พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ข (หน้าที่ 4)

  1. ของนอก
    หมายถึง น. ของที่มาจากต่างประเทศ.
  2. ของมันต้องมี
    หมายถึง ก็มันต้องมีไว้เป็นของตัวเองหน่ะ จะซื้อจะเอา ไม่ซื้อให้ใช่มั้ย ได้! วันนี้นอนโซฟานะ
  3. ของร้อน
    หมายถึง น. ของที่มีผู้ขโมยเขาเอามาฝากไว้หรือจำหน่ายให้ ถ้ารับเอาไว้จะทำให้เดือดร้อน; ของที่ผิดกฎหมาย ถ้ามีไว้ในครอบครองจะทำให้เดือดร้อน เช่น ปืนเถื่อน ฝิ่นเถื่อน.
  4. ของลับ
    หมายถึง น. อวัยวะสืบพันธุ์ของมนุษย์.
  5. ของวัด
    หมายถึง น. ของสงฆ์.
  6. ของว่าง
    หมายถึง น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย, อาหารว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า เครื่องว่าง.
  7. ของสงฆ์
    หมายถึง น. ของที่เป็นของวัด, ของที่สงฆ์ใช้ร่วมกัน, ของวัด ก็ว่า.
  8. ของสงวน
    หมายถึง น. นมหญิง.
  9. ของสด
    หมายถึง น. ของที่มิได้สุกด้วยความร้อน.
  10. ของสดคาว,ของสดของคาว
    หมายถึง น. ของกินที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ทั้งสุกและดิบ.
  11. ของหลวง
    หมายถึง น. ของของสถาบันพระมหากษัตริย์, ของที่เป็นของแผ่นดินหรือรัฐ.
  12. ของหวาน
    หมายถึง น. ขนม.
  13. ของหายตะพายบาป
    หมายถึง (สำ) น. ของหายหรือเข้าใจว่าหายแล้วเที่ยวโทษผู้อื่น.
  14. ของเก่า
    หมายถึง น. ของโบราณ, ของใช้แล้ว; (กฎ) ทรัพย์ที่ผู้ค้าของเก่าเป็นอาชีพเสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้ รวมถึงของโบราณด้วย.
  15. ของเคียง
    หมายถึง น. ของกินที่เอามาตั้งเทียบข้างเพื่อกินประกอบกับอาหารบางชนิด, ราชาศัพท์ว่า เครื่องเคียง.
  16. ของเค็ม
    หมายถึง น. ของกินที่หมักหรือดองด้วยเกลือ.
  17. ของเถื่อน
    หมายถึง น. ของที่ผิดกฎหมาย.
  18. ของเลื่อน
    หมายถึง น. สำรับคาวหวานที่เจ้าภาพในงานทำบุญนำไปให้ผู้ที่นับถือด้วยไมตรีจิต.
  19. ของเลื่อนเตือนขันหมาก
    หมายถึง น. สำรับคาวหวานเนื่องในการแต่งงาน ซึ่งฝ่ายเจ้าสาวนำไปให้ฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อเตือนบอกให้ทราบว่าทางบ้านเจ้าสาวเตรียมพร้อมที่จะรับขันหมากได้แล้ว.
  20. ของเล่น
    หมายถึง น. ของสำหรับเด็กเล่นเพื่อให้สนุกหรือเพลิดเพลิน.
  21. ของเหลว
    หมายถึง น. ของที่ไม่แข็งมีลักษณะไหลได้อย่างนํ้า; (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสารซึ่งมีปริมาตรคงตัว แต่รูปร่างเปลี่ยนไปได้ตามภาชนะที่รองรับ, สถานะระหว่างแก๊สกับของแข็ง.
  22. ของแข็ง
    หมายถึง น. สิ่งที่รวมตัวกันแน่น, สิ่งที่มิใช่ของเหลวหรือแก๊ส; (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสารซึ่งมีทั้งรูปร่างและปริมาตรคงตัว.
  23. ของแสลง
    หมายถึง น. ของที่กินแล้วทำให้โรคกำเริบ, สิ่งที่ไม่ถูกกับโรค.
  24. ของแห้ง
    หมายถึง น. อาหารแห้งที่เก็บไว้กินได้นาน, เสบียงกรัง.
  25. ของโจร
    หมายถึง น. สิ่งของที่ถูกโจรกรรมมา.
  26. ของใช้
    หมายถึง น. ของสำหรับใช้.
  27. ของไหล
    หมายถึง (วิทยา) น. สสารซึ่งมีรูปร่างเปลี่ยนไปได้ตามภาชนะที่รองรับ ได้แก่ ของเหลวและแก๊ส.
