พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ธ (หน้าที่ 2)

  1. ธรรมดา
    หมายถึง น. อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ เช่น การกิน การถ่ายเท การสืบพันธุ์ และการเสื่อมสลาย. ว. สามัญ, พื้น ๆ, ปรกติ, เช่น เป็นเรื่องธรรมดา. (ส. ธรฺมตา; ป. ธมฺมตา).
  2. ธรรมทรรศนะ
    หมายถึง น. ความเห็นชัดเจนในธรรม. (ส.).
  3. ธรรมธาดา
    หมายถึง น. ผู้ทรงธรรม เช่น สมเด็จพระบรมธรรมธาดามหาสัตว์. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
  4. ธรรมธาตุ
    หมายถึง น. ธรรมารมณ์. (ส.; ป. ธมฺมธาตุ).
  5. ธรรมนาถ
    หมายถึง น. ผู้รักษากฎหมาย. (ส.).
  6. ธรรมนิตย์
    หมายถึง น. ผู้เที่ยงธรรม. (ส.).
  7. ธรรมนิยม
    หมายถึง น. ความประพฤติที่มีธรรมเป็นที่ตั้ง.
  8. ธรรมนิยาม
    หมายถึง น. ความแน่นอนแห่งธรรมดา คือ พระไตรลักษณ์. (ส.; ป. ธมฺมนิยาม).
  9. ธรรมนิเวศ
    หมายถึง น. การเข้าประพฤติธรรม, การเข้าศาสนา.
  10. ธรรมนูญ
    หมายถึง (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร เช่น ธรรมนูญศาลทหาร พระธรรมนูญศาลยุติธรรม.
  11. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
    หมายถึง (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบการปกครองประเทศในระหว่างที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญ.
  12. ธรรมบท
    หมายถึง น. ข้อแห่งธรรม, ชื่อคาถาบาลีคัมภีร์หนึ่งในขุทกนิกาย.
  13. ธรรมบาล
    หมายถึง น. ผู้รักษาธรรม, ผู้ป้องกันพระศาสนา. (ส.; ป. ธมฺมปาล).
  14. ธรรมบิฐ
    หมายถึง น. ธรรมาสน์. (ป. ธมฺม + ปี).
  15. ธรรมปฏิรูป,ธรรมประติรูป
    หมายถึง น. ธรรมเทียม, สิ่งที่ไม่ใช่ธรรมแท้.
  16. ธรรมปฏิสัมภิทา
    หมายถึง น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความเข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).
  17. ธรรมยุต
    หมายถึง น. ชื่อพระสงฆ์นิกายหนึ่ง, คู่กับมหานิกาย, ธรรมยุติกนิกาย ก็เรียก.
  18. ธรรมยุทธ์
    หมายถึง น. การรบกันในทางธรรม คือ รบกันในทางแข่งขันสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้าใครสร้างได้แล้วก่อนก็ชนะ. (ส.).
  19. ธรรมรัตน์
    หมายถึง น. แก้วคือธรรม. (ส.; ป. ธมฺมรตน).
  20. ธรรมราชา
    หมายถึง น. พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า, พระราชาผู้ทรงธรรม, พญายม.
  21. ธรรมวัตร
    หมายถึง น. ลักษณะเทศน์ทำนองธรรมดาอย่างหนึ่งที่แสดงอยู่ทั่วไป ไม่ใช่ทำนองแบบเทศน์มหาชาติ.
  22. ธรรมศาสตร์
    หมายถึง (โบ) น. ความรู้เกี่ยวกับวิชากฎหมายโดยทั่วไป; คัมภีร์กฎหมายเก่าของอินเดีย, คัมภีร์อันเป็นต้นกำเนิดแห่งกฎหมาย, พระธรรมศาสตร์ ก็เรียก.
  23. ธรรมสถิติ
    หมายถึง น. ความตั้งอยู่โดยธรรมดา, ความตั้งอยู่แห่งกฎ, ความตั้งอยู่แห่งยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมิติ).
  24. ธรรมสภา
    หมายถึง น. ที่ประชุมฟังธรรม. (ส.; ป. ธมฺมสภา).
  25. ธรรมสรีระ
    หมายถึง น. ร่างหรือที่บรรจุธรรม, เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์.
