พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ค (หน้าที่ 4)

  1. คร่ง
    หมายถึง [คฺร่ง] น. เสือโคร่ง.
  2. คร่อม
    หมายถึง [คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการเช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.
  3. คร่อเงาะ
    หมายถึง ดู ขล้อเงาะ.
  4. คร่อเทียน
    หมายถึง ดู ขล้อเทียน.
  5. คร่า
    หมายถึง [คฺร่า] ก. ฉุดลากไปอย่างไม่ปรานี.
  6. คร่าว
    หมายถึง [คฺร่าว] น. โครงสร้างซึ่งทำขึ้นด้วยวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นไม้ โลหะ เพื่อใช้ในการยึดแผ่นวัสดุที่ทำเป็นฝา รั้ว หรือฝ้าเพดาน ส่วนใหญ่จะยึดกับโครงสร้างที่สำคัญมีเสาคาน เป็นต้น คร่าวตีได้ทั้งในแนวตั้ง แนวนอน หรือเป็นตาราง.
  7. คร่าว ๆ
    หมายถึง ว. เลา ๆ พอเห็นเป็นเค้า, ยังไม่เรียบร้อย.
  8. คร่ำ
    หมายถึง [คฺร่ำ] ก. เอาเส้นเงินหรือเส้นทองกดและตอกให้ติดบนผิวเหล็ก ทำเป็นลวดลาย, ถ้าเป็นลวดลายเงิน เรียก คร่ำเงิน, ถ้าเป็นลวดลายทอง เรียก คร่ำทอง.
  9. คร่ำ
    หมายถึง [คฺรํ่า] ว. เก่ามาก เช่น โบสถ์หลังนี้เก่าคร่ำ.
  10. คร่ำ
    หมายถึง [คฺรํ่า] (กลอน) ก. ร้องไห้.
  11. คร่ำ
    หมายถึง [คฺรํ่า] ว. เรียกของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอดเป็นต้น ว่า นํ้าครํ่า เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำว่า ถุงน้ำคร่ำ.
  12. คร่ำครวญ
    หมายถึง ว. ร้องรํ่ารำพัน.
  13. คร่ำครึ
    หมายถึง ว. เก่าเกินไป, ไม่ทันสมัย.
  14. คร่ำคร่า
    หมายถึง ว. เก่าแก่จนชำรุดทรุดโทรม เช่น กระท่อมเก่าคร่ำคร่า.
  15. คร่ำหวอด
    หมายถึง (ปาก) ว. มีประสบการณ์สูง, มีความชำนาญสูงมาก, เช่น เขาคร่ำหวอดอยู่ในวงการเมือง.
  16. คร่ำเครอะ
    หมายถึง ว. สกปรก, เปรอะเปื้อน.
  17. คร่ำเคร่ง
    หมายถึง ว. หมกมุ่นในการทำงานเป็นต้นอย่างหามรุ่งหามคํ่า.
  18. คร้าน
    หมายถึง [คฺร้าน] ว. มีความรู้สึกไม่อยากจะทำหรือคิดหรือไม่อยากแสดงอาการใด ๆ, ตามปรกติเมื่อใช้พูดมักมีคำ ขี้ ประกอบหน้า เช่น ขี้คร้าน และมักใช้เข้าคู่กับคำ เกียจ เป็น เกียจคร้าน ขี้เกียจขี้คร้าน หมายความว่า ไม่อยากทำงาน.
  19. คร้าม
    หมายถึง [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.
  20. คร้ามเกรง
    หมายถึง ก. เกรงกลัว.
  21. คฤธระ
    หมายถึง [คฺรึทฺระ] (แบบ) น. แร้ง, ในบทประพันธ์ใช้ว่า คฤธร ก็มี เช่น เกิดเป็นภักษแก่กังกโกรญจคฤธรกา บินมาวว่อนร่อนก็ร้อง. (สมุทรโฆษ).
