พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด น (หน้าที่ 5)

  1. นาคเกี้ยวกระหวัด,นาคบริพันธ์
    หมายถึง [นากคะบอริพัน] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  2. นาคเล่นน้ำ
    หมายถึง น. นํ้าที่พุ่งเป็นลำขึ้นไปในอากาศเนื่องจากลมงวง, พวยนํ้า ก็ว่า.
  3. นาง
    หมายถึง น. คำประกอบหน้าคำเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น นางฟ้า นางบำเรอ นางละคร นางพระกำนัล; คำแทนชื่อหญิง เช่น นางก็ร้อยพวงมาลัย; (กฎ) คำนำหน้าชื่อหญิงผู้มีสามีแล้ว, คำนำหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราชทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา; คำเรียกสัตว์ตัวเมียโดยสุภาพ เช่น นางช้าง นางม้า; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง, ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
  4. นาง
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองต่าง ๆ ที่มีคำว่า นาง ขึ้นต้น เช่น นางครวญ นางนาค นางนก. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
  5. นาง
    หมายถึง ใช้แทนคำว่า อี ที่เป็นพยางค์ต้นของบางคำเพื่อความสุภาพ เช่น นางรม นางแอ่น. (ดู อี). น. คำเรียกหญิง มักกล่าวเป็นเชิงเหยียดหยามเป็นต้น, พูดเป็นเสียงสั้นว่า นัง ก็มี.
  6. นาง
    หมายถึง ดู ชะโอน และ เนื้ออ่อน.
  7. นางกราย
    หมายถึง น. ท่ารำชนิดหนึ่งที่หมอช้างรำเมื่อนำช้างบำรูงาเสร็จครั้งแรกแล้ว.
  8. นางกวัก
    หมายถึง น. ชื่อรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ทำด้วยจะงอยงวงช้างหรือสิ่งอื่น โดยเชื่อว่าเป็นเครื่องเรียกเอาโชคลาภมาให้.
  9. นางกวัก
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Eucharis grandiflora Planch. et Link. ในวงศ์ Amaryllidaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอมในตอนเย็น นิยมปลูกไว้ในบ้านโดยเชื่อว่านำโชคลาภมาให้, ว่านนางกวัก ก็เรียก.
  10. นางกำนัล
    หมายถึง น. นางอยู่งานที่ทรงใช้สอยในพระราชมนเทียร และได้รับพระราชทานหีบหมากกาไหล่ แต่ยังไม่นับว่าเป็นเจ้าจอม.
  11. นางงาม
    หมายถึง น. หญิงสาวที่ชนะการประกวดความงาม.
  12. นางจรัล
    หมายถึง น. เสาที่ปักรายเป็นแถว ไว้ระยะแต่ละต้นห่างกันพอสมควร สำหรับแสดงแนวถนนหรือกั้นเขต, นางเรียง ก็ว่า.
  13. นางจุม,นางชม
    หมายถึง ดู กะทกรก (๑).
  14. นางดำ
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. ต้นหยี. (ดู หยี ๒).
  15. นางตานี
    หมายถึง น. ผีผู้หญิงที่เชื่อว่าสิงอยู่ที่ต้นกล้วยตานี.
  16. นางท้าว
    หมายถึง น. หญิงซึ่งรับบรรดาศักดิ์และมีหน้าที่ระวังรักษาราชการฝ่ายในในพระบรมมหาราชวัง; นางพญา.
  17. นางนวล
    หมายถึง น. ชื่อนกนํ้าในวงศ์ Laridae มี ๒ วงศ์ย่อย คือ นางนวลใหญ่ ในวงศ์ย่อย Larinae ตัวใหญ่ แข็งแรง ปากงองุ้มเล็กน้อย ปีกกว้าง ปลายหางกลม กินปลาโดยโฉบกินตามผิวนํ้าหรือรวมฝูงกันจับปลาขณะว่ายนํ้า ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น นางนวลธรรมดา (Larus brunnicephalus) นางนวลขอบปีกขาว (L. ridibundus), และนางนวลแกลบ ในวงศ์ย่อย Sterninae ตัวเล็กเพรียวลม ปลายปากแหลม ปลายหางมี ๒ แฉก กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็กโดยดำลงไปจับเหยื่อหรือโฉบกินตามผิวนํ้า แต่มักไม่ชอบว่ายนํ้าเหมือนนางนวลใหญ่ มีหลายชนิด เช่น นางนวลแกลบธรรมดา (Sterna hirundo) นางนวลแกลบท้ายทอยดำ (S. sumatrana) นางนวลแกลบเล็ก (S. albifrons).
  18. นางนูน
    หมายถึง ดู อีนูน.
