พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ค (หน้าที่ 5)

  1. คลื่นใต้น้ำ
    หมายถึง (สำ) น. เหตุการณ์ที่กรุ่นอยู่ภายใน แต่ภายนอกดูเสมือนสงบเรียบร้อย.
  2. คลื่นไส้
    หมายถึง [คฺลื่น-] ก. ปั่นป่วนในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ชวนให้อาเจียน, โดยปริยายหมายความว่า น่ารังเกียจ, น่าสะอิดสะเอียน.
  3. คลุก
    หมายถึง [คฺลุก] ก. เคล้าให้เข้ากัน, ขยำให้ระคนเข้ากัน; ประชิดติดพันเข้าไป เช่น เข้าคลุกวงใน, เกลือก เช่น คลุกเกลือ คลุกน้ำตาล.
  4. คลุกคลี
    หมายถึง ก. เข้าปะปนระคนกัน, เข้าใกล้ชิดกัน.
  5. คลุกคลีตีโมง
    หมายถึง ก. มั่วสุมหรืออยู่ร่วมคลุกคลีพัวพันกันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา.
  6. คลุบ
    หมายถึง [คฺลุบ] น. ลูกขลุบ เช่น ม้าคลุบคลีกระบี่ม้า วิ่งม้าพนันเร็ว. (ยอพระเกียรติกรุงธน).
  7. คลุม
    หมายถึง [คฺลุม] ก. ปกหรือปิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เสียหายหรือทำให้มองไม่เห็นเป็นต้น เช่น เอาผ้าใบคลุมรถยนต์ไว้ ไม้เลื้อยคลุมหลังคา; ครอบไปถึง เช่น คำนี้คลุมไม่ถึง.
  8. คลุม ๆ
    หมายถึง ว. พูดไม่บ่งชัดให้จะแจ้ง เช่น พูดคลุม ๆ.
  9. คลุมถุงชน
    หมายถึง (สำ) น. ลักษณะการแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดการให้ โดยที่เจ้าตัวไม่รู้จักคุ้นเคยหรือรักกันมาก่อน.
  10. คลุมบรรทม,คลุมประทม,คลุมผทม
    หมายถึง (ราชา) น. ผ้าห่มนอน.
  11. คลุมปัก,คลุมปิด
    หมายถึง (ราชา) น. กรวยทำด้วยผ้าปักสำหรับครอบพาน.
  12. คลุมเครือ
    หมายถึง ว. ลักษณะที่กํ้ากึ่งเอาแน่นอนทางใดทางหนึ่งไม่ได้ เช่น อากาศที่จะมืดก็ไม่มืด จะสว่างก็ไม่สว่าง เรียกว่า อากาศคลุมเครือ, อาการไข้ที่จะหายก็ไม่หาย จะหนักก็ไม่หนัก เรียกว่า ไข้คลุมเครือ, พูดไม่บ่งชัดไปทางใดให้จะแจ้ง เรียกว่า พูดคลุมเครือ.
  13. คลุมโปง
    หมายถึง ก. กิริยาที่เอาวัตถุเช่นผ้าคลุมมิดทั้งหัวทั้งตัวหรือเกือบทั้งตัว.
  14. คลุ่ม
    หมายถึง [คฺลุ่ม] น. ลักษณะของปากภาชนะที่งุ้มหรือโค้งเข้าอย่างปากตะลุ่ม.
  15. คลุ้ง
    หมายถึง [คฺลุ้ง] ดู พลวง ๒.
  16. คลุ้ง
    หมายถึง [คฺลุ้ง] ว. กระจาย เช่น ฝุ่นคลุ้ง ควันคลุ้ง; มีกลิ่นตลบ (มักใช้แก่กลิ่นเหม็น).
  17. คลุ้ม
    หมายถึง [คฺลุ้ม] ว. มืดมัว, ไม่แจ่มใส.