  28. ของไหว้
    หมายถึง น. ของที่ผู้น้อยนำไปให้ผู้ใหญ่ เพื่อแสดงความคารวะในบางโอกาส; เครื่องเซ่น.
  29. ของ้อ
    หมายถึง ก. อ่อนเข้าหาเพื่อขอคืนดีด้วย, อ่อนเข้าหาเพื่อให้ยอมหรือช่วยเหลือ.
  30. ของ้าว
    หมายถึง น. อาวุธด้ามยาวมีง้าวอยู่ตรงปลาย ใต้คอของด้ามมีขอสำหรับสับบังคับช้างได้, ราชาศัพท์ว่า พระแสงของ้าว.
  31. ขอฉาย
    หมายถึง น. ไม้สำหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, กระดองหาย คันฉาย ดอง ดองฉาย หรือ ดองหาย ก็เรียก. (ข. ฉาย ว่า สง).
  32. ขอช้าง
    หมายถึง น. ขอเหล็กมีด้าม สำหรับสับช้าง, ขอช้างที่มีปลายโค้งใช้ในพิธีช้าง เรียกว่า ขอเกราะ, ขอช้างที่ปลายเป็นยอดปิ่น เรียกว่า ขอปิ่น.
  33. ขอด
    หมายถึง ก. ขมวดเป็นปม เช่น ขอดเชือก ขอดผ้า ขอดชายพก. ว. ที่ขมวดเป็นปมหรือม้วนเข้ามา เช่น หมาหางขอด.
  34. ขอด
    หมายถึง ก. ทำให้สิ่งที่ติดอยู่ออกมาด้วยอาการอย่างขูด เช่น ขอดเกล็ดปลา, เหลืออยู่น้อยจนถึงกับต้องขูดเอา เช่น น้ำขอดคลอง น้ำขอดโอ่ง ข้าวขอดหม้อ.
  35. ขอดค่อน
    หมายถึง ก. ค่อนว่า, พูดแคะไค้ในเรื่องที่ไม่ดี, พูดให้เขาอายหรือเจ็บใจ, ค่อนขอด ก็ว่า.
  36. ขอตัว
    หมายถึง ก. พูดเพื่อให้ยกเว้นตัวเอง.
  37. ขอทอง
    หมายถึง น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนขมิ้น แต่หัวเล็กสอดกันเป็นข้อ ๆ ต้นและใบเขียว เนื้อเหลือง ใช้แก้เบื่อเมา, ขอคำน้อย ก็เรียก. (กบิลว่าน).
  38. ขอทาน
    หมายถึง ก. ขอเงินหรือสิ่งของเลี้ยงชีวิต, หากินทางขอสิ่งที่ผู้อื่นให้. น. เรียกบุคคลที่หาเลี้ยงชีพอย่างนั้นว่า ขอทาน.
  39. ขอที,ขอเสียที
    หมายถึง ก. ห้ามเชิงขอร้อง, ขอให้ละเว้นการกระทำ.
  40. ขอน
    หมายถึง น. ท่อนไม้ใหญ่ที่ยังไม่ได้ถากกล่อมให้เป็นรูปที่ต้องการ; ลักษณนามเรียกข้างหนึ่งของกำไลที่เป็นคู่ว่า กำไลขอนหนึ่ง; ลักษณนามของสังข์ เช่น สังข์ขอนหนึ่ง สังข์ ๒ ขอน, ลักษณนามของไพ่ตองว่า สำรับหนึ่งหรือชุดหนึ่งมี ๒ ขอน.
  41. ขอนดอก
    หมายถึง น. ท่อนไม้ของต้นตะแบก พิกุล และบุนนาค ที่ผุราขึ้นเป็นจุดขาว ๆ มีกลิ่นหอม ใช้เป็นเครื่องยาไทย.
  42. ขอนสัก
    หมายถึง น. ซุงไม้สัก, ลำต้นไม้สักที่ตัดเป็นท่อนยาวก่อนแปรรูป.
  43. ขอนิสัย
    หมายถึง ก. ขอฝากตัวอยู่ในความปกครองของพระอุปัชฌาย์ (ใช้แก่กุลบุตรในเวลาอุปสมบท).
  44. ขอบ
    หมายถึง น. ริมรอบ เช่น ขอบโต๊ะ, ริมที่ยกให้สูงขึ้นโดยรอบ เช่น ขอบสระ ขอบถนน.
  45. ขอบ
    หมายถึง ก. ทดแทน, ตอบ, รับ, เช่น ขอบแต่ขอมสักตั้ง. (ตะเลงพ่าย), ภายในสองนางขอบ, ธขอบคำความมนตรี. (ลอ).
  46. ขอบข่าย
    หมายถึง น. ขอบเขตงานหรือความรู้ที่อยู่ในความรับผิดชอบ.
