50. บั้นหลวง
    หมายถึง น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๑,๐๐๐ ลิตร.
  51. บั้นเอว
    หมายถึง น. ส่วนกลางของร่างกายระหว่างชายโครงกับกระดูกตะโพกทั้ง ๒ ข้าง, กะเอว สะเอว หรือ เอว ก็ว่า.
  52. บา
    หมายถึง น. ครู, อาจารย์; ชายหนุ่ม.
  53. บาก
    หมายถึง ก. ใช้สิ่งมีคมเช่นมีดหรือขวานเป็นต้นฟันสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นต้นไม้ให้เป็นแผลเป็นรอยหรือเป็นทางเข้าไป, โดยปริยายหมายความว่า มุ่งหน้าไป เช่น อย่ารู้มากบากหนีแต่ที่ง่าย. (พาลีสอนน้อง).
  54. บากท่า
    หมายถึง ก. ให้ท่า, เปิดช่อง.
  55. บากบั่น
    หมายถึง ก. พากเพียร, ตั้งหน้าฝ่าความยากลำบาก.
  56. บากหน้า
    หมายถึง ก. ยอมเสียหน้าเข้าไปขอความช่วยเหลือด้วยความจำใจจำเป็น.
  57. บาง
    หมายถึง น. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า ลำคลอง หรือทะเล; ตำบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน, โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่ เช่น ฆ่าล้างบาง ย้ายล้างบาง. ว. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย, เช่น มีดบาง ผ้าบาง, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น เรียกว่า ผสมแต่บาง ๆ, แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป, เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติว่า ผมบาง, เรียกผู้ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอายว่า หน้าบาง, ตรงข้ามกับ หน้าหนา, เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะองว่า เอวเล็กเอวบาง หรือ เอวบางร่างน้อย, เรียกคนอ่อนแอทนความลำบากไม่ได้เพราะไม่เคยชินว่า คนผิวบาง.
  58. บาง
    หมายถึง ว. ใช้ประกอบหน้านามหมายความว่า ไม่ใช่ทั้งหมด คือ เป็นส่วนย่อยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของส่วนรวม เช่น บางคน บางพวก บางถิ่น บางสิ่ง, ลาง ก็ใช้.
  59. บางขุนนนท์
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  60. บางตา
    หมายถึง ว. เห็นเป็นระยะห่าง ๆ กัน หรือหนาแน่นน้อยกว่าที่ควรเป็น.
  61. บางที
    หมายถึง ว. บางเวลา, บางคราว, บางครั้ง, บางหน, ลางที ก็ใช้.
  62. บางสุ
    หมายถึง (กลอน) น. บงสุ์, ฝุ่น, ละออง, ธุลี, (โบ) ใช้ว่า บางษุ ก็มี เช่น มหาบางษุกุลพัษตรจีวรา. (นันโท), เมื่อน้นนนางก็ลูบบทบางษุบาท. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. ปํสุ; ส. ปำสุ).
  63. บางเบา
    หมายถึง ว. น้อยลง, ทุเลาลง, เบาบาง ก็ว่า.
  64. บาจก
    หมายถึง (แบบ) น. พ่อครัว, แม่ครัว ใช้ว่า บาจิกา. (ป. ปาจก).
  65. บาจรีย์
    หมายถึง [-จะรี] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป. ปาจริย).
  66. บาจิกา
    หมายถึง (แบบ) น. แม่ครัว. (ป. ปาจิกา). (ดู บาจก).
  67. บาซิลลัส
    หมายถึง น. แบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นท่อน. (อ. bacillus).
  68. บาด
    หมายถึง ก. ทำให้เกิดเป็นแผลหรือรอยขีดข่วนอย่างของมีคมบาด เช่น มีดบาด แก้วบาด หญ้าคาบาด. น. แผล.
  69. บาดคอ
    หมายถึง ก. รู้สึกคล้ายระคายคอเนื่องจากกินของที่มีรสหวานจัดเย็นจัดเป็นต้น.
  70. บาดตา
    หมายถึง ก. สะดุดตาเพราะเห็นสีฉูดฉาด; ขัดตาทำให้ไม่สบอารมณ์.
  71. บาดทะจิต
    หมายถึง น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง มักกำเริบขึ้นเป็นครั้งคราว มีอาการหงุดหงิด จิตฟุ้งซ่าน.
  72. บาดทะพิษ
    หมายถึง น. แผลที่ตัวเชื้อโรค Streptococciเข้าไป ทำให้เลือดเป็นพิษ.
  73. บาดทะยัก
    หมายถึง น. โรคที่เกิดจากตัวเชื้อโรคบาดทะยัก (Clostridium tetani) เข้าสู่แผล ทำให้มีอาการกระตุก และชักแข็ง หลังแอ่น โดยมากถึงตาย.
  74. บาดหมาง
    หมายถึง ก. โกรธเคืองกัน, หมองใจกัน, ผิดใจกัน.
  75. บาดหมาย
    หมายถึง (โบ) น. บัตรหมาย.
