พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด น (หน้าที่ 6)

  1. นายจ้าง
    หมายถึง น. ผู้จ้างทำการงาน, คู่กับ ลูกจ้าง; (กฎ) บุคคลซึ่งตกลงว่าจ้างบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกจ้าง ให้ทำงานให้และจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้นั้น.
  2. นายตรวจ
    หมายถึง น. ชื่อตำแหน่งในราชการ เช่น นายตรวจสรรพสามิต นายตรวจสรรพากร; ผู้ตรวจตั๋วบนรถเมล์หรือรถไฟเป็นต้น.
  3. นายทะเบียน
    หมายถึง น. พนักงานซึ่งมีหน้าที่จัดทำและรักษาทะเบียน.
  4. นายทุน
    หมายถึง น. ผู้ที่เป็นเจ้าของทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้า, ผู้ลงทุนประกอบกิจการหรือออกทุนให้ผู้อื่นประกอบกิจการ.
  5. นายท่า
    หมายถึง น. ผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการที่ท่าเรือท่ารถ เช่นในการปล่อยเรือปล่อยรถตามกำหนดเวลาเป็นต้น.
  6. นายท้าย
    หมายถึง น. ผู้ถือท้ายเรือ มีหน้าที่ควบคุมเรือให้แล่นไปตามทิศทาง โดยเฉพาะตามแม่นํ้าลำคลอง.
  7. นายธง
    หมายถึง น. นายทหารเรือคนสนิทของผู้บัญชาการทหารเรือหรือแม่ทัพเรือเป็นต้น.
  8. นายประกัน
    หมายถึง น. ผู้รับประกันหรือคํ้าประกัน, ผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแทน.
  9. นายประเพณี
    หมายถึง (โบ) น. หัวหน้ารักษาประโยชน์ของวัดและบำรุงวัดได้บังคับว่ากล่าวทั่วไป (ทำนองมรรคนายก). (ประชุมพงศ.).
  10. นายว่าขี้ข้าพลอย
    หมายถึง (สำ) ก. พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย.
  11. นายหน้า
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคล ๒ ฝ่ายได้เข้าทำสัญญากัน.
  12. นายอากร
    หมายถึง น. ผู้รับผูกขาดภาษีอากร.
  13. นายอำเภอ
    หมายถึง (กฎ) น. ตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ ซึ่งเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบในการบริหารราชการของอำเภอ.
  14. นายิกา
    หมายถึง น. หญิงผู้เป็นหัวหน้า. (ป.).
  15. นายเงิน
    หมายถึง (โบ) น. ผู้เป็นเจ้าของเงินไปช่วยไถ่ทาสเอามาใช้.
  16. นายเวร
    หมายถึง น. นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร มีหน้าที่เป็นเลขานุการของผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่าตน เช่น นายเวรผู้บังคับการ นายเวรผู้บัญชาการ นายเวรอธิบดี หรือเป็นหัวหน้าปกครองเจ้าหน้าที่เสมียนพนักงานในบังคับบัญชาเป็นต้น; เจ้าหน้าที่การทูตชั้นผู้น้อยในสถานกงสุล.
  17. นายโรง
    หมายถึง น. พระเอกลิเก, เจ้าของคณะลิเก; หัวหน้าคณะหนังตะลุงหรือมโนราห์.
  18. นารา
    หมายถึง (แบบ) น. รัศมี. (ป.).
  19. นารายณ์
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของพระวิษณุซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์. (ส.).
  20. นารายณ์ทรงเครื่อง,นารายณ์ประลองศิลป์
    หมายถึง น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  21. นารายณ์หัตถ์
    หมายถึง (ราชา) น. ไม้เกาหลัง.
  22. นารี
    หมายถึง (แบบ) น. ผู้หญิง, นาง. (ป., ส.).
  23. นารีบูร
    หมายถึง (แบบ) น. เกสรเพศเมีย. (ส.).
  24. นารีผล
    หมายถึง น. ต้นมักกะลีผล.
  25. นารีสูร
    หมายถึง (กลอน) น. นางพญา.
  26. นาลิวัน
    หมายถึง น. พราหมณ์พวกหนึ่งผู้โล้ชิงช้าและรำเขนงในพระราชพิธีตรียัมปวาย.
  27. นาลี
    หมายถึง (แบบ) น. หลอด, ก้าน, ลำ, ช่อง; ทะนาน, เป็นชื่อมาตราตวง. (ป. นาฬี, นาลี).
  28. นาว
    หมายถึง (โบ) น. มะนาว.
  29. นาวา
    หมายถึง (แบบ) น. เรือ. (ป.).
  30. นาวา
    หมายถึง น. ยศทหารเรือหรือทหารอากาศชั้นสัญญาบัตร สูงกว่าเรือเอกหรือเรืออากาศเอก ตํ่ากว่าพลเรือตรีหรือพลอากาศตรี.