  22. คฤนถ์
    หมายถึง [คฺรึน] น. ตัวอักษรแบบหนึ่งของอินเดียภาคใต้ที่ใช้เขียนตำรา.
  23. คฤห,คฤห-
    หมายถึง [คฺรึ, คะรึหะ-] น. เรือน, ช่องคูหา, ที่นั่งบนเรือหรือรถมีลักษณะอย่างเรือน เช่น เรือคฤห รถคฤห. (ส.).
  24. คฤหบดี
    หมายถึง [คะรึหะบอดี] น. ชายที่เป็นเจ้าบ้าน, ผู้มีอันจะกินซึ่งเป็นเจ้าบ้าน, คหบดี ก็ว่า. (ส. คฺฤหปตี; ป. คหปติ).
  25. คฤหปัตนี
    หมายถึง [คะรึหะปัดตะนี] (แบบ) น. หญิงที่เป็นเจ้าบ้าน, ภรรยาของคฤหบดี, คหปตานี ก็ว่า. (ส. คฺฤหปตฺนี; ป. คหปตานี).
  26. คฤหัสถ์
    หมายถึง [คะรึหัด] น. ผู้ครองเรือน, ผู้ไม่ใช่นักบวช, ฆราวาส. (ส. คฺฤหสฺถ; ป. คหฏฺ).
  27. คฤหา
    หมายถึง (กลอน) น. เรือน เช่น มักเที่ยวสู่คฤหา แห่งท่าน นะพ่อ. (โลกนิติ).
  28. คฤหาสน์
    หมายถึง [คะรึหาด] น. เรือน, โดยมากหมายถึงเรือนขนาดใหญ่และสง่าผ่าเผย. (ส. คฺฤหาสน).
  29. คฤโฆษ
    หมายถึง [คะรึโคด] (กลอน) ก. กึกก้อง, ดังลั่น, เช่น คฤโฆษกลองฆ้องเคล้า คลี่ดูริย. (ยวนพ่าย).
  30. คล
    หมายถึง [คน] (แบบ) น. คอ เช่น เหลือกตาเมียงเอียงคล. (ม. คำหลวง กุมาร). (ป., ส.).
  31. คลวง
    หมายถึง [คฺลวง] น. เรือน, ที่นั่ง, ตำหนัก.
  32. คลวง
    หมายถึง [คฺลวง] น. โรงถลุงดีบุก, (ปาก) กลวง.
  33. คลอ
    หมายถึง [คฺลอ] ก. เคียงคู่กันไปอย่างคู่รักหรืออย่างสนิทสนม; ปริ่ม, ใกล้จะไหล, ในคำว่า น้ำตาคลอ หรือ น้ำตาคลอหน่วย; ทำเสียงดนตรีหรือร้องเพลงเบา ๆ ตามไปให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน เช่น ร้องคลอเสียงดนตรี.
  34. คลอก
    หมายถึง [คฺลอก] ก. อาการที่ไฟล้อมเผาหนีออกไม่ได้ เช่น ถูกไฟคลอกตาย.
  35. คลอง
    หมายถึง [คฺลอง] น. ทางนํ้าหรือลำนํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่นํ้าหรือทะเล; ทาง, แนว, เช่น คลองธรรม.
  36. คลองส่งน้ำ
    หมายถึง น. ลำนํ้าที่ขุดขึ้นเพื่อใช้ในการชลประทาน.
  37. คลองเลื่อย
    หมายถึง น. ร่องไม้ที่เลื่อยเลื่อยเข้าไป, แนวฟันของเลื่อย.
  38. คลอด
    หมายถึง [คฺลอด] ก. ออกลูก, ออกจากครรภ์, ราชาศัพท์ว่า ประสูติ; (ปาก) ออก เช่น กฎหมายใหม่ยังไม่คลอด.
  39. คลอน
    หมายถึง [คฺลอน] ว. เคลื่อนไปมาได้ในที่บังคับ เช่น ฟันคลอน. (อะหม คอน ว่า เคลื่อน).