  18. คลุ้ม
    หมายถึง [คฺลุ้ม] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Donax grandis Ridl. ในวงศ์ Marantaceae ต้นสูงถึง ๓ เมตร สีเขียวเข้ม แตกแขนงตอนปลาย ผิวแข็ง ใช้สานเสื่อได้ ใบคล้ายคล้าแต่ขนาดใหญ่กว่า.
  19. คลุ้มคลั่ง
    หมายถึง ก. กลัดกลุ้มในใจจนแสดงอาการอย่างคนบ้า.
  20. คล่อง
    หมายถึง [คฺล่อง] ว. สะดวก เช่น หายใจได้คล่องขึ้น, ว่องไว เช่น เด็กคนนี้ใช้คล่อง, ไม่ฝืด เช่น คล่องคอ, ไม่ติดขัด เช่น พูดคล่อง.
  21. คล่องตัว
    หมายถึง ว. เคลื่อนไหวไปได้สะดวก, เป็นไปได้โดยสะดวกไม่ติดขัด.
  22. คล่องปาก
    หมายถึง ว. เจนปาก, ขึ้นปาก ก็ว่า.
  23. คล่องมือ
    หมายถึง ว. ถนัดมือ, เหมาะกับมือ, เช่น มีดเล่มนี้ใช้คล่องมือ; สะดวก, ไม่ขาดแคลน, เช่น เขามีเงินใช้คล่องมืออยู่เสมอ.
  24. คล่องแคล่ว
    หมายถึง ว. ว่องไว, สามารถทำได้รวดเร็ว, แคล่วคล่อง ก็ว่า.
  25. คล่าว
    หมายถึง [คฺล่าว] (กลอน) ก. ไหล, หลั่งไหล, เช่น บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ. (นิ. นรินทร์).
  26. คล่ำ
    หมายถึง [คฺลํ่า] น. หมู่. ว. สับสน, เกลื่อนกล่น, มาก, มักใช้คู่กับคำ คลา เป็น คลาคล่ำ.
  27. คล้อง
    หมายถึง [คฺล้อง] ก. เอาของที่มีลักษณะเป็นเส้น เป็นวงหรือเป็นบ่วง คาด เกี่ยว หรือสวมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้า เช่น ผ้าคล้องคอ คล้องพวงมาลัย คล้องช้าง, เอาของที่เป็นวงหรือโค้งเกี่ยวหรือเกี่ยวกัน เช่น ลูกโซ่คล้องกัน คล้องแขน, รับกัน เช่น ชื่อคล้องกัน.
  28. คล้องจอง
    หมายถึง ก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้องอยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน; ไม่ขัดกัน เช่น พยานให้การคล้องจองกัน.
  29. คล้อย
    หมายถึง [คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กำหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย, เรียกอาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.
  30. คล้อยคล้อย
    หมายถึง ก. ไกลออกไปทุกที, เคลื่อนออกไปไกล. (อะหม คล้อย ว่า ไปช้า ๆ).
  31. คล้อยตาม
    หมายถึง ก. สอดคล้องไปในทางเดียวกัน, มีความเห็นอย่างเดียวกัน, เช่น ฉันเห็นคล้อยตามเขา.
  32. คล้อยหลัง
    หมายถึง ว. ผ่านพ้นไปยังพอเห็นหลังไว ๆ เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยหลังไปไม่นาน.
  33. คล้อแคล้
    หมายถึง [คฺล้อแคฺล้] ก. ไม่ห่างออก, เคียงกัน, เช่น คลิ้งโคลงคล้อแคล้ในรัง. (สมุทรโฆษ), คลอแคล ก็ว่า.
  34. คล้า
    หมายถึง [คฺล้า] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Schumannianthus dichotomus (Roxb.) Gagnep. ในวงศ์ Marantaceae ต้นสูง ๑-๒ เมตร แตกแขนงตามลำต้น ใบกว้าง.
  35. คล้าย,คล้าย ๆ,คล้ายคลึง
    หมายถึง [คฺล้าย, -คฺลึง] ว. เกือบเหมือน.