  47. ขอบคุณ,ขอบพระคุณ
    หมายถึง คำกล่าวแสดงความรู้สึกบุญคุณ (เป็นคำที่ใช้แก่บุคคลที่เสมอกัน หรือผู้น้อยใช้แก่ผู้ใหญ่).
  48. ขอบทาง
    หมายถึง (กฎ) น. แนวริมของทางเดินรถ.
  49. ขอบิณฑบาต
    หมายถึง ก. ขอให้ละเว้นการกระทำ.
  50. ขอบเขต
    หมายถึง น. อาณาเขต, ขอบข่าย, ข้อจำกัด.
  51. ขอบเหล็ก
    หมายถึง น. นาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก เรียกว่า นาขอบเหล็ก, นาเชิงทรง ก็ว่า.
  52. ขอบใจ
    หมายถึง คำกล่าวแสดงความรู้สึกพอใจในความดีที่ผู้อื่นได้มีต่อตน (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย).
  53. ขอบไร
    หมายถึง (โบ) น. ใช้โดยปริยายว่า ความรอบคอบ, ความทั่วถึง.
  54. ขอประทาน
    หมายถึง ก. ขอสิ่งของ, ขออนุญาต, (มักใช้นำหน้าคำที่พูดกับผู้ใหญ่).
  55. ขอพระราชทาน
    หมายถึง ก. ขอสิ่งของ, ขออนุญาต, (ใช้กราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดิน).
  56. ขอม
    หมายถึง ก. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อต้นด้วยคำว่า ขอม เช่น ขอมใหญ่ ขอมเงิน ขอมทรงเครื่อง.
  57. ขอม
    หมายถึง น. เขมรโบราณ.
  58. ขอยืม
    หมายถึง ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้นมาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของของตน เช่น ขอยืมคำในภาษาบาลีมาใช้ ขอยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ขอยืมความคิด, (คณิต) ในการลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจากหลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องขอยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกขอยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ยืม ก็ว่า.
  59. ขอรับ
    หมายถึง น. โลหะทำเป็นห่วงสำหรับรับขอสับ มักติดที่ประตูหน้าต่าง.
  60. ขอรับ
    หมายถึง คำรับที่สุภาพชนใช้.
  61. ขอรับกระผม,ขอรับผม
    หมายถึง คำรับด้วยความอ่อนน้อมอย่างยิ่ง (ใช้พูดกับผู้ใหญ่).
  62. ขอร้อง
    หมายถึง ก. ขอให้ช่วยเหลือ, ขอให้ทำตามที่ขอ.
  63. ขอษมา
    หมายถึง ก. ขอขมา.
  64. ขอสับ
    หมายถึง น. โลหะที่ปลายงอเป็นตาขอสำหรับเกี่ยวที่ขอรับ.
  65. ขออนุญาต
    หมายถึง ขอให้ยินยอมหรือตกลงให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  66. ขออภัย
    หมายถึง ก. ขอให้ยกเว้นโทษ, ขออย่าได้ถือโทษ.
  67. ขออโหสิ
    หมายถึง ก. ขอให้เลิกแล้วต่อกัน, ขอให้ยกโทษให้.
  68. ขอเดชะ
    หมายถึง น. คำขึ้นต้นและคำลงท้ายในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
  69. ขอเฝ้า
    หมายถึง น. ข้าพึ่งบุญเจ้า เป็นผู้ชายสำหรับเจ้านายฝ่ายในใช้สอย; เครื่องแบบสำหรับผู้ที่มีตำแหน่งเฝ้า แต่ไม่อยู่ในฐานะที่จะแต่งเครื่องแบบราชการ.
  70. ขอแกว
    หมายถึง น. ไม้ยาว ๆ ที่ผูกเบ็ดที่ปลาย สำหรับชักกบในรู.
  71. ขอแรง
    หมายถึง ก. ขอให้ออกแรงช่วยทำงาน, บอกเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงาน.
  72. ขอโทษ,ขอประทานโทษ
    หมายถึง ก. ขอให้ยกเว้นโทษ, ใช้เป็นคำสุภาพเมื่อรู้สึกว่าจะเป็นการล่วงเกินผู้อื่น.
  73. ขอไปที
    หมายถึง ว. พอให้พ้น ๆ ไป, พอเอาตัวรอด, เช่น ทำอย่างขอไปที.
  74. ขะข่ำ
    หมายถึง (โบ; กลอน) ว. คลํ้า, มืดมัว, เขียนเป็น ขข่ำ ก็มี เช่น ฟ้าแมลบมล่นนร้อง ท้องฟ้าเขียวขขํ่า ยงงฝนพพร่ำพรอยพรำ อื้ออึงอัมพรระงม ด้วยกำลงงลมพายุพัดน้นน. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์).
