พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ถ (หน้าที่ 4)

  1. ถ่างตา
    หมายถึง ก. พยายามเบิกตาให้กว้าง.
  2. ถ่าน
    หมายถึง น. ไม้ที่เผาแล้วจนสุกมีสีดำ โดยมากสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง.
  3. ถ่าน
    หมายถึง น. ชื่อไม้ยืนต้น. (พจน. ๒๔๙๓).
  4. ถ่านหิน
    หมายถึง น. ถ่านธรรมชาติมีลักษณะแข็งอย่างหิน เกิดจากการแปรสภาพของพืชและต้นไม้ที่ทับถมกันมาเป็นเวลานานมาก.
  5. ถ่านโค้ก
    หมายถึง น. กากที่เหลือหลังจากนำถ่านหินไปกลั่นทำลายแล้ว ประกอบด้วยคาร์บอนประมาณร้อยละ ๘๐-๙๐ ใช้ประโยชน์ในการถลุงแร่ เช่น ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็กเป็นต้น. (อ. coke).
  6. ถ่านไฟฉาย
    หมายถึง น. เซลล์ไฟฟ้าชนิดปฐมภูมิ มีรูปทรงกระบอกขนาดเล็ก ภายในบรรจุผงคาร์บอน แมงกานีสไดออกไซด์ ซิงก์คลอไรด์ แอมโมเนียมคลอไรด์ ซึ่งผสมนํ้าให้มีลักษณะคล้ายแป้งเปียกหุ้มอยู่รอบแท่งคาร์บอนซึ่งเป็นขั้วบวก ภายนอกหุ้มด้วยกระบอกสังกะสีซึ่งเป็นขั้วลบ ตอนปากของกระบอกสังกะสีมีครั่งหุ้มปิดไว้ เหลือแต่หมวกโลหะที่ครอบแท่งคาร์บอนเท่านั้นที่โผล่พ้นพื้นครั่งขึ้นมา ใช้ใส่ในไฟฉาย วิทยุ เป็นต้น.
  7. ถ่านไฟเก่า
    หมายถึง (สำ) น. ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อน แม้เลิกร้างกันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ง่ายขึ้น.
  8. ถ่านไฟแช็ก
    หมายถึง น. โลหะเจือประเภทไพโรฟอริก เช่น โลหะซีเรียมผสมเหล็ก เป็นสารแข็ง ลักษณะเป็นแท่งกลมสั้น เมื่อครูดกับจักรโลหะจะเกิดประกายไฟ.
  9. ถ่าย
    หมายถึง ก. เอาออกจากที่หนึ่งไปใส่อีกที่หนึ่ง เช่น ถ่ายรถ ถ่ายเรือ, เอาสิ่งหนึ่งออกแล้วเอาอีกสิ่งหนึ่งใส่เข้าไปแทนที่ เช่น ถ่ายนํ้า ถ่ายเลือด; รุ เช่น ถ่ายยา. ว. ฝ่าย, ท่า, เช่น ถ่ายเดียว.
  10. ถ่ายทอด
    หมายถึง ก. กระจายเสียงหรือแพร่ภาพรายการที่รับจากสถานีอื่นหรือสถานที่อื่น (ใช้แก่วิทยุและโทรทัศน์), โดยปริยายหมายความว่า นำเรื่องที่รู้ไปเล่าต่อ.
  11. ถ่ายทุกข์
    หมายถึง ก. ขี้, ถ่ายอุจจาระ.
  12. ถ่ายปัสสาวะ
    หมายถึง ก. เยี่ยว.
  13. ถ่ายภาพยนตร์
    หมายถึง ก. บันทึกภาพให้ต่อเนื่องกันบนฟิล์มแถบยาว ๆ เมื่อฉายด้วยเครื่องฉายไปบนจอ จะมองเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้เหมือนจริง, (ปาก) ถ่ายหนัง.
  14. ถ่ายยา
    หมายถึง ก. กินยาถ่าย.
  15. ถ่ายรูป
    หมายถึง ก. บันทึกภาพโดยวิธีให้แสงจากสิ่งที่จะถ่ายไปลงบนแผ่นวัสดุใสเช่นฟิล์ม กระจกถ่ายรูป, ชักรูป ก็ว่า.
  16. ถ่ายสำเนา
    หมายถึง ก. ถ่ายข้อความหรือภาพเป็นต้นจากต้นแบบหรือต้นฉบับด้วยเครื่องถ่ายเอกสาร.
