พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ด (หน้าที่ 5)

  1. ดุดัน
    หมายถึง ว. ดุอย่างไม่ลดละ
  2. ดุน
    หมายถึง ก. รุน, ทำให้เคลื่อนไปเรื่อย ๆ ด้วยแรงดัน; ทำให้ลวดลายบางอย่างนูนขึ้น เช่น ดุนลาย. ว. เรียกลวดลายที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ลายดุน.
  3. ดุบ ๆ
    หมายถึง ว. เต้นตุบ ๆ, กระดุบ ๆ ก็ว่า.
  4. ดุม
    หมายถึง น. ส่วนกลางของล้อเกวียนหรือล้อรถที่มีรูสำหรับสอดเพลา; เครื่องกลัดส่วนต่าง ๆ ของเสื้อผ้าไม่ให้แยกออกจากกัน ทำเป็นรูปต่าง ๆ มักมีรังดุมสำหรับขัดหรือบางทีก็ติดเป็นเครื่องประดับ, กระดุม ลูกกระดุม หรือ ลูกดุม ก็เรียก.
  5. ดุรค,ดุรคะ
    หมายถึง [ดุรก, ดุระคะ] (แบบ) น. ม้า. (ป., ส. ตุรค ว่า สัตว์ไปเร็ว).
  6. ดุรงคี
    หมายถึง น. ม้าตัวเมีย; คนขี่ม้า, ทหารม้า. (ป. ตุรงฺคี; ส. ตุรงฺคินฺ).
  7. ดุรงค์
    หมายถึง น. ม้า เช่น เทียมดุรงค์รวดเรี่ยว. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. ตุรงฺค, ตุรค).
  8. ดุริย,ดุริย-,ดุริยะ
    หมายถึง น. เครื่องดีดสีตีเป่า. (ป. ตุริย).
  9. ดุริยางค,ดุริยางค-,ดุริยางค์
    หมายถึง น. เครื่องดีดสีตีเป่า. (ป. ตุริย + องฺค).
  10. ดุริยางคศาสตร์
    หมายถึง [ดุริยางคะ-] น. วิชาว่าด้วยการบรรเลงเครื่องดุริยางค์.
  11. ดุริยางคศิลป์
    หมายถึง [ดุริยางคะ-] น. ศิลปะของการบรรเลงเครื่องดุริยางค์.
  12. ดุริยางค์จำเรียง
    หมายถึง น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  13. ดุร้าย
    หมายถึง ว. เหี้ยมโหด.
  14. ดุล,ดุล-
    หมายถึง [ดุน, ดุนละ-] น. ตราชู, คันชั่ง, มาตราชั่งนํ้าหนักโบราณ เช่น ทองคำหนัก ๒๐ ชั่ง เรียกว่า ดุลหนึ่ง; ความเท่ากัน, ความเสมอกัน, เช่น รายรับรายจ่ายเท่ากัน เรียกว่า งบประมาณสู่ดุล; ชื่อกลุ่มดาวรูปคันชั่ง เรียกว่า ราศีดุล เป็นราศีที่ ๖ ในจักรราศี, ราศีตุล ก็ว่า. ว. เท่ากัน, เสมอกัน, ทัดเทียมกัน. (ป., ส.).
  15. ดุลการค้า
    หมายถึง [ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างมูลค่าของสินค้าที่ส่งออกนอกประเทศกับสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศ, ถ้ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออกสูงกว่ามูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศ เรียกว่า ดุลการค้าได้เปรียบ, ถ้ามูลค่าของสินค้าที่นำเข้าสูงกว่ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออก เรียกว่า ดุลการค้าเสียเปรียบ.
  16. ดุลการชำระเงิน
    หมายถึง [ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศกับปริมาณเงินที่นำเข้ามาในประเทศ, ถ้าปริมาณเงินที่นำเข้ามาในประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศ เรียกว่า ดุลการชำระเงินเกินดุล, ถ้าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่นำเข้าในประเทศ เรียกว่า ดุลการชำระเงินขาดดุล.
  17. ดุลชำระหนี้
    หมายถึง [ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศกับปริมาณเงินที่นำเข้ามาในประเทศ.
  18. ดุลพินิจ
    หมายถึง [ดุนละ-] น. การวินิจฉัยที่เห็นสมควร, ดุลยพินิจ ก็ใช้.
  19. ดุลภาค
    หมายถึง [ดุนละ-] น. ภาวะที่เสมอกัน.
  20. ดุลย,ดุลย-
    หมายถึง [ดุนละยะ-, ดุนยะ-] ว. เท่ากัน, เสมอกัน, ทัดเทียมกัน. (ป., ส.).
