พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ข (หน้าที่ 8)

  1. ขี้เมฆ
    หมายถึง (ปาก) น. เมฆ.
  2. ขี้เรื้อน
    หมายถึง น. เรื้อน. (ปาก) ว. ไม่มีคุณค่า เช่น คนขี้เรื้อน ของขี้เรื้อน.
  3. ขี้เรื้อนกวาง
    หมายถึง น. ชื่อโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นผื่นคัน ทำให้ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีนํ้าเหลืองไหลหรือตกสะเก็ดในระยะหลัง มักเป็นตามบริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือบริเวณที่ที่มือเอื้อมไปเกาถึง.
  4. ขี้เล็บ
    หมายถึง (ปาก) ว. ใช้เปรียบของที่เล็กน้อย.
  5. ขี้เหนียว
    หมายถึง ว. ตระหนี่, ขี้ตืด ก็ว่า.
  6. ขี้เหร่
    หมายถึง ว. ไม่สวย, ไม่งาม, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ขี้ริ้ว เป็น ขี้ริ้วขี้เหร่.
  7. ขี้เหล็ก
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Cassia siamea Lam. ในวงศ์ Leguminosae มักขึ้นตามริมนํ้าหรือป่าชื้น ดอกเหลืองดกเป็นช่อใหญ่ เนื้อไม้สีนํ้าตาลแก่หรือบางทีเกือบดำ มีลายเป็นเส้นสีแก่หรือสีอ่อนกว่าพื้น แข็ง เหนียว และหนักมาก ใช้ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ใบอ่อนและดอกกินได้.
  8. ขี้แดด
    หมายถึง น. ตะไคร่ที่จับบนผิวโคลนสีเขียว ๆ.
  9. ขี้แต้
    หมายถึง น. ดินที่แห้งแข็งเป็นตะปุ่มตะป่ำอยู่ตามทุ่งนา มักอูดขึ้นมาจากรอยกีบเท้าวัวเท้าควาย เรียกว่า หัวขี้แต้.
  10. ขี้แพ้ชวนตี
    หมายถึง (สำ) ก. แพ้ตามกติกาแล้วยังไม่ยอมรับว่าแพ้จะเอาชนะด้วยกำลัง, แพ้แล้วพาล.
  11. ขี้แมลงวัน
    หมายถึง น. จุดดำเล็ก ๆ ที่ขึ้นตามร่างกาย, ราชาศัพท์ว่า พระปิลกะ.
  12. ขี้แมว
    หมายถึง น. ชื่อมะขามพันธุ์ฝักเล็ก. (ดู มะขาม).
  13. ขี้แมว
    หมายถึง น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งในพวกจันอับ.
  14. ขี้แย
    หมายถึง ว. มักร้องไห้บ่อย ๆ, ใจน้อย.
  15. ขี้แรด
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นข่อยนํ้า. (ดู ข่อยนํ้า).
  16. ขี้แรดล้อมปรวด
    หมายถึง ดู ล้อมปรวด.
  17. ขี้โครง
    หมายถึง (ปาก) น. ซี่โครง.
  18. ขี้โล้
    หมายถึง น. เรียกน้ำมันที่เป็นขี้ตะกอนว่า น้ำมันขี้โล้; กะทิที่เคี่ยวจนเป็นน้ำมันใช้ทำอาหารบางอย่าง.
  19. ขี้ใหม่หมาหอม
    หมายถึง (ปาก) ก. เห่อของใหม่.
  20. ขี้ไคล
    หมายถึง (ปาก) น. เหงื่อที่ปนกับฝุ่นละอองติดกรังอยู่กับหนังกำพร้า, ไคล ก็ว่า.
  21. ขี้ไต้
    หมายถึง น. ส่วนของไต้ที่ใช้เป็นเชื้อไฟหรือส่วนของไต้ที่จุดและเขี่ยให้ร่วงหล่นลง.
  22. ขี้ไต้
    หมายถึง ดู กะล่อน ๑.
  23. ขี้ไถ
    หมายถึง ดู มูล ๓.
