พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ช (หน้าที่ 5)

  1. ชายชาตรี
    หมายถึง น. ผู้มีศิลปะหรือฝีไม้ลายมือในการต่อสู้.
  2. ชายตา
    หมายถึง ก. ชำเลือง, ดูทางหางตา.
  3. ชายทะเล
    หมายถึง (ภูมิ) น. เขตระหว่างแนวนํ้าทะเลลงตํ่าสุดกับแนวน้ำทะเลขึ้นสูงสุด.
  4. ชายธง
    หมายถึง น. ชื่องูทะเลมีพิษในวงศ์ Hydrophiidae ตลอดตัวมักมีลายคล้ายธงราวสีจาง ๆ หางแบนเป็นพาย พบในเขตพื้นท้องทะเลทั้งที่เป็นทรายและที่เป็นโคลน มีหลายชนิดและหลายสกุล เช่น ชายธงนวล (Aipysurus eydouxii) ชายธงท้องบาง (Praescutata viperina).
  5. ชายธง
    หมายถึง น. รูปที่มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมมุมฉากหรือสามเหลี่ยมหน้าจั่ว; ชื่อมีดพกที่มีรูปเช่นนั้น; ที่ดินซึ่งมีรูปเช่นนั้น.
  6. ชายผ้าสีดา
    หมายถึง น. ชื่อเฟินอิงอาศัยหลายชนิดในสกุล Platycerium วงศ์ Polypodiaceae เหง้าใหญ่สั้น ใบมี ๒ แบบ ใบที่ทาบกับต้นไม้เป็นใบไม่สร้างอับสปอร์ แผ่นใบตั้ง ไม่มีก้านใบ ติดอยู่กับต้นตลอดไป ส่วนใบสร้างอับสปอร์แผ่นใบตั้งขึ้นหรือห้อยลง ขอบหยักเว้า ใบจะร่วงไปตามอายุ.
  7. ชายฝั่ง
    หมายถึง (ภูมิ) น. แถบแผ่นดินนับจากแนวชายทะเลขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด.
  8. ชายพก
    หมายถึง น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ แล้วดึงชายข้างใดข้างหนึ่งให้มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เหน็บไว้ที่เอว ใส่เงินหรือหมากเป็นต้นได้.
  9. ชายสามโบสถ์
    หมายถึง (สำ) น. ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง ๓ หน, ใช้พูดเป็นเชิงตำหนิว่า เป็นคนที่ไม่น่าคบ.
  10. ชายา
    หมายถึง (แบบ) น. เมีย. (ป., ส.), บางแห่งใช้หมายความว่า ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เสียงพูดเป็น ฉายา ฉัยยา ไฉยา หรือ สายา ก็มี.
  11. ชายา
    หมายถึง (ราชา) น. หม่อมเจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์, ถ้าพระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์ เรียกว่า พระชายา.
  12. ชายาชีพ
    หมายถึง (โบ) น. นักเต้นรำ. (ส.).
  13. ชายานุชีพ
    หมายถึง (โบ) น. ผัวประจำของหญิงงามเมือง. (ส. ชายานุชีวินฺ).
  14. ชายเฟือย
    หมายถึง น. ริมนํ้าที่มีหญ้ารก ๆ หรือมีไม้นํ้าปกคลุม; ที่ที่สะดวก, ที่ที่ง่าย, เช่น หากินตามชายเฟือย.
  15. ชายแครง
    หมายถึง น. ผ้าห้อยทับหน้าขาทั้ง ๒ ข้าง (เครื่องแต่งกาย).
  16. ชายโสด
    หมายถึง น. ชายที่ยังไม่ได้แต่งงาน.
  17. ชายไหว
    หมายถึง น. ผ้าห้อยหน้าอยู่ระหว่างชายแครง.
  18. ชาระ
    หมายถึง (แบบ) น. ชายชู้, ชายที่รัก. (ป., ส.).