  21. ดุลยพินิจ
    หมายถึง น. การวินิจฉัยที่เห็นสมควร, ดุลพินิจ ก็ใช้.
  22. ดุลยภาพ
    หมายถึง น. ความเท่ากัน, ความเสมอกัน.
  23. ดุลอำนาจ
    หมายถึง [ดุน-] น. การถ่วงอำนาจระหว่างประเทศให้มีพลังทางเศรษฐกิจหรือทางทหารทัดเทียมกัน.
  24. ดุษฎี
    หมายถึง [ดุดสะดี] น. ความยินดี, ความชื่นชม. (ส.).
  25. ดุษฎีนิพนธ์
    หมายถึง น. วิทยานิพนธ์ชั้นปริญญาเอก.
  26. ดุษฎีบัณฑิต
    หมายถึง น. ปริญญาเอก; ผู้ได้รับปริญญาเอก.
  27. ดุษฎีมาลา
    หมายถึง น. ชื่อเหรียญที่พระราชทานเฉพาะแก่ผู้ได้ใช้ศิลปวิทยาให้เป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองถึงขนาด ทั้งอาจได้รับพระราชทานเงินพิเศษประจำเดือนไปตลอดชีวิต เดิมกำหนดให้มีเข็มพระราชทานประกอบกับเหรียญรวม ๕ ชนิด คือ เข็มราชการในพระองค์ เข็มราชการแผ่นดิน เข็มศิลปวิทยา เข็มความกรุณา และเข็มกล้าหาญ ต่อมาคงเหลือแต่เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เพียงอย่างเดียว.
  28. ดุษฎีสังเวย
    หมายถึง น. บทร้อยกรองที่แต่งเป็นฉันท์สำหรับกล่อมช้าง.
  29. ดุษณี,ดุษณีภาพ
    หมายถึง [ดุดสะนี-] น. อาการนิ่งซึ่งแสดงถึงการยอมรับ. (ส. ตุษฺณีมฺ; ป. ตุณฺหี).
  30. ดุษิต,ดุสิต
    หมายถึง น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๔ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสันดุสิตเป็นผู้ครอง. (ส. ตุษิต; ป. ตุสิต).
  31. ดุเดือด
    หมายถึง ว. ร้ายแรง, รุนแรง.
  32. ดุเหว่า
    หมายถึง [-เหฺว่า] น. ชื่อนกชนิด Eudynamys scolopacea ในวงศ์ Cuculidae ตัวเล็กกว่ากาเล็กน้อย ตาแดง หางยาว ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายและจุดสีขาวพาดตลอดตัว วางไข่ให้นกชนิดอื่นฟัก มักหากินตามลำพัง กินแมลงและผลไม้, กาเหว่า ก็เรียก.
  33. ดุ่ม,ดุ่ม ๆ
    หมายถึง ว. อาการก้มหน้าก้มตาเดินไปเรื่อย ๆ โดยไม่ดูอะไรหรือแวะเวียน.
  34. ดุ่ย
    หมายถึง ว. เรื่อย ๆ ไปโดยไม่มีจุดหมาย.
  35. ดุ้ง
    หมายถึง ว. โค้งหรือนูนหรือแอ่นจากแนวหรือระดับ เช่น พื้นกระดานดุ้ง.
  36. ดุ้งดิ้ง
    หมายถึง ว. กระตุ้งกระติ้ง, ตุ้งติ้ง ก็ว่า.
  37. ดุ้น
    หมายถึง น. ท่อน เช่น กลืนเข้าไปทั้งดุ้น, ท่อนไม้ขนาดเล็ก เช่น ดุ้นฟืน, ลักษณนามเรียกท่อนไม้ขนาดเล็กว่า ดุ้น เช่น ฟืนดุ้นหนึ่ง ฟืน ๒ ดุ้น.
  38. ดู
    หมายถึง ก. ใช้สายตาเพื่อให้เห็น เช่น ดูภาพ ดูละคร, ระวังรักษา เช่น ดูบ้านให้ด้วย ไม่มีคนดูเด็ก, พินิจพิจารณา เช่น ดูให้ดี, ศึกษาเล่าเรียน เช่น ดูหนังสือ, เห็นจะ เช่น ดูจะเกินไปละ, ทำนาย เช่น ดูโชคชะตาราศี, ใช้ประกอบกริยา เพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์แจ้ง เช่น คิดดูให้ดี ลองกินดู.
  39. ดูกค่าง
    หมายถึง ดู กระดูกค่าง.
  40. ดูกร,ดูก่อน,ดูรา
    หมายถึง คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วยให้สนใจฟัง.
