พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด น (หน้าที่ 4)

  1. นักโทษ
    หมายถึง น. บุคคลซึ่งถูกลงโทษจำคุก.
  2. นักโทษเด็ดขาด
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามหมายจำคุกภายหลังคำพิพากษาถึงที่สุด และหมายความรวมถึงบุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษด้วย.
  3. นัข
    หมายถึง (กลอน) น. เล็บ, นิ้วมือ เช่น ทศนัข. (ป., ส. นข).
  4. นัค
    หมายถึง (แบบ) น. ภูเขา. (ป., ส. นค).
  5. นัค,นัค-,นัค-,นัคคะ
    หมายถึง [นักคะ-] (แบบ) ว. เปลือยกาย เช่น นัคสมณะ ว่า ชีเปลือย. (ป. นคฺค).
  6. นังคัล
    หมายถึง (แบบ) น. ไถ. (ป.).
  7. นัจ
    หมายถึง (แบบ) น. การฟ้อนรำ. (ป. นจฺจ).
  8. นัฏ,นัฏกะ
    หมายถึง [นัด, นัดตะกะ] (แบบ) น. ผู้ฟ้อนรำ. (ป., ส. นฏฺฏ, นฏฺฏก).
  9. นัฑ
    หมายถึง (แบบ) น. ไม้อ้อ. (ส.; ป. นฬ).
  10. นัด
    หมายถึง ก. ตกลงกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะกำหนด. น. การกำหนดตกลงว่าจะพบปะกันเป็นต้น เช่น มีนัด ผิดนัด; ลักษณนามเรียกการกำหนดประชุมครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ขาดประชุม ๓ นัด.
  11. นัด
    หมายถึง ลักษณนามเรียกกระสุนปืนทั้งที่ยังมิได้ยิงและที่ได้ยิงออกไปแล้ว เช่น กระสุน ๓ นัด ยิงสลุต ๒๑ นัด.
  12. นัด
    หมายถึง ก. เป่าหรือสูดให้วัตถุที่เป็นผงอย่างยานัตถุ์เข้าในจมูก เช่น นัดยานัตถุ์.
  13. นัดดา
    หมายถึง น. หลานปู่, หลานตา. (ป. นตฺตุ).
  14. นัดหมาย
    หมายถึง ก. กำหนดและกะกันไว้.
  15. นัดแนะ
    หมายถึง ก. นัดและชี้แจงให้กันทราบ.
  16. นัตถุ์
    หมายถึง [นัด] น. จมูก. (ป.; ส. นสฺตุ).
  17. นันท,นันท-
    หมายถึง [นันทะ-] น. ความสนุก, ความยินดี, ความรื่นเริง. (ป.).
  18. นันททายี
    หมายถึง [นันทะ-] น. ชื่อโคลงโบราณอย่างหนึ่ง, คู่กับ มหานันททายี.
  19. นันทนาการ
    หมายถึง [นันทะ-] น. กิจกรรมที่ทำตามสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียด, การสราญใจ. (อ. recreation).
  20. นันทปักษี
    หมายถึง น. ชื่อโรคเด็กอย่างหนึ่ง.
  21. นันทวัน
    หมายถึง [นันทะ-] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. นนฺทวน).
  22. นันทิ
    หมายถึง น. ผู้มีความยินดี. (ส.).
  23. นับ
    หมายถึง ก. ตรวจหรือบอกให้รู้จำนวน; ถือเอาว่า เช่น มีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่.
  24. นับถือ
    หมายถึง ก. เชื่อถือยึดมั่น เช่น นับถือศาสนา, เคารพ เช่น นับถือผู้หลักผู้ใหญ่, ยกย่อง เช่น นับถือว่าเป็นครูบาอาจารย์, ใช้เป็นคำลงท้ายจดหมายแสดงความสุภาพว่า ด้วยความนับถือ หรือ ขอแสดงความนับถือ.
  25. นับประสา
    หมายถึง ว. สำมะหา, จะเสียเวลาพูดไปทำไม, มักใช้ว่า นับประสาอะไร.
  26. นับหน้าถือตา
    หมายถึง ว. เป็นที่เคารพยกย่อง เช่น เขาเป็นที่นับหน้าถือตาของคนทั่วไป.
  27. นัย
    หมายถึง [ไน, ไนยะ] น. ข้อสำคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้; ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย; แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย; แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง. (ป. นย).
  28. นัยนา
    หมายถึง [ไนยะ-] (กลอน) น. ดวงตา. (ป., ส. นยน).