  19. ชารี
    หมายถึง (แบบ) น. หญิงชู้, หญิงที่รัก. (ป., ส.).
  20. ชาล,ชาล-
    หมายถึง [ชาน, ชาละ-] (แบบ) น. ตาข่าย, ร่างแห; ใยแมงมุม. (ป., ส.).
  21. ชาลกรรม
    หมายถึง น. การจับปลา. (ส.).
  22. ชาลา
    หมายถึง น. ความรุ่งเรือง, เปลวไฟ, โคมไฟ, แสงสว่าง. (ส. ชฺวาลา).
  23. ชาลา
    หมายถึง น. ชานเรือน, พื้นภายนอกเรือน.
  24. ชาลินี
    หมายถึง (แบบ) น. สิ่งที่มีข่าย; ตัณหา. (ป., ส.).
  25. ชาว
    หมายถึง น. กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน เช่น ชาวไทย ชาวจีน หรืออยู่ในถิ่นฐานเดียวกัน เช่น ชาวเมือง ชาวชนบท หรือมีอาชีพอย่างเดียวกัน เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวประมง หรือนับถือศาสนาร่วมกัน เช่น ชาวพุทธ ชาวคริสต์.
  26. ชาวนอก
    หมายถึง (โบ) น. เรียกไทยทางปักษ์ใต้.
  27. ชาวน้ำ
    หมายถึง น. ชื่อชนชาติเดิมพวกหนึ่ง อยู่ทางทะเลด้านตะวันตกของแหลมมลายู, ฉลาง หรือ ชาวเล ก็เรียก.
  28. ชาวม่าน
    หมายถึง น. เรียกเจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่ไขพระวิสูตรในงานพระราชพิธีต่าง ๆ.
  29. ชาววัง
    หมายถึง น. พวกผู้หญิงที่อยู่ในวัง.
  30. ชาวี
    หมายถึง น. ชาวชวามลายู เช่น มสุชวาชาวี. (สมุทรโฆษ).
  31. ชาวเล
    หมายถึง น. ชาวนํ้า.
  32. ชาเยนทร์,ชาเยศ
    หมายถึง (กลอน) น. เมีย. (ส.).
  33. ชาเย็น
    หมายถึง ว. แสดงอาการเฉยเมยไม่สนใจใยดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาแสดงอาการชาเย็น, เย็นชา ก็ว่า.
  34. ชำ
    หมายถึง ก. เอากิ่งไม้ที่ตัดหรือตอนมาปักไว้ที่ที่ดินแฉะ ๆ หรือแช่นํ้าไว้ชั่วคราว เพื่อให้รากงอก.
  35. ชำ
    หมายถึง น. ชื่อร้านหรือเรือขายของแห้งต่าง ๆ ที่เป็นอาหารเป็นต้น เรียกว่า ร้านชำ หรือ เรือชำ.
  36. ชำงัด
    หมายถึง ว. ชะงัด, แม่นยำ, ขลัง, แน่, ได้จริง.
  37. ชำงาย
    หมายถึง ว. ชาย, สาย, บ่าย, (ใช้แก่เวลา).
  38. ชำงาย
    หมายถึง ก. ฉงน, สนเท่ห์, แคลงใจ, เช่น และเย็นตระชักสิชำงาย. (สมุทรโฆษ).
  39. ชำงือ
    หมายถึง (โบ) ก. คิดเป็นทุกข์, วิตก, ป่วย, เป็นไข้, เป็นโรค, เช่น ตาชุ่มชื่นชำงือใจ. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). (ข. ชํงื ว่า ความไข้, ออกจาก; ฌื ว่า เจ็บ, ไข้).
  40. ชำนน
    หมายถึง ก. ชนกัน, โดนกัน. (แผลงมาจาก ชน).
  41. ชำนรร
    หมายถึง ก. เหยียบ. (ข.).
  42. ชำนะ
    หมายถึง ก. ชนะ, ทำให้เขาพ่ายแพ้. (แผลงมาจาก ชนะ).
