พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ฉ (หน้าที่ 2)

  1. ฉัตร
    หมายถึง [ฉัด] น. ไม้เล็ก ๆ ซึ่งจัดไว้ที่วงฆ้องระหว่างลูกฆ้อง.
  2. ฉัตร,ฉัตร,ฉัตร-
    หมายถึง [ฉัด, ฉัดตฺระ-] น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่า ชั้นล่างลดหลั่นกันไปโดยลำดับ สำหรับแขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ. (ส. ฉตฺร; ป. ฉตฺต ว่า ร่ม); ส่วนที่ต่อจากปุ่มฆ้องเป็นฐานแผ่ออกไปแล้วงองุ้มลงมาเป็นขอบโดยรอบอย่างฉัตร; ชื่อดาวฤกษ์อารทรา.
  3. ฉัตรบรรณ
    หมายถึง [ฉัดตฺระบัน] น. ต้นสัตบรรณ.
  4. ฉัตรมงคล
    หมายถึง [ฉัดตฺระ-] น. พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก.
  5. ฉัตรสามชั้น
    หมายถึง [ฉัด-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า หวนสวาทโหยถวิลโหยสวาทหวน ครวญคะนึงคะเนนึกคะนึงครวญ ใจเศร้าโศกแสนกำสรวลโศกเศร้าใจ.
  6. ฉัททันต์
    หมายถึง (แบบ) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูลเรียกว่า ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ดู กาฬาวก); ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. (ป.).
  7. ฉัน
    หมายถึง ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  8. ฉัน
    หมายถึง ว. มีแสงกล้า, มีแสงพุ่งออกไป, เช่น พระสุริฉัน.
  9. ฉัน
    หมายถึง ก. กิน (ใช้แก่ภิกษุสามเณร).
  10. ฉัน
    หมายถึง ว. เสมอเหมือน, เช่น, อย่าง, เช่น ฉันญาติ.
  11. ฉันท-,ฉันท-,ฉันท์,ฉันท์
    หมายถึง [ฉันทะ-] น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคำ ครุ ลหุ เป็นแบบต่าง ๆ. (ป.).
  12. ฉันท-,ฉันท-,ฉันท์,ฉันท์,ฉันทะ
    หมายถึง น. ความพอใจ, ความรักใคร่, ความชอบใจ, ความยินดี; ความร่วมความคิดความเห็นกัน เช่น ลงมติเป็นเอกฉันท์, ความไว้เนื้อเชื่อใจ เช่น มอบฉันทะ. (ป.).
  13. ฉันทลักษณ์
    หมายถึง [ฉันทะลัก] น. ลักษณะแบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยลักษณะของคำประพันธ์.
  14. ฉันทวิลาส
    หมายถึง [ฉันทะวิลาด] น. ชื่อเพลงทำนองหนึ่ง. (ดึกดำบรรพ์).
  15. ฉันทศาสตร์
    หมายถึง [ฉันทะสาด] น. ตำราว่าด้วยการแต่งฉันท์ทั้งที่เป็นมาตราพฤติและวรรณพฤติ เป็นศิลปศาสตร์อย่างหนึ่งในศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ. (ส.).
  16. ฉันทา
    หมายถึง (กลอน) ก. ลำเอียงเพราะรักใคร่ชอบใจ เช่น พระแก่วันชันษากว่าข้านี้ นึกว่าพี่น้องกันไม่ฉันทา. (อภัย).
  17. ฉันทาคติ
    หมายถึง น. ความลำเอียงเพราะความรักใคร่ชอบใจ เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. ฉนฺท + อคติ).
  18. ฉันทานุมัติ
    หมายถึง [ฉันทานุมัด] น. ความเห็นชอบตามโดยความพอใจ, การได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ. (ป. ฉนฺท + อนุมติ).
  19. ฉันนั้น
    หมายถึง ส. อย่างนั้น, เช่นนั้น, (เป็นคำรับใช้เข้าคู่กับคำ ฉันใด).
