พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ข (หน้าที่ 5)

  1. ขัด
    หมายถึง (โบ; กลอน) ก. คาด เช่น มีพิกัดขัดค่าเป็นราคาน้อยมาก. (ม. ร่ายยาว มหาราช).
  2. ขัด
    หมายถึง ก. ให้ติดขวางไว้ไม่ให้หลุดออก เช่น ขัดกระดุม ขัดกลอน; เหน็บ เช่น ขัดกระบี่; ไม่ทำตาม, ฝ่าฝืน, ขืนไว้, เช่น ขัดคำสั่ง; แย้งกัน, ไม่ลงรอยกัน.
  3. ขัด
    หมายถึง ก. ไม่ใคร่จะมี, ฝืดเคือง, ไม่คล่อง, ไม่เป็นปรกติ.
  4. ขัด
    หมายถึง ก. ถูให้เกลี้ยง, ถูให้ผ่องใส, ถูให้ขึ้นเงา, เช่น ขัดขี้ไคล ขัดพื้น.
  5. ขัดขวาง
    หมายถึง ก. ทำให้ไม่สะดวก, ทำให้ติดขัด.
  6. ขัดขา
    หมายถึง ก. จงใจขัดขวางเพื่อไม่ให้ทำได้สะดวก, ขัดแข้งขัดขา ก็ว่า; แทนชั่วคราว เป็นการแก้ขัดในการเล่นไพ่เป็นต้น, คานขา หรือ คันขา ก็ว่า.
  7. ขัดขืน
    หมายถึง ก. ไม่ประพฤติตาม, ไม่ทำตาม.
  8. ขัดข้อง
    หมายถึง ก. ไม่ยอมให้ทำ, ไม่ตกลงด้วย, ติดขัด
  9. ขัดคอ
    หมายถึง ก. พูดแย้งขวางเข้ามา, ไม่ให้ทำได้โดยสะดวก.
  10. ขัดจังหวะ
    หมายถึง ก. แทรกเข้ามาในระหว่างร้องรำ; ขวางเข้ามาเพื่อไม่ให้ทำหรือพูดได้สะดวก.
  11. ขัดดอก
    หมายถึง (โบ) ก. ส่งลูกหรือเมียให้รับใช้แทนส่งดอกเบี้ย.
  12. ขัดตะหมาด
    หมายถึง (ปาก) ว. เรียกท่านั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า ว่า นั่งขัดตะหมาด.
  13. ขัดตา
    หมายถึง ก. ดูไม่ถูกตา, ดูไม่เหมาะตา, ขัดนัยน์ตา ขัดลูกตา หรือขัดลูกหูลูกตา ก็ว่า.
  14. ขัดตาทัพ
    หมายถึง ก. ยกทัพไปตั้งชั่วคราว กันไม่ให้ข้าศึกรุกลํ้าเข้ามา; (ปาก) แก้ไขไปพลาง ๆ ก่อน.
  15. ขัดตำนาน
    หมายถึง ก. สวดบทนำเป็นทำนองก่อนสวดมนต์.
  16. ขัดนัยน์ตา,ขัดลูกตา,ขัดลูกหูลูกตา
    หมายถึง ก. ขัดตา.
  17. ขัดบท
    หมายถึง ก. แทรกเข้ามาเมื่อเขาพูดยังไม่จบเรื่อง, ใช้เลือนมาเป็น ขัดคอ ก็มี.
  18. ขัดมอน
    หมายถึง ดู หญ้าขัด.
  19. ขัดมอนตัวผู้
    หมายถึง ดู หญ้าขัดหลวง.
  20. ขัดมอนหลวง
    หมายถึง ดู หญ้าขัดหลวง.
  21. ขัดยอก
    หมายถึง ก. เคล็ดและรู้สึกเจ็บปวด.
  22. ขัดลาภ
    หมายถึง ก. ทำให้ไม่ได้รับสิ่งที่จะพึงได้, ทำให้ไม่มีโชค.
  23. ขัดลำ
    หมายถึง ก. อาการที่กระสุนปืนค้างติดในลำกล้อง.
  24. ขัดลำกล้อง
    หมายถึง (ปาก) ก. ถ่ายปัสสาวะไม่ค่อยออก (ใช้แก่ผู้ชาย).
  25. ขัดสน
    หมายถึง ว. ฝืดเคือง, อัตคัด, ขาดแคลน; ลำบาก.
  26. ขัดสมาธิ
    หมายถึง [ขัดสะหฺมาด] ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกันเรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้นข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็นท่าพระพุทธรูปนั่ง. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย.
  27. ขัดหนัก
    หมายถึง ก. ถ่ายอุจจาระไม่ค่อยออก.