  43. ชำนัญ
    หมายถึง ก. รู้.
  44. ชำนัญพิเศษ
    หมายถึง น. เรียกนักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะว่า ผู้ชำนัญพิเศษ; เรียกองค์การต่าง ๆ ในสังกัดองค์การสหประชาชาติว่า ทบวงการชำนัญพิเศษ.
  45. ชำนัน
    หมายถึง ก. เหยียบ. (ข. ชัน ว่า เหยียบ; ชาน่, ชํนาน่ ว่า คราว, สมัย).
  46. ชำนาญ
    หมายถึง ก. เชี่ยวชาญ, จัดเจน.
  47. ชำนาญเกลากลอน
    หมายถึง น. ชื่อโคลงโบราณแบบหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ทำนองหนึ่ง. (ดึกดำบรรพ์).
  48. ชำนิ
    หมายถึง ก. รู้ชัดเจน, เชี่ยวชาญ, คล่องแคล่ว.
  49. ชำนิ
    หมายถึง ก. ขี่ เช่น ชำนิโคคำแหงแรง; พาหนะ เช่น ควรชำนิพระองค์. (สมุทรโฆษ).
  50. ชำนิชำนาญ
    หมายถึง ก. เชี่ยวชาญมาก, สันทัดจัดเจน.
  51. ชำมะนาด
    หมายถึง น. ชมนาด.
  52. ชำมะเลียง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Lepisanthes fruticosa Leenh. ในวงศ์ Sapindaceae ใบยาว ผลสุกสีม่วงดำ กินได้ รสหวานปนฝาด, พุมเรียง ก็เรียก.
  53. ชำระ
    หมายถึง ก. ชะล้างให้สะอาด เช่น ชำระร่างกาย; สะสาง, ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น, เช่น ชำระพระไตรปิฎก ชำระพจนานุกรม; พิจารณาตัดสิน เช่น ชำระความ; ใช้ในคำว่า ชำระหนี้.
  54. ชำระคดี
    หมายถึง (กฎ) ก. พิจารณาตัดสินคดี.
  55. ชำรุด
    หมายถึง ก. เสื่อมจากสภาพเดิมจนถึงบกพร่องเสียหายหรือบุบสลายไป เช่น หนังสือชำรุด เกวียนชำรุด.
  56. ชำร่วย
    หมายถึง น. ของตอบแทนผู้มาช่วยงานเช่นงานแต่งงานและงานศพ เรียกว่า ของชำร่วย.
  57. ชำลา
    หมายถึง ว. ที่ผึ่งแดดยังไม่แห้งสนิท (ใช้แก่ปลา). (ต. ชมฺร ออกเสียงว่า เจมเรียะ ว่า เหี่ยว, ความเหี่ยว).
  58. ชำเนียน
    หมายถึง ก. เจียน, สลัก, เช่น ชำเนียนชรเนียรเอมอร. (สมุทรโฆษ). ว. ฉลุเฉลา, เกลี้ยงเกลา.
  59. ชำเนียร
    หมายถึง ว. แก่ครํ่าคร่า, ชำรุด. (แผลงมาจาก เชียร).
  60. ชำเนียร
    หมายถึง ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว, เช่น ชำเนียรในศิลป์. (สรรพสิทธิ์).
  61. ชำเรา
    หมายถึง (กฎ) ก. ร่วมประเวณี, กระทำการร่วมเพศ.
  62. ชำเรา
    หมายถึง ก. ลึก, ลับ, เช่น หน้าตาชำเรา. (สุบิน). (ข.).
  63. ชำเราะ
    หมายถึง น. ซอก, หลืบ, เช่น ชำเราะชระลองดอมไพร. (สมุทรโฆษ). ก. เซาะ.
  64. ชำเลือง
    หมายถึง ก. ชายตาดู, ดูทางหางตา.
  65. ชำแรก
    หมายถึง ก. แทรก, แหวก, แทรกลงไป, เจือปน.