  31. นาวิก,นาวิก-
    หมายถึง [นาวิก, นาวิกกะ-] น. คนเรือ. ว. เกี่ยวกับเรือ. (ป., ส.).
  32. นาวิกโยธิน
    หมายถึง [นาวิกกะ-] น. ทหารเรือฝ่ายบก.
  33. นาวิน
    หมายถึง น. คนเรือ, ทหารเรือที่ประจำการพลรบในกองทัพเรือ. (ส.).
  34. นาวี
    หมายถึง น. เรือ, กองทัพเรือ.
  35. นาศ
    หมายถึง (แบบ) น. ความเสื่อม, การทำลาย, ความป่นปี้, เช่น บุญแห่งเจ้าจักนาศ จากอาวาศเวียงอินทร์. (ม. คำหลวง ทศพร). (ส.; ป. นาส).
  36. นาสวน
    หมายถึง น. นาข้าวที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีระดับน้ำลึกตั้งแต่ ๑ เมตรลงมา; เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดแข็งเป็นมันว่า ข้าวนาสวน.
  37. นาสา
    หมายถึง (แบบ) น. จมูก. (ป., ส.).
  38. นาสิก
    หมายถึง (แบบ) น. จมูก. (ป., ส. นาสิกา).
  39. นาหว่าน
    หมายถึง น. นาชนิดที่หว่านเมล็ดข้าวลงในนา.
  40. นาฬิกา
    หมายถึง น. เครื่องบอกเวลา มีหลายชนิด เช่น นาฬิกาปลุก นาฬิกาพก นาฬิกาข้อมือ, ลักษณนามว่า เรือน; ช่วงเวลาคิดตามชั่วโมง เช่น ๑ ชั่วนาฬิกา = ๑ ชั่วโมง, ใช้เป็นมาตราบอกเวลา เช่น ๑ นาฬิกา ๒ นาฬิกา ... ๒๔ นาฬิกา, เขียนย่อเป็น น. (เทียบ ส. นาฑิกา ว่า เครื่องกำหนดเวลา).
  41. นาฬิกาทราย
    หมายถึง น. อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดเวลา ประกอบด้วย กระเปาะแก้ว ๒ กระเปาะที่มีรูเล็ก ๆ ทะลุถึงกัน ข้างในบรรจุทรายที่จะไหลจากกระเปาะหนึ่งไปยังอีกกระเปาะหนึ่งได้หมดพอดีในเวลาที่กำหนดไว้.
  42. นาฬิกาน้ำ
    หมายถึง น. อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดเวลาโดยอาศัยการหยดหรือการไหลของนํ้าที่มีปริมาณตามที่กำหนดไว้.
  43. นาฬิกาแดด
    หมายถึง น. นาฬิกาชนิดหนึ่ง อาศัยเงาไม้หรือเงาแผ่นโลหะเป็นต้นที่ปรากฏบนหน้าปัด.
  44. นาฬิเก
    หมายถึง น. ชื่อมะพร้าวพันธุ์หนึ่ง ผลเล็ก สีเหลืองหรือส้ม นํ้าหอมหวาน. (ป. นาฬิเกร; ส. นาริเกร, นาริเกล, นาลิเกล, ว่า มะพร้าวทั่วไป).
  45. นาฬี
    หมายถึง (แบบ) น. นาลี, หลอด, ก้าน, ลำ, ช่อง; ทะนาน, เป็นชื่อมาตราตวง. (ป.).
  46. นาเคนทร์
    หมายถึง [-เคน] น. พญาช้าง, พญางู.
  47. นาเคศ
    หมายถึง [-เคด] น. พญาช้าง, พญางู.
  48. นาเคศวร
    หมายถึง [-เคสวน] น. พญาช้าง, พญางู.
  49. นาเชิงทรง
    หมายถึง น. นาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก, นาขอบเหล็ก ก็ว่า.
  50. นาเนก
    หมายถึง ว. ต่าง ๆ กันมากมาย. (ย่อมาจาก นานาเนก).
  51. นาเมือง
    หมายถึง น. นาฟางลอย; เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดสั้นเนื้อฟ่ามว่า ข้าวนาเมือง.
  52. นาเรศ
    หมายถึง (กลอน) น. นาง, ผู้หญิง.
  53. นาเวศ
    หมายถึง (กลอน) น. เรือ.
  54. นาโครคินทระ
    หมายถึง [นาโคระคินทฺระ] (แบบ) น. พญานาค เช่น อันว่าพระญานาโครคินทรกคำนึง. (นันโท). (ส. นาค + อุรค + อินฺทฺร).
