พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 10)

  1. ทุรัศ
    หมายถึง (กลอน) ว. ไกล เช่น ทุรัศกันดาร. (ส.; ป. ทูร).
  2. ทุราคม
    หมายถึง น. การถึงลำบาก, การอยู่ทางไกล. (ป.).
  3. ทุราจาร
    หมายถึง น. ความประพฤติชั่วช้าเลวทรามในที่ซึ่งไม่ควร. (ป.).
  4. ทุราธวา
    หมายถึง [ทุราทะวา] (กลอน) น. ทางลำบาก, ทางทุรกันดาร. [ส. ทุรธฺวา, ทุรฺ- (ยาก, ลำบาก) + อธฺวนฺ (ทางไกล)].
  5. ทุลักทุเล
    หมายถึง ว. อาการที่เป็นไปอย่างขลุกขลัก ยุ่งยาก วุ่นวาย ไม่เป็นระเบียบ.
  6. ทุวิธะ
    หมายถึง (แบบ) ว. ๒ อย่าง. (ป.).
  7. ทุศีล
    หมายถึง ว. ล่วงละเมิดศีลหรือวินัย (มักใช้แก่นักบวชนักพรต). (ส.; ป. ทุสฺสีล).
  8. ทุษฐ,ทุษฐ-
    หมายถึง [ทุดถะ-] ก. ประทุษร้าย. (ส.; ป. ทุฏฺ).
  9. ทุส,ทุส-,ทุสสะ
    หมายถึง [ทุดสะ-] (แบบ) น. ผ้า เช่น กฐินทุสทาน ว่า ถวายผ้ากฐิน. (ป. ทุสฺส).
  10. ทุสสีล
    หมายถึง [ทุดสีน] (แบบ) ว. ทุศีล. (ป.).
  11. ทุเรศ
    หมายถึง (ปาก) คำพูดแสดงความรู้สึกเมื่อประสบสิ่งที่ขัดหูขัดตาหรือเป็นที่น่าสมเพชเป็นต้น.
  12. ทุเรียน
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Durio zibethinus L. ในวงศ์ Bombacaceae ผลเป็นพู ๆ มีหนามแข็งเต็มทั่วลูก เนื้อมีรสหวานมัน มีหลายพันธุ์ เช่น กบ ก้านยาว กำปั่น ทองย้อย หมอนทอง.
  13. ทุเรียนเทศ
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Annona muricata L. ในวงศ์ Annonaceae ผลมีหนามขรุขระ รสหวานอมเปรี้ยว กินได้, ทุเรียนแขก ก็เรียก.
  14. ทุเรียนแขก
    หมายถึง ดู ทุเรียนเทศ.
  15. ทุเลา
    หมายถึง ก. ค่อยยังชั่ว เช่น ไข้ทุเลา; ผ่อนผัน เช่น ขอทุเลาไปอีกสัก ๒-๓ วัน.
  16. ทุ่ง
    หมายถึง น. ที่ราบโล่ง.
  17. ทุ่ง
    หมายถึง น. ขี้. ก. ขี้.
  18. ทุ่น
    หมายถึง น. สิ่งที่ลอยนํ้าสำหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยนํ้า เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสำหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น ทุ่นสมอ หรือสำหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนำร่อง, โดยปริยายหมายถึงพยัญชนะ อ ที่เป็นทุ่นให้สระเกาะ เช่น อา อี อู. ก. ผ่อนหรือช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง เช่น ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นสตางค์.
  19. ทุ่นระเบิด
    หมายถึง น. เครื่องกีดขวางที่มีอำนาจระเบิด ผูกโซ่ถ่วงให้ลอยประจำอยู่ใต้นํ้าเพื่อทำลายหรือต่อต้านการบุกรุกของฝ่ายศัตรูทางทะเล, ถ้าใช้ฝังพรางไว้บนบก เรียกว่า ทุ่นระเบิดบก, เรียกอาณาบริเวณที่วางทุ่นระเบิดไว้เพื่อป้องกันปิดล้อม หรือจำกัดการเคลื่อนไหวของฝ่ายศัตรูทั้งทางทะเลและทางบกว่า สนามทุ่นระเบิด, เรียกลักษณะการทำลายทุ่นระเบิดที่ศัตรูวางไว้ในทะเลว่า กวาดทุ่นระเบิด.
