พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ข (หน้าที่ 9)

  1. ขุนไม่เชื่อง
    หมายถึง (สำ) ว. เลี้ยงไม่เชื่อง มีแต่เนรคุณ.
  2. ขุม
    หมายถึง น. หลุม, ใช้ในบางลักษณะ เช่น ขุมขน ขุมนรก; แหล่งที่เกิดที่เก็บ เช่น ขุมทรัพย์; ลักษณนามใช้เรียกหน่วยที่ต่อรองกันในการพนันคราวหนึ่ง ๆ เช่น ๕ เอา ๑ เป็นหน่วยหนึ่ง เรียกว่า ขุมหนึ่ง.
  3. ขุย
    หมายถึง น. ผงที่เกิดจากเนื้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ติดอยู่ที่เนื้อนั้นเอง หรือหลุดออกมากองอยู่เป็นกลุ่ม ๆ เช่น ผิวหนังเป็นขุย ขุยกระดาษ ขุยมด.
  4. ขุยอินทรีย์
    หมายถึง น. อินทรียวัตถุที่สลายตัวปะปนอยู่ในดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์. (อ. humus).
  5. ขุยไผ่
    หมายถึง น. เมล็ดไผ่ที่ตกลงมากองอยู่ที่กอไผ่.
  6. ขุ่น
    หมายถึง ว. มีลักษณะมัว ไม่ใส ไม่ชัดเจน.
  7. ขุ่นข้องหมองใจ
    หมายถึง ก. ผิดใจกัน.
  8. ขุ่นมัว
    หมายถึง ว. ไม่แจ่มใส.
  9. ขุ่นหมอง
    หมายถึง ว. ไม่ผ่องใส.
  10. ขุ่นเคือง
    หมายถึง ก. โกรธกรุ่น ๆ อยู่ในใจ, เคืองขุ่น ก็ว่า.
  11. ขุ่นแค้น
    หมายถึง ก. โกรธอย่างเจ็บใจ.
  12. ขุ่นใจ
    หมายถึง ก. หมองใจ, ไม่พอใจ, ขัดเคืองกัน.
  13. ขู
    หมายถึง (กลอน) ว. มาก. (เลือนมาจาก โข).
  14. ขูด
    หมายถึง ก. เอาของมีคมเป็นต้นครูด เช่น เอาช้อนขูดมะพร้าว เอาเล็บขูดขี้ผึ้ง, ครูดสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับของมีคม เช่น เอามะพร้าวไปขูดกับกระต่าย.
  15. ขูดรีด
    หมายถึง ก. แสวงหาประโยชน์โดยวิธีบีบบังคับเอา, แสวงหาประโยชน์โดยวิธีบีบบังคับให้จำยอม.
  16. ขูดเลือด,ขูดเลือดขูดเนื้อ
    หมายถึง ก. เรียกเอาราคาหรือดอกเบี้ยเกินสมควร.
  17. ขู่
    หมายถึง ก. แสดงอาการให้อีกฝ่ายหนึ่งเกรงกลัว เช่น ผู้ใหญ่ขู่เด็ก งูขู่ฟ่อ ๆ.
  18. ขู่กรรโชก
    หมายถึง ก. ทำให้กลัวโดยแสดงกิริยาอาการจะทำร้าย.
  19. ขู่ขวัญ
    หมายถึง ก. ทำให้หวาดกลัว, ทำให้เสียขวัญ.
  20. ขู่เข็ญ
    หมายถึง ก. ทำให้กลัวโดยบังคับ; (กฎ) แสดงกิริยาหรือวาจาให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้นั้น หรือของบุคคลที่สาม.
  21. ขเคศวร
    หมายถึง ครุฑ, ผู้เป็นใหญ่แห่งนก
  22. ขเจา
    หมายถึง [ขะ-] (ถิ่น-พายัพ, ปักษ์ใต้) น. ต้นกระเชา. (ดู กระเชา).
  23. ขโมย
    หมายถึง [ขะ-] น. ผู้ลักทรัพย์. ก. ลัก, โดยปริยายหมายความว่า ลอบทำสิ่งที่ตนไม่มีสิทธิ์หรือไม่ได้รับอนุญาต เช่น เด็กขโมยสูบบุหรี่ เขาขโมยอ่านจดหมายเพื่อน.
  24. ข่ม
    หมายถึง ก. ใช้กำลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้นที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมายความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.