  24. ขี้ไถ
    หมายถึง ดู มูลไถ.
  25. ขี้ไม่ให้หมากิน
    หมายถึง (สำ) ก. ขี้เหนียว, ตระหนี่เหนียวแน่น.
  26. ขึง
    หมายถึง ก. ทำให้ตึง เช่น ขึงเชือก ขึงจอภาพยนตร์, ผูกสิ่งเป็นเส้นให้ยาวเหยียดออกไปเป็นราว เช่น ขึงราว, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หน้าขึง.
  27. ขึงขัง
    หมายถึง ว. ผึ่งผาย, เอาจริงเอาจัง, แข็งแรง.
  28. ขึงตา
    หมายถึง ก. จ้องดูอย่างเขม็งด้วยอาการโกรธ หรือด้วยประสงค์จะห้าม.
  29. ขึงพืด
    หมายถึง ก. จับให้นอนเหยียดยาวกางแขนกางขา.
  30. ขึงอูด
    หมายถึง ก. นอนหงายเหยียดตรง แล้วใช้ผ้าที่ขมวดปมหัวท้ายคลุมศีรษะด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ปลายเท้ายันผ้าให้ตึงเพื่อกันยุงเป็นต้น.
  31. ขึ้ง
    หมายถึง ก. แค้น, เคือง, โกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น โกรธขึ้ง ขึ้งโกรธ ขึ้งเคียด.
  32. ขึ้งเคียด
    หมายถึง ก. โกรธอย่างชิงชัง.
  33. ขึ้งโกรธ
    หมายถึง ก. โกรธเอาจริงเอาจัง, โกรธมาก, โกรธขึ้ง ก็ว่า.
  34. ขึ้น
    หมายถึง ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับลง; เพิ่มหรือทำให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทำเนียบ; เอ่ยคำหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ, เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทำอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทำให้เป็นรูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจากธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตามทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  35. ขึ้น
    หมายถึง ว. ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อเน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้งกว่าเดิม เช่น เกิดขึ้น เป็นขึ้น สวยขึ้น สูงขึ้น; เป็นคำประกอบท้าย หมายความว่า มากกว่าเดิม เช่น ดีขึ้น เร็วขึ้น อ้วนขึ้น; เป็นไปตามคำที่ยอหรือยุเป็นต้น เช่น ยกขึ้น ยุขึ้น หนุนขึ้น; ดูสวยกว่าตัวจริง เช่น แต่งตัวขึ้น ถ่ายรูปขึ้น; มีเหตุผลสมควร เช่น ฟังขึ้น, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เช่น เถียงไม่ขึ้น หมายความว่า เถียงไม่ชนะ.
  36. ขึ้นครู
    หมายถึง ก. ทำพิธีคำนับครูที่ประสาทวิชาให้เมื่อแรกเรียน.
  37. ขึ้นคาน
    หมายถึง ก. มีฝีมือในทางใดทางหนึ่งจนไม่มีคู่แข่งขัน; (ปาก) โดยปริยายหมายถึงหญิงโสดที่มีอายุแต่ยังไม่มีสามี.
  38. ขึ้นฉ่าย
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Apium graveolens L. ในวงศ์ Umbelliferae ใบคล้ายผักชีแต่โตกว่า กลิ่นฉุน เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาปลูกเพื่อเป็นอาหาร.
  39. ขึ้นชื่อ
    หมายถึง ก. ลือชื่อ, เอ่ยถึงบ่อย ๆ; ยกขึ้นมาอ้าง เช่น อย่ามาขึ้นชื่อฉัน.
  40. ขึ้นชื่อว่า
    หมายถึง ใช้เป็นคำประกอบหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความ เช่น ขึ้นชื่อว่าคนพาลละก็ต้องหลีกให้ห่างไกล.
  41. ขึ้นซัง
    หมายถึง ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทำอันตรายได้แล้ว, นั่งซัง ก็ว่า.
  42. ขึ้นต้นไม้สุดยอด
    หมายถึง (สำ) ก. ขึ้นถึงตำแหน่งสูงสุดแล้ว.