  20. ทุ่นอวน
    หมายถึง น. ทุ่นสำหรับผูกอวนไม่ให้จม.
  21. ทุ่นเบ็ด
    หมายถึง น. ทุ่นสำหรับผูกสายเบ็ดตกปลา เพื่อเป็นสัญญาณให้รู้ว่าปลากินเบ็ด.
  22. ทุ่ม
    หมายถึง ก. เอาของหนัก ๆ ทิ้งลงไป เช่น เอาก้อนหินทุ่มลงไปในนํ้า, ทิ้งทับลง, ทิ้งถมลง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทุ่มเงิน; ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ. (ตะเลงพ่าย). น. วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม.
  23. ทุ่มตลาด
    หมายถึง ก. นำสินค้าจำนวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคาปรกติ; (กฎ) นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศในราคาที่ตํ่ากว่าราคาปรกติของสินค้านั้น อันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ. (อ. dumping).
  24. ทุ่มเถียง
    หมายถึง ก. เถียงกันรุนแรงอย่างทะเลาะ.
  25. ทุ่มเท
    หมายถึง ก. ยอมเสียสละให้อย่างล้นเหลือหรือเต็มกำลังความสามารถ เช่น ทุ่มเทเงินทอง ทุ่มเทกำลังความคิด.
  26. ทุ้ง
    หมายถึง ว. ตุง, ตุ่ยออกมา. น. ฝักบัวที่ย้อยลงมา เช่น เปิดนํ้าลงตามทุ้งสหัสธารา. (สิบสองเดือน).
  27. ทุ้ง
    หมายถึง ก. กระทุ้ง เช่น ชอบแต่ทุบถองทุ้งให้กุ้งกิน. (มณีพิชัย).
  28. ทุ้ม
    หมายถึง ว. ไม่แหลม, ตํ่าแต่มีความนุ่มนวลไม่แกร่งกร้าว, (ใช้แก่เสียง). น. เรียกระนาดที่มีเสียงตํ่ากว่าระนาดเอก แต่มีเสียงนุ่มนวลกว่า มีไม้นวม ๒ อันสำหรับตี ว่า ระนาดทุ้ม.
  29. ทุ้ย
    หมายถึง ก. พูดเดาส่ง, พูดพุ่งส่ง.
  30. ทู
    หมายถึง (กลอน) ว. สอง เช่น ลูกเสือสนองคำโคทู. (เสือโค).
  31. ทู
    หมายถึง น. (๑) ชื่อปลาทะเลชนิด Rastrelliger brachysoma ในวงศ์ Scombridae ตัวยาวเรียว แบนข้างเป็นรูปกระสวย คอดหางแคบ ปากกว้างเอียงขึ้นเล็กน้อย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ อยู่ตรงข้ามกับครีบก้น โดยต่างก็มีครีบย่อย ๕ อัน เรียงต่ออยู่ข้างท้าย เกล็ดเล็กบาง ข้างหลังสีนํ้าเงิน ชิดโคนครีบหลังตอนแรกมีจุดสีดำ ๓-๖ จุดเรียงอยู่ ๑ แถว ข้างท้องสีขาวเงิน อาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้า. (๒) ดู ลัง ๒.
  32. ทูกัง
    หมายถึง น. ชื่อปลาทะเลชนิด Arius leiotetocephalus ในวงศ์ Ariidae ไม่มีเกล็ด มีหนวด ส่วนหน้าของครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง จัดอยู่ในพวกปลากดขนาดใหญ่ แต่แตกต่างจากปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โดยมีกระดูกบริเวณท้ายทอยเป็นแผ่นกลมรีใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ ทั้งหมด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือนํ้ากร่อยโดยเฉพาะบริเวณปากแม่นํ้า, ทุกัง ก็เรียก.
  33. ทูต
    หมายถึง น. ผู้นำข้อความไปแจ้งทั้ง ๒ ฝ่าย, ผู้รับใช้ไปเจรจาแทน, ผู้สื่อสาร, ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนไปยังต่างประเทศ เพื่อเจรจาหรือเจริญสันถวไมตรีเป็นทางราชการ. (ป.).