  25. ข่มขวัญ
    หมายถึง ก. ทำให้ขวัญเสีย เช่น พูดข่มขวัญฝ่ายตรงข้าม.
  26. ข่มขี่
    หมายถึง ก. กดขี่.
  27. ข่มขืน
    หมายถึง ก. บังคับ, ขืนใจ, ขู่เข็ญ.
  28. ข่มขืนกระทำชำเรา
    หมายถึง (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานขืนใจกระทำการร่วมประเวณีกับหญิงซึ่งมิใช่ภรรยาของตน โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ หรือใช้กำลังประทุษร้ายหญิงซึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือทำให้หญิงเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น.
  29. ข่มขืนใจ
    หมายถึง (กฎ) ก. บังคับให้กระทำหรืองดเว้นกระทำ โดยไม่สมัครใจแต่จำต้องฝืนใจปฏิบัติตาม เพราะไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ เช่น ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๓๙.
  30. ข่มขู่
    หมายถึง ก. ทำให้กลัว, ทำให้เสียขวัญ; (กฎ) ทำให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเกิดความเสียหายเป็นภัยแก่ตนเอง แก่สกุลแห่งตน หรือแก่ทรัพย์สินของตน เป็นภัยอันใกล้จะถึงและอย่างน้อยร้ายแรงถึงขนาดที่จะพึงกลัว ตามประมวลกฎหมายแพ่ง การข่มขู่อาจทำให้นิติกรรมเสื่อมเสียได้.
  31. ข่มท้อง
    หมายถึง ก. ใช้มือกดท้องช่วยในการคลอดลูก.
  32. ข่มนาม
    หมายถึง ก. ทำพิธีข่มชื่อศัตรูก่อนยกทัพ.
  33. ข่มหมู
    หมายถึง (ปาก) ก. รังแก.
  34. ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า
    หมายถึง (สำ) ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เราเหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า. (สังข์ทอง).
  35. ข่มเหง
    หมายถึง [-เหง] ก. ใช้กำลังรังแกแกล้งทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น.
  36. ข่มเหงคะเนงร้าย
    หมายถึง ก. รังแกเบียดเบียน.
  37. ข่วง
    หมายถึง น. บริเวณ, ลาน, ใช้ว่า ขวง ก็มี.
  38. ข่วน
    หมายถึง ก. ขูดหรือขีดด้วยของแหลมเช่นหนามหรือเล็บ.
  39. ข่อ
    หมายถึง น. เถ้า, เขม่า.
  40. ข่อน
    หมายถึง ว. ปั่นป่วน, ไม่สบายใจ, โดยมากใช้เป็นคำคู่ เช่น อกใจมันให้ข่อน ๆ จะนั่งนอนก็ไม่หลับสนิท. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  41. ข่อย
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลางชนิด Streblus asper Lour. ในวงศ์ Moraceae มักขึ้นตามป่าตํ่าและริมแม่นํ้าลำคลอง ใบเล็ก สากคาย ใช้ขัดถูได้ เปลือกใช้ทำกระดาษ เรียกว่า กระดาษข่อย ใบ เปลือก เนื้อไม้ และเมล็ดใช้ทำยาได้.
  42. ข่อยน้ำ
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Streblus taxoides (Heyne) Kurz ในวงศ์ Moraceae ขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งก้านมักงอหักไปมา ใบเกลี้ยง ไม่สากคาย, ข่อยหยอง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ขี้แรด.
  43. ข่อยหนาม
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Streblus ilicifolius (Vidal) Corner ในวงศ์ Moraceae มักขึ้นบนเขาหินปูนในป่าดิบ ลำต้นตรง ใบแข็งหนา ด้านบนเขียวแก่เป็นมัน ขอบใบเป็นหนามแหลมคม, ปักษ์ใต้เรียก กระชิด.
  44. ข่อยหยอง
    หมายถึง ดู ข่อยนํ้า.
  45. ข่า
    หมายถึง น. ไม้ที่ทำเป็นร้านขึ้นคร่อมกองไฟสำหรับปิ้งปลา, ไม้ไผ่ขัดเป็นตารางเล็ก ๆ สำหรับวางหรือห้อยอาหารแห้งให้อยู่เหนือเตาไฟในครัว.
  46. ข่า
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alpinia galanga (L.) Sw. ในวงศ์ Zingiberaceae มีเหง้า ลำต้นเป็นกอ สูง ๑-๓ เมตร ดอกขาว ออกเป็นช่อที่ยอด เหง้ามีกลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหารและทำยาได้.