  40. คลอนแคลน
    หมายถึง [-แคฺลน] ว. ง่อนแง่น, ไม่มั่นคง, เช่น ฐานะคลอนแคลน.
  41. คลอรีน
    หมายถึง [คฺลอ-] น. ธาตุลำดับที่ ๑๗ สัญลักษณ์ Cl เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊สสีเขียวแกมเหลือง มีกลิ่นฉุนชวนสำลัก เป็นแก๊สพิษ ใช้ประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรคในนํ้าในอุตสาหกรรมผลิตกรดเกลือในการผลิตผงฟอกจาง ยาฆ่าแมลงหลายชนิด เช่น ดีดีที มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบสำคัญ. (อ. chlorine).
  42. คลอหน่วย
    หมายถึง ว. เรียกน้ำตาที่ปริ่มอยู่ที่ขอบตาเมื่อร้องไห้ว่า น้ำตาคลอหน่วย, น้ำตาล่อหน่วย หรือ น้ำตาขังหน่วย ก็ว่า.
  43. คลอเคลีย
    หมายถึง ก. เคล้าคู่กัน, เคียงเคล้ากันไป, เคลียคลอ ก็ว่า.
  44. คลอแคล
    หมายถึง [-แคฺล] ก. ไม่ห่างออก, เคียงกัน, เช่น ปีกเจ้ายังอ่อนคลอแคล ตัวแม่จะสอนบิน. (กล่อมเด็ก), ใช้ว่า คล้อแคล้ ก็มี.
  45. คลอโรฟอร์ม
    หมายถึง [คฺลอ-] น. ของเหลวไม่มีสี ระเหยง่าย มีกลิ่นหอมหวาน มีสูตร CHCl3 ใช้เป็นยาสลบและตัวทำละลาย. (อ. chloroform).
  46. คลอโรฟิลล์
    หมายถึง [คฺลอ-] น. สารสีเขียว มีปรากฏในพืช ซึ่งสามารถดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยใช้นํ้าและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมาผลิตคาร์โบไฮเดรตได้. (อ. chlorophyll).
  47. คละ
    หมายถึง [คฺละ] ว. ลักษณะที่ปนกัน ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ทั้งดีและไม่ดี เช่น ผลไม้ผลเล็กผลใหญ่ปนกัน เรียกว่า คละกัน.
  48. คละคลุ้ง
    หมายถึง [-คฺลุ้ง] (กลอน) ก. คลุ้ง, เหม็นคล้ายกลิ่นของเค็มปนกับของเน่า, เช่น ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง. (โลกนิติ).
  49. คละคล่ำ
    หมายถึง [-คฺลํ่า] ว. ปนกันไป, ดื่นไป.
  50. คละปน
    หมายถึง ก. ปนกันทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ทั้งดีและเลว เป็นต้น.
  51. คลัก
    หมายถึง [คฺลัก] น. ตาที่จะสุก (ใช้แก่การเล่นดวด); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ที่ที่ไก่หรือนกเขี่ยเป็นหลุม แล้วนอนในหลุมนั้น, ที่ที่ปลามารวมกันอยู่ในบ่อหรือหนองที่น้ำงวด.
  52. คลัก
    หมายถึง [คฺลัก] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. ทำให้สกปรก เช่น ตัวเปื้อนอย่ามาคลักที่นอน.
  53. คลัก,คลัก,คลั่ก,คลั่ก
    หมายถึง [คฺลัก, คฺลั่ก] ว. ยัดเยียด, ออกันอยู่, รวมกันอยู่มาก ๆ, เช่น หนอนคลัก คนคลั่ก, มาก ๆ เช่น น้ำยาหม้อนี้ข้นคลั่ก.
  54. คลัง
    หมายถึง [คฺลัง] น. ที่เก็บรักษาและรับจ่ายเงิน เช่น แผนกคลัง, สถานที่เก็บรักษาสิ่งของเป็นจำนวนมาก ๆ เช่น คลังพัสดุ.
