พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด น (หน้าที่ 9)

  1. นุ่ม
    หมายถึง ว. อ่อนละมุน, อ่อนนิ่ม.
  2. นุ่มนวล
    หมายถึง ว. อ่อนหวาน, อ่อนโยน, ละมุนละไม, เพราะพริ้ง, เช่น พูดจานุ่มนวล กิริยาท่าทางนุ่มนวล.
  3. นุ่มนิ่ม
    หมายถึง ว. กิริยามารยาทที่อ่อนโยนน่ารักน่าเอ็นดูอย่างเด็ก ๆ, อ่อนนุ่มอย่างไข่จะละเม็ด.
  4. นุ้ย
    หมายถึง ว. อ้วน, อวบ; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เล็ก.
  5. นูน
    หมายถึง ว. สูงขึ้นจากระดับพื้นเดิม ในลักษณะอย่างหนังสือตัวนูน ลวดลายนูน, มีเส้นรูปนอกหรือพื้นราบโค้งออกไป.
  6. นู่น
    หมายถึง (ปาก) ส. คำใช้แทนนามที่อยู่ไกลออกไป.
  7. นู้น
    หมายถึง (ปาก) ว. ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกลออกไป.
  8. นเคนทร์,นเคศวร
    หมายถึง น. เจ้าเขา, เขาหิมพานต์, เขาไกรลาส. (ส.).
  9. นเรนทรสูร,นเรศ,นเรศวร,นเรศูร
    หมายถึง [นะเรนทฺระสูน, นะเรด, นะเรสวน, นะเรสูน] (แบบ) น. พระราชา. (ส. นร + อินฺทฺร + สูร, นร + อีศ, นร + อีศฺวร).
  10. นเรศวร์ชนช้าง
    หมายถึง [นะเรด-] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  11. นโคทร
    หมายถึง น. เวิ้งเขา, หุบเขา. (ส.).
  12. นโยบาย
    หมายถึง น. หลักและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการ. (ป. นย + อุปาย).
  13. นโรดม
    หมายถึง (แบบ) น. พระราชา. (ส. นโรตฺตม; ป. นรุตฺตม).
  14. น่วม
    หมายถึง ว. อ่อนนุ่มจนเกือบเหลว เช่น บีบเสียจนน่วม.
  15. น่อง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Antiaris toxicaria Leschen. ในวงศ์ Moraceae ยางมีพิษ ใช้ทำยางน่อง.
  16. น่อง
    หมายถึง น. กล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหลังหน้าแข้ง.
  17. น่องสิงห์
    หมายถึง น. ชื่อลายชนิดหนึ่งมักประดับที่ส่วนหลังของขาโต๊ะ ตั่ง หรือตู้แบบขาสิงห์ หรือประดับริมหรือขอบ เช่นริมโต๊ะหรือกรอบรูป.
  18. น่องแน่ง
    หมายถึง ว. ติดกันนุงนัง, เกี่ยวเนื่องกันยุ่ง.
  19. น่า
    หมายถึง ว. คำประกอบหน้ากริยา หมายความว่า ควร เช่น น่าจะทำอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้; ชวนให้, ทำให้อยากจะ, เช่น น่ากิน น่ารัก.
  20. น่า
    หมายถึง ว. คำประกอบท้ายความ หมายความไปในทางชักชวนหรือให้ทำตาม เช่น กินเถิดน่า ไปเถิดน่า.
  21. น่าน
    หมายถึง น. ย่าน, เขต, เช่น น่านนํ้า.
  22. น่านน้ำ
    หมายถึง น. พื้นที่ทางนํ้า, เขตทางนํ้า.
  23. น่านน้ำอาณาเขต
    หมายถึง น. น่านนํ้าต่าง ๆ รวมทั้งทะเลอาณาเขตและน่านนํ้าที่อยู่ภายในแผ่นดิน ซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของรัฐใดรัฐหนึ่ง.
  24. น่านฟ้า
    หมายถึง น. พื้นที่ทางอากาศ, เขตทางอากาศ.
  25. น่าย
    หมายถึง ว. อาการที่ของเหนียวของแข็งหรือของแห้งที่แช่นํ้าไว้แล้วเปื่อยหรืออ่อนตัว เช่น แช่ข้าวไว้ให้น่ายแล้วจึงโม่.
  26. น่าเกลียดน่าชัง
    หมายถึง (สำ) ว. น่ารักน่าเอ็นดู (ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ).
  27. น้อง
    หมายถึง น. ผู้ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันและเกิดทีหลัง, ลูกของอาหรือของน้า, เรียกคนที่มีอายุคราวน้อง เช่น น้องแดง น้องเขียว; ออกทีหลัง, มาทีหลัง, เช่น หมากทะลายน้อง มะพร้าวทะลายน้อง, คู่กับ ทะลายพี่; ลักษณนามใช้นับอายุไม้จำพวกไม้ไผ่ เช่น ไม้น้องเดียว คือ ไม้ที่มีอายุ ๒ ปี ไม้ ๒ น้อง คือ ไม้ที่มีอายุ ๓ ปี.
  28. น้อง ๆ
    หมายถึง ว. จวนจะเป็น, ใกล้จะเป็น, เกือบจะเป็น, เช่น น้อง ๆ อธิบดีเข้าไปแล้ว.
  29. น้องสาว
    หมายถึง อวัยวะเพศหญิง
  30. น้องเพล
    หมายถึง น. เรียกเวลาก่อนเพล ระหว่าง ๑๐ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา.
  31. น้อม
    หมายถึง ก. โน้ม เช่น น้อมลาภมาเพื่อตน, ค้อม เช่น กิ่งไม้น้อมลง, โอนลงเป็นการแสดงความเคารพ เช่น น้อมกาย น้อมใจ, โอนอ่อนตาม เช่น น้อมใจเชื่อ.
  32. น้อมนำ
    หมายถึง ก. นำไปโดยกิริยาอ่อนน้อม.
  33. น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย
    หมายถึง (ราชา) ก. ถวาย (ใช้แก่ของที่ยกไม่ได้หรือนับไม่ได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), ในการเขียนใช้ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย หรือ น้อมเกล้าฯ ถวาย ก็ได้.
  34. น้อย
    หมายถึง ว. ตรงข้ามกับ มาก, ไม่มาก, เช่น ฝนน้อย น้ำน้อย มีเงินน้อย พูดน้อย, ตรงข้ามกับ ใหญ่, ไม่ใหญ่, เช่น ข้าราชการชั้นผู้น้อย; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ไม่สำคัญ เช่น ครูน้อย ผู้น้อย เณรน้อย, เกี่ยวกับความรู้สึกเป็นไปในทางน่ารักน่าเอ็นดู เช่น เด็กน้อย น้องน้อย สาวน้อย หนูน้อย.
  35. น้อย
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. คำเติมหน้าชื่อแห่งผู้ที่ได้บวชเป็นสามเณรแล้ว, ถ้าได้บวชเป็นภิกษุเติมหน้าชื่อว่า หนาน. (พงศ. ร. ๒).
  36. น้อยหน่า
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Annona squamosa L. ในวงศ์ Annonaceae ดอกสีเหลืองแกมเขียว กลีบดอกหนา มี ๓ กลีบ ผลสีเขียว ผิวนูนเป็นตา ๆ เนื้อในผลหนาขาว รสหวาน มีเมล็ดมาก.
  37. น้อยหน้า
    หมายถึง ก. ไม่เทียมหน้าเขา.
  38. น้อยหรือ
    หมายถึง ว. คำแสดงความหมายว่า มาก; คำเปล่งแสดงความไม่พอใจ เช่น น้อยหรือทำได้, ตัดพ้อต่อว่าด้วยความเอ็นดู เช่น น้อยหรือช่างว่า.