  19. นางบำเรอ
    หมายถึง น. หญิงที่ปรนเปรอเฉพาะชายคนใดคนหนึ่งในทางกามารมณ์โดยมิได้อยู่ในฐานะภรรยา.
  20. นางพญา
    หมายถึง น. พระราชินี, นางผู้เป็นใหญ่.
  21. นางพระกำนัล
    หมายถึง น. คุณพนักงานหญิงที่ยังมิได้แต่งงาน มีหน้าที่ปฏิบัติรับใช้พระราชินีในการเสด็จไปในพระราชพิธีต่าง ๆ.
  22. นางฟ้า
    หมายถึง น. นางในเทพนิยายที่ถือว่าอยู่บนสวรรค์.
  23. นางรม
    หมายถึง น. ชื่อเห็ดชนิด Pleurotus ostreatus (Fr.) Quél. ในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นเป็นกลุ่มบนขอนไม้ โคนก้านดอกติดกัน มีหลายพันธุ์ ดอกเห็ดสีขาวหรือขาวอมเทา เนื้อนุ่ม กินได้, ชื่อที่ถูกต้องคือ เห็ดหอยนางรม.
  24. นางรม
    หมายถึง น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิดในวงศ์ Ostreidae รูปร่างค่อนข้างกลมหรือยาวรี มีสีต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่เป็นสีเทา เปลือกด้านล่างโค้งเล็กน้อยยึดติดกับวัสดุที่เกาะ นิยมใช้เป็นอาหาร เช่น ชนิด Saccostrea forskali, อีรม ก็เรียก.
  25. นางรมใหญ่
    หมายถึง ดู ตะโกรม.
  26. นางรอง
    หมายถึง น. ตัวรองฝ่ายหญิงในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
  27. นางรำ
    หมายถึง ดู กระช้อยนางรำ.
  28. นางร้องไห้
    หมายถึง น. หญิงที่ทำหน้าที่หรือรับจ้างร้องไห้ครํ่าครวญถึงคุณความดีของผู้ตาย.
  29. นางล้อม
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Proiphys amboiensis (L.) Hebert ในวงศ์ Amaryllidaceae เชื่อว่าป้องกันขโมยได้, ว่านนางล้อม ก็เรียก. (๒) ชื่อกกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
  30. นางสนองพระโอษฐ์
    หมายถึง น. คุณพนักงานหญิงที่แต่งงานแล้ว มีหน้าที่รับพระราชเสาวนีย์ไปปฏิบัติหรือเชิญพระราชเสาวนีย์ไปติดต่อข้อราชการตามพระราชประสงค์ของพระราชินี.
  31. นางสะ
    หมายถึง น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบพระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางแต่งตัวสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก.
  32. นางสาว
    หมายถึง (กฎ) น. คำนำหน้าชื่อหญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่มีสามี.
  33. นางหงส์
    หมายถึง น. ชื่อวงปี่พาทย์ไทยที่ผสมวงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปี่ชวาและกลองมลายู สำหรับบรรเลงในงานศพ; ชื่อเพลงไทยชุดหนึ่ง ใช้ประโคมศพ.
  34. นางห้าม
    หมายถึง น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้านายที่ไม่ใช่สะใภ้หลวง.
  35. นางอาย
    หมายถึง ดู ลิงลม.
  36. นางอ้อม
    หมายถึง น. คร่าวเสาเพนียด.
  37. นางเกล็ด
    หมายถึง น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Thynnichthys thynnoides ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๕๘-๖๕ เกล็ด พื้นลำตัวสีเงินเป็นประกาย พบทั่วไป แต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เกล็ดถี่ พรม หรือ ลิง ก็เรียก.
  38. นางเมือง
    หมายถึง (โบ) น. มเหสี, พระชายา.
  39. นางเรียง
    หมายถึง น. เสาที่ปักรายเป็นแถว ไว้ระยะแต่ละต้นห่างกันพอสมควร สำหรับแสดงแนวถนนหรือกั้นเขต, นางจรัล ก็ว่า.
  40. นางเลิ้ง
    หมายถึง น. หม้อขนาดใหญ่สำหรับใส่นํ้า. (ปรัดเล), ตุ่ม.
  41. นางเล็ด
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวนึ่งแผ่เป็นแผ่นกลม ตากแห้ง ทอดนํ้ามันให้พองแล้วโรยนํ้าตาลเคี่ยว.
  42. นางเอก
    หมายถึง น. ตัวเอกฝ่ายหญิงในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
  43. นางแต่งตัวสะ
    หมายถึง น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบพระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก.