  55. คลัง
    หมายถึง [คฺลัง] น. ไม้กระบอกที่ร้อยโซ่หรือเชือกสำหรับล่ามสัตว์หรือเรือ, (โบ) กลัง. ก. ผูกคอสัตว์ให้เข้าคู่กัน เพื่อไม่ให้พรากกัน หรือฝึกหัดตัวที่ไม่ชำนาญงาน เช่น เอาวัวไปผูกเข้าคู่กัน ว่า เอาวัวไปคลัง.
  56. คลังสินค้า
    หมายถึง น. สถานที่เก็บรักษาสินค้า.
  57. คลังสินค้าทัณฑ์บน
    หมายถึง (กฎ) น. คลังสินค้าของทางราชการศุลกากรที่รับเก็บสินค้าเข้า โดยยังไม่ต้องชำระอากรขาเข้าจนกว่าจะได้มีการนำสินค้านั้นออกจากคลังสินค้า.
  58. คลังเสบียง
    หมายถึง น. ที่เก็บสะสมอาหาร.
  59. คลังแสง
    หมายถึง น. คลังอาวุธของทางราชการ เช่น คลังแสงสรรพาวุธของกองทัพบก.
  60. คลัตช์
    หมายถึง น. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งพลังงานซึ่งถ่ายทอดมาจากเครื่องยนต์ไปยังเกียร์ หรือตัดพลังงานนั้นตามต้องการ. (อ. clutch).
  61. คลับคล้าย,คลับคล้ายคลับคลา
    หมายถึง [คฺลับคฺล้าย, -คฺลับคฺลา] ก. จำได้แต่ไม่แน่ใจ, จำได้อย่างเลือนราง, ไม่แน่ใจว่าใช่, เช่น คลับคล้ายว่าเป็นคนคนเดียวกัน, ฉันคลับคล้ายคลับคลาว่าจะเคยพบเขามาก่อน.
  62. คลั่ก,คลั่ก,คลั่ก ๆ
    หมายถึง [คฺลั่ก] ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น หม้อข้าวเดือดคลั่ก ๆ.
  63. คลั่ง
    หมายถึง [คฺลั่ง] (กลอน) ก. คั่ง เช่น ชลเนตรคลั่งคลอนัยนา. (อิเหนา).
  64. คลั่ง
    หมายถึง [คฺลั่ง] ก. แสดงอาการผิดปรกติอย่างคนบ้า, เสียสติ; โดยปริยายหมายความว่า หลงใหลในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คลั่งดารา, หมกมุ่นอยู่กับงานหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คลั่งอำนาจ คลั่งเล่นกล้วยไม้, คลั่งไคล้ ก็ว่า.
  65. คลั่งไคล้
    หมายถึง [-ไคฺล้] ก. หลงใหลในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, หมกมุ่นอยู่กับงานหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, คลั่ง ก็ว่า.
  66. คลา
    หมายถึง [คฺลา] (กลอน) ก. เดิน, เคลื่อน, เช่น พาชีขี่คล่องคล้อย ควรคลา. (โลกนิติ); คลาด เช่น อายแก่ราชาคลา ยศแท้. (โลกนิติ).
  67. คลาคล่ำ
    หมายถึง ก. ไปหรือมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝูงชนคลาคล่ำเต็มท้องถนน.
  68. คลางแคลง
    หมายถึง [คฺลางแคฺลง] ก. แคลงใจ, ไม่แน่ใจหรือวางใจลงไปได้เพราะออกจะสงสัย, แคลงคลาง ก็ว่า, บางทีก็พูดสั้น ๆ ว่า แคลง.
  69. คลาด
    หมายถึง [คฺลาด] ก. เคลื่อนจากที่หมาย, เคลื่อนจากกำหนดเวลา; ไม่พบ ในคำว่า คลาดกัน.
  70. คลาดเคลื่อน
    หมายถึง [-เคฺลื่อน] ก. ผิดจากความเป็นจริง, ไม่ตรงตามความเป็นจริง, เคลื่อนคลาด ก็ว่า.