  28. ขัดหู
    หมายถึง ก. ฟังไม่ถูกหู, ฟังไม่เพราะหู.
  29. ขัดห้าง
    หมายถึง ก. ทำที่พักบนต้นไม้ในป่าชั่วคราวสำหรับคอยเฝ้าดูเหตุการณ์หรือดักยิงสัตว์เป็นต้น.
  30. ขัดเกลา
    หมายถึง ก. ทำให้เกลี้ยงเกลา, ทำให้เรียบร้อย, อบรมพรํ่าสอน, เช่น ขัดเกลานิสัย.
  31. ขัดเขมร
    หมายถึง ก. ถกเขมร เช่น ทะเลาะกูกำหมัดขัดเขมร. (ดึกดำบรรพ์).
  32. ขัดเขิน
    หมายถึง ก. กระดากอาย.
  33. ขัดเคือง
    หมายถึง ก. โกรธเพราะถูกขัดใจเป็นต้น.
  34. ขัดเบา
    หมายถึง ก. ถ่ายปัสสาวะไม่ค่อยออก.
  35. ขัดแข็ง
    หมายถึง ก. ไม่อ่อนน้อม.
  36. ขัดแข้งขัดขา
    หมายถึง ก. จงใจขัดขวางเพื่อไม่ให้ทำได้สะดวก, ขัดขา ก็ว่า.
  37. ขัดแค้น
    หมายถึง ก. โกรธเจ็บใจอยู่ไม่หาย.
  38. ขัดแตะ
    หมายถึง ก. เรียกเรือนที่มีฝาเอาไม้ไผ่ซีกสอดขัดกับลูกตั้งว่า เรือนฝาขัดแตะ.
  39. ขัดแย้ง
    หมายถึง ก. ไม่ลงรอยกัน.
  40. ขัดใจ
    หมายถึง ก. โกรธเพราะทำไม่ถูกใจ, ไม่ยอมให้ทำตามใจ.
  41. ขัตติย,ขัตติย-
    หมายถึง [-ยะ-] น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ป.).
  42. ขัตติยมานะ
    หมายถึง น. การถือตัวว่าเป็นกษัตริย์หรือเชื้อสายกษัตริย์.
  43. ขัน
    หมายถึง ก. ทำให้ตึงหรือให้แน่นด้วยวิธีหมุนกวดเร่งเข้าไป เช่น ขันชะเนาะ ขันเกลียว. ว. แข็งแรง, กล้าหาญ, เช่น กูนี้คนขัน จะขามคนใด. (สมุทรโฆษ).
  44. ขัน
    หมายถึง ก. หัวเราะ, นึกอยากหัวเราะ. ว. น่าหัวเราะ, ชวนหัวเราะ, ขบขัน ก็ว่า.
  45. ขัน
    หมายถึง ดู คัน ๓.
  46. ขัน
    หมายถึง น. ภาชนะสำหรับตักหรือใส่นํ้า มีหลายชนิด.
  47. ขัน
    หมายถึง ก. อาการร้องอย่างหนึ่งของไก่หรือนกบางชนิด เฉพาะในตัวผู้ เช่น ไก่ ไก่ฟ้า นกเขา ใช้เป็นสัญญาณติดต่อสื่อสารในสัตว์ประเภทเดียวกัน จะร้องมากในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ หรือในเวลาจำเพาะเช่นเช้าตรู่.
  48. ขันกว้าน
    หมายถึง [-กฺว้าน] ก. ฉุดด้วยกว้าน.
  49. ขันข้าวบาตร
    หมายถึง น. ขันเชิงสำหรับใส่ข้าวตักบาตร.
  50. ขันชะเนาะ
    หมายถึง ก. บิดลูกชะเนาะให้ตึง.
  51. ขันติ,ขันตี
    หมายถึง น. ความอดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ, ความอดทน. (ป. ขนฺติ = ความอดทน เป็นบารมี ๑ ในบารมี ๑๐).
  52. ขันต่อ
    หมายถึง ก. กล้าต่อ. (กฎ) น. การต่อรองซึ่งได้เสียกันโดยอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะ.
  53. ขันทองพยาบาท
    หมายถึง [-พะยาบาด] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Suregada multiflorum (A. Juss.) Baill. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๕-๘ เมตร ใบรี หนา ด้านบนสีเขียวแก่เป็นมัน ผลกลมมี ๓ พู ขนาดกว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ใช้ทำยาได้.
  54. ขันที
    หมายถึง น. ชายที่ถูกตอน บางประเทศทางเอเชียสมัยโบราณใช้สำหรับควบคุมฝ่ายใน.
  55. ขันธาวาร
    หมายถึง [-ทาวาน] (แบบ) น. ค่าย, กองทัพ, เช่น เสด็จถึงขันธาวารประเทศ. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). (ป.).