  43. ขึ้นทะเบียนทหาร
    หมายถึง ก. แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่อมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปี, ผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ถือว่าเป็นทหารกองเกิน.
  44. ขึ้นนวล
    หมายถึง ก. เกิดละอองสีขาวบนผิวผลไม้หรือใบไม้บางชนิดแสดงว่าแก่จัด เช่น ใบตองขึ้นนวล มะม่วงขึ้นนวล ฟักขึ้นนวล.
  45. ขึ้นปาก
    หมายถึง ก. เจนปาก, คล่องปาก.
  46. ขึ้นพลับพลา
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  47. ขึ้นระวาง
    หมายถึง ก. เข้าทำเนียบ, เข้าประจำการ, (ใช้แก่พาหนะของหลวง คือ ม้า ช้าง รถ และเรือ).
  48. ขึ้นร้าน
    หมายถึง น. วิธีนับคะแนนในการเล่นหมากเก็บ โดยเอาตัวหมากทั้งหมดวางบนหลังมือ กระดกมือให้หมากลอยขึ้นแล้วหงายมือรับอย่างรวดเร็ว.
  49. ขึ้นสนิม
    หมายถึง ก. ฝืด, ไม่คล่อง, เช่น ความรู้ขึ้นสนิมหมดแล้ว.
  50. ขึ้นสมอง
    หมายถึง ก. นิยมมาก เช่น เขาชอบกีฬาจนขึ้นสมอง.
  51. ขึ้นสาย
    หมายถึง ก. เทียบเสียงเครื่องดนตรีที่มีสาย.
  52. ขึ้นหน้าขึ้นตา
    หมายถึง ก. มีชื่อเสียง, เด่น.
  53. ขึ้นหม้อ
    หมายถึง น. เรียกข้าวที่หุงแล้วพองตัวมากกว่าข้าวธรรมดาว่า ข้าวขึ้นหม้อ. ว. โดยปริยายหมายความว่า มีผลประโยชน์รวดเร็วมากผิดปรกติ, โดดเด่น, เป็นที่โปรดปราน, โชคดี.
  54. ขึ้นหา
    หมายถึง ก. ลอบขึ้นห้องหญิงเพื่อการชู้สาว.
  55. ขึ้นหิ้ง
    หมายถึง (ปาก) ก. เก็บไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์; ขึ้นคาน.
  56. ขึ้นเขียง
    หมายถึง (ปาก)ก. ตกอยู่ในภาวะที่แทบไม่มีทางจะต่อสู้หรือเอาชนะหรือหลีกเลี่ยงได้เลย.
  57. ขึ้นเสียง
    หมายถึง ก. ออกเสียงดังด้วยความโกรธ; เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
  58. ขึ้นเหนือล่องใต้
    หมายถึง ก. เดินทางไกลไปยังที่ต่าง ๆ โดยมักไปเป็นประจำ.
  59. ขึ้นโต๊ะ
    หมายถึง ว. เรียกลักษณะของสิ่งที่ดีมีราคา, (ปาก) เรียกลักษณะของสิ่งที่ไม่มีราคาแต่ยกย่องให้เป็นสิ่งที่มีราคา.
  60. ขึ้นใจ
    หมายถึง ก. เจนใจ, จำได้แม่นยำ.
  61. ขึ้นไม้ขึ้นมือ
    หมายถึง ก. ชี้หน้าในเวลาโกรธ เช่น มาขึ้นไม้ขึ้นมืออยู่หรบหรบ. (ขุนช้างขุนแผน).
  62. ขืน
    หมายถึง ก. ยั้งไว้หรือบังคับไว้ไม่ให้เป็นไปตาม เช่น ขืนตัว ขืนเรือ; ไม่ควรทำแต่ยังกล้าทำ เช่น ขืนกิน ขืนสู้, ไม่ยอมทำตาม เช่น ขืนคำสั่ง.
  63. ขืนใจ
    หมายถึง ก. บังคับให้ยอมทำตาม เช่น ขืนใจเด็กให้กินยา; ข่มขืน.