  39. น้อยแง่
    หมายถึง ก. น้อยหน้า; ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม.
  40. น้อยโหน่ง
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Annona reticulata L. ในวงศ์ Annonaceae ดอกคล้ายดอกน้อยหน่า แต่ผลโตกว่า เปลือกบางแต่เหนียว ค่อนข้างเรียบ ไม่นูนเป็นตา ๆ สีเขียวจาง ๆ ปนสีแดงเรื่อ ๆ เนื้อในผลหนาขาว รสหวานไม่สนิทเหมือนน้อยหน่า มีเมล็ดมาก.
  41. น้อยใจ,น้อยเนื้อต่ำใจ,น้อยอกน้อยใจ
    หมายถึง ก. รู้สึกเสียใจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมเป็นต้น.
  42. น้า
    หมายถึง น. น้องของแม่, เรียกผู้ที่มีวัยอ่อนกว่าแม่.
  43. น้าว
    หมายถึง ก. เหนี่ยวลง เช่น น้าวกิ่ง, ดึงจนโค้ง เช่น น้าวศร.
  44. น้ำ
    หมายถึง น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคำ นํ้าใจ นํ้าพักนํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้า ต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสงแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.
  45. น้ำกรด
    หมายถึง น. สารละลายของกรดซึ่งใช้นํ้าเป็นตัวทำละลาย.
  46. น้ำกระด้าง
    หมายถึง น. นํ้าซึ่งเมื่อฟอกกับสบู่แล้วเกิดตะกอนขึ้น ซึ่งเรียกว่า ไคลสบู่ และไม่มีฟองสบู่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อย ทั้งนี้เพราะมีเกลือของแคลเซียมและแมกนีเซียมละลายอยู่.
  47. น้ำกระสาย
    หมายถึง น. นํ้าใช้เป็นเครื่องแทรกยาไทย เช่น นํ้าเหล้า นํ้าซาวข้าว.
  48. น้ำกะทิ
    หมายถึง น. นํ้าที่คั้นออกจากมะพร้าวขูด, นํ้าที่คั้นจากมะพร้าวขูดที่ผสมนํ้าตาลปึกกินกับข้าวเหนียวหรือลอดช่องเป็นต้น เช่น ข้าวเหนียวนํ้ากะทิ ลอดช่องนํ้ากะทิ.
  49. น้ำกาม
    หมายถึง น. นํ้าเชื้อที่เกิดจากความกำหนัด แล้วเคลื่อนออกมาจากอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย.
  50. น้ำขาว
    หมายถึง น. นํ้าเมาชนิดหนึ่งทำด้วยข้าวเหนียวนึ่งคลุกกับแป้งเหล้าซึ่งเป็นเชื้อหมักไว้จนมีนํ้าขุ่นขาว.
  51. น้ำขึ้น
    หมายถึง น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลำคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเลหรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น ที่มีระดับนํ้าสูงขึ้น ในวันหนึ่ง ๆ ตามปรกตินํ้าจะขึ้น ๒ ครั้ง และนํ้าขึ้นครั้งแรกจะมีระดับสูงกว่าขึ้นครั้งที่ ๒.
  52. น้ำขึ้นให้รีบตัก
    หมายถึง (สำ) มีโอกาสดีควรรีบทำ.
  53. น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก
    หมายถึง (สำ) แม้จะไม่พอใจก็ยังแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม.
  54. น้ำข้าว
    หมายถึง น. นํ้าที่ได้จากข้าวเมื่อหุงแล้วเช็ดนํ้าหรือตักนํ้าออก.
  55. น้ำข้าว
    หมายถึง ดู เขยตาย.
  56. น้ำครำ
    หมายถึง น. นํ้าเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว ในท่อระบายน้ำเสีย, ไขเสนียด ก็เรียก.