  56. ขันธ์
    หมายถึง น. ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด, ส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น ๕ กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ ๕ หรือ ขันธ์ทั้ง ๕. (ป.; ส. สกนฺธ).
  57. ขันน้ำพานรอง
    หมายถึง น. ขันนํ้าที่มีพานรองรับ.
  58. ขันลงหิน
    หมายถึง น. ขันที่ทำด้วยโลหะผสมทองแดงกับดีบุก แล้วขัดให้เป็นมัน.
  59. ขันสมอ
    หมายถึง [-สะหฺมอ] ก. หมุนเครื่องเอาสมอขึ้น.
  60. ขันสาคร
    หมายถึง น. ขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปากคาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ หรือสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ.
  61. ขันสู้
    หมายถึง ก. แข่งเข้าสู้, กล้าสู้.
  62. ขันหมาก
    หมายถึง น. ขันใส่หมากพลูเป็นต้นซึ่งเชิญไปพร้อมกับของอื่น ๆ ในพิธีหมั้นหรือแต่งงาน เป็นเครื่องคำนับผู้ปกครองฝ่ายหญิง.
  63. ขันหมาก
    หมายถึง (โบ; ราชา) น. เรียกพานใส่หมากพลูของพระเจ้าแผ่นดินว่า พานพระขันหมาก หรือ พระขันหมาก, พานพระศรี ก็ว่า.
  64. ขันหมาก
    หมายถึง น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนจำปา รากเป็น ๓ แง่ ดอกเหมือนบอน ลูกเหมือนแตงกวา. (กบิลว่าน).
  65. ขันอาสา
    หมายถึง ก. เสนอตัวเข้ารับทำโดยเต็มใจ, กล้าอาสา.
  66. ขันเชิง
    หมายถึง น. ขันชนิดที่มีเชิง.
  67. ขันเหม
    หมายถึง น. ขันชนิดที่เล็กกว่าขันเชิงเล็กน้อย ใส่ข้าวสารไว้ในขันสำหรับปักแว่นเวียนเทียน.
  68. ขันแข็ง
    หมายถึง ว. อย่างเอาจริงเอาจัง เช่น ขยันขันแข็ง รับปากขันแข็ง.
  69. ขันโตก
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. ภาชนะทำด้วยไม้กลึง ไม้ไผ่สาน หวาย หรืออย่างเครื่องเขิน ส่วนบนลักษณะคล้ายถาด ส่วนล่างเป็นตีนลักษณะเป็นวงแหวนมีขนาดเล็กกว่าถาดส่วนบน โดยมีซี่ไม้ลูกมะหวดประมาณ ๖ ซี่ปักที่ตีนค้ำถาดไว้ ใช้สำหรับใส่อาหารเป็นต้น, โตก หรือ สะโตก ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
  70. ขับ
    หมายถึง ก. ต้อนให้ไป, บังคับให้ไป, ไล่; ไล่ตาม; บังคับให้เคลื่อนไปได้ เช่น ขับเกวียน ขับรถม้า, สามารถบังคับเครื่องยนต์ให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ไปได้ เช่น ขับรถ ขับเรือ; บังคับให้ออก เช่น ขับปัสสาวะ; ประชดอย่างล้อ, พูดล้อเพื่อสนุก.
  71. ขับ
    หมายถึง ก. ร้องเป็นทำนอง เช่น ขับกล่อม ขับเสภา.
  72. ขับขัน
    หมายถึง ว. คับขัน.
  73. ขับขี่
    หมายถึง ว. (ปาก) เรียกใบอนุญาตให้ขับรถได้ว่า ใบขับขี่, (กฎ) ใช้ว่า ใบอนุญาตขับขี่. ก. สามารถบังคับเครื่องยนต์ให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ไปได้.
  74. ขับซอ
    หมายถึง (ถิ่น) ก. ร้องเพลงโดยมีดนตรีประกอบ เช่น ขับซอยอยศอ้าง ฦๅลูกกษัตริย์เจ้าช้าง ชื่นแท้ใครเทียมเทียบนา. (ลอ).
  75. ขับถ่าย
    หมายถึง ก. รุหรือระบายสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากร่างกาย.
  76. ขับพล
    หมายถึง ก. ยกทัพ, เคลื่อนกองทัพเข้าโจมตีข้าศึก.
  77. ขับร้อง
    หมายถึง ก. ร้องเพลง.
  78. ขับเคลื่อน
    หมายถึง ก. ผลักหรือดันให้ไปด้วยแรงดันไอนํ้าหรือกังหันเป็นต้น.
  79. ขับเคี่ยว
    หมายถึง ก. เร่งรัด, ต่อสู้หรือแข่งขันกันไปจนถึงที่สุด หรือจนแพ้ชนะไปข้างหนึ่ง.