  36. คล้ำ
    หมายถึง [คฺลํ้า] ว. ค่อนข้างดำ, ไม่ผ่องใส, หม่นหมอง, เช่น ผิวคลํ้า หน้าคลํ้า.
  37. ควง
    หมายถึง ก. แกว่งหรือทำให้หมุนไปโดยรอบ เช่น ควงกระบอง ควงดาบ ควงจาน, เดินเข้าคู่คลอเคลียกันไป เรียกว่า เดินควงกัน; รวมหรือโยงเข้าในกลุ่มเดียวกัน เช่น เครื่องหมายปีกกาใช้ควงคำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกัน; โดยปริยายหมายถึงคบหาสนิทสนมในเชิงคู่รัก เช่น คู่นี้ควงกันมาหลายปีแล้ว; เข้าคู่ไปด้วยกัน เช่น ควงกันไปเที่ยว. น. เรียกตะปูที่มีเกลียวว่า ตะปูควง, เรียกเครื่องมือที่ใช้ไขตะปูควงว่า ไขควง; เครื่องมือสำหรับอัดใบลานเป็นต้นให้แน่น; บริเวณ เช่น ในควงไม้ศรีมหาโพธิ์.
  38. ควงสว่าน
    หมายถึง [-สะหฺว่าน] ก. อาการที่หมุนเหมือนเกลียวสว่าน เช่น เครื่องบินควงสว่าน.
  39. ควงแขน
    หมายถึง ก. เอาแขนคล้องกัน.
  40. ควณ
    หมายถึง ก. คำนวณ เช่น ขับควณทวนเทียบด้วยตำรา พิเคราะห์พระชันษาชะตาเมือง. (อิเหนา).
  41. ควน
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เนิน, เขาดิน. (ม. gual, guar).
  42. ควบ
    หมายถึง ก. อาการที่วิ่งเต็มที่จนดูเหมือนเท้าหรือล้อไม่ติดดิน.
  43. ควบ
    หมายถึง ก. เอารวมเข้าเป็นอันเดียวกันหรือเข้าคู่กัน เช่น ควบเชือก ควบด้าย สอบควบ กินยาควบกัน.
  44. ควบคุม
    หมายถึง ก. ดูแล, กำกับดูแล, กักขัง; (กฎ) คุมตัวหรือกักขังผู้ถูกจับโดยพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในระหว่างสืบสวน.
  45. ควบคู่
    หมายถึง ก. เข้าคู่กัน, ทำพร้อมกัน, เช่น เขาเรียนหนังสือควบคู่กับทำงาน.
  46. ควบม้า
    หมายถึง ก. อาการที่คนขี่หลังม้ากระตุ้นให้ม้าวิ่งไปอย่างเร็ว.
  47. ควบแน่น
    หมายถึง (เคมี) น. กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในลักษณะซึ่งโมเลกุลของสารตั้งแต่ ๒ โมเลกุลขึ้นไปเข้ารวมตัวกันเป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้นของสารใหม่ โดยวิธีขจัดโมเลกุลของนํ้าหรือโมเลกุลของสารอื่นออกไป; (ความร้อน) กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของไอเป็นของเหลวโดยวิธีลดอุณหภูมิลง. (อ. condense).
  48. ควย
    หมายถึง น. อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหรือสัตว์เพศผู้บางชนิด.
  49. ควร
    หมายถึง [ควน] ว. เหมาะ เช่น กินแต่พอควร; ชอบ, ถูกต้อง, เช่น เห็นควรแล้ว; เป็นคำช่วยกริยาในความคล้อยตาม เช่น ควรทำ ควรกิน.