  17. ถ่ายอุจจาระ
    หมายถึง ก. ขี้, ถ่ายทุกข์ ก็ว่า.
  18. ถ่ายเดียว
    หมายถึง ว. ฝ่ายเดียว เช่น เอาแต่ได้ถ่ายเดียว เห็นแต่ประโยชน์ถ่ายเดียว.
  19. ถ่ายเท
    หมายถึง ก. ให้ระบายเข้าออกได้ (มักใช้แก่อากาศหรือนํ้า); ยักย้ายหลีกเลี่ยงด้วยอุบาย, มักใช้ว่า ยักย้ายถ่ายเท.
  20. ถ่ายแบบ
    หมายถึง ก. เอาแบบอย่าง; ถอดแบบ, ถอดลักษณะหรือนิสัยใจคอมา, เช่น ถ่ายแบบพ่อ ถ่ายแบบแม่.
  21. ถ่าว
    หมายถึง (กลอน) ว. รุ่นสาว, รุ่นหนุ่ม, เช่น นงถ่าว, แลเด็กหญิงถ่าวชาววยงก็ดี. (ม. คำหลวง ทศพร).
  22. ถ้วน
    หมายถึง ว. ครบ, เต็มจำนวนที่กำหนดไว้; ไม่มีเศษ เช่น ร้อยบาทถ้วน.
  23. ถ้วนถี่
    หมายถึง ว. ละเอียดลออ, รอบคอบ, โดยปริยายหมายความว่า เหนียวแน่น, ถี่ถ้วน ก็ว่า.
  24. ถ้วย
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ นํ้าตาลปีบ เป็นต้น ใส่ถ้วยนึ่ง.
  25. ถ้วย
    หมายถึง น. ภาชนะก้นลึก มีรูปต่าง ๆ สำหรับใส่น้ำหรือของบริโภคเป็นต้น เช่น ถ้วยนํ้าร้อน ถ้วยนํ้าพริก ถ้วยตะไล โดยมากเป็นเครื่องเคลือบดินเผา ที่ทำด้วยแก้วหรือสิ่งอื่น ๆ ก็มี; ลักษณนามเรียกถ้วยที่ไม่มีอะไรบรรจุว่า ใบ เช่น ถ้วยใบหนึ่ง ถ้วย ๒ ใบ, เรียกถ้วยที่มีสิ่งของบรรจุว่า ถ้วย เช่น แกงถ้วยหนึ่ง แกง ๒ ถ้วย; เรียกสิ่งที่เป็นเครื่องเคลือบดินเผา เช่น กระเบื้องถ้วย ช้อนถ้วย; เรียกสิ่งของหรือสัตว์ที่มีรูปอย่างถ้วย เช่น มะเขือถ้วย แมงดาถ้วย.
  26. ถ้วยตวง
    หมายถึง น. ถ้วยสำหรับตวงสิ่งของ มีขนาดต่าง ๆ บอกปริมาตรในตัวหรือมีขีดบอกปริมาตร.
  27. ถ้วยตะไล
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลปีบ เป็นต้น ใส่ถ้วยตะไลนึ่ง.
  28. ถ้วยฟู
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลทราย ผสมด้วยผงฟู นวดให้เข้ากันแล้วทิ้งไว้จนแป้งขึ้นดี ใส่ถ้วยเล็ก ๆ นึ่ง.
  29. ถ้วยรางวัล
    หมายถึง น. สิ่งที่ทำด้วยโลหะมีรูปร่างคล้ายถ้วย มีเชิง สำหรับให้เป็นรางวัลในการแข่งขันกีฬาเป็นต้น.
  30. ถ้วยโถง
    หมายถึง (โบ; กลอน) ก. จัดกระบวนกลางแปลง, ทวยโถง หรือ ท่วยโถง ก็ใช้.
  31. ถ้อ
    หมายถึง ก. โต้ตอบ เช่น ร้องเพลงถ้อกันไปมา. (พงศ. เลขา), ใช้ ท่อ ก็มี.
  32. ถ้อง
    หมายถึง (กลอน) น. ทาง เช่น พฤกษาในเถื่อนถ้อง. (ม. คำหลวง มหาพน).
  33. ถ้อถ้อย
    หมายถึง (กลอน) น. คำโต้. ก. กล่าวโต้, กล่าวประชัน, บางแห่งใช้ ท่อถ้อย หรือ ท้อถ้อย ก็มี.
