พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ถ (หน้าที่ 3)

  1. ถึงคราว
    หมายถึง ก. ถึงกำหนดจะเป็น เช่น ถึงคราวมีบุญ ถึงคราวตกอับ, ถ้าใช้ตามลำพัง มักหมายไปในทางไม่ดี เช่น เขาถึงคราวแล้ว.
  2. ถึงฆาต
    หมายถึง ก. ถึงที่ตาย เช่น ชะตาถึงฆาต.
  3. ถึงชีพิตักษัย
    หมายถึง ก. ตาย (ใช้เฉพาะหม่อมเจ้า).
  4. ถึงชีวิตันตราย
    หมายถึง ก. ประสบอันตรายถึงตาย.
  5. ถึงที่
    หมายถึง ก. ถึงคราวตาย.
  6. ถึงผ้า
    หมายถึง ก. มีระดู.
  7. ถึงพริกถึงขิง
    หมายถึง (สำ) ว. เผ็ดร้อนรุนแรง เช่น การโต้วาทีคราวนี้ถึงพริกถึงขิง.
  8. ถึงมรณกรรม
    หมายถึง ก. ตาย (ใช้แก่คนทั่วไปในคำพูดที่สุภาพ), ถึงแก่กรรม หรือ ถึงแก่มรณกรรม ก็ว่า.
  9. ถึงมรณภาพ
    หมายถึง ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิศาสนาอื่น), มรณภาพ ก็ว่า, ใช้เต็มว่า ถึงแก่มรณภาพ.
  10. ถึงลูกถึงคน
    หมายถึง ว. รุนแรง (ใช้แก่การเล่นกีฬาประเภทลูกบอลเช่นฟุตบอล); ติดตามอย่างจริงจังใกล้ชิด เช่น เขาทำงานอย่างถึงลูกถึงคน.
  11. ถึงว่า
    หมายถึง (ปาก) คำกล่าวแสดงความคล้อยตาม เช่น คนหนึ่งพูดด้วยความแปลกใจว่า “ไม่นึกเลยว่าเขาจะเป็นคนเกะกะ” อีกคนหนึ่งก็คล้อยตามว่า “ถึงว่าซี”.
  12. ถึงเงิน
    หมายถึง ว. ให้เงินมากจนเป็นที่พอใจ, เงินถึง ก็ว่า.
  13. ถึงเป็นถึงตาย
    หมายถึง ว. อย่างเอาจริงเอาจังเกินไป, อย่างรุนแรง เช่น ต่อสู้กันอย่างถึงเป็นถึงตาย.
  14. ถึงแก่กรรม
    หมายถึง ก. ตาย (ใช้แก่คนทั่วไปในคำพูดที่สุภาพ), ถึงมรณกรรม หรือ ถึงแก่มรณกรรม ก็ว่า.
  15. ถึงแก่น
    หมายถึง ว. ไม่มีอะไรปิดบัง.
  16. ถึงแก่พิราลัย
    หมายถึง ก. ตาย (ใช้แก่สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าประเทศราช หรือผู้อื่นที่มีฐานันดรเทียบเท่า).
  17. ถึงแก่มรณกรรม
    หมายถึง ก. ตาย (ใช้แก่คนทั่วไปในคำพูดที่สุภาพ), ถึงแก่กรรม หรือ ถึงมรณกรรม ก็ว่า.
  18. ถึงแก่มรณภาพ
    หมายถึง ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิศาสนาอื่น), ที่ใช้สั้น ๆ ว่า ถึงมรณภาพ หรือ มรณภาพ ก็มี.
  19. ถึงแก่อนิจกรรม
    หมายถึง ก. ตาย (ใช้แก่พระยาพานทองหรือเทียบเท่า).
  20. ถึงแก่อสัญกรรม
    หมายถึง ก. ตาย (ใช้แก่เจ้าพระยาหรือเทียบเท่า).
  21. ถึงใจ
    หมายถึง ว. จุใจ, สะใจ, สาแก่ใจ.
  22. ถึงไหนถึงกัน
    หมายถึง ว. จนถึงที่สุด.
  23. ถือ
    หมายถึง ก. เอาไว้ในมือ, จับยึดไว้, เช่น ถือมีด ถือปืน ถือหนังสือ; ทรงไว้, ดำรงไว้; เอาไว้ในใจ เช่น ถือศีล ถือศักดินา; ยึดเอาว่า, นับเอาว่า, เช่น ถือเป็นญาติกัน ถือเราถือเขา ถือพวก ถือโทษ; เชื่อมั่นว่าเป็นมงคลหรืออัปมงคล เช่น ถือไม่ให้ใครจับหัว ถือไม่ลอดใต้ถุน; นับถือ เช่น ถือศาสนา; เช่า ในคำว่า ถือสวน, เช่าถือสวน ก็ว่า.