  50. ควัก
    หมายถึง [คฺวัก] ก. ดึงหรือล้วงสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมา, เอามือล้วงลงไปในที่ใดที่หนึ่ง แล้วเอาสิ่งที่อยู่ในนั้นออกมา, ใช้เครื่องมือปลายโค้งหรืองอทำอาการเช่นนั้น เช่น ควักหู, ใช้เข็มควักถักด้ายให้เป็นลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า ควักลูกไม้, เอาเครื่องมือรูปพายขนาดเล็กตักสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา เช่น ควักปูน ควักกะปิ, (ปาก) ดึงเอาตัวออกมา เช่น ควักเอาตัวมาจากที่นอน.
  51. ควักกระเป๋า
    หมายถึง ก. จ่ายเงินหรือออกเงิน เช่น ควักกระเป๋าเลี้ยงเพื่อน.
  52. ควักกะปิ
    หมายถึง (ปาก) ก. อาการที่รำเอามือวักไปวักมาอย่างคนรำไม่เป็น.
  53. ควักค้อน
    หมายถึง [คฺวัก-] (กลอน) ก. ค้อนจนหน้าควํ่า เช่น ขืนจะมาควักค้อนค่อนว่า เงาะของข้าเคยใส่ทำไมสิ. (สังข์ทอง), ค้อนควัก ก็ว่า.
  54. ควักลงหลุม
    หมายถึง น. การเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก ดีดเบี้ยลงหลุม.
  55. ควัน
    หมายถึง [คฺวัน] น. สิ่งที่เห็นเป็นสีดำหรือขาวคล้ายหมอกลอยออกมาจากของที่กำลังไหม้ไฟ หรือจากการเผาไหม้, สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; (วิทยา) แก๊สที่มีอนุภาคละเอียดของของแข็งแขวนลอยอยู่.
  56. ควันหลง
    หมายถึง น. ควันเหลือค้างอยู่, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วและกลับปรากฏกระเส็นกระสายขึ้นอีก.
  57. ควั่ก
    หมายถึง [คฺวั่ก] ว. วุ่น, ชุลมุน, เช่น วิ่งหากันให้ควั่ก.
  58. ควั่งคว้าง
    หมายถึง [คฺวั่งคฺว้าง] (กลอน) ว. แกว่งไปมา, กวัดแกว่ง, ไหลวน, โบราณเขียนเป็น คว่งงคว้งง ก็มี เช่น สระเหนาะน้ำคว่งงคว้งง ควิวแด. (กำสรวล).
  59. ควั่น
    หมายถึง [คฺวั่น] น. ที่ต่อขั้วผลไม้หรือดอกที่เป็นรอยรอบเช่นที่ก้านผลขนุนหรือทุเรียนเป็นต้น. ก. ทำให้เป็นรอยด้วยคมมีดโดยรอบ. ว. เรียกอ้อยที่ควั่นให้ขาดออกเป็นข้อ ๆ ว่า อ้อยควั่น.
  60. ควั่นจุก
    หมายถึง ก. กันผมให้เป็นฐานกลมเพื่อให้ผมงอกยาวสำหรับไว้จุก.
  61. ควาก
    หมายถึง [คฺวาก] ว. กว้างออกไปโตออกไปเพราะแรงดัน (ใช้เฉพาะรูและช่อง).
  62. ควาก
    หมายถึง ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฉีกผ้า.
  63. ควาญ
    หมายถึง [คฺวาน] น. ผู้เลี้ยงและขี่ขับช้าง, คนบังคับช้าง, ใช้กับสัตว์อื่นก็มี เช่น ควาญแรด. (สมุทรโฆษ), ควาญแกะ ควาญม้า. (ปรัดเล).
  64. ควาน
    หมายถึง [คฺวาน] ก. กิริยาที่เอามือหรือสิ่งอื่นค้นหาสิ่งของในนํ้าหรือในที่มืดเป็นต้น.