  75. ขะนาน
    หมายถึง น. ทะนาน.
  76. ขะน่อง,ขาน่อง
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัว ๑ ขบขะน่อง. (ม. สำนวนอีสาน ชูชก), กระน่อง หรือกระหน่อง ก็เรียก.
  77. ขะมอมขะแมม
    หมายถึง ก. กระมอมกระแมม, มอมแมมมาก, เลอะเทอะ, เปื้อนเปรอะ, กระดำกระด่าง.
  78. ขะมักเขม้น
    หมายถึง [ขะมักขะเม่น, ขะหฺมักขะเม่น] ก. ตั้งใจทำอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้วเสร็จไป, ก้มหน้าก้มตาทำ, เขม้นขะมัก ก็ว่า.
  79. ขะมุกขะมอม
    หมายถึง ว. เปรอะเปื้อนมอซอ.
  80. ขะยิก
    หมายถึง ก. ขยับเข้าไปทีละน้อย ๆ, กระยิก ก็ว่า.
  81. ขะยุก
    หมายถึง ก. ดันเข้าไปทีละน้อย ๆ; ยุหรือหนุนส่ง.
  82. ขะเน็ด
    หมายถึง น. เขน็ด.
  83. ขะเย้อแขย่ง
    หมายถึง [-ขะแหฺย่ง] ก. กระเย้อกระแหย่ง, เขียนเป็น เขย้อแขย่ง ก็มี.
  84. ขะแข่น,ขะแข้น
    หมายถึง (โบ; กลอน) ว. แข้น, แข็ง, เขียนเป็น ขแข่น ก็มี เช่น สองอ่อน โอ้อาดูร ร้อนแสงสูรย์ขแข่น. (ม. คำหลวง กุมาร), ร้อนขะแข้น. (ม. คำหลวง กุมาร).
  85. ขะแจะ
    หมายถึง ดู กระแจะ ๒.
  86. ขะแถก
    หมายถึง (ถิ่น) ก. กระแทก, กระทบโดยแรง, กระทุ้ง, เช่น ขะแถกแทงทอท่ยว เขาส้ยมส่ยวยงงมี. (ม. คำหลวง มหาราช).
  87. ขะแมซอ
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  88. ขะแมธม
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  89. ขะแยะ
    หมายถึง ก. ตำเบา ๆ, ตำแซะ ๆ; เอาไหล่กระแทกเข้าไป.
  90. ขัค
    หมายถึง [ขัก] น. แรด เช่น พยัคฆขัคศฤงคาล. (สรรพสิทธิ์). (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).
  91. ขัค
    หมายถึง (แบบ) น. ขรรค์ เช่น สุรขัคอนันต์. (สมุทรโฆษ). (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).
  92. ขัง
    หมายถึง ก. ให้อยู่ในที่ล้อมเช่นกรง คอก หรือเล้า เป็นต้น, ให้อยู่ในที่ซึ่งกันไว้ เช่น ขังนํ้า; (กฎ) กักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล.
  93. ขังขอก
    หมายถึง น. ชาวเมือง.
  94. ขังข้อ
    หมายถึง ก. ตัดกระบอกไม้ไผ่เป็นต้นให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง.
  95. ขังปล้อง
    หมายถึง ว. ลักษณะกระบอกที่ตัดให้มีข้อติดอยู่ทั้ง ๒ ข้าง โดยฝานข้าง ๆ ทั้ง ๒ ข้างให้เป็นขาแล้วผ่าตลอดด้านหนึ่ง เพื่อทำเป็นตะขาบเป็นต้น.
  96. ขังหน่วย
    หมายถึง ว. เรียกนํ้าตาที่ปริ่มอยู่ที่ขอบตาเมื่อร้องไห้ว่า นํ้าตาขังหน่วย, น้ำตาคลอหน่วย หรือ น้ำตาล่อหน่วย ก็ว่า.
  97. ขัช,ขัชกะ
    หมายถึง [ขัด, ขัดชะกะ] (แบบ) น. อาหารควรเคี้ยว เช่น ตั้งขัชกโภชนาหาร. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ขชฺช, ขชฺชก).
  98. ขัณฑ,ขัณฑ-
    หมายถึง [ขันทะ-] น. ภาค, ตอน, ท่อน, ส่วน, ก้อน, ชิ้น. (ป., ส. ขณฺฑ).
  99. ขัณฑสกร
    หมายถึง [ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทยอย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณูโรยร่วงลงบนใบอุบล ซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาลก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการโอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา; ส.ขณฺฑศรฺกรา).
  100. ขัณฑสีมา
    หมายถึง น. เขตแดน, เขตแดนส่วนหนึ่ง ๆ. (ป., ส.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ข (หน้าที่ 4)"