พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด น (หน้าที่ 8)

  1. นิลปัทม์
    หมายถึง [นินละ-] น. บัวเขียว. (ส.).
  2. นิลรัตน์
    หมายถึง [นินละ-] น. แก้วสีขาบ, นิล. (ส.).
  3. นิลุบล
    หมายถึง [-บน, -โลดบน] น. บัวขาบ. (ป. นีลุปฺปล; ส. นีโลตฺปล).
  4. นิวคลิอิก
    หมายถึง น. ชื่อกรดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีโมเลกุลใหญ่มากและมีโครงสร้างซับซ้อน มี ๒ ชนิด คือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเรียกย่อว่า DNA และกรดไรโบนิวคลิอิก (Ribonucleic acid) ซึ่งเรียกย่อว่า RNA มีปรากฏอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทำหน้าที่เก็บรวบรวมและถ่ายทอดพันธุกรรม. (อ. nucleic acid).
  5. นิวตรอน
    หมายถึง น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสของอะตอมของธาตุทุกชนิด ยกเว้นไฮโดรเจนธรรมดา อนุภาคนี้ไม่มีประจุไฟฟ้าและมีมวล ๑.๖๗๔๘๒ ๑๐-๒๗ กิโลกรัม. (อ. neutron).
  6. นิวรณ์
    หมายถึง น. สิ่งห้ามกันจิตไว้มิให้บรรลุความดี มี ๕ ประการ คือ ความพอใจรักใคร่ ๑ ความพยาบาท ๑ ความง่วงเหงาหาวนอน ๑ ความฟุ้งซ่านรำคาญ ๑ ความลังเลใจ ๑. (ป.).
  7. นิวัต,นิวัตน์
    หมายถึง [-วัด] (แบบ) ก. กลับ. (ป. นิวตฺต, นิวตฺตน).
  8. นิวาต
    หมายถึง [-วาด] (แบบ) ว. สงัดลม, สงัด; เสงี่ยม, เจียมตัว, สุภาพ. (ป.).
  9. นิวาส
    หมายถึง [-วาด] (แบบ) น. ที่อยู่อาศัย, ที่พัก. (ป.).
  10. นิวเคลียร์
    หมายถึง ว. ที่ใช้พลังงานอะตอม, เกี่ยวกับนิวเคลียสของอะตอม. (อ. nuclear).
  11. นิวเคลียส
    หมายถึง น. ส่วนใจกลางของอะตอมของธาตุทุกชนิด ส่วนนี้ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สำคัญ ๒ ชนิด คือ โปรตอน และ นิวตรอน (สำหรับอะตอมของไฮโดรเจนธรรมดา นิวเคลียสมีแต่โปรตอนเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน), ส่วนที่สำคัญยิ่งของเซลล์ ลักษณะเหนียวข้นเป็นก้อนประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ อีกหลายชนิด มักอยู่ตอนกลางของเซลล์ที่ยังอ่อนอยู่ และอาจร่นไปอยู่ริมเซลล์เมื่อแก่เข้า. (อ. nucleus).
  12. นิศา
    หมายถึง (แบบ) น. กลางคืน. (ส.).
  13. นิศากร
    หมายถึง น. พระจันทร์. (ส.; ป. นิสากร).
  14. นิศากาล
    หมายถึง น. เวลามืด. (ส.).
  15. นิศาคม
    หมายถึง น. เวลาโพล้เพล้. (ส.).
  16. นิศาชล
    หมายถึง น. นํ้าค้าง. (ส.).
  17. นิศาทิ
    หมายถึง น. เวลาขมุกขมัว. (ส.).
  18. นิศานาถ,นิศาบดี,นิศามณี,นิศารัตน์
    หมายถึง น. พระจันทร์. (ส.).
  19. นิษกรม
    หมายถึง [นิดสะกฺรม] (แบบ; กลอน) ก. เฉย, ปราศจากกิริยา, เช่น ใจเน่งนิษกรม. (อนิรุทธ์). (ส.).
  20. นิษาท
    หมายถึง (แบบ) น. พรานป่า, เงาะป่า; ชาวประมง; โจร. (ส.; ป. เนสาท).
  21. นิสภ,นิสภ-
    หมายถึง [-สะพะ-] (แบบ) ว. ผู้ประเสริฐ เช่น นิสภขัตติยวราเรืองพระยศ. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป.).
  22. นิสัช
    หมายถึง (แบบ) น. การนั่ง. (ป. นิสชฺชา).