  65. ความ
    หมายถึง [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คำนำหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
  66. ความคลาด
    หมายถึง (แสง) น. ลักษณะที่แสงหักเหออกจากผิวเลนส์ และลักษณะที่แสงสะท้อนออกจากผิวโค้งของกระจกแล้วไม่ตัดร่วม ณ จุดเดียวกัน หรือลักษณะที่แสงขาวผ่านเลนส์แล้วเกิดการกระจายออกเป็นสีต่าง ๆ; (ดารา) ความแตกต่างระหว่างตำแหน่งของดาวฤกษ์ หรือเทห์ฟากฟ้าที่สังเกตเห็นกับตำแหน่งจริงของมันในขณะนั้น. (อ. aberration).
  67. ความคิด
    หมายถึง น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหาความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลายของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
  68. ความชอบ
    หมายถึง น. คุณงามความดีที่ควรได้รับบำเหน็จรางวัล.
  69. ความชื้น
    หมายถึง (วิทยา) น. ปริมาณไอนํ้าที่มีอยู่ในอากาศ.
  70. ความชื้นสัมบูรณ์
    หมายถึง น. มวลของไอนํ้าที่มีอยู่จริงในอากาศ ๑ หน่วยปริมาตร. (อ. absolute humidity).
  71. ความชื้นสัมพัทธ์
    หมายถึง น. อัตราส่วนระหว่างมวลของไอนํ้าที่มีอยู่จริงในอากาศเทียบกับมวลของไอนํ้าอิ่มตัวเมื่อมีปริมาตรและอุณหภูมิเท่ากัน มักกำหนดค่าเป็นร้อยละ. (อ. relative humidity).
  72. ความถี่
    หมายถึง (ฟิสิกส์) น. จำนวนไซเกิล, การแกว่งกวัด, การสั่นสะเทือนหรือคลื่นใน ๑ วินาที เช่น ไฟฟ้ากระแสสลับมีความถี่ ๕๐ ไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล; (สถิติ) จำนวนคะแนนในกลุ่มของข้อมูลที่มีสมบัติเหมือนกัน. (อ. frequency).
  73. ความถี่วิทยุ
    หมายถึง น. ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งวิทยุและโทรทัศน์ ขนาดตํ่าสุดตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๓๐ กิโลเฮิรตซ์ ขนาดสูงสุดตั้งแต่ ๓๐,๐๐๐ ถึง ๓๐๐,๐๐๐ เมกะเฮิรตซ์.
  74. ความถ่วง
    หมายถึง น. แรงดึงดูดของโลกต่อเทหวัตถุ, แรงดึงดูดระหว่างกันของเทหวัตถุ. (อ. gravity).
  75. ความถ่วงจำเพาะ
    หมายถึง น. อัตราส่วนของนํ้าหนักของเทหวัตถุกับนํ้าหนักของสารมาตรฐานที่มีปริมาตรเท่ากับเทหวัตถุนั้น โดยทั่วไปใช้นํ้าบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ ๔ °ซ. เป็นสารมาตรฐาน. (อ. specific gravity).
  76. ความมุ่งหมาย
    หมายถึง น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วยความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
  77. ความยาวคลื่น
    หมายถึง น. ความยาวระหว่างจุดใดจุดหนึ่งบนคลื่นลูกหนึ่งไปยังจุดในตำแหน่งเดียวกันบนคลื่นลูกถัดไป.
  78. ความรู้
    หมายถึง น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
  79. ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
    หมายถึง (สำ) ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์.
  80. ความรู้สึกช้า
    หมายถึง น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
  81. ความรู้สึกด้อย
    หมายถึง (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป ความรู้สึกนี้ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สำนึกและผู้นั้นไม่จำเป็นต้องมีปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้นเสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้; ความไม่เชื่อมั่นว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเท่าเทียมผู้อื่น. (อ. inferiority feeling).
  82. ความรู้สึกเขื่อง,ความรู้สึกเด่น
    หมายถึง (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าหรือดีเด่นกว่าผู้อื่น ความรู้สึกนี้ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สำนึก แต่ถ้าเกิดขึ้นเสมอ ๆ และมิได้แก้ไขหรือได้รับการสนับสนุน เช่นในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ก็อาจเก็บสะสมไว้เกิดเป็นนิสัยของบุคคลนั้นได้. (อ. superiority feeling); ความเชื่อหรือความมั่นใจว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น.