  71. คลาดแคล้ว
    หมายถึง [-แคฺล้ว] ก. รอดไป, พ้นไป, แคล้วคลาด ก็ว่า.
  72. คลาน
    หมายถึง [คฺลาน] ก. ไปด้วยมือและเข่าอย่างเด็ก; กิริยาที่ใช้มือและเท้าทั้ง ๒ ทาบพื้นแล้วเคลื่อนไป เรียกว่า คลานสี่เท้า; กิริยาที่เคลื่อนไปด้วยเข่าและศอก เรียกว่า คลานศอก, ด้วยเข่า เรียกว่า คลานเข่า; กิริยาที่เดินไปอย่างช้า ๆ ของสัตว์บางชนิด เช่น เต่า จระเข้, เคลื่อนไปอย่างช้า ๆ เช่น รถยนต์ค่อย ๆ คลานไป.
  73. คลาย
    หมายถึง [คฺลาย] ก. ทำให้หลวม, ขยายให้หลวม, เช่น คลายนอต คลายเกลียวเชือก; ลดลง, ทุเลา, บรรเทาลง, เช่น คลายทุกข์ คลายรัก พิษไข้คลาย คลายกังวล.
  74. คลายคล้าย,คล้ายคล้าย
    หมายถึง ก. เคลื่อนเรื่อย ๆ ไป, คล้อย, เช่น หมอมิกลัวกลายจระคล่าย เข้าป่าไปคลายคล้ายด่วนดั้นโดยทาง. (ลอ), คลี่ไคลพลคล้ายคล้าย แลนา. (ลอ); (ถิ่น-พายัพ) ย้าย. (อะหม คล้ายคล้าย ว่า โดยลำดับ).
  75. คลายเคล่ง
    หมายถึง [-เคฺล่ง] (โบ; กลอน) ก. ขยายตรงออกไป, เดินตรงไป, เช่น ครองคลายเคล่งอาศรมบทนั้น. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
  76. คลาศ
    หมายถึง [คฺลาด] (โบ) ก. คลาด, เคลื่อนจากที่หมาย, เช่น เร่งผ้ายเร่งคลาศคลา แลนา. (ลอ).
  77. คลาไคล
    หมายถึง ก. เดินไป, เคลื่อนไป, ไคลคลา ก็ว่า.
  78. คลำ
    หมายถึง [คฺลำ] ก. กิริยาที่ใช้อวัยวะเช่นมือ แตะ ลูบ หรือควานอย่างช้า ๆ เพื่อให้รู้ว่าเป็นอะไรอยู่ที่ไหน เช่น คลำหาทางออก คลำหาสวิตช์ไฟ; โดยปริยายหมายความว่า ค้นหา เช่น คลำหาเงื่อนงำไม่พบ.
  79. คลำป้อย
    หมายถึง ก. อาการที่คลำและลูบแล้ว ๆ เล่า ๆ ตรงที่เจ็บ.
  80. คลิง
    หมายถึง [คฺลิง] (โบ; กลอน) ก. คลึง เช่น นกปลิงคลิงคน- ธบุษปรัตนบังอร. (สมุทรโฆษ).
  81. คลิด
    หมายถึง [คฺลิด] ก. ขัด, แคลง, เคลื่อน, เคล็ด, เช่น มาอย่าคลิดอย่าคลาด. (ม. คำหลวง มหาราช).
  82. คลินิก
    หมายถึง น. สถานรักษาพยาบาล โดยมากเป็นของเอกชน มักไม่รับผู้ป่วยให้พักรักษาตัวประจำ; แผนกของโรงพยาบาลที่รักษาโรคเฉพาะทาง. (อ. clinic).
  83. คลิ้งโคลง
    หมายถึง [คฺลิ้งโคฺลง] น. นกกิ้งโครง เช่น คลิ้งโคลงคล้อแคล้ในรัง นกเจ่าเหงาฟัง แลสารกระสาสรวลตาง. (สมุทรโฆษ). (ดู กิ้งโครง ๑).