  26. ธรรมสังคีติ
    หมายถึง น. การสังคายนาธรรม, การร้อยกรองธรรม. (ส. ธรฺม + สํคีติ; ป. ธมฺมสงฺคีติ).
  27. ธรรมสังเวช
    หมายถึง น. ความสังเวชโดยธรรม เมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์). (ป. ธมฺมสํเวค).
  28. ธรรมสากัจฉา
    หมายถึง น. การสนทนาธรรม. (ป. ธมฺมสากจฺฉา).
  29. ธรรมสามิสร
    หมายถึง [-สามิด] น. ผู้เป็นใหญ่ด้วยความเป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า.
  30. ธรรมสามี
    หมายถึง น. ผู้เป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า. (ป. ธมฺมสามิ).
  31. ธรรมสาร
    หมายถึง น. สาระแห่งธรรม, แก่นธรรม.
  32. ธรรมะธัมโม
    หมายถึง ว. เรียกคนที่เคร่งครัดในศาสนาว่า คนธรรมะธัมโม.
  33. ธรรมันเตวาสิก
    หมายถึง [ทำมัน-] น. อันเตวาสิก (ศิษย์) ผู้เรียนธรรมวินัย. (ส.; ป. ธมฺมนฺเตวาสิก).
  34. ธรรมาทิตย์
    หมายถึง [ทำมา-] น. อาทิตย์แห่งธรรม คือพระพุทธเจ้า. (ส.).
  35. ธรรมาธรรม
    หมายถึง [ทำมา-] น. ธรรมและอธรรม, ความถูกและความผิด, ยุติธรรมและอยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมาธมฺม).
  36. ธรรมาธิปไตย
    หมายถึง [ทำมาทิปะไต, ทำมาทิบปะไต] น. การถือธรรมเป็นใหญ่, การถือความถูกต้องเป็นหลัก. (ป. ธมฺมาธิปเตยฺย; ส. ธรฺมาธิปตฺย).
  37. ธรรมาธิษฐาน
    หมายถึง [ทำมาทิดถาน, ทำมาทิดสะถาน] ว. มีธรรมเป็นที่ตั้ง ที่ยกหลักธรรมหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมล้วน ๆ ขึ้นมาอ้างหรืออธิบาย. (ส.; ป. ธมฺมาธิฏฺาน).
  38. ธรรมานุธรรมปฏิบัติ
    หมายถึง [ทำมา-] น. การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม, การประพฤติความดีสมควรแก่ฐานะ.
  39. ธรรมานุสาร
    หมายถึง [ทำมา-] น. ความถูกตามธรรม, ทางหรือวิธีแห่งความยุติธรรม, ความระลึกตามธรรม. (ส.; ป. ธมฺมานุสาร).
  40. ธรรมาภิมุข
    หมายถึง [ทำมา-] ว. หันหน้าเฉพาะธรรม, มุ่งแต่ยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมาภิมุข).
  41. ธรรมาภิสมัย
    หมายถึง [ทำมา-] น. การตรัสรู้ธรรม, การสำเร็จมรรคผล. (ส.; ป. ธมฺมาภิสมย).
  42. ธรรมายตนะ
    หมายถึง [ทำมายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).
  43. ธรรมารมณ์
    หมายถึง [ทำมา-] น. อารมณ์ที่ใจรู้, อารมณ์ที่เกิดทางใจ. (ป. ธมฺมารมฺมณ).
  44. ธรรมาสน์
    หมายถึง [ทำมาด] น. ที่สำหรับพระภิกษุสามเณรนั่งแสดงธรรม. (ส.).
  45. ธรรมิก,ธรรมิก-
    หมายถึง [ทำมิก, ทำมิกกะ-] ว. ประกอบในธรรม, ประพฤติเป็นธรรม, ทรงธรรม, เช่น ธรรมิกราช สหธรรมิก. (ส.; ป. ธมฺมิก).
  46. ธรรมเกษตร
    หมายถึง น. แดนธรรม; คนมีใจกรุณา. (ส.).
  47. ธรรมเจดีย์
    หมายถึง น. เจดีย์ที่บรรจุพระธรรมที่มักจารลงบนใบลาน, คัมภีร์ที่จารึกพระธรรม เช่น พระไตรปิฎก.
  48. ธรรมเนียม
    หมายถึง [ทำ-] น. ประเพณี, แบบแผน, แบบอย่าง.