  80. ขับไม้
    หมายถึง น. การเล่นดนตรีอย่างหนึ่ง มีคนเล่น ๓ คนด้วยกัน คนหนึ่งขับร้องลำนำ คนหนึ่งสีซอ ๓ สายประสานเสียง คนหนึ่งไกวบัณเฑาะว์ให้จังหวะ; ชื่อคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ใช้โคลงกับกาพย์สุรางคนางค์สลับกัน.
  81. ขับไม้บัณเฑาะว์
    หมายถึง [-บันเดาะ] น. วิธีบรรเลงอย่างหนึ่ง; ชื่อเพลงไทยชนิดหนึ่ง.
  82. ขับไล่ไสส่ง
    หมายถึง ก. ไล่ไปอย่างไม่มีเยื่อใย, ขับไสไล่ส่ง ก็ว่า.
  83. ขัย
    หมายถึง [ไข] น. ความสิ้นไป, เขตอายุของคนที่นิยมกันว่าสูงสุด เรียกว่า อายุขัย. (ป. ขย; ส. กฺษย).
  84. ขัว
    หมายถึง (ถิ่น; กลอน) น. สะพาน.
  85. ขั้น
    หมายถึง น. ชั้นที่ทำลดหลั่นกันเป็นลำดับ เช่น ขั้นบันได; ลำดับ, ตอน, เช่น ในขั้นนี้.
  86. ขั้ว
    หมายถึง น. ส่วนที่ต่อของก้านดอกไม้ ใบไม้ ผลไม้ และอื่น ๆ.
  87. ขั้วกระจก
    หมายถึง น. จุดกึ่งกลางของผิวกระจกโค้งทรงกลม.
  88. ขั้วบวก
    หมายถึง น. ขั้วไฟฟ้าที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าอีกขั้วหนึ่ง.
  89. ขั้วลบ
    หมายถึง น. ขั้วไฟฟ้าที่มีศักย์ไฟฟ้าตํ่ากว่าอีกขั้วหนึ่ง.
  90. ขั้วแม่เหล็ก
    หมายถึง น. บริเวณที่ตัวแท่งแม่เหล็กซึ่งมีแรงแม่เหล็กมากที่สุด โดยปรกติบริเวณดังกล่าวจะอยู่ใกล้ปลายทั้ง ๒ ของแท่งแม่เหล็ก, ถ้าชี้ไปทางทิศเหนือ เรียกว่า ขั้วเหนือ ถ้าชี้ไปทางทิศใต้ เรียกว่า ขั้วใต้.
  91. ขั้วแม่เหล็กโลก
    หมายถึง น. เรียกบริเวณที่มีแรงแม่เหล็กโลกมากที่สุดทางซีกโลกเหนือและใต้ว่า ขั้วแม่เหล็กโลกเหนือ ขั้วแม่เหล็กโลกใต้.
  92. ขั้วโลก
    หมายถึง น. เรียกบริเวณปลายสุดของแกนโลกเหนือและใต้ที่มีละติจูด ๙๐ องศาเหนือว่า ขั้วโลกเหนือ และที่มีละติจูด ๙๐ องศาใต้ว่า ขั้วโลกใต้.
  93. ขา
    หมายถึง น. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา.
  94. ขา
    หมายถึง (โบ) ส. เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนคำว่า เขาสองคน เช่น สองขาพ่อลูก หมายถึง เขาสองคนพ่อลูก.
  95. ขา
    หมายถึง น. อวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้า สำหรับยันกายและเดินเป็นต้น (ไทยถิ่นอื่น ขา หมายความตั้งแต่ตะโพกถึงเข่า); สิ่งของซึ่งมีลักษณะคล้ายขาสำหรับยันหรือรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ขาตั้ง; เรียกส่วนที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปขา เช่น ขากางเกง.
  96. ขา
    หมายถึง ว. คำขานรับของผู้หญิง.
  97. ขาก
    หมายถึง (โบ) ก. ภูมิใจ เช่น ความยินลากขากดีจะมีไหน. (อภัย). (ไทยใหญ่).
  98. ขาก
    หมายถึง ก. อาการที่ทำให้เสมหะเป็นต้นในลำคอหลุดออก มักมีเสียงดังเช่นนั้น.
  99. ขากบ
    หมายถึง น. ขาของว่าวจุฬา.
  100. ขากรรไกร
    หมายถึง [-กันไกฺร] น. กระดูกต้นคางที่อ้าขึ้นอ้าลง มีลักษณะอย่างกรรไกร, ขากรรไตร หรือ ขาตะไกร ก็ว่า.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ข (หน้าที่ 5)"