  23. นิสัชชาการ
    หมายถึง น. อาการนั่ง. (ป.), ในบทกลอนใช้ว่า นิสัชชนาการ ก็มี เช่น จึงเสด็จนิสัชชนาการนั่งในร่มไม้. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
  24. นิสัย
    หมายถึง น. ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทำจนเป็นนิสัย; ที่พึ่ง, ที่พักพิง, ที่อาศัย, เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท. (ป. นิสฺสย).
  25. นิสัยใจคอ
    หมายถึง น. อัธยาศัย, นิสัยที่เกิดจากใจจริง เช่น นิสัยใจคอมีเมตตากรุณา นิสัยใจคอโหดเหี้ยมทารุณ.
  26. นิสาท
    หมายถึง (โหร) น. เวลาตั้งแต่ยํ่าคํ่าถึงเที่ยงคืน.
  27. นิสิต
    หมายถึง น. ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยบางแห่ง เช่น นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; ศิษย์ที่เล่าเรียนอยู่ในสำนัก, ผู้อาศัย. (ป. นิสฺสิต).
  28. นิสีทน,นิสีทน-,นิสีทนะ
    หมายถึง [นิสีทะนะ-] (แบบ) น. การนั่ง; ผ้ารองนั่งของภิกษุ. (ป.).
  29. นิสีทนสันถัต
    หมายถึง น. ผ้าปูสำหรับนั่ง (มักใช้แก่พระสงฆ์).
  30. นิสีทนาการ
    หมายถึง น. อาการนั่ง. (ป.).
  31. นิเคราะห์
    หมายถึง น. นิคหะ, การข่ม, การปราบปราม. (ส. นิคฺรห; ป. นิคฺคห).
  32. นิเทศ
    หมายถึง (แบบ) น. คำแสดง, คำจำแนกออก. ก. ชี้แจง, แสดง, จำแนก. (ป. นิทฺเทส; ส. นิรฺเทศ).
  33. นิเทศศาสตร์
    หมายถึง [นิเทดสาด] น. วิชาว่าด้วยการสื่อสารมวลชน และการประชาสัมพันธ์.
  34. นิเวศ
    หมายถึง [นิเวด] (แบบ) น. ที่อยู่, บ้าน, วัง. (ส.; ป. นิเวสน).
  35. นิเวศ-
    หมายถึง [นิเวดสะ-] (แบบ) น. ที่อยู่, บ้าน, วัง. (ส.; ป. นิเวสน).
  36. นิเวศน์
    หมายถึง [นิเวด] (แบบ) น. ที่อยู่, บ้าน, วัง. (ส.; ป. นิเวสน).
  37. นิเวศวิทยา
    หมายถึง [นิเวดสะวิดทะยา, นิเวดวิดทะยา] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อม; (มานุษย) การศึกษาเกี่ยวกับการดัดแปลงวัฒนธรรมของมนุษย์ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม. (อ. ecology).
  38. นิเสธ
    หมายถึง ว. ไม่มีลักษณะเชิงนิยต, ปฏิเสธ, ทางลบ. (อ. negative).
  39. นิโคติน
    หมายถึง น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C10H14N2 ลักษณะเป็นของเหลวข้น มีขีดเดือด ๒๔๗ °ซ. เป็นพิษอย่างแรง มีปรากฏอยู่ในใบยาสูบ. (อ. nicotine).
  40. นิโครธ
    หมายถึง [-โคฺรด] น. ต้นไทร. (ป.).
  41. นิโครม
    หมายถึง [-โคฺรม] น. โลหะเจือชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยโครเมียมและนิกเกิล ใช้ประโยชน์นำไปทำเป็นเส้นลวดในอุปกรณ์ไฟฟ้าเพราะมีความต้านทานสูง และทนทานต่อความร้อนได้ดีมาก. (อ. nichrome).
  42. นิโรช
    หมายถึง [นิโรด] (แบบ) ว. ไม่มีรส, ไม่อร่อย, จืด. (ป.).
  43. นิโรธ,นิโรธ-
    หมายถึง [นิโรด, นิโรดทะ-] (แบบ) น. ความดับ; นิพพาน. (ป.).
  44. นิโรธสมาบัติ
    หมายถึง [นิโรดทะสะมาบัด, นิโรดสะมาบัด] (แบบ) น. การเข้าสู่นิโรธ เป็นวิธีพักผ่อนของพระอรหันต์. (ป. นิโรธสมาปตฺติ).
  45. นิโลตบล
    หมายถึง [-บน, -โลดบน] น. บัวขาบ. (ป. นีลุปฺปล; ส. นีโลตฺปล).
  46. นิโลบล
    หมายถึง [-บน] น. บัวขาบ. (ส. นีโลตฺปล); หินสีขาบ, แก้วมีค่าสีครามอ่อน. (ส. นีโลปล).