  34. ถ้อย
    หมายถึง น. คำพูด, มักใช้ประกอบกับคำอื่น เช่น ถ้อยคำ เจ้าถ้อยหมอความ เป็นถ้อยร้อยความ.
  35. ถ้อยความ
    หมายถึง น. เรื่องราวที่เขียนหรือเรียบเรียง, เรื่องราวที่ฟ้องร้องกัน, มักใช้ในสำนวนว่า เป็นถ้อยเป็นความ.
  36. ถ้อยคำ
    หมายถึง น. คำที่กล่าว.
  37. ถ้อยคำสำนวน
    หมายถึง (กฎ) น. หนังสือใด ๆ ที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น.
  38. ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
    หมายถึง ว. ต่างฝ่ายต่างปฏิบัติดีต่อกันในเรื่องเดียวกันหรือในทำนองเดียวกัน.
  39. ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
    หมายถึง ว. ต่างฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยกัน.
  40. ถ้อยแถลง
    หมายถึง [-ถะแหฺลง] น. คำชี้แจง, คำประกาศ, คำอธิบายเป็นทางการ.
  41. ถ้า
    หมายถึง สัน. คำแสดงความคาดหมาย คาดคะเน หรือข้อแม้, ผิ, แม้, หาก.
  42. ถ้าว่า,ถ้าหากว่า
    หมายถึง สัน. ผิว่า, แม้ว่า, หากว่า.
  43. ถ้ำ
    หมายถึง น. โพรงที่ลึกเข้าไปในภูเขา.
  44. ถ้ำชา
    หมายถึง น. ภาชนะที่โดยมากทำด้วยตะกั่วชนิดหนึ่ง สำหรับใส่ใบชา รูปร่างคล้ายขวด มีฝาปิด เช่น ขมิ้นดินสอพองเอาไว้ไหน เมื่อวานกูใส่ไว้ในถํ้า. (ขุนช้างขุนแผน).
  45. ถ้ำมอง
    หมายถึง น. ตู้หรือหีบที่มีแว่นขยายสำหรับดูภาพยนตร์สั้น ๆ หรือรูปต่าง ๆ ทีละคน. (ปาก) ก. แอบดู.
  46. ถ้ำยาดม
    หมายถึง น. ภาชนะรูปทรงกระบอกขนาดเล็ก มีฝา ชั้นในเจาะเป็นรู มีส้มมือผสมเครื่องยาบรรจุภายใน ใช้ดม.
  47. เถกิง
    หมายถึง [ถะเกิง] ว. สูงศักดิ์, รุ่งเรือง, กึกก้อง, ลั่นลือ, ใช้แผลงเป็น ดำเกิง ก็มี. (ข. เถฺกีง).
  48. เถน
    หมายถึง น. นักบวชที่เป็นอลัชชี. (ป. เถน ว่า ขโมย).
  49. เถย,เถย-
    หมายถึง [เถยยะ-] น. ความเป็นขโมย (มักใช้นำหน้าสมาส). (ป. เถยฺย).
  50. เถยจิต
    หมายถึง น. จิตประกอบด้วยความเป็นขโมย, จิตคิดขโมย. (ป. เถยฺยจิตฺต).
  51. เถยสังวาส
    หมายถึง น. ลักเพศ. (ป. เถยฺยสํวาส).
  52. เถยเจตนา
    หมายถึง น. เจตนาในทางเป็นขโมย, ความตั้งใจจะขโมย. (ป. เถยฺยเจตนา).
  53. เถร,เถร-,เถระ
    หมายถึง [เถน, เถระ-] น. พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกำหนดว่า พระมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป เรียกว่า พระเถระ. (ป.).
  54. เถรตรง
    หมายถึง (สำ) ว. ซื่อหรือตรงจนเกินไป, ไม่มีไหวพริบ, ไม่รู้จักผ่อนผันสั้นยาว, ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา.
  55. เถรภูมิ
    หมายถึง [เถระพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ทางคณะสงฆ์จัดภิกษุเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕ ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ (ชั้นกลาง) มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙ และชั้นสุดคือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป.
  56. เถรวาท
    หมายถึง [เถระวาด] น. ลัทธิที่ถือตามคติซึ่งพระเถระพุทธสาวกได้ทำสังคายนาไว้, หินยาน หรือ ทักษิณนิกาย ก็ว่า. (ป.).
  57. เถรส่องบาตร
    หมายถึง (สำ) น. คนที่ทำอะไรตามเขาทั้ง ๆ ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว.