  41. ดูกไก่ดำ
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Prismatomeris malayana Ridl. ในวงศ์ Rubiaceae สูงได้ถึง ๓ เมตร ใบรี ออกตรงข้ามกัน ปลายและโคนใบแหลม ดอกสีขาว กลิ่นหอม.
  42. ดูชา
    หมายถึง ก. ดูแคลน, ดูถูก, เช่น ตูจะให้สูทั้งหลายฆ่า ว่าผู้ดูชาดูแคลน แหนความเราจงมิด. (ลอ.)
  43. ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่
    หมายถึง (สำ) ก. ให้รู้จักพิจารณาลักษณะบุคคลหรือผู้หญิงที่จะเลือกเป็นคู่ครอง, ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ก็ว่า.
  44. ดูด
    หมายถึง ก. สูบด้วยปาก เช่น ดูดนม, สูบด้วยกำลัง เช่น นํ้าดูด ไฟฟ้าดูด.
  45. ดูดดึง
    หมายถึง ก. เหนี่ยวเข้ามาด้วยกำลังอย่างหนึ่งเช่นแม่เหล็ก.
  46. ดูดดื่ม
    หมายถึง ก. ซาบซึ้ง.
  47. ดูดอมดูดาย
    หมายถึง ก. ละทิ้ง เช่น บมิควรดูดอมดูดาย. (สมุทรโฆษ).
  48. ดูดาย
    หมายถึง ก. เพิกเฉย, ไม่เอาใจใส่.
  49. ดูดำ
    หมายถึง (โบ) ก. ดูหมิ่น เช่น เปนม่ายชายดูดำ กุมเกษ กำแก้ผม ผลักล้มจมดินทราย แสร้งอวยอายอยดยศ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
  50. ดูดำดูดี
    หมายถึง ก. เอาใจใส่ดูแลทั้งในเวลามีทุกข์และมีสุข เช่น จะหวังอะไรให้เขามาดูดำดูดีกับคนอย่างเรา, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เขาไม่ดูดำดูดีเด็กคนนี้เลย.
  51. ดูดู๋,ดูหรู
    หมายถึง (กลอน) อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแค้นใจ.
  52. ดูตาม้าตาเรือ
    หมายถึง (สำ) ก. พิจารณาให้รอบคอบ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ดูตาม้าตาเรือ.
  53. ดูรึ
    หมายถึง อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ.
  54. ดูร้าย
    หมายถึง น. ตาร้าย. (ดู ตาร้าย).
  55. ดูหมิ่น
    หมายถึง (กฎ) ก. ดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น.
  56. ดูหมิ่น,ดูหมิ่น,ดูหมิ่นถิ่นแคลน
    หมายถึง ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย หรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, หมิ่น ก็ว่า.
  57. ดูหรือ
    หมายถึง อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ เช่น ดูหรือมาเป็นไปได้.
  58. ดูเถอะ,ดูเถิด
    หมายถึง คำบอกกล่าวให้รับรู้ไว้.
  59. ดูเบา
    หมายถึง ก. เห็นเป็นการเล็กน้อย, เห็นไม่เป็นสำคัญ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าดูเบา.
  60. ดูเหมือน
    หมายถึง ว. เข้าใจว่า, คะเนว่า, เห็นจะ.
  61. ดูแคลน,ดูถูก,ดูถูกดูแคลน
    หมายถึง ก. แสดงอาการเป็นเชิงดูหมิ่นหรือเหยียดหยามเขา.
  62. ดูแล
    หมายถึง ก. เอาใจใส่, ปกปักรักษา, ปกครอง.
  63. ดูใจ
    หมายถึง ก. ลองดูนํ้าใจ; ดูหน้าไว้อาลัยขณะจะสิ้นใจ.
  64. ดูไปก่อน
    หมายถึง ก. รอไว้ก่อน.
  65. ด่วน
    หมายถึง ว. รีบเร่ง, รวดเร็ว.
  66. ด่อง ๆ,ด้อง ๆ
    หมายถึง ว. หย่อง ๆ.
  67. ด่อน
    หมายถึง ว. เผือก, ขาว, ด่างขาว, เช่น ควายด่อน.
  68. ด่อน
    หมายถึง น. เครื่องมือสำหรับแทงช้างเมื่อเวลาขี่ รูปเป็นเดือยแหลม ทำด้วยเหล็ก.
  69. ด่อน
    หมายถึง น. ที่ปัก, ที่สวม, เช่น ด่อนตะไล.