  29. นัยนามพุ
    หมายถึง [ไนยะนามพุ] น. นํ้าตา. (ป. นยน + อมฺพุ).
  30. นัยน์
    หมายถึง น. ดวงตา. (ป., ส. นยน).
  31. นัยน์ตา,นัยน์เนตร
    หมายถึง น. ดวงตา.
  32. นัยว่า
    หมายถึง [ไน-] ว. มีเค้าว่า.
  33. นัว
    หมายถึง ว. ยุ่ง, นุง; (ถิ่น-อีสาน) อร่อย.
  34. นัวเนีย
    หมายถึง ว. ปัวเปีย, พัลวัน, เกี่ยวพันกันยุ่ง.
  35. นั่ง
    หมายถึง ก. อาการที่หย่อนก้นให้ติดกับพื้นหรือที่รองเช่นเก้าอี้.
  36. นั่งกินนอนกิน
    หมายถึง ว. มีความสุขสบายมากโดยไม่ต้องทำมาหากินอะไร.
  37. นั่งขัดตะหมาด
    หมายถึง (ปาก) ก. นั่งขัดสมาธิ.
  38. นั่งขัดสมาธิ
    หมายถึง [-สะหฺมาด] ก. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, (ปาก) นั่งขัดตะหมาด.
  39. นั่งคุกเข่า
    หมายถึง ก. นั่งโดยวิธีย่อเข่าลงให้ติดพื้น แล้วหย่อนก้นลงบนส้นเท้า.
  40. นั่งซัง
    หมายถึง ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทำอันตรายได้แล้ว, ขึ้นซัง ก็ว่า.
  41. นั่งทาง
    หมายถึง ก. ดักคอยทำร้ายกลางทาง, นั่งคอยระวังเหตุ.
  42. นั่งทางใน
    หมายถึง ก. นั่งเข้าสมาธิเพื่อหยั่งรู้ด้วยพลังจิต.
  43. นั่งปรก
    หมายถึง [-ปฺรก] ก. นั่งทำใจให้เป็นสมาธิกำกับพระสงฆ์ด้วยกันอีก ๔ รูปซึ่งสวดในพิธีที่มีสวดภาณวาร, นั่งเข้าสมาธิส่งกระแสจิตเข้าไปยังวัตถุมงคลในพิธีต่าง ๆ.
  44. นั่งพับเพียบ
    หมายถึง ก. นั่งพับขาทั้ง ๒ ข้าง ให้ปลายเท้าไปทางเดียวกัน.
  45. นั่งยอง ๆ
    หมายถึง ก. นั่งโดยวิธีชันเข่าทั้ง ๒ ข้าง ไม่ให้ก้นถึงพื้น.
  46. นั่งราว
    หมายถึง ว. เรียกอาการที่ตัวโขนแสดงบทของตนแล้วไปนั่งประจำที่บนราวที่พาดไปตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉากแทนนั่งเตียงว่า โขนนั่งราว หรือ โขนโรงนอก.
  47. นั่งร้าน
    หมายถึง น. โครงร่างที่ทำด้วยไม้หรือโลหะ สำหรับนั่งหรือปีนป่ายในการก่อสร้างสิ่งสูง ๆ เช่นพระเจดีย์หรือตึก, ร่างร้าน ก็เรียก.
  48. นั่งห้าง
    หมายถึง ก. นั่งบนห้างที่ผูกขึ้นบนต้นไม้คอยยิงสัตว์.
  49. นั่งเทียน
    หมายถึง น. เรียกวิธีทำนายอย่างหนึ่งโดยจุดเทียนติดไว้ที่ขอบปากบาตรเป็นต้นแล้วนั่งเพ่งดูนํ้าในบาตร แล้วทำนายไปตามลักษณะของรูปที่ปรากฏในนํ้านั้น.
  50. นั่งเมือง
    หมายถึง ก. ครองเมือง.
  51. นั่งเล่น
    หมายถึง ก. นั่งพักผ่อน.
  52. นั่งแท่น
    หมายถึง ก. ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจวาสนา.
  53. นั่งโป่ง
    หมายถึง ก. นั่งบนห้างที่ผูกขึ้นบนต้นไม้คอยยิงสัตว์ที่มากินดินโป่ง.
  54. นั่งในหัวใจ
    หมายถึง (สำ) ก. รู้ใจ, ทำถูกต้องตรงตามที่ผู้อื่นคิดไว้.