  76. บาดหู
    หมายถึง ก. ขัดหู, ระคายหู, ทำให้ไม่สบอารมณ์, (ใช้แก่คำพูดหรือกริยาพูด).
  77. บาดาล
    หมายถึง น. พื้นที่ใต้ระดับผิวดินลงไป, เรียกนํ้าที่สูบจากใต้ดินที่ลึกไม่ตํ่ากว่า ๑๐ เมตรว่า นํ้าบาดาล; นาคพิภพ เป็นที่อยู่ของนาค. (ป. ปาตาล).
  78. บาดเจ็บ
    หมายถึง ว. มีบาดแผลทำให้เจ็บปวด.
  79. บาดเสี้ยนบาดหนาม
    หมายถึง น. แผลที่ถูกเสี้ยนหนามยอกแล้วกลายเป็นพิษ ทำให้มีอาการปวดผิดปรกติ.
  80. บาดแผล
    หมายถึง น. เนื้อหนังที่แตกแยกออกเพราะถูกตีฟันทิ่มแทงเป็นต้น.
  81. บาดใจ
    หมายถึง ก. เจ็บแค้นใจ.
  82. บาดไหม
    หมายถึง (โบ) ก. ปรับ.
  83. บาต
    หมายถึง ก. ตก, ตกไป, มักใช้ประกอบหลังคำอื่น เช่น อสนีบาต = การตกแห่งสายฟ้า คือ ฟ้าผ่า, อุกกาบาต = การตกแห่งคบเพลิง คือ แสงสว่างที่ตกลงมาจากอากาศ. (ป. ปาต).
  84. บาตร
    หมายถึง [บาด] น. ภาชนะชนิดหนึ่งสำหรับภิกษุสามเณรใช้รับอาหารบิณฑบาต. (ส. ปตฺร; ป. ปตฺต).
  85. บาตรแก้ว
    หมายถึง น. บาตรใหญ่ ๓ ใบ ถักเชือกรอบนอก ในพระราชพิธีกัตติเกยา.
  86. บาตรใหญ่
    หมายถึง น. อำนาจที่ใช้ในทางข่มขี่, ใช้เข้าคู่กับ อำนาจ เป็น อำนาจบาตรใหญ่.
  87. บาท
    หมายถึง น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๑๐๐ สตางค์ หรือ ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท, อักษรย่อว่า บ.; เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๓ บาท; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑๕ กรัม.
  88. บาท
    หมายถึง น. ช่วงเวลาเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่วโมง เท่ากับ ๖ นาที.
  89. บาท
    หมายถึง น. ส่วนหนึ่งของบทแห่งคำประพันธ์ เช่น โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่งมี ๔ บาท.
  90. บาท,บาท,บาท-
    หมายถึง [บาด, บาดทะ-] น. ตีน, ราชาศัพท์ว่า พระบาท. (ป., ส. ปาท).
  91. บาทนิเกต
    หมายถึง [บาดทะนิเกด] น. ที่รองเท้า, ม้ารองเท้า. (ส.).
  92. บาทบ
    หมายถึง [บา-ทบ] (แบบ) น. ต้นไม้ เช่น บรรดาที่เป็นบาทบชักตรลบเอารสวารี. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป., ส. ปาทป).
  93. บาทบงกช
    หมายถึง [บาดทะบงกด, บาดบงกด] น. บัวบาท, บัวรองเท้า, หมายความว่า เท้าพระพุทธเจ้าหรือพระเจ้าแผ่นดิน. (ป., ส. ปาทปงฺกช).
  94. บาทบงสุ์
    หมายถึง [บาดทะ-] น. ละอองเท้า. (ป. ปาทปํสุ).
  95. บาทบริจาริกา
    หมายถึง [บาดบอริ-] น. หญิงที่มีหน้าที่รับใช้ปฏิบัติพระเจ้าแผ่นดิน. (ป., ส. ปาทปาริจาริกา).
  96. บาทบูรณ์
    หมายถึง [บาดทะบูน] น. คำที่ทำบาทของบทกลอนให้เต็ม เช่น ในฉันท์ ๑๑ มีคำที่ได้ใจความ ๑๐ คำ แล้วอีกคำหนึ่งไม่ต้องมีความหมายอย่างไรก็ได้ เติมเข้ามาให้ครบ ๑๑ คำเติมนี้ เรียกว่า บาทบูรณ์. (ส.).
  97. บาทภัฏ
    หมายถึง [บาดทะพัด] น. ทหารเดินเท้า, ทหารราบ. (ส. ปาทภฏ).
  98. บาทภาค
    หมายถึง [บาดทะพาก] น. ส่วนที่ ๔, เสี้ยว. (ส.).
  99. บาทมุทรา
    หมายถึง [บาดทะมุดทฺรา] น. รอยเท้า. (ส.).
  100. บาทมูล
    หมายถึง [บาดทะมูน] น. ที่ใกล้เท้า, แทบฝ่าเท้า. (ป.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด บ (หน้าที่ 5)"