  20. ฉันวุติ
    หมายถึง [ฉันนะวุดติ] ว. เก้าสิบหก เช่น เป็นที่หมายฉันวุติโรค. (สิบสองเดือน). (ป. ฉนฺนวุติ).
  21. ฉันสวย
    หมายถึง คำพูดเรียกความมั่นใจ พูดคำนี้แล้ว ออร่าพุ่งออกจากตัวทันที
  22. ฉันใด
    หมายถึง ว. อย่างไร, อย่างใด, เช่นใด. ส. อย่างใด, เช่นใด, (เป็นคำที่ใช้เข้าคู่กับคำ ฉันนั้น ซึ่งเป็นคำรับ).
  23. ฉับ,ฉับ ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่พูดหรือฟันเป็นต้นอย่างเร็ว เช่น ฟันฉับ พูดฉับ ๆ; เสียงดังเช่นนั้น.
  24. ฉับฉ่ำ
    หมายถึง (กลอน) ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำที่ตำนาน อนิรุทธกินรี. (บุณโณวาท).
  25. ฉับพลัน
    หมายถึง ว. ทันทีทันใด, ทันทีทันควัน.
  26. ฉับไว
    หมายถึง ว. รวดเร็ว.
  27. ฉัพพรรณรังสี
    หมายถึง [ฉับพันนะ-] (แบบ) น. รัศมี ๖ ประการ คือ ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕. มัญเชฐ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่ ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก. (ปฐมสมโพธิ). (ป. ฉพฺพณฺณรํสี).
  28. ฉัยยา
    หมายถึง (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง). (ดู ชายา ๒).
  29. ฉาก
    หมายถึง (ปาก) ก. หลบ, เลี่ยง, เช่น ฉากหนี.
  30. ฉาก
    หมายถึง น. เครื่องบังหรือเครื่องกั้น มีหลายชนิด ใช้ตั้ง แขวน หรือพับได้, เครื่องประกอบเวทีละครเพื่อให้ดูสมจริงตามเนื้อเรื่อง เช่น ฉากป่า ฉากเมือง; เครื่องสำหรับวัดมุมซึ่งมี ๙๐ องศา, มุมซึ่งกางได้ ๙๐ องศา เรียกว่า มุมฉาก, ลักษณนามเรียกตอนย่อยของละครในองก์หนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่งของละครที่เปิดม่านหน้าเวทีครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ละคร ๓ ฉาก.
  31. ฉากญี่ปุ่น
    หมายถึง น. เครื่องบังตาที่ประกอบด้วยแผ่นพับหลายแผ่น.
  32. ฉากตั้ง
    หมายถึง น. ฉากละครที่ทำเป็นรูปต่าง ๆ แล้วนำมาตั้งไว้, ฉากแข็ง ก็เรียก.
  33. ฉากทิ้ง
    หมายถึง น. ฉากลิเกละครเป็นต้นเขียนเป็นภาพต่าง ๆ แขวนทิ้งไว้กับที่ อาจชักรอกขึ้นลงได้, ฉากอ่อน ก็เรียก.
  34. ฉากน้อย,ฉากใหญ่
    หมายถึง น. ท่าละครชนิดหนึ่ง.
  35. ฉากบังเพลิง
    หมายถึง น. ฉากพับได้ที่ติดไว้กับเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน ใช้สำหรับกั้นบังในเวลาเผาศพชั้นโกศเท่านั้น, ถ้าเป็นเมรุธรรมดาและเป็นศพข้าราชการ ใช้ลายเถาไม้, ถ้าเป็นพระศพพระราชวงศ์ ใช้ฉากรูปเทวดา.
  36. ฉากอ่อน
    หมายถึง น. ฉากทิ้ง.
  37. ฉากแข็ง
    หมายถึง น. ฉากตั้ง.
  38. ฉาง
    หมายถึง น. สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่สำหรับเก็บข้าวหรือเกลือเป็นต้น.