  55. นั่น
    หมายถึง ส. คำใช้แทนนามที่อยู่ไกลกว่า นี่ เช่น นั่นอะไร, คำใช้แทนนามที่หมายถึงบุคคล สิ่งของ หรือเรื่องที่อ้างถึง เช่น เอานี่ผสมนั่น. ว. ที่อยู่ไกลกว่า นี่ เช่น โต๊ะนั่น ที่นั่น.
  56. นั่นซี,นั่นนะซี
    หมายถึง คำแสดงการเห็นพ้องด้วย.
  57. นั่นปะไร,นั่นเป็นไร
    หมายถึง คำกล่าวแสดงว่าเหตุการณ์เป็นอย่างที่พูดไว้, (ปาก) คำแสดงการซ้ำเติม เช่น นั่นปะไร ว่าแล้วไม่เชื่อ.
  58. นั่นเอง
    หมายถึง คำประกอบคำอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เขานั่นเอง.
  59. นั่นแน่
    หมายถึง คำแสดงการยืนยันการพบเห็นเป็นต้น เช่น นั่นแน่มาอยู่ที่นี่เอง นั่นแน่ ว่าแล้วอย่างไรล่ะ.
  60. นั่นแหละ
    หมายถึง [-แหฺละ] คำแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น นั่นแหละ ใช่แล้ว คุณนั่นแหละ.
  61. นั้น
    หมายถึง ว. ใช้ประกอบนามหรือข้อความที่กล่าวอ้างมาแล้ว เช่น ในจดหมายฉบับนั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น, ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกลกว่า นี้ เช่น คนนั้น สิ่งนั้น, ใช้ประกอบคำอื่นคู่กับคำ ใด แสดงความแน่นอน เช่น คนใด...คนนั้น เมื่อใด...เมื่อนั้น.
  62. นั้นแล
    หมายถึง คำลงท้ายบอกว่าจบเรื่อง.
  63. นา
    หมายถึง (โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวง จัดหาและรักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร ดูแลทุกข์สุขของชาวไร่ชาวนา.
  64. นา
    หมายถึง (แบบ) คำบทบูรณ์ มักใช้ประกอบท้ายคำบทร้อยกรองให้มีความกระชับหรือสละสลวยขึ้น เช่น แลนา.
  65. นา
    หมายถึง น. พื้นที่ราบทำเป็นคันกั้นนํ้าเป็นแปลง ๆ สำหรับปลูกข้าวเป็นต้น, พื้นที่มีลักษณะคล้ายนาสำหรับทำประโยชน์อื่น ๆ เรียกตามสิ่งที่ทำ เช่น นาเกลือ นากุ้ง นาผักกระเฉด, ใช้ประกอบกับคำอื่นที่เกิดหรือเกี่ยวข้องกับนา เช่น เต่านา ปูนา.
  66. นาก
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Mustelidae ขนลำตัวสีนํ้าตาลอมเทา มี ๒ ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ หัวกว้างและแบน ระหว่างนิ้วมีแผ่นพังผืดขึงอยู่คล้ายตีนเป็ด หางแบน ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่าขาหน้า ใช้ว่ายนํ้าร่วมกับหาง ไล่จับปลาและสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด ที่มีจำนวนมากและรู้จักกันทั่วไป คือ นากใหญ่ขนเรียบ (Lutra perspicillata) และนากเล็กเล็บสั้น (Aonyx cinerea).
  67. นาก
    หมายถึง น. โลหะผสมชนิดหนึ่ง โดยเอาทองคำ เงิน กับทองแดงผสมเข้าด้วยกัน นิยมใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ. ว. เรียกสีอย่างสีทองปนแดง เช่น ชมพู่สีนาก.
  68. นากบุด
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Mesua nervosa Planch. et Triana ในวงศ์ Guttiferae กลีบดอกสีขาว มีเกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมาก.
  69. นากสวาด
    หมายถึง [-สะหวาด] ว. เรียกสีสวาดชนิดที่มีสีนากเจือ, เรียกสีเนื้อโลหะพระพุทธรูปที่มีสีแดงอมส้ม.
  70. นากาสาหรี
    หมายถึง [-หฺรี] น. ดอกสารภี. (ช.).
  71. นาขอบเหล็ก
    หมายถึง น. นาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก, นาเชิงทรง ก็ว่า.
  72. นาค
    หมายถึง [นาก] (แบบ) น. ไม้กากะทิง. (ป.).
  73. นาค
    หมายถึง [นาก] (แบบ) น. ผู้ประเสริฐ, ผู้ไม่ทำบาป; เรียกคนที่ไปอยู่วัดเตรียมตัวจะบวชหรือกำลังจะบวช. (ป., ส.).