  34. ทูตานุทูต
    หมายถึง น. ทูตใหญ่น้อย, คณะทูต. (ป.).
  35. ทูน
    หมายถึง ว. ชิดทางใน (บอกควายในเวลาไถนา).
  36. ทูน
    หมายถึง ก. เทิน, เอาของไว้บนศีรษะ, เช่น เอาของทูนหัว.
  37. ทูนหัว
    หมายถึง น. คำพูดแสดงความรักใคร่หรือยกย่อง เช่น พ่อทูนหัว แม่ทูนหัว.
  38. ทูน้ำจืด
    หมายถึง ดู นวลจันทร์ทะเล.
  39. ทูบ
    หมายถึง น. ไม้แม่แคร่เกวียนที่ยื่นออกไปติดกับแอก.
  40. ทูม
    หมายถึง ก. บวม, อูม, ในคำว่า คางทูม หมายถึงโรคที่ทำให้คางบวม.
  41. ทูมทาม
    หมายถึง ว. เทิบทาบ.
  42. ทูร,ทูร-
    หมายถึง [ทูระ-] ว. คำประกอบหน้าคำศัพท์ หมายความว่า ไกล เช่น ทูรบถ ทูรมรรคา ว่า ทางยาว, ทางไกล. (ป.).
  43. ทูล
    หมายถึง ก. บอก, กล่าว, (ใช้แก่เจ้านาย). (ข.).
  44. ทูลกระหม่อม
    หมายถึง น. คำสำหรับเรียกเจ้าฟ้าซึ่งมีพระราชชนนีเป็นอัครมเหสีหรือมีพระราชชนนีเป็นพระราชธิดาในพระมหากษัตริย์รัชกาลใดรัชกาลหนึ่ง.
  45. ทูลกระหม่อม
    หมายถึง น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด Thaipotamon chulabhorn ในวงศ์ Potamidae กระดองสีม่วงเข้มคล้ายสีเปลือกมังคุด ขาและขาก้ามสีเหลืองอมส้ม ปลายก้ามและขาสีขาว ขุดรูอยู่ พบในป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม.
  46. ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
    หมายถึง (ราชา) ก. ถวาย (ใช้แก่ของที่ยกได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), ในการเขียนใช้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย หรือ ทูลเกล้าฯ ถวาย ก็ได้.
  47. ทูษก
    หมายถึง [ทู-สก] (แบบ) น. ผู้ประทุษร้าย. (ส.; ป. ทูสก).
  48. ทูเลียม
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๖๙ สัญลักษณ์ Tm เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๕๔๕ °ซ. (อ. thulium).
  49. ทูโม่ง
    หมายถึง ดู ลัง ๒.
  50. ทู่
    หมายถึง ว. ไม่แหลม (ใช้แก่ของที่มีลักษณะยาวแหลม แต่ขาดความแหลมไปเพราะความสึกกร่อนด้วยการใช้เป็นต้น) เช่น ดินสอทู่ เข็มทู่.
  51. ทู่ซี้
    หมายถึง (ปาก) ก. ทนไปจนกว่าจะตาย.
  52. ทู้
    หมายถึง ก. ยอมอยู่ในอำนาจ.
  53. ทเมิน
    หมายถึง [ทะ-] น. พวก, ทหาร, เหล่า, พรานป่า. (ข. เถฺมิร).
  54. ทแยง
    หมายถึง [ทะ-] ว. เฉียง, เฉลียง.
  55. ทแยงมุม
    หมายถึง ว. เฉียงจากมุมหนึ่งไปยังมุมตรงข้าม.
  56. ทโมน
    หมายถึง [ทะ-] ว. ใหญ่และมีกำลังมาก (มักใช้แก่สัตว์ตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูง) เช่น ลิงทโมน.
  57. ท่ง
    หมายถึง (กลอน) น. ทุ่ง.
  58. ท่วงทำนอง
    หมายถึง น. ลีลาที่เป็นไปตามจังหวะหรือทำนอง.
  59. ท่วงที
    หมายถึง น. ท่าทาง, หน่วยก้าน, ชั้นเชิง.
  60. ท่วงท่า
    หมายถึง น. การรู้จักวางกิริยาท่าทาง.