  39. ฉาด
    หมายถึง ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงดังเมื่อตบหน้าโดยแรงเป็นต้น.
  40. ฉาดฉาน
    หมายถึง ว. อาการที่พูดห้าวหาญและชัดถ้อยชัดคำ, ฉะฉาน ก็ใช้.
  41. ฉาตกภัย
    หมายถึง [ฉาตะกะไพ] น. ภัยที่เกิดจากความแห้งแล้ง, ภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง. (ป. ฉาต, ฉาตก, ว่า หิว, อิดโรยเพราะการอดอาหาร).
  42. ฉาทนะ
    หมายถึง [ฉาทะนะ] น. เครื่องปิดคลุม, เครื่องกำบัง, หนัง, การซ่อน, การบัง, เช่น ท้าวก็แรงสุกลพัสตรฉาทน อนนขาวตระดาษดุจสังข์ โสดแล. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
  43. ฉาน
    หมายถึง น. ชื่อรัฐหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ติดต่อกับทางภาคเหนือของประเทศไทย, ไทยใหญ่ ก็เรียก.
  44. ฉาน
    หมายถึง น. ข้างหน้า เช่น ธงฉาน; ลาน เช่น ตัดหน้าฉาน.
  45. ฉาน
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ส. ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  46. ฉาน
    หมายถึง ก. แตก, กระจาย, ซ่าน, เช่น แตกฉานซ่านเซ็น. ว. มีแสงกล้า, มีแสงพุ่งออกไป, สว่าง, กระจ่างแจ้ง, จ้า, เช่น แสงฉาน ปัญญาแตกฉาน; ฉาด เช่น ขวิดควิ้วอยู่ฉาน ๆ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  47. ฉาน
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  48. ฉาบ
    หมายถึง น. เครื่องตีประกอบจังหวะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะรูปร่างเป็นแผ่นกลมคล้ายจาน แต่มีปุ่มนูนขึ้นตรงกลาง เจาะรูตรงกลางปุ่มไว้ร้อยเชือกหรือเส้นหนังสำหรับถือตี.
  49. ฉาบ
    หมายถึง ก. ทา เกลือก หรือเคลือบแต่ผิว ๆ เช่น ฉาบปูน ฉาบกล้วย.
  50. ฉาบฉวย
    หมายถึง ว. ชั่วครั้งชั่วคราว, ขอไปที, ไม่จริงจัง, เช่น ทำอย่างฉาบฉวย.
  51. ฉาบหน้า
    หมายถึง (ปาก) ก. เสแสร้งเพื่อให้เข้าใจว่ามีสถานะดีกว่าที่เป็นจริง.
  52. ฉาปะ
    หมายถึง (แบบ) น. ลูกสัตว์, แผลงเป็น จาปะ ก็มี. (ป.; ส. ศาว).
  53. ฉาย
    หมายถึง ก. เกลี่ยให้เสมอ, กระจายให้เสมอ, เช่น ฉายดิน.
  54. ฉาย
    หมายถึง น. เงา, ที่ร่ม; ราชาศัพท์เรียกกระจกส่องหน้าว่า พระฉาย. (ป., ส. ฉายา).
  55. ฉาย
    หมายถึง ก. ส่องแสงออกไป; (ปาก) กรายให้เห็น เช่น หล่อนฉายไปฉายมาทั้งวัน.
  56. ฉายซ้ำ
    หมายถึง (ปาก) ก. กระทำซ้ำ ๆ เช่น เขามักฉายซ้ำเรื่องเก่า ๆ.
  57. ฉายหนัง
    หมายถึง (ปาก) ก. ฉายแสงผ่านฟิล์มภาพยนตร์ให้ปรากฏภาพเคลื่อนไหวบนจอ.
  58. ฉายา
    หมายถึง (กลอน; ปาก) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น ฉายามิใคร่จะจากไป. (มโนห์รา).
  59. ฉายา
    หมายถึง น. เงา, ร่มไม้. (ป.); ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท, ชื่อตั้งให้กันเล่น ๆ หรือตามลักษณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ. (ป., ส.).