  58. เถรานุเถระ
    หมายถึง น. พระเถระผู้ใหญ่ผู้น้อย. (ป.).
  59. เถรี
    หมายถึง น. พระเถระผู้หญิง. (ป.).
  60. เถลิก
    หมายถึง [ถะเหฺลิก] ว. เถิก, เลิกขึ้นไป, เช่น ขากางเกงเถลิกขึ้นไป.
  61. เถลิง
    หมายถึง [ถะเหฺลิง] ก. ขึ้น เช่น เถลิงราชย์ เถลิงอำนาจ. ว. ขึ้นหนุ่ม, ขึ้นเปลี่ยว, เช่น วัวเถลิง.
  62. เถลิงศก
    หมายถึง น. วันที่ดวงอาทิตย์โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษได้องศาหนึ่งแล้ว เรียกว่า วันเถลิงศกขึ้นจุลศักราชใหม่ อยู่ต่อจากวันเนา ปรกติตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน, ปัจจุบันหมายถึง วันขึ้นปีใหม่.
  63. เถลือกถลน
    หมายถึง [ถะเหฺลือกถะหฺลน] ว. ลุกลน, ลนลาน, รีบร้อนจนขาดความระมัดระวัง, ถลีถลำ ก็ว่า.
  64. เถลไถล
    หมายถึง [ถะเหฺลถะไหฺล] ว. ไม่ตรงไปตรงมาเที่ยวแวะโน่นแวะนี่.
  65. เถอะ
    หมายถึง ว. คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือชักจูง เช่น เอาเถอะ มาเถอะ กินเถอะ, เถิด ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะ ก็มี.
  66. เถอะน่า
    หมายถึง ว. คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือวิงวอนเป็นต้น เช่น ไปเถอะน่า, เถิดน่า ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะน่า ก็มี.
  67. เถะ,เถะ ๆ
    หมายถึง ว. ไม่มีอะไรปิดบัง (ใช้แก่ร่างกายที่ค่อนข้างอ้วน) เช่น อ้วนเถะ เนื้อเถะ ๆ.
  68. เถา
    หมายถึง น. เครือไม้, ลำต้นของไม้เลื้อย; ภาชนะที่จัดเข้าเป็นชุดเดียวกันอย่างปิ่นโต, ภาชนะหรือสิ่งของในจำพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียงไปตามลำดับอย่างตะลุ่มมุกหรือหม้อ, ลักษณนามเรียกภาชนะที่จัดเข้าเป็นชุดเดียวกัน เช่น ปิ่นโตเถาหนึ่ง ปิ่นโต ๒ เถา หรือเรียกภาชนะหรือสิ่งของในจำพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียงไปตามลำดับ เช่น ตะลุ่มมุกเถาหนึ่ง หม้อ ๒ เถา; เพลงมโหรีปี่พาทย์ซึ่งเป็นเพลงเดียวกัน แต่มีอัตราลดหลั่นกันลงไปเป็นลำดับไม่ตํ่ากว่า ๓ ขั้น และบรรเลงติดต่อกันไปไม่ขาดระยะจนจบ เรียกว่า เพลงเถา เช่น เพลงแขกมอญ เถา เพลงราตรีประดับดาว เถา.
  69. เถาคัน
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในวงศ์ Vitaceae ขอบใบหยัก มีมือเกาะออกตรงข้ามใบ ชนิด Cayratia trifolia (L.) Domin ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ พันธุ์ใบแดงเรียก เถาคันแดง, อีกชนิดหนึ่งคือ Cissus repens Lam. ใบเดี่ยว.
  70. เถาคันเหล็ก
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิดVentilago cristata Pierre ในวงศ์ Rhamnaceae ใบเดี่ยว ผลมีปีก.
  71. เถาดาน
    หมายถึง น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นลำแข็งตั้งขึ้นที่ยอดอกแล้วลามลงไปถึงท้องน้อย ทำให้เจ็บปวด จุกเสียด แน่นหน้าอก.
  72. เถามวก
    หมายถึง ดู มวก.
  73. เถาวัลย์
    หมายถึง น. พรรณไม้ที่เป็นเถา, พรรณไม้เลื้อย. (ป., ส. วลฺลิ, วลฺลี).
  74. เถาวัลย์กรด
    หมายถึง ดู กรด ๓.
  75. เถาวัลย์ปูน
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissus repanda Vahl ในวงศ์ Vitaceae เถามีคราบขาว.