  83. ความรู้สึกไว
    หมายถึง น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดีควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
  84. ความหน่วง
    หมายถึง (วิทยา) น. อัตราการเปลี่ยนความเร็วที่ลดลงเรื่อย ๆ ต่อ ๑ หน่วยเวลา. (อ. retardation).
  85. ความหลัง
    หมายถึง น. เรื่องราวในอดีต.
  86. ความเครียด
    หมายถึง น. (ฟิสิกส์) อัตราส่วนระหว่างขนาดที่เปลี่ยนไปเนื่องจากความเค้นกับขนาดเดิมของเทหวัตถุ. (อ. strain); ลักษณะอาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลายเพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป, ลักษณะอาการที่จิตใจมีอารมณ์บางอย่างมากดดันความรู้สึกอย่างรุนแรง.
  87. ความเค้น
    หมายถึง (ฟิสิกส์) น. แรงที่กระทำต่อ ๑ หน่วยพื้นที่ของเทหวัตถุ เมื่อเทหวัตถุใดถูกความเค้นมากระทำจะเกิดความเครียดขึ้นแก่เทหวัตถุนั้น. (อ. stress).
  88. ความเฉื่อย
    หมายถึง (ฟิสิกส์) น. สมบัติของเทหวัตถุที่จะคงสภาพนิ่งอยู่อย่างเดิมตลอดไปหรือคงสภาพเคลื่อนที่อย่างสมํ่าเสมอในแนวเส้นตรงตลอดไป. (อ. inertia).
  89. ความเป็นความตาย
    หมายถึง น. เรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเป็นความเป็นความตายของชาติ.
  90. ความเร็ว
    หมายถึง (วิทยา) น. อัตราการเคลื่อนที่ของวัตถุต่อ ๑ หน่วยเวลา โดยระบุบ่งทิศทางของการเคลื่อนที่ด้วย. (อ. velocity).
  91. ความเร่ง
    หมายถึง (วิทยา) น. อัตราการเปลี่ยนความเร็วที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต่อ ๑ หน่วยเวลา. (อ. acceleration).
  92. ความเห็น
    หมายถึง น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็นว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
  93. ความโน้มถ่วง
    หมายถึง น. กิริยาที่แรงดึงดูดของโลกกระทำต่อเทหวัตถุ. (อ. gravitation).
  94. ควาย
    หมายถึง [คฺวาย] น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bubalus bubalis ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์กีบคู่ รูปร่างใหญ่ สีดำหรือเทา เขาโค้งยาว ที่ใต้คางและหน้าอกมีขนขาวเป็นรูปง่าม; (ปาก) โดยปริยายมักหมายความว่า คนโง่ คนเซ่อ หรือคนตัวใหญ่ แต่ไม่ฉลาด.
  95. ควายทุย
    หมายถึง น. ควายที่มีเขาสั้นหรือหงิก.
  96. ควายธนู
    หมายถึง น. ของขลังชนิดหนึ่ง ทำเป็นรูปตัวควายหรือเขาควาย ใช้เวทมนตร์ทางไสยศาสตร์เสกเป่าไปทำร้ายผู้อื่นหรือกันไม่ให้ผู้อื่นมาทำร้าย.
  97. ควายปละ
    หมายถึง [-ปฺละ] น. ควายที่เจ้าของปล่อยให้เที่ยวไปตามลำพัง.
  98. ควายพระอินทร์
    หมายถึง น. ชื่อหนอนกระทู้ชนิดหนึ่ง. (ดู กระทู้ ๓).
  99. ควายเขาเกก
    หมายถึง น. ควายที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, วัวเขาเกก ก็ว่า.
  100. ควายโทน
    หมายถึง น. ควายป่าที่แตกฝูงออกมาอยู่ตามลำพัง.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ค (หน้าที่ 5)"