  44. นางแนบ
    หมายถึง น. เสาหินคู่หนึ่ง สลักลวดลายตั้งแนบกรอบเช็ดหน้า สำหรับประดับตกแต่ง ๒ ข้างประตูปราสาทหินให้ดูงดงาม และมีส่วนช่วยค้ำจุนทับหลังด้วย, บังอวด ก็ว่า.
  45. นางแบบ
    หมายถึง น. ผู้หญิงที่แสดงแบบเสื้อหรือเครื่องประดับเป็นต้น.
  46. นางแย้ม
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb. ในวงศ์ Labiatae ใบออกตรงข้ามกัน โคนใบเว้าแบบหัวใจ ขอบใบหยัก มีขนเล็กน้อย ดอกเป็นช่อสั้น ๆ เบียดกันแน่น กลีบดอกมักซ้อน สีขาวหรือแดงเรื่อ ๆ กลิ่นหอม.
  47. นางแอ่น
    หมายถึง น. นกอีแอ่น. (ดู อีแอ่น).
  48. นางโลม
    หมายถึง (ปาก) น. หญิงโสเภณี.
  49. นางใน
    หมายถึง น. นางพนักงานฝ่ายใน.
  50. นางไม้
    หมายถึง น. ผีผู้หญิงที่เชื่อว่าสิงอยู่ตามต้นไม้ใหญ่มีต้นตะเคียนเป็นต้น.
  51. นาฏ,นาฏ-
    หมายถึง [นาด, นาตะ-, นาดตะ-] น. นางละคร, นางฟ้อนรำ, ใช้ประกอบกับคำอื่น หมายความว่า หญิงสาวสวย เช่น นางนาฏ นุชนาฏ. (ป., ส.).
  52. นาฏกรรม
    หมายถึง [นาดตะกำ] น. การละครหรือการฟ้อนรำ; (กฎ) งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และหมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย. (ส.).
  53. นาฏกะ
    หมายถึง [นาตะกะ, นาดตะกะ] (แบบ) น. ผู้ฟ้อนรำ. (ป., ส.).
  54. นาฏดนตรี
    หมายถึง [นาตะดนตฺรี] น. ลิเก.
  55. นาฏย,นาฏย-
    หมายถึง [นาดตะยะ-] (แบบ) ว. เกี่ยวกับการฟ้อนรำ, เกี่ยวกับการแสดงละคร, เช่น นาฏยศาลา. (ส. นาฏฺย).
  56. นาฏศิลป์
    หมายถึง [นาดตะสิน] น. ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ. (ส.).
  57. นาด
    หมายถึง ก. ทอดแขนให้อ่อนงาม.
  58. นาดำ
    หมายถึง น. นาชนิดที่ใช้ถอนต้นกล้ามาปลูก.
  59. นาถ
    หมายถึง [นาด, นาถะ] (แบบ) น. ที่พึ่ง, ผู้เป็นที่พึ่ง. (ป., ส.).
  60. นาท
    หมายถึง น. ความบันลือ; เสียงบันลือ, เสียงร้อง. (ป., ส.).
  61. นาที
    หมายถึง น. ชื่อหน่วยเวลา เท่ากับ ๑ ใน ๖๐ ของชั่วโมง. (เทียบ ส. นาฑี).
  62. นาน
    หมายถึง ว. ยาว, ช้า, (ใช้แก่เวลา) เช่น กินเวลานาน.
  63. นานนม
    หมายถึง ว. นานมาก, นมนาน ก็ว่า.
  64. นานสองนาน
    หมายถึง ว. นานมาก.
  65. นานัครส
    หมายถึง [นานักคะรด] น. รสเลิศต่าง ๆ เช่น นานัครสโภชชาหาร. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป. นานา + อคฺค + รส).
  66. นานัตว
    หมายถึง [นานัด] (แบบ) น. ความเป็นต่าง ๆ. (ส.).
  67. นานัปการ
    หมายถึง [นานับปะกาน] ว. มีหลายอย่าง, นานาประการ ก็ว่า. (ป. นานปฺปการ).
  68. นานา
    หมายถึง ว. ต่าง ๆ. (ป.).
  69. นานาจิตตัง
    หมายถึง ว. ต่างจิตต่างใจ, ต่างคนก็ต่างความคิดเช่นคนหนึ่งถูกกับอากาศเย็น แต่อีกคนหนึ่งถูกกับอากาศร้อน.
  70. นานาประการ
    หมายถึง ว. มีหลายอย่าง, นานัปการ ก็ว่า. (ส.).
  71. นานาสังวาส
    หมายถึง น. การอยู่ร่วมต่างกัน (ใช้แก่พระสงฆ์ที่มีศีลไม่เสมอกัน ทำอุโบสถหรือสังฆกรรมร่วมกันไม่ได้).