  49. ธรรมเนียมประเพณี
    หมายถึง น. ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ ถ้าฝ่าฝืนก็ไม่ถือว่าผิดหรือชั่ว.
  50. ธรา
    หมายถึง [ทะรา] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ป., ส.).
  51. ธราดล
    หมายถึง น. พื้นแผ่นดิน. (ป.).
  52. ธราธร
    หมายถึง น. ผู้ทรงโลกไว้ คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์. (ส.).
  53. ธราธาร
    หมายถึง น. ผู้ทรงโลกไว้ คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์. (ส.).
  54. ธราธิบดี,ธราธิป
    หมายถึง น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
  55. ธริษตรี,ธเรษตรี
    หมายถึง [ทะริดตฺรี, ทะเรดตฺรี] (แบบ; กลอน) น. โลก, แผ่นดิน, เช่น ผู้ทรงจักรคทาธริษตรี. (สมุทรโฆษ). (ส. ธริตฺรี).
  56. ธวัช
    หมายถึง [ทะวัด] น. ธง. (ส. ธฺวช).
  57. ธังกะ
    หมายถึง (แบบ) น. กา, เหยี่ยว. (ป.).
  58. ธัช
    หมายถึง [ทัด] (แบบ) น. ธง. (ป. ธช).
  59. ธัญ
    หมายถึง [ทัน] (แบบ) ว. รุ่งเรือง, มั่งมี, มีโชค, ดี, เลิศ, เช่น ธัญลักษณ์ ว่า มีลักษณะดี. (ป. ธญฺ; ส. ธนฺย).
  60. ธัญ,ธัญ,ธัญญ
    หมายถึง [ทัน, ทันยะ-] น. ข้าวเปลือก. (ป. ธญฺ; ส. ธานฺย).
  61. ธัญชาติ
    หมายถึง น. คำรวมเรียกข้าวต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาลี, ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาว่ามี ๗ อย่าง คือ ๑. ข้าวไม่มีแกลบ ๒. ข้าวเปลือก ๓. หญ้ากับแก้ ๔. ข้าวละมาน ๕. ลูกเดือย ๖. ข้าวแดง ๗. ข้าวฟ่าง.
  62. ธัญญาหาร
    หมายถึง น. อาหารคือข้าว. (ป.).
  63. ธัญดัจ
    หมายถึง น. เปลือกข้าว, แกลบ. (ป. ธญฺตจ; ส. ธานฺยตฺวจ).
  64. ธัญพืช
    หมายถึง น. พืชข้าวกล้า; พืชล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก. (ป. ธญฺพีช; ส. ธานฺยวีช).
  65. ธัญมาส
    หมายถึง (โบ) น. มาตราตวง เท่ากับ ๗ อูกา. (ป.).
  66. ธัญเขต
    หมายถึง น. นา. (ป. ธญฺเขตฺต; ส. ธานฺยเกฺษตฺร).
  67. ธัญเบญจก
    หมายถึง [ทันยะเบนจก] น. ธัญชาติทั้ง ๕ ได้แก่ ๑. ศาลิ-ข้าวสาลี ๒. วฺรีหิ-ข้าวเปลือก ๓. ศูก-ลูกเดือย ๔. ศิมฺพี-ถั่ว ๕. กฺษุทฺร-ข้าวกษุทร. (ป. -ปญฺจก).
  68. ธัญโกศ
    หมายถึง น. ฉางข้าว, ยุ้งข้าว. (ป. ธญฺ + ส. โกศ).
  69. ธันยา
    หมายถึง [ทันยา] (แบบ) น. นางพี่เลี้ยง. (ส.).
  70. ธันยาวาท
    หมายถึง [ทันยาวาด] น. การทำพิธีบูชาขอบคุณเทพผู้ให้ความสมบูรณ์พูนผล. (ส.).
  71. ธันวาคม
    หมายถึง น. ชื่อเดือนที่ ๑๒ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๙ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ส. ธนุ + อาคม = เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีธนู).
  72. ธัมมะ
    หมายถึง (แบบ) น. ธรรม. (ป.; ส. ธรฺม).
  73. ธาดา
    หมายถึง น. ผู้สร้าง, ผู้ทรงไว้, พระพรหมผู้สร้างตามหลักศาสนาพราหมณ์. (ป.).