  84. คลี
    หมายถึง [คฺลี] (โบ) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลมซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมายทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อบูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล, โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
  85. คลี่
    หมายถึง [คฺลี่] ก. คลายสิ่งที่ม้วนหรือพับอยู่ เช่น คลี่ผ้า คลี่มวยผม, ทำให้แผ่ออก เช่น คลี่พัด คลี่ไพ่, ขยายออก เช่น ดอกไม้คลี่กลีบ.
  86. คลี่คลาย
    หมายถึง ก. บรรเทาลงโดยลำดับ เช่น เหตุการณ์รุนแรงคลี่คลายลง; ทำให้กระจ่างโดยลำดับ เช่น ตำรวจคลี่คลายเงื่อนงำในคดีฆาตกรรม.
  87. คลี่ทัพ,คลี่พล
    หมายถึง (โบ) ก. เคลื่อนพล, เคลื่อนกำลังไป, เช่น ยังยโสธรคล้อย คลี่พล. (ยวนพ่าย).
  88. คลึง
    หมายถึง [คฺลึง] ก. ใช้ฝ่ามือกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเบา ๆ แล้วเคลื่อนมือหมุนไปมา เพื่อให้กลมหรือให้เรียบเป็นต้น, อาการที่ทำเช่นนั้นด้วยสิ่งอื่น เช่น คลึงด้วยลูกประคบ.
  89. คลึงเคล้น
    หมายถึง ก. ลูบคลำและบีบเน้นไปมา.
  90. คลึงเคล้า
    หมายถึง ก. ลูบคลำ, ทั้งคลึงทั้งเคล้า, ลูบคลำกอดรัด, เกลือกกลั้วอย่างกิริยาที่แมลงภู่คลึงเคล้าดอกไม้.
  91. คลื่น
    หมายถึง [คฺลื่น] น. นํ้าในทะเลหรือแม่นํ้าลำคลองเป็นต้น ซึ่งบางส่วนมีอาการเคลื่อนไหวนูนสูงกว่าระดับโดยปรกติแล้วลดลงและแลเห็นเคลื่อนไปเป็นระยะยาวหรือสั้นบนผิวนํ้า, โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นมนุษย์ ผมดัดเป็นคลื่น ถนนเป็นคลื่น.
  92. คลื่นกระทบฝั่ง
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  93. คลื่นกระทบฝั่ง
    หมายถึง (สำ) น. เรื่องราวที่ครึกโครมขึ้นมาแล้วกลับเงียบหายไป.
  94. คลื่นปานกลาง
    หมายถึง น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ปานกลางตั้งแต่ ๓๐๐ กิโลเฮิรตซ์ ถึง ๓ เมกะเฮิรตซ์ (หรือ ๓,๐๐๐ กิโลเฮิรตซ์).
  95. คลื่นยาว
    หมายถึง น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ตํ่าตั้งแต่ ๓๐ กิโลเฮิรตซ์ ถึง ๓๐๐ กิโลเฮิรตซ์.
  96. คลื่นวิทยุ
    หมายถึง น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ส่งผ่านบรรยากาศด้วยความถี่วิทยุ.
  97. คลื่นสั้น
    หมายถึง น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง ตั้งแต่ ๓ เมกะเฮิรตซ์ ถึง ๓๐ เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารระยะไกล.
  98. คลื่นเหียน
    หมายถึง ก. มีอาการคลื่นไส้จะอาเจียน.
  99. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
    หมายถึง น. คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็กและไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ คลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต เอกซเรย์ รังสีแกมมา และ รังสีคอสมิก.
  100. คลื่นใต้น้ำ
    หมายถึง น. คลื่นในมหาสมุทรที่มีช่วงคลื่นยาวสมํ่าเสมอและยอดเรียบเคลื่อนตัวมาจากแหล่งกำเนิดที่อยู่ไกลมาก ชาวเรือถือเป็นสัญญาณบอกเหตุว่าจะเกิดพายุ.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ค (หน้าที่ 4)"