พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ง (หน้าที่ 3)

  1. เงินปลีก
    หมายถึง น. เงินจำนวนย่อยที่แตกออกมาจากเงินจำนวนใหญ่หน่วยใดหน่วยหนึ่งของเงินตรา.
  2. เงินปันผล
    หมายถึง น. ส่วนแบ่งเงินกำไรที่กำหนดจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น.
  3. เงินปากถุง
    หมายถึง น. เงินที่ผู้ให้กู้เรียกเก็บจากผู้กู้ก่อนที่จะจ่ายเงินจำนวนที่ตกลงให้กู้.
  4. เงินปากผี
    หมายถึง น. เงินที่ใส่ไว้ในปากคนตายตามประเพณี.
  5. เงินปี
    หมายถึง (กฎ) น. เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง, โบราณเรียก เบี้ยหวัด หรือ เบี้ยหวัดเงินปี.
  6. เงินผ่อน
    หมายถึง น. เงินที่ชำระให้แก่เจ้าหนี้เป็นงวด ๆ.
  7. เงินฝืด
    หมายถึง (เศรษฐ) น. ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลง ทำให้ราคาสินค้าตก.
  8. เงินมุ่น
    หมายถึง น. เงินแท่งชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นเงินเนื้อดี.
  9. เงินยวง
    หมายถึง น. เนื้อเงินบริสุทธิ์ที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็นมันปลาบ. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้าว่า สีเงินยวง.
  10. เงินรายปี
    หมายถึง น. จำนวนเงินที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายให้แก่ผู้รับเงินรายปีตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบเงินรายปี ซึ่งผู้รับประกันภัยสัญญาว่า ตราบใดที่ผู้เอาประกันชีวิตยังทรงชีพอยู่ บริษัทจะจ่ายเงินให้ตลอดไปจนกว่าจะเสียชีวิต หรือจะจ่ายให้ชั่วระยะเวลาหนึ่งตามที่ตกลงไว้ เงินรายปีนี้อาจจะจ่ายเป็นงวด รายปี รายครึ่งปี หรือรายเดือนก็ได้ จำนวนเงินที่จ่ายอาจจะคงที่ เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงก็ได้. (อ. annuity).
  11. เงินร้อน
    หมายถึง น. เงินที่ได้จากการทุจริตหรือไม่บริสุทธิ์; เงินที่หมุนเวียนเร็ว.
  12. เงินสด
    หมายถึง น. ตัวเงินที่มีอยู่ซึ่งใช้ได้ทันที, เงินที่ชำระให้ทันทีเมื่อซื้อหรือขายกัน.
  13. เงินสเตอร์ลิง
    หมายถึง น. โลหะเจือซึ่งประเทศอังกฤษเคยใช้ทำเงินตรา มีองค์ประกอบเป็นโลหะเงินร้อยละ ๙๒.๕ ทองแดงร้อยละ ๗.๒ ตะกั่วร้อยละ ๐.๒ และทองคำร้อยละ ๐.๑. (อ. sterling silver).
  14. เงินหมุน
    หมายถึง น. เงินที่ใช้หมุนเวียนเรื่อยไปหลายครั้งโดยไม่เก็บไว้คงที่.
  15. เงินหลวง
    หมายถึง (ปาก) น. เงินที่เป็นของแผ่นดินหรือรัฐ.
  16. เงินเชื่อ
    หมายถึง น. เงินค่าสิ่งของที่ยอมให้ชำระภายหลังเมื่อซื้อขาย, เงินแห้ง ก็เรียก.
  17. เงินเดือน
    หมายถึง น. เงินค่าตอบแทนการทำงานที่กำหนดให้เป็นรายเดือน; (กฎ) เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน.
  18. เงินเฟ้อ
    หมายถึง (เศรษฐ) น. ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมากเกินไป ทำให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า.
  19. เงินเยอรมัน
    หมายถึง น. โลหะเจือซึ่งมีองค์ประกอบโดยประมาณเป็นทองแดง ๕ ส่วน สังกะสี ๒ ส่วน และนิกเกิล ๒ ส่วน. (อ. German silver).
  20. เงินแดง
    หมายถึง (โบ) น. เงินปลอม แต่เดิมใช้เงินหุ้มทองแดงไว้ข้างใน ต่อมาหมายถึงเงินปลอมที่มีทองแดงผสมปนมากเกินส่วน, โดยปริยายหมายถึงคนที่ใช้งานใช้การไม่ได้.