  64. ขื่น
    หมายถึง ว. รสฝาดเฝื่อนชวนให้คลื่นไส้ ไม่ชวนกิน; (ถิ่น-พายัพ) ฉุน.
  65. ขื่น
    หมายถึง น. มะเขือขื่น. (ดู มะเขือ).
  66. ขื่นขม
    หมายถึง ก. รู้สึกชํ้าใจแต่ฝืนไว้ เพราะไม่สามารถแสดงออกมาได้, ขมขื่น ก็ใช้.
  67. ขื่อ
    หมายถึง น. ชื่อไม้เครื่องบนสำหรับยึดหัวเสาด้านขวาง; เครื่องจองจำนักโทษ ทำด้วยไม้มีช่องสำหรับสอดมือหรือเท้าแล้วมีลิ่มตอกกำกับกันขื่อหลุด; เรียกกระดูกเชิงกรานที่ขวางอยู่ด้านหน้า.
  68. ขื่อกะละปังหา
    หมายถึง น. ขื่อด้านสกัดหัวท้ายสำหรับรับหน้าจั่วและติดกลอนปีกนก.
  69. ขื่อขวาง,ขื่อคัด
    หมายถึง น. ขื่อที่ ๒ อยู่ใต้ขื่อเดิม อยู่ในพวกเครื่องเรือน.
  70. ขื่อจมูก
    หมายถึง น. แกนกลางระหว่างช่องจมูก.
  71. ขื่อผี
    หมายถึง น. ชื่อกำไลที่ทำด้วยเงินหรือทองเกลี้ยง ๆ หัวท้ายรีดเป็นลวด ทำเป็นห่วงสอดไขว้กันเพื่อรูดเข้าออกได้, กำไลคู่ผี ก็เรียก.
  72. ขื่อมุก
    หมายถึง น. แกนเปลือกที่อยู่ในตัวหอยจำพวกหอยสังข์ใช้ทำด้ามทัพพีเป็นต้น.
  73. ขื่อหมู่
    หมายถึง น. ขื่อไม่น้อยกว่า ๒ ตัว เจาะฝังเข้าไปในเสาร่วมในซึ่งเป็นมุมแล้วทอดไปหาเสาหรือผนังของระเบียงคล้ายเต้าที่รับเชิงกลอน.
  74. ขื่อเท่าต่อ
    หมายถึง ก. รู้เท่าทันกัน.
  75. ขุก
    หมายถึง ว. พลัน, ทันทีทันใด, เช่น ขุกเข็ญ ว่า เกิดความลำบากขึ้นทันที. ก. คิดขึ้นได้ทันที, เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน, เช่น อาวุธอย่าวางไกล ขุกคํ่า คืนแฮ. (โลกนิติ).
  76. ขุก,ขุก,ขุก ๆ
    หมายถึง ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงไอ, ขลุก หรือ ขลุก ๆ ก็ว่า.
  77. ขุด
    หมายถึง ก. กิริยาที่สับ เจาะ แทง หรือ คุ้ยเอาดินหรือสิ่งที่อยู่ในดินขึ้น เช่น ขุดดิน ขุดศพ, อาการที่ขุดดินหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มีรูปร่างตามที่ต้องการ เช่น ขุดหลุม; เรียกเรือชนิดที่ทำด้วยไม้ซุงทั้งต้นหรือทั้งท่อน ขุดด้านบนให้เป็นรางแล้วเบิกปากออกให้กว้าง ถากหัวและท้ายเรือให้เรียวเชิดขึ้นตามส่วน ว่า เรือขุด; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขุดเรื่องเก่า ๆ ขึ้นมาพูด, ขุดคุ้ย หรือ คุ้ยเขี่ย ก็ว่า.
  78. ขุดคุ้ย
    หมายถึง ก. ค้นเอาเรื่องเก่าขึ้นมาเปิดเผย, ขุด หรือ คุ้ยเขี่ย ก็ว่า.