  76. เถาวัลย์ยอดด้วน
    หมายถึง ดู เถาหัวด้วน.
  77. เถาวัลย์เขียว
    หมายถึง ดู ย่านาง ๒.
  78. เถาวัลย์เปรียง
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Derris scandens (Roxb.) Benth. ในวงศ์ Leguminosae เถาใช้ทำยาได้.
  79. เถาวัลย์เหล็ก
    หมายถึง ดู รางแดง.
  80. เถาสิงโต
    หมายถึง ดู กะทกรก (๒).
  81. เถาหัวด้วน
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาไร้ใบ ๒ ชนิดในสกุล Sarcostemma วงศ์ Asclepiadaceae คือ ชนิด S. acidum J. Voigt และชนิด S. brunonianum Wight et Arn. ทั้ง ๒ ชนิดใช้ทำยาได้, เถาวัลย์ยอดด้วน ก็เรียก.
  82. เถาะ
    หมายถึง น. ชื่อปีที่ ๔ ของรอบปีนักษัตร มีกระต่ายเป็นเครื่องหมาย.
  83. เถาเงาะ
    หมายถึง ดู กะทกรก (๒).
  84. เถิก
    หมายถึง ว. เถลิก, ลักษณะของหน้าผากที่ผมถอยร่นสูงขึ้นไปหรือขึ้นอยู่สูงกว่าปรกติ.
  85. เถิง
    หมายถึง ก. ถึง.
  86. เถิด
    หมายถึง ว. คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือชักจูง เช่น เอาเถิด มาเถิด กินเถิด, เถอะ ก็ว่า.
  87. เถิดน่า
    หมายถึง ว. คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือวิงวอนเป็นต้น เช่น ไปเถิดน่า, เถอะน่า ก็ว่า.
  88. เถิดเทิง
    หมายถึง น. กลองยาว.
  89. เถิน
    หมายถึง ว. ตอน, เป็นเนิน, สูง.
  90. เถียง
    หมายถึง ก. พูดโต้, พูดแย้ง, พูดโต้แย้ง; ขัดกัน เช่น เรื่องนี้ความตอนต้นกับตอนปลายเถียงกัน.
  91. เถียง
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. เรือนพักชั่วคราวในทุ่งนา สำหรับอยู่เฝ้าข้าว.
  92. เถียร
    หมายถึง ว. มั่นคง, แข็ง, แข็งแรง. (แผลงมาจาก ถิร).
  93. เถือ
    หมายถึง ก. เชือดเฉือนลงไปอย่างแรงด้วยของมีคม เช่น หนังเหนียวเถือไม่เข้า.
  94. เถือก
    หมายถึง ว. ดาษไป, ทั่วไป, (ใช้แก่สีแดง ในคำว่า แดงเถือก); จ้า, โพลง, พราว, เช่น เถือกถ่อง เถือกทินกร.
  95. เถื่อน
    หมายถึง น. ป่า เช่น เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า. ว. ห่างไกลจากที่อยู่ของคน, ห่างไกลจากความเจริญ, มักใช้ประกอบคำ ป่า เป็น ป่าเถื่อน; ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น เหล้าเถื่อน ฝิ่นเถื่อน ปืนเถื่อน หมอเถื่อน.
  96. เถ่อ
    หมายถึง ว. ค้างอยู่ (ใช้แก่อาการยืนหรือแหงน) เช่น หน้าแหงนเถ่อ ยืนเถ่อ.
  97. เถ้า
    หมายถึง น. สิ่งที่เป็นผงละเอียดของสิ่งที่เหลือจากไฟเผามอดแล้ว, ขี้เถ้า ก็ว่า.
  98. เถ้า
    หมายถึง ว. แก่, มีอายุมาก, โดยมากใช้ เฒ่า.
  99. เถ้ารึง
    หมายถึง น. กองเถ้าที่ไม่มีถ่านไฟ แต่ยังมีความร้อนระอุอยู่, เท่ารึง ก็ใช้.
  100. เถ้าแก่
    หมายถึง น. ตำแหน่งข้าราชการฝ่ายในในพระราชสำนัก; ผู้ใหญ่ที่เป็นประธานในการสู่ขอและการหมั้น; เรียกชายจีนที่เป็นผู้ใหญ่และมีฐานะดี, เรียกชายจีนที่เป็นเจ้าของกิจการ. (จ. เถ่าแก่).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ถ (หน้าที่ 4)"