  61. ท่วม
    หมายถึง ก. ไหลหลาก บ่า หรือเอ่อท้นจนลบพื้นที่หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นํ้าท่วมทุ่ง นํ้าท่วมบ้าน, กลบ เช่น ทรายท่วมเท้า, ซาบซึมไปทั่ว เช่น เหงื่อท่วมตัว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนี้ท่วมตัว ความรู้ท่วมหัว.
  62. ท่วมท้น
    หมายถึง ว. มากมายเหลือล้น เช่น ได้คะแนนเสียงท่วมท้น.
  63. ท่วย
    หมายถึง (กลอน) น. หมู่, เหล่า.
  64. ท่วยโถง
    หมายถึง (กลอน) ก. จัดกระบวนกลางแปลง, ถ้วยโถง หรือ ทวยโถง ก็ใช้.
  65. ท่อ
    หมายถึง ก. โต้ตอบ, ประสาน, เช่น นกท่อเสียงกัน.
  66. ท่อ
    หมายถึง (โบ) ก. ตี เช่น ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่อเมืองตาก กูไปท่อบ้านท่อเมือง. (จารึกพ่อขุนรามคำแหง).
  67. ท่อ
    หมายถึง น. สิ่งสำหรับให้สิ่งอื่นมีนํ้าเป็นต้นผ่านไปได้ มักมีลักษณะกลม รูปคล้ายปล่อง เช่น ท่อนํ้า ท่อลม.
  68. ท่อ
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) ว. เท่า, เสมอ.
  69. ท่อคงคา
    หมายถึง น. ส่วนของท่อเหล้าในโรงต้มกลั่น.
  70. ท่อง
    หมายถึง ก. เดินก้าวไปในนํ้า เช่น ท่องนํ้า; ว่าซํ้า ๆ ให้จำได้ เช่น ท่องหนังสือ.
  71. ท่องจำ
    หมายถึง ก. ท่องบ่นจนจำได้, ท่องบ่นจนขึ้นใจ.
  72. ท่องสื่อ
    หมายถึง น. ตำแหน่งล่ามจีนครั้งโบราณ เช่น ขุนพจนาพิจิตร ท่องสื่อใหญ่. (พงศ. ร. ๓). (เทียบ จ. ท่อง ว่า ติดต่อ, สื่อ ว่า ธุระ, การงาน).
  73. ท่องเที่ยว
    หมายถึง ก. เที่ยวไป.
  74. ท่อถ้อย
    หมายถึง น. คำโต้. ก. กล่าวโต้, กล่าวประชัน, ใช้ว่า ถ้อถ้อย หรือ ท้อถ้อย ก็มี.
  75. ท่อน
    หมายถึง น. ส่วนที่ตัดหรือทอนออกเป็นตอน ๆ เช่น ท่อนหัว ท่อนกลาง ท่อนหาง, ตอนหนึ่ง ๆ ของเพลงไทย เช่น ท่อน ๑ ท่อน ๒ ท่อน ๓; ลักษณนามเรียกสิ่งที่ตัดแบ่งหรือทอนออกเป็นท่อน ๆ เช่น ฟืนท่อนหนึ่ง ฟืน ๒ ท่อน เพลง ๓ ท่อน.
  76. ท่อม ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่เดินก้ม ๆ เงย ๆ ไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีจุดหมายที่แน่นอน.
  77. ท่อลม
    หมายถึง น. ทางเดินอากาศหายใจส่วนล่างที่อยู่ระหว่างกล่องเสียงกับหลอดลม. (อ. trachea; windpipe).
  78. ท่อไอเสีย
    หมายถึง น. ท่อที่ต่อจากห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ เพื่อระบายแก๊สและช่วยลดเสียงระเบิดที่เกิดจากการเผาไหม้.
  79. ท่า
    หมายถึง น. ฝั่งนํ้าสำหรับขึ้นลงหรือจอดเรือ, ท่านํ้า ก็เรียก, ที่สำหรับขึ้นลงริมนํ้า เช่น ท่าข้าม; โดยปริยายหมายถึงที่จอดยานพาหนะบางชนิด เช่น ท่าเกวียน ท่าอากาศยาน; เรียกนํ้าในแม่นํ้าลำคลองว่า นํ้าท่า, คู่กับ นํ้าฝน.