  47. ข่า
    หมายถึง น. คนชาวเขาจำพวกหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร เช่น ข่าอัตตะปือ ข่าตองเหลือง และอีกพวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลอินโดนีเซียน ได้แก่ ข่าระแด และ ข่าจะราย.
  48. ข่า
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ในมหาชาติคำหลวงแปลจากศัพท์ว่า สุสู, คือ จระเข้, เช่น มงงกรฉลองเข้ข่าก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).
  49. ข่าง
    หมายถึง น. ไม้ชนิดหนึ่ง อยู่ทางแถบทะเล เปลือกเรียบ ๆ ใบคล้ายมะขวิด ไม้ใช้ทำฟืน. (พจน. ๒๔๙๓).
  50. ข่าง
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) ก. ระบาย, ถ่าย, เช่น ข่างนํ้า ว่า ระบายนํ้า.
  51. ข่าง
    หมายถึง น. ของเล่นอย่างหนึ่งเป็นลูกกลม ๆ มีเดือยใช้ปั่นให้หมุนด้วยมือหรือด้วยเชือก เรียกว่า ลูกข่าง; ชื่อดาวหมู่หนึ่งมี ๔ ดวงคล้ายรูปลูกข่าง.
  52. ข่าต้น
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Cinnamomum ilicioides Cheval. ในวงศ์ Lauraceae เปลือกและเนื้อไม้มีกลิ่นหอม, พายัพเรียก พลูต้น.
  53. ข่าม
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) ก. อยู่ยงคงกระพัน.
  54. ข่าย
    หมายถึง น. เครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาร่างแห; ขอบเขต เช่น เรื่องนี้ไม่อยู่ในข่ายที่จะพิจารณา. (พายัพ ว่าห่าย).
  55. ข่ายงาน
    หมายถึง น. วงงานที่อยู่ในความควบคุมดูแลและประสานกัน.
  56. ข่าว
    หมายถึง น. คำบอกเล่าเรื่องราวซึ่งโดยปรกติมักเป็นเรื่องเกิดใหม่หรือเป็นที่สนใจ, คำบอกกล่าว, คำเล่าลือ.
  57. ข่าวกรอง
    หมายถึง น. ข่าวที่ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วว่าเป็นข่าวที่เชื่อถือได้.
  58. ข่าวคราว
    หมายถึง น. คำบอกเล่าเรื่องทุกข์สุข.
  59. ข่าวพาดหัว
    หมายถึง น. ข่าวสำคัญที่นำมาพิมพ์เป็นหัวเรื่องในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ด้วยอักษรขนาดใหญ่เพื่อให้เกิดความสนใจ.
  60. ข่าวยกเมฆ
    หมายถึง น. ข่าวที่ไม่มีมูล, ข่าวเหลวไหล.
  61. ข่าวลือ
    หมายถึง น. ข่าวที่พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน.
  62. ข่าวล่า
    หมายถึง น. ข่าวที่ได้มาใหม่.
  63. ข่าวสด
    หมายถึง น. ข่าวใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น.
  64. ข่าวสาร
    หมายถึง น. ข้อความที่ส่งมาให้รู้เรื่องกัน.
  65. ข่าแดง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Achasma sphaerocephalum Holtt. ในวงศ์ Zingiberaceae ดอกสีแดง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ใกล้พื้นดิน กินได้.
  66. ข่ำเขียว
    หมายถึง (กลอน) ว. รีบ, ด่วน, เร่ง.
  67. ข้น
    หมายถึง ว. ลักษณะของเหลวที่มีการรวมตัวกันแน่นเข้า, ไม่ใส; มีน้อยลงไป, งวด.
  68. ข้นแค้น
    หมายถึง ก. อัตคัด, ขัดสน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยากจน เป็น ยากจนข้นแค้น.
  69. ข้อ
    หมายถึง น. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา; ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อนหนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ; เรียกอวัยวะบางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า; เนื้อความตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ.
  70. ข้อกฎหมาย
    หมายถึง (กฎ) น. ข้อความที่เกี่ยวกับการใช้บังคับหรือการตีความกฎหมาย.
  71. ข้อกติกา
    หมายถึง น. ข้อตกลง, ข้อกำหนด, ข้อที่นัดหมายกันไว้, เงื่อนไขที่กำหนดไว้.