  74. ธาตรี
    หมายถึง [ทาตฺรี] (แบบ) น. แผ่นดิน, โลก, ในบทกลอนใช้ว่า ธาษตรี ก็มี. (ส.).
  75. ธาตวากร
    หมายถึง [ทาตะวากอน] (แบบ) น. บ่อแร่. (ส.).
  76. ธาตุ
    หมายถึง [ทาด, ทาตุ-] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคำนั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่น-อีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.
  77. ธาตุ
    หมายถึง [ทาด] น. รากศัพท์ของคำบาลีสันสกฤตเป็นต้น เช่น ธาตุ มาจาก ธา ธาตุ สาวก มาจาก สุ ธาตุ กริยา มาจาก กฺฤ ธาตุ.
  78. ธาตุ
    หมายถึง [ทาด] (วิทยา) น. สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มีโปรตอนจำนวนเดียวกันในนิวเคลียส.
  79. ธาตุ,ธาตุ,ธาตุ-
    หมายถึง [ทาด, ทาตุ-, ทาดตุ-] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.).
  80. ธาตุครรภ
    หมายถึง [ทาตุคับ] น. ส่วนสำคัญของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน, ครรภธาตุ หรือ เรือนธาตุ ก็ว่า.
  81. ธาตุมมิสสา
    หมายถึง [ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสำแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุขเสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตำรากลอน).
  82. ธาตุสถูป
    หมายถึง [ทาดสะถูบ] น. ธาตุเจดีย์.
  83. ธาตุหนัก
    หมายถึง [ทาด-] ว. ที่ต้องกินยาถ่ายมาก ๆ จึงจะถ่าย.
  84. ธาตุเจดีย์
    หมายถึง [ทาด-] น. เจดีย์บรรจุพระธาตุ.
  85. ธาตุเบา
    หมายถึง [ทาด-] ว. ที่กินยาระบายอ่อน ๆ ก็ถ่าย.
  86. ธาตุโขภ
    หมายถึง [ทาตุโขบ] น. ความกำเริบของธาตุ ได้แก่ธาตุทั้ง ๔ ในร่างกายไม่ปรกติ มีอาหารเสียเป็นต้น. (ป.).
  87. ธานิน
    หมายถึง (กลอน) น. เมือง.
  88. ธานินทร์
    หมายถึง (กลอน) น. เมือง, เมืองใหญ่.
  89. ธานี
    หมายถึง น. เมือง. (ป., ส.).
  90. ธาร
    หมายถึง [ทาน] น. การทรงไว้, การรับไว้, การหนุน, มักใช้เป็นบทหลังสมาส เช่น จุฑาธาร. (ป., ส.).
  91. ธาร
    หมายถึง [ทาน] น. นํ้า, ลำธาร, ห้วย, หยาดนํ้า, ท่อนํ้า. (ตัดมาจาก ธารา).
  92. ธารกำนัล,ธารคำนัล
    หมายถึง [ทาระกำนัน, -คำนัน] น. ที่ชุมนุมชน, คนจำนวนมาก, เช่น ต่อหน้าธารกำนัล, โบราณเขียนเป็น ทารกำนัน ก็มี.
  93. ธารณ,ธารณะ
    หมายถึง [ทาระนะ] (แบบ) น. การทรงไว้. (ป., ส.).
  94. ธารณ,ธารณะ
    หมายถึง [ทาระนะ] ว. ทั่วไป, ไม่เลือกหน้า. น. การตักบาตรที่ไม่เฉพาะเจาะจง เรียกว่า ธารณะ. (ตัดมาจากคำ สาธารณะ).
  95. ธารณา
    หมายถึง [ทาระนา] (แบบ) น. การทรงไว้. (ส.).
  96. ธารณามัย
    หมายถึง (แบบ) ว. ซึ่งสำเร็จด้วยความทรงจำ. (ส.).
  97. ธารพระกร
    หมายถึง [-กอน] (ราชา) น. ไม้เท้า.
  98. ธารยักษ์
    หมายถึง น. ชื่อโรคลมอย่างหนึ่ง.
  99. ธารา
    หมายถึง น. สายนํ้า, ลำธาร, ห้วย, หยาดนํ้า, ท่อนํ้า. (ป., ส.).
  100. ธารา
    หมายถึง (แบบ) น. ชาย, ขอบ, คม (มีด). (ส.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ธ (หน้าที่ 2)"