  57. น้ำคร่ำ
    หมายถึง น. ของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอดเป็นต้น เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำว่า ถุงน้ำคร่ำ.
  58. น้ำคัน
    หมายถึง น. นํ้าที่ถูกเข้าแล้วเป็นโรคที่ง่ามเท้า.
  59. น้ำคาวปลา
    หมายถึง น. นํ้าล้างปลาที่มีเมือกและเลือดติด ใช้รดต้นไม้ให้งาม, นํ้าล้างปลา ก็เรียก; นํ้าที่ขับถ่ายจากช่องคลอดภายหลังคลอดลูกแล้วประมาณ ๓-๔ วัน ปรกติมีกลิ่นคาวเล็กน้อย.
  60. น้ำคำ
    หมายถึง น. ถ้อยคำสำนวน.
  61. น้ำค้าง
    หมายถึง น. ไอนํ้าในอากาศที่ถูกความเย็นแล้วหยาดลงมาค้างบนใบไม้ใบหญ้าเป็นต้นในเวลากลางคืนหรือเช้ามืด; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  62. น้ำค้างแข็ง
    หมายถึง น. นํ้าค้างที่แข็งตัวอยู่ตามต้นไม้ซึ่งอยู่ใกล้พื้นดิน เมื่ออุณหภูมิผิวหน้าของพื้นดินตํ่ากว่า ๐ °ซ.
  63. น้ำจัณฑ์
    หมายถึง (ราชา) น. เหล้า.
  64. น้ำจิ้ม
    หมายถึง น. นํ้าผสมเครื่องเทศบางอย่าง โดยมากมีรสเปรี้ยวเค็มหวาน เช่น นํ้าจิ้มทอดมัน.
  65. น้ำชน
    หมายถึง น. ลักษณะที่กระแสนํ้าขึ้นกับนํ้าลงหรือนํ้าจืดกับนํ้าเค็มมาบรรจบกัน.
  66. น้ำชุบ
    หมายถึง น. นํ้าที่เจือด้วยธาตุเงิน ธาตุทองแดง หรือธาตุทองคำ สำหรับชุบของต่าง ๆ มีทองเหลืองเป็นต้นให้เป็นสีเงินหรือสีทอง, นํ้าที่เอาเหล็กเผาไฟให้แดงแล้วชุบลงเพื่อให้เหล็กกล้า; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) นํ้าพริก.
  67. น้ำซับ
    หมายถึง น. เรียกที่ซึ่งมีนํ้าซึมซาบอยู่ภายใต้ว่า ที่นํ้าซับ, ทางภาคอีสานเรียกว่า ซำ.
  68. น้ำซาวข้าว
    หมายถึง น. นํ้าที่ล้างข้าวสารให้สะอาดเมื่อก่อนหุง.
  69. น้ำซึม
    หมายถึง น. เรียกที่ซึ่งมีนํ้าไหลซึมอยู่เรื่อยว่า ที่นํ้าซึม, บางถิ่นเรียกว่า นํ้างึม.
  70. น้ำซึมบ่อทราย
    หมายถึง (สำ) หาได้มาเรื่อย ๆ.
  71. น้ำดอกไม้
    หมายถึง น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Sphyraena วงศ์ Sphyraenidae ลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม คางล่างยื่น ปากกว้าง มีฟันคมแข็งแรง ตาโต เกล็ดเล็กบาง ขอบเรียบ มีครีบหลัง ๒ ตอน พื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด แต่มักเป็นสีฟ้าเทา เช่น ชนิด S. forsteri หรือนํ้าตาลอมเหลือง เช่น ชนิด S. obtusata บ้างมีบั้งทอดขวางลำตัวเป็นระยะ ๆ เช่น ชนิด S. jello และ S. putnamiae บ้างก็มีจุดหรือแต้มดำ เช่น ชนิด S. barracuda ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๓๐-๑๕๐ เซนติเมตร, สาก ก็เรียก.