  70. ด่อม
    หมายถึง ว. ดุ่ม เช่น สู่ซุ้มไพรเดียวด่อม. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
  71. ด่า
    หมายถึง ก. ใช้ถ้อยคำว่าคนอื่นด้วยคำหยาบช้าเลวทราม.
  72. ด่าง
    หมายถึง ว. เป็นดวงหรือเป็นจุดขาว ๆ ผิดกับสีพื้น เช่น วัวด่าง มือด่าง, มีสีจางกว่าสีเดิมเป็นแห่ง ๆ เช่น ผ้าด่าง.
  73. ด่าง
    หมายถึง น. นํ้าขี้เถ้าที่เกรอะหรือแช่ไว้ มีรสกร่อย ๆ สำหรับทำยาและกัดสิ่งของ; (วิทยา) สารประกอบจำพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะแอลคาไล ซึ่งละลายนํ้าได้ดี มีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่.
  74. ด่างทับทิม
    หมายถึง น. ของสิ่งหนึ่งเป็นเกล็ด สีม่วงแก่ เมื่อละลายนํ้าจะออกเป็นสีทับทิม; (วิทยา) เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อโพแทสเซียมเพอร์แมงกาเนต มีสูตร KMnO4 เป็นของแข็ง ลักษณะเป็นผลึกสีม่วงแก่ ใช้ประโยชน์เป็นสารฆ่าเชื้อโรค ใช้ทำยาดับกลิ่น.
  75. ด่างพร้อย
    หมายถึง ว. เป็นดวง ๆ จุด ๆ ทั่วไป, โดยปริยายหมายความว่า มีมลทิน, มัวหมอง, ไม่บริสุทธิ์, เช่น มีศีลด่างพร้อย.
  76. ด่าทอ
    หมายถึง ก. ด่า, ด่าตอบกัน.
  77. ด่าน
    หมายถึง น. ทางผ่าน เช่น ด่านช้าง, ทางผ่านพรมแดนระหว่างประเทศ เช่น ด่านเจดีย์สามองค์ ด่านสิงขร; ที่สำหรับกัก ตรวจ คอยระวังเหตุ และป้องกันช่องทางที่จะผ่านเข้าออก เช่น ด่านตรวจคนเข้าเมือง ด่านศุลกากร ด่านกักสัตว์.
  78. ด่าว
    หมายถึง (กลอน) ว. อาการดิ้นอย่างดิ้นแด่ว ๆ ดิ้นยัน ๆ, เด่า หรือ เด่า ๆ ก็ว่า.
  79. ด่ำ
    หมายถึง ก. ลึกลงไปจนถึงก้นบึ้ง.
  80. ด้ง
    หมายถึง (ถิ่น) น. กระด้ง.
  81. ด้น
    หมายถึง ก. เย็บเป็นฝีเข็มขึ้นทีลงที, ด้นปล่อย ก็เรียก; กิริยาที่หนอนชอนไชในผลไม้เป็นต้น; มุ่งหน้าเดาไป, มุ่งหน้าฝ่าไป, ด้นดั้น ก็ว่า. น. เรียกกลอนชนิดหนึ่งที่ว่าดะไปไม่คำนึงถึงหลักสัมผัสว่า กลอนด้น; (ปาก) เรียกตัวจี๊ดว่า หนอนด้น.
  82. ด้นดั้น
    หมายถึง ก. มุ่งหน้าเดาไป, มุ่งหน้าฝ่าไป, ด้น ก็ว่า.
  83. ด้นถอยหลัง
    หมายถึง ก. เย็บผ้าวิธีหนึ่ง คล้ายวิธีด้น แต่เมื่อจะแทงลงต้องย้อนมาแทงข้างต้นอีกฝีเข็มหนึ่งเหมือนฝีจักร.
  84. ด้นปล่อย
    หมายถึง ก. เย็บเป็นฝีเข็มขึ้นทีลงที, ด้น ก็เรียก.
  85. ด้วง
    หมายถึง น. ชื่อแมลงในอันดับ Coleoptera มีปีก ๒ คู่ ลำตัวและปีกคู่หน้าแข็ง เมื่อพับปีกขอบปีกจะจดกันที่กึ่งกลางสันหลัง ปีกคู่หลังบางเมื่อพับจะซ้อนเข้าไปเก็บใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน อกปล้องแรกใหญ่และเห็นได้ชัดเจน แมลงพวกนี้มีมากชนิดกว่าแมลงอื่น ๆ.
  86. ด้วง
    หมายถึง น. ชื่อซอชนิดหนึ่ง มีกระบอกมักทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีลักษณะคล้ายด้วงดักสัตว์ ใช้หนังหรือกระดาษหลาย ๆ ชั้นปิดด้านหนึ่ง มีสาย ๒ สาย ขนาดค่อนข้างเล็กเพื่อให้มีเสียงสูงในเวลาสี.