  55. นำ
    หมายถึง ก. ไปข้างหน้า เช่น นำขบวน นำเสด็จ, ออกหน้า เช่น วิ่งนำ, เริ่มต้นโดยมีผู้อื่นหรือสิ่งอื่นตามหรือทำตาม เช่น นำสวด นำวิ่ง, พา เช่น นำเที่ยว นำไป นำมา. ว. อาการที่ซักหรือถามเป็นเชิงแนะไปในตัว ในคำว่า ซักนำ ถามนำ.
  56. นำจับ
    หมายถึง (กฎ) ก. นำความมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการจับกุมผู้กระทำความผิด.
  57. นำทาง
    หมายถึง ก. พาไปสู่ที่หมาย, นำไปให้ถูกทาง.
  58. นำพา
    หมายถึง ก. เอาใจใส่, เอื้อเฟื้อ, ช่วยธุระ, ใช้ในประโยคปฏิเสธว่า ไม่นำพา.
  59. นำร่อง
    หมายถึง ก. นำเรือกำปั่นหรือเรือใหญ่และกินนํ้าลึก เช่นเรือสินค้า เข้าหรือออกจากท่าเรือตามร่องน้ำในระยะซึ่งอาจมีอันตรายแก่การเดินเรือ, เรียกเจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่เช่นนั้นว่า พนักงานนำร่อง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า นำร่อง, เรียกเรือเล็กที่ใช้ในการนำร่องว่า เรือนำร่อง; โดยปริยายหมายถึงการริเริ่มหรือทดลองทำไปก่อน เช่น โครงการนำร่อง.
  60. นำสมัย
    หมายถึง ว. มีความคิดริเริ่มในการแต่งกายเป็นต้นก่อนสมัยนิยม.
  61. นำสืบ
    หมายถึง (กฎ) ก. นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้าง.
  62. นำเที่ยว
    หมายถึง ก. พาเที่ยวชมบ้านชมเมือง.
  63. นำแสดง
    หมายถึง ก. แสดงบทบาทสำคัญในภาพยนตร์หรือละคร, มีบทบาทนำในการแสดงภาพยนตร์หรือละคร.
  64. นิ
    หมายถึง (โบ) ใช้เสริมคำให้พยางค์สละสลวยขึ้น เช่น สนุกนิ สำนักนิ.
  65. นิกขะ
    หมายถึง (แบบ) น. ลิ่ม, แท่ง; ชื่อมาตรานํ้าหนักของเงินอินเดีย ๕ สุวัณณะ เป็น ๑ นิกขะ. (ป.).
  66. นิกขันต์
    หมายถึง (แบบ) ก. ออกไป, พ้นไป, จากไป. (ป.).
  67. นิกร
    หมายถึง [-กอน] น. หมู่, พวก. (ป.).
  68. นิกรอยด์
    หมายถึง [-กฺรอย] น. ชนชาติผิวดำ มีลักษณะผิวดำ ผมหยิก ปากหนา. (อ. Negroid).
  69. นิกาย
    หมายถึง น. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน ที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียกคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).
  70. นิกเกิล
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๒๘ สัญลักษณ์ Ni เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๕๓ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ชุบฉาบผิวโลหะอื่นเป็นต้น. (อ. nickel).
  71. นิคม
    หมายถึง น. คำประพันธ์ที่กล่าวย่อและซํ้าความเดิมเพื่อให้ผู้ฟังจำง่าย.
  72. นิคม
    หมายถึง น. หมู่บ้านขนาดใหญ่, ถิ่นฐานหรือชุมชนที่เกิดขึ้นจากการตั้งหลักแหล่ง, หมู่บ้านใหญ่หรือตำบลที่ประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่เพื่อประกอบอาชีพเป็นหลักฐาน เช่น นิคมสร้างตนเอง นิคมอุตสาหกรรม. (ป.; อ. settlement).
  73. นิคมที่ดิน
    หมายถึง น. ที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ประชากรอพยพครอบครัวเข้าไปตั้งถิ่นฐานเพื่อประกอบอาชีพและอยู่อาศัยอย่างเป็นระเบียบ โดยมีการวางแผนเพื่อพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวิชาชีพ รวมทั้งบริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า.
  74. นิคมสร้างตนเอง
    หมายถึง (กฎ) น. บริเวณที่ดินของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นนิคมสร้างตนเอง เพื่อให้ราษฎรได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินนั้น.
  75. นิคมสหกรณ์
    หมายถึง (กฎ) น. บริเวณที่ดินที่รัฐนำมาจัดสรรให้ราษฎรที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร แต่ขาดแคลนที่ดินทำกิน ได้มีที่ดินทำกินในขนาดที่เหมาะสม โดยให้ราษฎรเหล่านั้นรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น.