  60. ฉายาลักษณ์
    หมายถึง (ราชา) น. รูปถ่าย.
  61. ฉายเฉิด
    หมายถึง ว. งาม, สดใส.
  62. ฉาว
    หมายถึง ว. อื้ออึง, เอิกเกริก, เกรียวกราว.
  63. ฉาวโฉ่
    หมายถึง ว. อื้ออึง, เกรียวกราวขึ้น, รู้กันทั่วไป, (ใช้แก่ข่าวที่ไม่ดีไม่งาม), โฉ่ฉาว ก็ว่า.
  64. ฉำฉา
    หมายถึง น. ชื่อเรียกไม้เนื้ออ่อน โดยมากเป็นพวกไม้สนที่ใช้ทำหีบบรรจุของมาจากต่างประเทศ.
  65. ฉำฉา
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นก้ามปู. (ดู ก้ามปู).
  66. ฉำเฉง
    หมายถึง น. มูลฝิ่นครั้งที่ ๓. (จ. ซำเฉง).
  67. ฉำแฉะ
    หมายถึง ว. เฉอะแฉะ; อืดอาดล่าช้า.
  68. ฉิน
    หมายถึง ก. ติ, ติเตียน, เช่น สามสิ่งนี้โหดให้ โทษแท้คนฉิน. (โลกนิติ), มักใช้เข้าคู่กับคำ ติ เป็น ติฉิน.
  69. ฉิน
    หมายถึง (กลอน) ว. ฉัน, เช่น, คล้าย, เหมือน, เช่น ทิพฉายฉวงฉินฉัตร ใบชรอัดอรชร. (ม. คำหลวง วนประเวสน์).
  70. ฉิน
    หมายถึง ว. ฉัน, มีแสงกล้า, มีแสงที่พุ่งออกไป; งาม, มักใช้เข้าคู่กับคำ โฉม เป็น ฉินโฉม หรือ โฉมฉิน เช่น ฉินโฉมเฉกช่างวาด. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
  71. ฉินท,ฉินท-,ฉินท์
    หมายถึง [ฉินทะ-] (แบบ) ก. ตัด, ขาด, ทำลาย. (ป., ส.).
  72. ฉินทฤกษ์
    หมายถึง [ฉินทะเริก] น. ฤกษ์ตัดจุก.
  73. ฉิบ
    หมายถึง ว. อาการที่หายไปหรือจากไปเร็วเกินคาด.
  74. ฉิบหาย
    หมายถึง ก. สูญหมด, เสียหมด, หมดเร็ว, ป่นปี้, โดยปริยายใช้เป็นคำด่า คำแช่ง หมายความเช่นนั้น. (ปาก) ว. มาก เช่น เก่งฉิบหาย.
  75. ฉิมพลี
    หมายถึง [ฉิมพะลี] น. ไม้งิ้ว. (ป. สิมฺพลิ; ส. ศาลฺมลิ).
  76. ฉิว
    หมายถึง ว. เร็วเรื่อยไปไม่ขาดสาย เช่น ลมพัดฉิว, เร็วไม่มีติดขัด เช่น แล่นฉิว เดินฉิว; คล่อง, สะดวก. ก. รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที.
  77. ฉิ่ง
    หมายถึง น. เครื่องตีกำหนดจังหวะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะหล่อหนา รูปร่างกลมคล้ายถ้วย เจาะรูตรงกลางไว้ร้อยเชือกให้เป็นคู่กันสำหรับถือตีบอกจังหวะเข้ากับดนตรี; ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง.
  78. ฉิ่ง
    หมายถึง ว. เก, เฉ, ไม่ตรง, (ใช้แก่แขนขา) เช่น ขาฉิ่ง แขนฉิ่ง.
  79. ฉิ่งตรัง
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ดึกดำบรรพ์).