  87. ด้วง
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นตัวเล็ก ๆ คล้ายตัวด้วง กินกับงาคั่วผสมนํ้าตาล เหยาะเกลือนิดหน่อย และมะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น.
  88. ด้วง
    หมายถึง น. ชื่อเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ทำด้วยกระบอกไม้ยาวประมาณ ๕-๖ เซนติเมตร มีคันยาวประมาณ ๑ เมตร มีสายห่วงติดกับกระบอกไม้ไผ่ส่วนล่าง โยงไปผูกติดกับปลายคัน มีไม้คํ้าอันหนึ่งเพื่อให้คันโก่ง กับไม้ลิ้นพาดปากกระบอกอีกอันหนึ่งทำหน้าที่เสมือนไก สำหรับดักแย้เป็นต้น.
  89. ด้วงโสน
    หมายถึง น. ชื่อหนอนของแมลงชนิด Azygophleps scalaria และ Zeuzera coffeae ในวงศ์ Cossidae เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อที่เจาะกินเข้าไปในต้นโสน ตัวยาว ๔-๖ เซนติเมตร สีขาวหรือชมพูอ่อน ชาวชนบทจับมาทำเป็นอาหารรับประทาน, โสน ก็เรียก.
  90. ด้วน
    หมายถึง ก. กุด, ขาด, สั้นเข้า. ว. เรียกสิ่งที่มีรูปยาว ๆ ที่ตอนปลายขาดหายไป เช่น แขนด้วน ขาด้วน ตาลยอดด้วน, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลองด้วน แม่นํ้าด้วน.
  91. ด้วมเดี้ยม
    หมายถึง ว. กระด้วมกระเดี้ยม, ต้วม ๆ เตี้ยม ๆ, ค่อย ๆ ไป, ไม่คล่องแคล่ว.
  92. ด้วย
    หมายถึง ว. คำแสดงกริยารวมหรือเพิ่ม เช่น สวยด้วยดีด้วย, แสดงกริยาร่วมกันหรือในทำนองเดียวกัน เช่น กินด้วย, แสดงความขอร้อง เช่น ช่วยด้วย บอกด้วย. บ. คำนำหน้านามเพื่อให้รู้ว่านามนั้นเป็นเครื่องใช้หรือเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องกระทำ เช่น ฟันด้วยมีด; ตาม เช่น ทำด้วยอารมณ์. สัน. เพราะ, เหตุ, เช่น ด้วยปรากฏว่า.
  93. ด้วยว่า
    หมายถึง สัน. เพราะว่า.
  94. ด้อง
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) ว. ผอม.
  95. ด้อง
    หมายถึง น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Parasilurus cochinchinensis ในวงศ์ Siluridae มีหนวดยาว ไม่มีเกล็ด ลักษณะคล้ายปลาเนื้ออ่อนพวกที่มีครีบหลัง เว้นแต่มีครีบก้นต่อเนื่องกับครีบหางที่มีขอบกลม ครีบอกมีก้านแข็งคล้ายเงี่ยง.
  96. ด้อม
    หมายถึง ก. อาการเดินที่มีลักษณะก้ม ๆ เงย ๆ.
  97. ด้อย
    หมายถึง ก. ตํ่ากว่าโดยคุณสมบัติ รูปสมบัติ หรือตำแหน่งหน้าที่ เป็นต้น, อาการที่ท้ายเรือหรือท้ายรถตํ่าลง เรียกว่า ท้ายด้อย, ลักษณะที่ส่วนท้ายของสัตว์มีช้างเป็นต้นลาดตํ่าลง.
  98. ด้าง
    หมายถึง (โบ) น. ดั้ง เช่น แหลนไป่ติดด้าง. (ม. คำหลวง ชูชก).
  99. ด้าน
    หมายถึง ว. กระด้าง, ไม่นิ่ม, เช่น มือด้าน ข้อศอกด้าน; ไม่เป็นมัน, ไม่เป็นเงา, เช่น สีด้าน กระดาษด้าน; จุดไม่ติดหรือไม่ระเบิด เช่น ประทัดด้าน ชนวนด้าน ลูกระเบิดด้าน; โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้สึกเจ็บ, ไม่รู้สึกอาย, เช่น หน้าด้าน.
  100. ด้าน
    หมายถึง น. ฝ่าย, ข้าง, ทาง, ส่วน, เช่น ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านวิชาการ ด้านศิลปกรรม ด้านวิทยาศาสตร์.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ด (หน้าที่ 5)"