  76. นิคมอุตสาหกรรม
    หมายถึง (กฎ) น. เขตอุตสาหกรรมทั่วไปหรือเขตอุตสาหกรรมส่งออก.
  77. นิครนถ์
    หมายถึง [-คฺรน] น. นักบวชนอกพระพุทธศาสนา. (ส. นิรฺคฺรนฺถ; ป. นิคณฺ ว่า ผู้ปราศจากเครื่องผูกหรือเครื่องร้อยรัดทั้งมวล).
  78. นิคห,นิคห-,นิคหะ
    หมายถึง [นิกคะหะ-, นิกคะหะ] (แบบ) น. การข่ม, การปราบปราม. (ป. นิคฺคห).
  79. นิคหกรรม
    หมายถึง น. ชื่อกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่ควรปราบเพื่อให้เข็ดหลาบ. (ป. นิคฺคหกมฺม).
  80. นิคหิต
    หมายถึง [นิกคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีเสียงอ่านเหมือนตัว ง และ ม สะกด ในภาษาไทยก็อนุโลมใช้ตาม เช่น จํหัน อ่านว่า จังหัน อ่านว่า ชุมนุม, นฤคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ป. นิคฺคหีต; ส. นิคฺฤหีต).
  81. นิคาลัย
    หมายถึง (กลอน) ก. ตาย เช่น ทราบว่าพี่กับบิดานิคาลัย. (อภัย).
  82. นิคาหก,นิคาหก-
    หมายถึง [-หก, -หะกะ-] ว. ผู้ใช้วาจาหยาบ เช่น ผู้เป็นยาจกทลิทเชษฐชาติเชื้อนิคาหกพราหมณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. นิคฺคาหก ว่า ผู้ข่มขู่).
  83. นิง
    หมายถึง (โบ) น. ลูกชายคนที่ ๑๑, นึง ก็ว่า.
  84. นิจ
    หมายถึง ว. ตํ่า (คู่กับ อุจ ว่า สูง) ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ เช่นว่า พระอาทิตย์ขึ้นอุจในเดือนเมษายน และตกนิจในเดือนตุลาคม. (ป. นีจ).
  85. นิจ,นิจ,นิจ-
    หมายถึง [นิด, นิดจะ-] ว. เสมอไป, สมํ่าเสมอ, มักใช้ว่า เป็นนิจ. (ป. นิจฺจ; ส. นิตฺย).
  86. นิจศีล
    หมายถึง [นิดจะสีน] น. ศีลที่ควรรักษาเป็นนิจ ได้แก่ ศีล ๕. ว. เป็นปรกติเสมอไป, มักใช้ว่า เป็นนิจศีล. (ป. นิจฺจสีล).
  87. นิด
    หมายถึง ว. เล็ก, น้อย.
  88. นิดหนึ่ง
    หมายถึง ว. หน่อยหนึ่ง.
  89. นิดหน่อย
    หมายถึง ว. ไม่มาก, เล็กน้อย.
  90. นิดเดียว
    หมายถึง ว. เล็กเหลือเกิน, น้อยเหลือเกิน.
  91. นิตย,นิตย-
    หมายถึง [นิดตะยะ-] น. นิติ เช่น ผู้ชำนินิตยสาตรไสย. (ตะเลงพ่าย). (แผลงมาจาก นิติ).
  92. นิตย,นิตย-,นิตย์
    หมายถึง [นิดตะยะ-, นิด] ว. เสมอไป, สมํ่าเสมอ, มักใช้ว่า เป็นนิตย์. (ส.; ป. นิจฺจ).
  93. นิตยทาน
    หมายถึง น. การให้ทานทุกวัน. (ส.).
  94. นิตยภัต
    หมายถึง น. อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายภิกษุสามเณรเป็นนิตย์. (ส. นิตฺย + ป. ภตฺต).
  95. นิตยสาร
    หมายถึง น. หนังสือพิมพ์ที่ออกเป็นรายคาบ เช่น นิตยสารรายสัปดาห์ นิตยสารรายเดือน. (ส.).
  96. นิติ
    หมายถึง [นิ-ติ, นิด] น. นีติ, กฎหมาย, กฎปฏิบัติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนำ, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
  97. นิติกร
    หมายถึง น. ชื่อตำแหน่งผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกฎหมาย.
  98. นิติกรณ์
    หมายถึง (กฎ) น. การรับรองของเจ้าพนักงานว่าเป็นตราสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย. (อ. legalization).
  99. นิติกรรม
    หมายถึง (กฎ) น. การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ.
  100. นิติกรรมอำพราง
    หมายถึง (กฎ) น. นิติกรรมอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาลวง เพื่อปิดบังนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาอันแท้จริง ซึ่งกฎหมายให้บังคับตามกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางนั้น.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด น (หน้าที่ 6)"