  47. นิ่ง,นิ่ง ๆ
    หมายถึง ก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.
  48. นิ่งเงียบ
    หมายถึง ว. นิ่งอยู่ไม่พูดอะไร.
  49. นิ่งเฉย
    หมายถึง ว. เฉยอยู่ไม่พูดไม่ทำอะไร.
  50. นิ่งแน่
    หมายถึง ว. อาการที่ไม่ไหวติงไปชั่วระยะหนึ่งเพราะเป็นลมเป็นต้น, แน่นิ่ง ก็ว่า.
  51. นิ่ม
    หมายถึง ว. อ่อนนุ่ม เช่น เนื้อนิ่ม มะตูมนิ่ม, ละเอียดอ่อน เช่น ผ้านี้เนื้อนิ่ม.
  52. นิ่ม
    หมายถึง ดู มิ้ม ๒.
  53. นิ่ม
    หมายถึง ดู ลิ่น.
  54. นิ่มนวล
    หมายถึง ว. อ่อนโยน, ละมุนละม่อม, ไม่กระด้าง.
  55. นิ่ว
    หมายถึง ก. ทำหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือเจ็บปวดเป็นต้น. ว. มีสีหน้าเช่นนั้น ในคำว่า หน้านิ่ว.
  56. นิ่ว
    หมายถึง น. เกลือเคมีหรือสารเคมีอื่น เช่นคอเลสเทอรอลที่เกิดเป็นก้อนแข็งในไต กระเพาะปัสสาวะ ถุงนํ้าดี หรือท่อของต่อมบางชนิดในร่างกาย เช่นต่อมนํ้าลาย ตับอ่อน.
  57. นิ้ม
    หมายถึง ดู มิ้ม ๒.
  58. นิ้ว
    หมายถึง น. ส่วนสุดของมือหรือเท้า แยกออกเป็น ๕ กิ่ง คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย, ราชาศัพท์ว่า พระอังคุฐ พระดัชนี พระมัชฌิมา พระอนามิกา พระกนิษฐา โดยลำดับ, ถ้าเป็นนิ้วเท้านิ้วต้น เรียกว่า นิ้วหัวแม่เท้า นอกนั้นอนุโลมเรียกตามนิ้วมือ; มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ นิ้ว เท่ากับ ๔ กระเบียด, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ; มาตราวัดของอังกฤษ ๑ นิ้ว เท่ากับ ๒.๕ เซนติเมตร, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ ฟุต.
  59. นิ้วไหนร้ายก็ตัดนิ้วนั้น
    หมายถึง (สำ) น. คนใดไม่ดี ก็ตัดออกไปจากหมู่คณะ.
  60. นีติ
    หมายถึง (แบบ; เลิก) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนำ, อุบายอันดี. (ป., ส.).
  61. นีติธรรม
    หมายถึง (แบบ) น. วินัยบัญญัติ, หลักกฎหมาย, นิติธรรม. (ส.).
  62. นีติศาสตร์
    หมายถึง (แบบ) น. วิชากฎหมาย. (ส.).
  63. นีร,นีร-
    หมายถึง [นีระ-] (แบบ) น. นํ้า. (ป., ส.).
  64. นีรจร
    หมายถึง น. ปลาหรือสัตว์นํ้าอื่น ๆ. (ส.).
  65. นีรช,นีรชะ
    หมายถึง [-รด, -ระชะ] น. บัว. (ส.).
  66. นีรนาท
    หมายถึง (กลอน) ก. กึกก้อง เช่น ปฐพีนีรนาทหวาดไหว. (คำพากย์), เนียรนาท ก็ใช้.
  67. นีล
    หมายถึง น. สีเขียว.
  68. นีออน
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๑๐ สัญลักษณ์ Ne เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง ๑ ใน ๕๕,๐๐๐ ส่วนในบรรยากาศ. (อ. neon); (ปาก) เรียกหลอดไฟเรืองแสงที่ให้ความสว่างหรือโฆษณาว่า หลอดนีออน.
  69. นีโอดิเมียม
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๖๐ สัญลักษณ์ Nd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเหลืองอ่อน ๆ หลอมละลายที่ ๑๐๒๔ °ซ. (อ. neodymium).
  70. นี่
    หมายถึง ส. คำใช้แทนนามที่อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ เช่น นี่ใคร นี่อะไร. ว. คำใช้ประกอบคำนามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่; คำประกอบท้ายคำเพื่อเน้นความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่.
  71. นี่นัน
    หมายถึง ว. อึงมี่, อึกทึก.