  79. ขุดดินกินหญ้า
    หมายถึง (สำ) ก. ทำงานกระท้อมกระแท้มพอเลี้ยงตัวไปวันหนึ่ง ๆ เช่นทำไร่เล็ก ๆ น้อย ๆ.
  80. ขุดด้วยปากถากด้วยตา
    หมายถึง (สำ) ก. แสดงอาการเหยียดหยามทั้งด้วยวาจาและสายตา.
  81. ขุดบ่อล่อปลา
    หมายถึง (สำ) ก. ทำกลอุบายเพื่อให้ฝ่ายหนึ่งหลงเชื่อโดยหวังประโยชน์จากอีกฝ่ายหนึ่ง.
  82. ขุทกนิกาย
    หมายถึง น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดเล็กน้อย รวบรวมข้อธรรมะที่ไม่อยู่ใน ๔ นิกายข้างต้น มี ๑๕ เรื่อง ซึ่งมีธรรมบทและชาดก รวมอยู่ในคัมภีร์นี้ด้วย.
  83. ขุน
    หมายถึง ก. ให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยง, โดยปริยายหมายถึงเลี้ยงดูอย่างดี.
  84. ขุน
    หมายถึง น. ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, บรรดาศักดิ์ข้าราชการรองจากหลวงลงมา เช่น ขุนวิจิตรมาตรา; เรียกหมากรุกตัวสำคัญที่สุด. ว. ใหญ่ เช่น ขุนเขา.
  85. ขุนทอง
    หมายถึง น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครง ขนดำเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่งหรือเหนียงสีเหลืองติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขาและตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (G. r. religiosa) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคำ.
  86. ขุนนาง
    หมายถึง (โบ) น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ตามปรกติต้องมีศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป.
  87. ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย
    หมายถึง (สำ) ถ้าไม่ใช่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายของตน ก็ไม่ควรไว้วางใจใคร, ทำนองเดียวกับภาษิตที่ว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง.
  88. ขุนน้ำ
    หมายถึง น. สายนํ้าที่ไหลจากยอดเขา.
  89. ขุนน้ำขุนนาง
    หมายถึง (ปาก) น. ขุนนาง.
  90. ขุนบาล
    หมายถึง (โบ) น. นายอากรหวย ก ข.
  91. ขุนพล
    หมายถึง น. แม่ทัพ.
  92. ขุนพัฒน์
    หมายถึง (โบ) น. นายอากรบ่อนเบี้ย.
  93. ขุนศาล
    หมายถึง (โบ) น. ผู้พิพากษาความ.
  94. ขุนศึก
    หมายถึง น. แม่ทัพผู้มีความสามารถในการรบ.
  95. ขุนหมื่น
    หมายถึง (โบ) น. ข้าราชการชั้นต่ำพวกหนึ่งที่เจ้าสังกัดเอาประทวนตั้งเป็นขุนบ้างเป็นหมื่นบ้าง.
  96. ขุนหลวง
    หมายถึง (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน เช่น เป็นขุนหลวงเสวยราชย์ได้สองปี. (พงศ. ร. ๓).
  97. ขุนเพ็ด
    หมายถึง น. รูปจำลองอวัยวะเพศชาย ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง, ปลัดขิก ไอ้ขิก หรือ อ้ายขิก ก็เรียก, ถ้าใช้เป็นเครื่องบูชาตามศาลเจ้า เรียกว่า ดอกไม้เจ้า, ราชาศัพท์ว่า ทองพระขุน.
  98. ขุนแผน
    หมายถึง (โบ) น. พรหมธาดา. (เจ้าแห่งแผน คือพระพรหม).
  99. ขุนแผน
    หมายถึง น. ชื่อนกชนิด Urocissa erythrorhyncha ในวงศ์ Corvidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับอีกา ปากสีแดง หัวและคอสีดำ ลำตัวสีฟ้าอมเทา หางยาว กินนกเล็ก ๆ และสัตว์เลื้อยคลาน.
  100. ขุนไม่ขึ้น
    หมายถึง (สำ) ว. เลี้ยงไม่เชื่อง มีแต่เนรคุณ.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ข (หน้าที่ 8)"