  72. นานาเนก
    หมายถึง ว. ต่าง ๆ กันมากมาย, ใช้ย่อว่า นาเนก ก็มี. (ป. นานา + อเนก).
  73. นานแสนนาน
    หมายถึง ว. นานเหลือเกิน.
  74. นาบ
    หมายถึง ก. เอาสิ่งที่มีความร้อนรีดหรือกดลงไป เช่น นาบพลู นาบใบตอง เอาเหล็กร้อนนาบเท้า, เรียกพลูที่นาบแล้วว่า พลูนาบ.
  75. นาบข้าว
    หมายถึง ก. เอาไม้ยาวกดต้นข้าวให้ราบลงเพื่อเกี่ยว.
  76. นาปรัง
    หมายถึง น. นาที่ทำในฤดูแล้งนอกฤดูทำนา.
  77. นาปี
    หมายถึง น. นาที่ทำในฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูทำนา.
  78. นาฟางลอย
    หมายถึง น. นาที่ปลูกข้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ข้าวขึ้นน้ำ” เนื่องจากมีรากยาว สามารถหนีน้ำที่บ่ามาท่วมได้รวดเร็ว สามารถแตกแขนงตามข้อและที่ข้อจะมีรากงอกออกมาสำหรับดูดหาอาหาร นิยมปลูกในท้องที่ซึ่งมีระดับน้ำสูงตั้งแต่ ๑-๔ เมตร, นาเมือง ก็เรียก.
  79. นาภิ
    หมายถึง น. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).
  80. นาภี
    หมายถึง น. ชะมด เช่น มฤคนาภี ว่า ตัวชะมด. (ป., ส.).
  81. นาภี
    หมายถึง น. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).
  82. นาม,นาม-
    หมายถึง [นามมะ-] น. ชื่อ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาม; คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ สำหรับเรียกคน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ; สิ่งที่ไม่ใช่รูป คือ จิตใจ, คู่กับ รูป. (ป.).
  83. นามกร
    หมายถึง [นามมะกอน] (แบบ) น. ชื่อ, นาม.
  84. นามธรรม
    หมายถึง [นามมะทำ] น. สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น, คู่กับ รูปธรรม. (ส.; ป. นามธมฺม).
  85. นามบัตร
    หมายถึง [นามบัด] น. แผ่นกระดาษค่อนข้างแข็งและเล็กเป็นต้นที่พิมพ์บอกชื่อตัว นามสกุล หรือที่อยู่ที่ทำงานไว้เพื่อแนะนำตัวเป็นต้น.
  86. นามปากกา
    หมายถึง น. ชื่อแฝงที่นักเขียนหรือนักประพันธ์ใช้แทนชื่อจริงของตน.
  87. นามสกุล
    หมายถึง น. ชื่อสกุล.
  88. นามสงเคราะห์
    หมายถึง [นามมะสง-] น. หนังสือที่รวบรวมคำพูดไว้, อภิธาน; สมุดรายชื่อพร้อมทั้งที่อยู่หรือที่ทำงานของบุคคล. (ส.).
  89. นามสมญา
    หมายถึง [นามสมยา] น. สมญา.
  90. นามานุกรม
    หมายถึง [-นุกฺรม] น. พจนานุกรมคำวิสามานยนาม.
  91. นามานุศาสตร์
    หมายถึง น. อภิธานคำชื่อ. (ส.).
  92. นามาภิไธย
    หมายถึง น. ชื่อ (ใช้เฉพาะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนามาภิไธย เช่น ทรงลงพระนามาภิไธย.
  93. นามแฝง
    หมายถึง น. ชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อพรางหรือแทนชื่อจริง.
  94. นามไธย
    หมายถึง [นามมะไท] น. ชื่อตั้ง, ทินนาม (เช่นนามบรรดาศักดิ์). (ป. นามเธยฺย).
  95. นาย
    หมายถึง น. (กฎ) คำนำหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชำนาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นำหน้ายศทหารตำรวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้าตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคำนำราชทินนาม เป็นบรรดาศักดิ์ของข้าราชการในราชสำนักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้สำหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไปด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  96. นายก
    หมายถึง [นา-ยก] น. ผู้นำ, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น นายกราชบัณฑิตยสถาน นายกสมาคม นายกสโมสร. (ป., ส.).
  97. นายกรัฐมนตรี
    หมายถึง (กฎ) น. ตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรี.
  98. นายกเทศมนตรี
    หมายถึง (กฎ) น. ตำแหน่งหัวหน้าคณะเทศมนตรี.
  99. นายคลังสินค้า
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลผู้รับทำการเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปรกติของตน.
  100. นายงาน
    หมายถึง น. หัวหน้างาน.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด น (หน้าที่ 5)"