  74. นาค,นาค,นาค-
    หมายถึง [นาก, นากคะ-] (แบบ) น. ช้าง. (ป.).
  75. นาค,นาค,นาค-
    หมายถึง [นาก, นากคะ-] น. งูใหญ่มีหงอน เป็นสัตว์ในนิยาย. (ป., ส.).
  76. นาค,นาค,นาคา,นาคา
    หมายถึง [นาก] น. ชื่อชนเผ่าหนึ่งอยู่ในบริเวณเทือกเขานาค ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า มีหลายสาขา เช่น อาโอนาค กูกินาค.
  77. นาคทนต์
    หมายถึง [นากคะ-] น. งาช้าง. (ป., ส.).
  78. นาคนาศนะ
    หมายถึง ครุฑ, ผู้เป็นศัตรูแห่งนาค
  79. นาคบาศ
    หมายถึง [นากคะบาด] น. บ่วงที่เป็นงู เป็นชื่อศรของอินทรชิตที่แผลงไปเป็นงู. (ส.).
  80. นาคปรก
    หมายถึง [นากปฺรก] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนพระเศียร ที่สร้างเป็นแบบขัดสมาธิเพชรก็มี มี ๒ แบบ แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิบนขนดพญานาค อีกแบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิภายในวงขนดพญานาค คือพญานาคขดตัวล้อมพระกายไว้ถึงพระอังสา เพื่อป้องกันลมฝน.
  81. นาคปัก
    หมายถึง [นากปัก] น. รูปหัวนาคที่ปักกับบันแถลงที่หลังคาปราสาทหรือบุษบก.
  82. นาคพันธ์
    หมายถึง [นากคะ-] น. ชื่อโคลงโบราณชนิดหนึ่ง, สนธิอลงกต ก็ว่า.
  83. นาคร
    หมายถึง [นาคอน] น. ชาวนคร, ชาวกรุง. (ป., ส.).
  84. นาครวย
    หมายถึง [นาก-รวย] น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดตรงลงมาจากอกไก่ถึงแปหาญ ทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน.
  85. นาคราช
    หมายถึง [นากคะ-] น. พญางู; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  86. นาคราช
    หมายถึง น. ชื่อเฟินหลายชนิดในสกุล Davallia วงศ์ Davalliaceae ลำต้นสีนํ้าตาลแซมดำเป็นเกล็ดคล้ายเกล็ดงู ใช้ทำยาได้ เช่น ชนิด D. denticulata Mett.
  87. นาคราชแผลงฤทธิ์
    หมายถึง น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  88. นาคลดา
    หมายถึง [นากคะ-] น. เถาวัลย์งู, เถาพลู.
  89. นาควิถี
    หมายถึง [นากคะ-] น. ทางที่พระจันทร์เดินไปในระหว่างดาวสวาดิ (หรือ อัศวินี) ภรณี และกฤติกา. (ส.).
  90. นาคสะดุ้ง
    หมายถึง น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดต่อลงมาจากแปหาญถึงหางหงส์ ทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน โบราณเรียกว่า เครื่องสะดุ้ง.
  91. นาคสังวัจฉระ
    หมายถึง [นากคะสังวัดฉะระ] น. ปีมะโรง. (ป.).
  92. นาคา
    หมายถึง (กลอน) น. งู.
  93. นาคานดก
    หมายถึง ครุฑ, ผู้เป็นศัตรูแห่งนาค
  94. นาคานตกะ
    หมายถึง ครุฑ, ผู้เป็นศัตรูแห่งนาค
  95. นาคาวโลก
    หมายถึง [-คาวะ-] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติ เอี้ยวพระกายผินพระพักตร์เหลียวไปข้างหลัง เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีผิดปรกติคล้ายดูอย่างไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย จะไม่ได้เสด็จมาเห็นอีกต่อไป.
  96. นาคินทร์
    หมายถึง [นาคิน] น. พญาช้าง, พญางู.
  97. นาคี
    หมายถึง (กลอน) น. ช้าง เช่น ขี่ยาตรานาคี. (ตะเลงพ่าย).
  98. นาคี
    หมายถึง (กลอน) น. งู เช่น นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย. (โลกนิติ).
  99. นาคู่โค
    หมายถึง น. นาที่ได้ทำมาแล้วนาน เป็นนาดี ทำแล้วไม่ใคร่เสีย.
  100. นาคเกี่ยว,นาคเกี้ยว,นาคเกี่ยวพระสุเมรุ
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด น (หน้าที่ 4)"