  24. ถือกำเนิด
    หมายถึง ก. เกิด.
  25. ถือดี
    หมายถึง ก. ทะนงตัว, อวดดี, สำคัญว่ามีดีในตน, (มักเป็นไปในเชิงก้าวร้าวคนอื่นเป็นต้น).
  26. ถือตัว
    หมายถึง ก. ไว้ตัวไม่ยอมลดตัวเพราะหยิ่งในศักดิ์หรือฐานะของตนเป็นต้น.
  27. ถือท้าย
    หมายถึง ก. ทำหน้าที่บังคับเรือให้แล่นไปตามทิศทาง; โดยปริยายหมายความว่า เข้าข้าง เช่น ถือท้ายเด็ก; ควบคุม เช่น ถือท้ายรัฐนาวา.
  28. ถือน้ำ
    หมายถึง ก. ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา.
  29. ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
    หมายถึง ก. ดื่มนํ้าสาบานถวายพระเจ้าแผ่นดิน, เรียกสั้น ๆ ว่า ถือนํ้า ก็มี.
  30. ถือบวช
    หมายถึง ก. ประพฤติพรตตามลัทธิศาสนา.
  31. ถือบังเหียน
    หมายถึง ก. มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามต้องการ.
  32. ถือบ้านถือเมือง
    หมายถึง ก. ครองเมือง.
  33. ถือปูน
    หมายถึง ก. เอาปูนโบกอิฐหรือสิ่งอื่นที่ก่อขึ้น.
  34. ถือผิว
    หมายถึง ก. ถือว่าเป็นคนละเชื้อชาติ (โดยเฉพาะใช้แก่พวกผิวขาวที่มีความรู้สึกรังเกียจพวกผิวดำ).
  35. ถือพล
    หมายถึง ก. คุมกำลังทัพ.
  36. ถือยศ,ถือยศถือศักดิ์
    หมายถึง ก. ไว้ยศ, ปั้นยศ.
  37. ถือวิสาสะ
    หมายถึง ก. ถือว่าสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ถือวิสาสะหยิบหนังสือเพื่อนไปโดยไม่บอก.
  38. ถือว่า
    หมายถึง ก. จัดว่า, นัยว่า, ยอมรับว่า; ถือตัวว่า.
  39. ถือศักดินา
    หมายถึง (โบ) ก. มีศักดิ์โดยถือเอานาเป็นหลักในการกำหนดอำนาจและปรับไหม.
  40. ถือศีล
    หมายถึง ก. รักษาศีล.
  41. ถือสา
    หมายถึง ก. ยึดเอาเป็นเรื่องเป็นราว, ถือเอาเป็นโทษ, (มักใช้ในทางปฏิเสธ) เช่น เรื่องเล็กน้อยไม่ควรถือสา.
  42. ถือสิทธิ์
    หมายถึง ก. อ้างสิทธิ์หรืออำนาจที่มีอยู่, ลุอำนาจ.
  43. ถือหาง
    หมายถึง ก. เข้าทางฝ่ายที่ตนพอใจ. (มาจากภาษาชนไก่ ยึดเอาไก่ตัวใดตัวหนึ่งในการต่อรอง).
  44. ถือเขาถือเรา
    หมายถึง ก. ถือว่าเป็นคนละพวก, แบ่งพรรคแบ่งพวก, ถือเราถือเขา ก็ว่า.
  45. ถือเพศ
    หมายถึง ก. ดำรงสภาพ เช่น ถือเพศเป็นนักบวช.
  46. ถือเราถือเขา
    หมายถึง ก. ถือว่าเป็นคนละพวก, แบ่งพรรคแบ่งพวก, ถือเขาถือเรา ก็ว่า.
  47. ถือโกรธ
    หมายถึง ก. คุมแค้น, ผูกใจโกรธ.
  48. ถือโอกาส
    หมายถึง ก. ฉวยโอกาส.
  49. ถือใจ
    หมายถึง ก. มั่นใจ, สำคัญใจ.
  50. ถุง
    หมายถึง น. เครื่องใช้สำหรับใส่สิ่งของ ทำด้วยผ้าหรือกระดาษเป็นต้น ก้นปิด ปากเปิด บางชนิดที่ปากมีหูรูดหรือหูหิ้ว, เรียกเครื่องใช้สำหรับสวมมือสวมเท้า มีลักษณะยืดหรือหดได้ ว่า ถุงมือ ถุงเท้า, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถุงนํ้าดี ถุงนํ้าครํ่า ถุงนํ้าตา, เรียกผ้านุ่งของผู้หญิงซึ่งใช้ผืนผ้าเย็บริมด้านข้างให้ติดกันว่า ผ้าถุง.