  80. ฉีก
    หมายถึง ก. ขาดแยกออกจากกันหรือทำให้ขาดหรือแยกออกจากกัน เช่น ผ้าฉีก ฉีกผ้า ฉีกทุเรียน, โดยปริยายหมายความว่า แยกสิ่งที่เป็นคู่หรือเป็นสำรับออกจากกัน เช่น ฉีกตองไพ่.
  81. ฉีกคำ
    หมายถึง ก. แยกพยางค์ของคำให้อยู่คนละวรรคหรือคนละบรรทัด มักใช้ในคำประพันธ์.
  82. ฉีกหน้า
    หมายถึง ก. ทำให้ได้รับความอับอาย.
  83. ฉีกแนว
    หมายถึง ก. แหวกแนว.
  84. ฉีด
    หมายถึง ก. ใช้กำลังอัดหรือดันให้ของเหลวอย่างนํ้าพุ่งออกจากช่องเล็ก ๆ.
  85. ฉีดยา
    หมายถึง ก. เอายาฉีดเข้าไปในร่างกายทางใต้ผิวหนัง ทางกล้ามเนื้อ หรือทางเส้นเลือด.
  86. ฉี่
    หมายถึง (ปาก) ก. ถ่ายปัสสาวะ. น. ปัสสาวะ. ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงของที่ทอดนํ้ามัน; อย่างยิ่ง เช่น เงียบฉี่ ร้อนฉี่.
  87. ฉุ
    หมายถึง ว. มีเนื้อไม่แน่น, ใช้แก่ อ้วน หรือ บวม เป็น อ้วนฉุ บวมฉุ.
  88. ฉุก
    หมายถึง ก. อาการที่เกิดขึ้นโดยพลัน, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น ฉุกคิด ฉุกใจ.
  89. ฉุกคิด
    หมายถึง ก. คิดขึ้นมาทันที, คิดได้ในขณะนั้น, บังเอิญคิดได้.
  90. ฉุกละหุก
    หมายถึง ก. สับสนวุ่นวายเพราะมีเรื่องเกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วนโดยไม่คาดฝัน.
  91. ฉุกเฉิน
    หมายถึง ว. ที่เป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วนและจะต้องรีบแก้ไขโดยฉับพลัน เช่น เหตุฉุกเฉิน, ที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร เช่น ภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ฉุกเฉิน.
  92. ฉุกใจ
    หมายถึง ก. สะดุดใจ.
  93. ฉุด
    หมายถึง ก. ออกแรงลากหรือคร่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป หรือรั้งสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้น หรือดึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้.
  94. ฉุน
    หมายถึง ว. แรง, กล้า, (ใช้แก่กลิ่นและรส) เช่น บุหรี่ฉุน เหล้าฉุน. ก. รู้สึกชักโกรธขึ้นมาทันที. (ข. ฉุรฺ).
  95. ฉุนเฉียว
    หมายถึง ว. ฉุนจัด, โกรธง่าย, โกรธเร็ว, เฉียวฉุน ก็ว่า.
  96. ฉุบ
    หมายถึง ว. อาการที่แทงเข้าไปโดยเร็ว เช่น เขาใช้เหล็กแหลมแทงฉุบเข้าไป.
  97. ฉุป,ฉุป-
    หมายถึง [ฉุบ, ฉุปะ-] น. การรบกัน, สงคราม, การสัมผัสถูกต้อง; เถาวัลย์; ลม. (ส., ป.).
  98. ฉุปศาสตร์
    หมายถึง [ฉุปะสาด] น. วิชาว่าด้วยการสงคราม. (ส.).
  99. ฉุย
    หมายถึง ว. อาการที่กลิ่นโชยมากระทบจมูก; อาการของควันที่พลุ่งขึ้นมาเรื่อย ๆ เช่น ควันฉุย; คล่องแคล่ว เช่น เดินฉุย.
  100. ฉุยฉาย
    หมายถึง น. ชื่อเพลงร้องและท่ารำแบบหนึ่ง. ว. กรีดกราย.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ฉ (หน้าที่ 2)"