  66. ชำแระ
    หมายถึง น. ที่แฉะ, ที่เลน, เช่น ชายชำแระข้างในตรงร่องนํ้า. (เชมสบรุก).
  67. ชำแหละ
    หมายถึง [-แหฺละ] ก. แล่เป็นแผ่น ๆ, เฉือนเป็นชิ้น ๆ, เชือด. (แผลงมาจาก แฉละ).
  68. ชิ,ชิชะ,ชิชิ
    หมายถึง อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น.
  69. ชิง
    หมายถึง ก. แข่ง, แข่งขัน, เช่น ชิงรางวัล ชิงทุน, แย่ง เช่น ชิงอำนาจ.
  70. ชิง
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นกะพ้อ. (ดู กะพ้อ ๒).
  71. ชิงคม
    หมายถึง ก. รีบซ้อนกลทำร้ายเสียก่อน เช่น ชะอ้ายแก้วชิงคมเอากูได้. (ขุนช้างขุนแผน).
  72. ชิงชัง
    หมายถึง ก. เกลียดชัง, เกลียดมาก.
  73. ชิงชัน
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia oliveri Gamble ในวงศ์ Leguminosae เนื้อไม้แข็ง แก่นสีแดงเข้มถึงสีม่วงแก่, ประดู่ชิงชัน ก็เรียก.
  74. ชิงชัย
    หมายถึง ก. รบกัน.
  75. ชิงชี่
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Capparis micracantha DC. ในวงศ์ Capparidaceae สูง ๒-๔ เมตร มีหนามเล็กสั้น ๆ ขนาบโคนก้านใบข้างละอัน ดอกขาว โคนกลีบดอกสีเหลือง ใกล้โรยกลายเป็นสีม่วงแก่ ออกเป็นตับตามลำกิ่งเหนือง่ามใบตับละ ๒-๗ ดอก ผลกลม ๆ หรือรูปไข่ เมื่อสุกสีแดง ก้านผลยาว, กระโรกใหญ่ หรือ แส้ม้าทะลาย ก็เรียก.
  76. ชิงช่วง
    หมายถึง ก. แย่ง. น. การเล่นชนิดหนึ่ง เอาลูกไม้หรือของที่ลอยทิ้งลงในนํ้าแล้วแย่งชิงกัน.
  77. ชิงช้า
    หมายถึง น. ที่นั่งผูกด้วยเชือกเป็นต้น ๒ ข้าง แขวนตามกิ่งไม้หรือที่สูง สำหรับนั่งหรือยืนไกวไปมา.
  78. ชิงช้าชาลี
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาชนิด Tinospora baenzigeri Forman ในวงศ์ Menispermaceae คล้ายบอระเพ็ด แต่เถาค่อนข้างเกลี้ยง ใช้ทำยาได้.
  79. ชิงช้าสวรรค์
    หมายถึง น. อุปกรณ์เพื่อความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง มักมีตามสวนสนุกและในงานเทศกาลต่าง ๆ ประกอบด้วยล้อโลหะขนาดใหญ่คู่ขนานกัน หมุนด้วยแรงกลในแนวตั้งรอบแกนที่ติดอยู่กับที่ มีที่นั่งในกระเช้าโลหะซึ่งห้อยติดอยู่เป็นช่วงระหว่างโครงของล้อทั้ง ๒, กระเช้าสวรรค์ ก็ว่า.
  80. ชิงดวง
    หมายถึง น. ชื่อลายชนิดหนึ่งเป็นลายแย่งดอกกัน หรือเป็นดอกเกี่ยวกัน, แก้วชิงดวง ก็เรียก.
  81. ชิงดีชิงเด่น
    หมายถึง ก. แย่งกันเอาหน้าหรือเอาดีเอาเด่น, ขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของผู้อื่น เพื่อให้ตนดีเด่นแต่ผู้เดียว.