  21. เงินแป
    หมายถึง (โบ) น. เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย มีเงินแปราคาสองสลึง แปสลึง แปเฟื้อง. (ประชุม ร. ๔).
  22. เงินแล่ง
    หมายถึง น. เงินที่เอามาแล่งเป็นเส้นบาง ๆ ใช้สำหรับปักหรือทอผ้า.
  23. เงินแห้ง
    หมายถึง (ปาก) น. เงินเชื่อ.
  24. เงินได้กำบัง
    หมายถึง (เศรษฐ) น. รายรับในดุลการชำระเงินระหว่างประเทศอันเกิดจากค่าบริการต่าง ๆ การใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยว ค่าประกันภัย เป็นต้น.
  25. เงียบ
    หมายถึง ว. ไม่มีเสียง เช่น นั่งเงียบ, ไม่มีเสียงอื้ออึง เช่น บ้านนี้เงียบ, สงบ, ปราศจากเสียงรบกวนหรือการก่อกวน, เช่น เหตุการณ์เงียบลงแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า ไม่กระโตกกระตาก เช่น เก็บเรื่องเงียบ, ไม่แสดงออก เช่น พลังเงียบ. ก. หายไปโดยไม่มีข่าวคราวหรือไม่เป็นข่าวเลย เช่น หมู่นี้นาย ก เงียบไป.
  26. เงียบ ๆ
    หมายถึง ว. ไม่มีเสียงเอะอะ เช่น นั่งทำงานเงียบ ๆ, ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น ทำอย่างเงียบ ๆ; นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง, เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ.
  27. เงียบกริบ
    หมายถึง ก. เงียบสนิท.
  28. เงียบเชียบ
    หมายถึง ก. วังเวง, เงียบไม่มีเสียง.
  29. เงียบเป็นเป่าสาก
    หมายถึง (สำ) ว. ลักษณะที่เงียบสนิท.
  30. เงียบเหงา
    หมายถึง ก. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, อ้างว้าง; มีคนน้อย, มีคนไปมาหาสู่น้อย.
  31. เงี่ย
    หมายถึง ก. เอียง, ตะแคง, ในคำว่า เงี่ยหู.
  32. เงี่ยง
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. กระโถน.
  33. เงี่ยง
    หมายถึง น. กระดูกแหลมของปลาบางชนิด เช่น ปลากระเบนมีเงี่ยงที่โคนหาง หรือปลาดุกมีเงี่ยงที่ครีบอก, แง่ของสิ่งของบางอย่าง มีรูปหยักตอนปลายเช่นเบ็ดหรือลูกศร.
  34. เงี่ยน
    หมายถึง ก. อยากจัด, กระหายจัด, มีความรู้สึกอยากหรือกระหายเป็นกำลัง, (โดยมากใช้เฉพาะของเสพติดและกามคุณ).
  35. เงี่ยหู
    หมายถึง ก. เอียงหูฟังเพื่อให้ถนัด, ตั้งใจฟัง.
  36. เงี่ยหู
    หมายถึง ก. เอียงหูฟังเพื่อให้ได้ยินถนัด, ตั้งใจฟัง.
  37. เงี้ยว
    หมายถึง ดู มังกร ๒.
  38. เงี้ยว
    หมายถึง ว. คด เช่น แล้วลวงล่องอเงี้ยว. (นิ. เพชร).
  39. เงี้ยว
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของชนชาวไทยใหญ่ที่ใช้เรียกกันเป็นสามัญในประเทศไทยสมัยก่อน.
  40. เงี้ยว
    หมายถึง น. งู เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม. (โลกนิติ).
  41. เงี้ยวระเริง
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  42. เงี้ยวรำลึก
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  43. เงือก
    หมายถึง น. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลำตัวสีดำ ปากใหญ่ อยู่รวมกันเป็นฝูงในป่าลึก เวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กินเนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris).
  44. เงือก
    หมายถึง ดู พะยูน.
  45. เงือก
    หมายถึง (โบ) น. งู เช่น ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง. (แช่งนํ้า).
  46. เงือก
    หมายถึง น. สัตว์นํ้าในนิยาย เล่ากันว่าท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นปลา.