  80. ท่า
    หมายถึง น. ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน; การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกำหนดเป็นวิธีไว้ เช่น ท่ามวย ท่ารำ; ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า.
  81. ท่า
    หมายถึง ก. รอคอย เช่น เหตุไฉนรีบมาไม่ท่ากัน. (อิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับ คอย หรือ รอ เป็น คอยท่า รอท่า.
  82. ท่าดีทีเหลว
    หมายถึง (สำ) ว. มีท่าทางดี แต่ทำอะไรไม่ได้เรื่อง.
  83. ท่าทาง
    หมายถึง ว. กิริยาอาการที่ปรากฏให้เห็น เช่น ท่าทางดี ท่าทางไม่ดี, บางทีใช้ว่า ท่า ก็มี.
  84. ท่าที
    หมายถึง น. ความเป็นไปของสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น, ทีท่า ก็ว่า.
  85. ท่าน
    หมายถึง ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำกลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่าลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คำที่ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์หรือตำแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.
  86. ท่านชาย
    หมายถึง น. คำที่ใช้เรียกราชนิกุลฝ่ายชายชั้นหม่อมเจ้า.
  87. ท่านผู้หญิง
    หมายถึง น. เดิมใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของเจ้าพระยาและเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิง, ปัจจุบันใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป, ถ้ายังไม่ได้สมรสเรียกว่า คุณ.
  88. ท่านหญิง
    หมายถึง น. คำที่ใช้เรียกราชนิกุลฝ่ายหญิงชั้นหม่อมเจ้า.
  89. ท่านั้นท่านี้
    หมายถึง (สำ) ว. อย่างนั้นอย่างนี้, โยกโย้, เช่น พูดท่านั้นท่านี้.
  90. ท่ามกลาง
    หมายถึง น. ที่ซึ่งอยู่ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ในท่ามกลางประชาชน. ว. ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ท่ามกลางอันตราย. (ไทยเดิม ท่าม ว่า ที่ เช่น ท่ามเหนือ ท่ามใต้).
  91. ท่าว,ทะท่าว
    หมายถึง (กลอน) ก. ล้ม, ทบ, ซํ้า, ยอบลง; เดิน; ทอดทิ้ง เช่น ท่าวจักทอดธุระ กะว่าฝันเป็นแน่. (นิทราชาคริต).
  92. ท่าวกำลัง
    หมายถึง (กลอน) ก. เดินพล.
  93. ท่าวทบระนับ
    หมายถึง (กลอน) ก. ล้มหกคะเมนทับกัน.
  94. ท่าอากาศยาน
    หมายถึง น. ที่สำหรับเครื่องบินขึ้นลง ประกอบด้วยลานจอดเครื่องบิน ลู่เครื่องบินขึ้นลง โรงเก็บอุปกรณ์การบิน หอบังคับการบิน ที่ทำการของเจ้าหน้าที่ และที่พักผู้โดยสารเข้าออกเป็นต้น, (ปาก) สนามบิน.
  95. ท่าเดียว
    หมายถึง (ปาก) ว. อย่างเดียว, ประการเดียว, ถ่ายเดียว, เช่น จะกินท่าเดียว.
  96. ท่าเรือ
    หมายถึง น. ที่จอดเรือ; (กฎ) สถานที่สำหรับให้บริการแก่เรือในการจอด เทียบบรรทุก หรือขนถ่ายของ.
  97. ท้น
    หมายถึง ก. เอ่อสูงขึ้นจนเปี่ยมพร้อมจะไหลล้นหรือไหลทวนกลับขึ้นไป เช่น นํ้าท้นฝั่ง, อาการที่เนื้อล้นออกมาจนเห็นเป็นรอยนอกเสื้อ เช่น สวมเสื้อคับจนเนื้อท้น.
  98. ท้วง
    หมายถึง ก. พูดเป็นทำนองไม่เห็นด้วย; พยุง, ประคอง, พา, เช่น ท้วงตนหนีไปได้.
  99. ท้วงติง
    หมายถึง ก. ค้านไว้.
  100. ท้วน
    หมายถึง ว. อ้วนแข็งแรง, ใช้พูดประกอบกับคำ อ้วน เป็น อ้วนท้วน.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 10)"