  51. ถุงตะเครียว
    หมายถึง น. ถุงที่ถักด้วยด้ายหรือไหมเป็นต้นเป็นตาโปร่ง มีหูรูด สำหรับหุ้มถลกบาตร (ใช้เฉพาะในพิธีอุปสมบท).
  52. ถุงตะเคียว
    หมายถึง น. ถุงที่ถักด้วยด้ายหรือไหมเป็นต้นเป็นตาโปร่ง มีหูรูด สำหรับหุ้มถลกบาตร (ใช้เฉพาะในพิธีอุปสมบท).
  53. ถุงย่าม
    หมายถึง น. เครื่องใช้สำหรับใส่สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำด้วยผ้า มีหูหรือสายในตัวสำหรับสะพาย, ย่าม ก็ว่า.
  54. ถุงสำเร็จ
    หมายถึง น. กระโปรงผู้หญิงที่ตัดเย็บแบบผ้านุ่งป้าย.
  55. ถุงเค้า
    หมายถึง น. ต้นทุนในการพนัน; ผู้ถือต้นทุนในการพนัน.
  56. ถุน
    หมายถึง (ปาก) ก. กินหรือเสพพอแก้ขัด เช่น ถุนขี้ยา.
  57. ถุย
    หมายถึง ก. ถ่ม เช่น ถุยของในปากออกมา, ถ่มนํ้าลายมีเสียงดังเช่นนั้น; ออกเสียงดังเช่นนั้นแสดงกิริยาดูถูกดูหมิ่น.
  58. ถุล,ถุล-,ถุลละ
    หมายถึง [ถุนละ-] (แบบ) ว. อ้วน, พี; หยาบ. (ป. ถูล, ถุลฺล; ส. สฺถูล).
  59. ถู
    หมายถึง ก. สี เช่น ถูขี้ไคล ถูฟัน ถูเนื้อถูตัว, เช็ดโดยวิธีใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งไถไปไถมาให้สะอาด เช่น ถูบ้าน.
  60. ถูก
    หมายถึง ว. จริง, ชอบ เช่น ถูกใจ, เหมาะสม, ไม่ผิด เช่น คิดถูก ทำถูก; มีราคาตํ่า, ไม่แพง.
  61. ถูก
    หมายถึง ก. โดน, แตะต้อง, สัมผัส, เช่น ถูกเนื้อถูกตัว; เหมาะกัน, เข้ากัน, เช่น ถูกนิสัย; ตรงกันกับ เช่น ถูกกฎหมาย ถูกลอตเตอรี่; เป็นกริยาช่วยแสดงว่าประธานของประโยคเป็นผู้ถูกทำ (มักใช้ในข้อความที่ทำให้ผู้ถูกทำเดือดร้อนหรือไม่พอใจ) เช่น ถูกเฆี่ยน ถูกลงโทษ.
  62. ถูกกระทำ
    หมายถึง ก. ถูกทำให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ โดยวิธีใช้เวทมนตร์เป็นต้น.
  63. ถูกกัน
    หมายถึง ก. เข้ากันได้, ชอบพอกัน.
  64. ถูกขา
    หมายถึง ก. เข้ากันได้, รู้ชั้นเชิงกัน, (มักใช้ในการพนันและการเล่นกีฬา).
  65. ถูกคอ
    หมายถึง ก. ชอบพอ, ถูกอัธยาศัยกัน, มีรสนิยมเข้ากันได้.
  66. ถูกคู่
    หมายถึง ก. เข้าคู่กันได้.
  67. ถูกชะตา
    หมายถึง ก. ถูกใจกันแต่แรกเห็น.
  68. ถูกตา
    หมายถึง ว. งาม, น่าดู, ต้องตา.
  69. ถูกน้อย
    หมายถึง (โบ) ก. ถูกลักษณะอย่างวิ่งน้อย เป็นอาการของม้าวิ่งเรียบ ๆ ช้า ๆ. (อิเหนา).
  70. ถูกปาก
    หมายถึง ว. อร่อย.
  71. ถูกส่วน
    หมายถึง ว. ได้สัดส่วน, สมส่วน.
  72. ถูกอกถูกใจ
    หมายถึง ก. ชอบ, ต้องใจ, ถูกใจ ก็ว่า.
  73. ถูกเส้น
    หมายถึง (ปาก) ว. เข้ากันได้, ชอบพอกัน, ถูกอกถูกใจ.
  74. ถูกโฉลก
    หมายถึง ก. ถูกตามตำรับนับโฉลก, ถูกชะตากัน, เป็นมงคล.
  75. ถูกใจ
    หมายถึง ก. ชอบ, ต้องใจ, ถูกอกถูกใจ ก็ว่า.
  76. ถูกใหญ่
    หมายถึง (โบ) ก. ถูกลักษณะอย่างวิ่งใหญ่ เป็นอาการของม้าวิ่งอย่างเร็ว.