  72. น้ำดอกไม้
    หมายถึง น. (๑) ชื่อชมพู่ชนิด Syzygium jambos (L.) Alston ในวงศ์ Myrtaceae ผลสุกสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมเหลือง เนื้อบาง กลิ่นหอมเหมือนกุหลาบ. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลยาว ดิบรสเปรี้ยวจัด สุกรสหวานหอม เมล็ดแบนมาก.
  73. น้ำดอกไม้
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลายกับนํ้าเชื่อมใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมชักหน้า ก็เรียก.
  74. น้ำดอกไม้สด
    หมายถึง น. นํ้าที่ลอยดอกมะลิ มีกลิ่นหอม.
  75. น้ำดอกไม้เทศ
    หมายถึง น. หัวนํ้าหอมทำจากดอกกุหลาบชนิดหนึ่ง.
  76. น้ำดับไฟ
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในสกุล Gouania วงศ์ Rhamnaceae คือ ชนิด G. javanica Miq. ใบมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกสีเขียวอ่อน และชนิด G. leptostachya DC. ใบเกลี้ยง ดอกสีขาวอมเขียว.
  77. น้ำดิบ
    หมายถึง น. นํ้าที่ยังไม่ได้ต้ม.
  78. น้ำดี
    หมายถึง น. นํ้าย่อยชนิดหนึ่งเกิดในตับแล้วไหลไปอยู่ในถุงนํ้าดี.
  79. น้ำตก
    หมายถึง น. นํ้าที่ขังอยู่บนเขาตกลงมาที่หน้าผา, เรียกนํ้าที่ทำให้ตกลงมาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; อาหารอย่างหนึ่งใช้เนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู หรือเนื้อวัว ย่างพอสุกเล็กน้อย หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วปรุงด้วย พริกป่น หอมแดงซอย ข้าวคั่ว น้ำมะนาว น้ำปลา เป็นต้น; ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสดที่ใส่เลือดวัวสด.
  80. น้ำตะกู,น้ำตะโก
    หมายถึง น. กระดาษที่มีสีเหลืองอย่างสีทองคำ นิยมนำมาใช้สลักปรุเป็นลวดลาย หรือใช้ทั้งแผ่นปิดตกแต่งสิ่งปลูกสร้างหรือครุภัณฑ์บางอย่างเป็นการชั่วคราว เรียกว่า กระดาษนํ้าตะกู หรือ กระดาษนํ้าตะโก.
  81. น้ำตะไคร้
    หมายถึง น. นํ้าหอมชนิดหนึ่งมีลักษณะใสสีเหลืองอ่อนหรือสีนํ้าตาลแกมแดง สกัดจากต้นและใบตะไคร้.
  82. น้ำตับ
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยำให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, หมํ้า หรือ หมํ้าตับ ก็เรียก.
  83. น้ำตา
    หมายถึง น. นํ้าที่ไหลออกจากนัยน์ตา, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ไหลเยิ้มอย่างนํ้าตาลที่ไหลซึมจากหม้อตาล.
  84. น้ำตาตกใน
    หมายถึง (สำ) เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แต่ไม่แสดงให้ปรากฏ.
  85. น้ำตาย
    หมายถึง น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลำคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเล หรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นและลงน้อย เนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นมุมฉากซึ่งกันและกันสัมพันธ์กับโลก นํ้าตายมี ๒ ช่วง คือ ช่วงกึ่งปักษ์แรก ระหว่างวันขึ้น ๕-๙ คํ่า และช่วงกึ่งปักษ์หลัง ระหว่างวันแรม ๕-๙ คํ่า.