  47. เงือกหงอน
    หมายถึง (โบ) น. พญานาค เช่น ทรงวัวเผือกเงือกหงอนสังวรสังวาล. (รำพันพิลาป).
  48. เงือด,เงือดงด
    หมายถึง ก. อดกลั้น, ยับยั้ง, เช่น เงือดคำรบสองคาบสามคาบ. (จารึกสยาม), จำต้องเงือดงดอดกลั้น คอยหยิบผิดมันให้จงได้. (สังข์ทอง).
  49. เงือดเงื้อ
    หมายถึง ก. เงื้อค้างท่าไว้.
  50. เงือน
    หมายถึง (โบ) น. เงิน.
  51. เงือบ
    หมายถึง ว. อาการที่ปลาขยับเหงือกหายใจ.
  52. เงื่อง,เงื่อง ๆ
    หมายถึง ว. เซื่อง, เชื่องช้า.
  53. เงื่องหงอย
    หมายถึง ว. ซึมเซาไม่ชื่นบาน, เซื่อง ๆ, เฉื่อยชา.
  54. เงื่อน
    หมายถึง น. เชือกหรือเส้นด้ายเป็นต้นที่ผูกกันเป็นปม เช่น เงื่อนกระทกหรือเงื่อนกระตุก คือเงื่อนที่ผูกแล้วกระตุกออกได้ง่าย เงื่อนตาย คือเงื่อนที่ผูกแล้วแก้ยาก เงื่อนเป็น คือเงื่อนที่ผูกแล้วแก้ง่าย.
  55. เงื่อน
    หมายถึง ว. เหมือน เช่น เขี้ยวโง้งเงื่อนงาคชกรรม. (คำพากย์).
  56. เงื่อนงำ
    หมายถึง น. เรื่องราวหรือข้อความที่ซ่อนอยู่ไม่เปิดเผย.
  57. เงื่อนเวลา
    หมายถึง (กฎ) น. ระยะเวลาที่กำหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กำหนด.
  58. เงื่อนเวลาสิ้นสุด
    หมายถึง (กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ให้นิติกรรมสิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กำหนด.
  59. เงื่อนเวลาเริ่มต้น
    หมายถึง (กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อถึงเวลาที่กำหนด.
  60. เงื่อนไข
    หมายถึง น. ข้อแม้; (กฎ) ข้อความอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต.
  61. เงื่อนไขบังคับก่อน
    หมายถึง (กฎ) น. เงื่อนไขที่ทำให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว.
  62. เงื่อนไขบังคับหลัง
    หมายถึง (กฎ) น. เงื่อนไขที่ทำให้นิติกรรมสิ้นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว.
  63. เงื้อ
    หมายถึง ก. ยกมือขึ้นทำท่าจะทุบจะตี ในคำว่า เงื้อมือ, อาการที่มือยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นทำท่าจะตีหรือฟันเป็นต้น เช่น เงื้อไม้ เงื้อมีด.
  64. เงื้อง่าราคาแพง
    หมายถึง (สำ) ก. จะทำอะไรก็ไม่กล้าตัดสินใจทำลงไป ดีแต่ทำท่าหรือวางท่าว่าจะทำเท่านั้น.
  65. เงื้อม
    หมายถึง น. สิ่งที่สูงยื่นงํ้าออกมา เช่น เงื้อมผา.
  66. เงื้อมมือ
    หมายถึง น. อำนาจที่ครอบงำจะไม่ให้หลุดพ้นไปได้.
  67. เง็น
    หมายถึง (โบ) น. เงิน.
  68. เง่า
    หมายถึง ว. โง่, มักใช้พูดเข้าคู่กับคำ โง่ เป็น โง่เง่า.
  69. เง้
    หมายถึง ก. เงื้อไม้ มีดเป็นต้น จนสุดกำลังแขนแล้วฟาดลงเต็มแรง.
  70. เง้า
    หมายถึง ว. เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจเป็นต้น ว่า หน้าเง้า.
  71. เง้างอด,เง้า ๆ งอด ๆ
    หมายถึง ว. กะบึงกะบอน, โกรธอย่างแสนงอน, กระเง้ากระงอด ก็ว่า.
  72. แง
    หมายถึง น. เรียกส่วนของหน้าตรงหว่างคิ้วว่า หน้าแง.