  77. ถูป,ถูป-
    หมายถึง [ถูปะ-] (แบบ) น. เจดีย์ซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา มีกระดูกของบุคคลที่นับถือเป็นต้น. (ป.).
  78. ถูปารหบุคคล
    หมายถึง [-ระหะ-] น. บุคคลที่ควรนำกระดูกบรรจุสถูปไว้บูชา ได้แก่พระพุทธเจ้าเป็นต้น. (ป.).
  79. ถูล,ถูล-
    หมายถึง [ถูละ-] (แบบ) ว. อ้วน, พี; หยาบ. (ป.; ส. สฺถูล).
  80. ถูลู่ถูกัง
    หมายถึง ก. อาการที่ลากดึงหรือฉุดไปให้ได้โดยไม่ปรานีปราศรัย; ถูไถ เช่น ถูลู่ถูกังใช้ไปก่อน.
  81. ถูไถ
    หมายถึง ก. แก้ข้อขัดข้องพอให้ลุล่วงไปได้ เช่น พอถูไถไปได้, ยังใช้ได้ก็ทนใช้ไป เช่น ยังใช้ถูไถไปได้ ใช้ถูไถมานาน.
  82. ถเมิน
    หมายถึง [ถะเมิน] น. พวก, ทหาร, เหล่า, พรานป่า. (เทียบ ข. เถมิร ว่า ผู้เดิน).
  83. ถเมินเชิง
    หมายถึง น. พลเดินเท้า.
  84. ถเมินไพร
    หมายถึง น. พรานป่า.
  85. ถ่ม
    หมายถึง ก. ทำให้นํ้าลายหรือสิ่งอื่น ๆ ออกจากปากโดยแรง.
  86. ถ่มน้ำลายรดฟ้า
    หมายถึง (สำ) ก. ประทุษร้ายต่อสิ่งที่สูงกว่าตน ตัวเองย่อมได้รับผลร้าย.
  87. ถ่มร้าย
    หมายถึง น. รอยบุ๋มที่ตะโพกทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสำหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยักหล่ม เป็น ยักหล่มถ่มร้าย.
  88. ถ่วง
    หมายถึง ก. ทำให้หนัก เช่น ถ่วงนํ้าหนัก, ทำให้ช้า เช่น ถ่วงเวลา ถ่วงความเจริญ, ทำให้จม เช่น ถ่วงนํ้า.
  89. ถ่วงดุล
    หมายถึง ก. ทำให้หนักเท่ากัน เช่น ถ่วงดุลแห่งอำนาจ.
  90. ถ่วงล้อ
    หมายถึง ก. ทำให้จุดศูนย์ถ่วงของล้อเท่ากัน.
  91. ถ่อ
    หมายถึง น. ไม้สำหรับยันแล้วดันให้เรือเดิน มักเป็นไม้ไผ่. ก. ทำให้เรือเดินด้วยใช้ไม้นั้นยันแล้วดันไป, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ไปหรือมาด้วยความลำบาก เช่น ถ่อกายมาถึงนี่.
  92. ถ่อ
    หมายถึง น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง โดยลูกค้าแทงประตูตรงข้ามกันได้ ๒ ประตู คือ หน่วย กับ ๓ หรือ ๒ กับ ครบโปออกประตูใดประตูหนึ่งที่ลูกค้าแทง เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน.
  93. ถ่อง
    หมายถึง (โบ) ว. งาม, อร่าม, แจ่มใส, รุ่งเรือง; ชัด, แน่, แท้, เที่ยง, จะแจ้ง, เช่น เร่งหาผู้รู้รอบ ทุกการ เฉลียวฉลาดโวหาร ถ่องถ้อย. (ลอ).
  94. ถ่องแถว
    หมายถึง น. แนวอันจะจะกันเป็นระเบียบ.
  95. ถ่องแท้
    หมายถึง ว. ชัดเจนแจ่มแจ้ง, ถูกแน่, แน่นอน.
  96. ถ่อม
    หมายถึง ก. ทำให้ตํ่าลง.
  97. ถ่อมตัว
    หมายถึง ก. แสดงฐานะหรือความรู้ความสามารถตํ่ากว่าที่เป็นจริง.
  98. ถ่อมไส้
    หมายถึง (วรรณ) ก. กินอาหารน้อย ๆ เช่น อาหารถือถ่อมไส้ รัดบรัศไว้ด้วยผ้า. (ม. คำหลวง).
  99. ถ่อย
    หมายถึง ว. ชั่ว, เลว, ทราม.
  100. ถ่าง
    หมายถึง ก. แยกปลายออกให้ห่างจากกัน เช่น ถ่างขา, กางออก.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ถ (หน้าที่ 3)"