  86. น้ำตาล
    หมายถึง น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็นความหมายเฉพาะอย่างและทำด้วยอะไร ก็เติมคำนั้น ๆ ลงไป เช่น ทำจากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทำจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทำเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, ทำจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทำให้เป็นนํ้าตาลทราย เรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทำเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทำเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, เคี่ยวให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทำเป็นรูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หลอมเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า น้ำตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์ กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. ว. สีคล้ายสีนํ้าตาลหม้อที่เคี่ยวแก่ไฟ, ถ้าแก่ไฟจนไหม้ เรียกว่า สีนํ้าตาลไหม้.
  87. น้ำตาลจีน
    หมายถึง น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด L. เดิมเรียก นํ้าตาลทรายจีน.
  88. น้ำตาลใกล้มด ใครจะอดได้
    หมายถึง (สำ) น. ชายหญิงที่ใกล้ชิดกันมากย่อมห้ามใจไม่ให้รักกันได้ยาก.
  89. น้ำตาเช็ดหัวเข่า
    หมายถึง (สำ) เสียใจเพราะชํ้าใจหรือต้องผิดหวังอย่างหนัก.
  90. น้ำตาเทียน
    หมายถึง น. ขี้ผึ้งซึ่งไหลออกจากเทียนเวลาจุด.
  91. น้ำต้อย
    หมายถึง น. นํ้าหวานที่หล่ออยู่ในดอกไม้ เกิดจากต่อมนํ้าหวานซึ่งมักปรากฏอยู่ที่โคนของกลีบดอก.
  92. น้ำทรง
    หมายถึง น. นํ้าที่หยุดไหลชั่วขณะ, นํ้าที่คั่งค้างอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งรับนํ้า, นํ้ากำลังจะเปลี่ยนระดับจากนํ้าขึ้นเต็มที่มาเป็นนํ้าลง หรือจากนํ้าลงเต็มที่มาเป็นนํ้าขึ้น, ช่วงนํ้าหยุดไหลในทะเลและแม่นํ้าลำคลองอาจมีระยะเวลาตั้งแต่ ๕ นาที หรือ นานถึง ๒ ชั่วโมง ก็ได้ แล้วแต่ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ ความลาดชันของขอบฝั่งและลำนํ้า.
  93. น้ำทูนหัว
    หมายถึง น. นํ้าที่อยู่ในถุงนํ้าครํ่าซึ่งอยู่รอบลูกในท้อง ช่วยหล่อลื่นในการคลอด.
  94. น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง
    หมายถึง (สำ) ก. พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย.
  95. น้ำท่วมปาก
    หมายถึง (สำ) ก. พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น.
  96. น้ำท่า
    หมายถึง น. นํ้าในแม่นํ้าลำคลอง.
  97. น้ำนม
    หมายถึง น. ของเหลวสีขาวออกมาจากนมคนและสัตว์ สำหรับเลี้ยงลูก.
  98. น้ำนมราชสีห์
    หมายถึง น. (๑) กล้วยชนิดหนึ่ง ผลคล้ายกล้วยกรัน สุกรสหวานเย็น มีกลิ่นหอม. (พจน. ๒๔๙๓). (๒) ชื่อไม้ล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Euphorbia วงศ์ Euphorbiaceae ใบออกตรงข้ามกัน ทุกส่วนมียางขาวคล้ายนํ้านม ใช้ทำยาได้ เช่น ชนิด E. hirta L. ต้นและใบมีขน.
  99. น้ำนมแมว
    หมายถึง น. ของเหลวชนิดหนึ่งประกอบด้วยเอทิลแอซีเทต (ethyl acetate) มีกลิ่นหอมคล้ายดอกนมแมว ใช้ประโยชน์เป็นตัวปรุงกลิ่นขนมเป็นต้น.
  100. น้ำนวล
    หมายถึง ว. ผ่องใส, ผุดผ่อง, (มักใช้แก่ผิวพรรณและนิยมใช้คำอื่นแทรก) เช่น เป็นนํ้าเป็นนวล มีนํ้ามีนวล.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด น (หน้าที่ 9)"