  72. ข้อกำหนด
    หมายถึง น. ข้อความที่ระบุเป็นหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติหรือดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
  73. ข้อความ
    หมายถึง น. เนื้อความตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง.
  74. ข้อคัดย่อ
    หมายถึง น. ข้อความที่ย่อแต่ใจความสำคัญ, บทคัดย่อ ก็ว่า. (อ. abstract).
  75. ข้อคิด
    หมายถึง น. ประเด็นที่เสนอให้คิด, ประเด็นที่ชวนคิด.
  76. ข้อคิดเห็น
    หมายถึง น. ความเห็น.
  77. ข้อง
    หมายถึง น. เครื่องจักสานสำหรับใส่ปลา ปู เป็นต้น รูปคล้ายตะกร้าปากแคบอย่างคอหม้อดิน ก้นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดต่าง ๆ.
  78. ข้อง
    หมายถึง ก. ติดอยู่.
  79. ข้องขัด
    หมายถึง (กลอน) ก. ขัดข้อง, ติดขัด.
  80. ข้องแวะ
    หมายถึง ก. ติดต่อ, เอาใจใส่, เกี่ยวพัน, เกี่ยวข้อง, มักใช้ในประโยคที่มีความหมายเป็นเชิงถามหรือปฏิเสธ.
  81. ข้องใจ
    หมายถึง ก. ติดใจสงสัย, ยังไม่สิ้นสงสัย.
  82. ข้อจำกัด
    หมายถึง (กฎ) น. สิ่งที่กำหนดขอบเขตสิทธิหรืออำนาจไว้โดยเฉพาะ.
  83. ข้อน
    หมายถึง ก. ตี, ทุบ, ค่อน ก็ใช้.
  84. ข้อบังคับ
    หมายถึง (กฎ) ดู กฎข้อบังคับ.
  85. ข้อบัญญัติ
    หมายถึง (กฎ) น. กฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตราขึ้นเพื่อใช้บังคับในเขตขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา.
  86. ข้อปลีกย่อย
    หมายถึง น. รายละเอียด, เรื่องเบ็ดเตล็ด.
  87. ข้อพับ
    หมายถึง น. ส่วนของแขนหรือขาที่พับได้.
  88. ข้อมือขาว
    หมายถึง (โบ) น. ข้อมือที่ไม่ได้สักบอกสังกัดทหาร.
  89. ข้อมูล
    หมายถึง น. ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ.
  90. ข้อย
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. น. ข้า, บ่าว, เช่น เมื่อให้สูสองราชเป็นข้อยขาดแก่พราหมณ์. (ม. คำหลวง กุมาร).
  91. ข้อยกเว้น
    หมายถึง น. ข้อความที่ไม่เกี่ยวด้วยเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์เป็นต้นที่กำหนดไว้.
  92. ข้อราชการ
    หมายถึง น. เรื่องราชการ.
  93. ข้อลำ
    หมายถึง น. พละกำลัง เช่น ข้อลำอย่างนี้จะสู้งานหนักไหวหรือ.
  94. ข้อศอก
    หมายถึง น. ส่วนของแขนตรงข้ามกับข้อพับ, ศอก ก็ว่า.
  95. ข้อสอบ
    หมายถึง น. ปัญหาที่ตั้งขึ้นในการสอบความรู้.
  96. ข้อสังเกต
    หมายถึง น. สิ่งที่กำหนดไว้ให้สนใจเป็นพิเศษ เช่น บทความนี้มีข้อสังเกตอยู่หลายประการ เขาตั้งข้อสังเกตว่า ๒-๓ วันนี้มีชายแปลกหน้ามาเยี่ยม ๆ มอง ๆ ที่ประตูบ้านบ่อย.
  97. ข้อหา
    หมายถึง น. คำกล่าวโทษ; (กฎ) คำกล่าวหาบุคคลว่าได้กระทำความผิดอาญา; คำกล่าวหาเกี่ยวกับข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลในทางแพ่ง.
  98. ข้ออ้อย
    หมายถึง น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง; ชื่อเหล็กเส้นชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายลำอ้อย.
  99. ข้ออ้าง
    หมายถึง น. สิ่งที่นำมาอ้างสนับสนุนความคิดเห็นหรือการกระทำของตน.
  100. ข้อเขียน
    หมายถึง น. เรียกการสอบแบบเขียนคำตอบว่า สอบข้อเขียน, มักใช้คู่กับ สอบสัมภาษณ์.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ข (หน้าที่ 9)"