  73. แง,แง,แง ๆ
    หมายถึง ว. เสียงเด็กร้องไห้.
  74. แงะ
    หมายถึง ก. งัดให้เผยอขึ้น.
  75. แง่
    หมายถึง (โบ) น. ตัว เช่น แต่งแง่. (จารึกสยาม), มิแต่งแง่ให้แม่ชม มิหวีผมให้แม่เชย. (ลอ).
  76. แง่
    หมายถึง น. ส่วนที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันเป็นมุมหรือส่วนที่ยื่นออกมา เช่น แง่หิน แง่โต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เหลี่ยม, ชั้นเชิง, เช่น ชาวแพแผ่แง่ค้าขายของ. (นิ. นรินทร์), นัย.
  77. แง่ง
    หมายถึง น. ส่วนที่งอกเป็นแง่ออกมาจากเหง้าขิงข่ากะทือเป็นต้น.
  78. แง่ง,แง่ง,แง่ง ๆ
    หมายถึง ว. เสียงขู่ของหมาเมื่อจะกัดกันในเวลาแย่งอาหารกันเป็นต้น.
  79. แง่งขิง
    หมายถึง น. เครื่องประดับยอดปรางค์ทำเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, ฝักเพกา ลำภุขัน สลัดได นพศูล หรือ นภศูล ก็เรียก.
  80. แง่งอน
    หมายถึง น. อาการที่แสร้งทำชั้นเชิงเพื่อให้ผู้อื่นเอาใจหรือให้เป็นที่พอใจตน.
  81. แง่น
    หมายถึง ก. แยกเขี้ยวจะกัด (อย่างหมา).
  82. แง่น ๆ
    หมายถึง ว. แสดงกิริยาโกรธอย่างหมาจะกัด.
  83. แง้ม
    หมายถึง ก. เปิดแต่น้อย ๆ เช่น แง้มประตู. (โบ) น. ริม, ข้าง, เช่น ปากคลองบางกอกน้อยแง้มขวา.
  84. โง
    หมายถึง ก. ยก (ใช้แก่หัว) เช่น โงหัวไม่ขึ้น.
  85. โงก
    หมายถึง ว. อาการที่หัวงุบลงเพราะง่วง.
  86. โงกเงก
    หมายถึง ก. โยกเยก.
  87. โงง,โงงเงง
    หมายถึง ก. โคลง, ไหว, ตั้งไม่ตรง, โยกโคลง, ตั้งอยู่ด้วยอาการไม่มั่นคง.
  88. โงน
    หมายถึง ก. จวนจะล้มเพราะส่วนบนหนักหรือใหญ่ ส่วนล่างไม่แน่นหรือเล็ก.
  89. โงนเงน
    หมายถึง ก. เอียงเอนไปมา, โอนเอนไปมา.
  90. โงเง
    หมายถึง ว. อาการที่ลุกขึ้นนั่งหรือยืนโงกเงกของคนที่มึนงงหรือเพิ่งตื่นนอนใหม่, ยังงัวเงียอยู่.
  91. โง่
    หมายถึง ว. เขลา, ไม่ฉลาด, ไม่รู้.
  92. โง่ง ๆ,โง่งเง่ง
    หมายถึง ว. โย่ง ๆ, อาการเดินก้าวยาว ๆ ของคนผอมสูง.
  93. โง่เง่า
    หมายถึง ว. โง่มาก.
  94. โง่เง่าเต่าตุ่น
    หมายถึง (สำ) ว. โง่ที่สุด เช่น เพราะโง่เง่าเต่าตุ่นพ่อคุณเอ๋ย ผู้ใดเลยจะประสงค์จำนงหมาย. (นิ. ทวาราวดี).
  95. โง่แกมหยิ่ง
    หมายถึง (สำ) ว. โง่แล้วยังอวดฉลาด, อวดดีทั้ง ๆ ที่โง่.
  96. โง่แล้วอยากนอนเตียง
    หมายถึง (สำ) ว. โง่แล้วไม่เจียมตัวว่าโง่ ไปทำสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เข้าใจ.
  97. โง้ง
    หมายถึง ว. โค้งเข้าหากัน เช่น ควายเขาโง้ง, โค้งขึ้น เช่น หนวดโง้ง.
  98. ไง้
    หมายถึง (ปาก) ก. ไค้, งัดขึ้น, คัดง้าง.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ง (หน้าที่ 3)"