  72. นี่เอง
    หมายถึง คำประกอบคำอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง.
  73. นี่แน่ะ
    หมายถึง คำบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า.
  74. นี่แหละ
    หมายถึง คำแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ฉันนี่แหละ นี่แหละโลก.
  75. นี้
    หมายถึง ว. คำใช้ประกอบนามหรือข้อความที่อยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น ทุกวันนี้ ชายคนนี้.
  76. นึก
    หมายถึง ก. คิด เช่น นึกถึงความหลัง นึกถึงอนาคต นึกไม่ถึง, คิดขึ้นมาในฉับพลัน เช่น นึกขึ้นมาได้.
  77. นึกคิด
    หมายถึง ก. คิดใคร่ครวญ.
  78. นึกดู
    หมายถึง ก. ตรึกตรอง.
  79. นึกถึง
    หมายถึง ก. ระลึกถึง.
  80. นึกออก
    หมายถึง ก. กลับระลึกได้.
  81. นึกเห็น
    หมายถึง ก. นึกเอาเองเห็นไปต่าง ๆ นานา.
  82. นึกไม่ถึง
    หมายถึง ก. คาดไม่ถึง, ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น, เช่น รู้ว่าเขาจะเข้ามาทำงานด้วย แต่ก็นึกไม่ถึงว่าเขาจะมาเป็นสายให้โจร.
  83. นึง
    หมายถึง (โบ) น. ลูกชายคนที่ ๑๑, นิง ก็ว่า.
  84. นึ่ง
    หมายถึง ก. ทำให้สุกหรือร้อนด้วยไอนํ้าร้อนในหวดหรือลังถึงเป็นต้น เช่น นึ่งข้าวเหนียว นึ่งขนม.
  85. นึ่งหม้อเกลือ
    หมายถึง ก. ใช้หม้อตาลใส่เกลืออังไฟให้ร้อน ห่อด้วยใบพลับพลึงแล้วใช้ผ้าหุ้มอีกชั้นหนึ่ง นาบหรือประคบท้องหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ.
  86. นุ
    หมายถึง (กลอน) ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง. (ตะเลงพ่าย); อเนกนุประการ. (พงศ. เลขา); โดยนุกรม. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
  87. นุ
    หมายถึง (โบ) ใช้เสริมแทรกเพื่อให้พยางค์สละสลวย เช่น พฤกษในนุพงไพร. (สมุทรโฆษ).
  88. นุง
    หมายถึง ว. ยุ่ง, นุ่ง ก็ว่า.
  89. นุงถุง
    หมายถึง ว. ยุ่งเหยิง.
  90. นุงนัง
    หมายถึง ว. เกี่ยวพันกันยุ่ง เช่น ลูกหลานนุงนัง หนี้สินนุงนัง, พันกันยุ่ง เช่น ด้ายยุ่งนุงนัง.
  91. นุช
    หมายถึง (กลอน; ตัดมาจาก อนุช) น. น้อง (โดยมากใช้แก่ผู้หญิง).
  92. นุด
    หมายถึง ก. อ้วนพีสดใส. (ไทยใหญ่).
  93. นุต
    หมายถึง (แบบ) ก. ชมเชย, สรรเสริญ. (ป. นุติ).
  94. นุ่ง
    หมายถึง ก. ใช้ผ้าปกปิดกายท่อนล่าง เช่น นุ่งผ้าถุง นุ่งกางเกง, แต่เดิมหมายความว่า ปกปิดร่างกายท่อนบนก็ได้ เช่น นุ่งเสื้อ.
  95. นุ่ง
    หมายถึง ว. ยุ่ง, นุง ก็ว่า.
  96. นุ่งกระโจมอก
    หมายถึง ก. นุ่งผ้าถุงสูงปิดอก.
  97. นุ่งผ้าโจงกระเบน
    หมายถึง ก. นุ่งผ้าแล้วม้วนชายผ้านุ่งสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว.
  98. นุ่งห่ม
    หมายถึง ก. แต่งตัว เช่น นุ่งห่มให้เรียบร้อย.
  99. นุ่งเจียมห่มเจียม
    หมายถึง ก. แต่งตัวพอสมกับฐานะ.
  100. นุ่น
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Ceiba pentandra (L.) Gaertn. ในวงศ์ Bombacaceae ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว มีหนามสั้น ๆ ที่โคนต้น กิ่งทอดขนานกับพื้น ทิ้งใบในฤดูแล้ง ดอกสีขาวนวล ผลรูปทรงกระสวย ใช้ปุยในผลอย่างเดียวกับง้าวและงิ้ว.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด น (หน้าที่ 8)"