  82. ชิงทรัพย์
    หมายถึง (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (๑) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป (๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น (๓) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ (๔) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ (๕) ให้พ้นจากการจับกุม.
  83. ชิงพลบ
    หมายถึง [-พฺลบ] ว. จวนคํ่า, โพล้เพล้.
  84. ชิงสุกก่อนห่าม
    หมายถึง (สำ) ก. ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา (มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน), ใช้เป็นคำสอนหรือเตือนสติว่า อย่าชิงสุกก่อนห่าม.
  85. ชิงฮื้อ
    หมายถึง น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีหนวด ชนิด Mylopharyngodon aethiops ในวงศ์ Cyprinidae ปากอยู่ปลายสุดของหัว ลำตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาเฉาฮื้อ เว้นแต่มีแผงฟันในบริเวณลำคอเพียงแถวเดียว ที่สำคัญคือ ทั่วลำตัวและครีบสีออกดำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.
  86. ชิงเกิล
    หมายถึง น. ชื่อทรงผมผู้หญิงที่ซอยผมด้านหลังไล่ระดับกันลงมาถึงต้นคอ เรียกว่า ผมชิงเกิล. (อ. shingle).
  87. ชิงเชิง
    หมายถึง น. ชื่อเศษด้ายที่ตัดออกจากผ้าซึ่งติดอยู่ที่ฟืม. ก. แย่งชั้นเชิงกัน, คอยเอาทีกัน.
  88. ชิงเปรต
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. แย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า “เปรต” ในงานทำบุญวันสารท เมื่อเสร็จพิธีเซ่นแล้ว ถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นมงคล. น. เรียกงานพิธีทำบุญวันสารทว่า พิธีชิงเปรต.
  89. ชิงไหวชิงพริบ
    หมายถึง ก. ฉวยโอกาสโดยใช้ไหวพริบ, คอยจ้องดูชั้นเชิงของอีกฝ่ายหนึ่ง.
  90. ชิณณะ
    หมายถึง ว. แก่, เก่า, ครํ่าคร่า. (ป.).
  91. ชิด
    หมายถึง น. ชื่อเนื้อในลูกไม้ชนิดหนึ่งได้จากต้นตาว (Arenga pinnata) มีเนื้อคล้ายลูกจาก เรียกว่า ลูกชิด. (ดู ตาว ๒, ต๋าว ประกอบ).
  92. ชิด
    หมายถึง ก. ใกล้จวนติดหรือใกล้จนติดกัน เช่น นั่งชิดกัน ชิดเข้าไปอีกหน่อย.
  93. ชิต,ชิต-
    หมายถึง [ชิด, ชิตะ-] ก. ชนะแล้ว. (ป., ส.).
  94. ชิตินทรีย์
    หมายถึง [ชิตินซี] (แบบ) น. ผู้มีอินทรีย์อันชนะแล้ว, ผู้สำรวมอินทรีย์. (ป., ส. ชิตนฺทฺริย).
  95. ชิน
    หมายถึง ก. บุอย่างบุทองแดง.
  96. ชิน
    หมายถึง น. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย มีศาสดาชื่อมหาวีระ, เชน หรือ ไชนะ ก็ว่า. (ส.).
  97. ชิน
    หมายถึง ก. เคยมาแล้วบ่อย ๆ, คุ้นหรือเจน.
  98. ชิน
    หมายถึง น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก นิยมใช้ทำพระเครื่อง; (โบ) ชิน หรือ ชินธาตุ หมายถึง ดีบุก. (ปรัดเล).
  99. ชิน,ชิน-,ชิน-
    หมายถึง [ชินะ-, ชินนะ-] น. ผู้ชนะ, พระพุทธเจ้า, ใช้ประกอบกับคำอื่นเป็น ชินวร ชิเนนทร์ หมายความว่า พระพุทธเจ้า. (ป., ส.).
  100. ชินชา
    หมายถึง ว. เคยบ่อย ๆ จนเลิกเอาใจใส่.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ช (หน้าที่ 5)"